Bloomberg พบว่ามีการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในชื่อ Reality One, Reality Pro และ Reality Processorโดยบริษัทชื่อ Immersive Health Solutions ในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซาอุดิอาระเบีย คอสตาริก้า และอุรุกวัย โดยคาดว่าจะเป็นชื่อที่ใช้สำหรับอุปกรณ์เฮดเซต Mixed Reality ที่ผสมผสานระหว่าง AR และ VR ของ Apple อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายการค้ายังไม่ได้รับการอนุมัติและไม่แน่ว่า Apple จะใช้ชื่อนี้สำหรับเฮดเซตจริงหรือไม่
Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์ในรายการพอดคาสต์ The Joe Rogan Experience ตอนล่าสุด เผยว่าเฮดเซต VR ตัวใหม่ของ Meta จะออกมาในเดือนตุลาคมนี้
เขาให้รายละเอียดเกี่ยวกับฟีเจอร์เด่นในเฮดเซตรุ่นใหม่ ว่าจะรองรับการแสดงออกอารมณ์ได้ดีขึ้น เช่น สามารถแสดงผลทางสายตา ไปจนถึงใบหน้า ตัวอย่างหากเรายิ้ม ทำหน้าขมวดคิ้ว หรือไม่พอใจ สีหน้าดังกล่าวก็จะแสดงผลตามด้วยในอวาตาร์ ทำให้สะท้อนความรู้สึกออกมาได้แบบเรียลไทม์
โซนี่ประกาศข่าวสั้นๆ บน Instagram ว่าแว่น PlayStation VR 2 จะวางขายช่วงต้นปี 2023 (early 2023)
ที่ผ่านมา โซนี่ทยอยปล่อยข้อมูลของ PS VR2 มาเรื่อยๆ ไล่ตั้งแต่ คอนโทรลเลอร์, สเปก, ดีไซน์, ฟีเจอร์ซอฟต์แวร์ และเกมเด่นอย่าง Horizon Call of the Mountain ตอนนี้คงเหลือแค่วันวางขายกับราคาเท่านั้น
เมื่อหลายวันก่อน Mark Zuckerberg ประกาศขยายบริการโลกเสมือน Horizon Worlds ให้กับผู้ใช้ในสเปนและฝรั่งเศส โดยเขาโพสต์ภาพอวตารของตัวเองถ่ายภาพกับโมเดลหอไอเฟล และโบสถ์ในสเปน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า "เรามาแล้ว"
อย่างไรก็ตาม คุณภาพของอวตาร Mark Zuckerberg ที่ปรากฏนั้นได้รับเสียงวิจารณ์อย่างมากว่าไม่สวยงาม ดูโบราณ และนัยน์ตาของ Zuckerberg ดูน่ากลัว
ล่าสุด Zuckerberg ออกมายอมรับแล้วว่าภาพที่เขาโพสต์ก่อนหน้านั้น "ดูธรรมดาเกินไป" (pretty basic) และโชว์ภาพอวตารและกราฟิกภายในโลกเสมือน Horizon Worlds เวอร์ชันอัพเกรดว่ากำลังทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม
Revelio Labs บริษัทที่เก็บสถิติตำแหน่งงานของบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ออกรายงานว่าตำแหน่งงานที่มีคำว่า "metaverse" ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว 81% ภายในเวลาแค่ 3 เดือนล่าสุด (เมษายน-มิถุนายน 2022)
Revelio Labs เก็บสถิติย้อนหลังดูตำแหน่งงานที่มีคำว่า metaverse พบว่าค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลัง Facebook เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022 และขึ้นไปพีคที่เดือนเมษายน แต่หลังจากนั้นก็ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ Meta และอีกหลายบริษัท Tech ได้ร่วมมือกันจัดตั้ง Metaverse Standards Forum เพื่อกำหนดมาตรฐานการพัฒนา metaverse ซึ่งไม่ปรากฏหลายบริษัทใหญ่ เช่น Apple, Alphabet หรือ Adobe
ในประเด็นนี้มีมุมมองที่ชัดเจนขึ้น โดย Meta จัดประชุมพนักงานเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่ง The Verge ได้บันทึกการประชุมมา ซึ่งในช่วงถามตอบมีพนักงานถามว่าการที่แอปเปิลไม่เข้าร่วม Forum จะส่งผลอย่างไรบ้าง?
ประเด็นการขึ้นราคาแว่น Meta Quest 2 ครั้งเดียวถึง 100 ดอลลาร์ แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย สร้างความประหลาดใจให้ใครหลายคน ในประกาศของ Meta อ้างเรื่องต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น แต่แพงอย่างไรก็ไม่น่าเพิ่มทีเดียวถึง 100 ดอลลาร์
คำตอบของเรื่องนี้อาจอยู่ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ Meta ที่แยกตัวเลขฝั่ง Reality Labs ออกมาให้เห็นชัดๆ (นับรวมแว่น Oculus, หน้าจออัจฉริยะ Portal) ว่ามีรายได้ 452 ล้านดอลลาร์ต่อไตรมาส เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในอีกด้านก็ขาดทุนถึง 2,806 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.02 แสนล้านบาท
ถึงแม้เราเห็นข่าว Meta หรือ Facebook โดนเพ่งเล็งในข้อหาผูกขาดการแข่งขัน จากการซื้อทั้ง Instagram และ WhatsApp รวมถึงกรณีการซื้อ Giphy ที่โดนหน่วยงานฝั่งอังกฤษฟันธงว่าผูกขาด
แต่ Federal Trade Commission (FTC) หน่วยงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหรัฐ กลับยังไม่เคยมีคำสั่งลักษณะเดียวกันมาก่อน จนกระทั่งล่าสุดมีเซอร์ไพร์สคือ FTC ประกาศว่าจะขวางดีล Meta ซื้อบริษัท Within ผู้พัฒนาแอพออกกำลังกาย VR ชื่อ Supernatural เมื่อปี 2021
Sony ยังทยอยเปิดเผยฟีเจอร์ของแว่น PS VR2 อยู่เรื่อยๆ (ข่าวเปิดตัวแว่น, ข่าวเปิดตัวคอนโทรลเลอร์)
จุดเด่นอย่างหนึ่งของแว่น PS VR2 ที่เพิ่มจากเวอร์ชันแรกคือมีกล้องหน้าด้วย ทำให้ Sony เพิ่มโหมด See-Through View ช่วยให้เรามองเห็นสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ แก้ปัญหาใส่แว่นแล้วหยิบคอนโทรลเลอร์ไม่ได้เพราะมองไม่เห็น รวมถึงหากต้องหยุดเกมชั่วคราวเพื่อเดินไปเดินมาในห้องก็ได้เช่นกัน โหมด See-Through สามารถดูผ่านจอได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกวิดีโอได้
Meta ประกาศขึ้นราคาแว่น Meta Quest 2 อีก 100 ดอลลาร์ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ โดยให้เหตุผลเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
เพื่อเป็นการปลอบใจ Meta จะแถมยอดฮิต Beat Saber (ที่ตอนนี้เป็นของ Meta แล้ว) ให้ฟรีจนถึงสิ้นปี 2022 ด้วย
ไม่ใช่มีแต่ตัวแว่นที่ขึ้นราคา อุปกรณ์เสริมของ Quest หรือแม้กระทั่งแว่นรุ่น refurbished ก็ขึ้นราคาตามด้วยเช่นกัน
บริษัทวิจัยตลาดไอที IDC รายงานภาพรวมตลาดเฮดเซต VR ของไตรมาสที่ 1 ปี 2022 จำนวนส่งมอบทั่วโลกเพิ่มขึ้น 241.6% เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2021 ปัจจัยหนุนหลักมาจากซัพพลายเชนที่ดีขึ้น ทำให้มีสินค้าส่งมอบมากขึ้น
Meta ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดถึง 90% ซึ่งมีสินค้าหลักคือ Quest 2 ตามด้วย Pico ที่ตอนนี้เป็นบริษัทของ ByteDance ที่ 4.5% ส่วนอันดับ 3-5 คือ DPVT, HTC และ iQIYI ซึ่งมีตัวเลขส่วนแบ่งไม่มากนัก
IDC ประเมินว่าจำนวนส่งมอบเฮดเซต VR ปีนี้จะอยู่ที่ราว 13.9 ล้านชุด และมองว่าตัวเลขปี 2023 น่าจะเติบโตสูงอีกครั้งเนื่องจากผู้เล่นปัจจุบันต่างมีแผนออกรุ่นอัพเกรด ขณะเดียวกันคาดว่าจะมีผู้เล่นรายใหญ่ที่ทำสินค้า VR ขายในปีหน้า คือ Sony กับ Apple
Financial Times สัมภาษณ์นักพัฒนาแอพ-เกมสาย VR หลายราย ที่บ่นว่าบริษัท Meta เก็บค่าธรรมเนียมสโตร์ (Oculus Store เดิม หรือ Quest Store ในปัจจุบัน) ในอัตรา 30% ซึ่งถือว่าแพงเทียบเท่ากับสโตร์แอพมือถือของแอปเปิล-กูเกิล ทั้งที่ Mark Zuckerberg เองก็ออกมาวิจารณ์เรื่องนี้อยู่บ่อยๆ
โฆษกของ Meta ระบุว่านโยบายของบริษัทคือ ผู้ใช้สามารถ sideload แอพนอกสโตร์ได้เสมอ (สโตร์ทางเลือก เช่น SideQuest) นักพัฒนาจึงมีทางเลือกว่าจะเผยแพร่แอพของตัวเองผ่านช่องทางไหน
อย่างไรก็ตาม Financial Times อ้างข้อมูลจาก Sensor Tower ว่าตัวแอพของ Oculus มีคนดาวน์โหลด 19 ล้านครั้ง ส่วน SideQuest มีเพียง 4 แสนครั้งเท่านั้น ในทางปฏิบัตินักพัฒนาก็ไม่มีทางเลือกมากนักอยู่ดี
Mark Zuckerberg โชว์ต้นแบบแว่น VR ที่เคยพัฒนาในห้องแล็บของบริษัท Meta จำนวนทั้งหมด 4 รุ่น โดยทั้ง 4 รุ่นไม่ใช่แว่นรุ่นที่จะวางขายจริง
มีรายงานจาก The New York Times พูดถึงโครงการเฮดเซต VR ของแอปเปิล ว่าแอปเปิลได้ทาบทามผู้กำกับในฮอลลีวูดหลายคน โดยชื่อหนึ่งที่ระบุคือ Jon Favreau (Iron Man ภาค 1-2) เพื่อมาสร้างคอนเทนต์วิดีโอสำหรับเฮดเซตนี้ โดยเขารับผิดชอบการนำไดโนเสาร์จากซีรี่ส์ Prehistoric Planet ของ Apple TV+ มาแสดงผลบน VR
เฮดเซต VR ของแอปเปิลเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีข่าวลือมานาน โดยรายงานล่าสุดระบุว่าได้นำเสนอตัวต้นแบบต่อบอร์ดบริหารแล้ว คาดว่าสินค้าจะเริ่มส่งมอบได้ในปีหน้า เนื่องจากการพัฒนายังมีอุปสรรคสำคัญคือแบตเตอรี่หมดไว
โซนี่เปิดตัวเกม Horizon Call of the Mountain เกมใหม่ในซีรีส์ Horizon ที่เป็นเกม VR แบบเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะแว่น PlayStation VR 2 เท่านั้น
ตัวเอกของภาค Call of the Mountain คือ Ryas อดีตนักรบเผ่า Shadow Carja โดยเกมภาคนี้เน้นไปที่การปีนป่ายหน้าผาและที่สูง (ตามชื่อภาค) และการยิงธนู ผ่านมุมมองแบบบุคคลที่หนึ่งของแว่น VR (เห็นแต่มือตัวเองเหมือนเกม VR ทั่วไป) โดยมีตัวละครจากโลกของ Horizon ภาคก่อนๆ ปรากฏตัวในเกม รวมถึง Aloy นางเอกของเกมภาคหลักด้วย
เกมภาคนี้พัฒนาโดย Firesprite สตูดิโอเกมที่เชี่ยวชาญด้าน VR ซึ่งโซนี่ซื้อมาเข้าสังกัดเมื่อกลางปี 2021 ร่วมกับ Guerrilla Games สตูดิโอหลักที่รับผิดชอบเกม Horizon ภาคหลัก แต่ยังไม่ระบุว่าจะวางขายเมื่อไร
มีรายงานว่าที่ประชุมบอร์ดบริหารของแอปเปิลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้บริหารแอปเปิลได้สาธิตการทำงานของอุปกรณ์เฮดเซต Mixed Reality ที่ผสมผสานระหว่าง AR และ VR จึงช่วยยืนยันข่าวว่าแอปเปิลอาจเปิดตัวเฮดเซตดังกล่าวและวางขายเร็ว ๆ นี้
นักวิเคราะห์คาดกันว่าเฮดเซต Mixed Reality นี้ จะเป็นไลน์สินค้าตัวใหม่ที่สร้างรายได้สำคัญให้แอปเปิล ต่อจาก Apple Watch ที่เปิดตัวปี 2014 และวางขายในปี 2015
Reggie Fils-Aimé อดีตประธานของนินเทนโดอเมริกาที่เกษียณอายุไปเมื่อปี 2019 ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg พูดถึงวงการเกมในภาพรวม
Reggie พูดถึงประเด็นร้อนแห่งยุคอย่าง metaverse ว่าเขาไม่เชื่อในนิยาม metaverse ของบริษัท Meta/Facebook เลย เพราะบริษัทนี้ไม่มีนวัตกรรม ทำได้แต่การซื้อกิจการบริษัทอื่น (เช่น Oculus/Instagram) หรือลอกไอเดียของคนอื่น ซึ่งเขาไม่คิดว่าแนวทาง metaverse ของ Meta จะประสบความสำเร็จ
โซนี่เผยโฉมของแว่น PlayStation VR2 เป็นครั้งแรก เปลี่ยนมาใช้ดีไซน์สีขาวเป็นหลัก แซมด้วยสีดำ ตามแนวทางดีไซน์ของ PS5 และตัดไฟไฮไลท์สีฟ้าออกไป เหลือแต่สีขาว-ดำแค่สองสี
โซนี่บอกว่าตั้งใจออกแบบตัวแว่น PS VR2 ให้ดู "กลม" (orb) ไปในแนวทางเดียวกับตัวคอนโทรลเลอร์ Sense ที่เปิดตัวมาก่อนแล้ว ดีไซน์สายรัดยังคงแนวทางปรับระดับได้ ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมจาก PS VR รุ่นแรก แต่เพิ่มปุ่มหมุนปรับระยะเลนส์เข้ามา, ลดน้ำหนักของแว่นลงเล็กน้อย, มีช่องระบายอากาศเพื่อป้องกันเลนส์เป็นฝ้า, เพิ่มมอเตอร์สำหรับให้แว่นสั่นได้ด้วย
ตอนนี้ยังเป็นแค่การโชว์ดีไซน์ของแว่น PS VR2 เท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลวันวางขายและราคา
Valve ยังเดินหน้านโยบายเปิดกว้างในการปรับแต่ง-ดัดแปลง Steam Deck ต่อไป หลังเปิดไฟล์ 3D Cad ให้ดาวน์โหลดกันตามสบาย ล่าสุดก็ประกาศว่าจะขายชิ้นส่วนของ Steam Deck ผ่าน iFixit ด้วย (นอกจากชิ้นส่วนของ Steam Deck จะยังมีชิ้นส่วนของแว่น Valve Index ด้วยเช่นกัน) โดยรายละเอียดเพิ่มเติมจะประกาศตามมาในภายหลัง
โมเดลธุรกิจของ iFixit มีขายทั้งเครื่องมือ (เช่น ไขควง อุปกรณ์สำหรับแกะเครื่อง) และชิ้นส่วน (เช่น บอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม พัดลม พาวเวอร์ซัพพลาย) ซึ่งปัจจุบัน iFixit มีขายชิ้นส่วนของอุปกรณ์หลากหลายประเภท ตั้งแต่สมาร์ทโฟน เกมคอนโซล พีซี ไปจนถึงโดรน
Aviva บริษัทประกันภัยรายใหญ่ของอังกฤษ เปิดเผยสถิติว่าการเคลมความเสียหายจากการใช้งานแว่น VR เติบโตเพิ่มขึ้น 68% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยปีที่แล้วปีเดียวเติบโตถึง 31%
การเคลมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ "ทีวีพัง" รวมไปถึงอุบัติเหตุอื่นๆ อย่างการเดินชนกำแพง ชนกับคนอื่นในห้อง และเฟอร์นิเจอร์อื่นในบ้านเสียหายขณะสวมใส่แว่น VR โดยตอนนี้ถึงกับมีห้อง Reddit ชื่อ VRtoER เอาไว้รวมเหตุการณ์อุบัติเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ VR
Aviva บอกว่าในอดีตเคยเกิดเทรนด์ลักษณะนี้มาแล้ว ช่วงที่เกมฟิตเนสกำลังดัง (ไม่ได้ระบุชื่อแต่น่าจะหมายถึง Wii)
แพทย์เยอรมัน พบหนุ่มวัย 31 ปี มีอาการกระดูกสันหลังส่วนคอข้อ C7 แตก หลังเล่นเกมดนตรีที่ไม่ระบุว่าเป็นเกมอะไรบน VR มากสุดถึงวันละ 4 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน จนการเคลื่อนไหวซ้ำๆ ที่รุนแรง ทำให้กระดูกคอของเขาเสื่อมและแตกในที่สุด
หนุ่มคนนี้มาพบแพทย์หลังมีอาการเจ็บไหล่ พร้อมบอกแพทย์ว่าเล่นเกม VR วันละประมาณ 1-4 ชั่วโมง และไม่ได้หกล้ม แพทย์พบกระดูกข้อ C7 แตกหลังเอ็กซเรย์ ทำให้เขาต้องใส่เฝือกคอ 6 สัปดาห์ และหายดีใน 12 สัปดาห์
Meta มีบริการโซเชียลแบบ VR ชื่อ Horizon Worlds ที่เปิดตัวมาได้สักพักใหญ่ๆ รูปแบบคือให้เราสร้างอวตารของตัวเองแล้วเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆ ในโลก VR
อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นบริการโซเชียล ปัญหาเรื่องภัยคุกคาม กลั่นแกล้ง การเหยียดด้วยคำพูดหรือ hate speech ย่อมตามมาเสมอ แถมรูปแบบการเหยียดในโลก VR ก็ซับซ้อนขึ้น เพราะเปลี่ยนจากการโพสต์ด่ากันเป็นข้อความในคอมเมนต์ กลายมาเป็นการนำอวตารเดินเข้ามาในรัศมีใกล้ๆ แล้วด่าด้วยเสียงพูดแทน ซึ่งตรวจจับและตรวจสอบได้ยากกว่ากันมาก
Mozilla ประกาศหยุดเลิกทำ Firefox Reality เว็บเบราว์เซอร์สำหรับแว่น VR ที่เริ่มทำในปี 2018 โดยจะยกโครงการให้บริษัท Igalia ทำต่อภายใต้ชื่อใหม่ว่า Wolvic
Igalia เป็นบริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจากสเปนที่เชี่ยวชาญการพัฒนาเบราว์เซอร์แบบคัสตอม โดยใช้เอนจินหลากหลายทั้ง WebKit, Blink/Chromium, Firefox/Gecko/Servo เน้นไปที่งานสาย embeded (บริษัทเพิ่งออกเบราว์เซอร์ชื่อ Balena ที่ใช้ WebKit)
เว็บไซต์ Business Insider รายงานข่าวว่า ไมโครซอฟท์ยกเลิกโครงการแว่น HoloLens 3 ไปตั้งแต่ปี 2021 และเปลี่ยนยุทธศาสตร์มาจับมือกับซัมซุงพัฒนาแว่นแทน (ข่าวของซัมซุงก็ยังเป็นข่าวลือ ไม่เคยยืนยันเป็นทางการ)
เหตุผลที่ไมโครซอฟท์ยกเลิก HoloLens 3 เป็นเพราะเป้าหมายของบริษัทก็ไม่ชัดเจนว่าต้องการทำอะไรกันแน่ ฝ่ายหนึ่งในบริษัทอยากทำเฉพาะซอฟต์แวร์ ในขณะที่อีกฝ่ายอยากให้ทำฮาร์ดแวร์ด้วย การยกเลิกยังส่งผลให้ทีม HoloLens หลายคนลาออกไปอยู่กับ Meta ที่ยังมุ่งมั่นผลักดันธุรกิจ VR/AR อย่างหนัก
โฆษกของไมโครซอฟท์ให้ความเห็นกับข่าวนี้ว่า บริษัทยืนยันว่าจะทำธุรกิจ HoloLens ต่อไป
Meta ประกาศเลิกใช้แบรนด์ Oculus ตามที่เคยแถลงไว้ตอนเปลี่ยนชื่อบริษัท โดยแว่น Oculus Quest 2 ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Meta Quest (ไม่มีเลข 2) และบัญชีทวิตเตอร์ของ @Oculus ก็เปลี่ยนมาใช้ @MetaQuestVR แทน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้โดเมนเนม oculus.com ยังถูกใช้งาน และหน้าเว็บยังใช้ชื่อ Oculus Quest 2 อยู่
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถูกวิจารณ์จากผู้ใช้ Oculus จำนวนมาก จนทาง Meta ต้องออกมายอมรับว่าได้ฟังเสียงวิจารณ์แล้ว การเปลี่ยนชื่อเป็นสิ่งที่ยากเพราะคนผูกพันกับแบรนด์เดิม