Epic Games ประกาศว่าส่งแอพ Fortnite เวอร์ชัน iOS ไปรอให้แอปเปิลอนุมัติเพื่อขึ้น App Store (เฉพาะในสหรัฐ) แล้ว สิ่งที่ทั้งโลกจับตากันดูอยู่คือแอปเปิลจะยอมอนุมัติหรือไม่
แอปเปิลเพิ่งยอมปรับแก้กฎ App Store ในสหรัฐให้มีช่องทางจ่ายเงินภายนอก ตามคำสั่งศาลสูงสุดของสหรัฐ และมีแอพชื่อดังหลายตัว เช่น Amazon Kindle, Patreon, Spotify เพิ่มช่องทางจ่ายเงินภายนอกแอพแล้ว
การไต่สวนคดีที่ FTC ฟ้อง Meta ข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์คมีประเด็นน่าสนใจเพิ่มเติมเมื่อ Adam Mosseri ซีอีโอ Instagram ที่เข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่ปี 2018 เข้าร่วมการในศาล
Mosseri มาให้การในฝั่ง Meta ข้อมูลของเขาจึงออกมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า Meta ยังต้องแข่งขันในตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะกับ TikTok
แอพ Kindle for iOS เพิ่มลิงก์ "ซื้อหนังสือ" (Get Book) เข้ามาในแอพ หลังจากแอปเปิลยอมปรับเงื่อนไข App Store ยอมให้มีช่องทางจ่ายเงิน-ลิงก์ไปจ่ายเงินนอกแอพ ตามคำสั่งของศาลสูงสุดสหรัฐ
ก่อนหน้านี้ Kindle for iOS สามารถอ่านหนังสือที่มีอยู่แล้วได้อย่างเดียวเท่านั้น ผู้ใช้ต้องไปหาวิธีกดซื้อหนังสือจากช่องทางอื่นแทน เพราะ Amazon ไม่ต้องการเสียส่วนแบ่ง 30% ในแอปเปิล การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ Kindle (รวมถึงแอพอีกจำนวนมาก) ที่เปิดให้ผู้ใช้ซื้อหนังสือหรือสินค้าดิจิทัลโดยตรงได้ โดยการกดปุ่ม Get Book จะพาไปจ่ายเงินผ่านหน้าเว็บของ Amazon ในเว็บเบราว์เซอร์
Eric Muhlheim ซีเอฟโอของ Mozilla ไปขึ้นศาลในฐานะพยานของ คดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องกูเกิลผูกขาด Search มีประเด็นดังนี้
แอปเปิลยอมปรับข้อความใน App Review Guidelines สำหรับ App Store ในสหรัฐอเมริกา ตามคำสั่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา
การเปลี่ยนแปลงอยู่ในหัวข้อ 3.1.1 และ 3.1.3 โดยที่ห้ามแอพหาวิธีจ่ายเงินภายนอกและห้ามแปะลิงก์ไปยังวิธีการจ่ายเงินภายนอก โดยแอปเปิลใส่ข้อยกเว้นเงื่อนไขเหล่านี้ไว้ให้สำหรับแอพที่ขึ้นเผยแพร่บน App Store ในสหรัฐอเมริกา
Patreon เป็นเจ้ากรรมนายเวรของแอปเปิลอีกราย (นอกเหนือจาก Spotify และ Epic Games) ที่ออกมาเคลื่อนไหวหลังคำสั่งศาลล่าสุด
โฆษกของ Patreon ให้สัมภาษณ์กับ The Verge ว่าบริษัทเตรียมส่งแอพเวอร์ชันอัพเดตขึ้น App Store เปิดทางให้จ่ายเงินผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่แอปเปิลได้เช่นกัน ข้อดีคือกลุ่มครีเอเตอร์บน Patreon จะได้เงินแบบเต็มๆ ไม่ต้องมาโดนแอปเปิลหักส่วนแบ่ง 30% อีก
Epic Games Store ประกาศนโยบายหักส่วนแบ่ง 0% จากนักพัฒนาเกม ในส่วนของรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี รายได้ส่วนที่เกินนั้นจะหัก 12% ตามนโยบายเดิม เริ่มมีผลในเดือนมิถุนายน 2025
นอกจากนี้ Epic Games Store ยังประกาศของใหม่คือ webshop เป็นหน้าเว็บ-แอพสำหรับขายเกมของนักพัฒนาเอง ให้เกมเมอร์สามารถซื้อเกมหรือไอเทมจากในเกมได้โดยตรง โดยเบื้องหลังเป็นระบบจัดการของ Epic Games Store อีกที (เกมเมอร์ที่จ่ายเงินผ่าน webshop จะได้แต้ม Epic Rewards 5% ด้วย) Epic บอกว่าของใหม่อันนี้เกิดจากคำสั่งศาลในยุโรปและในสหรัฐอเมริกา ที่สั่งให้แอปเปิลต้องยอมเปิดช่องให้เกิดสิ่งนี้ได้
หลังศาลสหรัฐตัดสินว่าแอปเปิลมีความผิด เรื่องปิดกั้นช่องทางจ่ายเงินอื่นบน App Store บรรดาเจ้ากรรมนายเวรของแอปเปิลก็ออกมาเคลื่อนไหวกันอย่างรวดเร็ว เริ่มจาก Epic Games คู่รักอันดับหนึ่ง ส่วนวันนี้เป็นคิวของ Spotify ที่มีดราม่ากันมายาวนานเช่นกัน
Spotify ประกาศว่าส่งแอพเวอร์ชันอัพเดตไปยังแอปเปิลเพื่อขอขึ้น App Store ในสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยแอพเวอร์ชันนี้
Parisa Tabriz ผู้จัดการธุรกิจ Chrome ของกูเกิล ให้การในชั้นศาลในคดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิลผูกขาด Search และเสนอให้แยก Chrome เป็นบริษัทใหม่ ซึ่งมีผู้สนใจซื้อหลายราย
ข้อโต้แย้งของ Tabriz คือ Chrome ไม่ได้มีแต่ตัวเบราว์เซอร์ แต่ยังผูกกับบริการอื่นของกูเกิล เช่น Safe Browsing, ระบบแจ้งเตือนหากพบว่ารหัสผ่านถูกเจาะ ฯลฯ ซึ่ง Tabriz บอกว่ามีแต่กูเกิลเท่านั้นที่สามารถสร้างบริการในระดับนี้ได้
Perplexity เป็นอีกบริษัทที่เข้าร่วมการไต่สวนเรื่องมาตรการเยียวยา ที่กูเกิลแพ้คดีผูกขาดธุรกิจ Search ซึ่งกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ โจทก์ยื่นฟ้อง และได้เสนอให้ศาลสั่งกูเกิลแยกธุรกิจ Chrome ออกมา
Dmitry Shevelenko บอกว่ามีความเสี่ยงหากมีคำสั่งให้แยก Chrome ออกจากกูเกิล โดยมองว่าอาจส่งผลกระทบต่อโครงการโอเพนซอร์ส Chromium ที่เจ้าของใหม่อาจหารายได้จากตรงนี้ ส่งผลเสียต่อวงการพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ โดย Perplexity ต้องการให้ศาลห้ามกูเกิลทำข้อตกลงผูกขาดบริการค้นหาข้อมูลกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนมากกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติมจากห้องไต่สวน คดีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องกูเกิลผูกขาด Search และเสนอให้แยก Chrome เป็นอีกบริษัท
Peter Fitzgerald ผู้บริหารฝ่ายพาร์ทเนอร์ของแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ ให้การต่อศาลยอมรับว่า กูเกิลจ่ายเงินให้ซัมซุง "เยอะมาก" เพื่อให้ซัมซุงใช้ Gemini เป็นผู้ช่วย AI บนฮาร์ดแวร์ของซัมซุง ถึงแม้เขาไม่ได้เปิดเผยตัวเลข แต่ก็ใช้คำว่า enormous sum of money ในคำให้การ และบอกว่าสัญญากับซัมซุงมีระยะเวลา 2 ปี กูเกิลต้องจ่ายเงินให้ซัมซุงนับตามจำนวนฮาร์ดแวร์ที่พรีโหลด Gemini และแบ่งเปอร์เซนต์จากรายได้โฆษณาให้ซัมซุงอีกส่วน
นอกจากการพิจารณามาตรการเยียวยาคดีกูเกิลผูกขาด Search สัปดาห์นี้ยังมีการไต่สวนคดี Meta ผูกขาดธุรกิจโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่สองด้วย โดยเมื่อวานนี้ Kevin Systrom ผู้ร่วมก่อตั้ง Instagram ได้เข้าให้การต่อศาลด้วย
Instagram เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของการพิจารณาว่า Meta มีพฤติกรรมผูกขาดโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือไม่ โดยคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ FTC ฝ่ายโจทก์ได้แสดงข้อมูลว่า Facebook ซื้อ Instagram เพื่อต้องการหยุดการเติบโตของแพลตฟอร์ม ที่อาจขึ้นมาแซง Facebook ได้
การไต่สวนพิจารณามาตรการเยียวยาที่เริ่มต้นสัปดาห์นี้ จากคดีกูเกิลผูกขาดธุรกิจ Search ที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เป็นโจทก์ฟ้อง และกูเกิลถูกตัดสินแพ้ไปตั้งแต่สิงหาคมปีที่แล้ว มีประเด็นน่าสนใจเมื่อตัวแทนของ OpenAI ได้ให้การต่อศาล
Nick Turley หัวหน้าฝ่าย ChatGPT ของ OpenAI บอกว่าบริษัทไม่ได้ต้องการสร้างแชทบอตอย่าง ChatGPT แต่ต้องการสร้างผู้ช่วยความสามารถสูงที่ทำงานได้หลากหลายและซับซ้อน เพื่อเสริมส่วนนี้บริษัทจึงต้องมีเทคโนโลยีระบบค้นหาหรือ Search ที่ทำให้ AI ได้ข้อมูลปัจจุบันที่สุด
ตอนนี้กูเกิลโดนคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องข้อหาผูกขาดอยู่ 2 คดี ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินใจให้กูเกิลแพ้ทั้งคู่ ได้แก่ คดีผูกขาด search ที่ตัดสินในเดือนสิงหาคม 2024 และ คดีผูกขาดในธุรกิจเทคโนโลยีโฆษณาออนไลน์ ศาลเพิ่งตัดสินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ผู้พิพากษา Leonie Brinkema แห่งศาลแขวงสหรัฐในเขตตะวันออกของรัฐเวอร์จิเนีย ออกคำตัดสินคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดตลาดโฆษณาดิจิทัล โดยบอกว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดในธุรกิจ Ad Exchange และ Ad Server ซึ่งสร้างผลกระทบต่อผู้ลงโฆษณาและลูกค้า ผ่านเครื่องมือของกูเกิลหลายตัวที่มีระบบเชื่อมต่อกันเช่น Google Ad Manager
อย่างไรก็ตามประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นฟ้องนั้นไม่ได้ชนะทั้งหมด โดยผู้พิพากษาบอกว่ากูเกิลยังไม่เข้าข่ายผูกขาดในตลาดการแสดงผลโฆษณาตามเว็บไซต์ (Display Ad)
ในสัปดาห์นี้มีคดีที่น่าสนใจซึ่งเข้าสู่การไต่สวนในศาลแล้ว โดยคณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ได้ฟ้อง Meta (ตอนฟ้องยังชื่อ Facebook) ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์กตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งที่ผ่าน Meta ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาตลอด โดย FTC เสนอให้ Meta แยกธุรกิจ Instagram และ WhatsApp ที่มองว่าส่งเสริมการผูกขาดตลาดออกมา
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของฝรั่งเศสสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 150 ล้านยูโร หรือประมาณ 5,500 ล้านบาท จากการเปิดใช้งาน App Tracking Transparency (ATT) ที่บังคับให้ผู้พัฒนาแอปต้องแสดงข้อความเตือน ว่ายินยอมให้แอปติดตามข้อมูลเพื่อใช้สำหรับการโฆษณาหรือไม่ ซึ่งแอปเปิลเริ่มใช้มาตั้งแต่ iOS 14.5 ในปี 2021
คำตัดสินในฝรั่งเศสนี้มีจุดเริ่มต้นจากการร้องเรียนของกลุ่มผู้ให้บริการโฆษณาและสื่อออนไลน์ในประเทศ โดยบอกว่าแอปเปิลใช้อำนาจเหนือตลาดในทางที่ผิด ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโฆษณาออนไลน์ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือคำตัดสินนี้เป็นกรณีแรกที่ระบุว่า ATT ส่งผลต่อการผูกขาดการแข่งขันในตลาด โดยแอปเปิลถูกร้องเรียนในประเด็นเดียวกันที่เยอรมนีด้วย
นอกจากแอปเปิลแล้ว คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ได้ออกคำเตือนไปยัง Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล เรื่องพบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดิจิทัล DMA ของยุโรปใน 2 บริการ ซึ่งมีสถานะ Gatekeeper ที่เป็นแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานจำนวนมาก สามารถจำกัดการเข้าถึงของคู่แข่งได้
บริการแรกคือ Google Search โดย EC ระบุว่ากูเกิลเลือกแสดงผลค้นหา ส่วนที่เป็นบริการของกูเกิลเองเช่น ช้อปปิ้ง, จองโรงแรม, การเงิน และผลการแข่งขันกีฬา มีตำแหน่งที่โดนเด่นหรือได้อันดับที่สูงกว่า มองเป็นการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรมต่อเว็บไซต์ภายนอก
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) ออกคำสั่งให้แอปเปิลต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ โดยสั่งให้ iOS ต้องรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ 3rd Party เช่น สมาร์ทวอทช์, หูฟัง, ทีวี ให้เข้าถึงความสามารถต่าง ๆ เท่ากับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ของแอปเปิล เช่น การแจ้งเตือน, การเชื่อมต่อ P2P, NFC, การจับคู่ที่ทำได้ง่าย เป็นต้น
เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว EC ได้ออกเอกสารรับฟังความเห็น เกี่ยวกับการออกคำสั่งนี้ โดยมองว่าจะทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ 3rd Party มีโอกาสสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่กับผู้ใช้งานในยุโรป
เมื่อปีที่แล้วหลังศาลรัฐบาลกลางสหรัฐตัดสินคดีกูเกิลผูกขาดบริการระบบค้นหา (Search Engine) ว่ามีการผูกขาดจริง ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยื่นเรื่องให้ศาลมีคำสั่งแยก Chrome ออกมาจาก Google เป็นอีกบริษัท โดยตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในยุคประธานาธิบดี Joe Biden จึงเกิดประเด็นว่าทิศทางจะเปลี่ยนหรือไม่ในยุค Donald Trump
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ปรับปรุงข้อเสนอต่อศาลรัฐบาลกลางเรื่องนี้ แต่ยกเลิกเฉพาะส่วนที่ระบุว่า Google และ Alphabet บริษัทแม่ ต้องขายเงินลงทุนในบริษัท AI คู่แข่งอื่น เช่น Anthropic โดยมองว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการผูกขาดบริการค้นหาข้อมูล ส่วนประเด็นที่ต้องแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัทนั้นยังอยู่ในข้อเสนอต่อไป
ศาลบราซิลออกคำสั่งให้แอปเปิลต้องเปิด App Store ให้นักพัฒนาเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินนอกจากระบบ In-App รวมทั้งสามารถลงแอปผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ App Store ได้ เหมือนกับในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป โดยกำหนดเวลา 90 วัน
CMA หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักรประกาศคำตัดสิน เรื่องการพิจารณาว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจของไมโครซอฟท์และ OpenAI เข้าข่ายการมีอำนาจควบคุมธุรกิจหรือไม่ โดยสรุปว่ารูปแบบความสัมพันธ์ของสองบริษัทนี้ ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่ทาง CMA จะต้องสอบสวนตามกฎหมายของการต่อต้านการแข่งขันในตลาด
CMA ประกาศพิจารณาความสัมพันธ์ทางธุรกิจของไมโครซอฟท์และ OpenAI มาตั้งแต่ปลายปี 2023 โดยมองว่ามีลักษณะสร้างอำนาจเหนือตลาด AI และอาจนำไปสู่การผูกขาดได้ในอนาคต ซึ่งหากเข้าเกณฑ์ทางกฎหมายก็จะดำเนินการสอบสวนต่อไป
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของรัฐบาลจีน (State Administration for Market Regulation หรือตัวย่อ SAMR) ประกาศสอบสวนกูเกิล โดยให้เหตุผลว่าละเมิดกฎหมายด้านการผูกขาดของจีน
ข้อมูลบนหน้าเว็บของ SAMR มีเพียงเท่านี้ ยังไม่มีรายละเอียดว่ากูเกิลไปละเมิดกฎหมายผูกขาดของจีนอย่างไร แถมกูเกิลเองก็ถอนตัวจากธุรกิจเกือบทั้งหมดในจีนมาตั้งแต่ปี 2010 แล้ว แม้ยังมีธุรกิจบางส่วนเหลืออยู่บ้าง เช่น ธุรกิจโฆษณา และธุรกิจคลาวด์
ประกาศสอบสวนกูเกิลในข้อหาผูกขาด มาพร้อมกับประกาศของรัฐบาลจีนที่ตอบโต้รัฐบาลสหรัฐของ Donald Trump ขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 10% โดยฝั่งจีนขึ้นภาษีกลับ 10-15% ทำให้สื่อตะวันตกมองว่าการเข้ามาสอบสวนกูเกิล น่าจะเป็นหนึ่งในมาตรการโต้ตอบสหรัฐอเมริกา
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ยื่นคำร้องต่อศาล คัดค้านดีล Hewlett Packard Enterprise ซื้อบริษัทอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย Juniper ในราคา 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์
กระทรวงยุติธรรมให้เหตุผลว่า HPE และ Juniper เป็นเบอร์ 2 และ 3 ในตลาดอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (WLAN) ในสหรัฐ การควบรวมกันจะทำให้เหลือผู้เล่นรายใหญ่ 2 รายที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 70% การแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันน้อยอยู่แล้วยิ่งลดลง และจะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กต้องจ่ายค่าอุปกรณ์เหล่านี้แพงขึ้น
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล ยื่นคำร้องต่อศาลสูงสุดแห่งสหภาพยุโรป เพื่อให้พิจารณายกเลิกคำตัดสินที่คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งปรับเงินบริษัท 4.3 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท) เมื่อปี 2018 ในประเด็นผูกขาดทางการค้า สร้างเงื่อนไขให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android ต้องลงแอป Google Search และเบราว์เซอร์ Chrome ซึ่งต่อมากูเกิลได้ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งศาลตัดสินให้มีความผิดเหมือนเดิม แต่คำนวณลดค่าปรับลงเหลือ 4.1 พันล้านยูโร