เราเห็นข่าวหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกพยายามบี้แอปเปิลและกูเกิล ให้ปลดล็อคเรื่องการจ่ายเงินในร้านขายแอพของตัวเอง ตัวอย่างคือ กรณีของ App Store ในเกาหลีใต้ ที่ลดค่าธรรมเนียมเหลือ 26% หากใช้ระบบจ่ายเงินอื่น, กรณีของกูเกิลในเกาหลีใต้ หรือ กรณีของ App Store ในเนเธอร์แลนด์ แต่เฉพาะแอพหาคู่เดต
Competition and Markets Authority หรือ CMA หน่วยงานด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศเข้าสอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการ เพื่อดูว่าสร้างการผูกขาดต่อธุรกิจหรือไม่
CMA ประกาศเริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการในวันนี้ (6 ก.ค.) โดยเปิดรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องภายในวันที่ 20 ก.ค. และกำหนดเส้นตายขั้นต้นเป็นวันที่ 1 ก.ย. ว่าจะตัดสินอย่างไร (อาจเลื่อนได้ถ้าจำเป็น)
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard เป็นดีลใหญ่ที่มีมูลค่าถึง 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และต้องผ่านกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในหลายๆ ประเทศ จึงจะสามารถเดินหน้าต่อได้
มหากาพย์แอปเปิลกับรัฐบาลเกาหลีใต้ จบลงด้วยการที่แอปเปิลยอมเปิด App Store ให้นักพัฒนาแอพสามารถใช้ระบบจ่ายเงินอื่นๆ นอกเหนือจากของแอปเปิลได้ โดยจะเสียค่าธรรมเนียมถูกลง 4% (เหลือ 26%)
ตอนนี้ระบบจ่ายเงินออนไลน์ที่แอปเปิลรองรับคือ KCP, Inicis, Toss, NICE โดยนักพัฒนาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบจ่ายเงินของแอปเปิลต่อไปตามปกติ หรือจะเปลี่ยนมาใช้ระบบจ่ายเงินค่ายอื่น ซึ่งจะเสียฟีเจอร์อย่าง Ask to Buy, Family Sharing และจำเป็นต้องเชื่อมต่อผ่าน StoreKit External Purchase Entitlement ซึ่งเป็น API พิเศษเวอร์ชันเฉพาะของสโตร์เกาหลีใต้ด้วย
หน่วยงานด้านการแข่งขันทางการค้าของแคนาดา (Competition Bureau) ยื่นเรื่องต่อศาลแข่งขัน (Competition Tribunal) ขอระงับการควบรวมระหว่างบริษัทโทรคมนาคม Rogers ที่เสนอซื้อกิจการบริษัท Shaw ในราคา 26 พันล้านดอลลาร์แคนาดา ด้วยเหตุผลว่าการควบรวมจะทำลายการแข่งขัน ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องจ่ายแพงขึ้น ในคุณภาพบริการที่ลดลง
ดีลนี้ Rogers โอปเปอเรเตอร์อันดับหนึ่งของแคนาดา มีฐานลูกค้าราว 11.3 ล้านราย เสนอซื้อกิจการ Shaw โอเปอเรเตอร์อันดับสี่ มีฐานลูกค้า 2.1 ล้านราย (Shaw ยังมีธุรกิจด้านเน็ตผ่านเคเบิลตามบ้าน และทีวีดาวเทียมด้วย)
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกผลการประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าบริการ Apple Pay เข้าข่ายผูกขาดระบบจ่ายเงินบน iOS เพราะเป็นบริการเดียวที่สามารถเข้าถึง NFC บนอุปกรณ์ iOS ได้
คณะกรรมการยุโรปบอกว่าการที่แอปเปิลจำกัดไม่ให้นักพัฒนารายอื่นใช้ NFC เพื่อจ่ายเงินได้ เป็นการปิดกั้นการแข่งขัน และทำให้ Apple Pay เป็นบริการที่ครองตลาดเพียงรายเดียว
ตอนนี้คณะกรรมการฯ ได้ส่งจดหมายแจ้งเตือนแอปเปิลอย่างเป็นทางการ (เป็นกระบวนการตามมาตรฐาน และยังไม่ถือเป็นการตัดสินว่าผิด) และจะเริ่มกระบวนการสอบสวนในขั้นต่อไป หากพบว่าแอปเปิลผิดจริงก็จะถือว่าผิดกฎหมายมาตรา 102 ของสหภาพยุโรปที่ห้ามผูกขาด
ร่างกฎหมายตลาดดิจิทัล (Digital Markets Act - DMA) ของสหภาพยุโรปกำลังเข้าสู่ร่างสุดท้ายเตรียมการรับรอง โดยกฎหมายนี้เพิ่มภาระหน้าที่ให้กับแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (เรียกว่า gatekeeper) เช่น การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับกฎหมาย และการเปิดแพลตฟอร์มให้ธุรกิจอื่นสามารถใช้งานแพลตฟอร์มได้อิสระขึ้น
กูเกิลปรับนโยบายช่องทางการจ่ายเงินบน Google Play Store ให้ผ่อนคลายมากขึ้น จากเดิมที่บังคับต้องจ่ายผ่านระบบของกูเกิลเท่านั้น แต่เมื่อช่วงหลังได้รับแรงกดดันจากหน่วยงานภาครัฐในหลายประเทศ (เช่น เกาหลีใต้ที่ถึงขั้นออกเป็นกฎหมาย) ทำให้กูเกิลต้องยอมปรับตัว
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่าจะ 'ทดลอง' ให้นักพัฒนาในประเทศอื่นใช้ระบบจ่ายเงินของตัวเองด้วย โดยเริ่มจาก Spotify เป็นรายแรก ที่สามารถนำเสนอวิธีการจ่ายเงินของตัวเองคู่ไปกับ Google Play billing แล้วให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเลือกว่าจะจ่ายทางไหน
ความตื่นตัวเรื่องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้แนวทางการตามรอยข้ามเว็บด้วยคุกกี้ (third-party cookies) เริ่มใช้งานไม่ได้อีกต่อไป กูเกิลในฐานะทั้งผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ Chrome และเจ้าของระบบโฆษณาออนไลน์ขนาดใหญ่ของโลก เคยเสนอแนวทาง Privacy Sandbox ที่ใช้แทนคุกกี้มาตั้งแต่ปี 2019 และเคยประกาศแผนยกเลิกคุกกี้ข้ามเว็บภายในปี 2022 (ภายหลังเลื่อนมาเป็นปี 2023)
ในประกาศ ไมโครซอฟท์กำหนดหลักการเปิดกว้างสโตร์บน Windows และ Xbox ยังมีประกาศสำคัญคือ ไมโครซอฟท์การันตีว่า Call of Duty และเกมอื่นๆ ของ Activision Blizzard จะยังมีให้เล่นบน PlayStation ในระยะยาว แม้หมดสัญญาฉบับปัจจุบันระหว่าง Sony กับ Activision Blizzard แล้วก็ตาม เพื่อให้แฟนเกมเจ้าของเครื่อง PlayStation จะยังได้เล่นเกมที่ตัวเองรักต่อไป
ไมโครซอฟท์ยังบอกว่าสนใจจะใช้นโยบายเดียวกันกับเกมบนแพลตฟอร์ม Nintendo ด้วย โดยบริษัทเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับอุตสาหกรรมเกม และจะเป็นประโยชน์กับทุกคน
เมื่อปี 2020 ไมโครซอฟท์เคยออกมาประกาศแนวทางเปิดกว้างของ Microsoft Store จำนวน 10 ข้อ
ล่าสุดในปี 2022 ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศหลักการ Open App Store Principles เพิ่มจำนวนข้อเป็น 11 ข้อ โดยระบุว่าประกาศแนวทางนี้เพื่อแสดงจุดยืนว่าหลังซื้อ Activision-Blizzard แล้วจะยังเปิดกว้างต่อไป
คดีความระหว่าง Epic Games กับแอปเปิลในประเด็นการผูกขาดวิธีจ่ายเงินบน App Store มีคำตัดสินจากศาลชั้นต้นเมื่อเดือนกันยายน 2021 สั่งให้แอปเปิลต้องเปิดกว้างมากขึ้นในการรองรับระบบจ่ายเงินเจ้าอื่น ซึ่ง Epic มองว่ายังไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ (ศาลไม่ได้มองว่าแอปเปิล "ผูกขาด") และขอยื่นอุทธรณ์ ทำให้กระบวนการทางคดีลากยาวต่อไป (Fortnite จึงยังถูกแอปเปิลแบนต่อ)
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่า Nvidia เริ่มแจ้งพันธมิตรว่าดีลควบรวม Arm มูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์น่าจะล้มเหลว และแหล่งข่าวอีกรายระบุว่า SoftBank จะพยายามนำ Arm เข้าตลาดหุ้นแทนการขายทั้งบริษัท
การที่ Nvidia เข้าซื้อ Arm สร้างความกังวลใจให้หลายฝ่าย เนื่องจาก Arm นั้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีต้นน้ำที่คู่แข่ง Nvidia เองก็ใช้งานอยู่จำนวนมาก ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐแสดงท่าทีว่าจะสอบสวนการควบรวมครั้งนี้อย่างหนัก แม้ว่า Nvidia จะยืนยันว่าไม่ได้ต้องการยึดเทคโนโลยี Arm ไว้ใช้คนเดียว แต่จะขายให้บริษัทอื่นๆ ต่อไป
ต่อจากข่าว เนเธอร์แลนด์สั่งแอปเปิลเปิดเสรีระบบจ่ายเงินบน App Store สำหรับแอพหาคู่เดต
แอปเปิลออกมาประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของ Authority for Consumers and Markets (ACM) หน่วยงานด้านการแข่งขันของเนเธอร์แลนด์ โดยจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาล อย่างไรก็ตาม ระหว่างกระบวนการอุทธรณ์ แอปเปิลก็ระบุว่าจะยอมปฏิบัติตามคำสั่งของ ACM ไปก่อน
สิ่งที่แอปเปิลจะทำคือ จะเปิดให้แอพหาคู่เดทใน App Store ของเนเธอร์แลนด์ ใช้ระบบจ่ายเงินอื่นได้ โดยนักพัฒนาจะต้องยื่นคำขอไปยังแอปเปิล และต้องแยกไฟล์ไบนารีที่ส่งขึ้นสโตร์ด้วย
กลายเป็นข่าวส่งท้ายปี 2021 เมื่อคณะกรรมการการแข่งขันของอินเดีย (Competition Commission of India หรือ CCI) มีคำสั่งให้สอบสวนแอปเปิลในประเด็นการบังคับจ่ายเงินบน App Store ให้ต้องใช้ระบบจ่ายเงินของแอปเปิลเท่านั้น
คดีนี้มีที่มาจากกลุ่ม Together We Fight Society ร้องเรียนต่อ CCI ว่าแอปเปิลมีพฤติกรรมผูกขาดและต่อต้านการแข่งขัน เพราะการซื้อแอพและการจ่ายเงินแบบ in-app purchase บน App Store ทั้งหมดต้องจ่ายผ่านช่องทางของแอปเปิล และต้องหักส่วนแบ่งรายได้ 30%
คณะกรรมการ CCI พิจารณาแล้วเห็นว่าแอปเปิลมีพฤติกรรมละเมิดกฎหมายแข่งขันทางการค้าของอินเดียจริง จึงให้สำนักงาน CCI สอบสวนพฤติกรรมของแอปเปิลอย่างละเอียดให้เสร็จภายใน 60 วัน แล้วรายงานกลับมายังคณะกรรมการต่อไป
หน่วยงานด้านแข่งขันทางการค้าของเนเธอร์แลนด์ Authority for Consumers and Markets (ACM) สั่งแอปเปิลให้เปิดเสรีระบบจ่ายเงินบน App Store สำหรับแอพกลุ่มหาคู่เดต
ACM บอกว่าแอพหาคู่เดตเป็นแอพกลุ่มที่จำเป็นต้องมีผู้ใช้งานหลากหลาย แต่การใช้งานบน iPhone ถูกบังคับด้วยเงื่อนไขด้านระบบจ่ายเงิน และส่วนแบ่ง 15% ของแอปเปิล ทำให้ผู้พัฒนาแอพเสียเปรียบ และกลายเป็นแอปเปิลมีอำนาจเหนือตลาด ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศในภาพรวม หน้าที่ของ ACM จึงเป็นการสร้างการแข่งขันในตลาดให้มากขึ้น เพื่อให้กลไกตลาดทำงาน
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ลงมติ 4-0 ขวางดีล NVIDIA ซื้อกิจการ Arm มูลค่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามความคาดหมาย ด้วยเหตุผลว่าการซื้อกิจการจะทำให้เกิดการกีดกันคู่แข่ง ปิดกั้นการแข่งขันและนวัตกรรม
FTC ให้เหตุผลว่าโมเดลธุรกิจของ Arm คือการขายไลเซนส์และเทคโนโลยีให้ผู้ผลิตชิปรายต่างๆ ซึ่งเป็นคู่แข่งของ NVIDIA ด้วย และบริษัทเหล่านี้ก็แชร์ความลับทางการค้ากลับไปให้ Arm เช่นกัน ดังนั้น Arm ต้องรักษาความเป็นกลาง หาก NVIDIA กลายเป็นเจ้าของ Arm ย่อมทำให้สภาวะนี้เสียไป และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น ระบบรถยนต์ไร้คนขับ, การ์ดเครือข่ายรุ่นใหม่ที่เป็น DPU SmartNIC และซีพียู Arm สำหรับเซิร์ฟเวอร์
หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry - CMA) ออกคำสั่งให้ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ต้องขายกิจการ Giphy แพลตฟอร์ม GIF ที่ Facebook ซื้อกิจการมาเมื่อปีที่แล้ว ออกไปเป็นบริษัทอิสระ ตามที่มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้
CMA ให้เหตุผลว่าการที่ Facebook ซื้อ Giphy ทำให้เกิดการผูกขาดในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เป็นการปิดโอกาสทำเงินจากโฆษณาของ Giphy ซึ่งจะสร้างการแข่งขัน อีกทั้ง Giphy ยังทำให้คู่แข่งที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล GIF บนแพลตฟอร์ม อาจต้องแชร์ข้อมูลให้ Facebook อีกด้วย
บริษัทคลาวด์สตอเรจแบบโฮสต์เอง Nextcloud จากเยอรมนี ร่วมกับกลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์สายโอเพนซอร์สจากยุโรป ยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ให้ตรวจสอบไมโครซอฟท์ในข้อหาผูกขาด OneDrive ผ่านการพ่วงไปกับ Windows
Nextcloud ให้บริการระบบแชร์ไฟล์และการสื่อสารภายองค์กร (แชท อีเมล ปฏิทิน) ซึ่งถือเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Office 365 จุดต่างคือระบบของ Nextcloud เป็นการโฮสต์บนเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรเอง (on premise) ด้วยเหตุผลเรื่องต้นทุน การเข้าถึง ความปลอดภัย
Nextcloud ระบุว่าพฤติกรรมการพ่วง OneDrive หรือ Teams ของไมโครซอฟท์ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของไมโครซอฟท์ในยุโรปเพิ่มสูงถึง 66% ในขณะที่ผู้ให้บริการรายย่อยๆ เหลือส่วนแบ่งเพียง 16% ถือว่าคล้ายกับกรณีผูกขาดเว็บเบราว์เซอร์ในอดีตมาก
รัฐสภายุโรปเตรียมเสนอโหวตกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) เพื่อควบคุมพฤติกรรมของแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ให้ผูกขาดหรือใช้อิทธิพลไปกลั่นแกล้งคู่แข่ง
กฎหมายฉบับนี้ให้นิยาม "ผู้คุมแพลตฟอร์ม" (gatekeeper) ซึ่งหมายถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ๆ เช่น เว็บค้นหา โซเชียลเน็ตเวิร์ค แพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ แพลตฟอร์มแชร์วิดีโอ ผู้ให้บริการคลาวด์ ฯลฯ โดยคำนวณจากมูลค่าบริษัทตามราคาตลาดต้องเกิน 8 หมื่นล้านยูโร และมีรายได้ในยุโรปเกิน 8 พันล้านยูโรต่อปี
ปัจจุบัน แม้ Windows 11 จะสามารถเลือกเบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นสำหรับระบบปฏิบัติการได้ แต่เบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นก็ไม่ได้ใช้งานได้เสมอไป เนื่องจาก Microsoft มักจะใส่ microsoft-edge://
ในบางแอปของ Windows เช่น News เพื่อบังคับให้ต้องเปิดใน Micorsoft Edge เท่านั้น เปรียบเสมือนเป็นการแทรกแซงเบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นที่ผู้ใช้เลือกไว้ จึงมีผู้พัฒนาแอปอย่าง EdgeDeflector ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ คือกดลิงก์ก็ยังคงไปยังเบราว์เซอร์ค่าเริ่มต้นของ Windows ตามปกติ
ล่าสุด Microsoft เริ่มทดสอบ Windows 11 (build 22494) กับ Insider แล้ว ซึ่งผู้ทดสอบพบว่า Microsoft ปิดฟีเจอร์ไม่ให้แอปอย่าง EdgeDeflector ทำงานได้
สำนักข่าว Bloomberg รายงานเนื้อหาเพิ่มเติมจากการไต่สวนคดีที่สหภาพยุโรป สั่งปรับกูเกิล 4,342 ล้านยูโรในปี 2018 ด้วยข้อหาผูกขาดทางการค้า Android ที่ระบุว่ากูเกิลบังคับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้องลง Google Search และ Chrome โดยคราวนี้เป็นประเด็นเรื่องการผูกขาดเสิร์ชบน Android
ทนายความของกูเกิลให้ข้อมูลว่า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่คำที่คนค้นหามากที่สุดบน Bing เสิร์ชเอ็นจินคู่แข่งของกูเกิลของไมโครซอฟท์ ก็เป็นคำว่า Google สะท้อนให้เห็นว่า การที่คนใช้กูเกิลเป็นเสิร์ชหลักนั้นเพราะพวกเขาเลือกเอง ไม่ใช่ถูกบังคับให้ใช้ ส่วนแบ่งการตลาดของเสิร์ชเอ็นจินของกูเกิลก็ยังสูงที่ระดับ 95% มาโดยตลอด
กูเกิลสู้คดีสหภาพยุโรปสั่งปรับ 4.34 พันล้านยูโรในปี 2018 ข้อหาผูกขาด Android ในแง่ว่าบังคับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้องลง Google Search/Chrome และกีดกันผู้ผลิตที่พยายาม fork Android เวอร์ชันของตัวเอง
ทนายของกูเกิลโต้ข้อกล่าวหาเหล่านี้ในชั้นศาล โดยบอกว่าคณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) จงใจมองข้ามประเด็นว่ากูเกิลแข่งขันกับแอปเปิลอย่างดุเดือด ตลาดสมาร์ทโฟนไม่ได้ถูกผูกขาดแต่อย่างใด และการเลือกมองแค่ Android เพียงอย่างเดียวเป็นการตีกรอบเพื่อให้กูเกิลผิดให้ได้
หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดของเกาหลีใต้ Korea Fair Trade Commission (KFTC) สั่งปรับกูเกิลเป็นเงิน 2.07 แสนล้านวอน (ประมาณ 5.8 พันล้านบาท) ในข้อหากีดกันไม่ให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนปรับแต่ง Android ใช้เอง ต้องใช้ Android เวอร์ชันของกูเกิลเท่านั้น
KFTC ระบุว่าแม้ Android เป็นโอเพนซอร์ส แต่กูเกิลบีบให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้องใช้ Google Android เพียงอย่างเดียว โดยบังคับต้องเซ้นสัญญา anti-fragmentation agreement (AFA) ว่าจะไม่ใช้งานหรือพัฒนา Android เวอร์ชันแยกของตัวเอง
จากคดีความฟ้องผูกขาด Google และ Apple ทำให้เราได้เห็นข้อมูลหลายด้าน ล่าสุด เอกสารศาลที่รัฐยูทาห์ ฟ้อง Google เผย Google ในปี 2019 มีรายได้ถึง 11.2 พันล้านดอลลาร์และกำไร 8.5 พันล้านดอลลาร์จากการขายแอป การซื้อในแอป และโฆษณาในร้านค้าแอป
ตัวเลขนี้ถือเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะปกติ Google มักจะรายงานตัวเลขรายได้จากร้านค้าแอปรวมอยู่ในส่วนอื่นๆ ข้อมูลนี้ช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นว่า ลำพังรายได้ร้านค้าแอปก็มากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์แล้ว
มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารประกอบการพิจารณาคดี ระหว่าง Epic Games กับกูเกิล ประเด็น Google Play ผูกขาด โดยพบว่ากูเกิลพยายามเจรจากับ Netflix เพื่อให้กลับมาใช้ระบบ In-App จ่ายเงิน พร้อมให้ข้อเสนอยอมลดส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมลง จากอัตราปกติที่ 30% แลกกับการไม่สร้างระบบจ่ายเงินแยกออกมาต่างหาก แสดงให้เห็นว่ากูเกิลก็สามารถลดอัตราค่าธรรมเนียมลงเป็นพิเศษได้เช่นกัน
ก่อนหน้านี้มีเอกสารจากฝั่งแอปเปิลในคดี Epic Games ว่าแอปเปิลพยายามเจรจาขอลดส่วนแบ่งกับ Netflix ซึ่งเป็นบริการที่มีคนสมัครใช้งาน subscription ยอดนิยมตัวหนึ่ง