เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2020 คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ค ขอให้ศาลสั่งแยก WhatsApp และ Instagram ออกมาเป็นอีกบริษัท
วันนี้ Facebook ตอบโต้ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ถอนคดีนี้ โดยเสนอเหตุผลหักล้าง FTC ในหลายประเด็น เช่น FTC ไม่สามารถแสดงหลักฐานว่า Facebook ขึ้นราคาหรือจำกัดปริมาณสินค้า, ไม่มีหลักฐานว่าการซื้อ WhatsApp และ Instagram เป็นการทำลายการแข่งขันจริง เป็นต้น
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศกำลังสอบสวนแอปเปิล หลังมีการร้องเรียนเข้ามาว่า ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับนักพัฒนาแอปลง App Store นั้นไม่เป็นธรรม และไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเสียโอกาสในการซื้อและใช้แอป
ฟีเจอร์ Sign in with Apple ถูกปล่อยออกมาบน iOS 13 เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถล็อกอินเข้าใช้งานแอปได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่นอีเมล ซึ่งแอปเปิลก็บังคับให้แอปบน App Store ต้องเพิ่มตัวเลือกนี้เข้าไปคู่กับ ตัวเลือกล็อกอินด้วย Google, Facebook หรือ Twitter
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมเริ่มสอบสวนคำร้องจากนักพัฒนาที่ยื่นฟ้องตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลว่าแอปเปิลใช้อิทธิพลเหนือ App Store บีบให้ใช้งาน Sign in with Apple ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานไม่มีทางเลือกที่จะย้ายไปใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (เพราะข้อมูลไม่ซิงก์และผูกอยู่กับแค่ Apple ID)
ที่มา - The Information via Macrumors
ต่อเนื่องจากการฟ้องร้องในสหรัฐ, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร ล่าสุด Epic Games ขยายวงของคดีความไปยังสหภาพยุโรปแล้ว
Epic Games ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการทั่วไปด้านการแข่งขันของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission’s Directorate-General for Competition) ในข้อหาคล้ายกันคือผูกขาด App Store และปิดกั้นกระบวนการชำระเงิน เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางที่ผิดในสหภาพยุโรป
หน่วยงานของรัฐจีนที่ทำหน้าที่ควบคุมตลาดหรือ State Administration for Market Regulation (SAMR) ออกแนวทางกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ของจีน ป้องกันการผูกขาด หนึ่งในแนวทางคือห้ามไม่ให้แพลตฟอร์มใหญ่ บังคับร้านค้าต้องเลือกขายในเว็บใดเว็บหนึ่งเท่านั้น
พฤติกรรมดังกล่าวมีให้เห็นมานานแล้วในวงการอีคอมเมิร์ซของจีน และ SAMR สืบสวนอาลีบาบาเมื่อเดือนธันวาคม 2020 ว่ามีพฤติกรรมดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งแนวทางกำกับดูแลใหม่นี้กระทบอาลีบาบาเต็มๆ เพราะเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหญ่ทั้ง Taobao และ Tmall
เมื่อปีที่แล้ว Uber ประกาศเข้าซื้อบริษัท Autocab บริการทำ SaaS สำหรับอุตสาหกรรมแท็กซี่และรถเช่าส่วนตัว ล่าสุดตอนนี้ Competition and Markets Authority หรือ CMA ของสหราชอาณาจักรกำลังเริ่มสอบสวนดีลนี้ว่ามีผลทำให้ลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
Autocab เป็นบริษัทให้บริการเครื่องมือแก่แท็กซี่ตั้งแต่ปี 1991 แต่ช่วงหลังมาบริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มชื่อว่า iGo Everywhere เป็นบริการ SaaS สำหรับจองเวลาแท็กซี่โดยผู้ให้บริการแท็กซี่สามารถใส่โลโก้ของตัวเองเข้าไปในแอปของ Autocab ได้ ดังนั้นแพลตฟอร์มนี้จึงเป็นเหมือนแอปเรียกรถเพื่อผู้ขับรถแท็กซี่รายย่อยที่ไม่มีทรัพยากรในการทำแอปเองก็สามารถให้บริการเหมือนกับ Uber ได้
เฟซบุ๊กแสดงความไม่พอใจแอปเปิล นับตั้งแต่การอัพเดต iOS 14 ก่อนที่ล่าสุด Mark Zuckerberg ก็บอกว่าเฟซบุ๊กมองแอปเปิลเป็นคู่แข่งแล้ว จาก iMessage ที่มาแข่ง Messenger และ WhatsApp
ประกอบกับการเป็นเจ้่าของแพลตฟอร์ม ทำให้แอปเปิลสามารถใช้สถานะนี้ควบคุมการทำงานของแอปอื่น แต่ละเว้นของตัวเอง (Mark เคยบอกว่าแอปเปิลบังคับนโยบายความเป็นส่วนตัวกับแอปอื่น แต่แอปตัวเองไม่ทำตาม) ทำให้ตอนนี้มีรายงานว่าเฟซบุ๊กกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อฟ้องแอปเปิลฐานผูกขาดแล้ว จากข้อมูลของคนในที่เกี่ยวข้อง หลังจากเคยแค่เสนอช่วยเหลือ Epic เท่านั้น
เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมาสำนักงานกฎหมาย Hagens Berman ได้ยื่นฟ้องต่ออเมซอนที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
โดยในคำฟ้องนั้นทางสำนักงานฯ เชื่อว่า อเมซอนละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด ลักลอบทำสัญญาลับๆ กับบรรดาสำนักพิมพ์ทั้ง 5 ได้แก่ Penguin Random House, Hachette, HarperCollins, Macmillan, และ Simon & Schuster เพื่อทำให้ราคาอีบุ๊คบนอเมซอนถูกที่สุด เป็นการลดการแข่งขัน ซึ่งเป็นผลเสียแก่ผู้บริโภค
ในคำฟ้องมีการอ้างถึงแทคติคต่างๆที่อเมซอนทำเพื่อให้มั่นใจว่าราคาอีบุ๊คในร้านค้าตัวเองจะต้องถูกที่สุดอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
Epic Games ขยายเวทีความขัดแย้งเรื่องการผูกขาดของ Apple และ Google ออกไปนอกสหรัฐด้วย โดยก่อนหน้านี้มีออสเตรเลียไปแล้ว ล่าสุดเป็นเวทีในสหราชอาณาจักร
Epic Games ยื่นคำฟ้องไปยังตุลาการพิจารณาคดีอุทธรณ์ด้านการแข่งขัน (Competition Appeal Tribunal) ของสหราชอาณาจักร โดยในคำฟ้อง Epic อ้างการใช้อำนาจเหนือตลาดของ Apple ที่บังคับให้ใช้งาน App Store และระบบจ่ายเงิน in-app ของ Apple แต่เพียงผู้เดียว
Epic ยังยืนยันเช่นเดิมว่าการฟ้องร้องทั้งในสหรัฐ ออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ไม่ได้เพื่อต้องการเรียกความเสียหายใด ๆ แต่แค่ต้องการให้เกิดการเข้าถึงและการแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับผู้บริโภค
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของจีน หรือ The State Administration for Market Regulation เผยกำลังสืบสวน Alibaba บริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่เรื่องการผูกขาด หลังก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนสั่งระงับการเข้าตลาด IPO ของ Ant Group บริษัทลูกในเครือของ Alibaba ไป โดยเป็นการตรวจสอบการปฏิบัติที่น่าสงสัยว่ามีการผูกขาด รวมถึงกลยุทธ์ของ Alibaba ในการบังคับให้ผู้ค้า ขายของเฉพาะบนแพลตฟอร์มของตนเท่านั้น
Washington Post เผยรายงานตีแผ่การต่อสู้ของ Facebook ต่อคดีผูกขาดที่ถูกฟ้องร้องโดยอัยการจาก 48 รัฐ โดยอ้างอิงจากบุคคลภายใน Facebook ไม่ประสงค์เอ่ยนาม บุคคลดังกล่าวเผยว่า Facebook พยายามอย่างหนัก มีความคิดจะมอบ code ของ Facebook ให้บริษัทอื่นหรือนักพัฒนาภายนอกเข้าถึงได้ และสามารถสร้างโซเชียลมีเดียในแบบของตัวเองได้ เพื่อจะได้นำมาปกป้องตัวเองได้ว่า Facebook ไม่ได้ผูกขาดหรือทำลายคู่แข่งแต่อย่างใด
กูเกิลกำลังโดนฟ้องข้อหาผูกขาดด้วยระบบค้นหา เป็นการฟ้องใหญ่จากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และอัยการจากรัฐต่างๆ ล่าสุด กูเกิลออกมาปกป้องตนเองว่า ระบบแสดงผลการค้นหาของ Google คือการตอบสนองความคิดเห็นจากผู้ใช้งาน ไม่ใช่การทำลายคู่แข่งในตลาด ทางบริษัทเข้าใจหากผู้ใช้งานไม่ชอบผลการค้นหาที่ระบบแสดงให้ แต่ผู้บริโภคก็ยังมีทางเลือกอื่น เช่น Amazon, Expedia, Tripadvisor
Google เจอฟ้องผูกขาดอีกครั้ง คราวนี้เป็นครั้งแรกที่โดนฟ้องเจาะไปที่เรื่องการผูกขาดโฆษณาโดยตรง เป็นการฟ้องโดยทนายความใน 10 รัฐ ในเนื้อหาคำฟ้องระบุว่า Google ใช้อำนาจทางการตลาด ดึงเม็ดเงินโฆษณาไปจากผู้ผลิตสื่อรายเล็กอย่างบล็อก, หนังสือพิมพ์ออนไลน์, เว็บไซต์ทำอาหาร ซึ่งล้วนอยู่รอดได้ด้วยรายได้โฆษณา และยังบอกด้วยว่า Google ต่อรองลับหลังกับ Facebook จัดการประมูลโฆษณาในลักษณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อกัน
Facebook ตบตีกับ Apple มาหลายรอบ และล่าสุดก็เรื่องการปรับค่าความเป็นส่วนตัวบน iOS 14 ที่กระทบกับผู้ให้บริการรายเล็ก ๆ ที่อาศัยข้อมูลผู้ใช้เป็นหนทางสร้างรายได้
Facebook บอกว่าการปรับการตั้งค่าแบบนี้ ไม่ใช่แค่ฆ่าธุรกิจหรือพับลิชเชอร์รายเล็ก ๆ ที่เดือดร้อนจาก COVID-19 อยู่แล้ว แต่ยังบีบให้ธุรกิจเหล่านี้เปลี่ยนโมเดลจากการหารายได้โฆษณามาเป็นผ่านการสมัครสมาชิกรายเดือนหรือ in-app ซึ่งสุดท้ายเงินก็เข้า Apple
คณะกรรมาธิการยุโรปออกกฎใหม่ Digital Markets Act เพื่อกำกับดูแลบริษัท tech เน้นเรื่องการใช้ข้อมูล, การผูกขาดกีดกันการค้า มีการวางกรอบสิ่งที่บริษัทควรทำและไม่ควรทำกว้างๆ และหากบริษัทไม่ทำตามจะมีโทษปรับสูง 10% ของมูลค่าการซื้อขายทั่วโลก โดยสหภาพยุโรปมองบริษัท tech เป็นผู้รักษาประตู (gatekeeper) ในตลาดดิจิทัล จึงต้องมีการออกกฎให้แน่ใจว่า ผู้รักษาประตูทำสิ่งที่ถูกต้องและยุติธรรมกับทุกคน
คณะกรรมการการค้าของสหรัฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) ยื่นฟ้อง Facebook ในข้อหาผูกขาดตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์คแล้ว
FTC บอกว่า Facebook มีพฤติกรรมปิดกั้นการแข่งขันมายาวนานและทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การไล่ซื้อบริษัทที่มีโอกาสมาเป็นคู่แข่งในอนาคต ทั้ง WhastApp, Instagram และกำหนดเงื่อนไขใน API ว่าห้ามนำไปใช้ทำฟีเจอร์บางอย่างแข่งกับ Facebook รวมถึงห้ามใช้โปรโมทหรือเชื่อมต่อกับบริการโซเชียลอื่นๆ ยิ่งทำให้ Facebook ผูกขาดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ที่สุดของโลก มีกำไรมหาศาล
อังกฤษเตรียมตั้งหน่วยงานใหม่ ชื่อว่า Digital Markets Unit หรือ DMU เพื่อควบคุม กำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีใหญ่อย่าง Google, Facebook ดูประเด็นการผูกขาดเป็นสำคัญ จะเริ่มมีผลในเดือนเมษายน 2021
โดย DMU จะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานด้านการแข่งขันและการตลาด หรือ CMA (Competition and Markets Authority) มีหน้าที่กำหนดขีดจำกัดใหม่ว่าบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ทำอะไรได้บ้าง และสร้างสภาพแวดล้อมที่ธุรกิจเล็กสามารถมาแข่งขันได้ รวมถึงให้อำนาจผุ้บริโภคในการควบคุมข้อมูลของตนเอง
กรณีพิพาทระหว่าง Epic Games กับ Apple เริ่มระอุขึ้นเรื่อยๆ หลัง Epic Games เปิดระบบจ่ายเงินบนมือถือในเกม Fortnite เองจนเกมถูก Apple แบน และ Apple ยังแบนบัญชีนักพัฒนาของ Epic Games รวมถึงฟ้องกลับ Epic Games ว่ากระทำการละเมิดสัญญาอีกด้วย
ล่าสุด Epic Games เปิดฉากฟ้อง Apple ในออสเตรเลีย หลังคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) เริ่มสอบสวนกรณีการผูกขาดของ Apple ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
เมื่อเดือนมิถุนายน Qualcomm ถูกศาลตัดสินว่าผูกขาดชิปโมเด็มจากคำร้อง FTC ซึ่ง Qualcomm ก็ได้ยื่นอุทธรณ์ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะกลับคำตัดสิน โดยระบุว่า FTC พิสูจน์ไม่ได้ว่า Qualcomm ผูกขาดจริง นอกจากแค่พยายามทำกำไรให้ได้สูงสุดตามกรอบกฎหมาย
คำตัดสินของศาลอุทธรณ์ครั้งนั้น มีคณะผู้พิพากษา 3 ท่าน และมีมติแบบเอกฉันท์ ซึ่ง FTC ก็ยื่นเรื่องให้ศาลพิจารณาอีกครั้งโดยเพิ่มจำนวนผู้พิพากษา และล่าสุดศาลอุทธรณ์ก็ปัดตกคำร้องนี้ของ FTC โดยไม่มีผู้พิพากษาสักท่านยกเรื่องนี้ขึ้นมาโหวตเลยด้วยซ้ำ
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใหญ่อีก 11 รัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการค้นหาและโฆษณาบนระบบค้นหา (search advertising) อย่างเป็นทางการ
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมชี้ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด คือการที่กูเกิลไปเซ็นสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟกับบริษัทต่างๆ (เช่น เบราว์เซอร์ สมาร์ทโฟน และผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐ) เพื่อให้ตัวเองเป็นเครื่องมือค้นหาหลัก โดยจ่ายเงินจำนวนเป็นหลักพันล้านดอลลาร์ต่อปี และในสัญญาบางฉบับมีเงื่อนไขห้ามติดตั้งเครื่องมือค้นหาของคู่แข่ง ส่งผลให้ไม่มีบริษัทใดขึ้นมาแข่งขันกับกูเกิลได้เลย
ในบางกรณี เช่น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ยังเจอสัญญาบีบให้ติดตั้งแอพของกูเกิล (gapps) ทั้งชุด และต้องนำเสนอแอพของกูเกิลในตำแหน่งที่เด่นที่สุดด้วย
Kazuyuki Furuya ประธานของคณะกรรมการการค้าญี่ปุ่นหรือ FTC เปิดเผยว่ากำลังวางรากฐานในแง่กฎหมายสำหรับการกำกับดูแลบริษัทเทคขนาดใหญ่อย่าง Google, Amazon, Apple และ Facebook ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าจะผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง และทำงานร่วมกับหน่วยงานทีเกี่ยวข้องในสหรัฐและอียูด้วย
นอกจากนี้ FTC ก็จะเข้ามาดูแลและสอบสวนเรื่องการผูกขาดกรณีการซื้อกิจการขนาดเล็กของบริษัทใหญ่ เช่น กรณีที่ Google ซื้อ Fitbit ซึ่งก็กำลังถูกบีบอย่างหนักจากอียู
ที่มา - Reuters
Cedric O และ Mona Keijzer รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ ลงนามร่วมกันในข้อเรียกร้องไปยัง EU สำหรับการออกมาตรการในกฎหมาย Digital Services Acts ที่กำลังจะออก เพื่อควบคุมและจัดการบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เจ้าของแพลตฟอร์มที่มีลักษณะ "gatekeeper" หรือผู้ควบคุมการเข้าออก (สินค้า, บริการ, ข้อมูล ฯลฯ)
แนวคิดหนึ่งที่ถูกเสนอมาเพื่อลดอำนาจผูกขาดของ Facebook คือ แยกบริษัทออกเป็นส่วนๆ คือแยก Facebook ออกจาก Instagram และแยกออกจาก WhatsApp ซึ่งขณะนี้ ทางบริษัทกำลังถูกสอบสวนจากรัฐบาลกลางและคาดว่าอนุคณะกรรมการต้านการผูกขาดจะเผยผลการสอบสวนเร็วๆ นี้
ล่าสุด The Wall Street Journal ไปเจอเอกสาร 14 หน้า ที่เขียนโดยทีมทนายความของ Facebook คาดว่าเป็นการเตรียมเอกสารไว้ใช้สู้คดี ระบุว่าการแยกบริษัทออกจากกันนั้นทำไม่ได้ เพราะทำให้บริษัทต้องใช้เงินทุนสูงเป็นพันล้านดอลลาร์เพื่อจะรักษาแต่ละระบบให้คงอยู่ต่อได้ และอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อประสบการณ์และความปลอดภัยในการใช้งาน
วันนี้ คดีระหว่าง Apple vs Epic เริ่มไต่สวนในชั้นศาลตามนัดหมาย ฝั่งของกูเกิลก็ออกมาประกาศนโยบายของ Android และ Google Play Store ในประเด็นเรื่องการผูกขาด จำนวน 5 ข้อดังนี้
Epic Games ร่วมกับพันธมิตรผู้ได้รับผลกระทบจากแอปเปิลอีกหลายราย เช่น Basecamp, Spotify, Deezer และ Match Group (บริษัทแม่ของ Tinder) ประกาศตั้งกลุ่มพันธมิตร Coalition for App Fairness (CAF) เพื่อผลักดันกฎหมายและกฎระเบียบด้านการผูกขาดสโตร์
กลุ่ม CAF บอกว่าจะเป็นตัวแทนของนักพัฒนาแอพและเกมทั่วโลก ที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมในสนามแข่งขัน และรักษาสิทธิของผู้บริโภคในการมีตัวเลือกที่หลากหลาย
สมาชิกก่อตั้งทั้งหมดใกลุ่ม CAF ได้แก่ Basecamp, Blix, Blockchain.com, Deezer, Epic Games, the European Publishers Council, Match Group, News Media Europe, Prepear, Protonmail, SkyDemon, Spotify, Tile และยังเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกเรื่อยๆ