ตุรกีขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ควบคุมสื่อสูงมาก ทั้งทีวี วิทยุ อินเทอร์เน็ต ล่าสุดกฎหมายควบคุมสื่อได้ขยายขอบเขตไปยังอินเทอร์เน็ตและบริการสตรีมมิ่ง และ Netflix ด้วย
โดยกฎหมายระบุให้บริการสตรีมมิ่ง และบริการคอนเทนต์ที่ต้องจ่ายเงิน ต้องมาขอใบอนุญาตจากหน่วยงานเฝ้าระวังของตุรกีที่รู้จักกันในชื่อว่า RTUK นั่นหมายความว่าหน่วยงานเฝ้าระวังสามารถบล็อกเนื้อหาได้ ถ้าพบอะไรที่ไม่สอดคล้องแนวทางรัฐบาล
ก่อนหน้านี้ตุรกีบล็อก Twitter ด้วยเหตุผลว่ามีเนื้อหาเชิงต่อต้านรัฐบาล ปีที่แล้วก็บล็อกวิกิพีเดีย และบล็อก YouTube ชั่วคราวด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้คนอื่นๆ โพสต์เนื้อหาบน YouTube ได้ไม่ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ แต่จากเนื้อหากำหมายนั้น มีความไม่ชัดเจน เช่นว่า ถ้าวิดีโอมีคนดูเกินแสน รัฐบาลจะถือว่าเนื้อหานั้นๆ เป็นสื่อที่ต้องถูกควบคุมหรือไม่
2-3 วันนี้ ชาว Blognone อาจได้ยินข่าวดราม่าระลอกใหม่ของ Facebook ประเด็นข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีบริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งาน Facebook ไปทำแคมเปญหาเสียงทางการเมืองในสหรัฐฯ ข่าวนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ทั้งในแง่ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานและในแง่การเมืองสหรัฐ
เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจที่มาที่ไปของประเด็นดังกล่าว Blognone จึงสรุปเหตุการณ์ในบทความนี้
แพลตฟอร์ม Weibo เปรียบได้กับทวิตเตอร์จีน แบนคำค้นหาบางคำเพิ่มเติมเช่น คำอวยพรเจริญหมื่นปี, ไม่มีวันตาย และแบนตัวอักษร N ด้วย คาดเป็นมาตรการรัฐบาลจีนหลังเจอกระแสต่อต้านความพยายามอยู่ยาวของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แก้รัฐธรรมนูญจีน ตัดประโยค "ห้ามผู้นำดำรงตำแหน่งเกินสองสมัย" ออกไป เท่ากับเป็นการเปิดทางให้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง อยู่ในตำแหน่งยาว หลังจากนั้นก็เกิดกระแสต่อต้านในอินเทอร์เน็ต Victor Mair ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียระบุว่า การแบนคำ คีย์เวิร์ดและตัวอักษรใน Weibo เพิ่มเติมนั้น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังมีกระแสออนไลน์วิจารณ์รัฐบาลที่แก้รัฐธรรมนูญ
สำหรับรายชื่อคำถูกแบนเพิ่มเติม ที่รวบรวมโดยเว็บไซต์ China Digital Times มีดังนี้
รอบวันที่ผ่านมามีแฮชแท็กที่กำลังขึ้นเทรนด์บน Twitter คือ #TwitterLockOut เรื่องราวเริ่มต้นจากผู้ใช้งานหลายรายพบว่าจู่ๆ จำนวนของตัวเอง follower ก็หายไปเป็นหลักพันภายในคืนเดียว
เหล่าผู้ใช้ Twitter ชื่อดังที่ออกมาบ่นเรื่องยอด follower หาย บางรายที่รู้กันว่าเป็นนักการเมืองหรือคนที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง เช่น Richard Spencer (สื่ออ้างอิงถึงเขาว่าเป็นนีโอนาซี), Bill Mitchell สมาชิกพรรครีพับลิกัน, Mike Flynn Jr. ลูกชายของอดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ คนเหล่านี้ออกมาวิจารณ์ Twitter ว่าบล็อคแต่ผู้ใช้ที่มีความคิดทางการเมืองอนุรักษ์นิยมขวาจัดแต่เพียงฝ่ายเดียว
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Robert Mueller หนึ่งในคณะสืบสวน FBI ยื่นคำฟ้องร้อง 37 หน้า ฟ้องพลเมืองสัญชาติรัสเซีย 13 คน และบริษัท 3 แห่งของรัสเซีย ในข้อหาจัดทำแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 ในคำฟ้องของ Mueller ได้เปิดเผยด้านอันตรายอีกด้านหนึ่งของ Facebook Groups ด้วย
Bill Gates ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ Axios เป็นการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์สั้นๆ โดย Gates ระบุว่า บริษัทไอที จำเป็นต้องระมัดระวังและพึงระลึกเสมอว่า พวกเขาไม่สามารถขัดขวางรัฐบาลไม่ให้เข้ามาตรวจสอบบริษัทภายใต้บริบทที่เหมาะสมได้ ซึ่งมันกำลังเกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้ และยังบอกอีกว่า บริษัทไอทีใหญ่ๆ อาจกำลังรู้สึกว่าพวกเขากำลังถูกตรวจสอบอย่างไม่เป็นธรรม แต่พวกเขาก็เป็นฝ่ายสร้างปัญหาเองด้วยการต่อต้านการกำกับดูแลที่ถูกต้อง
สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านของกัมพูชาฟ้องศาลสหรัฐฯ ให้ Facebook เปิดเผยข้อมูลว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซื้อยอดไลค์ใน Facebook หรือไม่ โดยตั้งข้อสังเกตว่ายอดไลค์มากจนผิดปกติ
เพจ Facebook ของ สมเด็จฮุน เซน มียอดไลค์ประมาณ 9 ล้าน ซึ่งถือว่ามากทีเดียวสำหรับการเพิ่งจะเข้าร่วม Facebook ในเดือนกรกฎาคม ปี 2016 คิดเป็นยอดไลค์เพิ่มขึ้น 3 ล้านภายในเวลาไม่กี่เดือน โดย Facebook ของ สมเด็จฮุน เซน มียอดกดไลค์มากเป็นอันดับสามเมื่อเทียบกับบรรดาผู้นำการเมืองระดับโลก
มีการวิเคราะห์ที่ The Guardian ระบุบอกว่า 80% ของบัญชี Facebook ที่กดไลค์เพจของสมเด็จฮุนเซน เป็นบัญชีที่มาจากประเทศ อินเดีย ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ซึ่งเป็นประเทศที่มีบริษัททำกิจการขายยอดไลค์และขายความนิยมในโซเชียลมีเดียให้มีตัวเลขเยอะๆ ตั้งอยู่
ผู้ใช้งาน YouTube เมื่อดูคลิปใดคลิปหนึ่งจบแล้ว จะเห็นคลิปต่อไปมารอให้กดเล่นทันที ซึ่งเป็นเรื่องปกติของ YouTube ที่ใช้อัลกอริทึมคัดสรรวิดีโอที่มีความเกี่ยวข้องกับคลิปก่อนหน้ามาให้ เพื่อให้ผู้ใช้อยู่กับ YouTube ให้นานที่สุด ในขณะเดียวกัน YouTube ก็โปรโมทเนื้อหาเชิงลบมาให้ด้วย
Paul Lewis จาก The Guardian ได้พูดคุยกับอดีตวิศวกรที่ใน YouTube ซึ่งได้ความว่าอัลกอริทึมของ YouTube แนะนำเนื้อหาสุดโต่งและผิดจากความจริงมาให้ผู้ใช้มากมาย โดยเฉพาะเนื้อหาการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
สืบเนื่องจากปัญหาข่าวปลอมและการโฆษณาชวนเชื่อ Youtube ได้ริเริ่มที่จะเพิ่มคำเตือนในช่องที่รับเงินจากรัฐบาล ซึ่งมาตรการนี้เป็นมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ชมคิดก่อนเชื่อข้อมูลข่าวสาร และต่อต้านนโยบายการควบคุมแนวคิดของสังคมผ่านสื่อที่เหมือนว่าจะดูเป็นกลาง แต่ก็มีเสียงกังวลถึงการเลือกปฏิบัติและการเซ็นเซอร์เนื้อหาผ่านการลดอันดับในผลค้นหา อีกทั้งนิยามของคำว่ารับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลนั้นไม่ใช้เจน เนื่องจากหลายๆ ครั้ง รัฐบาลก็ไม่ได้ให้เงินช่องเหล่านี้ตรงๆ
(รายชื่อช่องและตัวอย่างคำเตือนอยู่ด้านใน)
Twitter อัพเดตข้อมูลผู้ใช้งานที่มีส่วนร่วมหรือ engagement ต่อโพสต์บัญชีปลอมจากรัสเซียช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016 เป็น 1.4 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากที่รายงานครั้งที่แล้วกว่าสองเท่า
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือนมกราคม Twitter เผยระบุบอทหรือบัญชีอัตโนมัติที่ทำขึ้นโดยรัสเซียและทำการทวีตเกี่ยวกับการเลือกตั้งในช่วงการลงคะแนนเสียงของชาวอเมริกันเป็นจำนวน 13,612 บอท รวมกับของเดิมที่เคยพบในปี 2017 ประมาณ 36,000 บอท รวมเป็น 50,258 บอท และมีประชาชน 677,000 คนในสหรัฐฯ ที่ได้ติดตามบัญชีที่ต้องสงสัย, รีทวิต หรือไลค์ทวิตเหล่านี้ ซึ่งล่าสุดตรวจพบเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคน
ในแถลงการณ์ล่าสุดของ Twitter ระบุว่า ทางบริษัทได้ส่งอีเมลไปยังผู้ใช้ที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้
George Soros เศรษฐีนักลงทุน เจ้าของ Open Society Institute (สถาบันสังคมเปิด) และ Soros Foundation เข้าร่วมการประชุม World Economic Forum ในสวิตเซอร์แลนด์
ในงานประชุม Soros พูดวิจารณ์ Facebook และ Google อย่างจัดหนักจัดเต็ม โดยระบุว่าทั้งคู่เป็นบริษัทที่ผูกขาดความสนใจของคน สร้างความเสพติด ทำร้ายสังคมตลอดจนทำร้ายประชาธิปไตย
เริ่มที่ประเด็นผูกขาด Soros บอกว่าบริษัท Facebook และ Google ควบคุมความสนใจของผู้ใช้ และใช้ข้อมูลนั้นมาสร้างรายได้ให้บริษัท และยังบอกด้วยว่ามีความคล้ายคลึงกันระหว่างบริษัทโซเชียลมีเดียกับบริษัทการพนัน โดยคาสิโนจะดึงดูดผู้ใช้เข้ามาเล่นพนัน เอาเงินของพวกเขามาวางเดิมพัน
Facebook เผยแพร่บทความ Hard Questions โดย Samidh Chakrabarti ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Facebook ยอมรับว่า โซเชียลมีเดียอาจไม่ได้ส่งผลดีต่อระบบประชาธิปไตย
Chakrabarti บอกว่าโซเชียลมีเดียช่วยให้คนทั่วโลกมีสิทธิ์มีเสียงทางการเมืองง่ายขึ้น เช่นถกเถียงในประเด็นต่างๆ เรียกร้องให้ผู้นำมีความรับผิดชอบต่อภารกิจ โซเชียลมีเดียยังมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่นเหตุการณ์อาหรับสปริง แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 ข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดียจากการแทรกแซงโดยต่างประเทศ และทำให้เกิดขั้วสองฝั่ง โดยที่ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียที่มีต่อการเมืองไม่เคยได้รับการตรวจสอบ นำไปสู่คำถามสำคัญว่า "โซเชียลมีเดีย มีผลต่อประชาธิปไตยอย่างไร?"
Chakrabarti บอกว่า ในฐานะผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่รับผิดชอบในการมีส่วนร่วมของประชาชนใน Facebook และแม้เขาจะเป็นคนมองโลกในแง่ดี แต่เขาก็คงจะไม่สามารถทำเป็นมองไม่เห็นความเสียหายที่อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดขึ้นได้
เว็บไซต์ Axios เผยแพร่บทความวิเคราะห์แนวทางของ Facebook ในปี 2018 ระบุว่า Mark Zuckerberg จะพยายามแก้ปัญหาเพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่น และพยายามรักษาไว้ซึ่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีประสิทธิภาพที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมเนื้อหาออนไลน์เคร่งครัด และเคร่งครัดมากขึ้นเมื่อสี จิ้นผิง เป็นผู้นำสูงสุด เราจึงได้ยินข่าวจีนบล็อกเว็บไซต์บ่อยครั้ง ล่าสุดมีตัวเลขออกมาแล้วคือตั้งแต่ปี 2015 จนถึงตอนนี้ รัฐบาลจีนบล็อกเว็บผิดกฎหมายไปแล้วถึง 13,000 เว็บไซต์ และบล็อกบัญชีผู้ใช้ตามโซเชียลและเว็บไซต์ถึง 10 ล้านบัญชี
คณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ หรือ Standing Committee of the National People's Congress ออกมารายงานตัวเลขเว็บไซต์ที่รัฐบาลบล็อก และยังระบุเพิ่มด้วยว่า ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน รัฐบาลเรียกคุยผู้ทำเว็บไซต์ไม่น้อยกว่า 2,200 เว็บ
ข้อมูลที่ Reuters ได้รับจาก Xinhua ระบุว่ามีข้อมูลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจีน โดย 90% เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาลปิดกั้นเนื้อหาออนไลน์ 63.5% ระบุว่าเนื้อหาออนไลน์ในระยะหลังนี้มีความรุนแรงทางเนื้อหาลดลง
จากประเด็น Google ลดอันดับผลการค้นหาจาก Sputnik และ Russia Today (RT) ที่ปรากฏใน Google Search จน Alexander Zharov หัวหน้าฝ่ายกำกับดูแลสื่อของรัสเซียต้องออกมาขอความชัดเจนจาก Google ล่าสุด โฆษกกระทรวงต่างประเทศของรัสเซีย Maria Zakharova ออกมาโต้แรงว่าที่ Google ทำ ก็ไม่ต่างจากลดทอนเสรีภาพทางความคิดบนออนไลน์
Margarita Simonyan บรรณาธิการของสำนักข่าว RT กล่าวในแถลงการณ์ว่าระบบตรวจสอบภายในของ Google ก็ระบุว่า RT ไม่ได้ทำผิดกฎใดๆ การถูกลดอันดับเช่นนี้ทำให้ RT ได้รับผลกระทบต่อความสามารถในการเผยแพร่คอนเทนต์ไปยังต่างชาติและรายได้โฆษณา
Facebook ประกาศว่าจะทำช่องทางให้ผู้ใช้งาน Facebook เข้าไปตรวจสอบได้ว่าตนได้เผลอไลค์หรือแชร์ข่าวจากบัญชีปลอมรัสเซียในช่วงเดือนสิงหาคม 2015 ถึงมกราคม 2017 ทั้งใน Facebook และ Instagram หรือไม่ Facebook ระบุว่า ช่องทางดังกล่าวจะพร้อมใช้ในสิ้นปีนี้
The Wall Street Journal ระบุว่ามีผู้ใช้ Facebook ประมาณ 100 ล้านราย ที่เห็นข่าวจากบัญชีปลอมรัสเซียปรากฏบนแพลตฟอร์ม
ก่อนหน้านี้ Facebook ถูกกดดันให้สร้างเครื่องมือแจ้งให้ผู้ใช้รู้ว่าได้เข้าไปมี engagement กับคอนเทนต์ดังกล่าวหรือไม่ ทั้งถูกกดดันจากภาครัฐและประชาชน ถึงกับมีแคมเปญผ่านเว็บไซต์ Change.org ด้วย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Edinburgh ตรวจสอบบัญชีทวิตเตอร์ปลอม ซึ่งมีที่มาจากรัสเซียจำนวนกว่า 2,000 บัญชีที่มีส่วนกับการเมืองในสหรัฐอเมริกา มี 419 บัญชีที่พยายามแพร่ข้อมูลป่วนช่วงลงมติ Brexit ด้วย เนื้อหาส่วนหนึ่งพยายามกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเกลียดชังคนมุสลิม
Freedom House องค์กรสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ ทำรายงานเสรีภาพสื่อออกมาเป็นประจำทุกปี ส่วนหนึ่งของรายงานในปี 2017 มีพูดถึงเรื่องข่าวปลอมออนไลน์ โดยชี้ให้เห็นว่าข่าวปลอมไม่ได้มีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เจอปัญหา แต่มีอีกหลายประเทศ
ข่าวปลอมฝั่งสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นการแทรกแซงจากภายนอก แต่ในหลายประเทศพบว่าเป็นข้อมูลปลอมที่เกิดขึ้นจากการจัดทำภายในประเทศเอง หรือแม้แต่เป้นข้อมูลที่ทำขึ้นโดยกลุ่มสนับสนุนรัฐบาล โดยปี 2017 มีถึง 30 ประเทศ (นับจาก 65 ประเทศที่มีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต) สูงที่สุดนับตั้งแต่ทำรายงานมา
Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มีคนใช้มากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน แม้จะมีฐานผู้ใช้ที่แข็งแกร่งแต่กลับไม่มีสำนักงาน Facebook ตั้งอยู่ เช่นในประเทศกัมพูชา เมียนมาร์ หรือไทยก็มีเพียงสำนักงานเล็กๆ ทั้งที่ Facebook มีอิทธิพลมากถึงขนาดสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองหรือแม้กระทั่งจุดชนวนขัดแย้งได้ เจ้าหน้าที่รัฐยังใช้ Facebook เป็นหลักฐานสำคัญในการจับกุมนักเคลื่อนไหวนักกิจกรรมทางการเมือง ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าถึงเวลาหรือยังที่บริษัท Facebook จะเข้ามามีบทบาทการจัดการนโยบายมากกว่านี้ในอาเซียน
Google ได้กระตุ้นให้ Federal Election Commission หรือ FEC ซึ่งเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ให้พิจารณากฎเกี่ยวกับการโฆษณาการเมืองออนไลน์ หลังจากที่ช่วงนี้หลายบริษัทตรวจพบว่ามีโฆษณาจากรัสเซียเข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้ง โดยกฎนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงการเมืองจากรัฐบาลรัสเซีย หรือประเทศอื่น ๆ ในการเลือกตั้งครั้งถัด ๆ ไป
คำเรียกร้องจาก Google คือทางบริษัทต้องการให้ FEC ออกกฎเฉพาะสำหรับการโฆษณาด้านการเมืองออนไลน์ที่ใช้ทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากทาง Google อนุญาตให้มีการโฆษณาทางการเมืองบน AdSense บนเว็บไซต์ที่อยู่ในเครือข่าย, ผลการค้นหา และ YouTube จึงต้องการกฎที่ชัดเจนและแตกต่างจาก Facebook หรือ Twitter ในการกระจายโฆษณา
ปัญหาข่าวปลอม (fake news) บนโลกโซเชียลกลายเป็นเรื่องบานปลายในสหรัฐ และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำครหาที่ว่าข่าวปลอมสามารถเปลี่ยนผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ได้ Blognone จึงสรุปเหตุการณ์จากประเด็นดังกล่าว เพื่อจะได้เห็นภาพรวมว่า fake news บานปลายและมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
เป็นสัปดาห์ที่หนักหนาของ Facebook เพราะนอกจากจะต้องเข้าให้ข้อมูลแก่สภาคองเกรสเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมาแล้ว Facebook ยังถูกกดดันจากหลายฝ่ายให้ไปหาวิธีแจ้งข้อมูลแก่ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและเห็นโพสต์ของโฆษณาแฝงรัสเซียที่มีเป้าหมายแทรกแซลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 มีแคมเปญกดดันใน Change.org ด้วย มีผู้ลงนามกว่า 8 หมื่นคนแล้ว
Mitch McConnell หัวหน้าสมาชิกวุฒิสภาจาก Republican ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Hugh Hewitt Show ว่าบริษัทไอทีทั้งหลายควรจะช่วยรัฐบาลในการตอบโต้กับแรงผลักดันจากรัสเซีย ซึ่งกระจายผ่านข่าวปลอมในช่องทางโซเชียลมีเดียในระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 และระบุว่าเขานั้นมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความพยายามกำหนดกฎเกณฑ์โฆษณาด้านการเมืองที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มเหล่านั้นด้วย (Facebook, Twitter)
คณะกรรมการข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุพบอีเมลการเจรจาขายพื้นที่โฆษณาบน Twiiter แก่สื่อรัสเซียหรือ RT โดย Twitter เสนอราคาพื้นที่โฆษณาแบบ SOV หรือ share of voice ในสัดส่วนมากกว่า 15% บนแพลตฟอร์มคิดเป็นเงิน 3 ล้านดอลลาร์
จากเนื้อหาอีเมล พบว่า Twitter เสนอราคาโฆษณาให้ RT ในระดับราคาต่างๆ ตั้งแต่ในจำนวนเงิน 1 ล้านดอลลาร์ จะได้สัดส่วน SOV 4%, 2 ล้านดอลลาร์ ได้สัดส่วน SOV 10% และ 3 ล้านดอลลาร์ ได้ SOV 15% แต่อย่างไรก็ตาม Twitter ยังต้องให้พื้นที่ SOV แก่สื่อหลักในสหรัฐฯคือ CNN และ Fox ในสัดส่วน 56% และ 32% ตามลำดับ ซึ่ง RT ปฏิเสธข้อเสนอ
Google เผยผลการสืบสวนโฆษณาหวังผลทางการเมืองจากรัสเซีย จากที่ก่อนหน้านี้เคยเผยข้อมูลคร่าวๆ ว่ามีโฆษณารันกระจายตัวบนแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Google คิดเป็นมูลค่า 4,700 ดอลลาร์ ในเอกสารล่าสุดมีตัวเลขเพิ่มเติมจาก YouTube
โดยพบ 18 ช่องที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญโฆษณาการเมือง มีวิดีโอที่อัพโหลด 1,108 ตัว ระยะเวลารวมแล้ว 43 ชั่วโมง มียอดรับชมจากผู้ใช้ในสหรัฐฯ 309,000 ครั้ง ช่วงเดือนมิถุนายน 2015 - พฤศจิกายน 2016 และจากการวิเคราะห์ของ Google ระบุว่า ยอดรับชมอยู่ในระดับต่ำ มีเพียง 3% ของวิดีโอทั้งหมดที่มียอดดูเกิน 5,000