เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา ชายชาวรัสเซียคนหนึ่งชื่อ Andrei Bubeyev ถูกตัดสินจำคุก 2 ปี 3 เดือน ข้อหาแชร์รูปภาพที่มีลักษณะแชร์รูปภาพที่ถูกตีความว่าต่อต้านรัฐบาลลงใน VKontakte โซเชียลที่ได้รับความนิยมในรัสเซีย มีบัญชีผู้ใช้ถึง 270 ล้านบัญชี
รูปภาพเจ้าปัญหาที่ทำให้ Andrei Bubeyev ติดคุกเป็นรูปยาสีฟัน ที่น้ำยาเป็นสีธงชาติรัสเซีย มีข้อความใต้ภาพว่า "Squeeze Russia out of yourself!" หรือ รีดความเป็นรัสเซียออกจากตัวคุณ
เราอาจจะพอทราบว่า FCC หรือหน่วยงานด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (ใกล้เคียงที่สุดในบ้านเราคือ กสทช.) ออกกฎเรื่องของ Net Neutrality ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามพรรคริพับลิกัน ซึ่งค้านกฎนี้มาตลอดแต่ไม่สำเร็จ เตรียมที่จะออกมาตรการตอบโต้กับ FCC โดยใช้วิธีการเสนอร่างงบประมาณฉบับใหม่ (ฉบับปีหน้า) ซึ่งจะตัดงบประมาณของ FCC ลง รวมถึงกำหนดการบังคับใช้กฎ Net Neutrality ด้วย
ช่วงที่ผ่านมาอาจจะพอทราบกับว่า Hillary Clinton มีประเด็นเรื่องของการใช้อีเมลส่วนตัวในการติดต่องานสมัยที่ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ล่าสุด ผู้ตรวจการประจำกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ส่งรายงานถึงสภาคองเกรสว่า Clinton ได้ละเมิดระเบียบรัฐบาลกลางจากรณีที่ใช้อีเมลส่วนตัวในการติดต่องานทางการระหว่างดำรงตำแหน่ง
รายงานระบุว่า ตามหลักการแล้วจะต้องส่งมอบอีเมลทั้งหมดให้กับทางกระทรวงก่อนออกจากตำแหน่ง แต่เธอก็ไม่ได้ทำ นอกจากนั้นแล้วยังไม่ได้ขออนุมัติให้ติดต่องานทางการผ่านอีเมลส่วนตัวของเธอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย Engadget ระบุว่า เหตุผลที่ Clinton และทีมงานไม่ได้ขออนุมัติก็ตรงไปตรงมา คือไม่มีทางที่จะได้รับการอนุมัติเพราะความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัย
ช่วงนี้ที่ออสเตรเลียกำลังมีการหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป (general election) ในวันที่ 2 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ และที่สหรัฐอเมริกาก็มีการสรรหาตัวแทนผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากสองพรรคใหญ่ ทำให้ Google เปิดคุณสมบัติใหม่ให้กับพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครหาเสียงเลือกตั้งของทั้งสองประเทศ สามารถใส่ข้อความรณรงค์หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้จากระบบค้นหาโดยตรง
จากที่มีกระแสว่า Facebook มีหน่วยคัดกรองคุมเนื้อหาที่จะขึ้นในหน้า feed หรือมีบรรณารักษ์ข่าวนั้น Mark Zuckerberg โพสต์เฟสบุคย้ำจุดยืนของ Facebook ว่าเป็นพื้นที่ให้ทุกความคิด และในบ่ายวันนี้ (ตามเวลาท้องถิ่น) ตัวเขาจะเป็นเจ้าภาพในการพูดคุยกับผู้นำทางการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม (conservative) จำนวนหนึ่ง เพื่อทำให้แน่ใจว่า Facebook ยังคงเป็นพื้นที่สำหรับทุกความคิดทางการเมือง
Jakob Lykkegaard Pedersen ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Playlab บริษัทผลิตแอพโดยเฉพาะในสายเกมบนสมาร์ทโฟน ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ VentureBeat ว่าการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ส่งผลดีต่อนักพัฒนาเกมบนสมาร์ทโฟน เพราะคนมักจะอยู่บ้านกันเป็นส่วนมาก
Pedersen ระบุว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่ดีที่สุดของภูมิภาค เพราะการใช้จ่ายค่อนข้างดีรวมถึงมีค่าครองชีพที่ต่ำ และการทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 ก็เป็นสภาวะที่ดีสำหรับนักพัฒนาเกมบนสมาร์ทโฟน เพราะผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเล่นเกมผ่านสมาร์ทโฟนอยู่บ้าน แทนที่การออกไปอยู่ที่สวนสนุกนั่นเอง
สถานีข่าว FOX News รายงานว่า เอกสารของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ชุดล่าสุดที่ถูกเปิดเผยโดย Judicial Watch องค์กรด้านการเมืองของสหรัฐอเมริกา พบว่า Hillary Clinton อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และปัจจุบันเป็นหนึ่งในผู้สมัครเข้าเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตเพื่อเป็นผู้ชิงประธานาธิบดีสหรัฐ ไม่ได้ใช้โทรศัพท์และกระบวนการที่มีความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสารระหว่างที่เธอดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
Donald Trump ตัวเก็งว่าที่ผู้สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรคริพับลิกัน ออกมาให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ FOX News ของสหรัฐอเมริกา โดยระบุว่า Jeff Bezos เจ้าของหนังสือพิมพ์ Washington Post และ Amazon มีพฤติกรรมที่ผูกขาดและพยายามหลบเลี่ยงภาษี
Trump กล่าวหา Bezos ว่าใช้หนังสือพิมพ์ Washington Post ในการเป็นกระบอกเสียงให้กับตัวเอง ซึ่งทำให้นักการเมืองไม่ออกมาตรวจสอบการเสียภาษีและการดำเนินธุรกิจของ Amazon ที่พยายามหลีกเลี่ยงไม่จ่ายภาษีในสิ่งที่ควรจะจ่าย (ว่าง่ายๆ คือ Trump กล่าวหาว่า Bezos ใช้ Washington Post เพื่อเบี่ยงประเด็นการเลี่ยงภาษีของ Amazon) เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อทั้ง Bezos และ Amazon เพื่อขอความเห็น ต่างได้รับการปฏิเสธที่จะกล่าวถึงเรื่องนี้
หลายคนอาจจะทราบว่าปัญหาหนึ่งที่พบกันทั่วโลกคือเรื่องของการแสดงความเห็นทางการเมืองบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งในหลายประเทศทำได้อย่างเสรี แต่ในหลายๆ ประเทศ (รวมถึงบางประเทศแถบนี้) ก็ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เพราะมีการควบคุมและตรวจตรา (surveillance) จากรัฐ คำถามคือ การควบคุมเหล่านี้มีผลเช่นไรในทางปฏิบัติ? งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเวย์นสเตต สหรัฐอเมริกา เผยว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเลือกที่จะไม่แสดงความเห็นออกมา หากรัฐบาลมีกลไกในการควบคุมหรือตรวจตราอินเทอร์เน็ต
เมื่อวานนี้ในระหว่างการประชุมรัฐสภาของสิงคโปร์ นาย Chan Chun Sing รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ตอบคำถามของสมาชิกรัฐสภาที่มีการถามว่า รัฐบาลจะจัดการเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับพลเมืองสิงคโปร์ที่อยู่ต่างประเทศ โดยใช้อินเทอร์เน็ตหรือไม่ ซึ่งเขาระบุว่าคงไม่สามารถจัดได้ ด้วยปัญหาความโปร่งใสและความปลอดภัยของระบบโดยรวม
หนังสือพิมพ์ The New York Times ของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์รายงานพิเศษ เปิดเผยว่าขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ของทำเนียบขาว กำลังทำการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของทำเนียบขาวเป็นการครั้งใหญ่ หลังจากที่ไม่ได้ปรับปรุงมานานหลายสิบปี และจะเป็นการวางระบบพื้นฐานของทำเนียบขาวใหม่สำหรับประธานาธิบดีและทีมงานชุดใหม่ ที่จะเข้ารับตำแหน่งบริหารงานต่อจากประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Barak Obama
เว็บไซต์สำนักข่าว Bloomberg Businessweek ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์พิเศษ Andrés Sepúlveda ซึ่งปัจจุบันเป็นนักโทษอยู่ในคุกความปลอดภัยขั้นสูงสุดของประเทศโคลอมเบีย จากโทษจำคุก 10 ปี ฐานแฮกระบบและจารกรรมข้อมูล และอดีตแฮกเกอร์ซึ่งเคยถูกจ้างให้ลงมือปฏิบัติการแฮกและเจาะระบบเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยทาง Bloomberg ระบุว่าบทสัมภาษณ์นี้จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขอสนับสนุนเพื่อลดหย่อนโทษจำคุกดังกล่าว
แอพหาคู่ชื่อดัง Bumble เพิ่มฟิลเตอร์การสนับสนุนผู้สมัครชิงตำแหน่งรับเลือกตั้งประธานาธิบดี (สหรัฐ) ของผู้ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจนัดเดทได้ โดยแสดงทั้งพรรค และผู้สมัครที่สนับสนุน
อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์ ผู้ใช้หลายคนให้ความเห็นว่าไม่อยากตัดสินคน จากผู้สมัคร หรือพรรคที่สนับสนุน เพราะหลายๆ ครั้งการพูดคุยกับคนที่เห็นต่าง แม้สนับสนุนคนละพรรคการเมือง ก็ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ขึ้น ขณะที่บางคนให้ความเห็นว่าเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์ประกอบการตัดสินใจ
หนังสือพิมพ์ The Guardian ตีพิมพ์ข้อเขียนของ Evgeny Morozov บรรณาธิการนิตยสารวิชาการด้านการเมืองระหว่างประเทศ Foreign Policy และนักวิชาการรับเชิญ (visiting scholar) ของมหาวิทยาลัย Stanford ที่สหรัฐอเมริกา โดยระบุว่าต่อไปในอนาคต บริษัทไอทีขนาดใหญ่ในโลกตะวันตกจะมีความสำคัญมากกว่ารัฐ (the state) และรัฐบาล ที่กำลังเผชิญหน้าวิกฤตความชอบธรรมในการปกครองอยู่ในเวลานี้
หนังสือพิมพ์ The Washing Post ของสหรัฐอเมริกา ได้สัมภาษณ์ของ Joe Mohen อดีตซีอีโอของเว็บไซต์ election.com เว็บไซต์ที่จัดการเลือกตั้งออนไลน์ โดยเขาระบุว่าปัจจัยที่มีผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ระบบการเลือกตั้งบนอินเทอร์เน็ตยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เกิดจากการที่นักการเมืองต้องการรักษาระบบการเลือกตั้งแบบเดิมเอาไว้
นอกจากจะเอาไว้หาคนรู้ใจด้วยการปัดขวาปัดซ้าย วันนี้ Tinder ประกาศความร่วมมือกับ Rock The Vote องค์กรเอกชนส่งเสริมการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ในการนำเอาระบบของ Tinder มาใช้ในการรณรงค์ให้ผู้ใช้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่จะเกิดขึ้นในสิ้นปีนี้ด้วย
เว็บไซต์ข่าว Engadget รายงานว่าในบรรดาอีเมลของนาง Hillary Clinton อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ และปัจจุบันเป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นตัวแทนลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ จากพรรคเดโมแครต (ยังไม่ใช่ผู้สมัครอย่างเป็นทางการจนกว่าจะผ่านการประชุมใหญ่ของพรรค) ที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะทาง WikiLeaks พบว่ามีอีเมลฉบับหนึ่งที่ระบุว่า Google พยายามสร้างเครื่องมือให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกลางซีเรียที่นำโดยประธานาธิบดี Bashar Assad เมื่อปี 2012
เว็บไซต์สำนักข่าว CNN เผยแพร่ข้อเขียนของ Dean Obeidallah นักแสดงตลกเสียดสีและนักวิจารณ์ด้านการเมืองชาวอเมริกัน โดยระบุว่า Donald Trump นั้นกำลังเผชิญหน้าศัตรูที่สำคัญที่สุด ซึ่งศัตรูที่ว่าไม่ใช่ตัวบุคคล แต่เป็นระบบค้นหาข้อมูลของ Google นั่นเอง
เว็บไซต์นิตยสาร Fast Company เผยแพร่รายงานพิเศษวิเคราะห์การใช้สื่อออนไลน์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้ โดยพิจารณาอิทธิพลและบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สมัครที่เสนอตัวเป็นตัวแทนลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสองพรรคใหญ่ คือ Republican และ Democrat
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินถึงเรื่องของการทำ DDoS (Distributed Denial of Service) ในฐานะเครื่องมือของการประท้วงอยู่บ่อยครั้ง ในกรณีของไทยคือการประท้วงเรื่องของ Single Gateway (ข่าวเก่า) ซึ่งถือเป็นการใช้ DDoS ในการประท้วงเพื่อแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบหนึ่ง
บทความชิ้นนี้จะกล่าวถึง DDoS ในฐานะเครื่องมือในการประท้วงและแสดงออกทางการเมือง โดยจะกล่าวถึงความรู้เบื้องต้นโดยพื้นฐานของ DDoS จากนั้นจะกล่าวถึงการใช้ DDoS ในฐานะเครื่องมือประท้วงทางการเมืองว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และเคยใช้ในกรณีใดบ้าง
ประเด็นในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาบนโลกอินเทอร์เน็ตของไทยที่กล่าวถึงกันมาก คือเรื่องของมติคณะรัฐมนตรีที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำระบบ Single Gateway หรือกล่าวอย่างง่ายคือ รวม Gateway ของประเทศที่ออกไปต่างประเทศมาอยู่จุดเดียว เหตุผลหลักคือเรื่องของความมั่นคงเป็นหลัก และหลายภาคส่วนเริ่มต้นกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้บ้างแล้ว
บทความขนาดสั้นชิ้นนี้จะให้มุมมองอีกด้านหนึ่งที่มาจากรัฐศาสตร์ แม้จะไม่นำเสนอว่าควรจะทำอย่างไร แต่จะเป็นฐานของความเข้าใจว่าเรากำลังเจออะไรอยู่ครับ
ทำไมรัฐถึงต้องการควบคุมอินเทอร์เน็ต?
หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal และสถานีโทรทัศน์ CNN รายงานว่าหน่วยสืบสวนกลางของสหรัฐ (FBI) กำลังทำการสอบสวนเหตุการณ์การจารกรรมข้อมูลจากระบบของรัฐบาลกลางที่อาจถือว่าเป็นการจารกรรมข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าอาจจะมีข้อมูลส่วนบุคคลหลุดออกไปมากถึง 4 ล้านรายการ
ที่ราชอาณาจักรสเปน กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ออกมาประท้วงกฎหมายฉบับใหม่ที่มีสาระซึ่งเป็นการจัดระเบียบการประท้วงภายในราชอาณาจักร (เช่น จัดการประท้วงโดยไม่บอกรัฐบาลล่วงหน้า หรือไม่เชื่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ) แต่การจัดประท้วงกฎหมายฉบับนี้ภายใต้สภาวะที่กฎหมายฉบับนี้บังคับใช้แล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก กลุ่มนักเคลื่อนไหวจึงจัดประท้วงด้วยการฉาย "โฮโลแกรม" การประท้วงในครั้งนี้แทน
รัฐบาลโอบามาเปิดข้อเสนอบังคับให้เว็บไซต์รัฐบาลกลางทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนไปใช้ HTTPS เท่านั้น ทางรัฐบาลเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอนี้ในช่วงแรกภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้
ข้อเสนอนี้จะบังคับเว็บไซต์ของรัฐบาลกลาง ดังนี้
หนังสือพิมพ์ The Washington Post เผยแพร่รายงานพิเศษเกี่ยวกับเทคนิคของ Uber ในการงัดข้อกับภาครัฐของสหรัฐอเมริกา ทั้งในระดับมลรัฐและในระดับรัฐบาลกลาง โดยชี้ให้เห็นยุทธศาสตร์ว่าทาง Uber เลือกใช้ทั้ง "กระแสสังคม" และ "การวิ่งเต้น" กับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อกดดันหรือให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (ใครสนใจในรายละเอียดสามารถไปอ่านได้ยาวๆ จากที่มา)