iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยับยั้งร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ผ่านวาระ 2 ไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่วาระ 3 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ iLaw ยังเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างให้เขียนจดหมายถึง สนช. ทุกช่องทาง ทั้ง Facebook Twitter และอีเมลของสมาชิก สนช.
ILaw สรุปข้อคิดเห็นสำคัญต่อร่างนี้ไว้ 2 หัวข้อใหญ่ คือ
AppNexus ผู้ให้บริการและควบคุมโฆษณาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหญ่ ออกแถลงการณ์ต่อต้านเว็บไซต์ Breitbart News เนื่องจากตัวเว็บไซต์มีเนื้อหารุนแรง เหยียดชาติพันธุ์และเต็มไปด้วย Hate Speech
สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยชื่อ Breitbart News ต้องบอกว่ากำลังเป็นที่จับตามอง เพราะ Steve Bannon ว่าที่มือขวาของโดนัลด์ ทรัมป์ ด้านยุทธศาสตร์ เป็นอดีตประธานกรรมการบริหารของ Breitbart News ด้วย
หลายฝ่ายจับจ้อง Facebook เรื่องวิกฤตข่าวปลอมบนหน้าฟีดอาจมีส่วนช่วยให้โดนัลด์ ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี จนมาร์ค ซักเกอร์เบิร์กออกโรงจะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง (แม้ตอนแรกเขาจะคิดว่าเรื่องนี้ไร้สาระก็ตาม) ขณะเดียวกันมีผลสำรวจออกมาว่าช่วงเลือกตั้งมีแอคเคาท์ปลอมในทวิตเตอร์ที่สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นักวิจัยที่กำลังทำโครงการ Project on Computational Propaganda เผยรายงานว่า มีบ็อทในทวิตเตอร์ที่ใช้เพื่อโน้มน้าวทางการเมืองในอัตราสูงสุดช่วงระหว่างการรณรงค์หาเสียงของประธานาธิบดี 2016 นักวิจัยรวบรวมข้อมูลทวีต 18.9 ล้านทวีตที่ติดแฮชแทกเรื่องการเมืองอเมริกา พบว่า 17.9 % มีลักษณะเป็นอัตโนมัติสูง คือทวีตเรื่องการเมืองกว่า 50 ครั้งต่อวัน สถิติจะสูงขึ้นไปอีกถ้าอยู่ระหว่างการดีเบตครั้งสุดท้ายระหว่างฮิลลารี คลินตัน และทรัมป์ โดยตัวเลขจะสูงถึง 27%
ประเด็นข่าวปลอมบน Facebook เป็นสาเหตุหนึ่งช่วยให้โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นประธานาธิบดีหรือไม่นั้นยังเป็นเรื่องถกเถียงกันในวงการสื่อ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งจริงหรือไม่ แต่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ก็หยิบประเด็นนี้มาพูดในงานประชุมกับสื่อที่กรุงเบอร์ลินกับแองเจลา แมเคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน
โอบามาระบุว่า ในยุคนี้มีข่าวที่ข้อมูลผิดมากบน Facebook และมีมาเรื่อยๆ แม้ดูภายนอกจะมีลักษณะเหมือนเป็นข่าว การเปิดเข้าหน้า Facebook ไม่ต่างกับการเปิดโทรทัศน์ เราไม่รู้ว่าเราต้องปกป้องอะไร เราไม่รู้ว่าเราสู้กับอะไร
สถานการณ์ยังไม่ผ่านพ้นสำหรับ Facebook ที่ต้องรับแรงวิจารณ์เรื่องข่าวปลอมที่ Facebook ปล่อยให้มีที่ยืนบนหน้าฟีด นำมาสู่ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์
แม้ Mark Zuckerberg ออกมายืนยันว่าพื้นที่เนื้อหาข่าวบนฟีด 99% เป็นเนื้อหาจริง-ข่าวจริง ส่วนข่าวปลอมนั้นมี ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่มีพลังพอที่จะพลิกโผการเลือกตั้ง
ล่าสุดมีข่าวว่าบรรดาพนักงานใน Facebook ตั้งทีมทำงานต่อต้านข่าวปลอมอย่างลับๆ รวมถึงทบทวนบทบาทหน้าที่ของ Facebook เองว่าควรทำอย่างไร และ Facebook มีเครื่องมือกำจัดข่าวปลอมที่เพียงพอจริงหรือไม่
คนไทยคงยังสงสัยไม่หายว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งได้อย่างไร ในเมื่อโพลก่อนหน้านี้ ฮิลลารี คลินตัน มีคะแนนนำมาตลอด และที่เห็นชัดกว่านั้นคือนโยบายสุดโต่งของทรัมป์ (นี่ยังไม่นับการพูดจาของเขา)
เว็บไซต์ Brandinside วิเคราะห์ประเด็นนี้ไปแล้วว่า เป็นผลจากคนอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากทุนนิยม ที่สร้างสภาวะโลกาภิวัฒน์ให้เกิดขึ้นทั่วโลก คำถามคือ เป็นเพราะโลกาภิวัฒน์เท่านั้นหรือที่นำพาทรัมป์มาจุดนี้
จากที่มีรายงานเว็บสำนักตรวจคนเข้าเมืองของแคนาดาล่ม หลังผลการเลือกตั้งส่อแววว่าโดนัล ทรัมป์จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ซึ่งต้นเหตุก็คิดได้แต่เพียงว่า ชาวอเมริกันที่หวาดกลัวและรับไม่ได้กับประธานาธิบดีคนใหม่ คิดจะย้ายไปอยู่แคนาดาแทน
ล่าสุดรัฐบาลแคนาดายืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า ชาวอเมริกันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เว็บล่ม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนผู้เข้าชมเว็บพร้อมกันถึง 200,000 ราย ซึ่งสูงกว่ายอดเข้าชมเมื่อช่วงเวลาเดียวกันของสัปดาห์ที่แล้วถึง 1,076% และจากจำนวนผู้เข้าชมนั้น มากกว่า 100,000 รายมีทราฟฟิคมาจากสหรัฐอเมริกา
หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี บรรดาซีอีโอของบริษัทไอทีหลายแห่งของอเมริกา ก็ต่างเขียนอีเมลถึงพนักงานในบริษัท อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและเรียกขวัญกำลังใจพวกเขา แต่ก็มีบางถ้อยคำที่แสดงให้เห็นมุมมองต่อผลการเลือกตั้งนี้
การที่เหล่าซีอีโอจะมองการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ดีนักก็ไม่แปลกนัก เนื่องจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์มีท่าทีต่อต้านเทคโนโลยี ซึ่งลามมาจนถึงเสนอแยกแคลิฟอร์เนียออกจากอเมริกา แต่พวกเขาก็ล้วนแสดงความยินดีกับประธานาธิบดีคนใหม่ รวมทั้งยังมีถ้อยคำที่ให้กำลังใจพนักงาน เช่น Tim Cook บอกว่าถึงอย่างไรทุกคนก็ยังต้องเดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับคนอื่นซีอีโอคนอื่นที่ให้พนักงานตั้งใจทำงานกันต่อไป
ยังคงอยู่ในภาวะช็อกทั่วโลกเมื่อโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี บางพื้นที่ในสหรัฐฯ มีการเดินประท้วงกันแล้วหลังรู้ผลไม่กี่ชั่วโมง มีแฮชแทก #calexit แคมเปญขอให้มลรัฐแคลิฟอร์เนียแยกตัวเองออกมาจากสหรัฐ ร่อนเต็มทวิตเตอร์
คนแคลิฟอร์เนียส่วนใหญ่เป็นสายพรรคเดโมแครต และยังเป็นเมืองเศรษฐกิจทั้งของสหรัฐฯและของโลก จึงไม่แปลกใจกับปฏิกิริยาชาวเมืองเหล่านี้
แต่ที่น่าสนใจคือแนวคิด #calexit ได้รับการสนับสนุนจากบรรดานักลงทุนในซิลิคอนวัลเล่ย์ด้วย เช่น Shervin Pishevar นักลงทุนในอูเบอร์ และ Hyper Loop และ Jason Calacanis ที่เป็น angel investor ชื่อดัง
ณ เวลาที่เขียนข่าวอยู่นี้ เป็นช่วงเวลาการนับคะแนนเสียงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยผลปัจจุบันมีแนวโน้มว่า Donald Trump ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันจะเป็นผู้ชนะ
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คนที่รับไม่ได้กับผลการเลือกตั้งจึงคิดจะย้ายไปอยู่ประเทศอื่น ซึ่งแคนาดาเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด ส่งผลให้เว็บไซต์สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของแคนาดา (Citizenship and Immigration Canada) ได้ล่มไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเวลาประมาณ 10:30 น. ตามเวลาประเทศไทย
นอกจากนี้คำค้นบนกูเกิลเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานไปประเทศแคนาดาก็เริ่มพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน
ก่อนหน้านี้เมื่อต้นปีเคยมีเหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้เกิดขึ้นแล้วช่วง Super Tuesday หลัง Trump มีคะแนนนำ
ที่มา - Business Insider
ปีชงของซัมซุงทำท่าว่าจะไม่จบง่ายๆ นอกเหนือจากปัญหาเรื่องเครื่องซักผ้าและ Galaxy Note 7 แล้วยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองอื้อฉาวในเกาหลีใต้ในขณะนี้
สำนักงานอัยการเอาหลีใต้กล่าวว่าจะตรวจสอบกรณีที่เกี่ยวข้องกับประธานาธิบดี Park Geun-hye และ Choi Soon-sil คู่หูสนิทของเธอ เรื่องพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการปกครองประเทศ (มีการบริจาคเงินให้มูลนิธิของ Choi มาก และมีหลักฐานว่า Choi แก้ไขบทสุนทรพจน์ให้ Park Geun-hye) จนประชาชนเกาหลีใต้รวมตัวประท้วงหลายพันคน
แม้การแสดงออกว่าคุณสนับสนุนใครเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯบน Facebook จะเป็นเรื่องง่าย แต่ Facebook ก็ยังเปิดฟีเจอร์ Endorse ออกมาเงียบๆ ให้ผู้ใช้โพสต์แสดงออกมาว่าคุณสนับสนุนใครระหว่าง โดทัลด์ ทรัมป์ และฮิลลารี คลินตัน (ถ้าคุณกล้าพอจะโพสต์) ได้อย่างชัดเจนกว่าเดิม
วันนี้ที่งาน GovernmentWare 2016 และ Singapore International Cyber Week นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ นายลี เซียน ลุง ได้มีปาฐกถาเปิดงานดังกล่าว ใจความหลักระบุว่า ความมั่นคงทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และเรียกร้องให้แต่ละรัฐมีความร่วมมือกันเพื่อสร้างความมั่นคงดังกล่าวนี้ เพื่อให้โลกไซเบอร์มีความปลอดภัยและรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้ดีขึ้น
ข้อมูลเปิดเผย ผมเดินทางไปร่วมงานนี้ด้วยในฐานะแขกของ Intel Security ครับ
เกม Deus Ex: Mankind Divided เป็นเกมที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มมนุษย์ดัดแปลง (Augmented Humans) และคนธรรมดา (Non-augmented Humans) ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ “Aug Incident” ที่มีมนุษย์ดัดแปลงเกิดไม่สามารถควบคุมความสามารถของตนเองได้ขึ้นมา จนก่อให้เกิดการสังหารเหล่าผู้คนธรรมดาขึ้น
เพื่อเป็นการแสดงว่าหากเหตุการณ์ในโลกของ Mankind Divided เกิดขึ้นจริงบนโลกของเราขึ้นมาจะเป็นอย่างไร ทางผู้พัฒนา Eidos Montreal และ ตัวแทนจำหน่าย Square Enix จึงได้สร้าง concept art แสดงเหตุการณ์สมมติดังกล่าวขึ้นมา
เมื่อวานนี้ Donald Trump ตัวแทนพรรครีพับลิกันในการลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ได้เข้าไปตอบคำถามในช่วง AMA (Ask Me Anything) บนฟอรัม /r/The_Donald ของเว็บไซต์ Reddit และหลังจบช่วงถาม-ตอบ ผู้ดูแลของ Reddit ออกมาเผยว่าแบนแอคเคาท์ที่เข้ามาป่วนกว่า 2,200 แอคเคาท์
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเจ้าของนามแฝง @thegrugq เขียนบทวิเคราะห์เหตุการณ์รัฐประหารในตุรกีเมื่อวานนี้ ว่าเป็นการรัฐประหารที่การสื่อสารออนไลน์มีบทบาทอย่างมาก
ในฝั่งของกลุ่มทหารผู้พยายามก่อรัฐประหาร ใช้การสื่อสารผ่าน WhatsApp แบบเข้ารหัส ซึ่งภายหลังมีภาพของข้อความแชทการนัดหมาย-กระจายกำลังผ่าน WhatsApp ออกมาสู่สาธารณะ (ดูได้จากทวีตท้ายข่าว)
กลุ่มทหารผู้ก่อรัฐประหาร เข้ายึดสถานีทีวี TRT ของตุรกี แต่อินเทอร์เน็ตยังใช้งานได้ แม้บริการโซเชียลบางอย่างไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว (เช่น Facebook) แต่โซเชียลอีกหลายตัว (เช่น Instagram) ยังใช้งานได้ปกติ และทหารไม่ได้ส่งคนไปที่ ISP แต่อย่างใด
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคมนี้ (ตามเวลาในสหรัฐ) จะเป็นวันที่สมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตจัดการประชุมใหญ่ เพื่อเลือกตัวแทนพรรคสู้ศึกประธานาธิบดีในช่วงปลายปีนี้ ซึ่ง Twitch ที่รายการถ่ายทอดสดเกี่ยวข้องกับเกมเสียส่วนใหญ่ ได้ประกาศว่าจะถ่ายทอดสดตลอดการประชุมของทั้งสองพรรคนี้ในหน้า /GoPConvention และ /DNC2016
Twitch ระบุว่ามองว่าบริษัทมองการถ่ายทอดสดนี้เป็นบริการสาธารณะให้กับชาวอเมริกัน ขณะเดียวกันการเมืองภายในของสหรัฐ ก็ส่งผลต่อประชาคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในโอกาสนี้ Twitch ได้ทำ emotes ขึ้นมา 5 ตัวสำหรับใช้ในช่วงการถ่ายทอดสดนี้ด้วย
นโยบายของ Donald Trump แต่ละอย่างสร้างความกระอักกระอ่วนให้คนสหรัฐฯไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นต่อต้านผู้อพยพ ต่อต้านศาสนาอื่น และหนึ่งในนโยบายที่ทำให้คนวงการไอทีไม่ปลื้มอย่างรุนแรงคือ ปิดอินเทอร์เน็ตเพื่อความมั่นคงของชาติ จนต้องออกจดหมายเปิดผนึกต่อต้าน Trump ลงนามโดยคนวงการไอทีทั้งพนักงาน นักลงทุน CEO กว่า 140 คน เนื้อหาในจดหมายถ้าเปรียบเป็นเชิงมวยคงต้องเรียกว่าออกหมัดตรงเข้าจุดตายของคู่ต่อสู้ได้เลย
งานนี้ใครเกาะกระแส Pokemon Go ได้ก่อน ก็ดังก่อน และนักการเมืองสหรัฐฯคนแรกที่ใช้ประโยชน์จากเกมในการหาเสียงคือ Hillary Clinton แห่งพรรคเดโมแครต
Clinton จัดงานปราศรัยซึ่งเป็นเรื่องปกติของช่วงหาเสียง สถานที่คือ Madison Park ในโลกจริง Madison Park ก็คือสถานที่แห่งหนึ่ง อยู่ในเขต Lakewood มลรัฐ Ohio แต่ในโลกของ Pokemon Go มันคือ Pokestop และ Pokemon GYM ซึ่งในเว็บไซต์ของ Clinton มีข้อความว่า Gotta Catch 'Em' All มาร่วมกับเราที่โปเกสต็อป มาล่าโปเกมอน มาสู้กัน ระหว่างนั้นอย่าลืมลงทะเบียนฟังปราศรัย
คิดภาพไม่ออกว่างานปราศรัยวันเสาร์นี้ Clinton จะปราศรัยยังไงเพราะทุกคนคงกำลังล่าโปเกมอนอย่างเมามันส์ (ฮา)
ที่มา - Venture Beat
เรื่องการเมืองสหรัฐฯ ใครจะเป็นประธานาธิบดี พรรคไหนจะได้รับชัยชนะ ยังไม่มีใครรู้
แต่ตอนนี้ผู้สมัครเป็นวุฒิสมาชิกของรัฐแคลิฟอร์เนียสองท่าน กำลังต่อสู้แย่งชิงบัลลังก์ในศึก Pokemon Go
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อ Jane Kim ผู้สมัครวุฒิสภาของรัฐ ประกาศท้าแข่ง Pokemon Go กับ Scott Wiener ผ่านทวิตเตอร์ และ Wiener ผู้ซึ่งเป็นคู่แข่งสมัครชิงเก้าอี้ในสภาก็รับคำท้า เรียกได้ว่าแม้แต่นักการเมืองก็คลั่งไคล้เกมนี้ไม่แพ้เหล่าเกมเมอร์เลย
ลองคิดว่า Hillary Clinton กับ Donald Trump ท้าชน Pokemon Go กัน คงสนุกกว่าลุ้นว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯซะอีก (ฮา)
ที่มา - Venture Beat
จากเหตุการณ์ที่ผู้หญิงผิวสี Diamond Reynolds ใช้ Facebook Live ถ่ายทอดเหตุการณ์คู่หมั้นของเธอ Philando Castile ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิตบนรถ หลังจากนั้น Facebook ก็ลบคลิปดังกล่าวออก
เหตุการณ์นี้มี 3 ประเด็นใหญ่ที่ควรกล่าวถึง หนึ่งคือ เป็นอีกครั้งที่คนผิวสีถูกตำรวจยิงตาย สอง Facebook กลายเป็นที่พึ่งของคนที่รู้สึกไม่ปลอดภัย และสาม Facebook กลายเป็นด่านเซ็นเซอร์ข้อมูลก่อนออกสู่สังคมไปแล้ว
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จีนได้หัวหน้าทางหน่วยงานไซเบอร์คนใหม่แล้วคือ Xu Lin ผู้ซึ่งได้รับการคาดหวังว่าจะดำเนินการการควบคุมอินเทอร์เน็ตไปพร้อมกับพรรคคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ สำนักข่าว South China Morning Post ยังอธิบายเกี่ยวกับ Xu Lin ว่า เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและเป็นผู้สนับสนุนหลักของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงด้วย
แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อความอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีนเรื่องเปลี่ยนหัวหน้าหน่วยไซเบอร์อย่างกะทันหัน และดูเหมือน Lu Wei จะยังมีตำแหน่งในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์กลางของพรรคอยู่
ที่มา - The Register
เดือนที่แล้ว Twitter เปิดฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้โพสต์ live video ผ่านแอพพลิเคชั่น Periscope ใครจะรู้ว่าฟีเจอร์ตัวนี้จะเป็นเส้นทางสำคัญของสมาชิกพรรคเดโมแครตในการประท้วงสภาคองเกรสเรื่องกฎหมายควบคุมอาวุธปืน หลังกล้อง ที่ถ่ายทอดการประชุมในสภาถูกปิด
ที่งานประชุม Bloomberg technology conference นาย Omid Kordestani ประธาน Twitter กล่าวถึงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆใน Twitter โดยเฉพาะประเด็นการเมืองกระแสความเกลียดชังผู้อพยพว่า ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ ความคิดเห็นที่หยาบคายรุนแรง ก็ควรมีที่ยืนใน Twitter
ในบรรยากาศหาเสียงและการเลือกตั้งหยั่งเสียง นโยบายต่อต้านผู้ลี้ภัยของ Donald Trump ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าย Republican ก็ได้รับการพูดถึงทั่วสหรัฐฯ มีทั้งกระแสต้าน และกระแสหนุน พื้นที่ใน Twitter เป็นอีกช่องทางที่มีประเด็นทางการเมือง ความเกลียดชัง Hate Speech จากเหล่าผู้ใช้ตลอดเวลา
Kordestani ยังกล่าวเพิ่มเติมอย่างน่าสนใจว่า วาทกรรมเป็นสิ่งสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตย แทนที่จะเป็นรถถังและกองกำลังบนถนน เพราะเป็นบรรยากาศที่ทำให้การถกเถียงมันเกิดขึ้น
ที่มา - Techcrunch
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายที่ชาวบริติชสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อไปเลือกตั้งประชามติ กรณีว่าสหราชอาณาจักรจะยังคงเป็นชาติสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ ล่าสุดเกิดความวุ่นวายขึ้นเมื่อเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเวลาปิดรับลงทะเบียน เว็บลงทะเบียนประชามติของรัฐบาลอังกฤษกลับล่ม ทำให้ชาวบริติชหลายคนที่ตัดสินใจลงทะเบียนนาทีสุดท้าย ไม่สามารถลงทะเบียนได้