จากประเด็นมีข้อสังเกตที่ว่า ทวิตเตอร์แสดงโฆษณาที่ได้รับการโปรโมทจากสื่อ Xinhua ของจีน มีเนื้อหาโจมตีผู้ประท้วงชาวฮ่องกง ทวิตเตอร์ก็ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการประกาศห้ามไม่ให้สื่อรัฐบาล (state-controlled news media) ซื้อโฆษณาเนื้อหาของตัวองได้อีกต่อไป
ทวิตเตอร์ยังบอกด้วยว่าทางแพลตฟอร์มได้ระงับ 936 บัญชีที่มีพฤติกรรมเผยแพร่ข่าวปลอมที่มีเนื้อหาบั่นทอนความชอบธรรมของการประท้วงในฮ่องกง และจากการตรวจสอบอย่างละเอียด ทวิตเตอร์มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าบัญชีเหล่านั้นมีการสนับสนุนจากรัฐ
บัญชีทวิตเตอร์ Pinboard และผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งสังเกตว่า ทวิตเตอร์ แสดงโฆษณาจากสื่อ Xinhua ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลจีนที่มีเนื้อหาโจมตีการประท้วงฮ่องกง
ในเนื้อหาของโฆษณา มีความพยายามแสดงให้เห็นถึงการประท้วงว่าเป็น "การเพิ่มความรุนแรง" (escalating violence) และมีการเรียกร้องให้ใช้คำสั่งเรียกคืนด้วย
ทวิตเตอร์ต้องตกอยู่ในสถานการณ์กระอักกระอ่วน เว็บไซต์ Engadget ติดต่อไปยังทวิตเตอร์เรื่องนี้แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับแต่อย่างใด
Elon Musk ซีอีโอ Tesla โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ ประกาศจุดยืนสนับสนุน Andrew Yang นักการเมืองเชื้อสายอเมริกัน-จีน จากพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2020
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ชัดเจนว่า Donald Trump จะลงสมัครเลือกตั้งกับพรรครีพับลิกันเพื่อเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง ส่วนพรรคเดโมแครตมีผู้ประกาศตัวลงสมัครเกือบ 20 คน ทั้งอดีตรองประธานาธิบดี Joe Biden, วุฒิสมาชิก Bernie Sanders และ Elizabeth Warren เป็นต้น
Donald Trump เปิดฉากถล่มกูเกิล โดยทวีตข้อความหา Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลโดยตรง และเล่นงานกูเกิลในหลายประเด็น
ตุรกีออกกฎให้ผู้ให้บริการคอนเทนต์ออนไลน์ทุกแห่งต้องมาขอใบอนุญาตให้ออกอากาศจาก RTUK หน่วยงานควบคุมสื่อของตุรกีกฎใหม่กระทบเว็บไซต์คอนเทนต์ต่างๆ ทั้งข่าว,หนัง ทั้งในและนอกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ Netflix
หนึ่งในผู้สมัครรับเลือกตั้งสหรัฐฯ ปี 2020 ที่มีนโยบายลดอิทธิพลบริษัทเทคโนโลยีคือ Elizabeth Warren วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากพรรคเดโมแครต เธอบอกว่า บริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google, Facebook, Amazon ควรถูกจับแยกเป็นบริษัทย่อยๆ
ล่าสุดมีสถิติน่าสนใจจากเว็บไซต์ Recode เผยว่า กลุ่มพนักงานบริษัทกูเกิลบริจาคเงินสนับสนุนแคมเปญของ Warren กันไม่น้อยเลย (ตัวเลขเงินนับเฉพาะสองไตรมาสแรกของปีนี้)
สร้างความเดือดดาลให้ชาวเน็ตเมื่อ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์ทวิตเตอร์ ให้ สมาชิกสภาคองเกรสหญิง กลับประเทศของตัวเองไป ชาวเน็ตรวมถึงดาราดังก็ออกมาโพสต์ว่านี่คือถ้อยคำเหยียดเกลียดชังอย่างชัดเจน แต่ทวิตเตอร์บอกว่า โพสต์ของทรัมป์ ไม่ผิดกฎแพลตฟอร์ม แต่ก็ไม่ได้บอกว่าทำไมถึงไม่ผิด
มีการสืบสวนจาก Guardian ระบุว่ารัฐบาลจีนติดตามข้อมูลนักท่องเที่ยวจากการที่เจ้าหน้าที่เขตแดน Kyrgyzstan ซึ่งเป็นเขตก่อนจะข้ามไปซินเจียง ให้นักท่องเที่ยวติดตั้งแอพซึ่งจะสามารถติดตามข้อมูลอีเมล อุปกรณ์ที่ใช้ ข้อความ รายชื่อข้อมูลติดต่อ โดยที่เจ้าของเครื่องก็ไม่รู้ตัว
โดยเจ้าหน้าที่จะขอโทรศัพท์และรหัสเข้าเครื่องมาจากนักท่องเที่ยว จากนั้นก็นำเครื่องแยกไปอีกห้องหนึ่ง และโทรศัพท์ก็กลับมาพร้อมกับมีการติดตั้งแอพดังกล่าวไว้แล้ว และพบแต่เครื่องแอนดรอยด์ที่โดนลักษณะนี้
Elizabeth Warren ผู้สมัครประธานาธิบดีปี 2020 จากพรรคเดโมแครต ผู้ซึ่งมีความแข็งขันในนโยบาลลดอิทธิพลบริษัทไอที ล่าสุด เธอขึ้นป้ายบิลบอร์ดที่ตอกย้ำถึงนโยบายของเธอถึงถิ่นบริษัทเทคโนโลยีในซานฟรานซิสโกเลย
ป้ายบิลบอร์ดระบุว่า Break Up Big Tech เป็นป้ายเดี่ยวที่ดูไม่ได้โดดเด่นมาก และตั้งอยู่ในจุดที่ไม่ได้มีคนสัญจรไปมาเยอะ แต่สถานที่ตั้งนั้นเป็นจุดที่ไม่ไกลจากสถานี Caltrain มีบริษัทเทคโนโลยีทำงานอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น Lyft Dropbox และในบริเวณนั้นก็เป็นที่ตั้งของบริษัทใหญ่กูเกิล เฟซบุ๊กด้วย เรียกได้ว่าจุดที่ป้ายบิลบอร์ดตั้งอยู่ คนทำงานบริษัทเทคโนโลยีจะต้องเห็น
โฆษณาการเมืองใน Facebook เป็นหนามยอกอก Facebook มาตั้งแต่ปี 2016 ที่รัสเซียใช้ช่องทางในการซื้อแคมเปญโฆษณาแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ล่าสุด Wall Street Journal รายงานว่า Facebook จะงดให้ค่าคอมมิชชั่นพนักงานที่ขายโฆษณาการเมืองได้
Katie Harbath ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเลือกตั้งระดับโลกของ Facebook กล่าวว่า แนวทางใหม่ของ Facebook ในการขายโฆษณาทางการเมืองนี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดแรงจูงใจให้พนักงาน ในการพยายามจะผลักดันแคมเปญโฆษณาการเมืองใหม่ๆ โดยตอนนี้ช่องทางซื้อโฆษณาส่วนใหญ่ให้บริการตัวเองโดยมีเจ้าหน้าที่ Facebook คอยให้ความช่วยเหลือในการลงทะเบียนเพื่อซื้อโฆษณา แต่พนักงานขาย จะไม่ได้รับค่าคอมมิชชั่นหากขายโฆษณาการเมืองได้ ทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศ
Harbath กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “ตอนนี้ Facebook มองว่าธุรกิจโฆษณาการเมืองเป็นความรับผิดชอบของพลเมือง มากกว่าจะเป็นตัวผลักดันรายได้
Financial Times รายงานว่า วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียลงนามในกฎหมายควบคุมอินเทอร์เน็ต ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียสามารถตัดขาดการเชื่อมต่อจากเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ และระบุให้มีการสร้างระบบโดเมนระดับประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถออนไลน์ได้หากถูกตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนปีนี้
กฎหมายนี้จะเพิ่มการใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในชาติมากขึ้นไปอีก จากเดิมที่บล็อคเว็บไซต์ จำกัดการใช้งาน VPN การแชร์เนื้อหาสุ่มเสี่ยงก็สามารถติดคุกได้ เป็นต้น
Human Rights Watch เผยว่าได้ทำการทดสอบแอพที่เจ้าหน้าที่ในมณฑลซินเจียงใช้ในการระบุและแบ่งประเภทประชากรในบริเวณนั้นโดยแอพได้ใช้ข้อมูลจากทั้งกล้องวงจรปิดและระบบจดจำใบหน้าที่รัฐบาลใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่
Mark Zuckerberg ได้ประกาศเป้าหมายของเขาในปี 2019 ไว้ว่าจะออกไปพูดคุยแบบเปิดเผยกับสังคมมากขึ้น หลังจาก Facebook เจอปัญหามามากมาย โดยหัวข้อที่ออกไปพูดคุยจะครอบคลุมเรื่องของอนาคตของเทคโนโลยี ล่าสุด เขานั่งพูดคุยกับ Yuval Noah Harari ผู้เขียนหนังสือดัง Sapiens
ประเด็นที่น่าสนใจของการพูดคุยครั้งนี้คือ การตั้งศูนย์ข้อมูลในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย Zuckerberg คัดค้านอย่างเต็มที่ ถ้าจะต้องตั้งศูนย์ข้อมูลในประเทศเหล่านั้น เขาบอกว่าในประเทศที่รัฐบาลมีอำนาจมาก นโยบายข้อมูลของพวกเขาจะแตกต่างจากกรอบการกำกับดูแลที่ครอบคลุมทั่วทั้งยุโรปหรือ GDPR เขาสมมติตัวเองว่าถ้าเขาเป็นรัฐบาล เขาสามารถส่งทหารเข้าไปที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อสอดส่องเฝ้าระวังและเข้าถึงข้อมูลประชาชนได้เลย และจะสามารถระบุได้ว่าคุณเป็นใคร ซึ่งนั่นถือเป็นอนาคตที่เลวร้ายมากจริงๆ
Donald Kersey ผู้อำนวยการการเลือกตั้งรัฐเวสต์เวอร์จิเนียระบุว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะใช้แอปพลิเคชั่นและบล็อคเชนในการเลือกตั้งนอกประเทศ หลังจากทดลองใช้งานมาแล้วในการเลือกครั้งกลางเทอมเมื่อปีที่แล้ว โดยจะใช้บริการของบริษัทสตาร์ตอัพ Voatz
Kersey ยอมรับว่าระบบไม่ได้สมบูรณ์และไม่ได้น่าเชื่อถือเต็มที่สำหรับการลงคะแนนเสียงทั่วไป แต่ปัญหาใหญ่ของการลงคะแนนนอกประเทศมีปัญหาใหญ่คือสัดส่วนผู้มาลงคะแนนนั้นต่ำมาก อยู่ที่ 7% เท่านั้นเทียบกับสัดส่วนการมาลงคะแนนในประเทศที่สูงกว่า 50% การใช้แอปลงคะแนนน่าจะช่วยให้ผู้มีสิทธิ์มาลงคะแนนกันได้ง่ายขึ้น
สหรัฐฯ เคยถูกรัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งในประเทศโดยใช้ Facebook ไต้หวันเองก็เตรียมรับมือกับปรากฏการณ์นี้ด้วย โดยไต้หวันเตรียมจะแบนวิดีโอสตรีมมิ่งของจีนจาก Baidu และ Tencent เพราะเกรงว่าจะมีเนื้อหาที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อแทรกแซงการเลือกตั้งไต้หวันที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2020
นาย Chiu Chui-Cheng รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการแผ่นดินใหญ่ของไต้หวันบอกว่า รัฐบาลเตรียมจะแบน iQiyi สตรีมมิ่งรายใหญ่ของจีนที่มี Baidu เป็นเจ้าของ รวมทั้งจะปิดกั้นการเข้ามาของสตรีมมิ่งจาก Tencent ที่จะเข้ามาตีตลาดในไต้หวันในปลายปีนี้ ด้วยเกรงว่าเนื้อหาสตรีมมิ่งจะมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเลือกตั้งในไต้หวัน ซึ่งเป็นไปได้มากว่า เนื้อหาจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อของจีน หรืออาจมีข้อความเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
Mark Zuckerberg เขียนบทความลงใน Washington Post เรียกร้องให้มีกฎควบคุมโซเชียลมีเดียใน 4 ประเด็น คือ เนื้อหาที่เป็นอันตราย, เนื้อหาด้านการเลือกตั้ง, ความเป็นส่วนตัว และ การถือครองและถ่ายโอนข้อมูล
Facebook ออกมาตรการเรื่องโฆษณาการเมืองในยุโรปก่อนจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอีก 2 เดือน โดยผู้ลงโฆษณาการเมืองต้องยืนยันตัวตนกับ Facebook อย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการแทรกแซงจากต่างประเทศอย่างที่เคยเกิดขึ้นในเลือกตั้งสหรัฐฯปี 2016
ผู้ลงโฆษณาต้องแสดงหลักฐานองค์กร ตัวตน พิกัดที่อยู่ และต้องเป็นองค์กรหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตในยุโรปให้ลงโฆษณาการเมืองได้ และ Facebook ระบุด้วยว่าจะตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงโฆษณาการเมืองจากขั้นตอนอัตโนมัติและการรายงานจากผู้ใช้ และระบบโฆษณาจะครอบคลุมประเด็นร้อนแรงในยุโรปอย่างผู้อพยพด้วย กล่าวคือไม่ใช่เป็นประเด็นแค่การเลือกคั้ง ผู้สมัคร และพรรคการเมืองเท่านั้น และโฆษณาการเมืองจากคนหรือองค์กรที่ไม่ได้ลงทะเบียนเข้าใช้งานการลงโฆษณาใน Facebook จะถูกบล็อก
เว็บไซต์รับข้อร้องเรียนของอังกฤษประสบปัญหาล่ม ไม่สามารถใช้บริการได้ชั่วคราว หลังจากที่มีผู้เสนอให้มีญัตติที่ขอให้รัฐสภาและรัฐบาล ยกเลิกกระบวนการ Brexit หรือการถอนตัวของประเทศอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ออกจากสหภาพยุโรป ด้วยการยกเลิกการใช้มาตรา 50 ของสนธิสัญญาสหภาพยุโรป และมีผู้ลงชื่อทะลุเกิน 1 ล้านคนแล้ว
คณะกรรมาธิการพิจารณาข้อร้องเรียน (Petitions Commitee) ของรัฐสภาและรัฐบาลอังกฤษ ระบุในทวิตว่า เว็บไซต์ประสบปัญหาการให้บริการ เนื่องจากมีการเข้าชมข้อร้องเรียนในประเด็นนี้เป็นจำนวนมาก ประมาณ 8 หมื่น - 1 แสนคน และมีผู้ลงชื่อกว่านาทีละเกือบ 2,000 ราย ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทำให้คณะกรรมาธิการ จำเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ชั่วคราว เพื่อให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัญหาของปัญญาประดิษฐ์และอคติของอัลกอริทึม มักถูกยกขึ้นมากล่าวในวงวิชาการ และเริ่มที่จะมีการถูกพูดถึงในวงสาธารณะทั่วไป (เช่น กรณีที่นักทฤษฎีสื่อออกมาเรียกร้อง) แต่การศึกษาในด้านนี้ก็ยังมีงานที่ปรากฎออกมาไม่ชัดเจนมากนัก
จุดนี้ทำให้มหาวิทยาลัย Stanford ประกาศเปิดตัว "สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" หรือ Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) เพื่อศึกษาเรื่องนี้จริงจัง
ทวิตของทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนปัจจุบัน มักกลายเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง และไม่วายถูกเอาไปล้อเลียนในรายการโชว์ต่างๆ ของอเมริกาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจสร้างสถานการณ์ชวนหัวร่อให้คนดูอยู่ได้บ้าง
แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราซื้อหุ้นตามทวิตของทรัมป์?
ความคิดนี้อาจจะดูบ้าบิ่นไปบ้าง แต่ไม่ใช่กับ Max Braun ผู้อำนวยการฝ่ายหุ่นยนต์ของ X บริษัทลูกของ Alphabet ที่แยกตัวออกมาจาก Google ซึ่งสร้างบอทแจ้งเตือนหุ้นที่เกี่ยวกับทวิตของทรัมป์เอาไว้ และตั้งแจ้งซื้อหรือขายเอาไว้ตามทวิตดังกล่าว
คำพังเพยโบราณที่ว่า "ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน" ยังคงใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาของ Huawei และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่กำลังคุกรุ่นอยู่ (มีเยอะมาก อ่านได้จากหมวด Huawei เป็นการเฉพาะ) ล่าสุด หนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานว่า Richard Yu Chengdong หัวหน้าฝ่ายธุรกิจสมาร์ทโฟนของบริษัท Huawei ยืนยันกับหนังสือพิมพ์ Die Walt ระหว่างการสัมภาษณ์ว่า บริษัทกำลังสร้างระบบปฎิบัติการของตัวเอง กรณีที่ไม่สามารถใช้ระบบปฎิบัติการของผู้พัฒนาจากสหรัฐได้
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินข่าวและประเด็นปัญหาของเทคโนโลยีอยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่ความไม่เป็นกลางของอัลกอริทึม (algorithmic bias) ไปจนถึงข่าวปลอมบน Facebook และ YouTube เจอปัญหาวิดีโอสำหรับเด็กมีคลิปความรุนแรงแทรกอยู่ รวมถึงการเสพติดเทคโนโลยีต่างๆ จนทำให้หลายครั้ง เราก็มีภาพในด้านลบต่อเทคโนโลยีอยู่เรื่อยๆ
ล่าสุดที่งาน SXSW 2019 Douglas Rushkoff นักทฤษฎีสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงจากการสร้างแนวคิดเรื่อง viral media มองว่าสิ่งที่ควรทำในการต่อสู้กับด้านมืดของเทคโนโลยี คือการรวมตัวกันของมนุษยชาติในฐานะชุมชนร่วมกัน เพื่อสู้กับปัญหานี้
วันนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ถือเป็นวันที่ระบบเว็บ (หรือ World Wide Web) ระบบเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตผ่านตัวเชื่อม (hyperlinks) ถือกำเนิดขึ้นโดย Tim Berners-Lee และกลายมาเป็นพื้นฐานสำคัญของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ ในโอกาสนี้ ตัวเขาได้ออกมาเขียนจดหมายฉบับหนึ่ง โดยระบุว่ายังมีความหวังว่ามนุษย์ จะสามารถทำให้เครือข่ายเว็บและอินเทอร์เน็ตดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ แม้จะเจอปัญหาต่างๆ มากมายก็ตาม
ต่อจากข่าว Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. ปี 2020 เปิดนโยบายลดอิทธิพล Google, Facebook, Amazon
ฝั่งของ Facebook ก็ออกมาตรการตอบโต้ Warren ทันที ด้วยการแบนโฆษณาของ Warren บน Facebook โดยให้เหตุผลว่าโฆษณาทำผิดนโยบายของ Facebook เนื่องจากนำโลโก้ของบริษัทมาใช้
อย่างไรก็ตาม พอเรื่องนี้กลายเป็นข่าว ทาง Facebook ระบุว่าจะนำโฆษณากลับคืนมา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงกันในประเด็นนี้
ส่วน Elizabeth Warren ก็โพสต์แสดงความเห็นเรื่องนี้ผ่าน Twitter บอกว่านี่เป็นสิ่งยืนยันว่าทำไมเธอจึงมองว่า Facebook มีอิทธิพลมากเกินไป เพราะ Facebook สามารถปิดกั้นการถกเถียงเกี่ยวเชิงนโยบายเกี่ยวกับ Facebook ได้ด้วย
จากข่าว Elizabeth Warren ผู้สมัคร ปธน. ปี 2020 เปิดนโยบายลดอิทธิพล Google, Facebook, Amazon ด้วยการจับแยกบริษัท ก็เกิดคำถามตามมาว่าเป้าหมายของ Warren มีเพียง 3 บริษัทนี้เท่านั้นหรือ
Warren ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมกับเว็บไซต์ The Verge ว่าเธอยังต้องการจับแยกบริษัทแอปเปิลด้วย โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง App Store ที่แอปเปิลเป็นเจ้าของสโตร์เอง และเข้ามาแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ในสโตร์ของตัวเองด้วย (ประเด็นเดียวกับที่ Amazon ขายสินค้าแบรนด์ Amazon Basics ในตลาดของตัวเองแข่งขับคู่ค้า)
เธอบอกว่าสุดท้ายแล้วแอปเปิลจะเลือกได้อย่างเดียวเท่านั้น ว่าจะเป็นผู้จัดการสโตร์ หรือจะเข้ามาแข่งขันในสโตร์ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้เล่นรายอื่นในตลาด