ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ในวงการ Java ไม่น้อย เมื่อ Oracle ออก Java Enterprise Performance Pack ที่นำเอาฟีเจอร์บางอย่างของ Java 17 LTS รุ่นใหม่ (ออกปี 2021) พอร์ตย้อนกลับไปให้ Java 8 (ออกปี 2014 ห่างกัน 7 ปี) เพื่อให้องค์กรที่ยังย้ายจาก Java 8 ไม่ได้ (น่าจะมีเยอะเลย) สามารถรันงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
การเปลี่ยนแปลงใน Enterprise Performance Pack อยู่แค่ในระดับรันไทม์เท่านั้น ได้แก่ การปรับมาใช้ G1/Z Garbage Collector ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ค่าดีฟอลต์คือ G1), รองรับ Compact Strings ช่วยลดหน่วยความจำลง, เปลี่ยนมาใช้ Unified JVM Logging
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว โครงการ Jakarta EE ที่เป็นผู้สืบทอด Java EE ในยุคโอเพนซอร์ส ที่ Oracle ยกให้ Eclipse Foundation ดูแลต่อ ประกาศออก Jakarta EE 10 ซึ่งถือเป็นรุ่นใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ออก Jakarta EE 8 รุ่นแรกภายใต้โครงการใหม่
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือการเพิ่ม Jakarta EE Core Profile 10 ถือเป็น profile ใหม่ที่ขนาดเล็กและเบากว่า Web Profile ของเดิม เพื่อใช้รันงานประเภท microservice/container บนคลาวด์
ตัว Core Profile ยังเพิ่ม Jakarta Contexts and Dependency Injection (CDI) 4.0 เวอร์ชัน Lite (CDI-Lite) สำหรับสร้างแอพที่ขนาดเล็กและเบาด้วย
ไมโครซอฟท์เขียนบล็อกเล่าประสบการณ์ย้ายระบบจัดการธุรกรรมภายในของตัวเอง ที่เรียกรวมๆ ว่า Microsoft Commerce (มีเซอร์วิสประมาณ 700 ตัว) จากเดิมที่เขียนด้วย .NET Framework รันบนวินโดวส์ มาสู่ .NET Core ที่รันบนลินุกซ์
เหตุผลในการย้ายมาจากไมโครซอฟท์ต้องการย้ายระบบไปรันบน Azure ใช้สถาปัตยกรรม container/kubernetes (AKS) แต่พบว่ารันด้วยลินุกซ์จะเหมาะสมมากกว่า ดังนั้นไมโครซอฟท์จึงต้องย้ายจาก .NET Framework มาเป็น .NET Core ที่รันได้ข้ามแพลตฟอร์มก่อน
Ubuntu Pro เป็นบริการ subscription ของบริษัท Canonical ที่ขยายเวลาดูแลแพตช์ความปลอดภัยให้แพ็กเกจซอฟต์แวร์ต่างๆ ของระบบนานเป็น 10 ปี เทียบกับดิสโทร LTS เวอร์ชันฟรีที่ซัพพอร์ตนาน 5 ปี (รูปแบบคล้ายกับ RHEL subscription ของฝั่ง Red Hat) โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 225 ดอลลาร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ต่อปี
ล่าสุด Canonical ประกาศแจกฟรี Ubuntu Pro สำหรับผู้ใช้งานส่วนตัว (personal license) จำนวนไม่เกิน 5 เครื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มาลองใช้งานกันมากขึ้น
ไมโครซอฟท์เริ่มให้บริการ Azure Arc บริการจัดการคลาวด์แบบไฮบริด ให้กับลูกค้าในประเทศไทย ผ่านพาร์ทเนอร์ในไทยคือ AIS Cloud X
Azure Arc เปิดตัวครั้งแรกในปี 2019 นิยามตัวเองว่าเป็นระบบจัดการ Azure ที่อยู่ในเครื่องต่างถิ่นฐานกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบนคลาวด์ไมโครซอฟท์ หรือเครื่อง on-premise ในองค์กร (ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ของ Azure เช่น Azure Stack) โดยบริหารงานจากที่เดียว ข้อดีจากการมีระบบจัดการกลางคือเรื่องความปลอดภัยแบบรวมศูนย์ และการจัดการทั้งเซิร์ฟเวอร์-คอนเทนเนอร์ไปพร้อมๆ กัน
Cloudflare เปิดบริการ Cloudflare SIM บริการเน็ตเวิร์คสำหรับโทรศัพท์มือถือให้สามารถเชื่อมต่อเข้าองค์กรโดยไม่ต้องลงแอปใดๆ เพิ่มเติม แต่อาศัยการออก eSIM ให้พนักงาน เมื่อพนักงานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วองค์กรจะดูแลความปลอดภัยผ่านทาง DNS ได้ทันที หรือจะตรวจสอบสถานะอุปกรณ์เพิ่มเติมผ่านแอป WARP ก็ได้เช่นกัน องค์กรจะรู้ได้ทันทีว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาเป็นของผู้ใช้คนใด
ตอนนี้ Cloudflare ยังไม่ประกาศว่า eSIM ที่ออกมานี้ใช้ในประเทศใดได้บ้างแต่บอกเพียงว่าจะพยายามขยายเครือข่ายไปทั่วโลก และอาจจะมีการออก SIM ปกติในอนาคต ตัว eSIM สามารถล็อกเข้ากับหมายเลข IMEI ของโทรศัพท์ได้
ปัญหา Climate Change ทำให้มีเสียงเรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ใช้พลังงานอย่างรับผิดชอบมากขึ้นเรื่อยๆ และระบบไอทีก็เป็นส่วนสำคัญขององค์กรที่ใช้พลังงานสูงและต้องมีการปรับปรุงการใช้พลังงานให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น
เมื่อดาต้าเซ็นเตอร์ใช้พลังงานมหาศาล และถือเป็นสัดส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับปริมาณการใช้พลังงานทั้งหมดขององค์กร ยักษ์ใหญ่ไอทีอย่างไอบีเอ็มจึงมองว่ากรีนไอทีจะสามารถช่วยองค์กรลดการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นท์ขององค์กรได้แล้ว ยังจะช่วยตอบโจทย์ท้าทายด้านความยั่งยืนขององค์กร
ไมโครซอฟท์ผ่อนคลายเงื่อนไขสัญญาอนุญาตใช้งานซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ฝั่งองค์กร ให้เอื้อต่อการนำไปรันบนเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทเอาท์ซอร์ส หรือผู้ให้บริการคลาวด์รายย่อยมากขึ้น
ทิศทางของไมโครซอฟท์เกิดจากแรงกดดันฝั่งยุโรป ที่มองว่าไมโครซอฟท์เป็นทั้งเจ้าของซอฟต์แวร์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สำคัญ (เช่น Windows Server หรือ SQL Server) ในอีกทางก็เป็นผู้ให้บริการคลาวด์เองด้วย ทำให้ไมโครซอฟท์อาจใช้กลยุทธ์เรื่องสัญญาอนุญาตเพื่อให้คลาวด์ของตัวเองได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งผู้บริหาร AWS เพิ่งออกมาโวยเรื่องนี้
Charles Lamanna ผู้บริหารฝ่าย Power Platform สำหรับการพัฒนาแอพแบบ no-code และ low-code ของไมโครซอฟท์ (เช่น Power BI, Power App, Power Automate) ให้สัมภาษณ์กับ Protocol เปิดเผยว่าตอนนี้ Power Platform มีผู้ใช้งานแล้ว 7 ล้านคนต่อเดือน ทำรายได้เกิน 2 พันล้านดอลลาร์ในรอบ 12 เดือนล่าสุด คิดเป็นอัตราเติบโตของรายได้ 72% ต่อปี
สัปดาห์ที่ผ่านมา VMware เปิดตัว vSphere+ และ vSAN+ ซึ่งเป็นบริการ virtualization ที่รันบนคลาวด์ของ VMware แต่สามารถใช้บริหารจัดการเครื่องแบบ on premise ในองค์กรของลูกค้าที่รัน vSphere และ vSAN ของเดิมได้ด้วย
VMware ยกข้อดีของ vSphere+ และ vSAN+ ตรงที่แอดมินองค์กรหรือนักพัฒนาแอพ สามารถจัดการเครื่องได้จาก cloud console เพียงที่เดียว (centralized management) โดยที่ไม่ต้องแก้ไขหรือยุ่งอะไรกับตัวเครื่อง on premise เดิมที่มีอยู่แล้ว หรืออธิบายง่ายๆ คือยกเอาส่วนบริหารจัดการที่เดิมอยู่บน on premise ขึ้นไปไว้บนคลาวด์แทน ส่วนตัวงานจริงๆ ยังรันบน on premise
vSphere+ และ vSAN+ มีโมเดลการคิดเงินแบบ subscription แต่ยังไม่เปิดเผยราคา
คอมแรง คอมเร็ว สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้า คอมไม่ปลอดภัย โอกาสที่ธุรกิจจะชะงัก หรือพ่ายแพ้ต่อคู่แข่งก็มีสูง ดังนั้นคงจะดีกว่าที่ในโลกธุรกิจจะใช้ คอมแรง, คอมเร็ว และคอมที่ปลอดภัย
Intel เล็งเห็นปัจจัยดังกล่าว จึงพัฒนา Intel vPro หรือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในโลกธุรกิจได้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยที่สำคัญไม่แพ้กับฝั่งประสิทธิภาพในการทำงาน
Blognone อยากชวนมาทำความเข้าใจกันว่า ทำไมองค์กรธุรกิจถึงควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับ Intel vPro และการใช้งาน Intel vPro ในโลกธุรกิจจะต่างกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง CPU ของ Intel ที่ไม่มีแพลตฟอร์มเทคโนโลยีนี้แค่ไหน
Broadcom ประกาศซื้อกิจการ VMware โดยจ่ายเป็นเงินสดและหุ้นของบริษัท ที่มูลค่ารวม 61,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 2 ล้านล้านบาท ทำให้เป็นดีลซื้อกิจการในบริษัทเทคโนโลยีมูลค่าสูงสุดตลอดกาล อันดับที่ 3 รองจาก Dell ซื้อ EMC (67,000 ล้านดอลลาร์) และ Microsoft ซื้อ Activision Blizzard (68,700 ล้านดอลลาร์) ซึ่งดีลนี้มีข่าวลือมาตั้งแต่ต้นสัปดาห์
ผลจากดีลดังกล่าว แผนกซอฟต์แวร์ของ Broadcom จะรีแบรนด์และย้ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไปอยู่ภายใต้กลุ่ม VMware
Red Hat Enterprise Linux ออกเวอร์ชัน 9.0 โดยนับเป็นเวอร์ชันแรกที่อิงจาก CentOS Stream 9 หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบายของ CentOS จากดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL แทน (สืบต่อกันมาจาก Fedora 34 อีกที)
ของใหม่ใน RHEL 9.0 มีหลายอย่างดังนี้
ไมโครซอฟท์มีธุรกิจด้านความปลอดภัยมาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว (แถมโฆษณาว่าตัวเองเป็น the world’s largest security company) แต่ทั้งหมดยังเป็นซอฟต์แวร์-บริการแบบจ่ายค่าสมาชิกเท่านั้น เช่น Microsoft Defender, Microsoft Purview, Azure Firewall, Azure DDoS Protection
ล่าสุดไมโครซอฟท์บุกเข้าตลาดผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยรับจ้าง ในชื่อว่า Microsoft Security Experts โดยบริการย่อยตัวแรกคือ Microsoft Defender Experts for Hunting เป็นการจ้างผู้เชี่ยวชาญของไมโครซอฟท์มาช่วยดูข้อมูลจาก ข้อมูลของ Microsoft Defender เพื่อหารูรั่วขององค์กรให้ (ยังจ้างแยกต่างหากไม่ได้ ต้องใช้บริการซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ก่อน)
สัปดาห์ที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Purview ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของ Azure Purview บริการด้านจัดระเบียบและควบคุมข้อมูลในองค์กร (data governance) ไม่ว่าจะอยู่บนคลาวด์หรืออยู่ในเครื่องแบบ on-premise ก็ตาม
หน้าที่หลักของ Microsoft Purview คือค้นหาว่ามีถังข้อมูลใดบ้างในองค์กร แยกแยะประเภทและหมวดหมู่ กำหนดว่ามีใครเข้าถึงได้บ้าง กำหนดชั้นความลับ เป็นต้น ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในองค์กรทำได้ง่ายขึ้น ในอีกทางคือป้องกันความเสี่ยงเรื่องข้อมูลรั่วไหล และทำ compliance ตามนโยบายด้านข้อมูลขององค์กร
ไมโครซอฟท์เล่าประสบการณ์การอัพเกรดพีซีของตัวเองเป็น Windows 11 ทั้งหมดในระยะเวลา 5 สัปดาห์ อัพเกรดพีซีให้พนักงาน 190,000 คนทั่วโลก
ไมโครซอฟท์บอกว่าการอัพเกรดเป็น Windows 11 ราบรื่นมากเมื่อเทียบกับตอนอัพเกรด Windows 10 เหตุผลสำคัญคือไม่มีปัญหาความเข้ากันได้ของแอพ (สถิติบอกว่าแอพเข้ากันได้ 99.7%) และตัวเครื่องมือที่ใช้อัพเกรดพีซีจำนวนมากๆ นั้นดีขึ้นมากด้วย ช่วยลดแรงที่ใช้ลงได้มาก
แอปเปิลประกาศเตรียมปิดให้บริการ Fleetsmith โซลูชันสำหรับจัดการควบคุมอุปกรณ์ (MDM - Mobile Device Management) ที่พัฒนาสำหรับอุปกรณ์ของแอปเปิล โดยลูกค้า Fleetsmith ปัจจุบันจะใช้งานได้จนถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2022 ซึ่งมีผลทั้งการล็อกอินเข้าไปจัดการ และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพื่ออัพเดตคอนฟิก
แอปเปิลซื้อกิจการ Fleetsmith เมื่อปีเดือนมิถุนายน 2020 และนำทีมงานกับฟีเจอร์มาพัฒนาเครื่องมือ MDM ต่อ
ในหน้า Support แอปเปิลให้คำแนะนำในการเปลี่ยนมาใช้ MDM ตัวอื่นแทนด้วย
ที่มา: MacRumors
ข่าวที่น่าสนใจในฝั่งซอฟต์แวร์องค์กรของกูเกิลคือ กูเกิลออกตัวเชื่อมซอฟต์แวร์ฝั่งลูกค้าองค์กรหลายๆ ตัวของตัวเองเข้าด้วยกัน ได้แก่ Google Workspace, Apps Script และ AppSheet
ทุกคนคงรู้จัก Google Workspace หรือ G Suite เดิม ซอฟต์แวร์ชุดสำนักงานของกูเกิล (อีเมล เอกสาร ตารางคำนวณ นำเสนอ ฯลน) กันดีอยู่แล้ว ตัวแพลตฟอร์ม Workspace สามารถเรียกใช้ได้ผ่านเว็บ-แอพมือถือของกูเกิลเอง หรือเรียกผ่าน API จากแอพอื่นอีกที
บริษัทวิจัย Gartner ออกรายงานประเมินการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรทั่วโลก โดยภาพรวมของปี 2022 จะเพิ่มขึ้น 4% จะจากปีก่อนเป็น 4.43 ล้านล้านดอลลาร์ และมองแนวโน้มปี 2023 เพิ่มเป็น 4.67 ล้านล้านดอลลาร์
John-David Lovelock รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner ให้ข้อมูลว่า การประเมินงบประมาณใช้จ่ายไอทีขององค์กรในปีนี้ค่อนข้างผันผวน เพราะมีตัวแปรที่คาดการณ์ยากไม่ว่าจะเป็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) ปัญหาเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ซัพพลายเชน
IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมรุ่นใหม่ (ที่น่าจะเหลือทำอยู่บริษัทเดียวแล้ว) คือ IBM z16 ที่ต่อยอดมาจาก z15 ในปี 2019
จุดเด่นของ IBM z16 คือซีพียูใหม่ Telum ที่เปิดตัวมาก่อนเมื่อปีที่แล้ว มีจุดเด่นด้านการประมวลผล AI รองรับได้ 3 แสนล้าน inference ต่อวัน ซึ่ง IBM ยกตัวอย่างว่าสามารถนำไปใช้ในภาคการเงิน เพื่อป้องกันธุรกรรมที่ผิดปกติ (fraud) ได้ในขนาดที่เยอะกว่าเดิมมาก
Google Cloud เปิดตัวบริการฐานข้อมูลแบบใหม่ BigLakes มันคือการขยายร่าง Google BigQuery ให้มาใช้กับข้อมูลประเภท object storage ได้ด้วย เท่ากับว่าใช้คำสั่งและอินเทอร์เฟซแบบ BigQuery ได้กับทั้งข้อมูลแบบดั้งเดิม (database/data warehouse) และข้อมูลแบบวัตถุ (data lake)
Gerrit Kazmaier ผู้บริหารฝ่ายฐานข้อมูลของ Google Cloud บอกว่าในโลกฐานข้อมูล มีเส้นแบ่งระหว่าง data base กับ data lake มายาวนาน เหตุผลคือข้อมูลประเภทใหม่ๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเร็วมาก จนไม่สามารถจัดการด้วยวิธีแบบดั้งเดิม (database) ไหว จึงต้องมีการจัดการแบบ data warehouse (structured) และ data lake (unstructured) ขึ้นมารับมือ
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือชื่อ Windows Autopatch ช่วยให้แอดมินไอทีองค์กรจัดการกับอัพเดตของ Windows และ Office ได้ง่ายขึ้นมาก
ปกติแล้วไมโครซอฟท์ออกแพตช์ใหญ่เดือนละครั้งในวันอังคารที่สองของเดือน (Patch Tuesday) แต่ปัญหาการอัพเดต Windows แล้วพังทำให้วันนี้กลายเป็นวันแห่งความเครียดของเหล่าแอดมิน ไมโครซอฟท์บอกว่ารับฟังปัญหาเหล่านี้มาสร้างเป็น Autopatch เพื่อทำให้ Patch Tuesday กลายเป็นวันอังคารธรรมดาทั่วไป
แนวทางของ Autopatch คือสแกนหาเครื่อง (endpoint) ในองค์กร แล้วนำมาสร้างเป็นกลุ่มเครื่อง 4 กลุ่ม 4 วง (ring) โดยจะทดสอบแพตช์กับวงแรกสุด (test) ก่อน ถ้าเวิร์คแล้วจะค่อยๆ ขยายไปยังวงที่กว้างขึ้นต่อไปให้เอง (first, fast, broad ครอบคลุมเครื่องปริมาณ 1%, 9%, 90% ตามลำดับ)
ไมโครซอฟท์มีบริการ Windows 365 รันวินโดวส์บนคลาวด์แล้วสตรีมมายังเครื่องของผู้ใช้ผ่านเบราว์เซอร์ เปิดมาจับตลาดลูกค้าองค์กรตั้งแต่ปี 2021 (ถือเป็น remote desktop แบบหนึ่ง)
วันนี้ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือเสริมการทำงานของ Windows 365 อีกสามอย่างคือ
Western Digital ประกาศความร่วมมือกับซัมซุง วางมาตรฐานการเก็บข้อมูลในไดรฟ์ SSD ร่วมกัน
เทคโนโลยีกลุ่มนี้เรียกว่า data placement, processing and fabrics (D2PF) เป็นการกำหนดวิธีการวางข้อมูลลงใน SSD โดยชิ้นส่วนแรกในกลุ่ม D2PF คือ Zoned Storage หรือการกำหนดตำแหน่งของไดรฟ์ว่าตรงไหนเก็บข้อมูลอะไร (ดูภาพประกอบ)
Google Cloud ประกาศว่าบริการประมวลผลที่ปลายทาง Google Distributed Cloud Edge ที่เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2021 เข้าสถานะ general availability (GA) แล้ว
บริการตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Google Distributed Cloud (GDC) ชุดบริการที่กระจายการประมวลผลบนแพลตฟอร์ม Google Cloud ไปรันที่อื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลเอง ซึ่งเลือกได้หลายแนวทาง เช่น ศูนย์ข้อมูลลูกค้า, ศูนย์ข้อมูลพาร์ทเนอร์ หรือเอาเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปวางที่ไซต์งานในโรงงาน เป้าหมายคือใช้ประมวลผลงาน (เช่นภาพจากกล้องหรือเซ็นเซอร์แล้วรันงาน ML แยกแยะภาพ) ให้ใกล้กับตัวเนื้องานมากที่สุด