Google Workspace ประกาศเพิ่มคุณสมบัติในการใช้งานใหม่หลายรายการ โดยเน้นไปที่การทำงานร่วมกันในทีมผ่านแอปสำหรับการประชุม Google Meet
คุณสมบัติแรกคือสามารถแทรก Google Docs, Sheets และ Slides แสดงผลเข้ามาในระหว่างการประชุมผ่าน Meet และทุกคนในนั้นสามารถร่วมตรวจสอบ และแก้ไขไปพร้อมกันได้ทันที
นอกจากนี้ Google Meet ยังรองรับ picture-in-picture บน Chrome สามารถย่อจอสนทนาลงมาเล็กลงระหว่างสลับไปทำอย่างอื่นได้ รวมทั้งเพิ่มการประชุมแบบเข้ารหัส โดยจะเริ่มที่ฝั่งไคลเอ็นต์ในเดือนพฤษภาคม และเพิ่มระดับ end-to-end ภายในสิ้นปีนี้
เส้นทางชีวิตของบริษัทความปลอดภัย McAfee เดิม มีความซับซ้อนสับสนอย่างมาก ถ้าให้สรุปความเคลื่อนไหวในรอบ 1 ปีมานี้คือ McAfee แยกเป็น 2 ส่วนคือ ธุรกิจคอนซูเมอร์และองค์กร โดยขาย McAfee Enterprise ให้กลุ่มทุน STG ส่วนธุรกิจคอนซูเมอร์ขายให้กลุ่มทุนอีกกลุ่มคือ Advent
ในฝั่ง McAfee Enterprise เจ้าของใหม่ STG จับแยกเป็นอีก 2 ส่วน โดยจับธุรกิจส่วนใหญ่ของ McAfee Enterprise ไปรวมร่างกับ FireEye (ที่แยกครึ่งกับ Mandiant แล้ว Mandiant เพิ่งขายให้กูเกิล) กลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Trellix
ข่าวนี้คือ ส่วนที่เหลือของ McAfee Enterprise ที่เรียกว่าธุรกิจ Security Service Edge (SSE) หรือบริการตรวจสอบความปลอดภัยของจุดที่ขอบองค์กร (edge) จะกลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Skyhigh Security
บริษัทด้านการลงทุน Thoma Bravo ประกาศซื้อหุ้นทั้งหมดของ Anaplan บริษัทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร โดยมีมูลค่าดีลรวม 10,700 ล้านดอลลาร์ โดยดีลนี้จะจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมดให้กับผู้ถือหุ้น
Anaplan เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าองค์กร มีจุดเด่นคือระบบทำงานบนเทคโนโลยีเฉพาะที่ชื่อ Hyperblock บริการหลักเป็นด้านการเงิน-การบัญชี สำหรับให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ มีพาร์ตเนอร์ 175 ราย และมีลูกค้ามากกว่า 1,900 องค์กรทั่วโลก
Frank Calderoni ซีอีโอ Anaplan กล่าวว่าเขามั่นใจในทรัพยากรและข้อมูลเชิงลึกของ Thoma Bravo ว่าจะเป็นพาร์ตเนอร์ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตให้กับบริษัทได้ในอนาคต
IBM ประเทศไทย แต่งตั้งคุณสวัสดิ์ อัศดารณ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2022 ที่ผ่านมา
คุณสวัสดิ์ ถือเป็นพนักงานลูกหม้อของ IBM ประเทศไทย ทำงานมาตั้งแต่ปี 1990 โดยก่อนหน้านี้เป็นผู้จัดการทั่วไปของ IBM Consulting (Thailand) ฝั่งธุรกิจคอนซัลต์ ก่อนมารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ IBM Thailand อีกตำแหน่ง
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณสวัสดิ์ในโอกาสที่รับตำแหน่งใหม่ และสอบถามมุมมองการเปลี่ยนแปลงของ IBM ตลอดการทำงาน 30 กว่าปีที่ผ่านมา
NVIDIA ซื้อบริษัท Excelero จากอิสราเอล ผู้เชี่ยวชาญด้าน software-defined storage เข้ามาช่วยทำซอฟต์แวร์ด้าน block storage โดยเฉพาะในคลัสเตอร์ประสิทธิภาพสูง
NVIDIA มีธุรกิจชิปประมวลผลข้อมูล (data processing unit หรือ DPU) ชื่อ BlueField ทำหน้าที่แบ่งงานประมวลผลข้อมูลที่วิ่งเข้าการ์ดเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์ ออกจากซีพียูเพื่อมาประมวลผลงานระดับล่างๆ (เช่น parse แพ็กเก็ตข้อมูล, checksum, ถอดรหัส-เข้ารหัส) ต่างหาก โดย NVIDIA ออกแบบชิป DPU ให้ทำงานเฉพาะทางเหล่านี้ได้ดี มีประสิทธิภาพดีกว่าให้ซีพียูปกติทำ (NVIDIA ใช้คำว่าอธิบายว่า "hardware-accelerated data center infrastructure on a chip")
Fujitsu ประกาศแผนการหยุดผลิตเซิร์ฟเวอร์เมนเฟรม และเซิร์ฟเวอร์ยูนิกซ์ที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม SPARC
Fujitsu ให้เหตุผลว่าตลาดโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีเปลี่ยนไป โลกหมุนไปทางคลาวด์และไฮบริดมากขึ้น และบริษัทเองก็เริ่มปรับโมเดลธุรกิจมาเป็นการให้เช่าตามปริมาณการใช้งานจริง (as-a-service) จึงได้เวลาหยุดขายและซัพพอร์ตสินค้ารุ่นเก่าๆ
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Defender for Cloud (ชื่อเดิมคือ Azure Security Center) บริการสแกนความปลอดภัยบนคลาวด์ ที่ทำงานได้บนคลาวด์ 3 ค่ายใหญ่คือ Azure, AWS และล่าสุดคือ Google Cloud Platform (GCP)
แนวทางของผลิตภัณฑ์สายความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ในช่วงหลัง (รีแบรนด์เป็น Microsoft Defender) คือเอาทุกอย่าง ทุกแพลตฟอร์ม ฝั่งไคลเอนต์รองรับสมาร์ทโฟน ลินุกซ์ IoT ส่วนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ก็รองรับคลาวด์ทั้ง 3 ยี่ห้อหลักตามประกาศของข่าวนี้
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมกับคลาวด์อาจเป็นเทคโนโลยีคนละยุค ที่ฟังชื่อแล้วดูห่างไกลกันมาก แต่ถ้ามีหน่วยงานที่ต้องการเช่าเครื่องเมนเฟรมผ่านคลาวด์ ตอนนี้ IBM เปิดให้ทำได้แล้ว
IBM ถือเป็นผู้ขายเมนเฟรมรายใหญ่ของโลก เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ z/OS ของตัวเอง ประกาศทำ Wazi as a Service (Wazi aaS) เปิดให้เช่าเครื่อง z/OS แบบออนดีมานด์ผ่านคลาวด์ IBM Cloud VPC โดยจะเริ่มให้บริการในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
กลุ่มเป้าหมายของบริการ IBM Wazi aaS คือลูกค้าองค์กรที่มีเครื่องเมนเฟรม Z ของ IBM อยู่แล้ว แต่ต้องการหาเครื่องมาทดสอบการพัฒนาแอพเพิ่มเติม โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ให้เปลืองงบประมาณ
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานหัวข้อ Cloud Shift ระบุว่าการใช้จ่ายของหน่วยงานไอทีองค์กร จะเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี Public Cloud มากขึ้น จนแซงเทคโนโลยีแบบเดิม (Traditional) ในปี 2025
รายงานพิจารณาการใช้จ่าย 4 หมวดเทคโนโลยี ที่สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการคลาวด์ได้ ได้แก่ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน, ซอฟต์แวร์ Infrastructure, Business Process และ ระบบ Infrastructure พบว่าในปี 2025 องค์กรมีแผนใช้จ่ายบนคลาวด์ 51% ของค่าใช้จ่ายรวม เทียบกับตัวเลข 41% ในปี 2022 หมวดที่มีการย้ายไปอยู่บนคลาวด์สูงสุดคือ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน (65.9% ปี 2025)
กูเกิลเปิดตัว Google Workspace Essentials Starter เวอร์ชันใช้ฟรี 100% สำหรับองค์กรขนาดเล็กไม่เกิน 25 คน ใช้กับโดเมนตัวเองได้ มีทุกอย่างเหมือน Google Workspace รุ่นจ่ายเงิน ยกเว้นอีเมลเท่านั้น
ผู้ใช้สามารถใช้โดเมนเนมตัวเองเป็นบัญชีล็อกอิน เข้ามาใช้แอพยอดนิยมทั้ง Drive, Meet, Chat, Docs, Calender โดยมีเนื้อที่เก็บข้อมูลคนละ 15GB (เท่ากับบัญชีกูเกิลส่วนตัวทุกอย่าง แต่ใช้เป็นบัญชีองค์กรแทนบัญชีส่วนตัว) เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบอีเมลของตัวเองอยู่แล้ว แต่ต้องการใช้แอพสื่อสาร-ทำงานเอกสารร่วมกันตัวอื่น
ไมโครซอฟท์โพสต์ข้อมูลผ่าน Windows IT Pro Blog เผยสถิติการทำงานของ Windows Update ที่เราไม่เคยรู้กันมาก่อนว่าระยะเวลาเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการติดตั้งอัพเดต
ไมโครซอฟท์พบว่าต้องรอหลังไคลเอนต์เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้ 2 ชั่วโมง และนับเป็นเวลาทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์รวมกันนาน 6 ชั่วโมงขึ้นไป (ตัวชี้วัดนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Update Connectivity) ถึงมีโอกาสอัพเดตสำเร็จสูง
สถิติของไมโครซอฟท์เองบอกว่าพีซีที่ไม่ได้อัพเดตนานๆ มักไม่ผ่านเกณฑ์ข้อนี้ ผลคือแพตช์ที่ติดตั้งเก่า และมักทำให้อัพเดตล้มเหลว หรืออธิบายง่ายๆ คือเครื่องที่มีค่า Update Connectivity ต่ำแปลว่าไม่ค่อยได้อัพเดตแพตช์ล่าสุดเท่าไรนัก
อัพเดต: Citrix ยืนยันข่าวดังกล่าวแล้ว
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าบริษัทการลงทุน Vista Equity Partners และ Elliott Management Corp ใกล้ปิดดีลซื้อกิจการ Citrix Systems บริษัทซอฟต์แวร์รีโมททำงานสำหรับองค์กร โดยมูลค่าดีลอยู่ราว 13,000 ล้านดอลลาร์
รายงานบอกว่าเมื่อดีลเสร็จสิ้น และนำ Citrix ออกจากตลาดหุ้น Vista และ Elliott จะควบรวมกิจการบริษัทกับ Tibco บริษัทซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล ที่ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าของอยู่ตอนนี้
เมื่อปีที่แล้ว เราเห็นกลุ่มทุน Symphony Technology Group (STG) เข้าซื้อบริษัทความปลอดภัย 2 แห่งคือ FireEye และ McAfee Enterprise พร้อมประกาศว่าจะควบรวมทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน
Nordic Choice Hotels กลุ่มเชนโรงแรมใหญ่ในสแกนดิเนเวียที่มีโรงแรมมากกว่า 200 สาขา เจอปัญหา ransomware ถล่มระบบคอมพิวเตอร์ และยึดไฟล์ข้อมูลของพนักงานเพื่อเรียกค่าไถ่ ทำให้พนักงานต้องเปลี่ยนมาทำงานด้วยกระดาษ-กระดานกันชั่วคราว
เรื่องดูเหมือนองค์กรทั่วไปที่โดน ransomware โจมตี แต่สิ่งที่ Nordic Choice เลือกทำต่างออกไปคือเปลี่ยนพีซีวินโดวส์กว่า 2,000 เครื่องมาเป็น Chrome OS แทน (Nordic Choice มีโครงการเปลี่ยนมาใช้ Chrome OS อยู่แล้ว แต่พอเจอ ransomware เข้าไปเลยเปลี่ยนทั้งหมดทันที)
ซัมซุงเปิดตัว SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์องค์กร ที่ใช้อินเทอร์เฟซ PCIe 5.0 ซึ่งมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 32 gigatransfers per second (GT/s) สูงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ PCIe 4.0
SSD รุ่นนี้ชื่อว่า PM1743 มีความเร็วการอ่านแบบต่อเนื่อง (sequential read) ที่ 13,000 MB/s ส่วนการอ่านแบบสุ่มตำแหน่ง (random read) ที่ 2,500K IOPS หรือเทียบง่ายๆ กับ PCIe 4.0 คือเพิ่มขึ้น 1.9x และ 1.7x ตามลำดับ ช่วยยกระดับการเขียนข้อมูลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ได้อีกมาก
ในแง่การใช้พลังงาน PM1743 ยังมีอัตราการใช้พลังงานที่ 608MB/watt ดีขึ้น 30% จาก SSD รุ่นก่อน ช่วยลดพลังงานของเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลลงได้ในภาพรวม
Oracle ประกาศข่าวการซื้อ Cerner Corp บริษัทผู้พัฒนาระบบไอทีด้านการแพทย์ ด้วยมูลค่าสูงถึง 28.3 พันล้านดอลลาร์ (ราว 9.5 แสนล้านบาท) ตามข่าวลือก่อนหน้านี้ การซื้อกิจการครั้งนี้ถือเป็นการซื้อกิจการครั้งใหญ่ที่สุดของ Oracle ด้วย
Cerner เป็นบริษัทด้านระบบไอทีเพื่อการแพทย์ ก่อตั้งในปี 1979 ปัจจุบันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq และมีพนักงานทั่วโลกมากกว่า 29,000 คน ซีอีโอคนปัจจุบัน David Feinberg เคยเป็นหัวหน้าทีม Google Health มาก่อน
CentOS 8 จะสิ้นระยะซัพพอร์ตในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 หลังจากนี้ไป โครงการ CentOS จะเข้าสู่ยุคใหม่ที่เป็น CentOS Stream แทน เท่ากับว่าเมื่อขึ้นปี 2022 แล้ว CentOS 8 จะไม่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยอีกต่อไป
แต่ CentOS 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนนิยมใช้อย่างสูง โดยเฉพาะในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จึงเกิดคำถามตามมาว่าผู้ใช้ CentOS 8 ที่ตอนนี้เหลือเวลาอีกน้อยนิด มีทางเลือกในการอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการใดแทนได้บ้าง
เว็บไซต์ ZDNet ได้รวบรวมทางเลือกที่เป็นไปได้ในการอัพเกรดแทน CentOS 8 โดยเริ่มจากกลุ่มที่ดัดแปลงมาจาก RHEL 8 และสามารถทดแทน CentOS 8 ได้ทันที
SWZD มาร์เกตเพลส B2B ด้านงานเทคโนโลยี ออกรายงาน State of IT นำเสนอแนวโน้มการใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กร และทิศทางเทคโนโลยีในปี 2022 ภาพรวมแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นจากปี 2021 เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่มองแนวโน้มรายได้ธุรกิจกลับมาเติบโต แบ่งเป็น 64% องค์กรขนาดใหญ่ (พนักงานมากกว่า 500 คน) จะเพิ่มค่าใช้จ่ายไอที และ 45% ขององค์กรขนาดเล็กจะเพิ่มงบประมาณส่วนนี้
สาเหตุหลักที่ทำให้องค์กรเพิ่มงบประมาณ มาจากการเพิ่มความสำคัญโครงการที่เกี่ยวกับไอทีมากขึ้น รองลงมาคืออัพเกรดระบบที่ล้าสมัย ส่วนรายละเอียดค่าใช้จ่าย ฮาร์ดแวร์มีแนวโน้มที่ลดลง แทนที่ด้วยค่าใช้จ่ายด้านคลาวด์และบริการที่อยู่คลาวด์
Ericsson ประกาศซื้อกิจการ Vonage บริษัท VoIP สัญชาติอเมริกันในราคา 6.2 พันล้านดอลลาร์ จ่ายด้วยเงินสดทั้งหมด คาดว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นในครึ่งแรกของปี 2022
Vonage ก่อตั้งในปี 2001 ถือเป็นบริษัทโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตยุคแรกๆ โดยให้บริการทั้งระบบโทรศัพท์บ้านและสำนักงาน บริษัทขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2006 (ตัวย่อ VG) และค่อยๆ เติบโตผ่านการซื้อกิจการ และการขยายธุรกิจมายังกลุ่มลูกค้าองค์กร เช่น ระบบคอลล์เซ็นเตอร์ และ unified communication
ตลาดการพัฒนาแอพแบบไม่ต้องเขียนโค้ด (no-code) หรือเขียนโค้ดน้อย (low-code) เป็นตลาดที่กำลังมาแรงในช่วงปีหลังๆ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่อีกรายที่เข้ามาร่วมในตลาดนี้คือ SAP
สัปดาห์นี้ SAP เปิดตัว SAP AppGyver เครื่องมือพัฒนาแบบ no-code อย่างเป็นทางการ (เข้าสถานะ general available) โดยมาจากการซื้อกิจการบริษัท AppGyver เมื่อต้นปีนี้ และผนวกรวมเครื่องมือตัวนี้เข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์ม SAP Business Technology Platform (SAP BTP) ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมๆ ของซอฟต์แวร์ SAP เกือบทุกตัวเรียบร้อยแล้ว เชื่อมต่อกับ API ของ SAP ได้เลย
Kyndryl บริษัทดูแลโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แยกตัวมาจาก IBM เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเสือปืนไว เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์แทบทันที ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันให้บริการต่างๆ ภายใต้ร่ม Microsoft Cloud กับฐานลูกค้าของ Kyndryl
เหตุผลที่ Kyndryl แยกตัวมาจาก IBM มีทั้งเรื่องโครงสร้างการเงิน และความคล่องตัวที่ Kyndryl สามารถให้บริการเทคโนโลยีของบริษัทอื่นได้ง่ายขึ้น การเซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์ถือเป็นสัญญาณชัดเจนว่า Kyndryl สามารถขายโซลูชันของบริษัทอื่นๆ ได้ทันที
ที่มา - Kyndryl
แอปเปิลเปิดตัวบริการใหม่สำหรับลูกค้าองค์กร Apple Business Essentials โดยเน้นไปที่องค์กรซึ่งมีพนักงานไม่เกิน 500 คน ในการบริหารจัดการอุปกรณ์ (Device Management), การรับการสนับสนุนจากแอปเปิล 24/7 และบริหารจัดการพื้นที่ iCloud ได้สะดวกมากขึ้น
บริการ Apple Business Essentials เป็นการรวมโซลูชันดูแลจัดการอุปกรณ์ เช่นการควบคุมสิทธิเข้าถึง, VPN, รหัส Wi-Fi, แอปที่ติดตั้งในเครื่อง ไปจนถึงสามารถควบคุมการเข้ารหัสเครื่องผ่าน FileVault หรือสั่งล็อกเครื่องระยะไกลกรณีอุปกรณ์สูญหาย และการใช้งาน iCloud บัญชีเฉพาะสำหรับองค์กร เป็นต้น
บริการนี้ยังสามารถเลือกเพิ่ม AppleCare+ for Business ซึ่งจะซัพพอร์ตทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง ไปจนถึงแผนในการซ่อมแซมอุปกรณ์อีกด้วย
Google Docs, Sheets, Slides เพิ่มฟีเจอร์ Approvals สำหรับการอนุมัติเอกสาร (workflow) ในองค์กร
ผู้ใช้สามารถส่งคำขออนุมัติ (approval request) ไปยังผู้ใช้คนอื่นในองค์กรได้ (อยู่ในเมนู File) และผู้รับคำขอสามารถอนุมัติ ปฏิเสธ แก้ไข คอมเมนต์เอกสารได้ หากมีการแก้ไขเอกสารในภายหลัง ผู้อนุมัติทุกคนจะได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่ามีการเปลี่ยนแปลง หรือสามารถตั้งค่าได้ว่าถ้าอนุมัติแล้วให้ล็อคห้ามแก้ไขไฟล์อีก
กูเกิลบอกว่าฟีเจอร์นี้เหมาะกับการตรวจสอบเอกสารสำคัญๆ อย่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมาย ที่จำเป็นต้องมีคนอนุมัติอย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้เป็นค่าดีฟอลต์ (แอดมินองค์กรสามารถปิดได้) และทยอยเปิดให้ผู้ใช้ Google Workspace บางส่วนแล้ว (บัญชีแบบส่วนตัวจะไม่ได้ฟีเจอร์นี้)
วันนี้ (4 พฤศจิกายน ตามเวลาสหรัฐ) IBM ประกาศแยกธุรกิจบริการไอทีออกเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Kyndryl (อ่านว่า คินดริล) ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้
Kyndryl คือธุรกิจรับดูแลเครื่องและระบบ (managed infrastructure services) เดิมของ IBM โดยจะเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) วันนี้เป็นวันแรก (ใช้ชื่อย่อว่า KD) โครงสร้างผู้ถือหุ้นคือ IBM ยังถือหุ้น 19.9% ในบริษัทใหม่ และผู้ถือหุ้นเดิมของ IBM จะได้รับหุ้นของ Kyndryl ในอัตรา 5 หุ้น IBM ต่อหนึ่งหุ้น Kyndryl
Red Hat เปิดทดสอบ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 9 Beta ซึ่งเป็นรุ่นใหญ่รุ่นถัดไปของ RHEL
Red Hat ระบุว่า RHEL 9 ต่างไปจาก RHEL รุ่นใหญ่ในอดีต ตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง (แม้ยังมีฟีเจอร์ใหม่บ้าง) เพื่อให้แอดมินลดภาระการเรียนรู้ของใหม่ๆ ลงจากเดิม นอกจากนี้ RHEL 9 ยังเป็นดิสโทรเวอร์ชันแรกที่ดึงแพ็กเกจมาจาก CentOS Stream ตามแนวทางใหม่ของโครงการ CentOS ที่เปลี่ยนทิศทางใหม่ เลิกทำ CentOS ซัพพอร์ตระยะยาว กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL