Red Hat ประกาศออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชัน 7.5 ที่มีของใหม่เป็นจำนวนมาก
การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานคืออัพเดตเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น GNOME 3.26, LibreOffice 5.3, รองรับฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ ตามเวอร์ชันของเคอร์เนล, ปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Active Directory บน Windows Server 2016, รองรับ Distributed File System (DFS) บน SMB v2/v3, ผนวกเอาเครื่องมือจัดการอย่าง Cockpit และปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Ansible
RHEL 7.5 ยังรองรับสถาปัตยกรรมอื่นนอกจาก x86-64 ได้แก่ ARM64, IBM POWER9 และ IBM z Systems
ยุคสมัยปัจจุบันเป็นยุคของคลาวด์ หันไปทางไหนเราก็ได้ยินคำว่า "คลาวด์" เต็มไปหมด แต่องค์กรหลายแห่งยังเพิ่งเปลี่ยนผ่านจากยุคเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมๆ เข้าสู่ยุคของ virtualization มาไม่นาน อาจมีคำถามในใจว่าตกลงแล้ว virtualization ต่างจากคลาวด์อย่างไร และเราจำเป็นต้องย้ายไปใช้คลาวด์จริงๆ หรือไม่
Pivotal บริษัทด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ที่แยกตัวออกมาจาก Dell EMC และ VMware ยื่นเอกสารจดทะเบียนเพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
Salesforce ประกาศข้อตกลงซื้อกิจการ MuleSoft บริษัทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ด้วยมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์
MuleSoft อาจไม่ใช่ชื่อบริษัทที่โด่งดังสำหรับคนทั่วไป แต่ก็ถือเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ก่อตั้งมานานพอสมควร (2006) และขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเมื่อปี 2017
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Server 2019 ระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นถัดไป (ต่อจาก Windows Server 2016) โดยมีกำหนดการออกในครึ่งหลังของปี 2018
ช่วงกลางปี 2017 ไมโครซอฟท์ปรับวิธีการออกรุ่นของ Windows Server ใหม่ โดยแยกเป็นรุ่นอัพเดตบ่อยทุก 6 เดือน มีระยะซัพพอร์ตแค่ 18 เดือน (ล่าสุดออกมาหนึ่งตัวคือ 1709) และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว Long-Term Servicing Channel (LTSC) โดยกรณีของ Windows Server 2019 จะนับเป็น LTSC ครับ
Microsoft Teams เปิดตัวมาได้สักพักแล้ว แต่ความนิยมยังจำกัดอยู่บ้าง (สถิติก่อนหน้านี้คือ 1.2 แสนองค์กร) เพราะจำเป็นต้องใช้กับบัญชี Office 365 Business ที่ต้องเสียเงิน
ล่าสุดไมโครซอฟท์มีท่าทีเปิดกว้างกับ Microsoft Teams มากขึ้น ผ่านฟีเจอร์ใหม่ 2 อย่าง
อย่างแรกคือ ฟีเจอร์ Guest Access ที่เชิญคนนอกองค์กรเข้ามาร่วมแชทด้วย ก่อนหน้านี้บัญชีที่จะใช้ Guest Access บังคับว่าต้องเป็นอีเมลที่เชื่อมกับ Azure Active Directory (Azure AD) เท่านั้น แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับนโยบายใหม่ เป็นอีเมลอะไรก็ได้ สามารถเข้ามาแชทในฐานะ Guest ได้แล้ว
Galaxy S9 จะเปิดตัวคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย ที่งาน Mobile World Congress 2018 แต่ถึงแม้ว่ามีภาพหลุดออกมานับไม่ถ้วน ก็ดูเหมือนการหลุดรอบนี้ยังไม่จบ เพราะล่าสุดซัมซุงเผลอนำคลิปโปรโมท Galaxy S9 ขึ้นเว็บ และก็ไม่รอดโดนเว็บไซต์ต่างๆ ดูดมาเผยแพร่ซ้ำเรียบร้อย
คลิปโปรโมทของ Galaxy S9 ตัวนี้ยาวประมาณ 3 นาที มีฟีเจอร์ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วอย่างกันน้ำ กล้องที่พัฒนาขึ้นจากเดิม และฟีเจอร์ Live Translation ของ Bixby แต่ในคลิปก็ยังมีฟีเจอร์ใหม่อย่าง DeX ตัวใหม่ที่ใช้มือถือเป็นทัชแพดและคีย์บอร์ดได้ด้วย
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือคลิปตัวนี้ชูเรื่องการใช้งาน S9 ในองค์กร โดยจะมี Galaxy S9 รุ่น Enterprise Edition ที่การันตีการอัพเดตแพตช์ให้นานสูงสุดถึง 4 ปีด้วย
Red Hat เผยผลสำรวจการใช้งานลินุกซ์บน public cloud โดยสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบด้านไอทีของบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกาเหนือและยุโรป 500 ราย การสำรวจเกิดขึ้นช่วงกลางปี 2017
ถึงแม้ผลออกมาเป็น Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ได้รับความนิยมสูงสุด (ตามคาด) แต่ข้อมูลอื่นๆ ในรายงานก็ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของลินุกซ์บนคลาวด์ได้มากขึ้น
Google Cloud IoT Core บริการคลาวด์สำหรับจัดการอุปกรณ์ IoT ที่กูเกิลเปิดตัวในเดือนพฤษภาคม 2017 เข้าสถานะตัวจริง (generally available)
Cloud IoT Core เป็นแกนหลักของบริการที่เรียกว่า Cloud IoT Solution อีกทีหนึ่ง มันทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการพูดคุยกับอุปกรณ์ IoT แล้วส่งข้อมูลจาก IoT ขึ้นคลาวด์ เพื่อส่งต่อยังบริการตัวอื่นๆ ของ Google Cloud Platform อีกทอดหนึ่ง
กูเกิลเปิดตัวโครงการ Android Enterprise Recommended ตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองว่าอุปกรณ์ Android รุ่นใดบ้างที่กูเกิลแนะนำให้ใช้งานในองค์กร
อุปกรณ์ที่จะรับตรา Android Enterprise Recommended จะต้องผ่านเงื่อนไข ดังนี้
ซัมซุงเปิดตัว SSD ขนาด 2.5 นิ้วรุ่น PM1643 สำหรับองค์กร ด้วยความจุ 30.72TB จากหน่วยความจำแฟลช NAND 1TB ทั้งหมด 32 แผ่น แต่ละแผ่นใช้ชิป V-NAND แบบ 16 เลเยอร์ 512Gb ตัว SSD คอนโทรลเลอร์ใช้ DRAM 40GB เป็น TSV DRAM ขนาด 4GB ทั้งหมด 10 ตัว
ในแง่ประสิทธิภาพ ความเร็วในการอ่านเขียนอยู่ที่ 2,100MB/s และ 1,700MB/s ตามลำดับ ส่วนการอ่านเขียนแบบสุ่มอยู่ที่ 400,000 IOPS และ 50,000 IOPS ใช้อินเทอร์เฟส Serial Attached SCSI
ซัมซุงไม่ได้เปิดเผยราคามาด้วย พร้อมระบุว่าจะเปิดตัว SSD บนเทคโนโลยีเดียวกันกับความจุ 16.36TB, 7.68TB, 3.84TB, 1.92TB, 960GB และ 800GB ตามมา
เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา IBM มีงานสัมมนาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับ IBM Cloud ในประเทศไทยสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ งานดังกล่าวมีผู้บริหารจาก IBM ระดับสูงจำนวนหนึ่งเข้าร่วมด้วย
ผมได้รับคำชวนจากทาง IBM ประเทศไทยให้สัมภาษณ์ Jason McGee รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ IBM Cloud เป็นระยะเวลาสั้นๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Kubernetes และเทคโนโลยีอื่นๆ ต้องขอบคุณทาง IBM ประเทศไทยสำหรับคำชวนดังกล่าวนี้ด้วย
ไมโครซอฟท์มี 'บริการ' ความปลอดภัยชื่อ Windows Defender Advanced Threat Protection (เรียกย่อๆ คือ Windows Defender ATP) ที่เริ่มนำมาใช้กับ Windows 10 Fall Creators Update
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะขยาย Windows Defender ATP ไปใช้กับ Windows 7 และ Windows 8.1 ด้วย เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ยังมี Windows เวอร์ชันเก่าใช้งานอยู่
บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET) แถลงความร่วมมือกับ ThaiWPS ผู้ทำโปรแกรมสำนักงานของบริษัท Kingsoft จากประเทศจีน เปิดตัว SuperDuck แบรนด์โซลูชั่นสำนักงานเน้นลูกค้าองค์กรและ SME
SuperDuck มีผลิตภัณฑ์สองอย่างคือ One Office 2561 สตอเรจบนคลาวด์ และ One VDI 2561 บริการคอมพิวเตอร์เสมือน (virtual desktop) พร้อมโปรแกรมทำงานพื้นฐาน บวกกับโปรแกรมสำนักงานของ ThaiWPS โดยข้อมูลการทำงานจะถูกเก็บอยู่บนคลาวด์ทั้งหมด
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแทบจะในทุกมิติของชีวิต ทั้งผู้ใช้ทั่วไปที่มีการใช้งานอุปกรณ์ไร้สายกันมากขึ้น มีการเชื่อมต่อแทบจะตลอดเวลา ขณะที่ฝั่งภาคธุรกิจก็เริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานและช่วยเหลือในแง่ของการปรับตัวไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ที่กำลังเป็นกระแสและหลายองค์กรทั่วประเทศเริ่มนำมาปรับใช้
ไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลเพิ่มเติมของ Microsoft Office 2019 ที่จะออกในครึ่งหลังของปี 2018 (รุ่นพรีวิวจะเปิดทดสอบในไตรมาสสอง) ว่าจะรันได้เฉพาะบน Windows 10 และ Windows Server รุ่นใหม่เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงอีกข้อคือ กระบวนการติดตั้ง Office 2019 จะมีเฉพาะแบบ Click-to-Run ซึ่งไมโครซอฟท์ใช้มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ส่วนแพ็กเกจ MSI แบบดั้งเดิมจะไม่มีให้อีกแล้ว
สุดท้ายคือ Office 2019 จะลดระยะเวลาซัพพอร์ตระยะหว่างรุ่นลง (เฉพาะรุ่นขายขาด ไม่นับ Office 365) จากเดิมที่ไมโครซอฟท์ให้ระยะเวลาซัพพอร์ต 5+5 ปี จะเหลือ 5+2 ปีแทน
Red Hat ประกาศซื้อบริษัท CoreOS หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ container ในราคา 250 ล้านดอลลาร์
CoreOS เป็นสตาร์ตอัพที่ก่อตั้งในปี 2013 โดยพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ขนาดเล็กชื่อ Container Linux เหมาะสำหรับ container และได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดคลาวด์ โดยมีทั้ง Google Cloud, DigitalOcean, Azure ให้การสนับสนุน
ปัจจุบันการใช้งานคลาวด์หรือใช้บริการ Infrastructure as a Service (IaaS) ขององค์กรได้เข้ามาแทนที่การตั้ง Physical เซิร์ฟเวอร์แบบเดิมๆ ไปแล้ว โดยเฉพาะประเด็นเรื่องของการลดต้นทุนและการใช้พื้นที่
อย่างไรก็ตาม คลาวด์ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างในเรื่องของประสิทธิภาพหรือทรัพยากรของเครื่อง ที่อาจไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มความสามารถเท่ากับการรันซอฟต์แวร์บนเครื่องจริง ทำให้เวิร์คโหลดหรือแอปหลายๆ ตัวก็อาจจะยังไม่เหมาะสมนักที่จะรันผ่านคลาวด์หรือ VM แต่เหมาะกับการรันด้วยทรัพยากรแบบเต็มๆ จาก Physical เซิร์ฟเวอร์ แบบเดิมๆ โดยตรงมากกว่า
ซัมซุงเปิดตัว Z-SSD ขนาด 800GB เจาะตลาดองค์กร รองรับงานประเภทแคชข้อมูลความเร็งสูงหรือประมวลผลล็อกข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างปัญญาประดิษฐ์, บิ๊กดาต้าและ IoT มาพร้อม DRAM LPDDR4 ขนาด 1.5GB
800GB Z-SSD สามารถอ่านเขียนแบบสุ่มได้ที่ 750K IOPS และ 170K IOPS ตามลำดับ มีค่า DWPD อยู่ที่ 30 ระยะประกัน 5 ปี (TBW อยู่ที่ 42 Petabytes) ส่วนอายุใช้งานเฉลี่ย (MTBF) อยู่ที่ 2 ล้านชั่วโมง
นอกจากรุ่นความจุ 800GB ซัมซุงยังมีรุ่นย่อยขนาด 240GB ที่เปิดตัวพร้อมกันด้วย
ที่มา - ซัมซุง
ทุกวันนี้ไม่ว่าหันไปทางไหนในภาคธุรกิจก็มักได้ยินแต่คำว่า Digital Transformation ตั้งแต่องค์กรเล็กๆ ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ นำไปสู่การใช้งานระบบ IT ภายในองค์กรอย่างกว้างขวาง กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับฝ่าย IT ในแง่ของการจัดการและดูแล ตั้งแต่การจัดหาอุปกรณ์, การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ไปจนถึงการดูแลรักษาระบบให้พร้อมใช้งานเสมอ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาการอัพเดตความปลอดภัย ที่การอัพเดตเป็นไปด้วยความยากลำบาก ปัญหาฮาร์ดแวร์ที่เริ่มไม่รองรับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ หลังใช้งานไปนานๆ และสมรรถภาพเริ่มตกลงไปตามอายุ ยังไม่รวมความท้าทายในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมไอทีให้มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพ จากการใช้งานอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่เพิ่มมากขึ้น
หลัง Einstein พบ Watson จากการจับมือพัฒนา AI ร่วมกันระหว่าง IBM และ Salesforce ล่าสุดทั้งสองบริษัทได้ขยายความร่วมมือ โดย Salesforce จะนำคลาวด์และ Watson ไปผนวกกับแพลตฟอร์ม Quip และบริการ Service Cloud Einstein
จากความร่วมมือนี้ IBM จะพัฒนา Watson Quip Live Apps เป็นแอปแบบฝังลงไปในเอกสารของ Quip ผ่าน Open API ส่วนบริการ Service Cloud Einstein ก็จะได้พลังการประมวลผลของ Watson มาช่วยเพิ่มเติมสำหรับงานหลังบ้านของลูกค้า
ที่มา - eWeek
จากข่าว สงคราม Container ได้ข้อยุติ Docker ยอมซัพพอร์ต Kubernetes แล้ว ล่าสุด Docker ขยับขยายการซัพพอร์ต Kubernetes มายังรุ่น Enterprise Edition (Docker EE) แล้ว
Docker Enterprise Edition เป็น Docker เวอร์ชันดัดแปลงต่อจาก Community Edition โดยเพิ่มฟีเจอร์สำหรับตลาดองค์กรเข้ามา และเป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท Docker Inc.
ตอนนี้ Docker EE เวอร์ชันที่รองรับ Kubernetes ยังมีสถานะเป็นรุ่นเบต้า แต่ก็เป็นสัญญาณอันดีที่เราจะเห็นการใช้ Kubernetes แพร่หลายมากขึ้นในตลาดองค์กร ผู้สนใจสามารถสมัครทดลองใช้รุ่นเบต้าได้แล้ว
ที่มา - Docker
IBM ประกาศความร่วมมือกับ Maersk บริษัทด้านขนส่งและเดินเรือรายใหญ่ของโลก ตั้งบริษัทร่วมทุน (joint venture) สำหรับนำ blockchain มาใช้กับเครือข่ายขนส่งทางเรือ
บริษัทใหม่จะมีหน้าที่สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการค้าและการขนส่ง เป็นมาตรฐานเปิดที่ให้ทุกบริษัทในวงการชิปปิ้งสามารถใช้งานได้ เป้าหมายคือการลดต้นทุนและความซับซ้อนในการขนส่งสินค้าทางเรือ
IBM ระบุว่า blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะมากสำหรับโจทย์นี้ เพราะการขนส่งทางเรือมีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก กระจายกันอยู่ทั่วโลก การนำ blockchain มาสร้างฐานข้อมูลกลางสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้น โดยแชร์ข้อมูลระหว่างกันแต่ไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยลำพัง ย่อมจะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น
ในยุคที่พีซีกลายเป็นสินค้าที่หาซื้อได้ทั่วไปในราคาไม่แพง และสินค้าแต่ละยี่ห้ออาจดูแทบไม่ต่างกันนัก (ยกเว้นดีไซน์และโลโก้ของแบรนด์) หลายคนอาจมีคำถามว่า เรายังต้องสนใจดูรายละเอียดหรือคุณสมบัติของเครื่องแต่ละรุ่นกันอีกหรือไม่
แต่จริงๆ แล้ว ตลาดฮาร์ดแวร์พีซียังแบ่งเป็นสินค้าสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป (consumer) และสินค้าสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจ (business หรือ commercial) ถ้าดูเผินๆ แล้ว สเปกฮาร์ดแวร์ของสินค้าทั้งสองกลุ่มอาจดูเหมือนๆ กัน แต่ในความเป็นจริง ฮาร์ดแวร์สำหรับภาคธุรกิจมักมีคุณสมบัติที่แตกต่างออกไป เพราะถูกออกแบบมาสำหรับ "การใช้เพื่อการทำงาน" จริงๆ
Equinix ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ของโลก ประกาศซื้อบริษัททำศูนย์ข้อมูลจากออสเตรเลีย Metronode โดยมีมูลค่ากว่า 1,035 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ 791.15 ล้านดอลลาร์
บริษัท Metronode ของออสเตรเลียนี้ถือเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารในออสเตรเลีย มีลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศ, หน่วยงานรัฐบาล, บริษัทโทรคมนาคม และผู้ให้บริการไอที โดยรายได้ของบริษัท Metronode ในรอบปีที่ผ่านมา (นับถึง 30 กันยายน) อยู่ที่ 60 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
Equinix คาดว่าจะสามารถปิดดีลได้ในครึ่งแรกของปีหน้า โดยการเข้าซื้อบริษัท Metronode จะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลก่อน