ในงาน VMWorld 2018 ทาง VMWare ได้ประกาศว่าบริการ VMWare Cloud on AWS ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง VMWare และ AWS ได้เปิดให้บริการแล้วในซิดนีย์ ก่อนที่จะเปิดให้บริการในโตเกียวภายในสิ้นปีนี้และตามมาด้วยสิงคโปร์ในไตรมาสแรกของปีหน้า
บริการนี้เกิดจากความร่วมมือของผู้ให้บริการคลาวด์ทั้งสองเจ้าตั้งแต่ปี 2016 และเริ่มให้บริการมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ในสหรัฐ
งานเดียวกันนี้ก่อนหน้านี้ก็มีประกาศจาก AWS ในการนำ RDS มารันบน VMWare ด้วย
เราเห็นความร่วมมือระหว่าง VMware และ AWS เพื่อทำไฮบริดคลาวด์กันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยช่วงแรกเป็นการรันซอฟต์แวร์คลาวด์ของ VMware บนเครื่องเช่าของ AWS
หนึ่งปีผ่านมา ในงาน VMworld 2018 ปีล่าสุด ทั้งสองบริษัททำท่ากลับด้านกันคือนำบริการฐานข้อมูล Amazon Relational Database Service (RDS) ที่เดิมมีเฉพาะบนคลาวด์ของ AWS มาสู่เครื่องในองค์กรที่เป็น VMware
ที่ผ่านมา RDS ซัพพอร์ตฐานข้อมูลหลากหลายยี่ห้อ ทั้ง Microsoft SQL Server, Oracle, PostgreSQL, MySQL, MariaDB ส่วนฟีเจอร์ด้านการบริหารจัดการต่างๆ ที่ช่วยลดภาระของแอดมิน ก็ตามจากเวอร์ชันคลาวด์มาสู่เวอร์ชัน on-premise บน VMware เช่นกัน
ไมโครซอฟท์ประกาศระบบการอัพเดตรายเดือนแบบใหม่ของ Windows 10 ที่ไฟล์อัพเดตจะมีขนาดเล็กลง ดาวน์โหลดเร็วขึ้น และเปลืองทรัพยากรในการประมวลผลอัพเดตน้อยลง
ปัจจุบัน Windows 10 แบ่งการอัพเดตเป็น 2 แบบคือ
ประกาศของไมโครซอฟท์รอบนี้มีผลเฉพาะ quality update เท่านั้น
Pure Storage บริษัทผู้ขายฮาร์ดแวร์สตอเรจแบบแฟลช ประกาศการซื้อกิจการครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบริษัท โดยเข้าซื้อ StorReduce บริษัทด้าน software-defined storage โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
StorReduce เป็นบริษัทในแคลิฟอร์เนียที่ทำโซลูชัน software-defined storage สำหรับงานประเภท unstructured data ขนาดใหญ่บนคลาวด์ และเป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านลดการจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน (deduplication) สำหรับข้อมูลประเภทออบเจคต์ ช่วยลดพื้นที่และทราฟฟิกในการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์
ข่าวการซื้อกิจการครั้งนี้ บวกกับผลประกอบการไตรมาสสองของ Pure Storage ที่ออกมาดี ทำให้หุ้นของ Pure Storage ดีดตัวเพิ่มทันที
JD บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน เปิดตัวแพลตฟอร์ม blockchain ของตัวเองชื่อ JD Blockchain Open Platform เพื่อให้ลูกค้าองค์กรมาเช่าใช้งาน
JD ระบุว่าแพลตฟอร์ม blockchain นี่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ Retail as a Service (RaaS) ที่ต้องการเปิดเทคโนโลยีของตัวเองให้บริษัทอื่นๆ มาใช้งานได้ด้วย ตอนนี้มีลูกค้ารายแรกที่ใช้งาน JD Blockchain แล้วคือบริษัทประกัน China Pacific Insurance Company (CPIC) ใช้ทำระบบติดตามใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์
JD ไม่ได้ให้ข้อมูลชัดเจนว่าแพลตฟอร์มของตัวเองใช้เทคโนโลยีตัวไหนบ้าง บอกกว้างๆ เพียงว่ารองรับเทคโนโลยี blockchain หลายยี่ห้อ (multiple blockchain bottom layers) และเพิ่มด้วยเครื่องมือที่พัฒนาเองกับเครื่องมือของบริษัทอื่นๆ ด้วย
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ของ Chrome 69 รุ่นถัดไปที่จะออกวันที่ 4 กันยายน โดยเป็นฟีเจอร์ฝั่ง Enterprise สำหรับการใช้งานในองค์กร
มีคนพบข้อมูลของบริการใหม่ไมโครซอฟท์ชื่อ Microsoft Managed Desktop ที่น่าจะเป็นการให้บริการ Windows พร้อมซัพพอร์ต-อัพเดตแบบจ่ายรายเดือน
บริการลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีบริษัทหลายรายให้บริการ desktop-as-a-service (DaaS) สำหรับตลาดองค์กรอยู่แล้ว แต่คราวนี้น่าสนใจว่าพอเป็นไมโครซอฟท์มาทำเอง รูปแบบของมันจะเป็นอย่างไร
แหล่งข่าวของ ZDNet บอกว่า Microsoft Managed Desktop จะรวมเอาบริการทุกอย่าง ตั้งแต่ค่าไลเซนส์ การทำ provisioning ไปจนถึงการอัพเดตและซัพพอร์ตด้วย เป้าหมายก็คือลดภาระของฝ่ายไอทีในองค์กรที่ต้องดูแลอัพเดตเครื่อง Windows 10 จำนวนมากๆ นั่นเอง
Synergy Research Group เผยส่วนแบ่งตลาดผู้ให้บริการคลาวด์ทั่วโลกประจำไตรมาส 2/2018 พบว่าอันดับหนึ่งยังเป็น AWS นำห่างเช่นเดิมด้วยส่วนแบ่ง 34% แต่ส่วนแบ่งตลาดคงตัว
อันดับสอง Microsoft Azure มีส่วนแบ่งเพิ่ม 3 จุดเป็น 14% และอันดับสาม Google Cloud เพิ่ม 1 จุดเป็น 6% ส่วน Alibaba มีอัตราเติบโตรวดเร็วที่สุดแต่ส่วนแบ่งตลาดยังถือว่าน้อยอยู่
Synergy ประเมินว่ามูลค่าของตลาดคลาวด์ในไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ 16 พันล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 50% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และตลาดถูกครอบครองโดยผู้ให้บริการรายใหญ่ Top 5 (AWS, Microsoft, Google, IBM, Alibaba) ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันประมาณ 3/4 ของทั้งหมด
Cisco ประกาศซื้อกิจการบริษัท Duo Security ผู้พัฒนาระบบ Two-Factor Authentication สำหรับตลาดองค์กร ด้วยมูลค่า 2.35 พันล้านดอลลาร์
Duo ก่อตั้งเมื่อ 8 ปีก่อน ปัจจุบันมีพนักงานประมาณ 700 คน ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเรียกว่า zero-trust เป็นระบบช่วยยืนยันตัวตนสองปัจจัย Two-Factor Authentication (2FA) ผ่านแอพบนมือถือชื่อ Duo Mobile (รูปแบบคล้ายๆ กับระบบยืนยันการล็อกอินบนมือถือของกูเกิล แต่อันนี้ใช้กับบริการที่ไม่ใช่ของกูเกิลได้ด้วย)
ไมโครซอฟท์ประกาศขึ้นราคา Office 2019 แบบขายไลเซนส์ขาด (on-premise) ขึ้นจากเดิม 10% โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนใหญ่ที่ประกาศปรับค่าไลเซนส์ของไมโครซอฟท์ให้เท่ากันทุกช่องทางการขาย
ปัจจุบันไมโครซอฟท์มีช่องทางการขายหลายรูปแบบ ทั้งผ่านตัวแทนจำหน่าย ซื้อไลเซนส์ครั้งละมากๆ สำหรับองค์กร และโครงการส่วนลดพิเศษอื่นๆ มากมาย การปรับราคาครั้งนี้จะปรับให้ราคาสุดท้ายของทุกช่องทางเท่ากัน และปรับราคาของเวอร์ชันคลาวด์กับเวอร์ชัน on-premise ให้ทัดเทียมกันด้วย
Facebook ประกาศเข้าซื้อบริษัท Redkix ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มส่งข้อความสำหรับใช้งานภายในองค์กรจากอิสราเอล โดยทางบริษัทจะหยุดให้บริการแอพทั้งหมดและจะรวมทีมงานของ Redkix เข้ากับ Workplace by Facebook
Redkix นั้นเป็นบริษัทที่เน้นพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบเชื่อมต่อกันระหว่างอีเมลและระบบแชทในองค์กร เช่น ผู้ใช้ Redkix สามารถตอบข้อความส่วนตัวในแอพ Redkix เองหรือจะตอบผ่านอีเมลก็ได้
Flash เป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยถึงขนาด Adobe เองประกาศหยุดซัพพอร์ตในปี 2020 แต่ก็ยังมีเว็บไซต์จำนวนมากใช้งาน Flash กันอยู่ และสภาพการณ์ "เว็บหน่วยงานรัฐใช้ Flash" ดูจะไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของเมืองไทยที่เดียว
วุฒิสมาชิก Ron Wyden ของสหรัฐอเมริกา ส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังหน่วยงานด้านความมั่นคงไซเบอร์หลายแห่ง เช่น NIST, NSA, ศูนย์บัญชาการกองทัพไซเบอร์, กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สอบถามว่าทำไมเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐในสหรัฐอเมริกา ยังใช้งาน Flash กันอยู่
กูเกิลเปิดตัว Cloud Services Platform รวมชุดของบริการสำหรับรันแอพพลิเคชันยุคใหม่ ที่ทำงานได้ทั้งบนคลาวด์ของกูเกิล และในเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรแบบ on-premise เพื่อให้สามารถย้ายงานไปมาได้สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทำ hybrid cloud
แกนหลักของ Cloud Services Platform คือ Kubernetes ซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ และ Istio ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ช่วยจัดการไมโครเซอร์วิสบนคลาวด์ การรัน Kubernetes จะรันอยู่บน Google Kubernetes Engine (GKE) บนคลาวด์ หรือจะรันบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองก็ได้ โดยกูเกิลออก GKE On-Prem มาเพิ่มให้ สถานะยังเป็นรุ่นอัลฟ่า, ส่วน Istio ก็ประกาศเวอร์ชัน 1.0 และออก Managed Istio สำหรับรันบนคลาวด์ GKE มาให้เช่นกัน
ผู้ใช้ระบบไอทีในองค์กรคงคุ้นเคยกับการแชร์ไฟล์ผ่าน Windows Server กันเองภายใน ข้อเสียของการแชร์ไฟล์แบบนี้คือจัดการยากหากมีสาขาเยอะๆ และต้องลงทุนเรื่องการแบ็คอัพด้วย
การย้ายไฟล์ไปเก็บไว้บนคลาวด์อาจแก้ปัญหาเรื่องแบ็คอัพได้ แต่ก็มีข้อเสียเรื่องความเร็วในการเข้าถึงไฟล์เพิ่มเข้ามา ทำให้การแชร์ไฟล์ผ่านคลาวด์ยังไม่สามารถแทนที่การแชร์ไฟล์ผ่านเซิร์ฟเวอร์แบบเดิม (on-premise) ได้ 100%
ไมโครซอฟท์จึงหาทางแก้ด้วย "Azure File Sync" ตัวช่วยสำหรับแชร์ไฟล์ขึ้นคลาวด์ Azure File โดยที่มีเซิร์ฟเวอร์มาคั่นกลาง ทำหน้าที่เหมือนแคชในองค์กร
เมื่อเดือนมิถุนายน ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows IoT Core Services บริการซัพพอร์ตและอัพเดตนาน 10 ปีสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows IoT Core เพื่อการันตีว่าอุปกรณ์ Windows IoT จะได้แพตช์ความปลอดภัยและแก้บั๊กรุ่นใหม่ที่สุดเสมอ
วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดให้ทดสอบบริการตัวนี้แบบ public preview พร้อมเปิดเผยราคาแล้ว
Slack ประกาศซื้อกิจการ Missions เครื่องมือช่วยเชื่อมต่อระบบแชทของ Slack กับบริการอื่นๆ ให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น (automated workflow)
ตัวอย่างการใช้งาน Missions ได้แก่ แสดงข้อมูลให้พนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้าระบบ Slack รับทราบว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยดึงข้อมูลจากปฏิทินหรือแบบฟอร์มต่างๆ ของบริษัทมาให้เสร็จสรรพ (ดูภาพประกอบ) หรือทำระบบเปิด ticket ง่ายๆ เพื่อใช้ภายในบริษัท โดยเรียกใช้งานได้จากใน Slack เลย
Missions ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ Slack และมีลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่ง หลังจากนี้ Slack จะค่อยๆ นำเทคโนโลยีของ Missions มารวมอยู่ในแพลตฟอร์มของ Slack โดยตรง
Google มีระบบ Grab and Go สำหรับพนักงานคือยืมและคืน Chromebook ได้ด้วยตัวเองมาสักระยะแล้ว เพียงเดินไปยังที่จุดบริการและจัดการทุกอย่างเอง ไม่ต้องผ่านกระบวนการเขียนคำขอและรออนุมัติซึ่งใช้เวลานาน ล่าสุด Google ก็เริ่มนำไอเดียนี้ไปให้บริการกับองค์กรแล้วใน Chrome Enterprise
Google ได้เผยข้อมูล Grab and Go ใน Whitepaper เพื่อให้ภาคธุรกิจที่สนใจศึกษาประโยชน์การใช้งาน Grab and Go ได้เลย โดยระบบนี้พนักงานที่ต้องการใช้เครื่องชั่วคราวก็กรอกข้อมูลเล็กน้อยแล้วหยิบไปใช้ได้ทันที เมื่อใช้งานเสร็จก็เอามาคืนที่จุดบริการ จากนั้นเครื่องก็จะชาร์จแบตเตอรี่รอพร้อมให้คนต่อไปหยิบไปใช้ได้ทันที
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนว่าฐานข้อมูล SQL Server 2008 และ 2008 R2 จะหมดระยะ Extended Support ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2019 หรืออีก 1 ปีข้างหน้า
ตามปกติของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ เมื่อหมดระยะ Extended Support แล้วจะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยให้อีก แต่ถ้าองค์กรใหญ่และรวยจริงๆ ก็ยังสามารถซื้อบริการซัพพอร์ตพิเศษ Extended Security Updates ต่อได้อีก 3 ปีในราคาที่แพง (มาก) เพื่อบีบให้องค์กรย้ายไปใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ (ในที่นี้คือ SQL Server 2017) โดยเร็ว
แต่รอบนี้ไมโครซอฟท์มีทางเลือกใหม่ออกมาคือ แถมฟรี Extended Security Updates แบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ภายใต้เงื่อนไขว่าลูกค้าต้องย้ายฐานข้อมูลมารันบนคลาวด์ Azure แทน
ช่วงหลังเราเห็นไมโครซอฟท์ใช้นโยบายออกอัพเดตฟีเจอร์ทุก 6 เดือน (หรือปีละ 2 ครั้ง) ให้กับซอฟต์แวร์หลายตัว ทั้ง Windows 10 และ Windows Server ล่าสุดแนวทางนี้เริ่มขยายไปยังซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ของบริษัทแล้ว
Microsoft Dynamics 365 ซอฟต์แวร์ CRM/ERP สำหรับองค์กร เป็นผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่จะได้อัพเดตปีละ 2 ครั้ง ทุกเดือนเมษายนและตุลาคม ด้วยเหตุผลว่าองค์กรจะรู้กำหนดเวลาแน่ชัดว่าอัพเดตจะออกเมื่อไร และแอดมินสามารถเตรียมตัวทดสอบฟีเจอร์ใหม่ตั้งแต่เนิ่นๆ (ส่วนอัพเดตย่อยแก้บั๊กและอุดช่องโหว่ ยังปล่อยตามปกติ)
ปัญหาสำคัญของที่ทำงานในยุค Bring Your Own Device (BYOD) คือแอดมินขององค์กรไม่มีข้อมูลมากนักว่ามีอุปกรณ์ใดอยู่ในองค์กรบ้าง และอาจเป็นปัญหากับระบบความปลอดภัยขององค์กรได้
กูเกิลแก้ปัญหานี้ด้วยการออกเครื่องมือชื่อว่า Endpoint Verification (มีทั้งในรูปของโปรแกรมแบบเนทีฟบน Windows, macOS และส่วนขยายสำหรับ Chrome) เพื่อให้แอดมินองค์กรสามารถดูข้อมูลของเครื่องที่ล็อกอินเข้ามาใช้งานได้มากขึ้น เช่น ชื่อเจ้าของเครื่อง, เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ, สถานะการอนุมัติให้เชื่อมต่อเข้าระบบ, เวอร์ชันของไฟล์ policy ที่ใช้เพื่อล็อกอิน
SUSE Linux เป็นลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมในตลาดองค์กรเคียงคู่มากับ RHEL แต่ประวัติของตัวบริษัทก็เปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง นับจากการก่อตั้งในปี 1992 ก็ขายกิจการให้ Novell ในปี 2003 แต่สุดท้าย Novell ก็ไปไม่รอด ขายกิจการให้ Attachmate ในปี 2011
จากนั้น Attachmate เองก็ขายกิจการให้กับ Micro Focus ในปี 2014 ทำให้ SUSE ติดสอยห้อยตามมาด้วย แต่ยังรันธุรกิจที่ค่อนข้างเป็นอิสระในฐานะบริษัทลูก และเมื่อ Micro Focus ซื้อธุรกิจคลาวด์ของ HPE ในปี 2016 ส่งผลให้ SUSE ผนวกทีมงานสาย OpenStack กับ Cloud Foundry เข้ามาอีก
AWS มีบริการ virtual desktop (VDI) มาตั้งแต่ปี 2013 โดยใช้ชื่อว่า Amazon WorkSpaces แต่ยังจำกัดเฉพาะระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ 10 เท่านั้น
สัปดาห์แล้ว Amazon เปิดตัวบริการ virtual desktop ที่เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์ด้วย โดยใช้ Amazon Linux 2 ซึ่งเป็นดิสโทรที่พัฒนาขึ้นเองภายในบริษัท
ผู้ที่เคยเช่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์บน AWS อาจคุ้นเคยกับ Amazon Linux อยู่บ้าง ในฐานะดิสโทรที่ให้ใช้งานฟรีไม่มีค่าไลเซนส์ ส่วนการใช้งานบนเดสก์ท็อปนั้น Amazon Linux เลือกใช้เดสก์ท็อป MATE เป็นฐาน ด้วยเหตุผลว่าใช้ทรัพยากรน้อย และมีแอพดังๆ มาให้ครบครันไม่ว่าจะเป็น Firefox, LibreOffice, Pidgin
Oracle ประกาศเปลี่ยนวิธีหาเงินกับ Java SE 8 สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ จากเดิมที่เป็นการซื้อไลเซนส์แบบจ่ายครั้งเดียว และพ่วงด้วยบริการซัพพอร์ตเป็นรายปี เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายค่าสมาชิกเป็นรายปี (subscription)
บริการนี้เรียกว่า Java SE Subscription จะเปิดให้ซื้อในเดือนกรกฎาคม 2018 ราคาอยู่ที่ 25 ดอลลาร์ต่อเดือนต่อซีพียู (เซิร์ฟเวอร์) และ 2.50 ดอลลาร์ต่อเครื่อง (พีซี) ต้องซื้อขั้นต่ำ 1 ปี และหากซื้อเยอะมีส่วนลดพิเศษให้ด้วย
องค์กรที่จ่ายเงินค่า Java SE Subscription จะได้บริการซัพพอร์ตและอัพเดตเวอร์ชันมาด้วย แต่หากหยุดจ่ายเงินเมื่อใด จะถือว่าไลเซนส์การใช้งานในเชิงพาณิชย์หมดลงในทันที ซึ่ง Oracle แนะนำให้ย้ายไปใช้ OpenJDK แทนหากไม่ต้องการจ่ายเงิน
Cisco ประกาศความร่วมมือ Google Cloud พัฒนาโซลูชันไฮบริดคลาวด์ร่วมกัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2017 แต่หลังจากนั้นข่าวของความร่วมมือนี้ก็เงียบหายไป
ในงาน Cisco Live! 2018 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งสองบริษัทประกาศอัพเดตแผนการนี้ โดย Diane Greene ซีอีโอของ Google Cloud มาร่วมขึ้นเวทีด้วย
ประเด็นหลักของแผนการนี้คือการเชื่อมต่อระบบคลาวด์แบบ on-premise ที่ใช้โซลูชันของ Cisco เข้ากับบริการ Google Cloud โดยเชื่อมต่อ Cisco Container Platform (CCP) เข้ากับ Google Kubernetes Engine ในระดับของโครงสร้างพื้นฐานด้วย Istio ของกูเกิล เพื่อให้ย้ายแอพที่รันในคอนเทนเนอร์ข้ามไปมาระหว่างกันได้ง่าย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Cisco จัดงานสัมมนาประจำปี Cisco Live! 2018 มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากงานปี 2017 ที่เน้นให้วิศวกรเครือข่ายหัดเขียนโปรแกรม
ประกาศสำคัญในงานคือแพลตฟอร์ม Cisco DNA Center (ชื่อเรียก Software-Defined Networking หรือ SDN ของ Cisco) เปิด API ให้เรียกใช้งานแล้วกว่า 100 ตัว โดยมีบริษัทพาร์ทเนอร์หลายราย เช่น ServiceNow, Accenture โชว์เดโมการเข้ามาเชื่อมต่อ API ของ Cisco ในแง่ต่างๆ
Cisco บอกว่าในโลกของ OS บนคอมพิวเตอร์หรือมือถือ เปิดให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาสร้างแอพกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในโลกของเครือข่ายเป็นระบบปิดมาโดยตลอด ตอนนี้ถึงเวลาเปลี่ยนมันเป็นระบบเปิดสักที