ของใหม่อีกอย่างในงาน Microsoft Build 2019 และเป็นผลจากไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub เมื่อปีที่แล้ว นั่นคือการเชื่อมโยงระบบผู้ใช้งานระหว่าง Azure Active Directory (Azure AD) ของไมโครซอฟท์ เข้ากับระบบทีมของ GitHub
นั่นแปลว่าในองค์กรด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่สักหน่อย ที่ใช้ระบบจัดการพนักงานผ่าน Azure AD จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกลุ่มหรือทีมข้ามไปยัง GitHub (ต้องเป็นรุ่น Enterprise Cloud) ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลามาสร้างหรือแก้ไขข้อมูลบัญชี-สิทธิการเข้าถึงให้ซ้ำซ้อนกัน (จากภาพจะเห็นรายชื่อทีมใน Azure AD โผล่ขึ้นมาให้เลือกตอนสร้างทีมใน GitHub เลย)
เส้นทางใหม่ของ Java EE เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2017 เมื่อ Oracle ตัดสินใจยก Java EE ให้ Eclipse Foundation ดูแล ภายใต้ชื่อแบรนด์ใหม่ว่า Jakarta EE เพราะ Oracle ยังถือเครื่องหมายการค้า Java อยู่ (Java SE ยังเป็นของ Oracle)
ตอนนี้โครงการ Jakarta EE มีโลโก้ใหม่และเว็บไซต์ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็เจออุปสรรคสำคัญที่จะทำให้แอพพลิเคชันที่เขียนบน Java EE ในอดีต ไม่สามารถรันบน Jakarta EE ในอนาคตได้
Docker ประกาศเปิดตัว Docker Enterprise 3.0 แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์สำหรับองค์กร ซึ่งจะเป็นการเน้นที่เครื่องมือเพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอนเทนเนอร์ที่เร็วและลดความผิดพลาดในระหว่างการพัฒนา พร้อมสำหรับการนำไปรันบนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย
Docker Enterprise 3.0 มีไฮไลต์ฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Slack พรีวิวฟีเจอร์ใหม่ชุดใหญ่ที่จะทยอยปล่อยภายในปีนี้
Shared Channel สำหรับองค์กรที่ต้องคุยกับลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ สามารถสร้าง Shared Channel ที่ให้คนจากหลายองค์กรมาคุยกันในห้องแชทเดียวกันได้ (เป็นฟีเจอร์สำหรับลูกค้าระดับ Enterprise Grid ที่จะเปิดช่วงกลางปีนี้)
จากภาพจะเห็นห้องแชทที่เป็น Shared Channel มีสัญลักษณ์อยู่ด้านท้ายให้เห็น ส่วนพนักงานที่มาจากองค์กรอื่นก็มีสัญลักษณ์แปะด้วยเช่นกัน
ต่อเนื่องจากข่าว Dropbox จับมือกูเกิล เปิดไฟล์ Google Docs, Sheets, Slides ได้โดยตรง ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทยังไม่จบแค่นั้น ล่าสุดมีฟีเจอร์ฝั่งองค์กรที่เปิดให้แอดมินสร้าง/ลบบัญชีผู้ใช้ Dropbox จากหน้าจอฝั่งกูเกิลได้เลย
ก่อนหน้านี้ กูเกิลและ Dropbox ประกาศทำ Single Sign On (SSO) ข้ามระหว่างสองระบบกันได้อยู่แล้ว คราวนี้ กูเกิลเปิดให้ทำ provisioning (สร้าง/ลบ/แก้ไขบัญชีผู้ใช้) จากคอนโซลฝั่งกูเกิล (G Suite Admin หรือ Cloud Identity) ให้ไปโผล่ที่ฝั่งของ Dropbox โดยอัตโนมัติ
ระบบฐานข้อมูลเป็นหัวใจของธุรกิจแทบทุกประเภท ประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลมักสะท้อนเป็นประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้าและความสามารถในการทำกำไรในที่สุด หากระบบฐานข้อมูลมีปัญหาก็จะสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ออกไปถึงผลประกอบการได้เช่นเดียวกัน
องค์กรจำนวนมากเลือกที่จะวางระบบฐานข้อมูลด้วยตัวเอง โดยแยกส่วนต่างๆ ออกจากกันทั้งเซิร์ฟเวอร์, ระบบปฎิบัติการ, เน็ตเวิร์ค, และสตอเรจ แต่ละส่วนอาจดูแลโดยทีมวิศวกรคนละทีมสร้างความซับซ้อนในการวางระบบ, เพิ่มระยะเวลาติดตั้ง, และเมื่อเกิดปัญหาก็ลำบากในการแก้ไข
Oracle Database Appliance หรือ ODA หลอมรวมความซับซ้อนทั้งหมดเข้ามาเป็นระบบเดียวกัน ทดสอบและปรับแต่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับซอฟต์แวร์ Oracle Database ทั้งรุ่น Standard และรุ่น Enterprise
Salesforce ประกาศเข้าซื้อ MapAnything บริษัทพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้องค์กรทำระบบเวิร์คโฟลวสำหรับใช้ตามตำแหน่งที่ตั้งสำหรับการใช้เพื่อการวางแผนและจัดสรรทรัพยากรให้ดียิ่งขึ้น โดยยังไม่เปิดเผยมูลค่าการเข้าซื้อกิจการ
MapAnything ก่อตั้งในปี 2009 เป็นบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีด้านตำแหน่งที่ตั้ง เหมาะกับงานประเภทการขายหรือการบริการถึงที่ เช่น ต้องการคนกี่คน จะส่งคนไปที่ไหน ทำอย่างไรให้ใช้งานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และจะนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงเวิร์คโฟลวอย่างไร ซึ่งตอนนี้ MapAnything ขายผลิตภัณฑ์ผ่าน Salesforce AppExchange มีลูกค้าเป็นแบรนด์ใหญ่หลายราย เช่น Michelin, Unilever, Synchrony Financial เป็นต้น ซึ่งรวมแล้วตอนนี้ MapAnything มีลูกค้ากว่า 1,900 ราย
Red Hat ประกาศรับช่วงดูแลโครงการ OpenJDK 8 และ OpenJDK 11 ซึ่งเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ต่อจาก Oracle ที่เป็นบริษัทแกนหลักของโลก Java
เรื่องนี้ไม่น่าประหลาดใจนัก เพราะ Red Hat เคยทำแบบนี้มาก่อนแล้วกับ OpenJDK 6 และ OpenJDK 7 เพื่อการันตีว่าลูกค้าของตัวเองจะมีแพตช์ของ OpenJDK ต่อไป แม้ Oracle หยุดซัพพอร์ตไปแล้ว เนื่องจากโมเดลธุรกิจของ Red Hat ขายซัพพอร์ต Java (เวอร์ชัน OpenJDK) บน RHEL ด้วย และล่าสุดเพิ่งเพิ่มการขายซัพพอร์ต OpenJDK บนวินโดวส์อีกช่องทางหนึ่ง
Google เปิดตัว GKE Advanced ระบบ Kubernetes แบบที่ Google Cloud จัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ โดย GKE Advanced จะเน้นการใช้งานในองค์กรเป็นหลัก
Google ระบุว่า ปัจจุบัน GKE จะเหมาะกับการใช้งานบนโปรเจคขนาดไม่ซับซ้อนมาก ในขณะที่ GKE Advanced จะมีฟีเจอร์ต่าง ๆ เหมือน GKE ในปัจจุบัน เสริมด้วยฟีเจอร์ระดับองค์กรหลายอย่าง เช่น ความยืดหยุ่น, ความปลอดภัย และการจัดการที่ดีขึ้น เพื่อให้รองรับผู้ใช้ระดับองค์กรที่มักจะใช้คลัสเตอร์ขนาดใหญ่และมีหลายโปรเจคเข้ามาใช้ร่วมกัน โดยฟีเจอร์ที่สำคัญใน GKE Advanced เช่น
กูเกิลเปิดตัว reCAPTCHA Enterprise สำหรับตลาดองค์กร โดยถือเป็นบริการตัวหนึ่งภายใต้แบรนด์ Google Cloud
reCAPTCHA Enterprise พัฒนาจากเอนจินของ reCAPTCHA v3 ที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจะคิดคะแนน "ความเสี่ยง" จากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ (ระดับคะแนนตั้งแต่ 0-10) แล้วให้แอดมินขององค์กรเป็นผู้ตัดสินว่าที่ความเสี่ยงระดับใด ถึงจะให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนด้วยวิธีใดบ้าง (วิธีการหลากหลายตั้งแต่ยืนยันอีเมล หรือยืนยันตัวตนสองปัจจัย) ลูกค้าองค์กรยังสามารถเชื่อมต่อแอพพลิเคชันเดิมเข้ากับ reCAPTCHA Enterprise ได้ผ่าน API มาตรฐานอีกด้วย
ตอนนี้ reCAPTCHA Enterprise ยังมีสถานะเป็น Beta และยังไม่ประกาศราคาออกมา
กูเกิลเปิดตัวชุดบริการปัญญาประดิษฐ์สำหรับธุรกิจระดับองค์กรโดยเฉพาะ โดยเป็น API แยกกันหลายตัว ได้แก่
กูเกิลประกาศจับมือกับบริษัทฐานข้อมูลสายโอเพนซอร์ส 7 ราย นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สชื่อดังมารันบน Google Cloud Platform (GCP) แบบ fully managed
บริษัททั้ง 7 รายได้แก่
GCP จะนำซอฟต์แวร์เหล่านี้มาให้บริการแบบ fully managed (ดูแลระบบ-ปรับแต่งประสิทธิภาพให้) และคิดเงินรวมไปกับบิลปกติของ GCP, มีบริการซัพพอร์ตเป็นระบบเดียวกับของ GCP และสร้างอินเทอร์เฟซตัวเดียวในการจัดการแอพทุกตัวผ่าน GCP
Google Cloud SQL คือบริการฐานข้อมูลแบบ relational database บน Google Cloud ที่เป็นการรันซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลแบบ fully managed (กูเกิลดูแลระบบให้) ที่ผ่านมา Cloud SQL รองรับ MySQL เพียงอย่างเดียว และเพิ่งขยายมายัง PostgreSQL เมื่อปีที่แล้ว
ปีนี้ กูเกิลประกาศรองรับฐานข้อมูล Microsoft SQL Server เป็นตัวที่สาม (สถานะยังเป็น alpha) เพื่อตอบโจทย์งานขององค์กรที่หลากหลายมากขึ้น และจูงใจให้องค์กรที่ต้องรันงานบน SQL Server ย้ายมาอยู่บน Google Cloud ได้ง่ายขึ้นด้วย
บริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ช่วงหลัง เริ่มมีสตอเรจประเภท archive สำหรับสำรองข้อมูลที่นานๆ ใช้ที ออกแบบเพื่อใช้แทนการเก็บลงเทป ตัวอย่างบริการลักษณะนี้คือ Amazon S3 Glacier Deep Archive ฝั่งของ Azure ก็มีบริการคล้ายๆ กันชื่อ Azure Archive Storage
ล่าสุด Google Cloud Storage ออกบริการเก็บข้อมูลแบบเดียวกันมาสู้ ตอนนี้ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่กูเกิลเรียกมันเล่นๆ ว่า "ice cold"
จุดต่างของ "ice cold" กับสตอเรจคู่แข่งคือวิธีการเรียกข้อมูลคืน โดยฝั่งของ AWS Glacier จะต้องส่งคำขอเรียกข้อมูล (Retrieval Requests) เพื่อให้ AWS ดึงข้อมูลใน Glacier ออกมาให้เราก่อน ซึ่งต้องรอระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่เราจะเข้าถึงข้อมูลของตัวเองได้
Slack อาจมอง Microsoft Teams เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว ถึงขั้นซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ ในวันที่ Microsoft Teams เปิดตัว แต่เมื่อโลกธุรกิจหมุนรอบบริการต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่ Slack จะต้องเชื่อมต่อกับบริการของไมโครซอฟท์ให้แนบแน่นขึ้น
วันนี้ Slack จึงประกาศทำ integration กับบริการแอพในชุด Office 365 ของไมโครซอฟท์หลายตัว ดังนี้
ปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว Cloud Services Platform (CSP) ชุดซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการแอพพลิเคชันบนคลาวด์ โดยเป็นการรวมเอา Kubernetes, Istio เข้ากับซอฟต์แวร์อื่นๆ ของกูเกิล
CSP เป็น "ซอฟต์แวร์" มันจึงใช้บริหารจัดการได้ทั้งคลาวด์ของกูเกิล และคลาวด์ในองค์กรที่เป็น on-premise ได้ด้วย
ปีนี้ในงาน Google Cloud Next กูเกิลประกาศรีแบรนด์ CSP ใหม่ในชื่อว่า Anthos พร้อมประกาศว่า สามารถใช้ Anthos ไปจัดการคลาวด์ค่ายคู่แข่งทั้ง AWS และ Azure ได้เช่นกัน
Alibaba ได้ยืนยันว่าตอนนี้ทางบริษัทได้เข้าซื้อ Teambition ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มวางแผนโปรเจคจากจีน ซึ่งเป็นคู่แข่ง Trello เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Teambition นั้นเคยระดมทุนมาราว 17 ล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2013 โดยมีผู้ลงทุนหลักคือ Tencent, Microsoft, IDG Capital และ Gobi Ventures
บริการของ Teambition เป็นการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเน้นการวางแผนและทำงานร่วมกัน โดยมีอินเทอร์เฟสหลักเป็นงานเกี่ยวกับการวางแผน, ซอฟต์แวร์ CRM ที่ชื่อ Bingo ไปจนถึง knowledge base ที่ภาคธุรกิจสามารถใช้เก็บเอกสารและข้อมูลอื่น ๆ ได้
เมื่อปี 2011 HP (เดิมก่อนแยกบริษัท) เคยเตรียมปรับตัวเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรแบบเดียวกับที่ไอบีเอ็มเคยทำ โดยเข้าซื้อบริษัท Autonomy จากอังกฤษ ด้วยราคา 11 พันล้านดอลาร์ แต่ซื้อไปได้เพียงปีเดียวก็ประกาศด้อยค่าทรัพยสินไป 8.8 พันล้านดอลลาร์ โดยให้เหตุผลมีการตกแต่งบัญชี วันนี้คดีก็อยู่ในศาลสูงลอนดอนแล้วโดยทาง HPE เป็นผู้กล่าวเปิดคดี
ทนายของ HPE ระบุว่านอกจาก Autonomy จะลงบัญชีรับรู้รายได้อย่างไม่ถูกต้องแล้ว ยังมีการขายฮาร์ดแวร์ในราคาขาดทุน เพื่อสร้างรายได้ให้เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดหุ้น
Zoom บริษัทซอฟต์แวร์วิดีโอคอนเฟอเรนซ์สำหรับตลาดองค์กร ยื่นเอกสารเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว
Zoom เป็นสตาร์ตอัพที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2011 โดย Eric Yuan อดีตพนักงานจากทีม WebEx เดิม (ปัจจุบันเป็นของ Cisco) และได้รับความนิยมมาอย่างเงียบๆ ในตลาดองค์กร ในปีการเงินที่ผ่านมา Zoom มีรายได้ 330 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้น 2 เท่าจากปีก่อน แถมมีกำไรประมาณ 7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าหาได้ยากสำหรับสตาร์ตอัพในรุ่นเดียวกัน
ปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Virtual Desktop ของตัวเองบน Azure แต่ยังทดสอบในวงจำกัด วันนี้ Windows Virtual Desktop ได้ฤกษ์เปิดรุ่นพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบกัน
จุดเด่นของ Windows Virtual Desktop คือเป็นบริการ virtual desktop infrastructure (VDI) ที่ไมโครซอฟท์ทำเอง ปรับแต่งประสิทธิภาพมาสำหรับการรัน Office 365 ProPlus แถมยังรองรับ Windows 7 ไปจนถึงปี 2023 แบบไม่ต้องเสียเงินค่าต่ออายุแพตช์ความปลอดภัยในช่วง 3 ปีข้างหน้าอีกด้วย
Facebook ประกาศอัพเดต Workplace ซึ่งเป็น Facebook สำหรับการใช้งานภายในองค์กร โดยระบุว่าตอนนี้ Workplace มีผู้ใช้แบบเสียเงินถึง 2 ล้านคนแล้วในระยะเวลาเพียง 2 ปีกว่า ๆ เท่านั้น หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2016
Workplace by Facebook นี้มีองค์กรใหญ่ใช้งานเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ Walmart, Nestle, Delta Air Lines, Booking.com, Virgin Atlantic ไปจนถึงสตาร์ทอัพอย่าง Spotify, Grab หรือแม้กระทั่ง NGO อย่าง WWF, Unicef UK และ Save the Children ซึ่งถ้านับเฉพาะองค์กรใหญ่ที่มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า 1 หมื่นคนที่ใช้ Workplace ก็มีราว 150 แห่ง
นักวิจัยจาก Eclypsium บริษัทด้านความปลอดภัยฮาร์ดแวร์รายงานการค้นพบช่องโหว่บนเฟิร์มแวร์ BMC (Baseboard Management Controller) ที่เอาไว้ให้แอดมินติดตามสถานะและสั่งการเครื่องผ่านทางไกลบนเซิร์ฟเวอร์ Bare-Metal โดยช่องโหว่เปิดให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์หรือส่งคำสั่งควบคุมได้ แม้ตัวเซิร์ฟเวอร์จะผ่านการลบข้อมูลของผู้ให้บริการคลาวด์ก่อนส่งต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่อไปให้ลูกค้ารายใหม่ก็ตาม
เราเห็นไมโครซอฟท์พยายามผลักดันการใช้งาน Mixed Reality กับการใช้งานเฉพาะทาง เช่น การประชุมทางไกล การรีโมทเข้าไปแก้ปัญหาหน้างาน แต่ที่ผ่านมาก็ยังเน้นเฉพาะบนแพลตฟอร์มแว่น HoloLens เป็นหลัก
ล่าสุดไมโครซอฟท์ขยายบริการเหล่านี้มายังอุปกรณ์พกพาด้วย โดยเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของโปรแกรมชุด Dynamics 365 (รวม CRM+ERP เข้าด้วยกัน)
Google Cloud ภายใต้ยุคซีอีโอคนใหม่ Thomas Kurian เริ่มเดินหน้าซื้อกิจการมาเสริมทัพแล้ว
บริษัทแรกที่ซื้อมาในยุคของ Kurian คือ Alooma ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายข้อมูล (data migration) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าองค์กรย้ายฐานข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เดิมมาสู่คลาวด์ ซอฟต์แวร์ของ Alooma ช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรที่มีฐานข้อมูลจำนวนมากๆ กระจัดกระจายอยู่ตามฝ่ายต่างๆ สามารถย้ายขึ้นคลาวด์ได้ง่ายขึ้น
กูเกิลอธิบายว่าซื้อ Alooma เข้ามาเพื่อต่อพ่วงกับบริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ของตัวเอง เช่น Cloud Spanner และ Cloud Bigtable รวมถึงประกาศว่าจะเดินหน้าซื้อกิจการต่อไปอีก
ไอบีเอ็มมีทำบริการคลาวด์มานานแต่การใช้งานโดยทั่วไปก็ยังจำกัด ล่าสุดบริษัทหันมาขยายคลาวด์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ POWER9 ที่ยังใช้งานอยู่ในตลาดองค์กร โดยจะขยายศูนย์ข้อมูลที่รองรับ POWER9 อีกหลายศูนย์ รวมถึงโซนเอเชียภายในปีนี้ด้วย
ก่อนหน้านี้ บริการ IBM Cloud เคยให้บริการเซิร์ฟเวอร์ POWER9 มาก่อนแล้ว แต่มีเฉพาะในศูนย์ข้อมูลดัลลัสเท่านั้น โดยประกาศครั้งนี้ระบุว่าจะเพิ่มศูนย์ข้อมูลวอชิงตัน, ยุโรป, และเอเชีย