โครงการออกใบรับรองฟรีที่เปลี่ยนโลกการเข้ารหัสเว็บอย่าง Let's Encrypt เกิดขึ้นได้เพราะมีสปอนเซอร์จำนวนมากสนับสนุนทางการเงินเข้าไปยังโครงการ แต่ในการประกาศปล่อยใบรับรองครบ 100 ล้านใบทางโครงการก็พูดถึงพันธมิตรผู้ดำเนินการ (operational partner) ที่มีเพียง 3 ราย คือ Akamai ผู้ให้บริการ CDN ที่รู้จักกันดี, IdenTrust ผู้ให้บริการออกใบรับรองที่ช่วย Let's Encrypt มาแต่ต้น และอีกรายหนึ่งคือ Sumo Logic
ไมโครซอฟท์ออกส่วนเสริม (add-on) ให้กับ Office 365 เวอร์ชัน Enterprise ให้องค์กรสามารถดูได้ว่าพนักงานขององค์กรใช้เวลาทำงานอย่างไร จากสถิติการใช้งานแอพใน Office
ส่วนเสริมนี้ชื่อว่า Workplace Analytics จะอ่านข้อมูลในอีเมลและปฏิทินของพนักงาน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลออกมาให้ผู้บริหารดูได้ว่า องค์กรของเราใช้เวลากับอีเมลและการประชุมมากน้อยแค่ไหน ทั้งช่วงในเวลางานและนอกเวลางาน
Workplace Analytics จะไม่สามารถดูข้อมูลของพนักงานเป็นรายคนได้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของพนักงาน แต่มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริหารเห็น "ภาพรวม" ของคนทั้งหมดในองค์กรแทน
Nutanix ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์แบบ hyperconverge สำหรับองค์กร ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud Platform เพื่อเชื่อมโยงโลกไอทีระหว่างเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรกับคลาวด์เป็น hybrid cloud
ความร่วมมือนี้ประกอบด้วย
ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ประกาศจะพัฒนาเสร็จพร้อมใช้งานในไตรมาสแรกของปี 2018
AMD เริ่มวางขาย Ryzen Pro ซีพียูสำหรับพีซีธุรกิจ ตามที่เคยเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ โดยเริ่มจากซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปก่อน ส่วนซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กจะตามมาในครึ่งแรกของปี 2018
ความต่างของ Ryzen Pro กับ Ryzen รุ่นปกติคือฟีเจอร์สำหรับตลาดองค์กร เช่น ตัวเข้ารหัส AES 128 บิตที่ระดับฮาร์ดแวร์, TPM 2.0, คุณภาพการผลิตที่เหนือกว่า ส่งผลให้อายุซีพียูยาวนานกว่า, การันตีวางขายซีพียูรุ่นเดิมนาน 24 เดือน สำหรับองค์กรที่ต้องการการันตีอะไหล่ในอนาคต, รับประกันนาน 36 เดือน ต่างจากรุ่นปกติที่รับประกันแค่ 12 เดือน
Cisco เปิดตัว Cisco Kinetic แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT โดยจะเน้นที่การบริหารการเชื่อมต่อ (connection management) และการดึงข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT มาใช้งาน (data delivery)
Cisco Kinetic ถูกเรียกว่าเป็น 'IoT operations platform' หรือแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ดำเนินกิจกรรมของ IoT ไปอย่างราบรื่น และช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถสร้างระบบ IoT ได้ตามที่คิดอย่างรวดเร็วกว่าเดิม
แนวคิดของ Cisco คือคำว่า Fog Computing ซึ่งเป็นการล้อคำว่า Cloud Computing แต่หมายถึงการประมวลผลข้อมูลบนเครือข่ายที่อยู่ภายนอกองค์กร แต่ยังไม่ถูกส่งขึ้นไปถึงคลาวด์
เราเคยเห็นข่าว Cisco จับมือเป็นพันธมิตรกับแอปเปิล ทำตลาดองค์กรร่วมกัน มาก่อนแล้วในปี 2015 ล่าสุด Cisco ขยายความร่วมมือนี้ไปยังเรื่องความปลอดภัยของตลาดองค์กรด้วย
ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันพัฒนาแอพ Cisco Security Connector บน iOS โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ใช้ iPhone/iPad ในองค์กรอย่างมั่นใจมากขึ้น
แอพตัวนี้จะดึงฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยของ Cisco Umbrella (OpenDNS เดิม) และ Cisco Clarity (ตัวกรองมัลแวร์) เข้ามา รวมถึงฟีเจอร์ด้านการจัดการอุปกรณ์พกพา (mobile device management) จาก Cisco Meraki ด้วย
แอพจะเปิดให้ใช้งานช่วงปลายปีนี้ โดยจะเริ่มทดสอบช่วงเบต้ากันในเร็วๆ นี้
Bloomberg รายงานว่า BMC Software และ CA สองบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรรายใหญ่ กำลังเจรจาเพื่อควบรวมกิจการกัน ซึ่งหากดีลนี้สำเร็จ BMC น่าจะเป็นฝ่ายเสนอซื้อหุ้น CA ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ากิจการ 13,200 ล้านดอลลาร์ ทำให้ดีลนี้น่าจะเป็นดีลวงการไอทีมูลค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ดีล Dell ซื้อ EMC
BMC เป็นบริษัทนอกตลาดหุ้น มีกองทุน Bain Capital และ Golden Gate Capital เป็นเจ้าของ ส่วน CA ยังเป็นบริษัทในตลาดหุ้น จึงคาดว่าดีลนี้จะเป็นการซื้อ CA และนำบริษัทออกจากตลาดหุ้นเช่นกัน
AMD ประกาศวางขายซีพียู EPYC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen และเปิดตัวเมื่อเดือนที่แล้ว (ออกเสียงเหมือนคำว่า Epic)
ซีพียู EPYC ชุดแรกมีด้วยกัน 9 รุ่นย่อย ตั้งแต่รุ่นเล็ก 8 คอร์ ไปจนถึงรุ่นใหญ่สุด 32 คอร์ (ทุกคอร์มี 2 เธร็ด) โดยมีทั้งแบบซ็อคเก็ตเดี่ยว (มีรหัส P ห้อยท้ายรุ่น) และดูอัลซ็อคเก็ต
ส่วนผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ที่เข้าร่วมก็มีหลายราย ทั้ง HPE, Dell EMC,Supermicro เป็นต้น รายชื่อลูกค้าที่สั่งซื้อแล้วคือ Microsoft Azure, Baidu Cloud, Dropbox, Bloomberg
เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่า EPYC 7601 รุ่นท็อปสุด ทำคะแนนเบนช์มาร์คได้ดีกว่า Xeon E5-2699A V4 ที่ระดับราคาเดียวกัน ถึง 47% (integer) และ 75% (floating point)
Cisco เปิดตัวสวิตช์รุ่นใหม่ Catalyst 9000 Series ที่ออกแบบมาสำหรับเครือข่ายยุคใหม่ที่บริษัทเรียกว่า intent-based networking
แนวคิดของ Cisco คือการจัดการเครือข่ายยุคหน้าจะต้องฉลาดกว่าเดิม โดยดูจากเจตนา (intent) และบริบท (context) ของทราฟฟิกว่ามาจากไหนและมีเป้าหมายอย่างไร สวิตช์รุ่นใหม่ถูกออกแบบให้ผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์ (ASIC) และซอฟต์แวร์ (iOS XE) เข้าด้วยกันให้จัดการทราฟฟิกได้ฉลาดขึ้น
ฟีเจอร์เด่นของ Cisco Catalyst 9000 คือสามารถตรวจจับมัลแวร์ได้จากทราฟฟิกที่เข้ารหัส โดย Cisco คุยว่าอัตราความแม่นยำสูงถึง 99% โดยที่ไม่ต้องถอดรหัสข้อมูลด้วยซ้ำ
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ Stream สำหรับฝากไฟล์วิดีโอที่ใช้งานภายในองค์กร
Microsoft Stream คล้ายกับ YouTube คือเป็นบริการสำหรับโฮสต์วิดีโอ แต่มีฟีเจอร์เน้นหนักที่ตลาดองค์กร ทั้งฟีเจอร์ speech-to-text ช่วยให้หาคำหรือคีย์เวิร์ดที่พูดได้ง่าย, face detection ระบุชื่อคนพูดในวิดีโอพร้อมช่วงเวลาที่ปรากฏตัว, time code ระบุช่วงเวลาในวิดีโอพร้อมลิงก์ไปยังจุดนั้นได้สะดวก, ระบบ permission จำกัดการเข้าถึงวิดีโอตามกลุ่มผู้ใช้หรือแยกรายบุคคล
Microsoft Stream เป็นบริการแยกเฉพาะที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ (ตอนนี้เปิดให้ลองใช้ฟรี) แต่มันถูกออกแบบมาให้ทำงานกับ Office 365 (Outlook, Skype, SharePoint, Teams, Yammer) และ Azure Active Directory อย่างแนบแน่น ช่วยให้การแชร์วิดีโอภายในองค์กรสะดวกขึ้นมาก
Juniper ประกาศอัพเดตแพลตฟอร์มความปลอดภัยเครือข่าย Software-Defined Secure Networks (SDSN) ของตัวเอง ให้สามารถใช้กับสวิตช์ยี่ห้ออื่นที่เป็นคู่แข่งกัน รวมถึงบริการคลาวด์ที่องค์กรใช้งานได้ด้วย
SDSN เป็นชื่อเรียกบริการความปลอดภัยของ Juniper ที่มีองค์ประกอบย่อยหลายตัว ตั้งแต่ไฟร์วอลล์ vSRX ไปจนถึง threat detection และตัวช่วยบังคับนโยบายความปลอดภัย (policy enforcer)
ข่าวนี้คือ Juniper ปรับปรุงฟีเจอร์ของตัว enforcer (Junos Space) จากเดิมที่รองรับเฉพาะสวิตช์ของ Juniper ให้ครอบคลุมถึงสวิตช์ยี่ห้ออื่นด้วย ซึ่ง Juniper ก็ระบุยี่ห้อออกมาอย่างชัดเจนแบบไม่ต้องเดาว่า "including Cisco"
ไมโครซอฟท์ปรับวิธีการออกรุ่นของ Windows Server ใหม่หมด โดยจะแยกเป็น 2 channel คือ รุ่นออกเร็วทุก 6 เดือน (semi-annual) และรุ่นซัพพอร์ตนาน ออกทุก 2-3 ปี (LTS)
รุ่นออกทุก 6 เดือนจะยึดรอบตาม Windows 10 ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยจะออกปีละ 2 ครั้งในเดือนมีนาคมและกันยายน เน้นเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาบ่อยๆ วิธีการเรียกรุ่นจะอิงตามปี/เดือน (เช่น 1709, 1803, 1809) แต่ข้อจำกัดคือมีระยะเวลาซัพพอร์ตแค่ 18 เดือนต่อรุ่น
ส่วนรุ่น Long-term Servicing Branch ก็จะเหมือนของเดิมคือออกทุก 2-3 ปี มีระยะเวลาซัพพอร์ต 5+5 ปีเหมือนเดิม ระหว่างทางจะได้อัพเดตแก้บั๊ก-แพตช์ความปลอดภัยประจำเดือน แต่จะไม่ได้อัพเดตฟีเจอร์ใหม่ที่ย้ายไปออกในรุ่น 6 เดือนแทน
กลายเป็นกระแสแฟชั่นไปแล้ว เมื่อ Box ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจอีกรายที่เน้นตลาดองค์กร ประกาศทำ Box Drive บริการเก็บข้อมูลที่เห็นไฟล์ทั้งหมดบนคลาวด์ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่อง
Box บอกว่าในอดีต เดสก์ท็อปคือพื้นที่ทำงานหลักของผู้คน บริษัทจึงมีบริการ Box Sync ให้ซิงก์ข้อมูลระหว่างเดสก์ท็อปกับคลาวด์ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไป ขนาดไฟล์บนคลาวด์เริ่มใหญ่กว่าฮาร์ดดิสก์ การซิงก์ไฟล์ทั้งหมดจึงเริ่มเป็นไปไม่ได้
Box Drive ให้พื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด (!) ผู้ใช้เดสก์ท็อปจะเห็นรายการไฟล์ทั้งหมดของตัวเอง และสามารถเรียกใช้ไฟล์ได้ตามต้องการ
ไมโครซอฟท์มีซอฟต์แวร์ Power BI ออกมาเจาะลูกค้าธุรกิจที่ต้องการทำ business intelligence มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว (ออกครั้งแรกปี 2014) รูปแบบการทำงานของมันเป็นการประมวลผลข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ โดยเรียกใช้ผ่านเว็บหรือแอพอีกที
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกแพ็กเกจ Power BI Premium ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถรันงานได้แบบ on premise บนเครื่องขององค์กรเอง และรองรับการรันข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้น
ประกาศนี้ทำให้ไมโครซอฟท์มีแพ็กเกจ Power BI ทั้งหมด 3 ระดับคือ Free (จำกัด 100 แหล่งข้อมูล), Pro (9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน) และ Premium (ราคาขายแยกตามองค์กร)
Cloud Foundry เป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาแอพพลิเคชันแบบ PaaS บนคลาวด์ ที่ริเริ่มโดย VMware แต่ขยับเป็นโครงการโอเพนซอร์ส พร้อมตั้งมูลนิธิ Cloud Foundry Foundation มาดูแลแทนในปี 2014
ซอฟต์แวร์ของ Cloud Foundry เปรียบเป็นมิดเดิลแวร์ให้พัฒนาแอพพลิเคชันบนคลาวด์ข้ามค่าย รองรับภาษาโปรแกรมมิ่งหลากหลาย (ช่วงแรกเน้น Ruby, Java, Go) และเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาหลายตัว
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศร่วมเป็นสมาชิก Cloud Foundry Foundation พร้อมขนผลิตภัณฑ์ในเครือมาร่วมด้วยมากมาย
ถึงแม้ในฝั่งคอนซูมเมอร์ BlackBerry จะไม่ประสบความสำเร็จนัก แต่ด้วยจุดเด่นของ BBM ในฐานะแพลตฟอร์มแชทเข้ารหัสที่มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ทำให้ BlackBerry ตัดสินใจหันมาให้บริการ Communication Platform as a Service (CPaaS) ด้วย BBM Enterprise SDK สำหรับแอพฝั่งองค์กร
ชุด SDK ยังคงเข้ารหัส end-to-end ทั้งแชท, วิดีโอคอลและว๊อยซ์คอล เป็นโซลูชันแบบ IP-Based ทำงานบนเครือข่าย NOC ของ BlackBerry พร้อมฟีเจอร์แชทต่างๆ อาทิ แก้ไขข้อความ, แจ้งเตือน, สัญลักษณ์บอกการส่งและอ่านข้อมูล, โน้ตเสียง, กรุ๊ปแชทและแชร์ไฟล์ ขณะที่ UI ยังคงมีความเป็น BBM แบบเดิม
Hewlett Packard Enterprise (HPE) เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล ProLiant รุ่นที่สิบ (Gen 10) ที่อัพเกรดมาใช้ซีพียู Xeon Scalable ตัวใหม่ของอินเทล
แต่จุดขายสำคัญของ HPE ProLiant Gen 10 คือระบบความปลอดภัยที่ระดับชิป ฝังมาตั้งแต่โรงงานของ HPE เอง ช่วยให้มั่นใจได้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะปลอดภัยตั้งแต่ฐานรากระดับซิลิคอน (silicon root of trust) ไม่โดนยัดไส้เปลี่ยนเฟิร์มแวร์มากลางทาง
ชิปตัวนี้เรียกว่า HPE Integrated Lights Out (iLO) จะอนุญาตให้บูทเฉพาะเฟิร์มแวร์ที่มี fingerprint ตรงกันเท่านั้น ทาง HPE คุยว่าเป็นผู้ควบคุมการผลิตชิปตัวนี้เองทั้งหมด ถือเป็นผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายเดียวในตอนนี้ที่ให้ความมั่นใจกับลูกค้าได้
Oracle ปิดไม่ให้คนทั่วไปดาวน์โหลด Java SE เวอร์ชัน 6 และ 7 ที่หมดระยะอัพเดตแล้ว
Java เวอร์ชันเก่ามีช่วงอายุที่เรียกว่า Public Updates หรือการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัย-แก้บั๊กให้คนทั่วไป โดย Java 6 หมดอายุไปแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 และ Java 7 หมดอายุในเดือนเมษายน 2015
ที่ผ่านมา Java 6/7 หมดระยะ Public Updates ไปนานพอสมควร แต่ Oracle ยังเปิดให้ดาวน์โหลดไฟล์เวอร์ชันเก่าอยู่ ล่าสุดคือถอดลิงก์ออกจากหน้าเว็บแล้ว ส่งผลให้ตอนนี้คนทั่วไปสามารถดาวน์โหลดได้เฉพาะ Java 8 เท่านั้น
ผู้ที่ยังใช้ Java 6/7 และต้องการอัพเดตต่อ สามารถซื้อซัพพอร์ตได้จาก Oracle โดยตรง (Java 6 มีซัพพอร์ตแบบจ่ายเงินถึงปี 2018, Java 7 ปี 2022)
IBM Security ประกาศความร่วมมือกับ Cisco ผนึกกำลังด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ รายละเอียดของความร่วมมืมีดังนี้
บริษัทไอที 5 รายคือ HPE, LinkedIn, GE Digital, Flex, Vapor IO ประกาศตั้งมูลนิธิ The Open19 Foundation เป็นองค์กรกลางเพื่อวางมาตรฐานฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์-ศูนย์ข้อมูลร่วมกัน
แนวทางของ Open19 จะคล้ายกับโครงการ Open Compute Project (OCP) ที่ริเริ่มโดย Facebook แต่กรณีของ Open19 จะเน้นไปที่ศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กที่บริษัททั่วไปมีกัน ต่างไปจาก OCP ที่เน้นการออกแบบเซิร์ฟเวอร์สำหรับศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ระดับ Facebook หรือ Microsoft
ในเบื้องต้น Open19 ยังออกแบบเฉพาะมาตรฐานเซิร์ฟเวอร์สำหรับศูนย์ข้อมูล แต่ในอนาคตก็เตรียมจะออกแบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลปลายทาง (edge computing) สำหรับตลาด IoT ด้วย
กูเกิลดัน Chrome ในตลาดองค์กรสุดตัว ล่าสุดออก Chrome Enterprise Bundle จัดชุดมาให้แอดมินองค์กรบริหารจัดการง่ายขึ้น
ในชุด Chrome Bundle ประกอบด้วย
นอกจากนี้ กูเกิลยังประกาศความร่วมมือกับ Citrix รองรับ Citrix XenApp อย่างเป็นทางการ โดย Chrome 58 จะสามารถรัน Citrix แบบเร่งความเร็วด้วยจีพียูได้แล้ว
AMD เปิดตัวสินค้าอีกตัวใต้แบรนด์ Ryzen คือ Ryzen Pro ที่เน้นตลาดพีซีสำหรับองค์กร (commercial PC) เทียบได้กับฝั่งอินเทลที่มี Core vPro
สิ่งที่ Ryzen Pro แตกต่างไปจาก Ryzen ตัวปกติของฝั่งคอนซูเมอร์คือฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยในระดับฮาร์ดแวร์ และฟีเจอร์ด้านการบริหารจัดการ แต่ตอนนี้ AMD ก็ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง (ชื่อรุ่นที่โผล่มาในสไลด์คือ Ryzen 5 Pro 1500)
Ryzen Pro จะมีทั้งเวอร์ชันเดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊ก (Mobile Ryzen Pro) กำหนดวางขายเวอร์ชันเดสก์ท็อปคือครึ่งหลังของปี 2017 และเวอร์ชันโน้ตบุ๊กในครึ่งแรกของปี 2018
ที่มา - AMD
Bloomberg Pay Index จัดอันดับ 200 ผู้บริหารที่มีรายรับเยอะที่สุดประจำปี 2016 อันดับหนึ่งเป็น Marc Lore จาก Wal-Mart มีรายรับทั้งปี 236.9 ล้านดอลลาร์ และเมื่อแยกข้อมูลมาเฉพาะผู้หญิงพบว่า ผู้หญิงสี่อันดับแรก ล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริหารระดับสูงในบริษัทไอทีทั้งสิ้น
อันดับแรกคือ Ginni Rometty ซีอีโอบริษัท IBM มีรายได้ 96.8 ล้านดอลลาร์ในปีแรก (Rometty อยู่ในอันดับหกของ Bloomberg Pay Index โดย 5 ลำดับแรกเป็นผู้ชาย) อันดับที่สองคือ Meg Whitman ซีอีโอ Hewlett Packard มีรายได้ในปีแรก 52.5 ล้านดอลลาร์ Safra Catz ผู้ร่วมก่อตั้ง Oracle มีรายได้ที่ 39.2 ล้านดอลลาร์ ส่วน Marissa Mayer จาก Yahoo อยู่ในอันดับสี่ รายได้ 32.8 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด การใช้อีเมลในการรับส่งข้อมูลหรือติดต่อสื่อสารกันก็เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละวันเรารับ-ส่งอีเมลกันมากกว่า 100,000 ล้าน ฉบับทั่วโลกต่อวัน
ความต้องการของภาคธุรกิจต่อการใช้งานอีเมลก็เปลี่ยนไปจากในอดีต เพราะต้องการให้ติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา จากอุปกรณ์ทุกชนิด โดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ในการใช้งานจริง ผู้ใช้มักประสบปัญหาอีเมลขององค์กรมีพื้นที่จำกัด ไม่รองรับการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ที่กลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน อีกทั้งระบบขาดเสถียรภาพ ล่มบ่อยหรือข้อมูลสูญหาย กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ VMware ขยายการใช้งาน Chrome OS ในตลาดองค์กร โดย VMware Workspace One ซอฟต์แวร์จัดการสิทธิการเข้าถึงแอพพลิเคชันของอุปกรณ์แต่ละชิ้น จะรองรับ Chrome OS เพิ่มเข้ามาจากระบบปฏิบัติการอื่น ช่วยให้องค์กรที่ใช้ Workspace One อยู่แล้ว สะดวกในการนำ Chrome OS เข้ามาใช้งานกว่าเดิม
กูเกิลอ้างตัวเลขของ IDC ว่า 25% ของบริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับ Fortune 500 จะนำ Chromebook มาใช้งานภายในปี 2018 ความร่วมมือกับ VMware ถือเป็นหนึ่งในการผลักดันให้ Chrome OS ไปสู่เป้าหมายนี้
ที่มา - Google