Amazon Web Services
AWS เปิดตัวโครงการ Cloud Development Kit for Kubernetes (cdk8s) เฟรมเวิร์คสำหรับการแปลงโค้ดภาษาโปรแกรมที่นักพัฒนาคุ้นเคยมามาสร้างคอนฟิก YAML สำหรับ Kubernetes
ก่อนหน้านี้ AWS มีโครงการ CDK อยู่ก่อนแล้วแต่เป็นการสร้างคอนฟิกสำหรับ CloudFormation ของ AWS เอง ในรอบนี้ cdk8s จะสามารถใช้งานกับ Kubernetes ใดๆ ก็ได้
cdk8s จะทำให้ออปเจกต์ใน Kubernetes ที่ต้องเขียนคอนฟิกกลายเป็นคลาสในภาษาโปรแกรม กระบวนการสร้างคอนฟิกสามารถใส่เงื่อนไขต่างๆ ลงไปในโค้ด เช่นคลัสเตอร์สำหรับพัฒนามีขนาดเล็กกว่าโปรดักชั่น หรือคนละ namespace โดยตอนนี้รองรับออปเจกต์มาตรฐานของ Kubernetes เอง, CRD และมีแผนจะรองรับ Helm chart
AWS เปิดตัวซีพียู Graviton2 มาตั้งแต่งาน re:Invent ปีที่แล้ว ตอนนี้เครื่อง M6g ก็เปิดให้ใช้งานได้จริงแล้ว
ตัวเครื่องเริ่มต้นที่ m6g.medium ซีพียู 1 คอร์และแรม 4GB ราคาในสหรัฐฯ ชั่วโมงละ 0.0385 ดอลลาร์หรือเดือนละ 27.72 ดอลลาร์ ไล่ขึ้นไปถึง m6g.16xlarge ซีพียู 64 คอร์ แรม 256GB ชั่วโมงละ 2.464 ดอลลาร์ หรือเดือนละ 1774.08 ดอลาร์
ปัญหาสำคัญของการอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์ คือต้องรีบูตเครื่องซึ่งเกิดดาวน์ไทม์ ทางออกในเรื่องนี้จึงเกิดเทคนิคที่เรียกว่า Kernel Live Patching (บ้างก็เรียก KLP, Livepatch, Kpatch ตามแต่ละยี่ห้อ) ที่สามารถอัพเดตแพตช์ให้เคอร์เนลโดยไม่ต้องรีบูต (รายละเอียดทางเทคนิคว่าทำอย่างไร)
ฟีเจอร์ Kernel Live Patching มักมีในลินุกซ์เวอร์ชัน Enterprise ที่ต้องเสียเงินซื้อ subscription เช่น RHEL, Oracle Linux, Ubuntu Enterprise, SUSE Enterprise หรือบริการ KernelCare ที่ใช้กับดิสโทรได้หลายราย
AWS เปิดตัวบริการ AWS Transfer for FTP และ FTPS เพิ่มเติมหลังจากเปิดบริการ SFTP ไปเมื่อปี 2018 แม้ว่าโปรโตคอลทั้งสองจะค่อนข้างเก่าแล้ว แต่ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลและซอฟต์แวร์วิทยาศาสตร์ยังใช้งาน FTP อยู่ ขณะที่ซอฟต์แวร์ด้าน ERP หรือ CRM บางตัวก็ยังรองรับเฉพาะ FTPS เท่านั้น
ในบรรดาการเชื่อมต่อทั้ง 3 แบบ FTP อันตรายที่สุดเนื่องจากไม่มีการเข้ารหัสใดๆ ทำให้ AWS ไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ต้องเชื่อมต่อผ่าน VPC เท่านั้น ส่วน FTPS นั้นยังอนุญาตให้เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ค่าใช้งานเท่ากับ SFTP ทุกประการ อยู่ที่ 0.30 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และอัตราการส่งข้อมูลเข้าออก 0.04 ดอลลาร์ต่อกิกะไบต์เท่ากัน
AWS ออกบริการตัวใหม่ชื่อ Amazon AppFlow มันเป็นการเชื่อมข้อมูลจากบริการ SaaS ยอดนิยมในท้องตลาด (เช่น Salesforce, ServiceNow, Slack, Zendesk, Google Analytics) กับบริการเก็บข้อมูลของ AWS เอง (ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ S3 กับ Redshift) โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง
จุดเด่นของ Amazon AppFlow คือส่งข้อมูลระหว่าง SaaS กับ AWS ได้ทั้งส่งไปและส่งกลับ ต่างจากบริการพวก automation หลายๆ ตัวในท้องตลาดที่รองรับการดึงออกจาก SaaS เพียงอย่างเดียว
AppFlow เข้ามาช่วยจัดการเรื่องการ map ข้อมูล การฟิลเตอร์ข้อมูล และรองรับการโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่ สูงสุด 100GB ส่วนวิธีคิดเงินแยกเป็นตามจำนวน flow (0.001 ดอลลาร์ต่อ flow) และค่าประมวลผลข้อมูลอีก 0.02 ดอลลาร์ต่อ GB
Google Cloud ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ที่ Anthos รองรับ โดยฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับ AWS ที่เข้าสู่สถานะ GA มีการซัพพอร์ตเต็มรูปแบบแล้ว ส่วน Azure นั้นยังอยู่ในสถานะพรีวิว
Anthos เป็นชุดบริการหลายส่วน แต่ส่วนสำคัญสองส่วน คือ Athos GKE on-prem สำหรับการติดตั้ง Kubernetes ในองค์กรเอง และ Multi-cluster management ระบบจัดการคลัสเตอร์ทั้งภายในและภายนอก Google Cloud
ฟีเจอร์อีกส่วนที่ขยายขึ้นมาคือการจัดการคอนฟิกที่รองรับ virtual machine บน Google Cloud เพื่อลดการคอนฟิกด้วยมือ ขณะที่ Anthos Service Mesh ก็เตรียมจะซัพพอร์ตแอปพลิเคชั่นบน virtual machine ด้วยเช่นกัน
AWS เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2018 ว่าจะเปิดศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในแอฟริกา และวันนี้ทาง AWS ก็ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งนี้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยใช้ชื่อ AWS Region ว่า Africa (Cape Town) และใช้ชื่อ API ว่า af-south-1
สำหรับศูนย์ข้อมูล AWS Region Africa (Cape Town) แห่งนี้ถือเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 23 ของ AWS และเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งแรกในแอฟริกา โดยมี Availability Zone ทั้งหมด 3 แห่ง ซึ่งบริการหลัก ๆ ของ AWS ใน Africa (Cape Town) พร้อมใช้งานแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลูกค้า AWS สามารถเลือกดีพลอยโดยใช้ AWS Region แห่งใหม่นี้ได้ทันที
ตั้งแต่ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐประกาศให้ไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะโครงการ JEDI Cloud เมื่อปีที่แล้ว สื่อหลายเจ้ารวมถึง AWS เองต่างออกมาโวยวายว่าดีลนี้ประเด็นการเมืองจากทำเนียบขาวมาเกี่ยวข้อง
ล่าสุดคณะกรรมการตรวจสอบของกระทรวงกลาโหม (Inspector General) ออกรายงานความยาว 317 หน้าเกี่ยวกับกระบวนการคัดสรรผู้ให้บริการคลาวด์ (ไม่ได้สนใจตัวดีลว่าเจ้าไหนดีกว่ากัน แค่ตรวจสอบกระบวนการคัดสรร) และระบุว่าแม้ในรายละเอียดยิบย่อยของกระบวนการจะมีปัญหาหรือความขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ในภาพรวมคือไม่พบความผิดปกติ กระบวนการจัดสรรนั้นยุติธรรมและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ขณะทำเนียบขาวหรือแม้แต่ตัวประธานาธิบดีก็ไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลใด ๆ ในกระบวนการ
เราเห็นข่าว กูเกิลเปิดฐานข้อมูล COVID-19 ให้ใช้ฟรี เชิญชวนนักวิเคราะห์เข้าร่วมบน BigQuery กันไปแล้ว วันนี้ฝั่ง AWS เปิดตัวโครงการคล้ายๆ กันชื่อ AWS COVID-19 data lake
AWS COVID-19 data lake เป็นการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัส SARS-CoV-2 และโรค COVID-19 เก็บไว้บนคลาวด์ AWS เพื่อให้นักวิจัย นักวิเคราะห์ข้อมูลจากทั่วโลกนำไปใช้ต่อได้ทันที ข้อมูลทั้งหมดใช้ได้ฟรี ขอเพียงแค่มีบัญชี AWS เท่านั้น
AWS บริการระบบคลาวด์ ที่ตอบโจทย์กับสายงานไอทีในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น CSL พร้อมช่วยให้คำปรึกษา และการชำระค่าบริการเป็นเรื่องง่าย ๆ โดยสามารถชำระค่าบริการภายในประเทศผ่านระบบบิลได้แล้ววันนี้
หลังเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ได้รับความนิยมอย่างสูง (รู้จัก Container มันคืออะไร แตกต่างจาก Virtualization อย่างไร?) ทำให้เกิดกระแสการปรับแต่งระบบปฏิบัติการของโฮสต์ เพื่อรีดประสิทธิภาพออกมาให้มากที่สุด ลดปริมาณพื้นที่สตอเรจ-แรมที่ใช้งานลง
ตัวอย่างลินุกซ์ที่พัฒนามาเพื่อคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ ได้แก่ CoreOS (ปัจจุบันกลายเป็น Fedora CoreOS), Ubuntu Core, RancherOS รวมถึง Alpine Linux ลินุกซ์ขนาดเล็กที่นิยมใช้ในสายคอนเทนเนอร์
ล่าสุด Amazon เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ชื่อ Bottlerocket มันเป็นลินุกซ์ที่ปรับแต่งเพื่องานคอนเทนเนอร์เช่นกัน โดยตั้งใจออกแบบมาสำหรับ AWS โดยเฉพาะ เชื่อมโยงกับ EC2 และ Amazon EKS มาตั้งแต่ต้น
ประเด็นหนึ่งที่บริการคลาวด์ถูกโจมตีมาตลอดคือเรื่อง vendor lock-in หรือการถูกบังคับโดยอ้อมให้ต้องอยู่กับผู้ให้บริการคลาวด์เจ้านั้นตลอดไป เพราะการย้ายออกมีต้นทุนแฝงสูงมาก โดยเฉพาะบริการเฉพาะทางของผู้ให้บริการแต่ละราย (เช่น AI หรือ data) ที่ไม่ใช่บริการสามัญ (เช่น compute หรือ storage)
กรณีศึกษาล่าสุดมาจาก Discord แอพแชทยอดนิยมของวงการเกมเมอร์ ที่ระบุว่าย้ายระบบคลังข้อมูล (data warehouse) จากเดิมที่ใช้ Amazon Redshift มาเป็นบริการเทียบเคียงกันคือ BigQuery ของกูเกิล
หมายเหตุ: บทความนี้มาจากบล็อกของกูเกิล (เขียนโดยทีมงาน Discord ในฐานะลูกค้า GCP) ย่อมเชียร์บริการฝั่งกูเกิล แต่นำมาให้อ่านเพื่อเป็นกรณีศึกษาเรื่องการย้ายคลาวด์ข้ามค่าย
วันนี้ AWS ประเทศไทยจัดงาน Technology Update Roundtable บรรยายถึงสินค้าใหม่ที่เปิดตัวในงาน reInvent เมื่อปลายปีที่ผ่านมา และช่วงถามตอบ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย พูดถึงสินค้าในกลุ่มคลาวด์ที่อยู่ใกล้กับลูกค้ามากขึ้น ทั้ง AWS Outpost, AWS Local Zones, และ AWS Wavelength นั้นกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับคู่ค้า และคาดว่าน่าจะเข้ามาทำตลาดในไทยได้ในเร็วๆ
ดร.ชวพล ระบุถึงความต้องการของลูกค้าว่ามีความต้องการเก็บข้อมูลไว้ในศูนย์ข้อมูล ทั้งจากปัญหา latency สูงหรือจะเป็นความกังวลที่จะนำข้อมูลไปวางไว้นอกประเทศหรือนอกองค์กร และสินค้ากลุ่มคลาวด์ท้องถิ่นเช่นนี้จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
Amazon ประสบความสำเร็จในการขอให้ศาลสหรัฐฯ หยุดโครงการคลาวด์สำหรับกระทรวงกลาโหม (Joint Enterprise Defense Infrastructure - JEDI) จากการกล่าวหาว่าโดนัลด์ ทรัมป์ นั้นเข้ามากดดันให้กระทรวงกลาโหมไม่เลือก AWS จนไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะไปในที่สุด โดยฝั่ง Amazon ก็ยื่นฟ้องหลังการประกาศผลไม่นาน
การออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวนี้ ศาลยังระบุให้ Amazon ต้องจ่ายค่าเสียหาย 42 ล้านดอลลาร์หากสุดท้ายแล้วพบว่าการออกคำสั่งคุ้มครองไม่ถูกต้อง
โครงการ JEDI มีมูลค่าถึงหมื่นล้านดอลลาร์ในอายุสัญญา 10 ปี
หลายคนอาจไม่ทราบว่า Amazon มีดิสโทรลินุกซ์ของตัวเองชื่อ Amazon Linux AMI เป็นอิมเมจสำหรับใช้บนเครื่อง AWS เท่านั้น
Linux AMI เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2010 และภายหลัง Amazon ก็ออก Amazon Linux 2 เวอร์ชันอัพเกรดใหญ่ เมื่อปี 2017
ล่าสุด Amazon ประกาศแผนการหยุดซัพพอร์ต Linux AMI ในวันที่ 31 ธันวาคม 2020 (เวอร์ชันสุดท้ายคือ 2018.03) หลังจากนั้นจะออกแพตช์ให้เฉพาะที่จำเป็นไปจนถึงปี 2023 และไม่การันตีว่าจะทำงานกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ AWS ได้อีกต่อไป
Amazon แนะนำให้ลูกค้า AWS ย้ายไปใช้ Amazon Linux 2 ที่มีฟีเจอร์ทันสมัยกว่ากันมาก และมีระยะซัพพอร์ตยาวนานถึงปี 2023
Amazon Web Services หรือ AWS มีคลังเอกสารทางเทคนิคที่เรียกว่า Amazon Builders' Library รวมบทความที่เขียนโดยวิศวกรของ Amazon เพื่ออธิบายสถาปัตยกรรม หรือแนวคิดเบื้องหลังของบริการในเครือ
ล่าสุด Amazon ประกาศเพิ่มภาษาใน Amazon Builders' Library อีก 16 ภาษา ซึ่งรวมถึงภาษาไทยด้วย
ผมลองนับจากหน้าแรกของ Amazon Builders' Library มีบทความที่เป็นภาษาไทยทั้งหมด 13 รายการ เท่ากับเวอร์ชันภาษาอังกฤษ
Amazon ยังเปิดให้ดาวน์โหลดบทความเหล่านี้ในรูป PDF รวมถึงอ่านบน Kindle ได้ด้วย (แต่มีเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น)
AWS ส่งเมลแจ้งเตือนลูกค้าที่ใช้บริการฐานข้อมูล Amazon Aurora, Amazon Relational Database Service (RDS), Amazon DocumentDB ให้อัพเดตใบรับรองดิจิทัลเป็นใบใหม่ เพราะใบเก่าใกล้หมดอายุ มิฉะนั้นจะไม่สามารถเชื่อมต่อ SSL/TLS ได้
ใบรับรองดิจิทัลของ AWS มีอายุ 5 ปี แล้วต้องเปลี่ยนใหม่ตามนโยบายด้านความปลอดภัย โดยใบรับรองเดิม (CA-2015) จะหมดอายุในวันที่ 5 มีนาคม 2020 และ AWS ออกใบรับรองใหม่ (CA-2019) มาให้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2019 สามารถกดเปลี่ยนได้ทันที
การเปลี่ยนใบรับรองสามารถทำได้จากหน้าเว็บคอนโซลของ AWS ในหน้า Certificate update หรือจะสั่งผ่านคอมมานด์ไลน์ก็ได้ (วิธีการดูได้ตามลิงก์) จากนั้นรีสตาร์ท instance นั้นๆ ก็เสร็จเรียบร้อย
ในยุคที่ Kubernetes (K8s) กลายเป็นซอฟต์แวร์สุดร้อนแรงแห่งยุคคลาวด์ แต่ผู้ให้บริการคลาวด์อันดับหนึ่งของโลกอย่าง AWS กลับไม่ทุ่มเทไปยัง Kubernetes มากนัก
Andy Jassy ซีอีโอของ AWS ให้สัมภาษณ์กับ The Register ว่าเขาไม่เชื่อว่าซอฟต์แวร์ตัวเดียวจะครอบคลุมทุกอย่าง (I don’t believe in one tool to rule the world) โดยยกซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ของตัวเองคือ ECS (Elastic Container Service) ขึ้นมาเปรียบเทียบ
AWS มีซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ให้เลือก 2 ตัวคือ ECS (Elastic Container Service) ที่เขียนเอง และ EKS (Elastic Kubernetes Service) ที่เป็น Kubernetes
Ubuntu ประกาศขาย Ubuntu Pro Images for AWS อิมเมจ Ubuntu รุ่น LTS 3 รุ่น ได้แก่ 14.04, 16.04, และ 18.04 โดยเพิ่มฟีเจอร์ความปลอดภัยเพิ่มเติม ได้แก่
AWS เปิดตัว The Amazon's Builder Library เว็บรวมบทความถอดประสบการณ์การสร้างระบบที่มีความซับซ้อนสูงใน AWS เอง โดยช่วงแรกมีบทความในห้องสมุดทั้งหมด 15 บทความ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับภาพกว้าง (high level), ระดับกลาง, และระดับลึก ครอบคลุมหัวข้อสถาปัตยกรรมระบบ และกระบวนการจัดการซอฟต์แวร์
ตัวอย่างบทความ เช่น การหลีกเลี่ยงงานล้นในคิว, ระบบที่ปลอดภัยต่อการยกเลิกการดีพลอย, หรือความท้ายทายในการทำแคช
กลุ่มเป้าหมายของ Builder Library เริ่มตั้งแต่ระดับนักพัฒนาไปจนถึงระดับ CTO โดยทาง AWS ระบุว่าจะมีบทความเพิ่มมาเรื่อยๆ
AWS ประกาศความร่วมมือกับ NFL สร้างปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงที่นักกีฬาจะบาดเจ็บในอนาคต โดยระบบนี้อาศัยเครื่องมือของ AWS เช่น SageMaker, Rekognition, และบริการ Amazon ML Solutions Lab ที่เป็นบริการสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์เฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย
ในการร่วมมือกับ NFL ครั้งนี้ ทาง AWS พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์เพื่อจับภาพโครงร่าง (skeleton) ของนักกีฬาจากวิดีโอของ NFL จากนั้นวิเคราะห์ทั้งตำแหน่งของนักกีฬาในสนาม, รูปแบบการเล่น, อุปกรณ์ที่สวมใส่, สภาพแวดล้อม, และข้อมูลการบาดเจ็บของนักกีฬา
ทั้งสององค์กรหวังว่าข้อมูลจากระบบนี้จะทำให้ NFL สามารถปรับปรุงทั้งกติกาการแข่งขัน, พัฒนาอุปกรณ์, และกระบวนการรักษาตัวนักกีฬา
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ตอนนี้ FTC หรือคณะกรรมการการค้าของสหรัฐฯ ได้ขยายขอบเขตการตรวจสอบ Amazon จากเดิมที่สนใจเฉพาะส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ให้ครอบคลุมธุรกิจคลาวด์หรือ AWS ด้วย
ปัจจุบัน AWS ถือเป็นหน่วยที่ทำกำไรให้ Amazon มากที่สุด ซึ่งมากกว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย โดยธุรกิจคลาวด์ของ Amazon มีผลิตภัณฑ์ครบวงจร ซึ่งอาจเป็นคู่แข่งกับซอฟต์แวร์ที่ขายผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว โดย Bloomberg ระบุว่า FTC จะสอบสวนว่า Amazon ได้ให้สิทธิพิเศษกับบริษัทบางแห่งที่ทำงานให้ AWS แต่เพียงผู้เดียว และลดความสำคัญบริษัทที่ทำงานร่วมกับคลาวด์คู่แข่งหรือไม่
ที่งาน reInvent ปีนี้ AWS เปิดแนวทางการขยายบริการคลาวด์ออกไปหาผู้ใช้ให้ใกล้ขึ้น ด้วยบริการ 3 ชุด ได้แก่
AWS ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ Cluster Auto Scaling สำหรับ Amazon ECS เพื่อช่วยในการสเกลเอาท์คลัสเตอร์อัตโนมัติ โดยเป็นระบบจัดการคลัสเตอร์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับคอนเทนเนอร์
การใช้งาน AWS ECS Cluster Auto Scaling ผู้ใช้จะต้องสร้าง ECS resource type ที่ชื่อว่า Capacity Provider ก่อน ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับ EC2 Auto Scaling Group (ASG) ได้ โดยเมื่อเซ็ทอัพแล้ว ASG จะสามารถควบคุมการสเกลเอาท์และสเกลอินของคลัสเตอร์ ECS ได้ดีกว่าเดิม เพราะจะนำปัจจัยเกี่ยวกับคอนเทนเนอร์มาคำนวณในการสเกลคลัสเตอร์ด้วย
AWS ประกาศอัพเดตชุดบริการ Amazon SageMaker แพลตฟอร์มพัฒนาและรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ชุดใหญ่ ทำให้ตอนนี้นักพัฒนาสามารถพัฒนาและทดสอบโมเดลปัญญาประดิษฐ์บน Amazon SageMaker ได้สำเร็จในตัว บริการที่เปิดตัวเพิ่มเติมได้แก่