Amazon Web Services
Amazon ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ AWS Marketplace บริการร้านค้าซอฟต์แวร์บน AWS โดยฟีเจอร์แรกคือนำอัลกอริทึมและโมเดลของ machine learning มาขายผ่าน Marketplace และ Private Marketplace หรือ Marketplace ที่ใช้กันเฉพาะภายในองค์กร
ฟีเจอร์แรกคือ machine learning โดย AWS ระบุว่าใน Marketplace จะเพิ่มหมวดหมู่ใหม่คือ machine learning ซึ่งจะรวมอัลกอริทึมและโมเดลจากหลาย ๆ บริษัท และครอบคลุมความต้องการในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งเมื่อผู้ใช้พบสิ่งที่ต้องการจาก Marketplace แล้ว สามารถดีพลอยโดยตรงจากคอนโซลของ SageMaker, Jupyter Notebook, SageMaker SDK หรือ AWS CLI ก็ได้
Amazon เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ AWS Cloud Map เพื่อเป็นเครื่องมือศูนย์รวมสำหรับการดีพลอยแอพพลิเคชั่น โดยจะสามารถตรวจสอบส่วนต่าง ๆ ของแอพ, ตำแหน่งที่อยู่, attribute และสถานะของตัวแอพได้ เพื่อให้เหมาะกับยุคปัจจุบันที่ผู้ใช้มักจะดีพลอยแอพแบบ microservice และมีการปรับเปลี่ยน resource ของระบบบนคลาวด์อยู่เสมอ
AWS Cloud Map สามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน AWS SDK, API หรือแม้กระทั่ง DNS เพื่อค้นพบตำแหน่งที่อยู่ของเซอร์วิสต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นแอพ และจัดเป็นรูปแบบที่สามารถจัดการได้ง่าย ๆ และยังมีการอัพเดตข้อมูล resource ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ในงาน AWS re:Invent ทาง Amazon ได้เปิดตัว AWS DeepRacer รถยนต์ไร้คนขับของเล่น ที่ย่อส่วนด้วยอัตราส่วน 1 ต่อ 18 ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเขียนโปรแกรมเพิ่มความสามารถ Machine Learning ให้ขับเคลื่อนและตัดสินใจได้ในตัวเอง
AWS DeepRacer เป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ มีแบตเตอรี่อยู่ได้ราว 2 ชั่วโมง ส่วนสเป็กฮาร์ดแวร์อื่นนั้น ใช้ซีพียู Intel Atom, ระบบปฏิบัติการ Robot Operating System ของ Ubuntu, กล้อง 4 ล้านพิกเซล, ระบบการมองทำงานบนซอฟต์แวร์ Intel OpenVino และ Wi-Fi 802.11ac
AWS เปิดตัวฐานข้อมูล time series สำหรับข้อมูลที่อิงเวลาเป็นหลัก ในชื่อ Amazon Timestream
บริการ Timestream เป็นฐานข้อมูลแบบ serverless คิดค่าบริการตามพื้นที่ และปริมาณการใช้งาน สามารถใช้คำสั่งวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้ เช่น การทำ graph smoothing, interpolation หรือ approximation
AWS เปิดตัวบริการ AWS Outposts ให้เช่าฮาร์ดแวร์แบบเดียวกับที่ Amazon EC2 ใช้งาน พร้อมทั้งจัดส่งและติดตั้งให้ถึงสถานที่ เพื่อการใช้งานในรูปแบบไฮบริดคลาวด์
การควบคุม AWS Outposts จะมีให้เลือก 2 ลักษณะคือ ควบคุมด้วย EC2 API หรือควบคุมด้วย VMware Cloud ทำให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นที่เขียนไว้สำหรับคลาวด์แล้วได้ทันทีไม่ต้องแก้ไข แนวทางนี้จะคล้ายๆ กับบริการ Azure Stack ของไมโครซอฟท์
Outpost จะเปิดบริการในปีหน้านี้ สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1 เครื่องไปจนถึงเต็มแร๊คและกำหนดประเภทเครื่อง เช่น C5 หรือ M5 ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่มีระบุว่าในแต่ละประเภทจะใช้สเปคใด
ที่มา: AWS Outpost
ร้านค้าออนไลน์ Amazon.com นั้นจะมีการแนะนำสินค้าตามความสนใจโดยใช้ Machine Learning ระบบแนะนำสินค้าหรือ recommender system นี้เป็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมมากเพราะสามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น Netflix เคยมีการจัดประกวด Netflix Prize สำหรับแนะนำภาพยนตร์ที่ผู้ใช้สนใจ หรือใช้ในการหาคู่ก็ได้
ก่อนหน้านี้ AWS มีบริการเก็บข้อมูลบนเครือข่าย network file system (NFS) ชื่อ Amazon EFS ซึ่งเหมาะกับการใช้งานบนลินุกซ์เซิร์ฟเวอร์ทั่วไป เมื่อต้องการแชร์ข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์หลายตัว เพราะใช้โปรโตคอล NFS ที่เป็นมาตรฐานของฝั่งยูนิกซ์อยู่แล้ว
วันนี้ที่งาน AWS re:Invent ทาง AWS ก็ได้เปิดบริการเก็บข้อมูลลักษณะเดียวกันเพิ่มเติม เพื่อเจาะกลุ่มผู้ใช้งานเฉพาะทางมากขึ้น ดังนี้
AWS ประกาศรวม Amazon Glacier บริการแบ็คอัพและเก็บข้อมูลระยะยาวราคาถูก เข้ากับ S3 เป็นบริการเดียวกันเพื่อให้ใช้งานสะดวกขึ้น โดยให้เหตุผลว่าในมุมของผู้ใช้งานก็มอง Glacier เป็นสตอเรจคลาสหนึ่งของ S3 อยู่แล้ว และลูกค้าส่วนใหญ่ของ Glacier ก็แบ็คอัพข้อมูลมาจาก S3 อยู่แล้วเช่นกัน
Amazon Glacier จึงถูกยุบรวมเข้ากับ S3 และใช้ชื่อใหม่ว่า Amazon S3 Glacier ส่วนในแง่การใช้งาน การเรียก API ต่างๆ ยังเหมือนของเดิม ผู้ใช้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
บริการ EC2 เพิ่มฟีเจอร์ hibernation ทำให้สามารถปิดเครื่องโดยเซฟสถานะทั้งหมดไว้ในดิสก์ได้ และสามารถเปิดเครื่องกลับมาโดยสถานะทุกอย่างคงเดิมได้ โดยปีที่แล้ว AWS เปิดฟีเจอร์นี้สำหรับเครื่องแบบ Spot แต่ปีนี้เปิดสำหรับเครื่อง EC2 ปกติแบบ M3, M4, M5, C3, C4, C5, R3, R4, และ R5
เครื่องที่จะใช้งานฟีเจอร์นี้ต้องใช้ Amazon Linux 1 เท่านั้น ส่วน Amazon Linux 2 จะรองรับเร็วๆ นี้ และไม่มีการประกาศถึงลินุกซ์ตัวอื่นๆ แต่อย่างใด
ขณะที่ hibernate ผู้ใช้จะเสียค่าสตอเรจและค่าไอพีต่อไป แต่ไม่เสียค่าเครื่อง
AWS เปิดตัวฟีเจอร์ transaction ของ Amazon DynamoDB ทำให้สามารถพัฒนาแอปทางการเงินบน DynamoDB ได้อย่างเต็มรูปแบบ
การทำ transaction บนฐานข้อมูลเป็นฟีเจอร์สำคัญสำหรับการทำแอปทางการเงิน ตัวอย่างที่สำคัญคือการโอนเงินที่ต้นทางต้องมีเงินเพียงพอสำหรับการโอนเงินออก หากมีการโอนหลายรายการและยอดเงินเกินกว่าที่บัญชีต้นทางมี ต้องมีรายการที่สำเร็จไม่เกินจำนวนเงินต้นทาง
ในบล็อคของ AWS แสดงตัวอย่างของการทำ transaction ว่าจำเป็นต่อการพัฒนาเกมที่มีรายการซื้อขายสินค้า และสินค้าบางชนิดมีจำนวนจำกัด
ที่งาน AWS re:Invent มีการเปิดตัวบริการด้านบล็อคเชน (Blockchain as a Service) 2 ตัว ดังนี้
Amazon Quantum Ledger Database (QLDB) บริการฐานข้อมูลบล็อคเชนแบบมีศูนย์กลาง (centralized) สำหรับการเก็บข้อมูลที่เขียนต่อกันไปเรื่อยๆ (journal) มีความต่อเนื่อง (sequential) แต่ต้องการให้แก้ไขไม่ได้ (immutable) และสามารถยึนยันความถูกต้องของข้อมูลได้ (verifiable) ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล
บริการ QLDB เหมาะกับลูกค้าองค์กร เช่น ระบบ ซัพพลายเชน, ธนาคาร หรือบริษัทประกัน Amazon ระบุว่า QLDB รองรับการสเกลได้ดี ทำงานได้เร็วกว่าซอฟต์แวร์บล็อคเชนในท้องตลาด 2-3 เท่า และรองรับการคิวรีด้วยคำสั่ง SQL ด้วย
DynamoDB บริการฐานข้อมูล NoSQL จาก Amazon ประกาศเพิ่มระบบ on-demand ที่ช่วย scale ฐานข้อมูลตามการใช้งานได้อัตโนมัติ
ปกติแล้วการใช้งาน DynamoDB ผู้ใช้ต้องระบุปริมาณการอ่าน/เขียนข้อมูลสูงสุดต่อวินาทีที่ต้องการ (provisioned) แต่ในโหมด on-demand ที่เพิ่งเปิดตัวนี้ ผู้ใช้งานจะไม่ต้องประเมินปริมาณการใช้งานล่วงหน้า สามารถรองรับโหลดที่พุ่งสูงขึ้นได้ทันที
ผู้ใช้สามารถสลับโหมด provisioned กับ on-demand ได้จากหน้าจอตั้งค่า Capacity
ที่มา: AWS News Blog
Amazon เปิดตัวโครงการโอเพ่นซอร์สใหม่ Firecracker เทคโนโลยี virtualization แบบ kernel-based VM ที่ผู้ใช้สามารถรัน VM ขนาดเล็กหรือ microVM ได้ในเวลาเพียงไม่ถึงวินาที และใช้ทรัพยากรน้อยมาก ทั้งยังมีความปลอดภัยสูง
เทคโนโลยี microVM ของ Firecracker จะใช้ isolation และการป้องกันหลายชั้นเพื่อลดโอกาสการถูกโจมตี แต่ยังคงมีประสิทธิภาพสูง เพราะใช้เวลาในการเริ่มต้นรันเพียง 125 มิลลิวินาที (Amazon บอกว่าจะเร็วกว่านี้อีกในปีหน้า) และใช้เมมโมรี่เพียง 5 MiB ต่อตัว microVM เท่านั้น ทำให้ VM ขนาดเล็กเหล่านี้เหมาะกับการรันเวิร์คโหลดหลายรูปแบบ โดยเฉพาะเวิร์คโหลดที่ใช้เวลาไม่นานนัก หรืองานประเภท serverless เพราะลด overhead ในการรันได้มาก และใช้ทรัพยากรต่ำ
ข่าวที่น่าสนใจจากงาน AWS re:Invent 2018 คือ EC2 เปิดตัวเครื่องประเภท A1 ที่ใช้ซีพียู ARM แถมเป็นซีพียู ARM ที่ Amazon ออกแบบเองทั้งหมดด้วย
AWS ให้ข้อมูลของซีพียูตัวนี้ว่าชื่อ Graviton พัฒนาบนสถาปัตยกรรม ARM และออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนเป็นหลัก (เมื่อเทียบกับ x86) รูปแบบงานที่ AWS แนะนำให้รันบน A1 คืองานที่สามารถแตกเป็นเวิร์คโหลดขนาดเล็กๆ แล้วสเกลตามจำนวนเครื่องได้ เช่น container, microservice, webserver, caching เป็นต้น
ที่งาน re:Invent วันนี้ AWS เปิดตัวบริการ AWS Ground Station ให้บริการสถานีภาคพื้นดาวเทียม พร้อมไฟเบอร์ความเร็วสูงเชื่อมตรงเข้าสู่ศูนย์ข้อมูล AWS ที่ใกล้ที่สุด
กลุ่มลูกค้าของ Ground Station คือผู้ใช้บริการดาวเทียมที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ มาเก็บไว้บนคลาวด์ ปัญหาคือผู้ให้บริการดาวเทียมมักสร้างระบบสถานีของตัวเองที่มีราคาแพงเป็นหลักล้านดอลลาร์ต่อสถานี ทำให้ AWS พยายามหาโซลูชันที่มีราคาถูกกว่า และจ่ายเฉพาะเท่าที่ใช้งาน ไม่ต้องเซ็นสัญญาระยะยาว
Amazon เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ AWS Global Accelerator บริการเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกในการจัดการ route traffic ไปหลาย ๆ region เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการให้บริการกับลูกค้า
AWS Global Accelerator นั้นจะทำการเลือก route traffic ให้โดยขึ้นกับตำแหน่งของผู้ใช้, สถานะของแอพ และน้ำหนักที่ผู้ใช้สามารถคอนฟิกได้ รองรับทั้ง UDP และ TCP โดยเมื่อสร้าง Accelerator แล้ว ผู้ใช้จะได้รับไอพีแอดเดรสแบบ Anycast สองหมายเลขมาด้วย โดยไอพีแอดเดรสนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแม้ว่าจะมีการอัพเดตไคลเอนท์เมื่อแอพต้องการสเกล
Amazon เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ AWS Transit Gateway เพื่อช่วยเป็นเกตเวย์ที่เชื่อมต่อ VPC, ศูนย์ข้อมูล, สำนักงานหรือเกตเวย์ที่อยู่ห่างออกไปได้อย่างง่าย ๆ และช่วยทำให้โครงสร้างเครือข่ายบน AWS ยุ่งยากน้อยลง
Transit Gateway ชูจุดเด่นที่ใช้งานง่าย และสเกลได้สะดวก สามารถเพิ่ม VPC ได้สูงสุดถึง 5,000 VPC ต่อเกตเวย์หนึ่งตัว และส่วนที่มาเชื่อมต่อแต่ละส่วนนั้น ตัวเกตเวย์สามารถจัดการทราฟฟิกได้สูงสุดถึง 50 Gb/s และสามารถเชื่อมต่อ VPN เข้ากับ Transit Gateway ได้ด้วย ส่วนการเชื่อมต่อกับ Direct Connect นั้นมีแผนจะเปิดให้ใช้งานในต้นปีหน้า ซึ่งตัว Transit Gateway รองรับการเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้ใช้รวม edge connectivity ที่มีอยู่เข้าด้วยกัน และ route เป็น ingress/egress เพียงจุดเดียวได้
นอกจาก Firebase ของ Google แล้ว AWS ก็มีบริการคล้ายๆ กันด้วย เรียกว่า AWS Amplify ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว มีบริการ Authentication, Analytics, Storage, Push Notification และ PubSub
และเมื่อคืนนี้ AWS ก็ได้เปิดตัว Amplify Console ซึ่งจะช่วยโฮสต์เว็บไซต์ของเราที่เป็น static page คล้ายๆ กับ Firebase Hosting แต่จะรวมระบบ CI/CD เข้ามาในตัวด้วย ทำให้สามารถ build หน้าเว็บได้ในตัวโดยไม่ต้องพึ่ง CI hosting เจ้าอื่นๆ
ในงาน AWS re:Invent วันนี้ AWS ได้เปิดตัว EC2 instance type ใหม่ดังนี้
ช่วงแรก instance ใหม่นี้ใช้ได้เฉพาะ region N. Virginia, Ohio, Oregon และ Ireland เท่านั้น ยกเว้น P3dn.24xlarge ที่ยังต้องรอประกาศต่อไป
Amazon ประกาศเปิดคอร์สวิชา Machine Learning ที่ใช้เทรนพนักงานภายในบริษัท มาให้คนนอกเรียนกันฟรีๆ ผ่านระบบออนไลน์
คอร์สของ Amazon มีวิชาด้าน Machine Learning ให้เรียนมากกว่า 30 วิชา มีระยะเวลาเรียนรวมกว่า 45 ชั่วโมง และครอบคลุมสายงานหลากหลาย ตั้งแต่ data scientist, data platform engineer, developer รวมถึงผู้บริหารที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในทางธุรกิจ
ตัวอย่างวิชาเรียน มีตั้งแต่พื้นฐานความรู้ เช่น Math for Machine Learning, The Elements of Data Science ไปจนถึงการลองสร้าง AI จริงๆ ด้วยเครื่องมือของ AWS เช่น Amazon Lex หรือ Amazon DeepLens
Amazon เปิดตัวบริการใหม่ชื่อว่า AWS DataSync บริการเพื่อช่วยจัดการซิงค์ข้อมูลปริมาณมากแบบอัตโนมัติ ทั้งเข้าและออก AWS เพื่อรองรับความต้องการหลายอย่าง ทั้งด้านการทำแบคอัพ, อัพโหลดและประมวลผลข้อมูล และอื่น ๆ
สำหรับ AWS DataSync นั้นเป็นบริการโอนย้ายข้อมูลที่ Amazon พัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้งานง่ายทั้งผ่านคอนโซลและ CLI พร้อมทั้งเคลมว่าเร็วกว่าการโอนย้ายข้อมูลโดยใช้ระบบโอนย้ายแบบโอเพ่นซอร์สถึง 10 เท่า และเป็น managed service ที่ Amazon จะจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้
ปกติแล้ว S3 จะมีประเภทการเก็บข้อมูลต่างๆ ตามลักษณะการใช้งาน เช่น ถ้าใช้งานไม่บ่อยก็สามารถเลือกประเภทที่ค่าจัดเก็บถูกลง แต่มีค่าบริการเรียกข้อมูล (retrieval fee) ได้ เช่น S3 Standard-IA หรือ Amazon Glacier ที่เป็นสตอเรจสำหรับเก็บข้อมูลระยะยาว
ล่าสุด AWS เปิดบริการใหม่ S3 Intelligent-Tiering เป็นสตอเรจคลาสใหม่ที่ช่วยให้เราเลือกประเภทการเก็บข้อมูลได้อัตโนมัติ สลับจาก S3 แบบปกติ (frequent access) เป็น S3 แบบเข้าถึงไม่บ่อย (infrequent access) ให้อัตโนมัติ เมื่อสตอเรจแบบปกติไม่ถูกเรียกใช้งานนานกว่า 30 วัน แถมยังไม่เสียค่าเรียกข้อมูล เมื่อมีการเข้าถึงก็จะปรับกลับทันที โดยคิดค่าบริการเพิ่มเติมตามจำนวนไฟล์ที่เก็บไว้
AWS เปิดตัวบริการ AWS Transfer for SFTP สำหรับ S3 โดยสามารถใช้ client SFTP ทั่วๆ ไป เช่น Filezilla หรือ WinSCP อัพโหลดไฟล์ขึ้น S3 ได้เลย
ค่าบริการอยู่ที่ $0.30 ต่อชั่วโมงที่เปิดใช้ และ $0.04 ต่อข้อมูล 1GB ที่ส่งเข้าออก เพิ่มจากค่าบริการของ S3 และ data transfer ตามปกติ
ที่มา: What's new in AWS
Amazon เปิดตัวระบบ Auto Scaling รูปแบบใหม่สำหรับ EC2 นอกจากจะเพิ่มลดเครื่องตามโหลดของระบบแล้ว ยังสามารถใช้ Machine Learning ทำนาย load ในอนาคตล่วงหน้าได้อีกด้วย
การทำงานของ Predictive scaling จะใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ ตั้งจำนวนเครื่องขั้นต่ำที่ต้องเปิดทิ้งไว้ และใช้ autoscaling แบบเดิมเข้ามาช่วยรองรับกรณีที่มี load สูงกว่าปกติ
Predictive scaling ใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากปกติ สามารถใช้ใน region Singapore, North Virginia, Ohio, Oregon, Ireland ได้แล้ว โดยบนคอนโซลจะเป็นเมนู AWS Auto Scaling แยกออกไปจากเมนู EC2 ที่แสดง autoscaling แบบเดิม
ปัญหา Amazon S3 โดนแฮกคอนฟิกผิดจนกระทั่งเปิดออกสู่สาธารณะเป็นปัญหาเรื้อรังที่หลายบริการเจอในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ทาง AWS จะพยายามปรับหน้าจอหรือการแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้รู้ตัวเร็วขึ้นแล้วก็ตาม ตอนนี้ทาง AWS ก็เปิดฟีเจอร์ใหม่ Amazon S3 Block Public Access การตั้งค่าบัญชีไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะได้อีกต่อไป
การปรับค่ามีให้เลือก คือ บล็อคการตั้ง ACL ให้อนุญาตให้คนภายนอกสามารถอ่านและเขียนไฟล์ได้ และบล็อคการตั้ง bucket เป็นสาธารณะ ทั้งสองแบบมีทั้งการบล็อคการสร้างออปเจกต์หรือ bucket ใหม่ในอนาคต และการลบสิทธิ์สาธารณะเดิมที่เคยเปิดไว้
เมื่อสั่งบล็อคแล้ว การสร้าง bucket ใหม่หรือเปิดสิทธิ bucket เดิมให้เป็นสาธารณะก็จะทำไม่ได้อีกต่อไป