Amazon Web Services
ที่งาน AWS Public Sector Summit ที่สิงคโปร์ Tan Kok Yam รองเลขาธิการสำนักงานโครงการ Smart Nation และรัฐบาลดิจิตอลของสิงคโปร์ บรรยายถึงการใช้งานคลาวด์เพื่อสร้างบริการให้กับผู้ใช้ซึ่งมีทั้งประชาชนและบริษัท พร้อมกับเปิดเผยแผนการเปิดบริการใหม่ภายในปี 2020
AWS เปิดให้บริการ Amazon EC2 แบบ G4 พร้อมชิพ NVIDIA อย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับงานด้าน video transcoding, game streaming, remote graphics workstations ไปจนถึงงานประเภท ML, real-time speech และ NLP
สำหรับ Amazon EC2 G4 ทุก instance จะมาพร้อมกับ NVIDIA T4 Tensor Core GPU ซึ่งแต่ละตัวจะมี 320 Turing Tensor cores, 2,560 CUDA cores และเมมโมรี่ 16GB ส่วนซีพียูใช้ Intel Xeon Scalable (Cascade Lake) เจเนอเรชั่นที่ 2 ที่ปรับแต่งเพื่อ AWS โดยเฉพาะ มี 64 vCPU และพัฒนาอยู่บนระบบ AWS Nitro ซึ่งสตอเรจแบบ local NVMe ของ Nitro สามารถใช้กับดิสก์ได้สูงสุดถึง 1.8TB แบบ direct access
ปลายปีที่แล้ว AWS เปิดตัวบริการ Amazon Quantum Ledger Database (QLDB) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลบล็อคเชนแบบ centralized ที่ Amazon ออกแบบเอง สำหรับข้อมูลที่ต้องเขียนต่อกันไปเรื่อยๆ (journal) แต่ไม่ต้องการให้แก้ไขได้ (immutable) และสามารถนำมาตรวจสอบยืนยันได้ เหมาะสำหรับงานเก็บข้อมูลธุรกรรมของวงการต่างๆ เช่น การเงิน ประกันภัย การผลิต ฯลฯ
Amazon QLDB เป็นบริการแบบ fully managed คือผู้ใช้ไม่ต้องสร้างเครื่องเอง (serverless) ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เอง จ่ายเงินอย่างเดียวก็เข้ามาเชื่อมต่อเก็บข้อมูลง QLDB ได้เลย โดย Amazon การันตีว่ามันมีความสามารถในการสเกลสูง และรองรับปริมาณธุรกรรมได้สูงกว่าซอฟต์แวร์บล็อคเชนในท้องตลาด 2-3 เท่าตัว
Amazon Rekogntion บริการวิเคราะห์ภาพของ AWS เพิ่มฟีเจอร์ย่อยคือการจับอารมณ์ของคนในภาพ
ตอนนี้บริการจับอารมณ์ได้ 8 แบบ ได้แก่ มีความสุข, เศร้า, โกรธ, สับสน, ขยะแขยง, ตกใจ, สงบนิ่ง, และกลัว โดยแสดงค่าความมั่นใจจาก 0 ถึง 100
ทาง AWS เตือนว่าฟีเจอร์นี้วิเคราะห์จากใบหน้าเท่านั้น ไม่สามารถแสดงอารมณ์ภายในที่ซ่อนไว้ใต้ใบหน้าเช่นคนฝืนยิ้มแต่เศร้า
AWS ประกาศอัพเกรดเวอร์ชันของ Elasticsearch บนบริการ Amazon Elasticsearch Services เป็นเวอร์ชัน 6.8 และ 7.1
ความสำคัญของการอัพเกรดเวอร์ชันครั้งนี้คือ Elasticsearch 6.8 ถือเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของสาย 6.x และเป็นเส้นทางอัพเกรดไปสู่สาย 7.x โดย AWS แนะนำว่าเวอร์ชัน 7.1 มีเสถียรภาพมากพอแล้วสำหรับการใช้งานจริง (Elasticsearch เวอร์ชันล่าสุดคือ 7.3 ที่เพิ่งออกเมื่อไม่กี่วันก่อน)
AWS ยังมีดิสโทร Elasticsearch เวอร์ชันของตัวเองชื่อ Open Distro for Elasticsearch ที่เพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยฝั่งองค์กร, ฟีเจอร์การแจ้งเตือน และรองรับคิวรี SQL เข้ามาด้วย
ทุกคนต่างรู้กันดีว่าการเปิด S3 เป็น public เป็นหนึ่งในสาเหตุของข้อมูลหลุดหลายครั้ง จนสุดท้าย AWS ต้องออก Block Public Access ไม่ให้เปิด S3 เป็นสาธารณะตลอดไป แต่จริง ๆ แล้วคลาวด์มีส่วนประกอบจำนวนมาก ดังนั้น S3 จึงไม่ใช่อย่างเดียวที่คนใช้งานจะพลาดในด้านความปลอดภัย
Ben Morris นักวิเคราะห์ความปลอดภัยอาวุโสจาก Bishop Fox ระบุว่า snapshot ของ EBS คือสิ่งหนึ่งที่ถูกละเลยความปลอดภัย เพราะตัว snapshot เก็บข้อมูลทุกอย่างของแอปบนคลาวด์ แต่กลับมีคนปล่อยเป็นสาธารณะ
Amazon เข้าซื้อบริษัท E8 Storage สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลจากอิสราเอล เพื่อนำคนของบริษัทมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีให้กับบริการคลาวด์ AWS
E8 Storage จะเน้นพัฒนาฮาร์ดแวร์แบบแฟลชสตอเรจสำหรับองค์กรและ software-defined cloud ซึ่ง E8 ระบุว่าฮาร์ดแวร์ของบริษัทให้ประสิทธิภาพสูงกว่า all-flash-arrays อื่น ๆ สูงสุดถึง 10 เท่า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้ประสิทธิภาพที่แน่นอนรวมถึงมี latency ต่ำ
บริษัท E8 Storage เป็นสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งในปี 2014 และในปี 2016 บริษัทระดมทุนได้ถึง 12 ล้านดอลลาร์ โดยมีผู้ลงทุนได้แก่ Accel, Magma Venture Partners และ Vertex Ventures
หลังการเข้าซื้อบริษัท Amazon จะนำทีมและเทคโนโลยีไปรวมกับศูนย์พัฒนาของ AWS ที่ Tel Aviv
Amazon ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Polly บริการแปลงข้อความเป็นเสียงหรือ Text-To-Speech สองอย่าง คือระบบเสียงแบบ Neural Text-To-Speech และสไตล์การพูดแบบพูดประกาศข่าว
สิ่งแรกคือ Neural Text-To-Speech โดย Amazon ได้นำ machine learning มาเพิ่มคุณภาพให้เสียงสังเคราะห์ ทำให้เสียงรูปแบบใหม่ฟังดูเป็นธรรมชาติและใกล้เคียงกับเสียงของมุษย์มากยิ่งขึ้น
ตอนนี้ Neural Text-To-Speech รองรับ 11 เสียง ทั้งในรูปแบบเรียลไทม์และ batch ได้แก่
Amazon เปิดตัว AWS Chatbot สำหรับใช้ส่งข้อมูลเข้าไปในห้องแชทของ Slack หรือ Amazon Chime โดยแชทบอทนี้เน้นการใช้งานประเภทแจ้งเตือนหรือส่งข้อมูลเกี่ยวกับ AWS resouces ต่าง ๆ
บอทของ AWS ใช้ Amazon SNS ในการส่งข้อมูล ดังนั้นตัวระบบจึงสามารถอินทิเกรตกับบริการใด ๆ บน AWS ก็ได้ ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะ CloudWatch, Heatlh, Budgets, Security Hub, GuardDuty และ CloudFormation ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ทั้งหมด แต่ก็ครอบคลุมระบบพื้นฐานซึ่งเพียงพอต่อการมอนิเตอร์ระบบในระดับหนึ่ง
Amazon รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสล่าสุด ไตรมาสที่ 2 ปี 2019 มียอดขายรวม 63,404 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 20% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2,625 ล้านดอลลาร์
AWS ยังคงเป็นเครื่องจักรเงินสดและสร้างกำไรให้ Amazon โดยมีรายได้เฉพาะส่วนนี้ 8,381 ล้านดอลลาร์ และกำไรจากการดำเนินงาน 2,121 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Jeff Bezos กล่าวว่าบริษัทได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าสมาชิก Prime ในการประกาศจัดส่งสินค้าภายใน 1 วัน และเห็นยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น โดยตอนนี้มีสินค้ากว่า 10 ล้านรายการที่รองรับการจัดส่งภายใน 1 วัน และนี่เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้น เขายังขอบคุณทีมงานที่ร่วมกันทำให้ชีวิตลูกค้าง่ายขึ้น
Amazon ได้ประกาศให้ Aurora Serverless ระบบฐานข้อมูลแบบสเกลตัวเองอัตโนมัติตามการใช้งานบน PostgreSQL เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ ตามหลังจากเวอร์ชัน MySQL ที่เข้าสู่สถานะ GA เมื่อปีที่แล้ว
วิธีใช้ Amazon Aurora Serverless ผู้ใช้จะต้องตั้งค่าความจุสูงสุดและต่ำสุด ส่วนไคลเอนท์จะเชื่อมต่อเข้าสู่ proxy ซึ่งจะ route เข้าไปยังเวิร์คโหลดด้านหลังที่สเกลได้ตามปริมาณโหลดที่เข้ามา ซึ่ง Amazon เคลมว่าการสเกลจะไวมากเพราะมีกลุ่มทรัพยากรที่เป็น warm pool ที่เมื่อต้องการใช้งานก็พร้อมเสียบทันที
AWS ประกาศว่า Security Hub บริการเพื่อตรวจสอบด้านความปลอดภัยของ resource ต่าง ๆ บนคลาวด์ และรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในพื้นที่เดียวเพื่อความง่ายในการตรวจสอบ ได้เข้าสู่สถานะ GA พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว
Security Hub นี้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ด้านความปลอดภัย เนื่องจากนักพัฒนามักจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และบ่อยครั้งอาจคอนฟิกระบบพลาดจนทำให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่สำคัญ ซึ่ง Security Hub จะมีคอนฟิกที่คอยตรวจสอบ resource บนคลาวด์ให้อัตโนมัติตามมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า resource ต่าง ๆ จะเป็นไปตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้
AWS เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ภายใต้ System Manager ในชื่อว่า OpsCenter เพื่อทำให้ผู้ใช้ทำงาน IT Operation ได้สะดวกขึ้น เป็นพื้นที่เดียวที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา, เหตุการณ์ และการแจ้งเตือนต่าง ๆ ของเซอร์วิสหลายอย่างบน AWS ไว้ด้วยกัน
ภายใน OpsCenter นี้ จะมี OpsItem ซึ่งก็คือปัญหา, เหตุการณ์ และการแจ้งเตือนต่าง ๆ โดยในคอนโซลนี้จะข้อมูล, คำแนะนำ และโซลูชั่นแบบรวดเร็วให้ เพื่อลดเวลาในการแก้ปัญหา และทำให้วิศวกรทำงานง่ายขึ้นด้วยการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาไว้ที่เดียวกัน โดย OpsCenter สามารถใช้งานได้ทั้งผ่านหน้าคอนโซลของ System Manager หรือ System Manager OpsCenter API
AWS เปิดตัว VPC Traffic Mirroring ฟีเจอร์ใหม่เพื่อการตรวจสอบทราฟฟิกเครือข่ายบน Virtual Private Cloud และเปิดให้ทดลองใช้งานแบบเบต้าแล้ว
VPC Traffic Mirroring สามารถสั่งแยกทราฟฟิกที่สนใจออกมาจากเวิร์คโหลดใด ๆ ใน VPC และ route ไปยังเครื่องมือที่ต้องการได้ เพื่อความรวดเร็วในการวิเคราะห์และจัดการปัญหา รวมถึงใช้เพื่อดูสภาพเครือข่ายและการควบคุมในระบบได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้มีข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น
AWS IoT Greengrass ประกาศรองรับ OpenWRT อย่างเป็นทางการ หลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมารองรับ Ubuntu เพิ่มเติมไปแล้ว การรองรับ OpenWRT จะทำให้ Greengrass ทำงานในอุปกรณ์ขนาดเล็กลงได้
Greengrass เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับรันโค้ด AWS Lambda บนอุปกรณ์ของลูกค้า การที่อุปกรณ์ขนาดเล็กรองรับ Greengrass จะทำให้ในอนาคตเราจะมีอุปกรณ์ IoT เช่น กล้องวงจรปิด ที่สามารถตัดสินใจเบื้องต้นได้เอง หรือบันทึกข้อมูลเมื่อถึงเงื่อนไขที่ระบุ
Amazon ประกาศเพิ่มตัวเลือกให้เครื่อง EC2 C5 ซึ่งเป็นเครื่องประเภทที่นิยมใช้ในงานที่ต้องการการคำนวณปริมาณมาก โดยเพิ่มตัวเลือกขนาด instance อีกสองแบบ คือ 12xlarge และ 24xlarge พร้อมกับตัวเลือกเครื่องแบบ bare metal ซึ่งเครื่องทั้งหมดรันบนซีพียู Intel Xeon Scalable รุ่นที่สอง โค้ดเนม Cascade Lake
สำหรับเครื่อง c5.12xlarge มี logical processor ทั้งหมด 48 ตัว, เมมโมรี่ 96GiB, แบนด์วิดท์แบบ EBS-Optimized 7Gbps และแบนด์วิดท์สำหรับเครือข่าย 12Gbps
Amazon Lightsail เป็นบริการของ AWS ที่ช่วยให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงบริการคลาวด์ได้ง่ายขึ้น เช่นการสร้างเว็บบน WordPress แต่ในการใช้งานจริงๆ การดูแลเว็บมีกระบวนการต้องดูแลมากกว่านั้น เช่นการจัดการสำรองข้อมูลเว็บ, อัพเดตซอฟต์แวร์และปลั๊กอินต่างๆ, ไปจนถึงการจัดการ SEO ตอนนี้ทาง AWS ก็ร่วมมือกับ GoDaddy มาให้บริการเสริมส่วนที่ AWS ไม่ได้ทำให้แล้ว
การร่วมมือครั้งนี้ลูกค้า AWS จะสามารถใช้ Lightsail สร้าง WordPress Bundle เพื่อสร้างเว็บและใช้บริการ GoDaddy Pro Sites ได้ด้วย โดยบริการ Pro Sites จะดูแลตั้งแต่การอัพเดตทั้งตัวเว็บ ธีม และปลั๊กอิน, การสร้างไฟล์สำรอง, มอนิเตอร์ประสิทธิภาพเว็บ, และการปรับปรุง SEO
ที่ประชุมผู้ถือหุ้น Amazon ลงคะแนนเสียงต่อมติอนุญาตให้บริษัทขายเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า (Amazon Rekognition) ให้กับหน่วยงานรัฐบาลต่อไป หลังจากมีผู้ถือหุ้นกลุ่มหนึ่งนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมได้สำเร็จ
Amazon Rekognition เป็นเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าที่เริ่มจากบริการตรวจจับหาใบหน้าคนดัง และยังสามารถใส่ฐานข้อมูลใบหน้าลงไปได้เอง ทำให้หน่วยงานรัฐสามารถตรวจจับบุคคลผู้อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษเพื่อติดตามตัวได้ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีกลุ่มตรวจจับใบหน้าถูกวิจารณ์ว่าอาจเป็นเครื่องมือให้หน่วยงานรัฐจับตามองกลุ่มผู้เห็นต่าง เช่นกูเกิลเองก็ยังไม่มีบริการนี้เพราะกังวลต่อเนื่องนี้
เมื่อปลายปีที่แล้ว AWS เปิดตัว Ground Station บริการให้เช่าสถานีภาคพื้นสำหรับรับข้อมูลจากดาวเทียมส่งเข้าคลาวด์ หลังจากเปิดให้บริการแบบพรีวิวมาสักระยะ วันนี้ AWS Ground Station ก็ได้เข้าสู่สถานะ GA แล้ว
วิธีใช้ AWS Ground Station ผู้ใช้จะต้องเพิ่มดาวเทียมเข้าไปในบัญชี AWS โดยจะต้องให้ NORAD ID และข้อมูลอื่น ๆ และใช้เวลารอตามกระบวนการ 2 วัน จากนั้นให้เลือกสถานีภาคพื้นที่จะรับข้อมูลจากดาวเทียม โดยการเลือกสถานีจะต้องขึ้นกับวงโคจรของดาวเทียมและเวลาที่จะรับข้อมูล
Amazon ประกาศปรับวิธีคิดเงินระบบ AWS Config ซึ่งเป็นระบบที่รวมการตั้งค่าทั้งที่ AWS กำหนดให้และการตั้งค่าแบบที่ผู้ใช้กำหนดเอง จากเดิมที่คิดเงินจากจำนวนคอนฟิกที่แอคทีฟ มาเป็นการคิดตามจำนวนครั้งในรันคอนฟิกแทน โดยจะมีผลในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
การคิดเงินแบบใหม่นี้ จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีคอนฟิกจำนวนมากประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะผู้ใช้ AWS มักจะมีคอนฟิกสำหรับตรวจสอบว่าทรัพยากรต่าง ๆ ที่รันอยู่บน AWS เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้หรือไม่ และถ้าไม่เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้จะทำอะไร (เช่น ไม่อนุญาตให้สร้างถ้าไม่มีแท็กบางอย่าง เป็นต้น)
หลังโครงการ Kubernetes ออกเวอร์ชัน 1.14 ที่รองรับ Windows container เต็มตัว เมื่อปลายเดือนมีนาคม
ทางดิสโทร Kubernetes ต่างๆ ก็เริ่มนำเวอร์ชัน 1.14 ไปใช้งาน โดยเฉพาะ Kubernetes บนคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็น Azure Kubernetes Service (AKS), Amazon EKS และ Google Kubernetes Engine (GKE) ทำให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ เริ่มรองรับ Windows container กันตามมาด้วย
แต่ด้วยรอบการออกรุ่นใหม่ของ Kubernetes ทุก 3 เดือน อีกทั้งออกรุ่นย่อยที่เป็น point releases บ่อยๆ ทำให้ดิสโทรเหล่านี้เริ่มตามไม่ทัน อีกทั้งยังต้องซัพพอร์ตลูกค้าองค์กรที่ต้องการเสถียรภาพมากกว่าฟีเจอร์ใหม่ๆ ทางออกจึงเป็นการแยก release channel แบบที่เราคุ้นเคยกับ Chrome
ข่าวช็อควงการเกมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือ Sony และ Microsoft ประกาศความร่วมมือพัฒนาเกมบนคลาวด์ร่วมกัน ทั้งที่เป็นคู่แข่งกันมายาวนานในอุตสาหกรรมเกมคอนโซล
ล่าสุดเริ่มมีรายละเอียดเบื้องหลังข้อตกลงนี้ออกมา โดย Bloomberg รายงานจากแหล่งข้อมูลวงในว่าทั้งสองบริษัทเริ่มเจรจากันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยผู้เจรจาฝั่ง Sony คือทีมบริหารของบริษัทแม่ ไม่ใช่ทีม PlayStation ที่ไม่รู้ข้อมูลของดีลนี้เลยจนกระทั่งแถลงข่าว
ตามข่าวยังบอกว่าดีลนี้สร้างความตื่นตระหนกให้พนักงานฝ่าย PlayStation อย่างมาก ถึงขั้นว่าผู้บริหารของทีมต้องเข้ามาให้คำมั่นว่า ดีลไม่กระทบต่อโครงการพัฒนา PS5 ที่กำลังเดินหน้าอยู่ในตอนนี้
Amazon ได้เปิดตัว Managed Blockchain บริการเพื่อการทำบล็อกเชนบนคลาวด์ AWS ไปแล้วตั้งแต่งาน re:Invent 2018 ซึ่งหลังจากพรีวิวมาระยะเวลาหนึ่ง วันนี้ AWS ประกาศว่า บริการ Amazon Managed Blockchain เข้าสู่สถานะ GA พร้อมสำหรับการใช้งานบนโปรดักชั่น
สำหรับการใช้งาน Managed Blockchain นั้น สามารถเข้าใช้ได้ผ่านคอนโซล, CLI หรือ API เพื่อตั้งค่าเครือข่ายบล็อกเชนข้ามบัญชี AWS โดยใช้คำสั่งง่าย ๆ รองรับทั้ง Ethereum และ Hyperledger Fabric รวมถึงหากมีสมาชิกใหม่เข้ามาในเครือข่าย ก็สามารถตั้งค่าโหนดเพื่อทำการประมวลผลและเก็บสำเนา ledger ได้ง่าย ๆ
จากรายงานเมื่อต้นสัปดาห์ว่า แอปเปิลจ่ายค่าบริการคลาวด์ AWS เดือนละ 30 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่แล้ว ก็มีรายงานที่แย้งกันออกมาจาก The Information
ข้อมูลจาก The Information ระบุว่า ในปีที่แล้ว 2018 แอปเปิลจ่ายเงินให้ AWS ตลอดทั้งปี 370 ล้านดอลลาร์ หรือราว 30 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน แต่ตัวเลขในปี 2017 แอปเปิลจ่ายเงินถึง 775 ล้านดอลลาร์ เท่ากับปี 2018 นั้น แอปเปิลจ่ายเงินค่าคลาวด์ AWS ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ไม่ได้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างรายงานก่อนหน้านี้ ทั้งยืนยันว่าแอปเปิลมีทิศทางชัดเจนว่าต้องการให้ iCloud เปลี่ยนมาใช้ศูนย์ข้อมูลของแอปเปิลให้มากที่สุด
AWS ประกาศเปิด Region ใหม่บนเกาะฮ่องกง นับเป็น AWS Region ที่ 8 ในเอเชียแปซิฟิก โดยฮ่องกงจะมีทั้งหมด 3 Availability Zone
การเปิด Region ในฮ่องกงครั้งนี้จะชนกับ Alibaba Cloud และ Tencent Cloud ที่มีส่วนแบ่งในพื้นที่ค่อนข้างเยอะ โดย Werner Vogels ซีทีโอของ Amazon ระบุว่าการเปิด Region ในฮ่องกง จะช่วยลดความหน่วงที่ลูกค้าจะต้องเชื่อมต่อไปยังโตเกียวหรือสิงคโปร์ จาก 100ms เหลือเพียง 10ms ขณะที่ลูกค้า AWS รายใหญ่ๆ ในฮ่องกงก็ค่อนข้างเยอะด้วยเช่นกัน