แอปเปิลประสบความสำเร็จกับการขอให้ศาลสั่งแบน Galaxy Tab ในเยอรมนีและออสเตรเลีย (ออสเตรเลียสั่งเลิกแบนแล้ว) แต่คดีในสหรัฐอเมริกากลับได้ผลออกมาตรงข้าม
ดีลใหญ่ของปีนี้อย่าง การควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่าง AT&T และ T-Mobile ที่ราคากว่า 39 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐจากบริษัทแม่ Deutsche Telekom ประเทศเยอร์มนี เป็นอันต้องสิ้นสุดลงแล้ว
แต่ก่อนอ่านข่าวนี้... ขอให้ย้อนอ่านข่าวเก่าที่กระทรวงยุติธรรม และ FCC (กสทช. ของสหรัฐฯ) ออกมาเบรคพร้อมแสดงความเห็นว่า ไม่ปลื้มก่อนนะครับ
บริษัทวิจัย Strategy Analytics ออกรายงานฉบับใหม่ ประเมินว่ายอดขายสมาร์ทโฟนในประเทศจีน เฉพาะไตรมาสที่สามของปี 2011 อยู่ที่ 23.9 ล้านเครื่อง แซงหน้าสหรัฐอเมริกา 23.3 ล้านเครื่องไปเรียบร้อยแล้ว
ปัจจัยสำคัญย่อมมาจากประชากรจีนที่เยอะกว่าสหรัฐมาก และตลาดโทรคมนาคมในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ถ้าเรานับมือถือทุกชนิด (ไม่ใช่เฉพาะสมาร์ทโฟน) จีนน่าจะมีคนใช้มือถือแตะ 1 พันล้านคนในเดือนพฤษภาคม 2012
ผู้ขายสมาร์ทโฟนรายใหญ่ในจีนคือโนเกีย (6.8 ล้านเครื่องในไตรมาสที่สาม) และซัมซุง (4.2 ล้านเครื่อง) ซึ่งทั้งสองค่ายมีส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนรวมกัน 46.1%
ข่าวนี้ต่อเนื่องจากข่าวแฮกเกอร์เจาะระบบ SCADA แล้วทำลายปั๊มน้ำไป มาวันนี้กระทรวงความมั่นคง (Department of Homeland Security - DHS) และ FBI ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีหลัก
Dominos Pizza ได้เปิดตัวแคมเปญการตลาดใหม่บนไอแพ็ด ด้วยการเปิดตัวเกม Dominos Pizza Hero ซึ่งผู้ใช้ในสหรัฐฯ สามารถดาวน์โหลดได้แล้วในวันนี้ โดยเกมดังกล่าวจะให้ผู้เล่นทำพิซซ่าแข่งกับเวลาหรือกับผู้เล่นอื่น รวมไปถึงมีการให้แต้มก็จะให้ตามคุณภาพของพิซซ่าที่ทำ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อผู้เล่นทำพิซซ่าตัวเองในเกมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่นสามารถที่จะกดปุ่ม "Make an Order" เพื่อที่จะสั่งพิซซ่าที่ตัวเองเพิ่งทำไปให้ร้าน Dominos Pizza ที่อยู่ใกล้ที่สุดมาส่งถึงบ้าน เพียงแต่ว่าตัวแทนของ Dominos ก็ได้ออกมาบอกว่าข้อจำกัดของพิซซ่าที่ส่งถึงบ้านก็มีอยู่ คือพวกเขาไม่สามารถทำพิซซ่าออกมาตามรูปร่างของพิซซ่าในเกมได้ (เช่นพิซซ่ารูปโลโก้แอปเปิลเป็นต้น)
เราเคยได้ยินประเด็นความปลอดภัยของระบบ SCADA มาหลายครั้งนับแต่นักวิจัยชาวรัสเซียออกเตือนเรื่องช่องโหว่ และการพบหน้าเว็บควบคุมระบบ SCADA ในเสิร์ชเอนจินต์ แต่ครั้งล่าสุดแฮกเกอร์ก็สามารถเข้าควบคุมปั๊มน้ำของเมืองสปริงฟิลด์ รัฐอิลลินอยส์ได้เป็นผลสำเร็จ และสั่งเปิดปิดปั๊มสลับไปมาจนกระทั่งปั๊มเสียหาย
กฎหมาย Stop Online Piracy Act (SOPA) เป็นกฏหมายที่ให้อำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บไซต์ด้วยเหตุผลจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายฉบับนี้ให้อำนาจรัฐไว้กว้างมากถึงขนาดที่สามารถห้ามการ "ลิงก์" ไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ภายใต้กฏหมายนี้ ให้อำนาจไว้กับรัฐและเอกชนไว้สามส่วนใหญ่ๆ
ปัญหา IPv6 เรื่องใหญ่คือการบรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนมากไม่กล้าที่จะให้บริการเต็มรูปแบบเพราะกลัวจะเจอปัญหา แต่วันนี้ทาง Comcast ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ก็ประกาศปล่อย IPv6 แล้ว
การเริ่มใช้งาน IPv6 ในช่วงเวลานี้ชัดเจนว่าเราไม่สามารถใช้งานเฉพาะ IPv6 กับลูกค้าตามบ้านได้ เพราะอุกรณ์จำนวนมากยังไม่รองรับ แต่ Comcast ก็ใช้เทคนิค native dual stack คือปล่อยหมายเลขไอทีทั้งแบบ IPv4 และ IPv6 ไปพร้อมกันแล้วให้ลูกค้าเลือกใช้กันเอง
การประกาศใช้ IPv6 นี้เป็นการแสดงท่าทีของ Comcast ไปพร้อมกันว่าทาง Comcast จะไม่ยอมแก้ปัญหาหมายเลขไอพีไม่พอด้วย NAT
ที่มา - Comcast
สถิติสมาร์ทโฟนสหรัฐจากบริษัท comScore รอบระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2011 ภาพรวมของอันดับแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนยังเหมือนเดิม
อันดับหนึ่ง Android เพิ่มส่วนแบ่งตลาดขึ้นอีกหน่อยเป็น 44.8% อันดับสอง iOS อยู่ที่ 27.4% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน
ส่วนอันดับที่เหลือส่วนแบ่งตลาดลดลงทั้งหมด อันดับสาม BlackBerry 18.9% อันดับสี่ Windows Phone 5.6% และอันดับห้า Symbian 1.8%
ตลาดสมาร์ทโฟนของสหรัฐโตขึ้น 12% จากรอบสามเดือนก่อนหน้า
ที่มา - comScore
อันนี้เป็นความคืบหน้าของคดีแอปเปิลฟ้องซัมซุงในสหรัฐ (อ่านแล้วต้องแยกดีๆ ครับ สองค่ายนี้ฟ้องคดีในหลายประเทศ) วันพิจารณาคดีอย่างเป็นทางการจะเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2012 ซึ่งระหว่างนี้ก็อยู่ในช่วงสืบพยานต่างๆ
ฝ่ายซัมซุงเสนอให้เชิญพนักงานและอดีตพนักงานของแอปเปิล 4 คนที่มีส่วนร่วมในการออกแบบ iPhone ได้แก่ Jonathan Ive, Douglas Satzger (ปัจจุบันคาดว่าอยู่กับ HP), Shin Nishibori, Christopher Stringer มาให้การในฐานะพยาน ในการไต่สวนวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้
แต่ทั้ง 4 รายไม่สะดวกจะมาให้การในวันที่ 1 พฤศจิกายน ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ซัมซุงจึงขอเลื่อนเวลาเชิญมาให้การออกไปอีก
ชื่อของ Jonathan Ive คงไม่ต้องพูดถึงกันอีก ส่วนอีก 3 คนที่เหลือก็อ่านประวัติกันเองตามลิงก์ครับ
สงครามการชิงตลาดบริการระดับองค์กรระหว่างกูเกิลกับไมโครซอฟท์มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหม่ เมื่อการสเปคการจัดซื้อของกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้บริการอีเมลในกลุ่มเมฆแทนการตั้งเซิร์ฟเวอร์ด้วยตัวเองเมื่อปีที่แล้ว จนตอนนี้แต่ระบุในสเปคว่าต้องใช้ระบบของไมโครซอฟท์เท่านั้นจนกระทั่งกูเกิลฟ้องร้อง และเพิ่งได้ข้อสรุปเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อวันที่ 28 ที่ผ่านสเปคใหม่ก็ออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว
NYSE Technology บริษัทในเครือตลาดหุ้นนิวยอร์ค (New York Stock Exchange - NYSE) ได้เปิดโครงการ OpenMAMA ซึ่งเป็นโปรโตคอลการส่งข้อความระหว่างระบบ
MAMA เป็นโปรโตคอลที่ NYSE ใช้ในการส่งข้อมูลกับลูกค้าอยู่ก่อนแล้ว การเปิดซอร์สของไลบรารีสำหรับส่งข้อมูลด้วยโปรโตคอล MAMA จะทำให้นักพัฒนาภายนอกรวมถึงตลาดอื่นๆ นอกจาก NYSE สามารถพัฒนาระบบที่ใช้โปรโตคอลเดียวกันได้ ทำให้ลดเวลาการพัฒนาลง
ตัว OpenMAMA มีไลบรารีให้เลือกใช้งานสามกลุ่มคือ C/C++, Java (ผ่าน JNI), และ .NET ส่วนเซิร์ฟเวอร์นั้นตอนนี้ทาง NYSE Technology มีขาย แต่ถ้าโปรโตคอลนี้ได้รับความนิยม อนาคตเราน่าจะหาเซิร์ฟเวอร์ฟรีกันได้ไม่ยาก
ช่วงสองปีมานี้คนไทยเริ่มได้รู้จักกับบริการโทรศัพท์มือถือแบบที่ผู้ให้บริการไม่มีเครือข่ายของตัวเอง (Mobile Virtual Network Operator - MVNO) โดยเฉพาะผู้เช่าโครงข่ายจาก TOT3G ตอนนี้ที่มีหลายเจ้า แต่บริการ Republic Wireless อาจจะเป็นแนวคิดอีกแบบที่เราจะเห็นภาพมากขึ้นว่า MVNO นั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง
Republic Wireless เป็นบริการโทรศัพท์ไร้สายแบบ "ลูกผสม" คือเป็นทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์ผ่านไอพีและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือไปพร้อมๆ กัน โดยผู้ใช้จะต้องใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์รุ่นพิเศษของบริษัท ตัวเครื่องจะพยายามทำงานผ่านเครือข่าย Wi-Fi ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มันสามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์ปรกติและ SMS
หลังจากมีข่าวไปก่อนหน้านี้ว่า Windows Phone จากโนเกียจะไม่ถูกขายในสหรัฐฯ
Stephen Elop ซีอีโอของโนเกียได้พูดบนเวทีในงาน Nokia World ที่ใช้เปิดตัว Lumia 800 และ 710 ว่าโนเกียพร้อมที่จะทำตลาดมือถือตระกูล Lumia ในสหรัฐช่วงต้นปีหน้า และในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ภายในครึ่งแรกของปีหน้า
สำหรับสาเหตุยังไม่มีใครทราบได้ แต่ Elop ได้บอกอีกว่าโนเกียต้องการที่จะผลิตมือถือที่รองรับเครือข่าย LTE และ CDMA เพื่อที่สนองความต้องการของตลาดในแต่ละตลาด และนี่อาจจะเป็นช่วงเวลาที่โนเกียจะได้กลับมาร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในสหรัฐอีกครั้ง
ที่มา - ThisIsMyNext
ถึงแม้ iPhone 3GS จะตกรุ่นไปแล้วสองรอบ แต่มันก็มีฟีเจอร์สำคัญที่ iPhone รุ่นหลังไม่สามารถต่อกรได้แม้แต่น้อย นั่นคือ "ราคา" ที่ "ฟรีแบบติดสัญญา" ในสหรัฐอเมริกา
ในงานแถลงผลประกอบการประจำไตรมาสที่สามของ AT&T เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Ralph de la Vega ซีอีโอของ AT&T ได้ตอบคำถามนักลงทุน และเผยข้อมูลว่า iPhone 3GS ยังได้รับความนิยมสูงมาก (เขาใช้คำว่า "tremendous demand") ทาง AT&T ไม่ได้เปิดเผยตัวเลข แต่บอกว่าลูกค้าหน้าใหม่ที่มาใช้ iPhone 3GS บนเครือข่าย AT&T มีเยอะกว่ามือถถือเครื่องอื่นๆ และตอนนี้ iPhone 3GS ของ AT&T ก็หมดสต๊อกไปเรียบร้อยแล้ว
สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เปิดเผยข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า ขณะนี้ Internal Revenue Service (IRS) หรือกรมสรรพากรของสหรัฐฯ กำลังตรวจสอบกูเกิลอย่างไม่เป็นทางการว่าเข้าข่ายหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีเงินได้โดยการโยกย้ายผลกำไรไปยังบริษัทในเครือในต่างประเทศหรือไม่ แหล่งข่าวระบุว่า IRS ได้แจ้งให้กูเกิลนำส่งข้อมูลดีลที่เกิดขึ้นในต่างประเทศหลังจากการเข้าซื้อกิจการจำนวนสามครั้งที่ผ่านมา ซึ่งก็รวมถึงดีลซื้อ YouTube ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.65 พันล้านดอลลาร์ด้วย
คดีการจัดซื้อบริการส่งข้อความ (บริการอีเมล) ของกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ทำให้กูเกิลและไมโครซอฟท์ประกาศสงครามระหว่างกันอย่างเป็นทางการ มาวันนี้กูเกิลได้ถอนฟ้องคดีนี้แล้ว เรื่องน่าแปลกใจคือกูเกิลให้เหตุผลว่ากระทรวงมหาดไทยสัญญาว่าจะทบทวนกติกาการจัดซื้อเสียใหม่เพื่อให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม แต่ทนายของกระทรวงมหาดไทยกลับระบุว่าไม่ได้ทำข้อตกลงอะไรเช่นนั้นกับกูเกิล
คำตัดสินครั้งสุดท้ายของคดีนี้คือศาลได้ "คุ้มครองชั่วคราว" ให้หยุดกระบวนการประมูลเอาไว้ ทำให้ไม่สามารถประกาศผลผู้ชนะประมูลได้
ถึงแม้ Verizon จะมีสายสัมพันธ์ทางธุรกิจกับแอปเปิลในการขาย iPhone แต่ในคดีที่แอปเปิลฟ้องศาลในสหรัฐ ขอให้ห้ามนำเข้าสินค้าของซัมซุงไปขายสหรัฐ ทาง Verizon ได้ขอให้ศาลปฏิเสธคำขอนี้
เหตุผลสำคัญก็เพราะผลิตภัณฑ์ของซัมซุงที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย 4G LTE ของ Verizon ได้นั่นเอง เช่น Infuse 4G, Galaxy S 4G, Droid Charge, Galaxy Tab 10.1
Verizon นั้นลงทุนในเครือข่าย 4G LTE ไปมาก แต่ยังประสบปัญหาว่าไม่ค่อยมีอุปกรณ์ที่รองรับ 4G LTE ในตลาดมากเท่าไรนัก ถ้าสินค้า 4G ของซัมซุงโดนสั่งแบนก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก
ทั้งหมดคือเหตุผลของ Verizon ส่วนแอปเปิลหรือใครจะมองว่า Verizon นั้น "รับงาน" มาก็แล้วแต่มุมมองครับ
กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงความมั่นคงภายในของสหรัฐฯ กำลังขอข้อมูลจากภาคเอกชนเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะให้มีแนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่จะช่วยเตือนผู้ใช้บริการที่เสี่ยงต่อการติด Botnet ให้อัพเดตระบบให้ปลอดภัย, แจ้งเดือนผู้ใช้ด้วยวิธีการต่างๆ เมื่อติด Botnet แล้ว, และหาทางบรรเทาปัญหาเมื่อพบคอมพิวเตอร์ที่ติด Botnet
การเก็บข้อมูลครั้งนี้ทั้งสองกระทรวงหวังให้มีการสร้างหลักจรรยาบรรณในการดำเนินกิจการให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่บังคับ
ข่าวที่เกี่ยวข้องก่อนหน้านี้คือ Google ถูกสอบเรื่องการผูกขาดทางการค้าในสหรัฐฯ แล้ว ซึ่งกระบวนการไต่สวนกูเกิลในข้อหาผูกขาดกำลังจะเริ่มต้นขึ้น
บริษัทวิจัย NPD สำรวจความเห็นของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในสหรัฐ ว่าต้องการซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นไหนในอีก 6 เดือนข้างหน้า
คำตอบคือ Android ได้คะแนนไป 63% และได้คะแนนระดับ "น่าสนใจมากที่สุด" 36%
อย่างไรก็ตาม NPD เตือนว่าความแรงของ Android อาจจะไม่ยั่งยืนตลอดไป เพราะผู้ใช้สมาร์ทโฟน 44% ตอบว่าคิดจะซื้อ Windows Phone 7 บ้างเหมือนกัน (แต่ก็ยังมีอีกเยอะที่ตอบว่ายังไม่รู้จัก WP7 ดีพอจนตัดสินใจซื้อ)
ตัวรายงานฉบับเต็มต้องซื้อครับ แต่มีให้อ่านแบบพรีวิวนิดหน่อยเป็น PDF รายละเอียดที่เหลือก็ดูตามกราฟกันเอง
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัค โอบามาลงนามบังคับใช้กฎหมายปฏิรูประบบสิทธิบัตร (Patent Reform Act) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว การปฏิรูปนี้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กฎหมายสิทธิบัตรเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อปี 1952 ซึ่งก็มีการยื่นให้พิจารณาอยู่หลายครั้งกว่าจะมาถึงวันนี้ (ตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2009 - ข่าวเก่า)
ถ้าใครจำได้ใบรับรอง FISMA ที่เป็นใบรับรองสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ต้องการซื้อบริการโครงสร้างพื้นฐานจากเอกชนนั้นเคยเป็นเรื่องเป็นราวระหว่างกูเกิลและไมโครซอฟท์มาก่อน แต่วันนี้ค่ายอเมซอนก็ประกาศว่าตัวเองได้รับใบรับรอง FISMA Moderate เรียบร้อยแล้ว
ตัว Google Apps นั้นได้รับ FISMA Moderate มานานแล้ว ส่วนบริการของอเมซอนหลายตัวเช่น EC2, S3, และ VPC นั้นก่อนหน้านี้เคยได้รับใบรับรอง FISMA Low มาแล้ว และก็มีลูกค้าเป็นหน่วยงานรัฐอยู่แล้วกว่า 100 รายการเช่น Recovery.gov, Treasury.gov, หรือ Federal Register 2.0
บ้านเรายังไงก็ต้องเดินไปทางเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเตรียมการออกมาตรฐานเช่นนี้ไว้บ้าง
บริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีชื่อดังอย่าง Accenture ตกลงกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ที่จะจ่ายค่าปรับ 63.7 ล้านดอลลาร์จากข้อกล่าวหาของทางกระทรวงที่ระบุว่า Accenture รับเงินสินบนแล้วเมื่อวานนี้
Accenture เป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ หลายหน่วยงานและให้คำปรึกษาในการจัดซื้อซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์, ตลอดจนบริการจากบริษัทอื่นๆ จำนวนมาก แต่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวหาว่า Accenture ได้รับเงินและส่วนลดเป็นพิเศษจากบริษัทคู่ค้าหลายราย รายชื่อรายสำคัญได้แก่ไอบีเอ็ม, อีเอ็มซี, และซันไมโครซิสเต็มส์
ที่มา - eWeek