คำว่า 4G สำหรับหลาย ๆ คนอาจจะเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่รองรับความเร็วสูงถึง 100Mbps ซึ่งเป็นเกณฑ์ความเร็วที่ ITU ได้ประกาศไว้ในทศวรรษที่แล้ว ไม่ใช่เท่านั้น พวกเราก็เคย "สำรอง" ความหมายของคำว่า 4G เอาไว้สำหรับเครือข่ายที่ใช้ระบบ LTE และ WiMAX แต่ดูเหมือนตอนนี้สงครามความเร็วเครือข่ายมือถือในสหรัฐกำลังทำให้ความหมายของคำว่า 4G เปลี่ยนไป
หน่วยงานความมั่นคงสหรัฐฯ (The National Security Agency หรือ NSA) ได้แนะนำให้ผู้ที่กำลังใช้ Windows XP อัพเกรดไปใช้ Windows Vista หรือ Windows 7 แทนได้แล้ว และถ้าเป็นไปได้ให้เลือกเวอร์ชันระบบ 64 บิตไปเลย
บริษัทวิจัย NPD ออกมาเปิดเผยสถิติยอดขายมือถือของสหรัฐอเมริกา ประจำไตรมาสแรกของปี 2011 ผลปรากฏว่าแอปเปิลผงาดขึ้นมาเป็นผู้ผลิตมือถืออันดับ 3 ของสหรัฐ (14%) ตามหลังเพียงซัมซุง (23%) และแอลจี (18%) เท่านั้น เหตุผลที่สำคัญก็เพราะการขาย iPhone 4 กับเครือข่าย Verizon ในช่วงต้นปีนั่นเอง
ไตรมาสนี้ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีกอย่างคือ Android มีส่วนแบ่งยอดขาย 50% ตกลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 53% ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่ Android มียอดขาย (วัดเป็นสัดส่วน) ตกลง นับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2009
ส่วนตลาดมือถือโดยรวมโตขึ้น 8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และตอนนี้มือถือ 54% ที่ขายออกไปเป็นสมาร์ทโฟนแล้ว ถือเป็นครั้งแรกที่สมาร์ทโฟนแซงโทรศัพท์แบบฟีเจอร์โฟนได้สำเร็จ
ช่วงหลังธุรกิจจำนวนมากเริ่มมีการเก็บข้อมูลเพื่อทำ data mining กันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่มีการทำ data mining เพื่อทำตลาดกันเป็นเรื่องปรกติในทุกๆ ธุรกิจ รวมไปถึงตลาดยาที่มีกฏหมายให้บริษัทยาต้องเก็บข้อมูลใบสั่งยาเอาไว้ แต่บริษัทยากลับนำข้อมูลเหล่านี้ไปขายให้กับบริษัทรับทำ Data Mining เพื่อนำไปประมวลผล แล้วนำผลที่ได้กลับมาขายบริษัทยาอีกครั้งเพื่อนำไปทำตลาด
แต่ในปี 2007 รัฐ Vermont ก็ผ่านกฏหมายการทำ data mining ห้ามไม่ให้บริษัทยาขายข้อมูลใบจ่ายยาเหล่านี้ เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากคนไข้ ทำให้บริษัทรับทำ data mining เหล่านี้ต้องหยุดทำธุรกิจในรัฐ Vermont ทั้งหมดเพราะหากขออนุญาตจากคนไข้ ย่อมยากที่จะได้รับการยินยอม
รายงานสำรวจตลาดสมาร์ตโฟนจาก Nielsen ประจำไตรมาสแรกของปี 2011 เฉพาะในสหรัฐฯ ออกมาแล้วพบว่าความเปลี่ยนแปลงยังคงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อผลสำรวจระบุว่า Android เป็นโทรศัพท์ที่มีผู้ซื้อ "อยากได้" เป็นเครื่องต่อไปมากที่สุดถึง 31% เทียบกับ 26% ในไตรมาสที่แล้ว ขณะที่ iPhone นั้นมีผู้อยากได้เป็นเครื่องถัดไปลดลงเหลือ 30% เทียบกับ 33% ในไตรมาสที่แล้ว ทำให้ Android เป็นระบบปฎิบัติการสมาร์ตโฟนที่มีผู้ใช้อยากได้เป็นเครื่องต่อไปมากที่สุด
คราวก่อนเรามีข่าว ส.ส. สหรัฐ เขียนจดหมายถึงสตีฟ จ็อบส์ ขอให้อธิบายเรื่อง iOS เก็บข้อมูลพิกัด คราวนี้เป็นคิวของอัยการประจำรัฐอิลินอยส์ Lisa Madigan ได้เรียกตัวแทนของแอปเปิลและกูเกิลเข้าพบเพื่ออธิบายเรื่องนี้แล้ว
Lisa Madigan ระบุในเอกสารแถลงข่าวว่า ต้องการรับรู้ว่าบริษัทมือถือได้แจ้งผู้ใช้รับทราบก่อนหรือไม่ว่าจะเก็บข้อมูลพิกัด และผู้ใช้สามารถปิดการเก็บพิกัดได้หรือไม่
Lisa Madigan เป็นอัยการที่สนใจด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค และในอดีตเคยมีบทบาทในการสอบสวน Google Street View มาแล้ว
Bloomberg รายงานว่ามีผู้ฟ้องแอปเปิลกับศาลกลางสหรัฐ (Federal Court) ในข้อหาการละเมิดความเป็นส่วนตัว หลังจากที่พบว่าแอปเปิลทำการเก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้ภายในอุปกรณ์ iOS โดยจดหมายฟ้องในครั้งนี้ถูกส่งให้กับศาลกลางในเมืองแทมป้า รัฐฟลอริด้า
โดยทนายของฝ่ายผู้ฟ้องได้ให้ข้อมูลกับ Bloomberg ว่าแอปเปิลไม่ควรจะทำอย่างนี้ เพราะขนาดเจ้าหน้าที่รัฐยังจำเป็นที่จะต้องมีหมายตรวจค้นจากศาลในการทำอะไรแบบนี้ ทำไมแอปเปิลไม่ต้องมีหมายค้นใด ๆ เลย
ตัวผู้ฟ้องเองต้องการให้ศาลสั่งให้แอปเปิลเลิกการเก็บข้อมูลเหล่านี้ทันที และอ้างว่าตนจะไม่ซื้อไอโฟนและไอแพ็ดอย่างแน่นอน หากรู้ว่ามีการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ ส่วนทางแอปเปิลเองยังไม่มีความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการเข้าฟ้องในครั้งนี้แต่อย่างใด
ประเด็น iOS 4 เก็บข้อมูลพิกัดทุกคนไว้โดยตั้งใจ กลายเป็นเรื่องใหญ่ประจำสัปดาห์ และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบง่ายๆ ล่าสุด Ed Markey สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้เขียนจดหมายถึงสตีฟ จ็อบส์ ในฐานะซีอีโอของแอปเปิล ขอให้ตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จำนวน 7 ข้อ
คำถามในจดหมายก็เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลพิกัดของผู้ใช้ เช่น เก็บไปทำไม เก็บอย่างไร แจ้งผู้ใช้ก่อนหรือไม่ นำข้อมูลนี้ไปใช้หรือไม่ ฯลฯ โดย Ed Markey ขอให้แอปเปิลตอบคำถามเหล่านี้ภายในวันที่ 12 พฤษภาคม
ที่มา - LA Times
หน่วยพลร่มที่ 82 ของกองทัพบกสหรัฐฯ กำลังทดสอบแพลตอุปกรณ์ Joint Battle Command-Platform (JBC-P) ซึ่งจริงๆ คือโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Android เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยทหารในแนวรบ
ตัวเครื่องจะแตกต่างจากโทรศัพท์ทั่วไปเพราะมันเชื่อมต่อเข้ากับโครงการสื่อสารของทหารโดยตรง แอพลิเคชั่นนั้นจะไม่ต่างจากที่เราใช้งานในโทรศัพท์ทั่วไปมากนัก นับแต่แผนที่, การระบุพิกัดหน่วยอื่นๆ ในสนามรบ, หรือการส่งข้อความไปยังหน่วยอื่นๆ ไม่ต่างจากที่เราใช้ Google Maps, Latitude/Foursquare, หรือ Whatapps กันอยู่ทุกวันนี้
ข้อดีของระบบนี้คือทหารสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทีมงานระบุว่าการสาธิตการใช้งานใช้เวลาเพียงห้านาทีทหารก็สามารถใช้งานอุปกรณ์ในซ้อมรบได้แล้ว
บ้านของคุณยายอายุ 48 ปีจะเป็นบ้านหลังแรกที่ทำการติดตั้ง Super WiFi Hotspot ซึ่งเป็นระบบ WiFi ที่ใช้คลื่นทีวี UHF เก่าที่ไม่ได้มีการใช้งานแล้วในสหรัฐหลังจากการเปลี่ยนระบบโทรทัศน์มาเป็นระบบดิจิตอล มาใช้ประโยชน์ในการสร้างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายให้กับชุมชนที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ต่ำ โดยการสร้าง Super WiFi Hotspot ในครั้งนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Rice และกลุ่ม Technology For All (TFA) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรท้องถิ่น โดยคาดว่าชาวสหรัฐอาจจะได้เห็น Super WiFi Hotspot มากขึ้น
รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ได้เสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ยืนยันตัวบุคคลออนไลน์ทั่วประเทศขึ้นเพือลดปัญหาการปลอมแปลงบุคคลบนอินเทอร์เน็ต โดยข้อเสนอข้อให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางเพื่อออก อุปกรณ์ยืนยันตัวบุคคลเช่นสมาร์ทการ์ด
ชื่อแผนงานคือ National Strategy for Trusted Identities in Cyberspace (NSTIC) เป็นแผนสำหรับการออกอุปกรณ์ยืนยันบุคคลออนไลน์ เพื่อให้บริการต่างๆ เช่นบริการจ่ายเงินออนไลน์ที่ต้องการข้อมูลยีนยันตัวบุคคล สามารถยืนยันตัวบุคลลได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลที่ใช้ยืนยันได้รับการรับรองจากรัฐบาล
เราหลาย ๆ คนทราบดีว่าเครื่องอ่าน eBook อย่าง Kindle กำลังเป็นที่นิยมกันในกลุ่มคนรักการอ่าน อาจจะเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ใช้ eBook เหล่านี้ตัดสินใจที่จะไม่ซื้อหนังสือเป็นเล่ม ๆ มาอ่านอีกต่อไปแล้ว .. แต่สำหรับ ส.ส. จากรัฐ Illinois นาย Jesse Jackson Jr คนนี้ iPad เป็นต้นเหตุเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ชาวอเมริกันที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์นั้นต้องตกงาน โดยไม่ได้พูดถึง Kindle และยอดขายหลักล้านของ Kindle แต่อย่างใด
ถ้าหากหยิบยกคำพูดของ ส.ส. คนนี้มาตรง ๆ เขากล่าวว่าการที่ iPad เป็นที่ยอดนิยมนั้น ทำให้ยอดประชากรที่ตกงานในอเมริกานั้นสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน iPad กลับไปสร้างอาชีพในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตของ iPad นั่นเอง
รายงานสถานการณ์ตลาดมือถือสหรัฐจากบริษัทโฆษณา Millennial Media ประจำเดือนมีนาคม 2011 พบว่า Android ยังกินส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งติดต่อกันมาสี่เดือน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 48% จากโฆษณาของ Millennial Media
อันดับสองและสามคือ iOS 31% และ RIM/BlackBerry 18% ส่วนที่เหลือน้อยมากจนไม่มีนัยยะสำคัญ (สถิตินี้นับตามปริมาณโฆษณาที่แสดง ไม่ใช่ตัวเลขยอดขายจริงๆ ของมือถือ)
แต่ถ้าวัดตามรายได้ (revenue) จากแอพ ปรากฏว่า iOS พลิกกลับมาเป็นแชมป์ด้วยสัดส่วน 47% ตามด้วย Android 36% และ RIM 7% สาเหตุที่ iOS ขึ้นมาเยอะเพราะความนิยมของ iPad นั่นเอง
ความนิยมในการใช้บริการบนกลุ่มเมฆซึ่งคิดค่าใช้งานตามการใช้งานจริงกำลังทำให้ตลาดในสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างหนัก หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงนั้นคือบริษัทที่ไม่ค่อยมีประวัติในตลาดนี้มาก่อนอย่างกูเกิลกำลังเข้ามาบุกตลาดภาครัฐฯ อย่างเต็มกำลัง และสามารถชิงลูกค้ารายใหญ่ๆ ไปได้หลายราย การบุกนี้เป็นไปไม่ง่ายนัก เมื่อตลาดองค์กรนั้นบริการหลักๆ เช่นระบบเมลและงานเอกสารถูกครองอยู่โดยไมโครซอฟท์มาก่อน สงครามครั้งนี้กำลังย้ายจากสงครามน้ำลาย และสงครามการตลาดไปเป็นการต่อสู้ในชั้นศาลอย่างเต็มตัว
จากสถิติของ StatCounter ตอนนี้ส่วนแบ่งตลาดของวินโดวส์ในสหรัฐอเมริกา Windows 7 สามารถแซง Windows XP ได้แล้ว
Windows 7 ออกในเดือนตุลาคม 2009 และใช้เวลาไม่ถึง 2 ปีดี แย่งส่วนแบ่งตลาดมาจาก XP รุ่นยอดนิยมตลอดกาลได้สำเร็จ
สหรัฐอเมริกาไม่ใช่ประเทศแรกที่ Windows 7 แซง XP ได้ โดยประเทศที่ทำได้แล้วคืออังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยียม ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน
Windows XP ยังมีส่วนแบ่งมากที่สุดในตลาดโลกคือ 46.87% ส่วน Windows 7 มี 31.17%
บริษัท Nasdaq OMX Group ประกาศการลดน้ำหนักของหุ้นแอปเปิล (APPL) ในดัชนี Nasdaq-100 ลงเนื่องจากราคาหุ้นของแอปเปิลไม่สอดคล้องกับสภาพตลาดรวมอีกต่อไป โดยทุกวันนี้หุ้น APPL มีสัดส่วนใน Nasdaq-100 ถึง 20% เมื่อปรับการถ่วงน้ำหนักใหม่แล้วจะเหลือ 12%
การปรับค่าการถ่วงน้ำหนักนี้จะอาศัยราคาหุ้นในวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีอื่นๆ ได้รับค่าถ่วงน้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่น อินเทล, ซิสโก้, ออราเคิล, และเดลล์ ส่วนบริษัทอื่นๆ ที่ถูกลดน้ำหนักเช่น Starbucks และ Intuit
หน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐฯ (National Security Agency - NSA) กำลังเข้าตรวจสอบกรณีที่ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ถูกเจาะระบบได้เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งอาจจะหมายถึงการโจมตีนั้นเกิดจากองค์กรข้ามชาติหรือหน่วยงานก่อการร้ายขนาดใหญ่
ซอฟต์แวร์ที่ถูกโจมตีนั้นไม่ใช่ตัวหน้าจอซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรง แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Directors Desk โดยบริษัท Nasdaq OMX Group ได้ออกมาแจ้งปัญหานี้ โดยระบบ Directors Desk จะเป็นพื้นที่ให้ผู้บริหารบริษัทต่างๆ มาแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นความลับหรือจัดการประชุมออนไลน์ ซึ่งทำข้อมูลที่อยู่ในระบบนี้เองก็อาจจะนำไปใช้ในการทำกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ได้แล้ว
หลังจากที่ International Trade Commission หรือ ITC ได้ตัดสินว่าแอปเปิลมิได้มีความผิดในการละเมิดสิทธิบัตรของโนเกียแต่อย่างใดในคราวที่แล้ว คราวนี้โนเกียก็ได้ตัดสินที่จะยื่นคำร้องถึง ITC อีกรอบ โดยในคราวนี้ได้อ้างสิทธิบัตรของโนเกียที่ไม่ได้พูดถึงในการยื่นคำร้องคราวที่แล้วกว่าเจ็ดอย่าง ในฮาร์ดแวร์ที่แอปเปิลขายทั้งหมดตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดนตรีพกพา คอมพิวเตอร์ และ แท็ปเล็ต
โดยสิทธิบัตรกลุ่มนี้ รวมไปถึงระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานมัลติทาสกิ้งได้, การ Sync ข้อมูลผู้ใช้, โทรศัพท์และการเชื่อมต่อและใช่้งานอุปกรณ์ Bluetooth
จากศึกที่โนเกียได้ร้องต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) ว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของตนและให้ ITC ห้ามการนำเข้าสินค้าของแอปเปิล ก่อนที่แอปเปิลจะฟ้องโนเกียด้วยโทษฐานละเมิดสิทธิบัตรเช่นกัน (ดูรายชื่อสิทธิบัตร)
ล่าสุด คณะกรรมการการค้าได้มีคำตัดสินในคดีหนึ่งออกมาแล้วว่า แอปเปิลไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรห้าชุดของโนเกีย โดยคำวินิจฉัยนี้จะต้องรอผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการ ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
ช่วงหลังๆ โทรศัพท์รุ่นสูงสุดของฝั่งแอนดรอยด์นั้นเริ่มจอมีหน้าจอขนาดใหญ่ขึ้นเรือยๆ คำถามสำคัญคือคนทั่วไปต้องการใช้โทรศัพท์หน้าจอใหญ่ขนาดนี้จริงๆ หรือ และผลสำรวจตลาดของกลุ่ม NPD Group ก็ออกมาแล้วว่าโทรศัพท์เหล่านี้กำลังกินตลาดอย่างมากด้วยส่วนแบ่งถึง 24%
โทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่วางตลาดในสหรัฐฯ ที่มีหน้าจอใหญ่กว่า 4" ตอนนี้มีทั้งหมด 3 รุ่นคือ HTC EVO 4G, Motorola Droid X, และ Samsung Galaxy S (ในสหรัฐฯ แบ่งเป็นรุ่นย่อย 3 รุ่นคือ Fasinate, Captivate, และ Vibrant) โดยโทรศัพท์เหล่านี้เพิ่งวางตลาดในไตรมาสที่ 2 เท่านั้น การใช้เวลาเพียง 3 ไตรมาสในการเพิ่มส่วนแบ่งได้ขนาดนี้นับเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา
บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็มถูกดำเนินคดีเนื่องจากถูกกล่าวหาจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission - SEC หรือเทียบได้กับหน่วยงานในบ้านเราคือ กลต.) ว่าพนักงานในเกาหลีใต้ได้ยื่นถุงเงินสดให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อจะชนะโครงการ ขณะที่เจ้าหน้าที่ในจีนได้รับผลตอบแทนเป็นการพาเที่ยว
คดีนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเกี่ยวข้องกับพนักงานของไอบีเอ็ม หรือพนักงานของบริษัทลูกตลอดจนบริษัทร่วมทุนต่างๆ กว่า 100 คน ในการสืบสวนในการเกี่ยวโยงการกระทำเหล่านี้ย้อนหลังไปถึงปี 1998 หรือกว่า 12 ปี
AT&T Inc. ได้ตกลงที่จะซื้อกิจการ T-Mobile USA จากบริษัท Deutsche Telekom ในมูลค่าประมาณ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยข้อตกลงนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากบอร์ดบริหารของ AT&T และ Deutsche Telekom แล้ว
ตามข้อตกลง AT&T จะจ่าย 25 พันล้านดอลลาร์ในรูปของเงินสด และจ่ายส่วนที่เหลือในรูปของหุ้นสามัญของ AT&T ซึ่งจะทำให้ Deutsche Telekom มีหุ้นใน AT&T ราว 8 เปอร์เซนต์ และตัวแทนจากบริษัทเยอรมันก็จะเข้าไปนั่งในบอร์ดบริหารของ AT&T ด้วย
หลังจากนี้ ก็ต้องรอให้ดีลนี้ผ่านการอนุมัติจากทางการ คาดว่าจะการเข้าซื้อกิจการจะเสร็จสมบูรณ์ภายใน 12 เดือน
มีข่าวลือมาหนาหูว่า Eric Schmidt ซีอีโอของกูเกิลที่กำลังจะกลายเป็นอดีตซีอีโอ กำลังจะไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (Secretary of Commerce) คนใหม่ในรัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา
รัฐมนตรีพาณิชย์คนก่อนคือ Gary Locke จะลงจากตำแหน่งแน่นอนแล้ว และเขาถูกเสนอชื่อให้เป็นทูตสหรัฐประจำประเทศจีนแทน รัฐบาลโอบามาจึงต้องหารัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งนอกจาก Schmidt แล้วก็มี Ron Kirk ตัวแทนการค้าของสหรัฐด้วยอีกคนหนึ่ง
ที่มา - VentureBeat, Reuters
สำนักข่าวอังกฤษชื่อดัง The Guardian ออกมาเปิดเผยถึงโครงการของกองทัพสหรัฐฯ ในการสร้างระบบที่จะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุม "ตัวตน" ออนไลน์ได้คราวละเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างอิทธิพลต่อการสนทนาออนไลน์ และเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อในทางสนับสนุนสหรัฐฯ (ดูรายละเอียดโครงการ)
ในพื้นที่ Fauquier County รัฐ Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเขตชนบท พื้นที่ราว ๆ 60 เปอร์เซ็นของเขตนี้ไม่มีการให้บริการอินเทอร์เน็ตมานาน เพราะว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นคิดว่ามันไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าไปเว็บไซต์ของทำเนียบขาวได้แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ห่างจากทำเนียบขาวเพียง 65 ไมล์เท่านั้น