สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภทต้องคัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัลที่ชอบด้วยกฎหมายนำมาให้บริการแก่ผู้ลงทุน
เห็นควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ทำระบบงานในการคัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่นำมาให้บริการแก่ลูกค้านั้นไม่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กลุ่มบริษัทเอกชนไทยที่ทำธุรกิจด้าน AI ร่วมกันเปิดตัว สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Entrepreneur Association of Thailand ตัวย่อ AIEAT) เพื่อผลักดันธุรกิจด้าน AI ให้ทัดเทียมสากล
กูเกิลประเทศไทยทำโครงการสะพานดิจิทัลเฟสสอง ฝึกทักษะดิจิทัลให้คนไทย โดยเฟสแรกที่เปิดตัวทางกูเกิลร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อพัฒนาคอร์สสอนทักษะให้คนไทยและธุรกิจรายย่อย มีผู้มาเรียนกว่า 8,000 ราย และมีผู้ประกอบการเปิดเว็บไซต์บนกูเกิล 2,000 เว็บไซต์
ในเฟสสองมรีคอร์สเรียนออนดีมานด์ 41 คอร์ส มีการร่วมมือกับพันธมิตรเพิ่มเติมคือ Baker McKenzie บริษัทกฎหมายข้ามชาติ และธนาคารกสิกรไทย ตั้งเป้ามีคนไทยเข้ามาเรียน 1 แสนคน
AIS ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า และ กลุ่มผู้ประกอบการบริหารจัดการท่าเรือ และสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย ทำโครงการ Digital Yacht Quarantine หรือโครงการกักตัวบนเรือยอชต์ โดยใช้ระบบติดตามจากสายรัดข้อมือบนเครือข่าย NB-IoT หวังจูงใจนักท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภูเก็ตและภาคใต้
วันนี้ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยเปิดตัวชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทย (Thai Speech Emotion Recognition) หลังจากใช้เวลาพัฒนา 2 ปี ภายใต้ความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด
ชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทยประกอบไปด้วย 5 อารมณ์ ได้แก่ โกรธ เศร้า สุข หงุดหงิด ปกติ นักแสดง 200 คน (ชาย 87 และหญิง 113) จำนวน 36 ชม. (23,797 ประโยค) ถือเป็นชุดข้อมูลจำแนกอารมณ์จากเสียงพูดภาษาไทยที่ใหญ่ที่สุด ณ ปัจจุบัน
ท่านใดสนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ airesearch.in.th
เฟซบุ๊กรายงานถึงเครือข่ายบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ กอ.รมน. ของไทย โพสเนื้อหาสนับสนุนกองทัพ, สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์, เรียกร้องความสงบ, รายงานข้อมูล COVID-19, โจมตีกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยไม่ได้เปิดเผยว่าบัญชีเหล่านี้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ
ทางเฟซบุ๊กลบบัญชีเฟซบุ๊ก 77 บัญชี, 72 เพจ, 18 กลุ่ม และยังมีอินสตาแกรมอีก 18 บัญชี รวมมีผู้ติดตามทุกช่องทาง 703,000 บัญชี ผู้ร่วมกลุ่มกว่าแสนราย และคนติดตามอินสตาแกรม 2,500 คน มีการใช้เงินโฆษณาไปทั้งหมดประมาณ 10,000 บาท
เพจเหล่านี้ไม่เปิดเผยตัวตนว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ และมักโพสเนื้อหาลงหลายๆ เพจและช่วยกันทำให้ดูเหมือนเพจได้รับความนิยม
เช้าวันนี้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขรับวัคซีน CoronaVac ของบริษัท Sinovac พร้อมกับรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวงอีกหลายคน นับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฉีดวัคซีนของไทย
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขระบุว่าตอนนี้วัคซีนกระจายไป 4 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลสมุทรสาคร 20,040 โดส, โรงพยาบาลชลบุรี 4,720 โดส, โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า 3,000 โดส, และสถาบันบำราศนราดูร 3,000 โดส
สำหรับวัคซีน AstraZeneca ที่เดินทางมาถึงประเทศไทยวันเดียวกันกับวัคซีน Sinovac ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพ และคาดว่าจะเริ่มฉีดได้ในเดือนมีนาคมนี้
วันนี้การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ประกาศค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority ที่ราคา 2.6369 บาทต่อหน่วย (kWh) สูงขึ้นจากค่าไฟบ้านอัตราต่ำสุดเล็กน้อย โดยยังต้องรวมค่า Ft ที่ตอนนี้ติดลบ 0.1532 บาทต่อหน่วย (ปรับทุก 4 เดือน)
ค่าไฟบ้านของการไฟฟ้านครหลวง คิดราคา 15 หน่วยแรกที่ 2.3488 บาทต่อหน่วย สำหรับบ้านที่ใช้พลังงานไม่เกินเดือนละ 150 หน่วย และขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 4.4217 บาทต่อหน่วย ราคาที่การไฟฟ้ากำหนดสำหรับการเติมรถนี้จึงนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างถูก
นายอนุทิน ชาญวีรกูล (เกิดวันที่ 13 กันยายน 2509 อายุ 54 ปี) ระบุว่าวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์นี้จะมีการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรก โดยจะฉีดให้กับนายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต (เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2505 อายุ 59 ปี) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมีทั้งนายอนุทินและพลเอกประยุทธ์เป็นสักขีพยาน
ก่อนหน้านี้นายอนุทินเคยระบุว่าพลเอกประยุทธ์จะฉีดวัคซีนของ AstraZeneca เนื่องจากอายุเกิน 59 ปี แต่วัคซีน Sinovac มีเงื่อนไขสำหรับฉีดคนอายุไม่เกิน 59 ปีเท่านั้น
ศาลอาญาเพิ่งมีคำพิพากษาตัดสินคดีกลุ่มกบฏคณะ กปปส. ที่มีพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส.กับพวกรวม 39 คน โดยศาลตัดสินให้จำเลยมีความผิดในข้อหาต่างๆ จากการชุมนุมช่วงปี 2556-2557
หนึ่งในกลุ่มจำเลยทั้ง 40 คนคือ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งคำตัดสินของศาลครั้งนี้น่าจะทำให้นายพุทธิพงษ์ต้องพ้นตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 160 (6), (7) ประกอบมาตรา 98 (6)
ที่มา - สำนักข่าวอิศรา
วันนี้นายอนุทิน ชาญวีรกูล (อายุ 54 ปี) เปิดเผยกับนักข่าวหลายสำนักระบุว่าวันพรุ่งนี้จะมีวัคซีนของ AstraZeneca เข้ามายังประเทศไทยพร้อมๆ กับ Sinovac โดยในช่วงนี้หลายชาติมักให้ผู้นำประเทศฉีดเข็มแรกเพื่อเริ่มเดินหน้าโครงการวัคซีน สำหรับพลเอกประยุทธ์ (อายุ 66 ปี) นั้นจะฉีด AstraZeneca เป็นเข็มแรกเนื่องจากอายุเกิน 59 ปี โดยระบุว่าวัคซีนของ Sinovac มีเงื่อนไขฉีดได้ถึงอายุ 59 ปี
กระทรวงการคลัง ประกาศยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าจำพวกชิ้นส่วนในการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ยกเว้นภาษีในกลุ่มสินค้า 12 รายการ มีสินค้าจำพวก เซ็นเซอร์สามมิติ, ซอฟต์แวร์ CAD, หุ่นยนต์หยิบยกขนย้าย, ซอฟต์แวร์ Image Processing เป็นต้น
เมื่อวานนี้ 16 ก.พ. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เปิดห้องพูดคุยใน Clubhouse โซเชียลมีเดียใหม่ที่กำลังมาแรง ซึ่งแต่ละห้องรองรับได้ในจำนวนจำกัด แต่ห้องของปวินก็เต็มด้วยระยะเวลารวดเร็ว
ล่าสุด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นำโดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ออกมาเตือนผู้ใช้งาน Clubhouse ว่าควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อย่าละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ไม่ทำผิดกฎหมาย ชี้ เจ้าหน้าที่พร้อมติดตามตรวจสอบและดำเนินคดีทันที ทั้งกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎหมายอื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทันที เช่นเดียวกับที่ได้ติดตามตรวจสอบการใช้งานโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) ตามที่กรมสรรพากรเสนอ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "กฎหมาย e-Service"
เนื้อหาสำคัญของกฎหมาย e-Service คือเพิ่มนิยามของ
ทวิตเตอร์เริ่มระบุใต้โปรไฟล์สำนักข่าวที่รัฐบาลเป็นเจ้าของเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และเริ่มใช้งานในสหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส ล่าสุด ทวิตเตอร์บอกว่าเตรียมจะขยายไปยังประเทศอื่นเพิ่มเติม คือ แคนาดา, คิวบา, เอกวาดอร์, อียิปต์, เยอรมนี, ฮอนดูรัส, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, อิตาลี, ญี่ปุ่น, ซาอุดีอาระเบีย, เซอร์เบีย, สเปน, ไทย, ตุรกีและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ช่วงค่ำวันนี้ Great Wall Motor หรือ GWM ได้จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ระบุว่าจะเปิดตัวรถยนต์ทั้งหมด 9 รุ่นใน 3 ปีนับจากนี้ โดยวันนี้เปิดตัวก่อน 2 รุ่นและจะเปิดตัวในปีนี้เพิ่มอีก 2 รุ่น ซึ่งในทีแรกอาจคาดกันไว้ว่า GWM จะทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าล้วน, รถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดอย่างเดียว แต่กลับกลายเป็นว่ารถ 1 ใน 2 รุ่นที่เปิดตัววันนี้เป็นรถยนต์สันดาปภายในธรรมดา
GWM ประเทศไทยระบุว่ามีแบรนด์รถยนต์ในมือทั้งหมด 4 ยี่ห้อ คือ Haval (รถ SUV), Ora (รถยนต์ไฟฟ้า), Poer (รถกระบะ) และ Wey (รถ SUV แบบเน้นความหรูหรา)
ไมโครซอฟท์ประเทศไทยเปิดตัว Azure Synapse Analytics แพลตฟอร์มดึงข้อมูล, จัดการและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในแพลตฟอร์มเดียว สามารถดึงข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งบนคลาวด์ มัลติคลาวด์ และ On Premise มาจัดการและวิเคราะห์ออกมาเป็นแดชบอร์ดในรูปแบบกราฟให้เห็นภาพได้ง่าย ลดปัญหาการทำงานหลายแพลตฟอร์ม
ไมโครซอฟท์บอกว่า Synapse จะเป็นผลิตภัณฑ์เรือธงในสายงาน Data ต่อจากนี้ และยังบอกด้วยว่าในประเทศไทย มีองค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ใช้งาน Azure Synapse มี 13 บริษัทในดัชนี SET50 ด้วย
วันนี้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้มีป้ายทะเบียนแบบใหม่ทำให้สามารถจดทะเบียนเป็นคำที่มีสระและวรรณยุกต์ได้ เปิดทางให้ผู้ใช้รถจดทะเบียนรถเป็นคำพูดหรือชื่อได้
ผู้ที่ได้รับกระทบจากความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงเป็นซอฟต์แวร์อ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (license plate recognition - LPR) ที่หลายบริษัทอาจจะจำกัดตัวอักษรไว้เพียงสองตัว และไม่มีซอฟต์แวร์ใดเคยรองรับสระหรือวรรณยุกต์มาก่อน
มตินี้ยังไม่เป็นกฎหมายจริง โดยหลังจากครม.อนุมัติหลักการในวันนี้แล้วจะส่งร่างให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบต่อไป
ที่มา - รัชดา ธนาดิเรก - รองโฆษกรัฐบาล
ช่วงเย็นที่ผ่านมาทางธนาคารไทยพาณิชย์รายงานว่ามีการใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้กระบวนการโอนเงินระหว่างธนาคารเกิดความล่าช้า เช่นเดียวกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่ผู้ใช้จำนวนมากรายงานว่าโอนเงินเข้าบัญชีไม่ได้
ปีที่ผ่านมานับเป็นปีที่ผู้ใช้ธนาคารออนไลน์สูงขึ้นมากจนมีปัญหาบ่อยครั้ง แต่รายงานระบบไอทีขัดข้องจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีกำหนดออกรายงานไตรมาสสี่ภายในสิ้นเดือนมกราคมยังระบุว่าอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล
นายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ สส.พรรคก้าวไกล และโฆษกกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนฯ เปิดเผยถึงข้อมูลการประชุมกรรมาธิการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน โดยระบุว่ากระทรวงสาธารณสุขในมีแผนจัดหาวัคซีนในปี 2021 เพียง 22 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 11 ล้านคนเท่านั้น แม้ภายหลังแถลงว่าจะจัดหาวัคซีนให้ประชาชนไทย 50% ภายในปี 2021 แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าจะหาวัคซีนจากที่ใด
นอกจากนี้เอกสารยังระบุว่าวัคซีน 26 ล้านโดสจาก AstraZeneca จะส่งมอบให้ไทยเป็นสองช่วง คือปี 2021 นี้ส่งมอบเพียง 16 ล้านโดสและปี 2022 จึงส่งมอบอีก 10 ล้านโดส สำหรับปีนี้แผนการเดิมคือการจัดหาจาก COVAX อีก 3 ล้านโดส และช่องทางอื่นอีก 2 ล้านโดส (ซึ่งตอนนี้ได้จาก Sinovac)
ภายใต้แผนการนี้กระทรวงสาธารณสุขวางแผนให้คนไทยได้ฉีดวัคซีน 50% ของประชากรภายในเวลา 3 ปี หรือปี 2023 แถลงการของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามีเป้าหมายฉีดวัคซีนฟรีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ไม่ระบุกรอบเวลา
สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (VISTEC-depa Thailand Artificial Intelligence Research Institute) ปล่อยโมเดล WangchanBERTa ซึ่งเป็นโมเดลทางภาษาไทยสำหรับงานประมวลผลภาษาธรรมชาติโดยฝึกฝนบนสถาปัตยกรรม RoBERTa
โมเดล WangchanBERTa ถูกฝึกฝนด้วยชุดข้อมูลกว่า 78.48 GB ใช้ตัวตัดคำย่อย SentencePiece ในการแบ่งคำและ ใช้เวลาฝึกฝนโมเดล 3 เดือน
ทำให้โมเดล WangchanBERTa ถือเป็นโมเดลภาษาไทยที่ใหญ่ที่สุด ณ ขณะนี้ ซึ่งในการฝึกฝนใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 10,566.5 kWh หรือคิดเป็นรอยเท้าคาร์บอน 7.5 ตัน เทียบเท่าการใช้รถ 1.6 คันในหนึ่งปี
Ookla เจ้าของ Speedtest.net เว็บไซต์ทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตยอดนิยม จัดทำ Speedtest Global Index เป็นประจำทุกเดือน รวบรวมความเร็วเฉลี่ยของอินเทอร์เน็ตของทั่วโลกไว้ทั้งอินเทอร์เน็ตบ้านและมือถือ
ล่าสุด Ookla ได้เปิดสถิติประจำเดือนธันวาคม 2020 แสดงให้เห็นว่าความเร็วเฉลี่ยขาดาวน์โหลดของเน็ตบ้าน (Fixed Broadband) ในประเทศไทยได้ขึ้นสู่อันดับ 1 ของโลกแล้ว โดยอยู่ที่ 308.35 Mbps แซงรวดเดียวทั้งสิงคโปร์ (245.31 Mbps) และฮ่องกง (226.80 Mbps) ที่เคยเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับในเดือนพฤศจิกายน 2020
ทีมพัฒนาแอพ "หมอชนะ" ซึ่งเป็นอาสาสมัครภาคเอกชนที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า Code for Public ประกาศส่งมอบสิทธิการดูแลซอร์สโค้ดและกระบวนการพัฒนาทั้งหมดให้ "รัฐบาล" (ในโพสต์นี้ไม่ระบุชัดว่าเป็นหน่วยงานใด ผู้รับผิดชอบหลักก่อนหน้านี้คือ DGA) แต่ทีมงานเดิมจะ fork โครงการออกเป็นชื่อใหม่ว่า SQUID
ตอนนี้ซอร์สโค้ด, repository เดิม, และเฟซบุ๊ก "หมอชนะ" ถูกส่งมอบให้รัฐบาลแล้วเมื่อวานนี้ (15 มกราคม 2564) โดยทีม Code for Public ระบุว่าจะแก้บั๊กรอบสุดท้ายให้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่จะนำขึ้นอัพเดตในแอพเวอร์ชันแจกจ่ายบน store หรือไม่ ขึ้นกับแนวทางของหน่วยงานภาครัฐ
หลังจากสัปดาห์นี้กลุ่ม ALTDOS เปิดเผยว่าเข้าถึงฐานข้อมูลของ 3BB สำเร็จและทางบริษัทออกมายอมรับว่าข้อมูลหลุดออกไปจริงประมาณหมื่นรายการ ทาง ALTDOS ก็เริ่มส่งอีเมลหาสื่อมวลชนในไทยระบุว่าข้อมูลที่ได้ไปจริงๆ มีมากกว่านั้นมาก พร้อมกับส่งไฟล์ตัวอย่างแรก คือ cbp_chula_wifi_01.csv
ที่คาดว่าเป็นไฟล์บัญชี Wi-Fi ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Sinovac รายงานประสิทธิภาพรวมในการป้องกันโรค COVID-19 ในการทดสอบเฟส 3 อยู่ที่ 50.4% พร้อมรายงานประสิทธิภาพในการป้องกันอาการระดับเล็กน้อย (mild case) 78% และประสิทธิภาพการป้องกันกรณีปานกลาง (moderate infection) และรุนแรง (severe infection) 100%
ก่อนหน้านี้ Sinovac แถลงข่าวถึงประสิทธิภาพของวัคซีนมาแล้วหลายครั้ง และประสิทธิภาพมักเปลี่ยนไปมา โดยไม่ได้รายงานรายละเอียด เช่น จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วน หรือจำนวนผู้ติดโรคในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงและวัคซีนหลอก เฉพาะการทดลองในบราซิลทางบริษัทก็เลื่อนการปล่อยผลการทดสอบเต็มมาแล้วสามครั้ง แต่ครั้งล่าสุดเป็นการส่งผลเพื่อขอรับรองการใช้งาน