กูเกิลประกาศไว้ตั้งแต่งาน Google I/O 2019 ว่า Google Search จะรองรับการค้นหาเนื้อใน podcast และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ระบบค้นหานี้ก็เริ่มเปิดใช้งานแล้ว
วิธีการใช้งานเพียงแค่ค้นหาด้วยคำว่า podcast + ชื่อหัวข้อที่ต้องการ จากนั้นเราจะเห็นหมวด Podcasts โผล่ขึ้นมาในหน้าผลการค้นหาตามปกติ โดยอัลกอริทึมจะอิงจากการสแกนไฟล์เสียงของกูเกิลใน podcast แต่ละตอนนั่นเอง (ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะเสียงภาษาอังกฤษ และเปิดใช้เฉพาะในสหรัฐ)
กูเกิลบอกว่าในอนาคตจะไม่ต้องป้อนคำว่า podcast ด้วยซ้ำ เพราะผลการค้นหา podcast จะแสดงขึ้นมาเหมือนกับการค้นรูปหรือวิดีโอในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่า Chrome มีรอบการออกเวอร์ชันใหม่ทุก 6 สัปดาห์ แต่กลับกลายเป็น "บ็อต" ของกูเกิลที่ใช้เรนเดอร์หน้าเว็บ (Googlebot) ที่อัพเวอร์ชันตามไม่ทัน ส่งผลให้เวลาเราใช้เครื่องมือทดสอบต่างๆ ของกูเกิล (เช่น search console, mobile friendly test หรือ AMP test) จะเรนเดอร์เว็บไซต์ได้ไม่ตรงกับที่เราเห็นจริงๆ บน Chrome
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือก่อนหน้านี้ Googlebot ยังใช้ Chrome เวอร์ชัน 41 ที่ออกในปี 2015 ขณะที่ปัจจุบัน Chrome วิ่งไปถึงเวอร์ชัน 76 แล้ว เทคโนโลยีเว็บเปลี่ยนไปมาก ผลลัพธ์ของการเรนเดอร์เว็บเพจจึงต่างกันมาก (กรณีที่พบบ่อยคือ Googlebot มองเว็บเพจเป็นหน้าขาว)
Bloomberg รายงานว่า Bytedance บริษัทแม่ของแอปอย่าง TikTok เตรียมจะทำเสิร์ชเอนจินของตัวเองในจีน ซึ่งจะชนกับ Baidu ที่ครองธุรกิจนี้อยู่ในประเทศ
อย่างไรก็ตามเสิร์ชเอนจินของ Bytedance ไม่ได้จะเป็นแอปแยกออกมาต่างหากแบบ Google หรือ Baidu แต่จะเป็นฟังก์ชันเสิร์ชที่ฝังอยู่ในแอปต่างๆ บนแพลตฟอร์มของ Bytedance อย่าง Douyin ที่เป็น TikTok เวอร์ชันจีนและแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง ซึ่ง Bytedance ก็น่าจะมีรายได้จากค่าโฆษณาทางนี้เพิ่ม
ที่มา - Bloomberg
เป็นประเด็นขัดแย้งมานาน กับโปรเจ็ค Dragonfly เสิร์ชเอนจินที่ Google จะทำในจีนโดยมีรัฐบาลควบคุม ล่าสุดในการให้การกับรัฐสภาเรื่องการผูกขาดของบริษัทไอที ผู้บริหารระดับสูงของ Google ยืนยันแล้วว่าโปรเจ็คดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว
หลังจากนั้นไม่นาน Donald Trump ปธน. ทวีตอ้างอิงคำพูดของ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal ที่บอกว่า Google ควรถูกสอบสวนฐานกบฏ จากการไปทำงานร่วมกับรัฐบาลจีนแทนที่จะเป็นกองทัพสหรัฐ โดยรัฐบาลจะเข้ามาดูเรื่องนี้ด้วย
คนสายทำเว็บคงรู้จักไฟล์ robots.txt ที่ใช้บอกบ็อตของเครื่องมือค้นหาว่า เพจไหนบ้างที่ไม่ต้องอ่านข้อมูลไปทำดัชนีค้นหา
ฟอร์แมตของไฟล์ robots.txt เรียกว่า Robots Exclusion Protocol (REP) ใช้งานกันแพร่หลายมายาวนาน (de facto) แต่สถานะของมันไม่เคยถูกยกระดับขึ้นเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตที่มีองค์กรกลางรับรองมาตลอด 25 ปี (ถูกคิดขึ้นในปี 1994)
ล่าสุดกูเกิลประกาศผลักดัน REP ให้เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ตภายใต้การดูแลของ Internet Engineering Task Force (IETF) ซึ่งเป็นผู้ดูแลมาตรฐานหลายๆ ตัวที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น OAuth สถานะตอนนี้คือกูเกิลส่งร่างมาตรฐานไปยัง IETF แล้ว และอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการออกมาตรฐานปกติ
กูเกิลโชว์ดีไซน์แบบใหม่ของหน้าผลการค้นหา (search result page) เวอร์ชันมือถือ ซึ่งจะมีผลในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือผลการค้นหาจะแสดงไอคอนของเว็บไซต์ (favicon) เพิ่มเข้ามา และปรับตำแหน่งของชื่อเว็บไซต์ไปอยู่เหนือชื่อบทความที่เป็นลิงก์ โดยกูเกิลให้เหตุผลว่าเพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลแต่ละชิ้นมาจากเว็บไซต์ใดบ้าง
ในกรณีที่ผลการค้นหานั้นเป็นโฆษณา สัญลักษณ์ที่แสดงคำว่า Ad ก็ชัดเจนขึ้นจากเดิม เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีดำเด่นชัด
กูเกิลบอกว่าหน้าผลการค้นหาแบบใหม่จะเริ่มใช้กับ mobile web ก่อน และคาดว่าเวอร์ชันเดสก์ท็อปจะเปลี่ยนแปลงตามในภายหลัง
ที่มา - Google
กูเกิลเปิดงาน Google I/O ปีนี้ด้วยการประกาศแผนอัพเดตบริการ Google Search ที่จะมีฟีเจอร์เพิ่มอีก 3 ฟีเจอร์หลัก คือ การแสดงผลเรื่องราวตามเวลา (story timeline), ค้นหา podcast, และการแสดงผลเป็น augmented reality (AR)
Google ปฏิบัติตามกฎหมายต้านการผูกขาดของ EU โดยเสนอทางเลือกให้ผู้ใช้แอนดรอยด์ในยุโรปสามารถเลือกเบราว์เซอร์อื่นได้นอกเหนือจาก Chrome และเลือกช่องทางค้นหาอื่นได้นอกจาก Google
เมื่อผู้ใช้เข้าไปใน Play Store จะเห็นหน้าจอขึ้นมาสองหน้าจอคือ หน้าจอแรกเสนอทางเลือกของช่องทางค้นหาที่ไม่ได้มีแค่ Google อย่างเดียว เช่น DuckDuck Go, Qwant เป็นต้น ส่วนอีกหน้าจอคือ เสนอทางเลือกเบราว์เซอร์อื่นมาให้นอกเหนือจาก Chrome คือ Firefox, Microsoft Edge เป็นต้น
เมื่อผู้ใช้เข้าเว็บ Google ในมือถือ ระบบจะแสดงช่องทางให้ตั้งค่าช่องค้นหาอื่นเป็นค่าดีฟอลต์เวลาจะค้นหาอะไรในอินเทอร์เน็ตได้ด้วย
กูเกิลนั้นจ่ายเงินให้แอปเปิลมาตลอดหลายปี เพื่อแลกกับการที่กูเกิลเป็นเสิร์ชที่กำหนดเป็นค่าเริ่มต้นในระบบปฏิบัติการ iOS ทั้ง iPhone และ iPad โดย Goldman Sachs ประเมินว่าตัวเลขที่กูเกิลจ่ายให้แอปเปิลปี 2018 สำหรับเสิร์ชนี้สูงถึง 9,460 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 3,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2017 และ 1,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2014 ด้วยแนวโน้มดังกล่าว คาดว่าปีนี้กูเกิลอาจต้องจ่ายเงินถึง 12,000 ล้านดอลลาร์ เลยทีเดียว
Zanroo สตาร์ตอัพสัญชาติไทยที่ให้บริการ social listening เปิดตัวเครื่องมือค้นหา Zanroo Search ที่เน้นข้อมูลเรียลไทม์ในโลกโซเชียล เข้าถึงข้อมูลบน Facebook, Twitter, Instagram, YouTube และเว็บบอร์ด/เว็บไซต์ต่างๆ ในไทย
Zanroo Search เป็น search engine ที่มีแนวคิดแตกต่างจากกูเกิล ตรงที่ชูจุดขายเรื่องข้อมูลเรียลไทม์เป็นหลัก เหมาะกับคนที่เกาะติดกระแสโซเชียล แต่ก็ยังใช้ประโยชน์ในแง่อื่นๆ ได้ เช่น สามารถกดติดตามผลการค้นหาของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับแบรนด์ เพื่อเช็คว่ามีเพจใดบ้างโพสต์โปรโมชั่นของแบรนด์นั้นๆ
เป็นประจำเช่นทุกปี กูเกิลประเทศไทย ได้ประกาศอันดับคำค้นหา (keyword) ยอดนิยมของปี 2018 แบ่งออกเป็น 10 หมวดด้วยกัน
โดยคำค้นหายอดนิยมของปีนี้คือ บุพเพสันนิวาส ละครโทรทัศน์ยอดนิยมที่ออกอากาศทางช่อง 3 ซึ่งละครยังคงเป็นคำค้นหายอดนิยมในภาพรวม โดยดูได้จาก 10 อันดับคำค้นแห่งปี เป็นละครโทรทัศน์ถึง 7 คำค้น
สำหรับอันดับอื่นแยกตามหมวด ข่าวถ้ำหลวงเป็นข่าวที่ถูกค้นหามากที่สุด ส่วนเพลงที่ถูกค้นหามากที่สุดคือเพลงปานามา ขณะที่คำค้นแนว How-To ปีนี้เป็นการหาสูตรทำเกี๊ยวน้ำ และร้านที่คนค้นหามากที่สุดคือ ร้านกาแฟชายทุ่ง ร้านกาแฟแห่งพระเมตตาของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
อันดับทั้งหมดแยกตามหมวดเป็นดังนี้
ก่อนหน้านี้ DuckDuckGo บริการเสิร์ชเอนจินแบบเน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้ออกมาโวยว่า Google จดโดเมน Duck.com และส่งต่อไปที่หน้าหลักของ Google ซึ่งทำให้ผู้ใช้สับสน แต่ภายหลัง Google ก็ชี้แจงว่า Duck.com ได้มาจากการซื้อกิจการบริษัทอื่น ซึ่งซีอีโอ DuckDuckGo ก็ถามว่าสนใจจะขาย Duck.com หรือไม่
ล่าสุดมีรายงานว่า DuckDuckGo ได้โดเมน Duck.com มาใช้งานตามที่ปรารถนาแล้ว โดยซีอีโอ Gabrial Weinberg ได้ยืนยันว่าตอนนี้ Duck.com ได้ส่งต่อจาก Google มาให้ DuckDuckGo เป็นที่เรียบร้อย ซึ่ง Gabriel ก็กล่าวขอบคุณที่ Google ปล่อยโดเมนนี้มาให้ พร้อมระบุว่าการมี Duck.com จะช่วยให้ผู้ใช้งาน DuckDuckGo เข้าใช้เสิร์ชเอนจินได้สะดวกกว่าเดิม
DuckDuckGo ผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินแบบไม่เก็บข้อมูลประกาศว่าตอนนี้มีทราฟฟิกการค้นหาแบบ direct search ถึง 30 ล้านครั้งต่อวันแล้ว และหากคำนวณแล้วตอนนี้ยอดการค้นหาทั้งหมดของ DuckDuckGo ตั้งแต่เปิดให้บริการมาอยู่ที่ราว 2.3 หมื่นล้านครั้ง
การเติบโตของ DuckDuckGo นั้นมีปัจจัยหลักมาจากความตระหนักเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพราะ DuckDuckGo เน้นการเสิร์ชแบบไม่เก็บข้อมูลเหมือนผู้ให้บริการรายอื่น ๆ โดยเมื่อกลางปีที่แล้ว DuckDuckGo เพิ่งจะฉลองยอดค้นหา 1 หมื่นล้านครั้งไป โดยตอนนั้น DuckDuckGo ระบุว่าสถิติการค้นหาที่มากสุดต่อวันคือ 14 ล้านครั้ง
ในโอกาสครบรอบ 20 ปี Google นอกจากจะปรับโฉมใหม่ใน Google Chrome ที่มีอายุครบ 10 ปีแล้ว ฟีเจอร์การค้นหาบน Google Search ก็ยกเครื่องใหม่หลายอย่าง
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Search เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ใช้งานได้บนบริการของไมโครซอฟท์แทบทุกตัว ตั้งแต่ Bing, Office ไปจนถึง Edge และ Windows
ไมโครซอฟท์บอกว่าจะปรับกล่องค้นหาบนบริการหลายๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็น Outlook, PowerPoint, Excel, Sway, OneNote, Microsoft Teams, Office.com, SharePoint ให้อยู่ที่เดียวกัน ทั้งเวอร์ชันเดสก์ท็อป เว็บ และอุปกรณ์พกพา กล่องค้นหาจะมีฟีเจอร์ personalize ตามข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน และสามารถค้นหาเอกสารข้ามบริการกันได้ เช่น เปิด Word อยู่ เราสามารถค้นหาเอกสาร PowerPoint ในบัญชีผู้ใช้ของเราได้
Google ประกาศว่าการเสิร์ชผ่าน Chrome บนแอนดรอยด์ด้วยคำค้นเดิม ผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนเดิมด้วยสคริปต์ Service Worker ที่แคชผลการค้นหาเอาไว้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยแสดงผลการค้นหาเดิมเร็วขึ้นมาก
ทีมวิศวกรของ Google บอกว่าที่ตอนนี้รองรับเฉพาะ Chrome บนแอนดรอยด์ก็เพราะเบราว์เซอร์อื่นๆ ยังไม่รองรับ Navigation Preload ขณะที่ฝั่งเจ้าของเว็บก็ต้องรันคำสั่ง Service Worker ผ่าน JavaScript ของหน้าเว็บและต้องเป็น HTTPS ด้วย
สคริปต์ Service Worker ดูได้จากที่มาครับ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายงานว่า Google กำลังจะกลับไปเปิดให้บริการในจีน ซึ่งจะถือเป็นการชนกับเจ้าถิ่นเสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ในจีนอย่าง Baidu ตรง ๆ
ล่าสุด Robin Li ซีอีโอของ Baidu ได้ออกมากล่าวผ่านบัญชี WeChat แสดงความมั่นใจว่า Baidu พร้อมแข่งกับ Google โดย Li กล่าวว่าบริษัทจีนนั้นแข็งแกร่งขึ้นมากหลัง Google ถอยออกจากตลาดจีน ซึ่งทำให้เขาเชื่อมั่นว่าถ้า Google กลับมาอีกครั้ง Baidu จะเป็นผู้ชนะ
DuckDuckGo บริการเสิร์ชที่ไม่เก็บข้อมูลผู้ใช้งาน ออกมาให้ความเห็นผ่านบัญชี Twitter หลังกูเกิลถูกสหภาพยุโรปสั่งปรับจากข้อหาผูกขาดทางการค้าผ่าน Android โดยบอกว่าในฐานะ DuckDuckGo ให้บริการเสิร์ชที่ถือเป็นคู่แข่งกูเกิล มองว่ากูเกิลพยายามกีดกันการแข่งขันมากกว่าที่ทำบน Android เช่น ตัว Chrome Extension เมื่อมีอัพเดต ก็จะถามผู้ใช้ทุกคนว่าต้องการเปลี่ยนค่าคืนเป็นกูเกิล แทนที่ DuckDuckGo หรือไม่
แต่กรณีที่น่าสนใจที่สุด DuckDuckGo เปิดเผยว่ากูเกิลได้จดโดเมนเนม Duck.com เอาไว้ แล้วส่งต่อไปที่หน้าหลักของกูเกิล ซึ่งอ้างว่าทำให้ผู้ใช้งาน DuckDuckGo สับสน
สหภาพยุโรปหรือ EU เริ่มพิจารณากฎด้านลิขสิทธิ์ใหม่ โดยรอบนี้คืออนุญาตให้สำนักข่าวสามารถเก็บเงินจากเสิร์ชเอนจินได้หากต้องการนำบทความจากเว็บไซต์ไปแสดง และให้เว็บไซต์ที่เก็บวิดีโออย่างเช่น YouTube ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในการแสดงคอนเทนต์ด้วย
จากที่กูเกิลเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2016 ว่า ดัชนีค้นหาของกูเกิลจะเป็น Mobile-First ดึงข้อมูลจากเว็บเวอร์ชันมือถือเป็นหลัก และทดสอบมาเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง ในที่สุดกูเกิลก็เริ่มเดินหน้าย้ายดัชนีค้นหามาเป็น Mobile-First แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นคือระบบของ Google Search ที่เดิมที่อิงจากเว็บเพจเวอร์ชันเดสก์ท็อปเป็นหลัก จะเปลี่ยนมาอิงกับเว็บเพจเวอร์ชันมือถือแทน (ถ้ามี) แต่ถ้าเว็บไซต์มีเฉพาะเพจเวอร์ชันเดสก์ท็อปหรือเป็น responsive ทำงานได้ทุกหน้าจอ ก็จะยังทำงานได้ตามปกติ
กูเกิลเริ่มแสดงหน้าผลการค้นหา (search result page) ที่ไม่มีลิงก์สีน้ำเงิน 10 ลิงก์แบบที่เราคุ้นเคยกันมานาน แต่จะแสดงเฉพาะ "คำตอบ" ให้กับคำถามที่ค้นหาเท่านั้น
หน้าผลการค้นหาแบบใหม่จะมีเฉพาะบางคำค้นเท่านั้น และต้องเป็นคำค้นที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (fact) เช่น ถามอุณหภูมิ-เวลา, เปลี่ยนหน่วย, คิดเลขตามสมการที่กรอก เป็นต้น
ผมลองคำค้นตามตัวอย่างในลิงก์ต้นทางแล้ว พบว่าบางอย่างก็ไม่ได้ผลตามนั้น เช่น "5+6" ที่ได้คำตอบเป็น 11 ก็ยังมีลิงก์ให้เห็นอยู่ แต่บางคำค้นอย่าง "time in Bangkok" หรือเปลี่ยนหน่วย "10 kg to lbs" พบว่าไม่มีลิงก์แล้วจริงๆ
Google ถูกสั่งปรับจากอินเดียเป็นเงิน 1.36 พันล้านรูปี คิดเป็น 21.1 ล้านดอลลาร์ในข้อหาแสดงผลการค้นหาลำเอียง โดยการมีการร้องเรียนจากเว็บไซต์ท้องถิ่นในอินเดีย Matrimony.com Limited และ Consumer Unity & Trust Society ซึ่งแจ้งกับหน่วยงานรัฐไว้ตั้งแต่ปี 2012
Competition Commission of India หรือ CCI ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สั่งปรับ Google กล่าวว่า จากการสอบสวนทางหน่วยงานพบว่า Google ได้นำทางผู้ใช้ที่จะค้นหาเที่ยวบินไปยังหน้าค้นหาเที่ยวบินของ Google เอง คือทั้งทำการแสดงให้ Google Flight ดูโดดเด่นสะดุดตาบนหน้าผลการค้นหา และวางเว็บไซต์ของผู้ให้บริการรายอื่นไว้ล่าง ๆ
Google ประกาศว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป Google Search จะเริ่มนำความเร็วของหน้าเว็บมาใช้เป็นปัจจัยในการคำนวณเพื่อจัดอันดับของผลการค้นหาบนอุปกรณ์พกพา ซึ่ง Google เรียกว่า Speed Update
Google กล่าวว่า วิธีการจัดอันดับผลการค้นหาแบบใหม่นี้จะมีผลเฉพาะหน้าเว็บที่ทำงานช้าจนเกินไป ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก Google จะใช้วิธีการคำนวณอันดับแบบเดียวกันกับหน้าเว็บทั้งหมด ไม่ว่าจะใช้เทคโนโลยีในการทำเว็บแบบใดก็ตาม แต่ว่าคำค้นหายังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า ดังนั้นแม้ว่าหน้าเว็บจะโหลดช้า ก็ยังสามารถอยู่ในอันดับสูงได้หากเป็นหน้าเว็บที่ดี มีคอนเทนต์ที่ตรงกับที่ผู้ใช้สนใจ
ไมโครซอฟท์ขยายฟีเจอร์ให้ Bing โดยนำ AI มาช่วยแสดงคำตอบที่ "มีความหมาย" กับผู้ใช้ทั่วไปมากขึ้น
ตัวอย่างแรกคือการถามข้อมูลที่เป็นตัวเลข (fact & figure) เช่น ขนาดพื้นที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง เดิมที search engine จะบอกคำตอบเป็นตัวเลขว่ามีพื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร แต่ของใหม่ใน Bing จะอธิบายคล้ายกับเป็นประโยคบอกเล่าด้วยว่า พื้นที่เท่านี้ใกล้เคียงกับรัฐใดในสหรัฐอเมริกา
Brave เบราว์เซอร์ที่บล็อกโฆษณาและการติดตามเป็นค่าเริ่มต้นได้ประกาศเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับ DuckDuckGo บริการเสิร์ชเอนจินที่เน้นให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้
DuckDuckGo รายงานว่า Google นั้นไม่ได้ให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้ เพราะขณะค้นหาข้อมูลในโหมดไม่ระบุตัวตน ข้อมูลที่ Google เก็บก็สามารถตามรอยผู้ใช้ได้ และ DuckDuckGo กล่าวว่าภายใต้โหมดไม่ระบุตัวตนนั้น ผู้ใช้ไม่ต้องการให้ผู้ให้บริการค้นหาติดตามตัวเอง ซึ่งการรวม DuckDuckGo เข้ากับ Brave จะทำให้ผู้ใช้มีความเป็นส่วนตัวอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งตั้งแต่วันนี้ DuckDuckGo จะเป็นเสิร์ชเอนจินแนะนำให้ตั้งเป็นค่าเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้เปิดโหมดไม่ระบุตัวตนบน Brave