Rand Fishkin ผู้ก่อตั้ง SparkToro เผยแพร่ผลการศึกษาจากข้อมูลของ SimilarWeb ในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2020 พบว่า 64.82% หรือเกือบ 2 ใน 3 ของการเสิร์ชกูเกิล (รวมเดสก์ท็อปและมือถือ) จบลงที่หน้าผลลัพธ์การค้นหาในเว็บกูเกิล และไม่มีการคลิกลิงก์ใด ๆ ต่อ ซึ่ง Fishkin เรียกสถานการณ์นี้ว่า Zero-Click สาเหตุนั้นอาจมาจากหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่มีผลก็คือตัวผลการค้นหาของกูเกิลเอง ซึ่งแสดงข้อมูลเบื้องต้นพื้นฐานไว้พอสมควรด้วยเช่นกัน จึงไม่จำเป็นต้องคลิกลิงก์ต่อ
มีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ หากดู Zero-Click เฉพาะบนมือถือ ตัวเลขสูงถึง 77.22%, การคลิกลิงก์โฆษณาอยู่ที่ 1.59%
วันนี้ Bing ประกาศอัพเกรดหน้าตาครั้งใหญ่ โดยผลการค้นหาคีย์เวิร์ดบางประเภท (เช่น สูตรอาหาร ไอเดีย แนวทาง) จะแสดงเป็นภาพแทนลิงก์แบบดั้งเดิม ตั้งแต่ในแท็บหลักของหน้าผลการค้นหาเลย
ตัวอย่างคือ การค้นหาสูตรอาหารจะเห็นภาพของอาหาร พร้อมข้อมูลอื่น เช่น คะแนนรีวิว ปริมาณแคลอรี, การค้นหาไอเดียแต่งบ้าน จะเห็นภาพของสิ่งนั้นๆ ลักษณะคล้ายกับการใช้งาน Pinterest
เว็บเบราว์เซอร์ Brave ประกาศซื้อกิจการเว็บค้นหา Tailcat เพื่อนำมาพัฒนาเป็นบริการค้นหาของตัวเอง Brave Search ที่จะเชื่อมโยงกับเบราว์เซอร์อย่างแนบแน่น
Brave คุยว่าแนวทางของ Brave Search จะแตกต่างจาก Google Search/Chrome ตรงที่ไม่ตามรอยผู้ใช้ ไม่เก็บหมายเลข IP หรือข้อมูลระบุตัวใดๆ เพื่อนำไปพัฒนาผลการค้นหา
Brave ยังเผยตัวเลขผู้ใช้งานว่าเพิ่มจากเดือนละ 11 ล้านคนในปี 2019 เป็น 25 ล้านคนในปี 2020 และคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้สนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวขึ้นมาก ซึ่งเบราว์เซอร์ Brave ตั้งใจชูประเด็นเรื่องนี้เป็นสำคัญ
นอกจากธุรกิจเว็บค้นหาแล้ว Brave ยังมีธุรกิจโฆษณา Brave Ads และเว็บอ่านข่าว Brave Today ด้วย
ปี 2020 มีประเด็นเรื่องกฎหมายออสเตรเลีย กับ Google รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องจ่ายเงินให้สำนักข่าวในกรณีที่มีการแสดงเนื้อหาข่าวบนแพลตฟอร์มนั้นๆ จุดประสงค์คือเพื่อแบ่งรายได้ให้สำนักข่าวต่างๆ แน่นอนว่า Google ไม่เห็นด้วย เพราะกฎนี้มันไปทำร้ายบริการฟรีของกูเกิลที่แบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้สำนักข่าวอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของออสเตรเลีย ยังคงยืนยันจุดเดิม และพยายามผลักดันร่างกฎหมายต่อไป จน Google ต้องออกมาชี้แจงว่า ถ้ากฎหมายผ่าน Google ก็จำเป็นต้องระงับการ Seach ในออสเตรเลีย
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินที่ชูจุดเด่นเรื่องความเป็นส่วนตัว ประกาศสถิติสำคัญ โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีการใช้งานค้นหามากกว่า 100 ล้านครั้ง ภายในหนึ่งวัน สถิตินี้สะท้อนการเติบโตที่มากขึ้น โดยเมื่อเดือนสิงหาคม DuckDuckGo มีการใช้งานมากกว่า 2 พันล้านครั้งต่อเดือน
ความนิยมของ DuckDuckGo ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นตัวเลือกเสิร์ชพื้นฐานทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ตลอดจนมีผู้ใช้งานลงแอปและส่วนเสริมมากกว่า 4 ล้านคน เมื่อเดือนกันยายน 2020
ที่มา: ZDNet
แอปเปิลได้เพิ่มตัวเลือกเสิร์ชเอนจินในอัพเดตล่าสุด iOS 14.3 คือ Ecosia ซึ่งผู้ใช้งานสามารถกำหนดให้เป็นเสิร์ชเอนจินเริ่มต้นได้ใน Safari โดยไปที่ Settings > Safari > Search Engine
Ecosia เป็นเสิร์ชเอนจินประกาศว่าเป็นเสิร์ชเอนจินรักโลก เพราะกำไรจากการโฆษณาผ่านเสิร์ช Ecosia จะนำไปบริจาคเพื่อสนับสนุนการปลูกต้นไม้ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถึงตอนนี้ปลูกไปแล้วกว่า 115 ล้านต้น อีกทั้งศูนย์ข้อมูลก็ใช้พลังงานหมุนเวียน 100%
ก่อนหน้านี้กูเกิลก็เพิ่ม Ecosia เป็นเสิร์ชเอนจินทางเลือกใน Chrome
ที่มา: iMore
Google กำลังมีคดีการผูกขาดเสิร์ชกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมคาดว่า Google จ่ายเงินให้ Apple เพื่อเป็นเสิร์ชเอนจินดีฟอลต์บน iPhone ประมาณปีละ 8 - 12 พันล้านเหรียญ
แต่ล่าสุด Financial Times ระบุพบการเปลี่ยนแปลงจากการพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาข้อมูลบนแถบเสิร์ชในหน้าโฮมของ iOS 14 (ปาดขวาหน้า Today View) ที่ Apple เริ่มแสดงผลการค้นหาของตัวเองขึ้นมาผ่านการแสดงเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับผลเสิร์ชโดยตรง รวมถึงการแสดงผล autocomplete ของผลเสิร์ชที่มาจากแอปเปิลเองด้วย
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice) ร่วมกับอัยการใหญ่อีก 11 รัฐ ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดบริการค้นหาและโฆษณาบนระบบค้นหา (search advertising) อย่างเป็นทางการ
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมชี้ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด คือการที่กูเกิลไปเซ็นสัญญาเอ็กซ์คลูซีฟกับบริษัทต่างๆ (เช่น เบราว์เซอร์ สมาร์ทโฟน และผู้ให้บริการโทรคมนาคมในสหรัฐ) เพื่อให้ตัวเองเป็นเครื่องมือค้นหาหลัก โดยจ่ายเงินจำนวนเป็นหลักพันล้านดอลลาร์ต่อปี และในสัญญาบางฉบับมีเงื่อนไขห้ามติดตั้งเครื่องมือค้นหาของคู่แข่ง ส่งผลให้ไม่มีบริษัทใดขึ้นมาแข่งขันกับกูเกิลได้เลย
ในบางกรณี เช่น ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ยังเจอสัญญาบีบให้ติดตั้งแอพของกูเกิล (gapps) ทั้งชุด และต้องนำเสนอแอพของกูเกิลในตำแหน่งที่เด่นที่สุดด้วย
Google ประกาศผลเสิร์ชเอนจิ้นผู้ชนะการประมูลเพื่อแสดงผลเป็นตัวเลือก default ใน Android ที่เปิดใช้งานใน 31 ประเทศยุโรปนอกเหนือจาก Google แก้ปัญหาการผูกขาด และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับ Android โดยผู้ใช้งานมีสิทธิ์เลือกเสิร์ชเอนจิ้นทางเลือกสี่ราย (รวม Google แล้ว)
HTTP/2 ประกาศเป็นมาตรฐานมาตั้งแต่ปี 2015 และตอนนี้ก็ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้ว (หน้าเว็บ Blognone ที่เห็นตอนนี้ก็ควรเป็น HTTP/2 ถ้าไม่ได้ใช้เบราว์เซอร์ที่เก่าจัดๆ)
กูเกิลจึงได้ฤกษ์ประกาศว่า Googlebot ที่ไล่วิ่งเก็บข้อมูลหน้าเว็บเพจทั่วอินเทอร์เน็ต จะเปลี่ยนมาเป็น HTTP/2 ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2020 เป็นต้นไป
กูเกิลบอกว่าการเปลี่ยนบ็อตเป็น HTTP/2 จะช่วยประหยัดทรัพยากรของเว็บเซิร์ฟเวอร์ลง เพราะเปิดการเชื่อมต่อ TCP เพียงครั้งเดียว ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เจ้าของเว็บไม่ต้องทำอะไรเพิ่มหากเว็บเซิร์ฟเวอร์รองรับ HTTP/2 อยู่แล้ว หากเซิร์ฟเวอร์ยังเป็นแค่ HTTP/1.1 บ็อตก็จะยังทำงานได้ตามปกติเช่นกัน
เมื่อไม่กี่วันมานี้ Mozilla เพิ่งประกาศปลดพนักงานมากถึง 250 คน พร้อมปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ แต่ล่าสุดเว็บไซต์ The Register ได้ข้อมูลมาว่า Mozilla เพิ่งเซ็นสัญญาส่วนแบ่งรายได้กับกูเกิลฉบับใหม่ ได้เงินมาราว 400-450 ล้านดอลลาร์ตลอดอายุสัญญา 3 ปี (จนถึงปี 2023)
โฆษกของ Mozilla ยืนยันข่าวว่าเซ็นสัญญาต่อกับกูเกิลจริง แต่ไม่ให้ข้อมูลตัวเลขว่า Mozilla มีรายได้เท่าไร
ที่ผ่านมา Mozilla เปิดเผยรายได้ขององค์กรเป็นระยะ ตัวเลขของปี 2018 มีรายได้ทั้งหมด 451 ล้านดอลลาร์ (เกือบทั้งหมดคือ 430 ล้านดอลลาร์มาจากสัญญากับ search engine) ส่วนรายจ่ายในปี 2018 เฉพาะเงินเดือนพนักงานอยู่ที่ 286 ล้านดอลลาร์ สำหรับพนักงานประมาณ 1,000 คน
WhatsApp พยายามแก้ปัญหาข่าวปลอมในห้องแชท ด้วยการจำกัดการ forward ข้อความที่ได้รับการส่งต่อเยอะๆ เพื่อสกัดกั้นการระบาดของข่าวปลอม ผลคือสามารถลดจำนวนข่าวปลอมลงได้ถึง 70%
ล่าสุด WhatsApp เพิ่มฟีเจอร์ต่อยอดจากการจำกัดข่าวปลอม โดยจะขึ้นข้อความเตือนผู้ใช้งานว่า ควรตรวจสอบข้อความนี้ผ่าน search engine ก่อน ถ้ากดยืนยัน WhatsApp จะนำข้อความนี้ไปค้นในกูเกิลเพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือปลอม
WhatsApp บอกว่าฟีเจอร์นี้รักษาความเป็นส่วนตัวของข้อความแชท เพราะเป็นการส่งเนื้อหาข้อความไป search ผ่านเบราว์เซอร์ในเครื่องผู้ใช้ โดยที่ WhatsApp ไม่สามารถอ่านข้อความนั้นได้ด้วย
กูเกิลประกาศว่าดัชนีค้นหาของเว็บไซต์ทั้งหมด จะใช้การแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาเป็นค่าเริ่มต้น (Mobile-First Index) มีผลตั้งแต่กันยายน 2020 เป็นต้นไป
แนวทางนี้กูเกิลประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2016 โดยตอนนั้นระบุว่าจะเน้นเว็บเวอร์ชันมือถือเป็นหลัก ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดกูเกิลบอกว่าเว็บไซต์มากกว่า 70% มีความพร้อมสำหรับดัชนีเว็บบนมือถือแล้ว จึงตัดสินใจเปลี่ยนให้มีผลทั้งหมด
กูเกิลบอกว่าแม้ดัชนีเว็บจะยังรองรับการเก็บข้อมูลแยกระหว่างเว็บเวอร์ชันเดสก์ท็อป กับเว็บบนมือถือ แต่กูเกิลแนะนำว่าควรทำเว็บให้เป็นแบบ responsive เพราะช่วยลดปัญหาจากการแยก URL เป็นสองแบบ ที่สร้างความสับสนทั้งบนเสิร์ชและสำหรับผู้ใช้งานเอง
หลังภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง Parasite ชนะรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture) ความสนใจต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เพิ่มสูงอย่างรวดเร็ว
กูเกิลจึงออกมาเผยข้อมูลผลการค้นหาภาพยนตร์เรื่อง Parasite และภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่เข้าชิงรางวัล Best Picture ในงานออสการ์ครั้งที่ 92
ช่วงก่อนงาน ภาพยนตร์ที่เข้าชิงได้รับความสนใจแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สนใจเรื่อง 1917 มากที่สุด, แคนาดา จีน อินโดนีเซีย สนใจ Parasite, ประเทศแถบแอฟริกา ตะวันออกกลาง รัสเซีย สนใจ Joker เป็นต้น
หลังจากที่กูเกิลได้เพิ่ม DuckDuckGo เข้ามาเป็นเสิร์ชเอนจินทางเลือกใน Chrome ไปเมื่อปีที่แล้ว มาปีนี้ทางบริษัทก็ได้เริ่มอัพเดตตัวเลือกเสิร์ชเอนจินที่มีใช้งานแบบเงียบๆ อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นคราวของ Ecosia เสิร์ชเอนจินที่มีเป้าหมายในการสร้างรายได้เพื่อจุดประสงค์ที่ต่างจากเจ้าอื่นๆ ซึ่งนั่นก็คือการฟื้นฟูป่าทั่วโลก
โดยกำไรจากการโฆษณาผ่านเสิร์ชเอนจินที่ทาง Ecosia ได้ จะถูกนำไปบริจาคเพื่อสนับสนุนการปลูกต้นไม้ผ่านองค์กรท้องถิ่นที่เป็นพันธมิตรซึ่งทำกิจกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ปัจจุบัน Ecosia ได้ให้เงินทุนเพื่อสนับสนุนการปลูกต้นไม้ไปแล้วถึง 80 กว่าล้านต้น
Google Search เพิ่มการแสดงข้อมูลการเตือนภัย "โคโรนาไวรัส" เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำว่า coronavirus หรือคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลนี้จะแสดงในกล่องชื่อว่า "Help and Information" และ "Safety Tips" ในหน้าผลการค้นหา (อยู่ใต้ข่าวและอัพเดตจากทวิตเตอร์) โดยตอนนี้ยังแสดงลิงก์และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่กูเกิลก็บอกว่าจะอัพเดตข้อมูลตรงนี้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า SOS Alert ที่กูเกิลอาจปรับหน้าผลการค้นหาตามสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติในช่วงเวลานั้นๆ โดยอิงตามพื้นที่เกิดเหตุด้วย
กูเกิลเพิ่งปรับปรุงผลค้นหาให้แสดงไอคอน favicon ทุกรายการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เสียงตอบรับกลับไม่ค่อยดีนัก โดยชุมชน SEO/SEM มองว่ามันทำให้ผลค้นหาแบบ organic นั้นแยกออกจากผลแบบจ่ายเงินโฆษณาได้ยากกว่าเดิม และอาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมผู้ใช้ เมื่อวานนี้กูเกิลก็ออกมาระบุว่าแม้ผลเบื้องต้นจะเป็นไปในทางบวก แต่บริษัทก็ฟังเสียงตอบรับและจะปรับปรุงต่อไป
กูเกิลยังชี้แจงว่าการแสดง favicon นี้เริ่มทดสอบในอุปกรณ์เคลื่อนที่มาหลายเดือนแล้ว และได้รับผลตอบรับที่ดีเช่นกัน
ไมโครซอฟท์มีเวอร์ชันย่อยของ Office 365 ที่เรียกว่า ProPlus ซึ่งคิดเงินตามจำนวนผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถติดตั้งโปรแกรม Office ได้สูงสุด 5 เครื่อง เหมาะสำหรับองค์กรที่ผู้ใช้หนึ่งคนมีอุปกรณ์หลายชิ้น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศว่าตัวติดตั้งของ Office 365 ProPlus จะเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาของ Chrome ในเครื่องเดียวกัน จาก Google Search มาเป็น Bing ให้ด้วย ด้วยเหตุผลว่าผู้ใช้จะสามารถใช้งาน Microsoft Search ระบบค้นหาเอกสารภายในองค์กร ผ่านช่องทางของ Bing ได้
กูเกิลมีซอฟต์แวร์จัดการด้านการศึกษาชื่อ Google Classroom เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2014 โดยเป็นส่วนหนึ่งของ G Suite for Education และมักใช้ร่วมกับ Chromebook ที่ได้รับความนิยมในสถาบันการศึกษา
ล่าสุดกูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Originality Reports ที่ช่วยให้ครูตรวจการบ้าน (รายงาน/บทความ) ของนักเรียนได้สะดวกขึ้นมาก เพราะมันช่วยตรวจเช็คให้อัตโนมัติว่ามีย่อหน้าใดบ้างที่คัดลอกมาจากอินเทอร์เน็ต
กูเกิลประกาศผลผู้ชนะการประมูล เพื่อให้แสดงผลสำหรับเป็นตัวเลือกเสิร์ชเอนจินค่าเริ่มต้น (default) ใน Android ที่เปิดใช้งานในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาหลังถูกตัดสินจากสหภาพยุโรปว่าผูกขาดที่กำหนดกูเกิลเป็นเสิร์ชพื้นฐาน กูเกิลจึงต้องแก้เกมโดยหารายได้ทางนี้เสียเลย
ไมโครซอฟท์ประกาศยกเครื่องระบบค้นหา (Find in Files) ของ Visual Studio ใหม่ เขียนใหม่ทั้งหมดเป็น C# เพื่อลดการเรียก interop call ที่ไม่จำเป็น ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นหลายเท่า ใช้หน่วยความจำน้อยลง
จากการทดสอบของไมโครซอฟท์เองที่ระดับ 1 แสนไฟล์ ฟีเจอร์ค้นหาเดิมใช้เวลามากกว่า 4 นาที ในขณะที่ฟีเจอร์ค้นหาตัวใหม่ใช้เวลาเพียง 26 วินาที (เกิน 8 เท่า) ไมโครซอฟท์บอกว่าความแตกต่างจะยิ่งเห็นผลชัดหากค้นหาด้วย regular expression แต่การค้นหาคำทั่วๆ ไปก็เร็วขึ้นเท่าตัวแล้ว
Find in Files ตัวใหม่ยังมีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง
กูเกิลประกาศอันดับคำค้นหายอดนิยมประจำปี 2019 ซึ่งมีทั้งในระดับโลกและรายประเทศ สำหรับประเทศไทยมีการแยกคำค้นแบ่งออกมาทั้งสิ้น 9 หมวดหมู่
คำค้นหาประจำปีนี้คือ ชิมช้อปใช้ ซึ่งยังเป็นอันดับ 1 ในหมวดคำค้นวิธี (How-To) ด้วย ส่วนข่าวในประเทศที่ถูกค้นหามากที่สุดคือ ข่าวลัลลาเบล ขณะที่ข่าวต่างประเทศคือ ข่าวพายุเข้าญี่ปุ่น
ด้านบันเทิง ละครที่ถูกค้นหามากที่สุดคือ กรงกรรม และเพลงที่ถูกค้นหามากที่สุดคือ รักติดไซเรน
ไมโครซอฟท์มีเครื่องมือค้นหาอยู่ 2 ตัวคือ Bing ที่ทุกคนรู้จักกันดี และ Microsoft Search ที่เปิดตัวในปี 2018 ใช้สำหรับหาข้อมูลภายในอินทราเน็ตขององค์กร เช่น เอกสารหรือไฟล์ต่างๆ ที่อยู่บนระบบของไมโครซอฟท์
ปีนี้ไมโครซอฟท์ประกาศผนวก Microsoft Search ให้เรียกใช้งานจาก Bing ได้ด้วย เราสามารถค้นหาข้อมูลบน Bing.com แล้วได้ผลการค้นหาเอกสารภายในองค์กรโผล่ขึ้นมาในหน้าเว็บ Bing ด้วยอีกทางหนึ่ง (นอกเหนือจากข้อมูลเว็บสาธารณะที่ Bing โชว์อยู่แล้ว)
กูเกิลประกาศเริ่มใช้งานโมเดลประมวลภาษาธรรมชาติ (natural language processing - NLP) แบบ deep learning ที่บริษัทโอเพนซอร์สออกมาเมื่อปีที่แล้วที่ชื่อว่า BERT ในการทำความเข้าใจคำค้นใน Google Search เพื่อให้เข้าใจความหมายของวลีที่ผู้ใช้กำลังค้นหาได้ดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ผู้ใช้มักพยายามเพิ่มคำสำคัญที่ถูกต้อง เพราะเว็บค้นหามักใช้คำเหล่านี้ค้นฐานข้อมูล โดยไม่ได้ใช้คำขยายหรือคำบุพบทมาเป็นส่วนสำคัญ แต่การประมวลผลแบบ NLP ทำให้กูเกิลเข้าใจคำค้นได้ตรงความต้องการแม้จะค้นเหมือนพูดคุยกับคนอยู่ก็ตาม
กูเกิลประกาศว่าเพิ่งปรับน้ำหนักการค้นหาในเนื้อหาประเภทข่าว โดยจะให้คุณค่ากับคนรายงานคนแรก (original reporting) มากขึ้น จากเดิมที่ให้น้ำหนักกับรายงานล่าสุดมากกว่า หรือข่าวแรกที่รายงานออกมาก็จะค้างอยู่ลำดับต้นๆ นานกว่า
ระบบยังคงทำงานอัตโนมัติทั้งหมด แต่กูเกิลระบุว่าตอนนี้มีผู้ให้คะแนนระบบกว่าหมื่นคน ให้คะแนนคุณภาพของการจัดลำดับเว็บตามคู่มือ
กฎข้อหนึ่งของการให้คะแนนคือ การให้คะแนนสูงสุดกับข่าวที่จะไม่ถูกเปิดเผยที่อื่น หากไม่มีข่าวชิ้นนั้น มีการรายงานเบื้องลึกที่ต้องอาศัยทักษะ, เวลา, และความพยายามสูง