นอกจากคดี Epic Games ฟ้อง Google Play Store กรณีส่วนแบ่ง 30% ยังมีนักพัฒนาสาย Android อีกกลุ่มที่รวมตัวกันฟ้องกูเกิลข้อหาผูกขาดแบบเดียวกัน แถมยังเรียกค่าเสียหายจากกูเกิลด้วย (คำฟ้องของ Epic ไม่เรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินจากทั้งแอปเปิลและกูเกิล)
กูเกิลตัดสินใจถอด Fortnite ออกจาก Play Store แล้วเช่นเดียวกับแอปเปิล หลังจากที่ Epic ได้ทำระบบจ่ายเงินขึ้นมาเองในเกม Fortnite บนมือถือ ซึ่งไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งในระบบ In-App ให้กูเกิล
ทั้งนี้กูเกิลออกแถลงการณ์ถึงเหตุผลด้วย โดยระบุว่าแอนดรอยด์เป็นระบบเปิด ที่นักพัฒนาสามารถเผยแพร่แอปได้หลายช่องทางในแต่ละ Store สำหรับนักพัฒนาเกมที่เลือก Play Store นั้น กูเกิลมีกฎที่เป็นธรรมต่อนักพัฒนาอยู่แล้ว และทำให้ผู้ใช้งานใช้ได้อย่างปลอดภัย กรณีของ Fortnite นั้น จึงต้องถอดแอปออกไปเพราะผิดข้อกำหนดการใช้งาน อย่างไรก็ตามกูเกิลจะเจรจากับ Epic เพื่อหาแนวทางนำเกมนี้กลับมา
หลังจาก YouTube Music ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ก็มีข่าวลือว่า Google จะหยุดให้บริการ Google Play Music และย้ายไป YouTube Music ทั้งหมดเพื่อลดความซ้ำซ้อนของผลิตภัณฑ์ในบริษัท วันนี้ Google ประกาศแผนการหยุดให้บริการ Google Play Music อย่างเป็นทางการแล้ว
Google ประกาศว่า ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป Google Play Music จะหยุดให้บริการในนิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้ และตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้เป็นต้นไปสำหรับทุกประเทศทั่วโลก โดยผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการ Google Play Music ได้ แต่ Google จะยังไม่ปิดทั้งหมด โดยจะให้เวลาผู้ใช้งานจนถึงธันวาคมนี้ในการย้ายข้อมูลต่าง ๆ เช่น เพลย์ลิสต์, เพลงที่อัพโหลด และอื่น ๆ ไปยัง YouTube Music ภายในเดือนธันวาคมนี้
หลังจากเปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ล่าสุด Google Play Pass บริการเหมาจ่ายรายเดือนสำหรับเล่นเกมและแอปได้ไม่จำกัด เตรียมขยายบริการเพิ่มอีก 9 ประเทศภายในสัปดาห์นี้ ประกอบไปด้วย ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี นิวซีแลนด์ สเปน และสหราชอาณาจักร
Google ยังเพิ่มตัวเลือกเหมาจ่ายรายปีให้กับบริการ Play Pass เฉพาะในอเมริกา สนนราคาอยู่ที่ 29.99 เหรียญ (ประมาณ 950 บาท) สามารถเลือกอัพเกรดผ่าน Play Store ได้ทันที
สหภาพยุโรปเพิ่งผ่านร่างแก้ไขกฎหมายว่าด้วยความเป็นธรรมและความโปร่งใสต่อบริการแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ช่วยลดอำนาจของเจ้าของแพลตฟอร์มแอปสโตร์อย่าง Apple, Google เหนือนักพัฒนาแอปลง โดยการแก้ไขกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ราวฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ช่วงเดือนกันยายนเป็นต้นไป)
ใจความหลัก ๆ ของการแก้ไขกฎหมายนี้ก็มี
Google ได้ลบแอปมัลแวร์ออกจาก Play Store 25 แอปที่ถูกพัฒนาโดย Rio Reader LLC มียอดดาวน์โหลดรวมกัน 2.34 ล้านครั้ง หลัง Evina บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบว่าแอปเหล่านี้ แม้จะใช้งานได้และมีฟังก์ชันที่แตกต่างกันไป แต่เบื้องหลังคือแอปมัลแวร์ที่มีเป้าหมายขโมยข้อมูลล็อกอินเฟซบุ๊ก
แอปเหล่านี้สามารถตรวจจับได้ว่ากำลังเปิดแอปอะไรอยู่ และหากเหยื่อเปิดเฟสบุ๊ก แอปเหล่านี้จะเปิดหน้า phishing ที่เหมือนหน้าล็อกอินเฟซบุ๊กขึ้นมาบน foreground แทน และเมื่อเหยื่อกรอกอีเมลพาสเวิร์ด ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปยังโดเมน airshop.pw (ที่ตอนนี้ถูกปิดไปแล้ว)
หลังมีข่าวมานาน ล่าสุด Google เริ่มทดสอบ Nearby Sharing ฟีเจอร์แชร์ไฟล์แบบ AirDrop เวอร์ชันเบต้าแล้ว โดยฟีเจอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Google Play Service ผู้ที่สนใจจะต้องลงทะเบียน beta tester ก่อน
Nearby Share จะเพิ่มขึ้นมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกเวลาเรากดแชร์ (share sheet) ไม่ว่าจะรูปภาพ วิดีโอ URLs ฯลฯ เมื่อกด Nearby Share หากใช้งานครั้งแรกจะมีหน้าต่างให้กดเปิด และสามารถเลือกได้แบบ AirDrop ว่าใครจะเห็นเครื่องเราได้ (device visibility) ซึ่งก็เลือกได้ว่าเฉพาะผู้ติดต่อ ทุกคนหรือซ่อนเอาไว้เลย โดย Nearby Share จะถูกเพิ่มเข้ามาเป็น shortcut บนแถบ notification panel ด้านบน เพื่อเปิดหรือปิดรับไฟล์ด้วย
ดูตัวอย่างการใช้งานได้จากที่มา
ในคลิปแนะนำฟีเจอร์ใหม่ของ Google Play ปี 2020 (ที่ออกมาแทนประกาศในงาน Google I/O ซึ่งไม่ได้จัด) กูเกิลระบุว่าจะเริ่มบังคับใช้ Android App Bundle กับแอพใหม่ที่ส่งขึ้น Play Store ในปีหน้า 2021 แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาที่ชัดเจน
Android App Bundle คือเทคนิคใหม่ช่วยลดขนาดไฟล์ APK ลงได้สูงสุดถึง 50% เพราะเป็นการแบ่งดาวน์โหลดเฉพาะส่วนที่จำเป็น เปิดตัวครั้งแรกในงาน Google I/O 2018 และกูเกิลระบุว่าตอนนี้มีแอพกว่า 5 แสนตัวใช้งาน และแอพสัดส่วน 35% ที่ผู้ใช้ติดตั้งจริงๆ รองรับ App Bundle แล้ว
คนที่เล่นเกมบน Android คงคุ้นเคยกับการโหลดแอพเกมที่ขนาดไม่ใหญ่นัก (ไม่เกิน 100MB) มาติดตั้งก่อน แต่ก่อนเล่นต้องดาวน์โหลดไฟล์เนื้อหาของเกม (ที่เรียกว่า APK Expansion Files หรือ OBB) ขนาดใหญ่เป็นหลัก GB ที่รอโหลดกันนานกว่าจะได้เริ่มเกมจริงๆ เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีนัก
ปัญหานี้กำลังจะถูกแก้ไขด้วยบริการใหม่ของกูเกิลที่เรียกว่า Google Play Asset Delivery
Google Play Asset Delivery เป็นการต่อยอดจาก Android App Bundle ที่เริ่มใช้ในปี 2018 ช่วยให้เราไม่จำเป็นต้องโหลดไฟล์ APK ตัวเต็มอีกต่อไป ดาวน์โหลดเฉพาะโมดูลที่จำเป็นเท่านั้น
Epic Games ยอมนำเกมฮิตแห่งยุค Fortnite มาเปิดให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play Store แล้ว หลังเปิดตัวเวอร์ชัน Android ในปี 2018 และยืนยันไม่ลง Play Store เพราะไม่ต้องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กูเกิล
การกลับลำของ Epic Games ครั้งนี้ต้องเรียกว่ายอม "กัดฟัน" ทำ เพราะมาพร้อมกับเสียงวิจารณ์กูเกิลว่า ตั้งใจบีบให้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งแบบ sideload มีข้อจำกัดมากมาย เช่น แสดงป๊อปอัพเตือนว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้ไม่ปลอดภัย, บล็อคการติดตั้งผ่าน Google Play Protect รวมถึงบีบผ่านทางสัญญากับผู้ผลิตมือถือหรือโอเปอเรเตอร์ด้วย
Google Play เพิ่มหมวดใหม่ในการค้นหาแอปคือ Kids Tab รวมแอปพลิเคชั่นเพื่อความบันเทิงและการเรียนรู้สำหรับเด็กโดยเฉพาะเข้าไว้ด้วยกัน โดยแต่ละแอปจะมีเครื่องหมาย Teacher approved ซึ่งกูเกิลระบุว่าได้ทำงานกับนักการศึกษาเพื่อรวมแอปที่เหมาะกับการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ในแต่ละช่วงวัย
กูเกิลระบุว่า เปิดให้ใช้งาน Kids Tab เร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ เพราะเด็กๆ ก็ต้องอยู่บ้านกันในช่วงนี้จึงเห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสม และจะเพิ่มแอปพลิเคชั่นที่เหมาะกับการเรียนรู้เข้ามาอีกเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังได้รับฟีดแบคจากผู้ปกครองก่อนหน้านี้ว่า เป็นการยากที่จะค้นหาแอปเรียนรู้ให้เด็กใน Google Play การรวมเข้าไว้ในที่เดียวช่วยให้ค้นหาง่ายขึ้น
TikTok เป็นแอปล่าสุดที่มียอดดาวน์โหลดผ่าน Play Store มากกว่า 1,000 ล้านครั้งเรียบร้อยแล้ว จากตัวเลขในหน้าของแอป
ตัวเลขนี้นับเฉพาะการดาวน์โหลด TikTok สำหรับระบบปฏิบัติการ Android ผ่าน Play Store เท่านั้น ยังไม่รวมผู้ใช้ในจีน (ซึ่งชื่อแอปว่า Douyin) และ App Store ของ iOS
ตัวเลขที่มีรายงานก่อนหน้านี้ ยอดดาวน์โหลดรวมทุกระบบปฏิบัติการนอกจีนเกิน 1,000 ล้านครั้ง เมื่อกุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว ส่วน ByteDance เจ้าของแอป เผยว่าผู้ใช้งานแบบแอคทีฟรายเดือนมากกว่า 1,000 ล้านราย เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
Google Play ออกฟีเจอร์ Play Together เป็นฟีเจอร์โซเชียล ผู้ใช้จะมองเห็นรายชื่อเพื่อนและสามารถเพิ่มเพื่อนเข้ามาในลิสต์ได้ แชร์สถิติเกมด้วยกันเพื่อทำการแข่งขันกันได้ เบื้องต้นยังเปิดใช้งานเฉพาะผู้ใช้งานบางกลุ่ม
สำหรับผู้ใช้ที่ได้ฟีเจอร์ใหม่ จะมองเห็นแท็บใหม่คือ Social tab กดเข้าไปจะได้รับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเบื้องต้น เช่นต้องการให้เกมเข้าถึงรายชื่อเพื่อนหรือไม่ เพื่อจะได้เล่นเกมด้วยกันง่ายขึ้น จากนั้นระบบก็จะแนะนำรายชื่อเพื่อนที่อิงกับรายชื่อผู้ติดต่อของผู้ใช้งาน หรือแชร์ลิงค์ของเราไปให้เพื่อนโดยตรงได้
Google สั่งแบนแอป Infowars ซึ่งเป็นแอปเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดบน Android แล้ว หลังจากที่ Infowars เผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับการป้องกัน COVID-19
Alex Jones ผู้เผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดผ่าน Infowars ได้ปล่อยวิดีโอเกี่ยวกับข้อโต้แย้งในเรื่อง social distancing, การอยู่ที่บ้าน และการกักตัวในสถานที่ในการลดการแพร่ระบาดของไวรัส ซึ่งการเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดนี้ถือว่าผิดกฎของ Google Play อย่างชัดเจน
ในวิดีโอที่ Alex Jones เผยแพร่นั้น มีใจความลักษณะเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิดหลายอย่าง รวมถึงขายสินค้าของตัวเองในแอปโดยอวดอ้างว่าผลิตภัณฑ์ของเขาสามารถป้องกันโคโรนาไวรัสได้
สำหรับใครที่ยังคงรอคอย Dark Theme ที่จะมากับอัปเดต Android 10 บนมือถือตัวเองอยู่ วันนี้ Google ก็มีอะไรมาปลอบใจเล็กน้อย โดยการใส่ Dark Theme ให้กับ Google Play Store ที่จะสามารถใช้งานได้กับมือถือ Android ทุกรุ่น โดยไม่จำเป็นต้องเป็น Android 10 ก็ได้ เพียงเข้าไปที่ Google Play Store แตะที่แถบเมนูสามขีด ไปที่ Settings > Theme และเลือกที่ Dark
Dark Theme บน Android อัปเดตให้กับผู้ที่ใช้ Android 10 ไปแล้วในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา และถึงแม้ผู้ใช้จะไม่ได้ใช้ Dark Theme แบบทั้งระบบ ก็ยังสามารถเลือกใช้ Dark Theme กับแอปของ Google บางแอป บน Android 10 เช่น Google Keep, Photos, Duo, Files และอื่นๆ ได้เช่นกัน
Google เริ่มจริงจังกับการรับมือโฆษณาที่น่ารำคาญมากขึ้น ไม่ใช่แค่บน Chrome แต่รวมถึงแอปบน Play Store ด้วย เมื่อล่าสุด Google ระบุว่าได้นำแอปกว่า 600 แอปที่แสดงโฆษณาน่ารำคาญออกจาก Play Store และแบนนักพัฒนาจากการหาเงินด้วยโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม Google
Google บอกว่ามีทีมที่คอยดูแลและจัดการแอปบนแพลตฟอร์มที่ละเมิดนโยบายการแสดงโฆษณา รวมถึงใช้ machine learning ในการตรวจสอบแอปลักษณะนี้โดยเฉพาะ โดยตัวอย่างการละเมิดกฎได้แก่การแสดงโฆษณาที่ขัดขวางการใช้งาน (เช่นโฆษณาเต็มหน้าจอ) จนอาจนำไปสู่การคลิ๊กโฆษณาแบบไม่ตั้งใจ ไม่ว่าจะภายในตัวแอปหรือนอกตัวแอปก็ตาม
เมื่อต้นปี 2019 เราเห็นข่าว Google Play ห้ามแอพที่ขอสิทธิเข้าถึงบันทึกการโทรและ SMS โดยไม่จำเป็น โดยให้เหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แต่ก็สร้างเสียงวิจารณ์ไม่น้อย
เวลาผ่านมาครบปี กูเกิลสรุปตัวเลขให้เห็นชัดๆ ว่าแอพที่ขอสิทธิการใช้งาน SMS และการโทร (call data) มีจำนวนลดลงถึง 98% โดย 2% ที่เหลือคือแอพที่ยังจำเป็นต้องใช้งานสิทธิเหล่านี้จริงๆ
กูเกิลยังให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยอื่นๆ ของ Google Play ในปี 2019 ดังนี้
จากที่มีข่าวออกมาว่า Huawei เตรียมเข้าร่วม GSDA สร้างแอปสโตร์สำหรับผู้ผลิตมือถือจีน ร่วมกับ Xiaomi, Oppo, Vivo
Xiaomi ในฐานะหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของ Global Developer Service Alliance (GDSA) ออกแถลงการณ์มาแก้ข่าวว่า GDSA เป็นบริการช่วยอำนวยความสะดวกในการอัพโหลดแอพขึ้นสโตร์เท่านั้น เพื่อให้นักพัฒนาอัพโหลดไฟล์ครั้งเดียว ส่งขึ้นสโตร์ของพาร์ทเนอร์ทั้ง 3 รายได้เลย (Xiaomi, Oppo, Vivo) ดังนั้น GDSA ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาแข่งกับ Google Play Store แต่อย่างใด
ในแถลงการณ์ของ Xiaomi ยังระบุชื่อพาร์ทเนอร์เพียงแค่ 3 รายเท่านั้น ยังไม่มีชื่อของ Huawei เข้าร่วมด้วย
ปัญหามัลแวร์หรือแอปประสงค์ร้ายบนแอนดรอยด์เป็นปัญหาที่หลอกหลอน Google มานาน แม้จะพยายามหามาตรการป้องกันเท่าไหร่ก็ตามแต่ก็ยังมีข่าวเจอแอปที่ฝังมัลแวร์จาก Play Store อยู่เรื่อย ๆ
ล่าสุด Google เลยอาศัยความร่วมมือจากมืออาชีพอย่าง ESET, Lookout และ Zimperium สามบริษัทแอนตี้ไวรัสเพื่อมาช่วยป้องกันและตรวจสอบ Play Store ให้มากขึ้นภายใต้โครงการ App Defense Alliance ที่ Google จะนำเอนจินสแกนหามัลแวร์จากทั้ง 3 เจ้ามาช่วยสแกน Play Store รวมถึงตรวจสอบแอปที่จะขึ้นสโตร์ใหม่ ช่วย Google Play Protect เพิ่มเข้าไปอีก 3 แรง
ที่มา - Google Security Blog
Fleksy เป็นคีย์บอร์ดที่ได้รับความนิยมสูง มีดาวน์โหลด 5 ล้านครั้ง จากชื่อเสียงเรื่องพิมพ์ได้เร็ว ถูก Google Play ปรับเรทอายุผู้ใช้ จากเดิม PEGI 3 ที่เหมาะกับทุกคน เป็นสำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป
เรื่องเกิดจาก Fleksy ส่งอัพเดตแอพขึ้น Play Store กลับถูกบล็อคโดยไม่ทราบสาเหตุ ทาง Fleksy จึงเมล์ไปถามกูเกิลเกี่ยวกับประเด็นนี้ถึงทราบว่า "อีโมจินิ้วกลาง" เป็นต้นเหตุ อย่างไรก็ตาม Fleksy ชี้ว่าคีย์บอร์ด Gboard ของกูเกิลเองที่มีอีโมจิเดียวกัน ยังได้รับเรท PEGI 3 แบบเดิมอยู่
กูเกิลปล่อยแพตช์ความปลอดภัยประจำรอบเดือนตุลาคม 2019 (2019-10-05) ซึ่งถือเป็นแพตช์ชุดแรกของ Android 10 ที่ออกตัวจริงในช่วงต้นเดือนกันยายน
แพตช์ตัวนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะฟีเจอร์ใหม่ของ Android 10 คือ Project Mainline ทำให้กูเกิลสามารถอัพเดต "บางส่วน" ของตัว OS ผ่าน Google Play Store ได้เหมือนกับการอัพเดตแอพทั่วไป แพตช์ตัวนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กูเกิลปล่อยอัพเดตความปลอดภัยผ่านระบบใหม่ที่ว่านี้
Buzzfeed เผยรายงานพบว่ากูเกิล ลบแอพจีนออกจาก Play Store กว่า 46 แอพเฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีแอพเซลฟี่, แอพเกี่ยวกับ security, แอพคีย์บอร์ด, แอพดูดวง, แอพอีโมจิ, แอพสุขภาพ เป็นต้น
ทั้ง 46 แอพมาจากผู้พัฒนาบริษัทเดียวคือ iHandy อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมกุเกิลถึงลบแอพของ iHandy
จำนวนมากในเดือนเดียว ทั้งกูเกิลและ iHandy ยังไม่ออกมาตอบอะไร
iHandy ถือเป็นผู้พัฒนาแอพมือถือรายใหญ่รายหนึ่งของจีน มีทีมทำงานที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ด้วย
กระแสของ Dark mode กำลังแผ่ขยายไปทุกแอพในตอนนี้ ต่อจาก Instagram ที่กำลังทดสอบ Dark modeก็เป็นคิวของ Play Store ที่รองรับ Dark mode กันบ้างแล้วหลังจากแอพอื่น ๆ ของกูเกิลพากันได้ Dark mode ไปจนเกือบหมด
สำหรับ Dark mode ต้องให้สมาร์ทโฟนของเราเป็น Android 10 และ Play Store ต้องอัปเดทเป็นเวอร์ชั่น 16.7.21 ก่อนถึงจะใช้งานได้ โดยสีของทั้งแอพจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้มเกือบดำยกเว้นแถบค้นหาที่สีจะอ่อนลงเล็กน้อย โดยตัวอย่างภาพสามารถเปิดดูได้ในที่มา
ที่มา : 9to5Google
กูเกิลเปิดตัวบริการใหม่ Google Play Pass ซึ่งเป็นบริการเหมาจ่ายรายเดือนสำหรับเล่นเกมและแอปได้แบบไม่จำกัด ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าเป็นบริการคู่แข่งของ Apple Arcade ราคาอยู่ที่ 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือน ตรงกับที่หลุดออกมา
ในช่วงแรกบริการนี้ใช้ได้เฉพาะลูกค้าในอเมริกาเท่านั้น สามารถแชร์แบบ Family Plan ได้สูงสุด 6 คน พร้อมออกโปรโมชัน ทดลองใช้งานฟรี 10 วัน และหากสมัครใช้งานช่วงนี้ราคาจะเหลือเพียง 1.99 ดอลลาร์ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี
เดือนที่แล้วมีข้อมูลเรื่อง Google Play Pass บริการจ่ายเหมารายเดือนเพื่อเล่นเกม ชนกับ Apple Arcade โดยตรง
ล่าสุด Google แย้มข้อมูลออกมาอย่างเป็นทางการว่าบริการ Play Pass กำลังจะมาเร็ว ๆ นี้ ราคาเบื้องต้นที่หลุดออกมาคือ 5 เหรียญต่อเดือนเท่า Apple Arcade
ที่มา - @GooglePlay via The Verge