Virus Shield เป็นแอพพลิเคชั่นที่หลอกผู้ใช้ว่าสแกนหาไวรัสในเครื่อง โดยทุกครั้งที่ผู้ใช้กดดูแอพพลิเคชั่นจะขึ้นไอคอนแสดงว่าได้ตรวจไวรัสในเครื่องแล้ว โดยขายราคา 3.99 ดอลลาร์ และขายดีจนกระทั่งขึ้นอันดับหนึ่งใน Google Play อยู่ช่วงสั้นๆ ยอดขายรวมกว่า 10,000 ชุด หลังจากนำแอพพลิเคชั่นขึ้น Google Play เพียงสัปดาห์เดียว ขึ้นที่หนึ่ง Top New Paid Android Apps แต่ทางกูเกิลก็ถอดแอพพลิเคชั่นตัวนี้ออกไปในที่สุด
ตัวแอพพลิเคชั่นโฆษณาว่าทำงานโดยไม่กินแบตเตอรี่และไม่มีโฆษณา
ทีมงาน Android Police ดีคอมไพล์โค้ดของแอพพลิเคชั่นนี้ออกมาแล้วอัพโหลดไว้บน GitHub เพื่อแสดงว่าแอพพลิเคชั่นนี้ไม่ได้ทำอะไรเลยจริงๆ
Google Play ได้เริ่มทดลองเพิ่มแท็บ "My Play Activity" ในหน้าหลักของตนเองแล้ว โดยหน้าแท็บดังกล่าวจะแสดงประวัติการ "+1" และการให้คะแนนแอพต่างๆ บน Google Play ในรูปแบบจำนวนดาวตามที่ผู้ใช้เคยทำมาทั้งหมด
ในตอนนี้แท็บ "My Play Activity" ยังคงแสดงผลเฉพาะบนเครื่องเดสก์ท็อปเท่านั้น และยังคงอยู่ในช่วงทดสอบกับผู้ใช้เพียงบางส่วน แต่คาดว่าไม่นานผู้ใช้ทุกคนจะสามารถเข้าถึงแท็บนี้ได้ เช่นเดียวกับการเข้า Google Play ผ่านจากอุปกรณ์พกพา
ที่มา - Engadget
หลังจากที่มีการเปิดเผยว่า Galaxy S5 และ HTC One (M8) มีโลโก้ powered by Android โผล่มาตอนบูตเครื่อง และสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ากูเกิลกำลังใช้เอกสารสัญญาเป็นข้อบังคับให้สองบริษัทนี้โดยเฉพาะหรือเปล่านั้น ล่าสุดมีการค้นพบแล้วว่า สิ่งที่เห็นนี้ คือสิ่งที่เป็นข้อบังคับข้อใหม่จากกูเกิลจริงๆ
โดยข้อบังคับใหม่นั้น นั่นก็คือผู้ผลิตทุกรายต้องใส่โลโก้ "powered by Android" เอาไว้ที่ "หน้า Bootloader" ด้วย ถึงจะผ่านเงื่อนไขในการขอสิทธิ์การใช้งาน Google Mobile Service โดยตำแหน่งโลโก้นั้นกูเกิลได้กำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าต้องวางไว้ที่ด้านล่างสุดของจอ และต้องมีความสูงประมาณ 20dp หรือ 0.6 นิ้ว โดยห้ามใหญ่หรือเล็กเกินกว่าขนาดที่กำหนดไว้
สิ่งหนึ่งที่ Google Play หละหลวมเกินไปตั้งแต่สมัย Android Market นั้น ก็คือไม่มีการตรวจเนื้อหาของแอพพลิเคชันตั้งแต่ต้น และทำให้เกิดเหตุการณ์มัลแวร์ระบาดจนทำให้กูเกิลต้องออก Bouncer ออกมาดักมัลแวร์ รวมถึงติดตั้งตัวสแกนมัลแวร์ไว้ใน Android 4.2 ก่อนจะแยกมารวมไว้ใน Google Play Service ในภายหลัง แต่อีกหนึ่งประเด็นที่ยังไม่มีการแก้ไขให้เห็นก็คือเรื่องของเนื้อหาอนาจาร
เมื่อวานนี้ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นที่ใช้ชื่อว่า SCIENTIFIKA MEDIA ได้อัพโหลดแอพพลิเคชั่นเลียนแบบธนาคารไทยหลายแห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, และธนาคารธนชาต
เมื่อสักครู่ทางธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาแจ้งเตือนแล้วแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ไม่ใช่ของธนาคาร โดยแอพพลิเคชั่นของธนาคารจริงจะมีชื่อผู้พัฒนาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์โดยตรง
ผู้ที่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นธนาคารช่วงวันสองวันนี้อาจจะต้องรีบเข้าไปตรวจสอบว่าได้ติดตั้งแอพพลิเคชั่นไปบ้างหรือไม่ ถ้าเผลอติดตั้งไปแล้วควรเร่งติดต่อธนาคารครับ
ที่มา - @scb_thailand
คล้อยหลังจากรุ่นหลักเปิดตัว HTC ก็ได้เปิดตัว HTC All New One Google Play Edition ตามมาด้วย ถือเป็นการอัพเกรดจากรุ่นเดิมที่วางจำหน่ายอยู่ครับ
โดยโมเดลที่ HTC ส่งให้กูเกิลวางขายนั้น เป็นรุ่นปกติสีขาวที่เปลี่ยนใส้ในจากเดิม Android 4.4.2+Sense 6 มาเป็น Android 4.4.2 ฉบับกูเกิลล้วน ส่วนสเปคอื่นๆ จะเหมือนกับรุ่นปกติทั้งหมด แต่ข้อดีอย่างหนึ่งคือรุ่น Google Play ตัวนี้ สามารถติดตั้งแอพพลิเคชันที่เป็นบริการบน Sense 6 ได้ทั้งหมด เพียงแค่ดาวน์โหลดตัวเซอร์วิสและตามด้วยแอพพลิเคชันที่ต้องการเท่านั้น
สำหรับรุ่นนี้กูเกิลวางขายแล้ววันนี้เป็นวันแรก โดยตั้งราคาที่ 699 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,800 บาท) แพงกว่ารุ่นแรก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ครับ
ดูเหมือนว่าแนวทางการอัพเดตแต่แพลตฟอร์มที่ไม่เน้นบริการ ที่กูเกิลทำกับแอนดรอยด์และโมโตโรลานั้น เริ่มส่งอิทธิพลไปยังผู้ผลิตรายอื่นๆ เสียแล้ว เพราะเมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า HTC ได้เริ่มปล่อยแอพพลิเคชันที่เป็นฟีเจอร์ของ Sense 6 บางส่วนลง Google Play Store เพื่อที่จะได้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาใช้งานได้
กูเกิลประกาศอัพเดต Google Play services 4.3 พร้อมๆ กับ Google Play Games ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้แล้ว มีฟีเจอร์สำคัญได้แก่
กูเกิลเตรียมประกาศฟีเจอร์ใหม่ใน Google Play Games ให้นักพัฒนาสามารถใช้ Google Play เป็นแพลตฟอร์มได้ครบถ้วนกว่าเดิม ได้แก่
กูเกิลจะเปิดรายละเอียดอีกครั้งในการบรรยายในงาน GDC ปีนี้
เริ่มมีผู้ใช้ Android ได้อัพเดต Google Play Store เป็นเวอร์ชัน 4.6.16 มีของใหม่ที่สำคัญดังนี้
@evleaks ปล่อยภาพเคสของเอชทีซี All New One (หรือที่รู้จักกันในโค้ดเนม HTC M8) โดยจากภาพจะเห็นว่าฝาเคสด้านหน้ามีรูเล็กๆ จำนวนมากจัดเรียงเป็นตาราง และมีการแสดงผลเวลาและสภาพอากาศแบบมีสีสัน สีของเคสนั้นน่าจะมีอย่างน้อยสี่สี คือ ดำ เขียว ส้ม และน้ำเงิน ตามภาพท้ายข่าว
เว็บไซต์ The Verge คาดว่า เคสนี้อาจแสดงผลข้อมูลสำคัญๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องปลุกมือถือให้ทำงานขึ้นมาได้
@evleaks ยังเปิดเผยว่า All New One จะมีรุ่น Google Play Edition ด้วย
Google Play ฉลองครบรอบ 2 ปีที่เปลี่ยนชื่อจาก Android Market มาเป็น Google Play Store ด้วยการลดราคาหรือแจกฟรีแอพและเกมชุดใหญ่ ตัวอย่างเช่น
สำหรับผู้ใช้ Google Play ที่อยู่นอกประเทศไทย ยังสามารถซื้อภาพยนตร์และเพลงลดราคาได้ด้วยครับ (คนไทยอด)
ช่วงนี้วงการด้านความปลอดภัยไอทีมีงานสัมมนาใหญ่ประจำปี RSA Conference 2014 (จัดโดย RSA ที่เป็นบริษัทลูกของ EMC) ทำให้มีข่าวด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยใหม่ๆ ออกมาพอสมควร
Adrian Ludwig หัวหน้าทีมวิศวกรด้านความปลอดภัย Android ไปพูดที่งานนี้ และเผยแพร่สไลด์นำเสนอเรื่องความปลอดภัยของ Android ทั้งแพลตฟอร์ม (รวม Google Play Services, Google Play Store และบริการอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ตัว AOSP) ผมดูแล้วเห็นว่ามีประโยชน์และเป็นความรู้เชิงเทคนิคที่มีคุณค่า เลยนำมาเผยแพร่ต่อครับ
เรียกได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยตลอดระยะเวลา 11 ปี ที่เว็บไซต์ XDA-Developers ถูกก่อตั้งขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตำแหน่งผู้ผลิตที่เอาใจนักพัฒนาภายนอกเป็นพิเศษถูกครองโดยโซนี่ ที่ขึ้นชื่อว่าเปิดทางให้นักพัฒนาภายนอกพอสมควรในช่วง 2-3 ปีนี้ แต่ล่าสุดตำแหน่งนี้ก็ถูกยกให้กับโนเกียเพิ่มเติมเสียแล้ว
เรื่องของเรื่องก็คือ หลังจากที่นาย Kasha Malaga (@KashaMalaga) ได้โพสต์วิธีการรูท Nokia X และติดตั้ง Google Mobile Service ให้ดู ว่ามันสามารถใช้งานได้จริง นาย Kasha Malaga ก็ได้ส่งผลงานไปให้ @nokiadeveloper และ @nokiaspain ได้ดูกัน รวมถึงยังบอกอีกว่า อย่าถือโทษในสิ่งที่ทำลงไปด้วยเลยละกันนะครับ
ประเด็นฉาวของ Google Play ที่กูเกิลใช้ควบคุมผู้ผลิตโทรศัพท์แอนดรอยด์อย่างหนักทำให้เป็นจังหวะดีสำหรับคู่แข่งรองๆ ที่จะเสนอบริการทดแทน ตอนนี้ Yandex ผู้ให้บริการเสิร์ชจากรัสเซียก็ออกเฟิร์มแวร์ของตัวเองมาทดแทนบริการของกูเกิลแล้ว ในชื่อ Yandex.Kit
Yandex มีบริการหลักๆ ครบถ้วน ทั้งแผนที่, เมล, บริการค้นหา, เบราว์เซอร์, หน้าร้านขายแอพพลิเคชั่น, และบริการเก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ
ตอนนี้มีผู้ผลิตคือ Huawei และ Explay ประกาศขายเครื่องที่ใช้บริการของ Yandex โดยเตรียมเปิดตัวในงาน Mobile World Congress ปีนี้
ที่มา - Yandex
ด้วยความดังของ Flappy Bird ที่แม้ว่าตัวเกมจะถูกเอาออกจาก App Store ไปแล้ว แต่เกมลอกเลียนทั้งหลายก็ยังสามารถขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของแอพที่คนดาวน์โหลดเยอะได้ ล่าสุดทั้งกูเกิล และแอปเปิลออกมามีมาตรการแก้ไขเรื่องนี้ด้วยการปฏิเสธแอพที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "Flappy" แล้ว
เรื่องเริ่มต้นจากที่นาย Ken Carpenter นักพัฒนาเกมชาวแคนาดาพบว่าแอปเปิลปฏิเสธเกมที่เขาชื่อว่า Flappy Dragon ที่เขาส่งขึ้นไป โดยให้เหตุผลว่าชื่อเกมของนาย Carpenter นั้นตั้งใจทำให้คล้ายกับแอพชื่อดังมากเกินไป ซึ่งอยู่ในกฎข้อที่ 22.2 ของข้อบังคับใช้ใน App Store
ข่าวใหญ่ในรอบสัปดาห์คงหนีไม่พ้นการเข้าตรวจสอบ Android ใน EU ที่แต่ละประเทศเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของแพลตฟอร์ม Android ที่ประกาศตนว่าเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดตั้งแต่เริ่ม แต่พักหลังๆ มีท่าทีที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และล่าสุดก็มีการหลุดเอกสารสัญญาฉบับหนึ่งที่กูเกิลเรียกมันว่า "Mobile Application Distribution Agreenment" หรือ MADA ซึ่งเป็นสัญญาฉบับสำคัญระหว่างกูเกิลและผู้ผลิตออกมา และนี่ก็สามารถเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่อาจจะบ่งชี้ได้ว่ากูเกิลเริ่มพา Android กลับเป็นระบบปฏิบัติการแบบปิดเสียแล้ว
โดยข้อตกลงในฉบับนี้มีใจความสำคัญที่สามารถพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ครับ
หน่วยงานด้านสืบสวนของยุโรปหลายประเทศ กำลังตรวจสอบเงื่อนไขของกูเกิลที่ให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ใช้งาน Google Mobile Services บน Android ในฐานะระบบปฏิบัติการที่เป็นผู้นำตลาด ว่าเป็นการกีดกันการแข่งขันหรือไม่
กฎหมายด้านการผูกขาดของยุโรปจะมีผลบังคับใช้กับบริษัทที่เป็นเจ้าตลาด (dominant market share) โดยบริษัทเหล่านี้จะต้องส่งเสริมการแข่งขันในตลาดให้มากขึ้น (ซึ่งในสหรัฐไม่มีกฎหมายข้อนี้)
หลังจากที่นาย Dong Nguyen ผู้ผลิตแอพเกมชื่อดัง Flappy Bird ได้ถอดตัวเกมออกจาก App Store และ Google Play Store โดยที่ไม่ได้ให้สาเหตุใด ๆ นอกจากการออกมาทวีตว่า “เขาทนไม่ไหวแล้ว” เมื่อสักครู่นี้ เขาได้ออกมาพูดเป็นครั้งแรกถึงเหตุผลที่ต้องถอดเกมนี้ออกผ่านทาง Forbes
เขาบอกว่า สาเหตุที่เขาถอดเกมนี้ออกจากร้านขายแอพทั้งสอง ก็เพราะว่าเกมนี้มันกลายเป็น “สิ่งเสพติด” ไปแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับความต้องการของเขาในตอนแรก ที่ต้องการออกแบบเกมแก้เครียด ที่ผู้เล่นจะนำมันมาเล่นไม่กี่นาทีแล้วเลิก
ในโลกของแอนดรอยด์นั้น เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด แต่ก็ไม่ได้เปิดทั้งหมด เพราะส่วนที่ไม่ได้เปิดนั้น คือส่วนของ Google Mobile Services ซึ่งผู้ผลิตแทบทุกรายต้องส่งอุปกรณ์ให้กูเกิลทำการตรวจสอบเสียก่อน ถึงจะสามารถนำ Google Mobile Services ออกมาใช้งานได้
Google Play ส่งอีกเมลถึงนักพัฒนาไทยว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะเพิ่มประเทศที่ขายแอพพลิเคชั่นได้อีกสี่ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และไทย โดยจะรับจ่ายเงินเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น
ที่มา - อีเมล Google Play
Hello,
We're writing to let you know that we will be introducing Google Wallet Merchant registration availability for Google Play Developers in additional countries. Beginning Feb 6 2014, developers from Indonesia, Malaysia, The Philippines, and Thailand will be able to sign up as merchants through the Google Play Developer Console.
To get started with Google Wallet Merchant registration:
ถัดจากการเปิดตัว Google Cast SDK ตอนนี้กูเกิลก็ปล่อย Google Play Services 4.2 ตามออกมาทันที โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือรองรับ Google Cast ตาม Google Cast SDK และปรับ Google Drive API จากเดิมเป็นรุ่น developer preview ให้กลายเป็น API มาตรฐาน
กูเกิลระบุว่าจะรอให้อัพเกรดไปยังเครื่องแอนดรอยด์เรียบร้อยเสียก่อน จากนั้นจะเปิดให้นักพัฒนาดาวน์โหลด SDK ไปใช้งาน
ที่มา - Android Developers
เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ผลิตที่ต้องการพรีโหลดแอพพลิเคชันของกูเกิล และ Play Store
(เรียกรวมกันว่า Google Mobile Services "GMS") ซึ่งแยกกันกับตัวโครงการแอนดรอยด์ (AOSP) ซึ่งเป็นโอเพนซอร์ส และเป็นที่รู้กันว่าต้องจ่ายเงินเพื่อขอสิทธิ์ใช้บริการดังกล่าว เรื่องนี้รู้กันมานาน แต่ไม่มีใครทราบตัวเลขค่าใช้จ่ายที่แท้จริง จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ The Guardian ไปได้ข้อมูลมาจากผู้ผลิตรายหนึ่ง บอกว่าต้องจ่ายค่า GMS เป็นเงิน 75,000 เหรียญต่อหนึ่งแสนเครื่อง คำนวณแล้วตกเป็นเงิน 75 เซนต์ต่อเครื่อง
ถึงแม้ Android เวอร์ชันโอเพนซอร์ส (AOSP) จะเสรีและฟรี แต่ในวงการก็ทราบดีว่าถ้าอยากขายอุปกรณ์ Android โดยที่มีแอพของกูเกิลและ Google Play ติดไปด้วย (คนทำรอมเรียก gapps แต่ชื่อจริงๆ คือ Google Mobile Services) ผู้ขายจะต้องจ่ายเงินให้กูเกิลจำนวนหนึ่งเพื่อขอสิทธิใช้งานแอพเหล่านี้
หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษไปสืบราคา Google Mobile Services มาจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ไม่เปิดเผยชื่อ และได้ข้อมูลคร่าวๆ ว่ากูเกิลคิดเงินเป็นรายเครื่อง โดยราคาที่เปิดเผยคือเครื่องละ 0.75 ดอลลาร์
Google Research หน่วยงานด้านวิจัยของกูเกิล ดึงข้อมูลเพลงทั้งหมดในฐานข้อมูล Google Play Music นับตั้งแต่อดีต (1950) มาจนถึงปัจจุบัน แยกหมวดหมู่ตามแนวเพลง (genre) แล้ววาดออกมาเป็นกราฟให้เห็นกันชัดๆ ว่าในแต่ละยุค เพลงแนวใดเป็นเพลงยอดฮิตของยุคสมัยนั้นๆ
เริ่มต้นในยุค 50s เป็นยุคของ Jazz แต่ในยุค 60s เป็นต้นมากลายเป็น Pop/Rock ครองเมือง, ดนตรีแนว alternative/indie เริ่มเติบโตในยุค 70s ส่วนเพลงแนว hip-hop/rap ก็เพิ่งถือกำเนิดขึ้นในยุค 80s, dance/electronic เกิดขึ้นในยุค 90s เป็นต้น