ไมโครซอฟท์ออกมาให้คำมั่นกับผู้ใช้ Surface Pro 3 ในฝั่งธุรกิจ ว่าบริษัทจะยังทำตลาดสินค้าตระกูลนี้ในระยะยาว (longer-term commitment)
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับบริการ Chromebook for Work สำหรับลูกค้าองค์กรที่ต้องการใช้ Chromebook โดยมีฟีเจอร์บริหารจัดการชั้นสูงเข้ามาดังนี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา Oracle จัดงาน JavaOne 2014 ควบคู่ไปกับงาน Oracle OpenWorld โดยมีข่าวที่เกี่ยวกับ Java ดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดให้ดาวน์โหลด Windows 10 Technical Preview ไปเรียบร้อยแล้ว ฝั่งของระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์รุ่นหน้า Windows 10 Server ก็เปิดให้ดาวน์โหลดไปทดสอบพร้อมๆ กันครับ
ไมโครซอฟท์ยังไม่เปิดเผยชื่อของระบบปฏิบัติการตัวนี้ และใช้คำเรียกว่า "Windows Server Technical Preview" ไปพลางๆ ก่อน (ผมขอใช้ว่า Windows 10 Server เพื่อไม่ให้สับสน แต่ถ้าไมโครซอฟท์ยังยึดแนวทางเดิม ชื่อจริงน่าจะเป็น Windows Server 2016)
ในงานแถลงข่าว Windows 10 เมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์พูดชัดเจนว่าต้องการเน้นลูกค้าองค์กร (enterprise) เป็นหลัก เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ต้องใช้เวลาตัดสินใจอัพเกรดระบบนาน จึงต้องรีบออกมาสื่อสารและเปิดให้ทดสอบระบบปฏิบัติการตั้งแต่เนิ่นๆ
ฟีเจอร์ของ Windows 10 ที่ไมโครซอฟท์เปิดเผยจึงเน้นไปที่ ส่วนติดต่อผู้ใช้สำหรับพีซี ที่หน้าตาคุ้นเคย (ยังไม่คุยถึงแท็บเล็ตและมือถือ มีเรื่อง Continuum เล็กน้อย) ส่วนฟีเจอร์ด้านอื่นๆ สำหรับภาคธุรกิจมีดังนี้
พร้อมการเปิดตัว XtremIO 3.0 ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานร่วมกับ X-Brick สตอเรจอาเรย์ที่ใช้หน่วยความจำแฟลช EMC ก็ถือโอกาสมาเผยทิศทางการทำตลาดต่อไปของบริษัท ที่จะเน้นไปยังกลุ่มสตอเรจที่ใช้หน่วยความจำแฟลชมากขึ้น ในทุกๆ กลุ่มธุรกิจ
ก่อนจะเริ่มพูดถึงตัวผลิตภัณฑ์ มาดูถึงความต้องการหน่วยความจำแฟลชในธุรกิจองค์กรที่มากขึ้น เนื่องมาจากต้องตอบสนองกับหน่วยประมวลผลที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับหน่วยความจำยอดนิยมอย่างฮาร์ดดิสก์ที่เห็นผลแค่การเพิ่มเนื้อที่มากกว่าประสิทธิภาพในช่วงหลังๆ จนการเข้ามาของหน่วยความจำแฟลช พร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่ามาก เริ่มลดช่องว่างระหว่างหน่วยประมวลผล และหน่วยความจำลงได้
มีข่าวจากวงในระบุว่ายักษ์ใหญ่วงการสตอเรจอย่าง EMC เคยถกเถียงเพื่อหาความเป็นไปได้ในการควบรวมธุรกิจกับคู่แข่งร่วมตลาดองค์กรอย่าง HP เป็นเวลามาร่วมปีแล้ว
จากรายละเอียดที่เผยมาระบุไปถึงตำแหน่งของผู้บริหารในบริษัทใหม่หลังการควบรวมโดย Joseph Tucci ซีอีโอของ EMC จะนั่งเป็นประธานกรรมการบริษัท และ Meg Whitman ซีอีโอ HP จะรับตำแหน่งซีอีโอของบริษัทใหม่ บริษัทจะตั้งอยู่ในเมือง Hopkinton มลรัฐแมสซาชูเซตส์ โดยรวมกันแล้วบริษัทใหม่จะมีมูลค่ารวมตามราคาในตลาดหุ้นสูงถึง 130,000 ล้านเหรียญ
Red Hat ซื้อกิจการบริษัท FeedHenry ผู้สร้างแพลตฟอร์มพัฒนาแอพมือถือสำหรับตลาดองค์กร (enterprise mobile application platform - PaaS) ด้วยมูลค่าประมาณ 82 ล้านดอลลาร์
FeedHenry ทำตัวเป็นแพลตฟอร์มให้นักพัฒนาไปสร้างแอพมือถือหลายแพลตฟอร์ม (iOS, Android, WP, BlackBerry) ด้วยเครื่องมือพัฒนาหลากรูปแบบ (HTML5, Cordova, Xamarin, Sencha หรือ native ก็ได้) ตัวแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆของ FeedHenry จะคอยเชื่อมต่อกับระบบ backend ภายในองค์กรให้ และช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลให้ด้วย ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเรียบง่ายและรวดเร็วขึ้น
Samsung KNOX นับว่าเป็นบริการจัดการโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ที่ติดตั้งมาในโทรศัพท์จำนวนมาก แต่ก่อนหน้านี้การใช้งานระบบจัดการคือ KNOX EMM มีค่าบริการถึง 3.6 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน ขณะที่ KNOX Free ก็เป็นระบบจัดการเครื่องส่วนตัวเท่านั้น ตอนนี้ทางซัมซุงเปิดบริการเพิ่มเติม KNOX Express และ KNOX Premium สำหรับองค์กร
KNOX Express จะเป็นบริการฟรีที่มีฟีเจอร์พื้นฐานให้ เช่น การแยกข้อมูลระหว่างข้อมูลของบริษัทและข้อมูลส่วนตัว, การจัดการแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ ข้อจำกัดของบริการฟรีส่วนนี้จะใช้งานได้ไม่เกิน 250 เครื่อง
ซัมซุงลุยตลาดระบบความปลอดภัยสำหรับมือถือองค์กรด้วยแบรนด์ KNOX มานาน ล่าสุดบริษัทเริ่มคิดราคาบริการ KNOX แล้ว โดยแยกเป็น 2 รุ่นคือ
IBM เปิดตัวแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับภาคธุรกิจ Watson Analytics ให้ใช้งานฟรี (มีโมเดลหาเงินแบบ freemium จากฟีเจอร์เพิ่มเติม) โดยองค์กรสามารถนำข้อมูลต่างๆ มาใส่ Watson เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์และพยากรณ์ให้ได้
ตอนนี้ Watson Analytics ยังไม่เปิดให้ทดลองใช้งาน แต่ IBM คุยว่าการใช้ Watson Analytics ไม่จำเป็นต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมหรือมีทักษะการวิเคราะห์เหมือนกับซอฟต์แวร์วิเคราะห์อื่นๆ ในท้องตลาด มันถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว แถมยังรองรับคำถามที่เป็นภาษาธรรมชาติ เช่น Which deals are most likely to close? หรือ What are the key drivers of my product sales? ได้เลย
Seagate ประกาศตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ชื่อ Cloud Systems and Solutions โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตโซลูชันสตอเรจสำหรับงานเฉพาะทางหลายด้าน ได้แก่
ทีม Google for Work (Google Enterprise เดิม) ประกาศออกเครื่องมือช่วยจัดการอุปกรณ์พกพาสาย iOS สำหรับองค์กรที่ใช้ระบบอีเมล Google Apps
เครื่องมือตัวนี้ชื่อว่า iOS Sync for Google Apps ไม่ต้องดาวน์โหลดแยกต่างหาก เพราะมันถูกผนวกมากับแอพ Gmail และ Google Drive บน iOS เลย (รองรับ iOS 7 ขึ้นไป) มันจะช่วยให้แอดมินองค์กรสามารถจัดการบัญชี Google Apps ของพนักงานบนอุปกรณ์ iOS ได้ง่ายขึ้น ทั้งการบังคับใช้ policy, การคอนฟิกค่า Wi-Fi และการลบข้อมูลจากระยะไกล
กูเกิลจะทยอยปล่อยฟีเจอร์นี้ให้ลูกค้า Google Apps ในสัปดาห์หน้า โดยแอดมินสามารถเรียกใช้งานได้จากหน้า Admin Console ได้เลย
วันนี้มีข่าวลือออกมาว่า EMC ยักษ์ใหญ่ของวงการไอทีองค์กร สนใจขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทลูก VMware ตามที่ผู้ถือหุ้นใหญ่บางรายเรียกร้อง เนื่องจากธุรกิจของ VMware อาจไม่สอดคล้องกับธุรกิจของ EMC มากนัก
อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังข่าวนี้ออกมาก็มี "ข่าววงในอีกด้าน" บอกว่าข่าว EMC สนใจขายหุ้นนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ประเด็นเรื่อง VMware ไม่สอดคล้องกับ EMC นั้นอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่เหมือนที่แล้วๆ มา หลังจาก EMC ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ "Federation" ที่จัดเรียงความสัมพันธ์ของบริษัทในเครือใหม่
ที่มา - Re/code
ข่าวนี้เก่าไปนิดเพราะสำนักงานใหญ่ประกาศไปตั้งแต่เดือน ก.ค. แต่บริษัทสาขาในไทยเพิ่งแถลงสัปดาห์นี้ครับ
ซิสโก้และไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือระยะยาว 3 ปีทั้งในแง่เทคโนโลยีและช่องทางการขาย โดยทั้งสองบริษัทจะนำเทคโนโลยีด้านศูนย์ข้อมูลมารวมกันเป็นโซลูชันเพื่อเจาะตลาดองค์กรได้ง่ายขึ้น
ไมโครซอฟท์เคยโชว์แนวคิด Office Graph และแอพตัวใหม่รหัส Oslo ไปเมื่อต้นปี วันนี้ Oslo เปิดตัวอย่างเป็นทางการในชื่อ Office Delve
ไมโครซอฟท์เอาแนวคิดโซเชียลเน็ตเวิร์คในองค์กรมาจาก Yammer จากนั้นสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคน-เอกสารเป็นกราฟ Office Graph (ลักษณะเดียวกับ Facebook Open Graph) ส่วนหน้าที่ของ Delve คือแสดงข้อมูลที่สัมพันธ์กับเรา (relevant information and connections) ในรูปแบบที่ดูง่ายๆ คล้ายกับ Flipboard หรือ Pinterest
Lenovo และ IBM ออกมาอธิบายแผนโครงสร้างของผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ หลัง Lenovo ควบกิจการเซิร์ฟเวอร์ x86 ของ IBM เสร็จสมบูรณ์ช่วงปลายปีนี้
IBM ระบุว่าผลิตภัณฑ์จากทั้งสองบริษัทจะตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลาย และ IBM จะยังให้บริการหลังขายกับลูกค้าของตัวเองต่อไปอีก 5 ปี หลังการควบกิจการเสร็จสิ้นแล้ว
ล่าสุด IBM ยังเปิดตัว System x M5 และ Flex M5 ที่ใช้ซีพียูตัวใหม่ Intel Xeon E5 v3 ด้วย - IBM
Dell เปิดตัว Chromebox for meetings สำหรับการประชุมออนไลน์ในตลาดองค์กร ตามหลัง ASUS Chromebox for meetings ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อต้นปี
ในชุดยังประกอบด้วยกล้องเว็บแคม Logitech 1080p, ลำโพงและไมโครโฟนจาก Jabra, รีโมทคอนโทรล และสายเคเบิลอื่นๆ ที่จำเป็น
ราคาขาย 999 ดอลลาร์เท่ากับชุดของ ASUS
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือตัวใหม่ชื่อ Migration Accelerator (MA) for Azure ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถย้ายแอพพลิเคชันเดิมบนเซิร์ฟเวอร์จริง, เซิร์ฟเวอร์เสมือน (VMware, Hyper-V) หรือบริการกลุ่มเมฆอื่นๆ (AWS) ไปรันบน Azure ได้ง่ายขึ้น
หลักการทำงานของ Migration Accelerator คือฝังเซอร์วิสไว้บนเซิร์ฟเวอร์ต้นทางเพื่อดูว่ามีงานอะไรบ้างรันอยู่ แล้วช่วยย้ายข้อมูลแบบ replication มายังเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง (ซึ่งเป็น VM ของ Azure) โดยจะจัดการคอนฟิกต่างๆ ให้อัตโนมัติ และมีพอร์ทัลช่วยดูสถานะการย้ายงานด้วย
John Akers เคยดำรงตำแหน่งซีอีโอของ IBM เป็นเวลาแปดปีในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากคอมพิวเตอร์เมนเฟรมมาเป็นพีซี เขาเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา สาเหตุการเสียชีวิตคือเส้นเลือดในสมองอุดตัน รวมอายุได้ 79 ปี
เขาเคยเป็นนักบินให้กับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับ IBM ในปี 1960 และอยู่กับบริษัทยาวนานถึง 33 ปี จนกระทั่ง Louis Gerstner จาก RJR Nabisco Holdings Corp. เข้ามาทำหน้าที่แทน เนื่องจากปัญหาทางด้านการเงินของบริษัท
กูเกิลประกาศปรับเปลี่ยนแบรนด์ที่ใช้ทำตลาดองค์กร จากเดิม Google Enterprise มาเป็นชื่อใหม่ Google for Work ด้วยเหตุผลว่ากูเกิลไม่ได้เจาะตลาดองค์กรขนาดใหญ่ (enterprise) เพียงอย่างเดียว แต่พยายามปรับปรุง "วิธีการทำงาน" ให้ธุรกิจทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กทำเองคนเดียว ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่
ก่อนหน้านี้กูเกิลก็เคยใช้แบรนด์คล้ายๆ กันสำหรับ Android คือ Android Work สำหรับตลาดองค์กร
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อบัญชีโซเชียลของกูเกิลด้วย ทั้ง Twitter และ Google+ ด้วย
โครงการ Docker ซึ่งเป็น app container สำหรับเซิร์ฟเวอร์ กำลังมาแรงมากในโลกไอทีองค์กร แนวคิดนี้แตกต่างจากการรัน virtual machine ตรงระดับชั้นของระบบปฏิบัติการ โดยแนวคิด VM แบบเดิมจะพ่วงระบบปฏิบัติการไปด้วย (แต่ละ VM มีระบบปฏิบัติการแยกกัน) ในขณะที่ container แยกเฉพาะแอพ และแชร์ระบบปฏิบัติการร่วมกัน (ดูภาพประกอบ)
ความร้อนแรงของ Docker ท้าทายโลก virtualization โดยเฉพาะเจ้าตลาดอย่าง VMware พอสมควร แต่ล่าสุด VMware เลือกไม่แข่งกับ Docker ตรงๆ และประกาศความร่วมมือกับฝั่ง Docker แล้ว
ช่วงหลังๆ เราเห็นยักษ์ใหญ่วงการฮาร์ดแวร์ Dell หันมาลุยตลาดซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรอย่างหนัก ด้วยการซื้อกิจการบริษัทซอฟต์แวร์จำนวนมากแล้วรวมเป็น Dell Software Group ตามวิสัยทัศน์การเปลี่ยนตัวเองเป็นบริษัทโซลูชันไอทีครบวงจร
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์ มร. มาร์วิน เบลาห์ Executive Director, Worldwide Channels and Alliances ของเดลล์ ซอฟท์แวร์ และ มร. แมทธิว จอห์นสตัน Managing Director ภูมิภาค เอเชียใต้ ของเดลล์ ซอฟท์แวร์ เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การทำตลาดของ Dell Software ในประเทศไทยครับ
EMC ถือเป็นบริษัทใหญ่อีกแห่งในโลกไอทีองค์กร ถึงแม้ว่าแบรนด์อาจไม่ดังเท่ากับ IBM, HP, Dell, Oracle เพราะ EMC ไม่ได้ขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์เหมือนบริษัทข้างต้น แต่ในแง่สินค้าอื่นๆ ก็ถือว่าครบครัน ตั้งแต่สตอเรจที่เป็นรากเหง้าของบริษัทตั้งแต่แรก รวมถึงบริษัทในเครืออย่าง VMware, RSA และบริษัทใหญ่น้อยอีกมากที่ถูก EMC ไล่ซื้อกิจการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ล่าสุดในงาน EMC World 2014 ช่วงกลางปีนี้ EMC ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ชื่อ EMC Federation หรือการสร้าง "สมาพันธ์" ของบริษัทและแบรนด์ในเครือทั้งหมด แยกกันทำตลาดไอทีในแต่ละส่วน เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานทางไอทียุคหน้าที่กำลังเปลี่ยนแปลง
กูเกิลยังเดินหน้าดัน Chromebook บุกตลาดองค์กรอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ยุทธวิธีจับมือกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์องค์กรสาย remote/virtual desktop ให้รองรับ Chrome OS เพื่อให้ลูกค้าสามารถรันแอพขององค์กร (ที่มักออกแบบมาเพื่อวินโดวส์) บน Chrome OS ได้ด้วย
ก่อนหน้านี้ กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ VMware เพื่อให้ Chromebook รองรับระบบรีโมท VMware Horizon DaaS ไปแล้ว วันนี้กูเกิลประกาศข้อตกลงคล้ายๆ กันกับ Citrix เจ้าพ่อแห่งวงการรีโมทเดสก์ท็อปอีกรายหนึ่ง
ภายใต้ข้อตกลงนี้ Citrix จะออก Citrix Receiver for Chrome ที่เชื่อมฟีเจอร์เข้ากับ Chrome OS โดยตรง เช่น รองรับการพิมพ์ผ่าน Cloud Print, ระบบคลิปบอร์ด, การเชื่อมต่อผ่าน SSL เป็นต้น