งานบางประเภทไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรไซส์ไหน ในแต่ละหนึ่งโปรเจกต์มักจะต้องทำงานร่วมกับหลายแผนก คิดค้นเสร็จ ต้องส่งต่อ รอหัวหน้าเคาะแล้วจึงเริ่มทำ แถมจะต้องเหนื่อยโทร. เดินประสานงาน แก้ไขส่งต่อกันไปมา แม้จะมีตัวช่วยอย่างอีเมล กรุ๊ปแชท ไดรฟ์แชร์ไฟล์ หรือแม้แต่คลาวด์สตอเรจที่ซิงค์ถึงกันบางครั้งก็ยังไม่ครอบคลุม
ถึงตอนนี้ก็สบายใจไปเปลาะหนึ่งเมื่อมีระบบ Workflow Management เข้ามาช่วยจัดการเนื้องานให้เป็นระเบียบ และ Slack ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือประเภทนี้ที่ทำให้เราและทีมทำงานง่ายขึ้น ด้วยหน้าตาที่เป็นมิตร และที่สำคัญ 'ฟรี' ทำให้ทุกคนเห็นความคืบหน้าตลอดเวลา ไม่มีใครถูกทิ้งกลางทาง
Chrome OS ถูกออกแบบมาเพื่อบุกตลาดองค์กรเป็นหลัก (และประสบความสำเร็จค่อนข้างดีในตลาดการศึกษา) ตอนนี้เพิ่มความสามารถใหม่ให้กับผู้ดูแลระบบขององค์กรสามารถล็อกเครื่องจากระยะไกลได้แล้ว
ปกติแล้ว Chrome OS จะเข้ารหัสดิสก์ตลอดเวลา และล็อกด้วยรหัสผ่านผู้ใช้อยู่แล้ว หากรหัสผ่านแข็งแรงพอแม้ผู้ร้ายจะได้เครื่องไปก็เข้าถึงข้อมูลไม่ได้ แต่หากถูกล็อกจากผู้ดูแลระบบ จะทำให้เข้าใช้งานใดๆ ไม่ได้เลย แม้แต่โหมด Guest โดยหน้าจอจะขึ้นวิธีติดต่อเจ้าของเครื่องเท่านั้น
ตอนนี้ยังใช้ได้เฉพาะองค์กรที่ซื้อไลเซนส์การจัดการเครื่อง Chrome OS เอาไว้เท่านั้น เมื่อเครื่องล็อกแล้วองค์กรจะได้ไลเซนส์คืนกลับไปใช้งานในเครื่องใหม่ได้ด้วย
เดิมทีกูเกิลเป็นบริษัทที่ไม่สนใจตลาดลูกค้าองค์กรมากนัก ในช่วงแรกๆ สินค้าที่เจาะตลาดองค์กรมีแค่ระบบอีเมล Google Apps เท่านั้น แต่ภายหลังกูเกิลก็จริงจังกับตลาดนี้เพิ่มจากเดิมมาก ถึงขนาดเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Google for Work เมื่อปีที่แล้ว
เว็บไซต์ Business Insider มีบทสัมภาษณ์ Amit Singh ประธานฝ่าย Google for Work (คนละคนกับ Amit Singhal ผู้บริหารอีกคนของกูเกิลที่ดูระบบค้นหา) ถึงมุมมองต่อลูกค้าองค์กรของกูเกิลว่ามีแนวทางอย่างไรบ้าง
ใจความสรุปมีดังนี้
ไมโครซอฟท์ออกมาส่งสัญญาณอีกรอบว่า Windows Server 2003 จะหมดระยะสนับสนุนในเดือนกรกฎาคม 2015 และเตือนให้องค์กรอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่โดยด่วน
Takeshi Numoto ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลกับ The Register ว่าในปี 2014 ไมโครซอฟท์ออกแพตช์ความปลอดภัยรวมแล้ว 20 ตัวให้ Windows Server 2003 ซึ่งพ้นจากเดือนกรกฎาคม 2015 ไปแล้ว ไมโครซอฟท์จะไม่ออกแพตช์อีก ถ้าประเมินคร่าวๆ ว่าโอกาสค้นพบช่องโหว่ใหม่ๆ อยู่ที่ปีละ 20 จุด นั่นแปลว่าผู้ใช้ Windows Server 2003 จะตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างมาก
ไมโครซอฟท์อัพเดตแอพ Yammer เครือข่ายสังคมสำหรับองค์กร (enterprise social network) บน iOS และ Android ดังนี้
Yammer ยังปรับปรุงระบบการแจ้งเตือนบนแอพทั้งสองแพลตฟอร์ม รวมถึงการแชร์ลิงก์และข้อมูลไปยัง Yammer ได้โดยตรงจาก Safari, Chrome อีกด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศชัดเจนว่าต้องการให้ Yammer ใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ของค่ายกูเกิล แอปเปิล และไมโครซอฟท์เอง
VMware ออกผลิตภัณฑ์สายเซิร์ฟเวอร์ชุดใหญ่พร้อมกันหลายตัว ดังนี้
กูเกิลประกาศว่าจะหยุดการสนับสนุนบริการแผนที่สำหรับองค์กรบางตัวในปีหน้า ดังนี้
บริษัทแนะนำให้ลูกค้าองค์กรไปใช้ Maps API จากบริการ Google Maps for Work แทนครับ
ไมโครซอฟท์เผยข้อมูลระบบการอัพเดต Windows 10 สำหรับลูกค้าองค์กร จากที่เคยประกาศข้อมูลบางส่วนมาก่อนแล้ว
กรณีของ Windows 10 รุ่นปกติจะอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ให้อย่างต่อเนื่อง (ไมโครซอฟท์ใช้คำว่า Windows as a Service - ข่าวเก่า) โดยไม่จำเป็นต้องรอการออกรุ่นใหญ่ (major release) แบบในอดีต
การออกฟีเจอร์ใหม่แบบนี้อาจเป็นปัญหาต่อองค์กร ทำให้ Windows 10 สำหรับองค์กรจะมี "สายย่อย" (branch) สำหรับอัพเดตเพิ่มมาอีก 2 แบบ
Branch ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ
จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 7 และ Windows 8.1 สามารถอัพเกรดเป็น Windows 10 ฟรีในปีแรกที่เปิดตัว วันนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมออกมาแล้วว่า Windows 7 Enterprise และ Windows 8.1 Enterprise รุ่นสำหรับตลาดองค์กรจะไม่ได้รับสิทธิอัพเกรดฟรีครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับลูกค้าองค์กรที่ซื้อสิทธิแบบ Windows Software Assurance (SA) จะสามารถอัพเกรดเป็น Windows 10 โดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่กรณีของคนที่ไม่ได้ซื้อสิทธิ SA แล้วอยากซื้อ Windows 10 Enterprise ก็คงต้องรอไมโครซอฟท์ประกาศราคาอีกครั้งหนึ่ง
ช่วงหลังๆ เราเริ่มเห็น Amazon Web Services เปิดบริการระดับแอพพลิเคชันมากขึ้น (เมื่อเทียบกับยุคแรกๆ ที่เป็นบริการเชิงระบบอย่าง S3 หรือ EC2) ตัวอย่างบริการเหล่านี้ได้แก่ Workspaces เดสก์ท็อปบนกลุ่มเมฆ หรือ Zocalo พื้นที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆที่เพิ่งเปลี่ยนชื่อเป็น WorkDocs
บริการใหม่ล่าสุด Amazon WorkMail เป็นระบบอีเมล-สมุดที่อยู่-ตารางนัดหมายบนเซิร์ฟเวอร์ของ Amazon เอง เทียบได้กับ Google Apps หรือ Office 365 กลุ่มเป้าหมายก็ชัดเจนว่าเป็นตลาดองค์กรที่ไม่อยากดูแลระบบอีเมลเอง และเลือกการ "เช่า" บริการนี้แทน
เมื่อไปช่วงสัปดาห์ก่อน ทาง Oracle เพิ่งจัดงาน showcase เทคโนโลยีในประเทศไทยซึ่งมีผู้บริหารแถบเอเชียแปซิฟิกมาให้ข้อมูลด้วย ในการพูดคุยครั้งนี้ได้พูดถึง Oracle FS1 ตู้ SAN แบบไฮบริดที่ทำผลงานได้ในระดับเดียวกับตู้ที่ใช้หน่วยความจำแฟลชล้วนๆ
ในส่วนของฮาร์ดแวร์ FS1 ตัวคอนโทรลเลอร์ใช้ซีพียู Intel E5-2620 สี่ตัว (เป็น 24 คอร์ที่ความถี่ 2GHz) แรม 64GB-384GB รองรับกล่องใส่ไดร์ฟขนาด 2U สูงสุด 30 ตัว ทำความจุ SSD ได้สูงสุด 912TB และได้ความจุฮาร์ดดิสก์สูงสุดที่ 2.9PB รายละเอียดด้านพอร์ตอื่นๆ สามารถดูได้จากเอกสารจากเว็บทางการครับ
HP เผยรายละเอียดเพิ่มเติมของแผนการแยกบริษัทเป็น 2 ส่วนที่เคยประกาศมาก่อนหน้านี้ โดย Meg Whitman ซีอีโอคนปัจจุบันของ HP จะไปนั่งคุมบริษัท Hewlett-Packard Enterprise ที่เจาะตลาดองค์กร ส่วน HP Inc. ที่ขายพีซีและเครื่องพิมพ์ จะขยับ Dion Weisler ที่ดูแลหน่วยธุรกิจนี้อยู่แล้วขึ้นมาเป็นซีอีโอ
Dion Weisler เคยมีประสบการณ์ที่ Acer, Lenovo รวมถึง Telstra โอเปอเรเตอร์จากออสเตรเลีย จุดที่น่าสนใจคือเขาเคยคุมธุรกิจพีซีมาหลากหลาย ทั้งแถบเอเชีย-แปซิฟิก และยุโรป-ตะวันออกกลาง จึงน่าจับตาดูว่า HP Inc. ภายใต้บังเหียนของเขาจะสามารถรุกตลาดใหม่ๆ นอกสหรัฐอเมริกาได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าจำกันได้ ในวันที่ Windows 10 เผยโฉมเป็นครั้งแรกนั้น ไมโครซอฟท์พยายามบอกให้บรรดาบริษัททั้งหลายได้เข้าใจว่า Windows 10 จะเป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร ซึ่งในวันเปิดตัวจริงที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้เผยข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานในองค์กรเกี่ยวกับการอัพเดตมาดังนี้
ปีที่แล้วเราเห็นกูเกิลผลักดันผลิตภัณฑ์เวอร์ชันสำหรับองค์กรใต้แบรนด์ Google for Work หลายตัว เช่น Android Work และ Google Drive for Work
ดูเหมือนว่าผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดที่มีคำว่า Work ติดมาด้วยจะเป็น Chrome โดยกูเกิลเผลออัพโหลดแอพชื่อ Work Chrome ขึ้นมาบน Play Store แล้วลบออกไปในภายหลัง ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Work Chrome มีความแตกต่างจาก Chrome รุ่นปกติอย่างไร (คาดว่าน่าจะเป็น Chrome เวอร์ชันพิเศษที่ให้องค์กรติดตั้งเพื่อให้บริหารจัดการจากระยะไกลได้ง่ายขึ้น)
นอกจาก HP เปิดตัวแท็บเล็ตแอนดรอยด์ในแบรนด์ Pro Slate ยังมีแท็บเล็ตและอุปกรณ์ 2-in-1 สายวินโดวส์ใหม่อีกหลายตัว โดยทุกตัวเจาะตลาดภาคธุรกิจที่ต้องการอุปกรณ์พกพาสำหรับงานเฉพาะทาง
กูเกิลประกาศร่วมมือกับบริษัท PricewaterhouseCooper (PwC) ประมูลโครงการปรับปรุงระบบจัดการข้อมูลสุขภาพของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มูลค่าโครงการ 2 พันล้านดอลลาร์
โครงการของกระทรวงกลาโหมนี้ มีชื่อว่า Department of Defense Healthcare Management Systems Modernization (DHMSM) โดยส่วนที่ PwC และกูเกิลร่วมกับประมูลคือ Electronic Health Record (EHR) ที่เก็บข้อมูลของผู้ได้รับผลประโยชน์ด้านสุขภาพจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ทั้งทหารปลดประจำการ, ทหารที่ประจำการอยู่, และผู้ได้รับผลประโยชน์อื่นเช่นครอบครัว รวม 9.7 ล้านคน
ระบบนี้จะรวบฐานข้อมูลสุขภาพเข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลเดียว ทาง PwC ระบุว่าการที่มีกูเกิลในทีมจะช่วยให้โซลูชั่นสามารถทำงานได้คุ้มค่าเงินลงทุน
อ่านข่าวสมาร์ทโฟนกันมาเยอะ มาดูข่าว "เมนเฟรมใหม่" กันบ้างนะครับ
IBM เปิดตัวเมนเฟรมรุ่นใหม่ z13 โดยเป็นเมนเฟรมตัวท็อปที่มีศักยภาพประมวลผลธุรกรรม (transaction) ได้มากถึง 2.5 พันล้านธุรกรรมต่อวัน เป้าหมายของ IBM คือสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่มีธุรกรรมผ่านอุปกรณ์พกพาจำนวนมหาศาล
Steven Sinofsky อดีตผู้บริหารของไมโครซอฟท์ (หัวหน้าทีม Windows 7-8, ลาออกจากไมโครซอฟท์ในปี 2012) และปัจจุบันมาอยู่กับบริษัทลงทุน Andreessen Horowitz เขียนบล็อกแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีการแฮ็กระบบ Sony Pictures ในมิติเรื่อง "ความปลอดภัย" ของระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างยุคสมัยกัน ผมเห็นว่ามีประเด็นน่าสนใจจึงนำเนื้อหาบางส่วนมาสรุปนะครับ (แนะนำให้อ่านต้นฉบับด้วย)
Oracle ประกาศซื้อบริษัท Datalogix ซึ่งทำด้านวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในโลกออฟไลน์
เป้าหมายของ Oracle คือนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลของ Datalogix ไปเสริมกับบริการ Oracle Data Cloud ซึ่งเป็นบริการด้านวิเคราะห์ข้อมูลบนกลุ่มเมฆที่ Oracle พยายามขยายตลาดอยู่ ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่ง (รวมถึง Google/Yahoo/Facebook/Twitter) ใช้บริการของ Datalogix เพื่อประเมินว่าแคมเปญโฆษณาออนไลน์ของตัวเองประสบความสำเร็จจนกลายเป็นยอดซื้อมากน้อยแค่ไหน
ที่มา - Oracle
Western Digital (WD) เข้าซื้อ Skyera บริษัทผู้พัฒนา SSD สำหรับศูนย์ข้อมูล และกลุ่มเมฆสำหรับฝั่งองค์กร โดยไม่เปิดเผยว่าเป็นมูลค่าเท่าไร
หลังการเข้าซื้อเสร็จสิ้น Skyera จะถูกควบรวมเข้ากับ HGST บริษัทลูกของ WD ที่ดูแลฝั่งองค์กร เพื่อมาเสริมแกร่งในการบุกตลาดศูนย์ข้อมูลให้มากขึ้นด้วยสิทธิบัตร และทีมวิศวกรจาก Skyera
เมื่อช่วงต้นปี เดือนมีนาคม WD เพิ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนใน Skyera มูลค่ากว่า 51 ล้านเหรียญ โดยในตอนนั้นระบุว่าเป็นการลงทุนร่วมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน จนมาจบที่การเข้าซื้อในครั้งนี้
ที่มา - Tech Report
การแชร์ไฟล์ในที่ทำงานส่วนใหญ่มักเป็นไฟล์เอกสาร Microsoft Office ซะมาก ในฐานะที่ Dropbox ถูกนำไปใช้ในสำนักงานจำนวนมาก (โดยเฉพาะ Dropbox for Business สำหรับลูกค้าองค์กร) บริษัทจึงเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Dropbox badge ช่วยให้การแก้ไขไฟล์เอกสารร่วมกันทำได้ง่ายขึ้น
หลักการทำงานของ Dropbox badge คือแสดงไอคอนของ Dropbox เล็กๆ ขึ้นมาด้านข้างของโปรแกรม Microsof Office โดยไอคอนนี้จะบอกว่าเพื่อนร่วมงานคนไหนกำลังอ่านหรือแก้ไขเอกสารฉบับนี้อยู่ และถ้ามีเอกสารเวอร์ชันใหม่กว่า ไอคอนจะแจ้งเตือนให้เราคลิกเพื่ออัพเดตข้อมูลเป็นเวอร์ชันใหม่ทันที
Google Cloud Platform บริการกลุ่มเมฆของกูเกิล ประกาศรองรับซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ของค่ายไมโครซอฟท์เพิ่มเติม ดังนี้
เมื่อกลางปีนี้ ไอบีเอ็มประกาศความร่วมมือกับแอปเปิล ทำแอพสำหรับตลาดองค์กรลง iOS ชุดใหญ่ วันนี้แอพชุดแรกมาแล้ว
ไอบีเอ็มเรียกแอพกลุ่มนี้ว่า IBM MobileFirst for iOS โดยแอพชุดแรกครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ ทั้งแอพสำหรับสายการบิน ธนาคารและการเงิน ประกันภัย ค้าปลีก และหน่วยงานรัฐบาล ตัวอย่างแอพได้แก่ Sales Assist แอพช่วยงานเซลส์ที่เปิดดูข้อมูลลูกค้า ประวัติการซื้อขายสินค้าเดิม และสต๊อกสินค้าในปัจจุบัน, Plan Flight แอพสำหรับนักบินเพื่อดูข้อมูลต่างๆ ก่อนขึ้นบิน, Passenger+ แอพสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินดูข้อมูลต่างๆ ของผู้โดยสาร เป็นต้น
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา EMC เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์ EMC Enterprise Hybrid Cloud (EHC) ในประเทศไทย โดยตัวซอฟต์แวร์นี้จะเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงฝ่ายไอทีของตัวเองไปทำหน้าที่ดูแลเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ให้กับฝ่ายอื่นๆ ในองค์กรไปพร้อมกัน
ระบบของ EHC จะมีหน้าคอนโซลให้กับผู้ใช้ฝ่ายอื่นๆ สามารถเลือกร้องขอเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติม โดยให้บริการได้ทั้งเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรเองและนอกองค์กร ฝ่ายต่างๆ จะสามารถเปรียบเทียบเงื่อนไขการใช้งานและราคาระหว่างเซิร์ฟเวอร์จากคลาวด์ในองค์กร, คลาวด์จากผู้ให้บริการที่สามารถเชื่อมต่อกับ EHC ได้ (เรียกว่า EMC Cloud Service Provider โดยทาง EMC ระบุว่าในไทยกำลังมีผู้ให้บริการเปิดตัวเร็วๆ นี้) และคลาวด์จากบริษัทที่เรารู้จักกันดีอย่าง Amazon EC2 หรือ Windows Azure
มีรายงานข่าวโดยไม่ยืนยันว่า BMW หนึ่งในบริษัทยนตกรรมรายสำคัญของโลก ประกาศเปลี่ยนมือถือของบริษัทที่ให้พนักงานใช้จำนวนกว่า 57,000 เครื่อง จากที่ใช้ Nokia สาย Symbian มาเป็น Microsoft Lumia
ทั้งนี้ การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมของ BMW Work Council ในประเด็นดังกล่าวพอดี ซึ่งโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะเป็น Lumia 630 สำหรับพนักงานทั่วไป และ Lumia 920/930 สำหรับพนักงานและเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร
อนึ่ง ในปัจจุบันนี้ ทางไมโครซอฟท์ไม่ได้มีข้อตกลงหรือแผนงานร่วมกับทาง BMW ในการที่จะนำเอาแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ไปใช้ในรถยนต์ของทาง BMW แต่อย่างไร
ที่มา - Neowin