ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือกับ Box ไปเมื่อต้นปี คราวนี้ตัวผลงานจริงออกมาให้ใช้กันแล้ว โดยผู้ใช้สตอเรจ Box สามารถเปิดเอกสาร Microsoft Office ด้วยเว็บแอพ Microsoft Office Online ได้จากเว็บหรือแอพของ Box ได้เลย
ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้การแก้ไขเอกสารภายในองค์กรที่ใช้ Box สามารถทำผ่านเบราว์เซอร์ได้ทั้งหมด ไม่ต้องติดตั้งแอพใดๆ เพิ่มเติม ช่วยให้การย้ายไปนั่งทำงานบนคอมพิวเตอร์ต่างเครื่องง่ายขึ้นมาก
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์เคยประกาศความร่วมมือคล้ายๆ กันกับ Dropbox แต่เน้นไปที่แอพบน iOS/Android เป็นหลัก
Bloomberg Business รายงานว่าสัดส่วนลูกค้าใหม่ของฐานข้อมูล Oracle Database เริ่มลดลง ถึงแม้ว่าฐานลูกค้าเก่าจะเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นสัญญาณว่าฐานข้อมูล Oracle Database เริ่มถูกชิงส่วนแบ่งตลาดโดยฐานข้อมูลโอเพนซอร์สที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า
Bloomberg ลองสำรวจข้อมูลจากสตาร์ตอัพหน้าใหม่ที่มีมูลค่าบริษัทเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ จำนวน 20 ราย (ในจำนวนนี้มี Cloudflare และ Pinterest) พบว่าบริษัทเกือบทั้งหมดใช้ฐานข้อมูลโอเพนซอร์ส มีหนึ่งรายที่ใช้ Microsoft SQL Server และไม่มีรายไหนใช้ Oracle Database เลย
ไมโครซอฟท์ยืนยันกับ ZDNet ว่า Windows 10 บางรุ่นจะไม่ให้เบราว์เซอร์ Microsoft Edge มาด้วย โดยรุ่นที่ว่านี้คือ Windows 10 Enterprise แบบ Long Term Servicing Branch (LTSB) ที่ออกแบบมาสำหรับงานที่ต้องการเสถียรภาพสูงมากๆ และขายเฉพาะตลาดองค์กรเท่านั้น
เหตุผลที่ Windows 10 Enterprise LTSB ไม่ให้ Edge มาด้วยเป็นเพราะนโยบายการอัพเดตของ LTSB เองที่จะไม่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ อัพเดตเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยเท่านั้น ขัดกับสถานะของ Edge ที่ยังเป็นเบราว์เซอร์หน้าใหม่และต้องพัฒนาอีกมาก ถ้าหาก Windows 10 LTSB ให้ Edge มาด้วยก็จะไม่สามารถอัพเดตตัว Edge ให้สมบูรณ์ขึ้นได้
VMware เปิดตัว VMware Horizon 6 for Linux รองรับการให้บริการเดสก์ทอปเสมือน (VDI) บนลินุกซ์จากเดิมที่รองรับเฉพาะวินโดวส์เท่านั้น โดยลินุกซ์ชุดแรกที่รองรับ ได้แก่ Ubuntu, Red Hat Enterprise Linux, CentOS, และ NeoKylin
เหตุผลสำคัญในการย้ายจากวินโดวส์ไปยังลินุกซ์คือการลดค่าไลเซนส์สำหรับเดสก์ทอปเสมือนเหล่านี้ โดยรวมอาจจะลดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 60%
ที่มา - The Register, VMware
ถ้าพูดถึงบริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีรายใหญ่ของไทย หนึ่งในรายชื่อย่อมหนีไม่พ้น Fujitsu Systems Business Thailand ซึ่งมีลูกค้าเป็นองค์กรยักษ์ใหญ่มากมาย (โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นในไทย)
ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของ Fujitsu คือ Mr. Lee Mun Choong Alfee ตำแหน่ง Country Business Unit Head (ต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่าคุณ Alfee) ในประเด็นว่าแนวโน้มของระบบไอทีองค์กรเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างในยุคที่เทคโนโลยี cloud/mobile เริ่มกลายเป็นกระแสหลักของวงการ รวมถึงภาพรวมของไอทีองค์กรในไทยที่คุณ Alfee เคยสัมผัสมา
Dropbox เร่งเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ Dropbox for Business เพื่อดึงดูดลูกค้าฝั่งองค์กรให้มากขึ้น
ที่มา - Dropbox for Business
อินเทลเปิดตัวโซลูชันสำหรับห้องประชุม โดยใช้ชื่อว่า Intel Unite
Intel Unite ประกอบด้วยพีซีขนาดเล็ก (mini-PC) ที่ใช้ Core vPro และซอฟต์แวร์จัดการห้องประชุม Intel Unite ที่อินเทลทำเอง ความสามารถของมันก็เทียบเท่าซอฟต์แวร์จัดการประชุมทั่วไป เช่น การสนทนาแบบวิดีโอ แชร์เอกสาร แชร์หน้าจอระหว่างประชุม แต่ที่อินเทลเน้นเป็นพิเศษคือฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและการเข้ารหัสข้อมูล
Meg Whitman ซีอีโอของ HP ออกมาให้ข้อมูลความคืบหน้าของแผนการแยก HP ออกเป็น 2 ส่วน โดย Hewlett Packard Enterprise จะแยกตัวออกจาก HP ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2015
Whitman ยังเผยวิสัยทัศน์ของ Hewlett Packard Enterprise ว่าจะหันไปโฟกัสตลาด cloud computing, mobility, big data มากขึ้น จากเดิมที่เน้นขายฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์-สตอเรจ-อุปกรณ์เครือข่าย
เธอบอกว่าปัจจุบันนี้โลกเราอยู่ในยุค idea economy ใครมีไอเดียดีๆ สามารถเปลี่ยนมันเป็นธุรกิจได้ง่ายมาก เพราะโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีพร้อมมาก โดย Hewlett Packard Enterprise จะเน้นจับลูกค้าที่อยู่ในโลกไอทีเก่าและกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกใหม่นั่นเอง
EMC เข้าซื้อบริษัท Virtustream บริษัทซอฟต์แวร์จัดการคลาวด์ในองค์กร มูลค่ารวม 1.2 พันล้านดอลลาร์ โดยเตรียมเสริมซอฟต์แวร์เข้าไว้ในชุด Federation Enterprise Hybrid Cloud Solution
Virtustream เปิดบริษัทมาตั้งแต่ปี 2009 และได้ลูกค้ารายใหญ่จำนวนมาก เช่น โคคาโคล่า, ไฮนซ์, คาวาซากิ สินค้าสำคัญของบริษัทคือ Virtustream xStream จัดการ VM ที่ทำงานอยู่บน VMWare ESX หรือ KVM ให้บริการจัดการทั้งความปลอดภัย, รายงานการใช้งาน, และการเก็บค่าบริการ
Nutanix ถือเป็นสตาร์ตอัพสาย enterprise ที่กำลังมาแรงมาก บริษัทเริ่มก่อตั้งในปี 2009 และเริ่มวางขายสินค้าครั้งแรกในปี 2011 เวลาผ่านมาได้เพียงไม่กี่ปี บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถระดมทุนได้แล้วกว่า 300 ล้านดอลลาร์ (มูลค่าบริษัทเกิน 2 พันล้านดอลลาร์เข้าไปแล้ว หนึ่งในบริษัทที่มาลงทุนคือ SAP) และน่าจะขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ (ท่ามกลางข่าวลือล่าสุดว่า Cisco สนใจเข้ามาสอยไปก่อน IPO)
เมื่อวานนี้ Dell จัดงาน Dell Solution Tour 2015 เพื่อโชว์เทคโนโลยีสำหรับองค์กรธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และโชว์อนาคตของบริษัทที่ก้าวไปสู่การเป็นหนึ่งในผู้ผลิตอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่ได้ไปเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์จริงที่เริ่มใช้งานแล้ว
ในปี 2015 Dell มองว่าองค์กรธุรกิจแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือระบบไอทีแบบดั้งเดิม และระบบไอทีแบบใหม่ที่มีปัจจัยอย่างอุปกรณ์พกพา กลุ่มเมฆ และ big data เข้ามาเชื่อมโยงกับระบบด้วย
ตามปกติแล้ว ระบบไอทีภายในองค์กรมักจำกัดการเข้าถึงเฉพาะเครือข่ายภายในองค์กร (ซึ่งเป็นเหตุให้พนักงานต้องเชื่อมต่อผ่าน VPN ก่อนชั้นหนึ่ง ถ้าต้องการใช้งานจากนอกองค์กร) แต่บริษัทที่ออกตัวว่า "เชื่อมั่นในอินเทอร์เน็ต" อย่างกูเกิลกำลังเปลี่ยนธรรมเนียมนี้ โดยย้ายระบบทั้งหมดขึ้นอินเทอร์เน็ต
โครงการนี้ของกูเกิลใช้ชื่อว่า BeyondCorp initiative แนวคิดของมันมีอยู่ว่า ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในหรือภายนอกองค์กรล้วนแต่มีความเสี่ยงเท่ากัน (ต่างจากแนวคิดดั้งเดิมที่มองว่าเครือข่ายภายในปลอดภัยกว่า) ดังนั้นมาตรการด้านความปลอดภัยจึงไม่สนใจปัจจัยเรื่องเครือข่าย แต่ไปเน้นที่อุปกรณ์ของพนักงานที่ใช้เชื่อมต่อ และวิธีการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้แทน
Good Technology บริษัทด้านซอฟต์แวร์ MDM (อ่าน รู้จัก Good Technology บริษัทที่กำลังเขย่าบัลลังก์ของ BlackBerry ในโลก MDM ประกอบ) ออกรายงาน Mobility Index Report สรุปสถิติการใช้งานอุปกรณ์พกพาในตลาดไอทีองค์กร ประจำไตรมาส 1/2015 เริ่มจากแนวโน้มการใช้แอพ
ค่าย SAP ลงมาบุกตลาด Internet of Things ด้วยผลิตภัณฑ์ชื่อยาวเหยียด SAP HANA Cloud Platform for the Internet of Things (ตัวย่อคือ HCP for IoT)
SAP HCP for IoT ทำตัวเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับบริหาร device cloud โดยจะทำหน้าที่ทั้งบริหารจัดการระดับของอุปกรณ์และระดับของแอพพลิเคชัน มันจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก IoT ไปใช้งานต่ออีกชั้นหนึ่ง (ซึ่งองค์กรที่ใช้ SAP อยู่แล้วก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง SAP Business Suite 4 ได้เลย)
ในโอกาสนี้ SAP ยังประกาศความร่วมมือกับ Intel ในการพัฒนา HCP for IoT ให้ทำงานได้กับแพลตฟอร์ม IoT ของอินเทลด้วย
ช่วงนี้ SAP จัดงานประจำปี SAPPHIRE NOW มีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่าง ที่น่าสนใจคือ SAP ประกาศความร่วมมือกับกูเกิลชุดใหญ่ ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออกมาอธิบายความสามารถใหม่ของ SQL Server 2016 ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลรุ่นถัดไป ที่เตรียมจะออกรุ่นพรีวิวในเร็วๆ นี้
ฟีเจอร์แรกคือ Always Encrypted ผู้ใช้ที่ต้องการความปลอดภัยสูง สามารถเข้ารหัสข้อมูลบางฟิลด์ในฐานข้อมูลได้ตลอดเวลา โดยแยกเก็บกุญแจไว้ในสภาพแวดล้อมที่เชื่อถือได้ (trusted environment)
วันนี้ไมโครซอฟท์เปิดตัวซอฟต์แวร์ในตระกูลเซิร์ฟเวอร์ชุดใหญ่ รวมถึง Windows Server 2016 ชุดซอฟต์แวร์ที่เปิดตัวมาพร้อมกันอีกสามชุด ได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก Skype for Business Server 2015 ซึ่งจะมาใช้แทน Lync Server 2013 เดิม ของใหม่มีดังนี้
ต่อจากงานสัมมนา Build สำหรับนักพัฒนาเพียงไม่กี่วัน ไมโครซอฟท์ก็จัดงานสัมมนา Ignite สำหรับผลิตภัณฑ์สายเซิร์ฟเวอร์ และเปิดตัวซอฟต์แวร์ฝั่งองค์กรอีกชุดใหญ่ (ที่ลงข่าวไปแล้วคือ Windows Update for Business และ Office 2016 Preview)
ไมโครซอฟท์เคยประกาศนโยบายการอัพเดต Windows 10 สำหรับลูกค้าองค์กร ว่าจะมี Windows 10 แบบ LTS ที่อัพเดตเฉพาะแพตช์ความปลอดภัย ไม่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ซึ่งออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์ที่รันงานสำคัญ (mission critical) โดยเฉพาะ
ส่วนอุปกรณ์ Windows 10 ในภาคธุรกิจ (เช่น ให้พนักงานใช้) อาจต้องการฟีเจอร์ใหม่เร็วกว่านั้น ไมโครซอฟท์จึงออก Windows Update for Business ให้แอดมินองค์กรสามารถควบคุมการอัพเดตได้มากขึ้นกว่าเดิมมาก ฟีเจอร์ของมันได้แก่
Jive Software บริษัทผู้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับสื่อสารภายในองค์กร (ได้ยินมาว่าเมืองไทยก็ใช้กันเยอะพอสมควร) ออกซอฟต์แวร์แชทตัวใหม่ชื่อ Jive Chime เพื่อให้ทีมงานสามารถสื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์
Jive Chime เป็นคู่แข่งโดยตรงของ Slack (อ่านบทความ แนะนำ Slack โต๊ะกลางวางงาน สื่อประสานทุกโปรเจกต์ให้ลุล่วง ประกอบ) ความสามารถก็ครบถ้วนทั้งการคุยแบบกลุ่ม แสดงสถานะการอ่านได้ และเข้ารหัสข้อความเพื่อป้องกันความลับรั่วไหล
Dropbox ระบุว่ากำลังพัฒนาฟีเจอร์การเขียนเอกสารร่วมกันชื่อ Dropbox Notes เป้าหมายคือต่อยอดการทำงานร่วมกันขององค์กร ตัวอย่างการใช้งานที่นำมาโชว์คือการจดบันทึกการประชุมประจำสัปดาห์
เว็บไซต์ TechCrunch ระบุว่าโครงการ Dropbox Notes มีโค้ดเนมว่า Project Composer และมีรากเหง้ามาจากบริษัท HackPad ที่ซื้อกิจการเมื่อปี 2014 อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ Dropbox Notes ยังเปิดให้ทดสอบเฉพาะในวงปิดเท่านั้น
Box บริษัทเก็บข้อมูลกลุ่มเมฆที่เน้นตลาดลูกค้าองค์กร ได้พันธมิตรรายใหม่คือ Chrome OS ของกูเกิล โดยองค์กรที่ใช้ Chrome OS สามารถติดตั้งส่วนเสริม Box for Chrome OS เพื่อเข้าถึงไฟล์บน Box ได้ทันที
เมื่อติดตั้งส่วนเสริมแล้ว ในหน้าต่างเลือกไฟล์ (file picker) เราจะเห็นโฟลเดอร์หมวดของ Box เพิ่มเข้ามาเคียงคู่กับ Google Drive ที่มีให้ใช้งานเป็นดีฟอลต์อยู่แล้ว
ช่วงหลัง Box ทำผลงานด้านการสร้างพันธมิตรได้ดีทีเดียว นอกจาก Chrome OS ในข่าวนี้แล้ว ก็เพิ่งผสานตัวเองกับ Microsoft Office แล้วเช่นกัน
หลัง Android for Work เปิดตัวอย่างเป็นทางการ มาได้สักพัก กูเกิลก็ส่งแอพ Android for Work ลง Play Store แล้ว
แอพ Android for Work ไม่สามารถทำงานได้ลำพัง เพราะมันเปรียบเสมือนมิดเดิลแวร์ที่มารันบนอุปกรณ์ Android เพื่อให้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์บริหารอุปกรณ์พกพา (MDM) ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของกูเกิลอีกชั้นหนึ่ง ตัวอย่างพาร์ทเนอร์เหล่านี้ได้แก่ SAP, VMware Airwatch, SOTI, BlackBerry, Citrix, MobileIron เป็นต้น
ไมโครซอฟท์ออกมาเผยข้อมูลชุดแรกของเมลเซิร์ฟเวอร์ Exchange Server 2016
จุดที่น่าสนใจคือไมโครซอฟท์ระบุว่าฟีเจอร์เหล่านี้ถูกใช้งานใน Exchange เวอร์ชันกลุ่มเมฆ (สำหรับลูกค้า Office 365) เรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการพอร์ตฟีเจอร์กลับมาสู่ Exchange เวอร์ชันปกติต่อไป แสดงให้เห็นว่าตอนนี้ไมโครซอฟท์หันมาดำเนินยุทธศาสตร์ cloud-first อย่างจริงจัง