ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดบริการจ่ายเงินผ่าน QR ข้ามประเทศ โดยร่วมกับธนาคาร 3 แห่งในกัมพูชา ได้แก่ Acleda Bank, Cambodia Commercial Bank (CCB), และ Foreign Trade Bank of Cambodia (FTB) ทำให้ลูกค้าธนาคารทั้งสามสามารถใช้แอปของธนาคารมาจ่ายเงินในประเทศไทยได้
สำหรับบริการลูกค้าธนาคารในไทยที่จะไปสแกนจ่ายค่าสินค้าในกัมพูชานั้นจะใช้งานได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
การเปิดบริการครั้งนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางกัมพูชาลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน
ก่อนหน้านี้ความธนาคารในไทยก็เพิ่งทำความร่วมมือกับธนาคารในลาวเพื่อให้สองชาติจ่ายเงินข้ามไปมาได้เช่นกัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ ทำการทดสอบยืนยันตัวตนดิจิทัลข้ามธนาคารเพื่อเปิดบัญชี โดยเป็นการทดสอบผ่านแพลตฟอร์ม NDID (National Digital ID) ในวงจำกัด ภายใต้ Regulatory Sandbox
ประโยชน์ของการยืนยันตัวตนดิจิทัคือ ช่วยให้ประชาชนสามารถเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งใหม่ได้ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร โดยใช้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนจากธนาคารที่ตนเองเคยมีบัญชีเงินฝาก ด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ไม่ต้องเดินทางมาแสดงตนที่สาขา และลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงาน "สถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องที่กระทบต่อการให้บริการผ่านช่องทางสำคัญ" ประจำไตรมาสที่สี่ปี 2019 จากเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2019
รอบนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ไม่มีรายงานล่มเลยในรายงานครั้งก่อนๆ รายงานเหตุล่มบนบริการโทรศัพท์มือถือ 2 ครั้งนาน 4 ชั่วโมง น่าจะมาจากเหตุการย้ายไปใช้ AWS Elastic Load Balancing (ELB) แม้เหตุครั้งนั้นผมจะนับได้ว่ามีการล่ม 3 ครั้ง อย่างไรก็ดี ช่องทางเว็บของไทยพาณิชย์ก็ไม่ล่มเลยตลอดไตรมาส
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกคำสั่งปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม โดยปรับปรุงทั้งค่าปรับสินเชื่อ, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, และค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต/เครดิต
กรณีค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต/บัตรเอทีเอ็ม นั้นกระทบถึงกระบวนการรีเซ็ตรหัสผ่าน ที่บางธนาคารอาจบังคับออกบัตรใหม่หากลืมรหัส หรือเคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการรีเซ็ตรหัส ตามคำสั่งใหม่ระบุให้ "ไม่เรียกเก็บ" แต่ยังให้ข้อยกเว้นหากมีต้นทุนสูง
แม้คำสั่งน่าจะมีผลดีต่อคนใช้โดยทั่วไป แต่ยังน่าสงสัยว่าจะมีธนาคารอ้างต้นทุนสูงตามข้อยกเว้นของธนาคารแห่งประเทศไทยมากน้อยเพียงใด และคำสั่งนี้ยังไม่ครอบคลุมถึงบัตรเครดิตอีกด้วย
หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ "แนวนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและขำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่" วันนี้ประกาศฉบับเต็มก็ออกมาแล้ว โดยประกาศมีมาตรการขั้นต่ำ 12 ประการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยตัวเลขบัตรแบบแถบแม่เหล็กที่จะไม่สามารถใช้งานได้ในอนาคตว่าจนถึงตอนนี้ ยังเหลือ 12.1 ล้านใบ (บัตร ATM 6.3 ล้านใบ และบัตรเดบิต 5.8 ล้านใบ)
ในจำนวนบัตรแถบแม่เหล็ก 12.1 ล้านใบนี้แบ่งเป็น 5 ล้านใบที่ไม่มีการแอคทีฟแล้ว กับ 7.1 ล้านใบที่ยังแอคทีฟอยู่ โดยตั้งแต่เดือนกันยายน - พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถิติบัตรแม่เหล็กลดลงไป 4.5 ล้านใบ
วันนี้ (20 ธันวาคม 2562) นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศว่าทางหน่วยงานได้ออกแนวทางเรื่องความปลอดภัย mobile banking
แนวนโยบาย “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการให้บริการทางการเงินและขำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่” จะกำหนดให้ธนาคารต้องวางมาตรการขั้นต่ำ เช่น การบล็อคไม่ให้อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัย (ใช้ระบบปฎิบัติการเก่าเกินไป หรือ jailbreak) ไม่ให้ใช้งาน, มีการจำกัดการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์, เข้ารหัสข้อมูล นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เช่น ความซับซ้อนรหัสผ่าน, และการตรวจสอบแอปพลิเคชั่นปลอม สร้างความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีการเงินให้ประชาชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ ชี้ ผู้ให้บริการต้องขอความยินยอมจากลูกค้าก่อนที่จะนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ โดยต้องทำเป็นระบบ opt-in หรือการได้รับคำตอบตกลงยินยอมจากลูกค้าแล้ว เริ่มบังคับใช้ต้นปี 2563
จากเดิมที่ถ้าลูกค้าไม่ตอบ เท่ากับตกลงยินยอมให้ข้อมูลนั้น มาตรฐานใหม่จะกลายเป็นลูกค้าต้องให้ความเห็นชอบอย่างชัดเจน รวมทั้งให้ระบุวัตถุประสงค์การใช้ให้ชัดเจน และหากเป็นวัตถุประสงค์เพื่อการตลาดจะต้องแจ้งชื่อผู้ที่จะนำข้อมูลไปใช้ให้ชัดเจนด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ แถลงความคืบหน้าของผู้ใช้งานพร้อมเพย์ หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016 โดยตัวเลขล่าสุดเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 มีตัวเลขผู้ใช้งาน 49.5 ล้านหมายเลขแล้ว และมีการใช้งานเฉลี่ยต่อวัน 8.1 ล้านรายการ
ใน 49.5 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นเลขประจำตัวประชาชน 30.3 ล้านหมายเลข, เบอร์มือถือ 18.6 ล้านหมายเลข, เลขทะเบียนนิติบุคคล 0.08 ล้านหมายเลข
จากความร่วมมือของธนาคารธนชาตประกาศความร่วมมือกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว (Banque Pour Le Commerce Exterieur Lao Pulic-BCEL) เปิดตัวการชำระเงินข้ามประเทศด้วย QR code คนลาวสามารถมาสแกนจ่าย QR PromptPay ที่ไทยได้
ล่าสุด ทางธนาคารธนชาตและธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาระบุว่า คนไทยสามารถใช้แอพพลิเคชั่นแบงกิ้งของธนาคารไทย 5 แห่ง มาสแกนจ่ายที่จุดรับจ่ายในลาวแล้ว ประกอบด้วย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต
เว็บไซต์ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เผยแพร่เอกสารข้อมูลสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องของธนาคารพาณิชย์ ประจำไตรมาสที่สาม ที่สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา โดยเผยแพร่วันนี้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุให้เผยแพร่หลังสิ้นสุดไตรมาส 30 วัน ตัวเลขแสดงสถิติทุกธนาคารยกเว้นธนาคารกรุงไทยที่ระบุว่า "อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล"
ไตรมาสนี้โดยรวมธนาคารที่แสดงข้อมูลจำนวนครั้งดีขึ้นทุกธนาคาร เช่นในบริการ Mobile Banking ธนาคารกรุงเทพ จากการล่ม 5 ครั้งในไตรมาสก่อนหน้าเหลือ 1 ครั้ง หรือธนาคารทหารไทยจาก 4 ครั้งเหลือ 1 ครั้ง
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศตั้งเป้าเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตที่ยังเป็นบัตรแม่เหล็ก ให้เป็นบัตรชิป โดยธนาคารในประเทศไทยได้หยุดออกบัตรแม่เหล็กมาตั้งแต่ปี 2016 ตอนนี้ทางก็มีกำหนดออกมาว่าบัตรแม่เหล็กทั้งหมดจะใช้งานได้ถึงวันที่ 15 มกราคม 2020 เท่านั้น
ประกาศเดิมของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุให้บัตรแม่เหล็กใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2019 ประกาศล่าสุดนี้จึงเป็นการเลื่อนออกไปแล้วเล็กน้อย
ตอนนี้บัตรแม่เหล็กยังคงเหลืออยู่ในระบบอีก 20 ล้านใบทั่วประเทศแม้จะหยุดออกบัตรใหม่มานานแล้ว ขณะที่บัตรชิปมีจำนวน 47 ล้านใบ
วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่รายงานข้อมูลธนาคารล่มประจำไตรมาสที่สอง โดยไม่เป็นไปตามรูปแบบที่ประกาศไว้เองเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการตัดข้อมูลระยะเวลาธนาคารล่มออกจากรายงานทั้งหมด เหลือเพียงจำนวนครั้งเท่านั้น
ผมสอบถามไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยว่าทำไมข้อมูลระยะเวลาล่มจึงหายไป ได้รับคำตอบว่าจะรายงานเวลาในไตรมาสที่สี่ โดย "ช่วงนี้ให้เวลาสถาบันการเงินเตรียมความพร้อมเรื่องการจัดเตรียมข้อมูลที่เหลือ" แม้ว่าข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลถึงไตรมาส 2 ที่สิ้นสุดเมื่อสองเดือนที่แล้วก็ตาม โดยข้อมูลระยะเวลาจะเริ่มรายงานจริงในข้อมูลไตรมาสที่ 4 ซึ่งหมายความว่าเราจะเห็นข้อมูลเวลาจริงๆ ในปีหน้า
ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเตือนหลังพบได้รับรายงานจาก ThaiCERT และ TB-CERT พบว่ามีข้อมูลรั่วไหลจากเว็บไซต์พนันในต่างประเทศ และพบว่ามีผู้ใช้กลุ่มหนึ่งเป็นคนไทยได้รับผลกระทบไปด้วย โดยประกาศไม่ได้ระบุชื่อเว็บไซต์ออกมาโดยตรง
กรณีนี้ไม่ใช่ความผิดพลาดของธนาคารในไทยแต่อย่างใด แต่ข้อมูลเหล่านี้ก็ทำให้ผู้ใช้เป็นเหยื่อได้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงแจ้งเตือนให้ผู้ใช้เว็บไซต์พนัน เปลี่ยนรหัสผ่านทั้งบริการอินเทอร์เน็ตและบริการบนโทรศัพท์มือถือ, หากใส่ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิตไว้ ให้แจ้งยกเลิกบัตรกับธนาคาร, ระวังการส่งเมลฟิชชิ่งเป็นพิเศษเนื่องจากคนร้ายอาจใช้ข้อมูลที่ได้มาเพื่อล่อลวง
นอกจากนี้หากมีความผิดปกติของการทำธุรกรรม ให้ผู้ใช้รีบติดต่อธนาคารโดยเร็ว
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียน "แนวทางการเปิดเผยข้อมูลสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องที่กระทบต่อการให้บริการสำคัญของธนาคารพาณิชย์" หรือรายงานแบงก์ล่มตามที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยกำหนดเกณ์ที่ต้องรายงานเมื่อมีผลกระทบต่อจำนวนผู้ใช้, จำนวนตู้เอทีเอ็ม, จำนวนสาขา, หรือจำนวนธุรกรรมเกิน 10% โดยรายงานฉบับแรกจะเป็นรายงานของไตรมาสที่สอง และธนาคารต้องเปิดเผยข้อมูลครั้งแรก 30 สิงหาคมนี้
ที่งาน Bangkok FinTech Fair 2019 สมาคมธนาคารเปิดตัวบริการ MyPromptQR บริการจ่ายเงินผ่าน QR แบบร้านค้าเป็นผู้สแกน (business scan consumer - B scan C) ที่เป็นแนวทางของแอป e-wallet ส่วนมากทุกวันนี้ โดยก่อนหน้านี้บริการจ่ายเงินผ่านธนาคารของไทย เป็นบริการที่ผู้ใช้เป็นผู้สแกน QR ของร้านค้า (C scan B) ทั้งหมด
ในงาน Bangkok Fintech Fair มีการเปิดตัว NDID (National Digital ID) ผู้ทำเรื่องการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ทางบริษัทระบุว่าตัวเองจะเป็นตัวกลางระหว่างรัฐและเอกชนในการเชื่อมต่อข้อมูลและพิสูจน์ตัวตน
นางสาวสุธีรา ศรีไพบูลย์ รักษาการประธานบริษัทและตัวแทนบริษัท NDID บอกว่า ระบบ NDID มีการพัฒนาและทดสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจะเริ่มใช้กับบริการเปิดบัญชีเงินฝากที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนข้ามธนาคาร ตอนนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างพัฒนาบริการสำหรับลูกค้า จะเริ่มการทดสอบให้บริการจริงในวงจำกัดในไตรมาสสี่ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของธนาคาร โดยอนาคต มีแผนจะขยายจากการยืนยันตัวตนบุคคลธรรมดาไปสู่นิติุบุคคลและชาวต่างชาติต่อไป
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้โพสแจ้งเตือนถึงภัย "โกงเงินแบบใหม่" ที่คนร้ายอาศัยฟีเจอร์ผูกกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์เข้ากับบัญชี
คนร้ายอาศัยกระบวนการอนุญาตให้ผูกเงินของหลายธนาคารที่ค่อนข้างง่าย เพียงกด "ยอมรับ" ในข้อความยาวๆ ที่ไม่แจ้งเตือนให้ชัดเจนว่าจะมีผลอย่างไรบ้าง เมื่อกดแล้วคนร้ายก็สามารถดูดเงินออกจากบัญชีทั้งหมดได้ภายในไม่กี่นาที
วันนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศผ่านทวิตเตอร์ @bankofthailand ระบุว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังจะเปิดเผยข้อมูลระบบขัดข้องรายธนาคารบนเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
นอกจากรายงานที่กำลังจะออกมา นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยยังระบุว่าได้สั่งการให้ธนาคารกรุงไทยเร่งแก้ไขปัญหาที่ขัดข้องต่อเนื่อง ซึ่งทางธนาคารตอบรับว่าจะแก้ปัญหาโดยเร็ว
ก่อนหน้านี้ธนาคารกรุงไทยเคยประกาศว่ากำลังเร่งเริ่มประสิทธิภาพแอป NEXT เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาที่ล่มเป็นช่วงๆ ติดต่อกันสองวันเต็ม
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับ 4 ช่วงปี 2562 - 2564 มุ่งสู่ Digital Payment เต็มตัว ให้กลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการจ่ายเงินในอนาคต โดย น.ส.สิริธิดา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ระบุหลักการ 5 ข้อ ที่แบงก์ชาติจะนำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ฉบับที่ 4 ที่จะนำมาใช้ในช่วงปี 2562 - 2564 ดังนี้
หลังจากที่ผมได้เขียนบทบรรณาธิการถึงธนาคารแห่งประเทศไทยถึงเรื่องการกำกับดูแลธนาคารที่มีปัญหา ก็ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับคุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ที่รับผิดชอบการกำกับดูแลบริการเหล่านี้โดยตรง โดยตอบรับว่าการกำกับดูแลการแจ้งเตือนประชาชน ต้องเพิ่มความเข้มงวดต่อไป
สำหรับการเปิดเผยข้อมูลเสถียรภาพของระบบไอทีธนาคาร ทางธปท. จะเห็นด้วยว่ามีความสำคัญและกำลังออกแบบการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะมากขึ้น แต่ก็อาจต้องพิจารณารูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งลูกค้าและผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งอาจมีการออกแบบการเปิดเผยข้อมูลที่ตรงกับกลุ่มผู้ใช้ต่อไป
ปัญหาระบบธนาคารล่มเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยมานานหลายปี และยิ่งนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นผ่านโครงการพร้อมเพย์ ยิ่งทำให้คนจำนวนมากต้องอาศัยบริการธนาคารมากกว่าเดิม
ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการพร้อมเพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) ระบุเหตุผลหนึ่งที่ควรสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ว่าเป็นการลดต้นทุนการจัดการธนบัตร นับแต่การพิมพ์, เก็บรักษา, ขนส่ง, ไปจนถึงการทำลาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า โครงการ DLT Scriptless Bond ที่นำบล็อกเชนมาใช้ในกระบวนการจำหน่ายพันธบัตร ค่อนข้างประสบความสำเร็จหลังพัฒนาระบบต้นแบบจากการทำ Proof of Concept
ธปท. ระบุว่า DLT Scriptless Bond ช่วยให้ประชาชนสามารถได้รับพันธบัตรเร็วขึ้นจากเดิม 15 วันเหลือ 2 วัน รวมถึงช่วยให้สามารถซื้อพันธบัตรได้เต็มสิทธิที่ธนาคารแห่งเดียว โดยไม่มีโควตารายธนาคารเหมือนที่มีในปัจจุบัน ขณะที่ผู้ออกพันธบัตรสามารถติดตามดูแลการจำหน่ายได้แบบเรียลไทม์ ช่วยการจัดการวงเงินเร็วขึ้น สุดท้ายคือช่วยลดความซับซ้อนและขั้นตอนการทำงานของธนาคารตัวแทนจำหน่าย ศูนย์ฝากหลักทรัพย์และ ธปท. ได้จริง
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศไปยังธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 4 กันยายนที่ผ่านมา อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการยืนยันตัวตนลูกค้าแบบดิจิทัล ระบุให้ธนาคารระวังถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า การใช้งานข้อมูลต้องได้รับความยินยอม
แนวทางนี้ทำให้ธนาคารสามารถให้บริการยืนยันบุคคล กับบริการอื่น เช่น เว็บขายสินค้าออนไลน์ต้องการยืนยันตัวตนผู้ขายสินค้า แทนที่จะตรวจเอกสารด้วยตัวเองก็สามารถให้ธนาคารยืนยันตัวตนมาแทนได้ โดยธนาคารทำหน้าที่เป็น Identity Provider (IDP) ที่ตรวจสอบตัวตนผู้ใช้มาแล้ว
ปัญหาธนาคารล่มทุกสิ้นเดือนคงกลายเป็นปัญหาสำหรับลูกค้าในช่วงปีที่ผ่านมา แม้ธนาคารต่างๆ จะพยายามสนับสนุนให้คนลดการไปสาขาด้วยการลดค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ แต่กลับไม่สามารถพัฒนาระบบให้รองรับการใช้งานได้ เดือนนี้ระบบของธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทยก็ไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา
นับแต่มีการเปิดบริการพร้อมเพย์ และการสนับสนุนการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการกำหนดความน่าเชื่อถือของระบบการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีเพียงการกำหนดระยะเวลาแก้ไขหลังจากเกิดความผิดพลาด โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาที่ต้องให้บริการได้ (uptime) แต่อย่างใด
เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยก็ล่มช่วงต้นเดือนเช่นกัน