ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) ประกาศความร่วมมือเชื่อมโยงระบบชำระเงินระหว่างสองประเทศผ่านโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินของแต่ละประเทศ ลูกค้าและร้านค้าของทั้งสองประเทศสามารถทำรายการชำระเงินและรับเงินระหว่างกันผ่าน QR Code ได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ในการให้บริการทางการเงิน วางกรอบแนวทางภาพรวม เช่น การรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย, ความปลอดภัยของ smart contract ไปจนถึงการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
เอกสารระบุถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้บล็อคเชนไว้หลายด้าน เช่น การโจมตีที่ตัว Smart Contract เอง, การโจมตีด้วยการขโมยกุญแจ, หรือโจมตีที่กระบวนการ consensus ของฐานข้อมูล จากนั้นระบุแนวทางการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยการ ออกแบบระบบให้ปลอดภัย มีการทดสอบความปลอดภัยโดยบุคคลภายนอก รวมถึงการตรวจสอบความปลอดภัยของโค้ด smart contract และการสำรองข้อมูล สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นต้องเก็บไว้นอกบล็อคเชน (off-chain)
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเริ่มโครงการความร่วมมือการพัฒนามาตรฐานและใช้มาตรฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อส่งเสริมบริการทางการเงิน เปิดทางให้ธนาคารสามารถส่งข้อมูลข้ามธนาคารไปมา โดยมาตรฐานแรกคือ bank statement
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าวให้ความเห็นว่าการนำสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum ที่ไม่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมายมาใช้เป็นสื่อในการชำระค่าสินค้าและบริการ ยังมีลักษณะเป็นเพียงการแลกเปลี่ยน (barter trade) ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลกับสินค้าและบริการที่ผู้ให้และผู้รับตกลงยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องระหว่างกันเท่านั้น
รวมถึงการแลกเปลี่ยนนี้อาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล การโจรกรรมทางไซเบอร์ และถูกใช้ในกระบวนการฟอกเงินได้การฟอกเงิน ธปท. จึงยังไม่สนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับ ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) เปิดตัวการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างสองประเทศ แบ่งโครงการเป็น 3 ระยะคือ
ระยะแรกลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้แอปพลิเคชันบนมือถือสแกน DuitNow QR code มาตรฐานชำระเงิน QR ของมาเลเซียเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าในประเทศมาเลเซีย รวมถึงการซื้อขายออนไลน์ระหว่างประเทศด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกรายงานสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องที่กระทบต่อการให้บริการผ่านช่องทางสำคัญประจำไตรมาสแรกปี 2021 พบว่าธนาคารไทยพาณิชย์มีสถิติการล่มบ่อยขึ้นโดยบริการธนาคารผ่านโทรศัพท์ล่ม 5 ครั้งรวมระยะเวลาล่ม 7 ชั่วโมง และบริการผ่านอินเทอร์เน็ต (เว็บ) ล่ม 3 ครั้งรวม 6 ชั่วโมง
ธนาคารที่ล่มน้อยรองลงไป คือ ธนาคารธนชาต ที่บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์ล่ม 1 ครั้ง 5 ชั่วโมง และยังมีรายงานระบบ ATM/CDM และบริการที่สาขาล่ม 2 ครั้งรวม 7 ชั่วโมงทั้งสองรายการ และธนาคารทหารไทยที่บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์ล่ม 5 ครั้งรวม 5 ชั่วโมง
ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อระหว่าง PayNow และพร้อมเพย์ มีอัพเดตเกี่ยวกับพร้อมเพย์ไทยด้วย
ตัวเลขล่าสุดเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาพบว่า คนไทยลงทะเบียนหมายเลขพร้อมเพย์แล้ว 56.7 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 34.3 ล้านเลข, โทรศัพท์มือถือ 21.4 ล้านหมายเลข และช่องทางอื่นๆ อีก 1 ล้านหมายเลข ด้านปริมาณธุรกรรมต่อวัน พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 22.3 ล้านรายการ โดยปริมาณธุรกรรมสูงสุดต่อวันที่พบคือ 27.1 ล้านรายการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงร่วมกับ Monetary Authority of Singapore (MAS) เปิดใช้งานการเชื่อมต่อระหว่าง PayNow และพร้อมเพย์ทำให้ผู้ใช้ธนาคารสองชาติสามารถโอนเงินข้ามกันด้วยหมายเลขโทรศัพท์
วงเงินที่จะโอนได้ตอนนี้จำกัดที่ 25,000 บาทหรือ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงข่าวการรับฟังแนวทางการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) จากเดิมที่การใช้เงินดิจิทัลของธนาคารกลางนั้นใช้ระหว่างธนาคารเป็นหลัก พร้อมกับออกรายงานสรุปภาพรวมแนวทางและความจำเป็นในการออก Retail CBDC
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศความร่วมมือกับ ธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Viet Nam: SBV) เปิดตัวนวัตกรรมด้านการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างสองประเทศ รองรับธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์การท่องเที่ยวกลับมาสู่ภาวะปกติ
ในแถลงการณ์ระบุด้วยว่า ในปี 2562 มีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างเวียดนามกับไทย 1.5 ล้านคน ด้วยบริการนี้ผู้ใช้สามารถใช้มือถือชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน QR Code ได้สะดวก
หลังแพลตฟอร์ม Terra ให้บริการโทเค็น THT ที่พยายามรักษามูลค่าให้เท่ากับเงินบาทจนธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาเตือน วันนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกประกาศแนวทางการกำกับดูแลโทเค็นในกลุ่มนี้
แนวทางของการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
หลังธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศเตือนว่าการออกเงิน stablecoin ชนิด THT ของแพลตฟอร์ม Terra อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เนื่องจากมีมูลค่า 1 เหรียญ เท่ากับ 1 บาท
วันนี้ Do Kwon หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Terra ออกมาทวิตพร้อมแปะประกาศดังกล่าวในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษในเชิงไม่เกรงกลัว และระบุว่ายังไงก็จะออก THT โดยไม่สนธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกข่าว ธปท. ฉบับที่ 15/2564 เตือนว่า Stablecoin ที่อิงกับมูลค่าเงินบาทชนิด THT ที่ให้บริการบนแพลตฟอร์ม Terra และกำหนดให้มูลค่าของเหรียญ 1 เหรียญ มีค่าเท่ากับ 1 บาทนั้น หากถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนในวงกว้าง อาจ “ทำให้เกิดการแบ่งแยกระบบเงินตราของประเทศไทยออกไปมากกว่าหนึ่งระบบ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและความมั่นคงของระบบเงินตราของประเทศ”
ทำให้การออกเหรียญ THT อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะเป็นการทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกใช้ วัตถุหรือเครื่องหมายแทนเงินตรา ที่เป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และเตือนว่าประชาชนไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับ THT เพราะจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เสี่ยงการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ และเสี่ยงตกเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศรายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือ (Non-bank) แล้ว โดยมีบริษัทได้รับอนุญาตบริษัทแรกคือ SEAMONEY (CAPITAL) ในเครือ Sea Group (Shopee, Airpay, Garena)
ในการทำบริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีและข้อมูลทางเลือก (alternative data) มาใช้เพื่อการบริการได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาฐานะทางการเงิน หรือกระแสเงินสด ไปจนถึงไม่ต้องใช้แหล่งข้อมูลกลาง (เช่นเครดิตบูโร) มาพิจารณาสินเชื่อ แต่ก็จำกัดว่าสามารถให้วงเงินได้คนละไม่เกิน 20,000 บาทและสัญญาไม่เกิน 6 เดือนเท่านั้น
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยออกรายงานสถิติระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องที่กระทบต่อการให้บริการผ่านทางช่องทางสำคัญ ซึ่งรายงานถึงความขัดข้องของช่องทางต่างๆ เช่น แอปธนาคารบนโทรศัพท์, บริการธนาคารผ่านเว็บ, บริการตู้เอทีเอ็ม, และบริการทางสาขา ซึ่งปกติมีกำหนดออกรายงานทุกสิ้นเดือนหลังสิ้นสุดไตรมาส
จากเหตุแอปพลิเคชั่นธนาคารหลายแห่งใช้งานไม่ได้ในวันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงินธปท. เปิดเผยว่า ระบบ mobile banking ของบางธนาคารมีการหน่วงหรือช้าจากการติดตาม พบว่าบางธนาคารมีการตอบกลับช้าหรือเข้าใช้งานไม่ได้เป็นช่วงๆ ส่วนใหญ่เป็นรายการประเภทชำระบิลเรียกเก็บเงิน (Bill payment) และบางธนาคารมีรายการรอทยอยเข้าบัญชีในช่วงธุรกรรมสูง (Peak time)
ธปท. และธนาคารสมาชิกได้ร่วมกันติดตามการให้บริการและการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด โดยให้ธนาคารที่ระบบช้าเร่งชี้แจงลูกค้า และให้มีช่องทางอื่นให้ลูกค้าใช้ทดแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทยและบริษัท NDID จำกัด ประกาศเปิดระบบ NDID หรือการยืนยันตัวตนดิจิทัลข้ามไปยังธุรกิจการเปิดบัญชีกองทุน, ทำกรมธรรม์และขอสินเชื่อ ประชาชนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์หรือบัญชีกองทุน ซื้อกรมธรรม์ประกันภัย และขอข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จากัด (National Credit Bureau หรือ NCB) ผ่านช่องทางดิจิทัลได้
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกรายงานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขัดข้องประจำไตรมาสที่สามของปีนี้ พบอัตราการขัดข้องของบริการผ่านโทรศัพท์มือถือธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นมาเป็น 9 ชั่วโมง หลังจากสามไตรมาสก่อนหน้านี้ล่มเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ขณะที่ธนาคารกรุงเทพบริการผ่านโทรศัพท์มือถือล่มรวม 4 ครั้งนาน 9 ชั่วโมงเช่นกันลดลงจากสองไตรมาสก่อนหน้านี้
เฉพาะธนาคาร 5 อันดับแรกที่มีผู้ใช้แอปพลิเคชั่นมากที่สุด ธนาคารกสิกรไทยขัดข้องรวม 1 ชั่วโมง, ธนาคารไทยพาณิชย์ขัดข้องรวม 2 ชั่วโมง, ธนาคารกรุงศรีอยุธยาขัดข้อง 6 ชั่วโมง, ธนาคารกรุงไทยและธนาคารกรุงเทพขัดข้อง 9 ชั่วโมง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.), ธนาคารแห่งประเทศไทย และบริษัท BCI ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบล็อคเชนสำหรับภาคธนาคาร เปิดตัวบริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านบล็อกเชน (eLG on Blockchain) ลดเวลาและขั้นตอนการทำงานของพนักงาน กฟภ. โดยถือเป็น Use Case แรกที่นำบล็อกเชนมาใช้กับระบบงานหนังสือค้ำประกัน และ กฟภ, ถือเป็นรัฐวิสาหกิจรายแรกที่เข้ามาเชื่อมบริการ โดยสถานะ eLG on Blockchain ตอนนี้ยังอยู่ระหว่างการทดลองบน Regulatory Sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทย
IBM ประกาศข่าวในงานสัมมนาด้านการเงิน Sibos ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มใช้งานระบบขายพันธบัตรออมทรัพย์ (government savings bonds issuing) ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนของ IBM แล้ว โดยออกขายพันธบัตรผ่านระบบนี้เป็นวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท (1.6 พันล้านดอลลาร์) ในระยะเวลา 2 สัปดาห์
การนำบล็อกเชนมาใช้งานช่วยให้นักลงทุนได้รับพันธบัตรเร็วขึ้น จากระยะเวลาปกติ 15 วันลดเหลือ 2 วัน เพราะกระบวนการเดิมมีความซับซ้อนสูง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ออกพันธบัตร (issuer), ผู้จัดจำหน่าย (underwriter), นายทะเบียน (registrar) นักลงทุน (investor) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ การย้ายมาใช้ระบบบล็อกเชนที่เป็นระบบเดียวสำหรับทุกคน จึงช่วยลดกระบวนการตรวจสอบที่ซ้ำซ้อนลง ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนลงโดยปริยาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometric Technology) ในการให้บริการทางการเงิน วางแนวทางการใช้เทคโนโลยีชีวมิติสำหรับบริการทางการเงิน โดยเฉพาะการเปิดบัญชี
แนวปฏิบัตินี้ครอบคลุมตั้งแต่ระบบตรวจสอบชีวมิติเอง เรื่อยมาจนถึงการจัดเก็บและการประมวลผลข้อมูล ไปจนถึงความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยผู้ใช้งานจะต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบตรวจสอบชีวมิติให้แม่นยำเพียงพอ และจัดการความเสี่ยงในส่วนต่างๆ เช่นการเข้ารหัส และกำหนดการเข้าถึงข้อมูล
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกรายงานธนาคารล่มไตรมาสแรกเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมที่เดิมมีกำหนดเผยแพร่ภายในเดือนเมษายนแต่เลื่อนโดยระบุว่ากระทบจาก COVID-19 โดยระบบธนาคารผ่านโทรศัพท์ของธนาคารกรุงเทพมีระยะเวลาล่มรวมถึง 22 ชั่วโมงแม้จะล่มเพียงสองครั้งเท่านั้น
ระบบอื่นๆ ที่ล่มเกิน 4 ชั่วโมง เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีทั้งธนาคารผ่านโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต, ธนาคารผ่านโทรศัพท์ของธนาคารไทยพาญิชย์, บริการเอทีเอ็มของธนาคารยูโอบี, และบริการที่สาขาของธนาคารอาร์ เอช บี โดยรวมนับว่าอัตราการล่มสูงขึ้นกว่าไตรมาสสี่ปีที่แล้ว
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศทดสอบการใช้เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเอง (Central Bank Digital Currency - CBDC) จากเดิมที่เคยทดสอบระหว่างธนาคารเท่านั้นมาเป็นการทดสอบในภาคเอกชนเพิ่มเติม โดยมีบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จะทดสอบระบบร่วมกับคู่ค้า
เมื่อปีที่แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยทดสอบ CBDC นี้โดยพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Corda ของบริษัท R3 แต่ยังไม่มีข้อมูลทางเทคนิคว่ารอบนี้จะใช้แพลตฟอร์มเดิมต่อไปหรือจะพัฒนาใหม่ด้วยเทคโนโลยีอื่น
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหวังว่าการทดสอบนี้จะทำให้มีความยืดหยุ่นในการโอนเงินทั้งความเร็วและความคล่องตัวในการชำระเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศงดการเผยแพร่รายงานธนาคารล่มประจำไตรมาส โดยสาเหตุจากการระบาดของโรค COVID-19 และจะเลื่อนการรายงานออกไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ
นอกจากการประกาศเลื่อนแล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังขอให้ประชาชนมั่นใจว่าธนาคารได้ดูแลระบบให้บริการทุกช่องทางโดยเฉพาะบริการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแล้ว
ช่วงเดือนที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยออกมากำชับให้ธนาคารดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากระบบล่ม หลังจากมีกรณีธนาคารล่มจนส่งผลให้เงินโอนไปไม่ถึงปลายทาง
ที่มา - 1213.or.th
คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาระบุถึงกรณีที่สถาบันการเงินบางแห่งมีปัญหาว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำชับให้เร่งแก้ไข รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบไปแล้วให้ตรวจสอบและจัดการภายใน 24 ชั่วโมง