Google เข้าซื้อ 60Db สตาร์ทอัพด้านพอดแคสต์ ทางบริษัท 60Db ออกมาเผยผ่านบล็อก Medium ว่าระบบจะปิดในวันที่ 10 พ.ย. นี้ หลังจากนั้นทีมงานจะเข้าร่วมกับ Google
Google มีพอดแคสต์อยู่แล้วใน Google Play Music การเข้าซื้อครั้งนี้อาจมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงแพลตฟอร์มที่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ด้าน 60Db เองก็มีพาร์ทเนอร์เป็นสื่อกว่า 80 แห่ง มีแอพพลิเคชั่นทั้งใน Android, iOS, Alexa, Android Auto และ CarPlay
Google ได้เข้าซื้อบริษัท Relay Media ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับแปลงหน้าเว็บทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบ AMP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจากดีลการเข้าซื้อคาดว่า Google น่าจะปิดบริการของ Relay Media และนำเทคโนโลยีมาให้บริการเป็นแพลตฟอร์มของ Google โดยตรงเอง ซึ่งระหว่างที่กำลังนำระบบเข้าสู่แพลตฟอร์มของ Google ลูกค้าที่ยังใช้บริการอยู่จะยังใช้ได้ต่อไป
General Motors ประกาศการควบรวบรวมสตาร์ทอัพ Strobe เจ้าของเทคโนโลยีด้านการประมวลผลภาพจากเลเซอร์มาอยู่ภายใต้ Cruise Automation บริษัทลูกที่พัฒนารถยนต์ไร้คนขับ
know-how ของ Strobe จะช่วยผลักดันการพัฒนาเซ็นเซอร์ LIDAR สำหรับรถยนต์ไร้คนขับของ GM ให้มากขึ้น โดยรายละเอียดของดีลนี้ไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา ทั้งนี้ Strobe เพิ่งก่อตั้งเมื่อ 2014 มีพนักงานไม่ถึง 15 คน เป็นสตาร์ทอัพที่แยกตัวออกมาจากบริษัท OEwaves ซึ่งเป็นบริษัทขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการเห็นภาพ (Imaging Products) ในอุตสาหกรรมด้านการทหาร
ที่มา - New York Times
TechCrunch รายงานว่าแอปเปิลได้ซื้อกิจการสตาร์ทอัพของฝรั่งเศสชื่อ Regaind ไปด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย โดยตัวแทนแอปเปิลได้ชี้แจงเหมือนทุกครั้งว่า แอปเปิลมีการซื้อบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดเล็กอยู่ตลอด และปกติจะไม่ให้ข้อมูลในเรื่องนี้
สิ่งที่น่าสนใจคือเทคโนโลยีของ Regaind ซึ่งช่วยให้เห็นว่าตอนนี้แอปเปิลกำลังสนใจจะทำอะไร โดยบริษัทเป็นผู้พัฒนา API เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายด้วย AI และสามารถจำแนกรายละเอียดภายในภาพถ่าย ข้อมูลทางเทคนิค ตลอดจนสามารถคัดเลือกภาพที่สวยงามและดึงดูดมากกว่าได้
มหากาพย์การขายธุรกิจผลิตชิปหน่วยความจำของ Toshiba สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ โดยบอร์ดของ Toshiba อนุมัติการขายบริษัทลูก Toshiba Memory Corporation (TMC) ให้กับกลุ่มบริษัทที่นำโดย Bain Capital ในราคา 2 ล้านล้านเยน
Toshiba เริ่มกระบวนการขายกิจการเซมิคอนดักเตอร์มาตั้งแต่ต้นปี 2017 และเลือกกลุ่มบริษัทที่นำโดย Bain Capital มาก่อนแล้ว แต่โดนสกัดกั้นโดย Western Digital (ที่มีหุ้นใน Toshiba ด้วย) และเรื่องถึงขั้นฟ้องศาล เพราะ Western Digital ระบุว่าฝ่ายตนมีสิทธิยับยั้งการขายบริษัทลูกให้คู่แข่ง
อิเกียแบรนด์สินค้าภายในบ้านรายใหญ่จากสวีเดน ประกาศซื้อกิจการสตาร์ทอัพ TaskRabbit ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับจ้างคนอื่นให้ทำงานเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าในการซื้อ
TaskRabbit นั้นเป็นตัวอย่างแรกๆ ของสตาร์ทอัพแนว Gig Economy โดยผู้ใช้สามารถเป็นผู้ว่าจ้างคนอื่นมาช่วยทำงานต่างๆ เช่น จัดสวน ประกอบของ เลี้ยงสุนัข หรือขนย้ายบ้าน และในทางกลับกันก็สามารถเข้าร่วมเพื่อให้คนอื่นจ้างเราได้ โดยตอนนี้มีคนทำงานอยู่ในแพลตฟอร์มกว่า 6 หมื่นคน ใน 40 เมืองของอเมริกา และในลอนดอน ประเทศอังกฤษ
SAP ประกาศซื้อกิจการ Gigya บริษัทพัฒนาระบบจัดการข้อมูลตัวตนลูกค้า (Customer Identity) โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าอยู่ราว 350 ล้านดอลลาร์
Gigya เป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในอเมริกา แต่มีทีมพัฒนาและวิจัยหลักอยู่ที่อิสราเอล รวมทั้ง Patrick Salyer ซีอีโอและผู้ก่อตั้งก็เป็นคนอิสราเอล ปัจจุบันมีฐานข้อมูลลูกค้าที่บริหารจัดการอยู่มากกว่า 1,300 ล้านบัญชี
ระบบบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าของ Gigya นั้น มีกลุ่มผู้ใช้งานหลักคือบรรดาเว็บอีคอมเมิร์ซทั้งหลาย ซึ่ง SAP ให้เหตุผลว่าการซื้อนี้จะนำคุณสมบัติของ Gigya มาใช้กับ SAP Hybris เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซและเว็บไซต์ได้มากขึ้น
บอร์ดของบริษัท Imagination Technologies ผู้ผลิตจีพียูแบรนด์ PowerVR (ที่แอปเปิลเพิ่งเลิกใช้ เพราะหันไปทำเอง) ตอบรับข้อเสนอขายกิจการให้ CBFI Investment Limited กองทุนที่บริหารโดยบริษัทลงทุน Canyon Bridge Capital Partners
ข้อตกลงซื้อกิจการครั้งนี้มีมูลค่า 550 ล้านปอนด์ (2.5 หมื่นล้านบาท) โดย CBFI ซื้อในราคาหุ้นละ 182 เพนนี
จากข่าว กูเกิลซื้อทีมงานบางส่วนของ HTC ร่วมทีมฮาร์ดแวร์ มูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ มีข้อมูลเพิ่มเติมออกมาว่า พนักงานของ HTC ที่จะย้ายไปอยู่กับกูเกิล มีประมาณ 2,000 คน
Peter Shen ซีเอฟโอของ HTC ระบุว่าบริษัทมีพนักงานด้านวิจัยและออกแบบสมาร์ทโฟนประมาณ 4,000 คน ย้ายไป 2,000 คน เหลืออีก 2,000 คนยังอยู่กับบริษัทต่อไป ส่วนพนักงานที่ย้ายไปอยู่กับกูเกิลก็มีหลายคนที่อยู่ในโครงการ Pixel อยู่แล้ว
HTC จะยังพัฒนาสมาร์ทโฟนของตัวเองต่อไป แต่จะลดจำนวนรุ่นที่ออกลง
จากที่มีข่าวลือมาสักระยะว่า HTC จะขายกิจการสมาร์ทโฟนให้กูเกิล ล่าสุดกูเกิลประกาศข่าวอย่างเป็นทางการแล้วว่า กูเกิลเซ็นสัญญากับ HTC เพื่อซื้อทีมงานบางส่วนของ HTC เข้ามาอยู่ในทีมฮาร์ดแวร์ของกูเกิล
ในแถลงการณ์ของกูเกิลไม่ได้ระบุข้อมูลมากนัก บอกเพียงว่า "a team of HTC talent will join Google as part of the hardware organization" โดยเป็นทีมที่ร่วมพัฒนาสมาร์ทโฟน Pixel กับกูเกิลในปีที่แล้ว
นอกจากนี้ ข้อตกลงของกูเกิลยังจะได้สิทธิการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจาก HTC ด้วย
รายละเอียดคงต้องรอการแถลงจากฝั่ง HTC ซึ่งน่าจะแถลงกันในวันนี้
PayPal ได้เข้าซื้อ Swift Financial สำเร็จแล้ว และจากนี้จะนำเทคโนโลยีจากบริษัทที่เข้าซื้อมารวมเข้ากับบริการ PayPal ในปีหน้า โดยตอนนี้พนักงานจาก Swift Financial จะเข้ามาทำงานในหน่วย Business Financing Solutions ของ PayPal
Swift Financial นั้นเป็นบริษัทที่ให้เงินกู้หรือวงเงินล่วงหน้าสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ก่อตั้งในปี 2016 ซึ่งการเข้าซื้อบริษัทในครั้งนี้จะทำให้ PayPal สามารถให้เงินกู้ยืมกับธุรกิจขนาดเล็กที่พึ่งพา PayPal เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
นอกจาก PayPal ที่เตรียมลงมาเล่นในตลาดเงินให้กู้ยืมอย่างจริงจังแล้ว ฝั่ง Square ก็ได้ขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารแล้วเช่นกัน
หลัง HTC เปิดตัวมือถือเรือธง HTC U11 ไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา และได้รับคะแนนรีวิวจากหลายสำนักว่าทำออกมาได้ดีมาก แถมยังครองตำแหน่งกล้องมือถือที่ดีที่สุดจากเว็บไซต์ DxOMark ก็ดูเหมือนว่าจะมีหวังสำหรับ HTC ที่มีอาการย่ำแย่มานาน
อย่างไรก็ตาม หลัง HTC รายงานผลประกอบการล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่แย่ที่สุดสำหรับ HTC ในรอบ 13 ปีเลยทีเดียว โดยรายได้หดลงถึง 51.5% จากเดือนก่อนหน้า และ 54.3% จากเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว จึงอนุมานได้ว่าคนที่จะซื้อ HTC U11 ก็ซื้อกันไปเรียบร้อยแล้ว และพวกที่ไม่ซื้อก็ไม่ได้มาสนใจมันมากขึ้น
Cloudera รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2/2017 โดยได้ประกาศด้วยว่าบริษัทเข้าซื้อกิจการ Fast Forward Labs สตาร์ทอัพที่วิจัยด้าน AI และ Machine Learning และให้คำปรึกษาแก่องค์กรต่างๆ
Hilary Mason ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Fast Forward Labs กล่าวว่าการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Cloudera จะเป็นการเติบโตครั้งใหม่ เนื่องจากองค์กรต่างๆ ตื่นตัวและสนใจ AI และ Machine Learning กันมากขึ้น
สำหรับผลประกอบการของ Cloudera ไตรมาสที่ผ่านมา มีรายได้เพิ่มขึ้น 39% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 89.83 ล้านดอลลาร์ โดยขาดทุนสุทธิ 64.2 ล้านดอลลาร์
ช่วงนี้ Western Digital มีความเคลื่อนไหวเรื่องซื้อกิจการอย่างคึกคัก หลังจากซื้อบริษัทคลาวด์ Upthere ก็ตามมาด้วยการประกาศซื้อ Tegile Systems บริษัทด้านสตอเรจแบบแฟลชสำหรับตลาดองค์กร
Tegile ก่อตั้งเมื่อปี 2012 มีจุดเด่นที่ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ persistent memory ที่แบ่งระดับของสตอเรจตามการใช้งาน (มีทั้งแบบหน่วยความจำ แฟลช และฮาร์ดดิสก์) สินค้าของบริษัทใช้แบรนด์ IntelliFlash ทำตลาด โดยมีทั้งแบบแฟลชล้วน, แบบ NVMe ที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุด และแบบไฮบริดที่เน้นราคาคุ้มค่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าอยู่ประมาณ 1,700 ราย
Tegile จะถูกผนวกเข้าในส่วนของ Western Digital Data Center Systems (DCS) ที่ทำตลาดศูนย์ข้อมูลองค์กร
Western Digital ได้ประกาศเข้าซื้อบริษัทผู้ให้บริการด้านคลาวด์ Upthere โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่า โดยทีมงานของ Upthere และเทคโนโลยีของบริษัทจะรวมเข้ากับหน่วยธุรกิจ Client Solution ของ Western Digital เพื่อช่วยปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
Upthere นั้นเป็นบริการซึ่งก่อตั้งโดยสามผู้ก่อตั้ง ได้แก่ Bertrand Serlet อดีตรองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งมีส่วนรับผิดชอบของ Mac OS X ทุกรุ่นตั้งแต่รุ่นแรกสุดจนถึง Snow Leopard รวมถึงสร้างโปรเจคที่ภายหลังได้กลายมาเป็น iOS, Alex Kushnir ซึ่งเคยทำงานที่ MongoDB และเป็นผู้ก่อตั้งของบริษัทจัดการไฟล์ที่เน้นด้านธนาคารอย่าง Kazeon (ขายให้ EMC ไปแล้ว) และ Roger Bodamer ซึ่งอดีตเคยทำงานอยู่ที่ Oracle, Apple และบริษัทไอทีหลายแห่ง
ThoughtWorks บริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีชื่อดัง ออกมาประกาศว่าบริษัทกำลังจะถูกขายให้กองทุน Apax Funds โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าดีล
สำหรับใครที่ไม่รู้จัก ThoughtWorks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีที่โด่งดังจากการมีส่วนช่วยผลักดันวงการการพัฒนา Software มาโดยตลอด โดยเป็นหนึ่งที่ผู้ผลักดันการใช้ Agile จนถูกใช้งานไปในองค์กรต่างๆ ทั่วโลก และเคยถูกจัดอันดับโดย Glassdoor ให้เป็นบริษัทที่สัมภาษณ์งานยากที่สุดอันดับ 2 ของโลกด้วย
Cisco ประกาศซื้อกิจการบริษัท Springpath ด้วยมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์
Springpath เป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับสตอเรจแบบ hyperconverged ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ทั่วไปมาทำเป็นระบบสตอเรจสำหรับองค์กร บริษัทก่อตั้งในปี 2012 และเคยรับเงินลงทุนจาก Cisco มาครั้งหนึ่งแล้วในปี 2015 ทั้งสองบริษัทเคยมีสัมพันธ์ต่อกันในการพัฒนา HyperFlex ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ hyperconverged ของ Cisco ที่เกิดจากซอฟต์แวร์ของ Springpath กับฮาร์ดแวร์ Cisco UCS
เป้าหมายในการซื้อกิจการของ Cisco ก็ชัดเจนว่าความร่วมมือกับ Springpath เป็นไปด้วยดี และต้องการนำ Springpath ไปต่อยอดในสินค้ากลุ่มสตอเรจของตัวเองนั่นเอง
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการบริษัท Cycle Computing เจ้าของซอฟต์แวร์จัดการคลาวด์ข้ามค่าย
ซอฟต์แวร์ของ Cycle Computing จะช่วยให้องค์กรที่ใช้คลาวด์หลายยี่ห้อร่วมกัน เช่น AWS, Azure, GCP หรือคลัสเตอร์ภายในองค์กร สามารถบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ (orchestration/provisioning) รวมถึงจัดการข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น
ไมโครซอฟท์ระบุว่าซอฟต์แวร์ของ Cycle Computing ช่วยให้งานประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Computing) ย้ายจากการรันบนเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรมาสู่คลาวด์
ซอฟต์แวร์ของ Cycle Computing จะยังใช้งานได้กับคลาวด์ยี่ห้ออื่นๆ อย่าง AWS และ GCP แต่ในอนาคตจะโฟกัสไปที่ Azure มากขึ้น
Facebook เข้าซื้อบริษัท Fayteq ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้าน computer vision จากเยอรมนี มีผลงานในการพัฒนาปลั๊กอินเพื่อลบวัตถุออกจากวิดีโอสำหรับโปรแกรมอย่าง After Effects
เทคโนโลยีของ Fayteq นั้นสามารถใช้เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ Facebook Live หรือ Stories เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้บริการได้ หรือจะพัฒนาปลั๊กอินสำหรับ After Effects ต่อไปเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างเอฟเฟค AR สำหรับนักพัฒนาก็ได้
สำหรับรายละเอียดในการเข้าซื้อของ Facebook นั้นยังไม่ได้เผยออกมามากนัก แต่ทางบริษัทก็ได้ยืนยันการเข้าซื้อบริษัทอย่างเป็นทางการแล้ว
ที่มา - Engadget
Netflix เริ่มใช้วิธีการควบรวมบริษัทอื่นครั้งแรก จากการเข้าซื้อสำนักพิมพ์ของ Mark Millar นักเขียนคอมมิคชื่อดัง โดยเขาเขียนเนื้อเรื่องให้คอมมิคดังๆ มาแล้วทั้งฝั่ง DC และ Marvel หรือแม้แต่ Kickass และ The Secret Service (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น Kingsman: The Secret Service ตามหนัง) ล้วนผ่านมือเขามาแล้วทั้งนั้น
การควบรวมครั้งนี้เท่ากับว่า Netflix จะมีซีรีส์หรือภาพยนตร์ออริจินัลจากตัวละครภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Mark Millar มาเสริมทัพ รวมไปถึงอาจได้ไอเดียในการสร้างภาพยนตร์ฮีโร่, ไซไฟ, แฟนตาซีต่างๆ จาก Millar เพิ่มขึ้นด้วย โดยทาง Netflix ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดและมูลค่าของการซื้อครั้งนี้
Snap เจ้าของแอพ Snapchat นั้นเคยถูกเสนอซื้อกิจการโดย Facebook เมื่อปี 2013 ด้วยมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ จากนั้นก็มีรายงานว่ากูเกิลเองก็เคยเสนอซื้อกิจการเช่นกันที่ 4 พันล้านดอลลาร์ แต่ดีลไม่เกิดขึ้น ล่าสุดมีรายงานว่า กูเกิลมีความพยายามเสนอซื้อกิจการอีกครั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่ให้มูลค่าเพิ่มเยอะเลยทีเดียว
Ozlo สตาร์ทอัพด้าน AI ที่พัฒนา Chat Bot ผู้ช่วยที่ปรึกษาส่วนตัว ประกาศว่า Facebook ได้เข้าซื้อกิจการ และทีมงานส่วนใหญ่จะไปร่วมพัฒนา Facebook Messenger ต่อไป
จุดขายที่ Ozlo บอกว่าแตกต่างจากตัวช่วยในการค้นหาข้อมูลอื่น คือความสามารถในการตอบคำถามและให้คำแนะนำได้แบบมนุษย์ ไม่ใช่แค่บอกว่าใช่หรือไม่ใช่ (อ่านเพิ่มเติม:
เที่ยงนี้กินอะไรดี? แชตคุยกับ Ozlo บ็อตที่ช่วยให้การค้นหาร้านอาหารสิ)
Ozlo ระบุว่าฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ซึ่ง Ozlo พัฒนาและรวบรวมไว้ตอนนี้มีมากกว่า 2 พันล้าน Entities และสามารถเข้าใจข้อมูลได้สอดคล้องกับความจริงมากกว่า
Laurene Powell Jobs ภรรยาของสตีฟ จ็อบส์ เข้ามาลงทุนในธุรกิจสื่อ โดยซื้อหุ้นของบริษัท Atlantic Media เจ้าของนิตยสาร The Atlantic และเว็บไซต์ Quartz
การซื้อหุ้นของ Laurene ทำผ่านองค์กรของเธอชื่อ Emerson Collective โดยซื้อหุ้นจากเจ้าของเดิม David G. Bradley ส่งผลให้ตอนนี้เธอกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ส่วน Bradley ยังมีหุ้นบางส่วนเหลืออยู่แต่เป็นเสียงส่วนน้อย
The Atlantic เป็นนิตยสารที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน 160 ปี (ก่อตั้งปี 1857) ส่วนเหตุผลในการซื้อมาจาก Bradley เป็นฝ่ายต้องการขายกิจการ เพราะลูกๆ ไม่มีใครต้องการเป็นเจ้าของสื่อ และหลังจากการคัดเลือกผู้สนใจซื้อหลายร้อยราย ก็มาลงตัวที่ Powell Jobs ซึ่งช่วงหลังหันมาทำงานด้านการกุศลเป็นหลัก
บริษัท i.am เกี่ยวกับเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ ก่อตั้งโดย Will.i.am ศิลปินหนึ่งในสมาชิกวง The Black Eyed Peas เข้าซื้อ Wink บริษัททำอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน ไม่เปิดเผยตัวเลขเข้าซื้อ
การเข้าซื้อครั้งนี้ส่งผลให้ Wink เปลี่ยนมือเจ้าของมาเป็นครั้งที่สามแล้ว โดยก่อนหน้านี้ เป็นบริษัทบ่มเพาะโดย Quirky หลังจากนั้น Flextronics ก็เข้าซื้อไป จนล่าสุดมาเป็นบริษัทของ Will.i.am อย่างไรก็ตามไม่มีการแถลงการเข้าซื้ออย่างเป็นทางการจากทั้งสองฝ่าย รวมทั้งไม่มีรายละเอียดตัวเลข และเป้าหมายการเข้าซื้อว่าจะนำมาสู่อะไรบ้าง
Facebook ประกาศซื้อสตาร์ทอัพ Source3 ที่ทำระบบดูแลและจัดการคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต โดยเป็นการซื้อเทคโนโลยีและทีมงาน
ที่ผ่านมา Facebook มีปัญหาคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นจำนวนมาก และทาง Facebook ก็พยายามแก้ไขมาโดยตลอด ซึ่งเห็นได้ว่าการซื้อ Source3 ก็เป็นการหาเทคโนโลยีมาเติมเต็มเรื่องนี้อีกครั้ง
กลุ่มผู้ก่อตั้ง Source3 นั้นมีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีจัดการคอนเทนต์ลิขสิทธิ์ พวกเขาเคยขายบริษัท RightsFlow ที่จัดการลิขสิทธิ์เพลงให้กับกูเกิลเมื่อปี 2011