Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์ถึงการซื้อกิจการ GitHub มูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีคำถามตามมามากมาย และซีอีโอคนใหม่ของ GitHub ต้องออกมาชี้แจงว่าทุกอย่างจะเป็นเหมือนเดิม
Nadella ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ยืนยันว่าไมโครซอฟท์จะรักษาความเป็นโอเพนซอร์สอย่างเต็มที่ (we are all in on open source) และ GitHub จะยังเป็นแพลตฟอร์มเปิดสำหรับทุกภาษา ทุกเฟรมเวิร์ค ทุกระบบปฏิบัติการ
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Sharp อยู่ในขั้นตอนเจรจาปิดดีล เพื่อซื้อส่วนธุรกิจพีซีทั้งหมดของ Toshiba ที่มูลค่าราว 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้
Sharp คาดว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทซึ่งถอนตัวจากธุรกิจพีซีไปตั้งแต่เมื่อปี 2010 จะกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้ง เนื่องจากตอนนี้มี Foxconn เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ และ Foxconn เองก็รับจ้างประกอบพีซีให้กับผู้ผลิตรายอื่นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันธุรกิจพีซีก็เป็นธุรกิจที่ขาดทุนสะสมของ Toshiba การขายกิจการออกไปก็จะช่วยให้ฐานะการเงินบริษัทดีขึ้น
Toshiba ชี้แจงว่าบริษัทยังประเมินทางเลือกหลายอย่างสำหรับธุรกิจพีซี รวมทั้งมีการเจรจากับผู้สนใจซื้อกิจการบางรายอยู่จริง
หลังจากที่เป็นข่าวลือกันมาในช่วงไม่กี่วัน ล่าสุด Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ออกประกาศอย่างเป็นทางการผ่านบล็อกทางการของบริษัทว่า บริษัทจะเข้าซื้อ GitHub อย่างเป็นทางการ ด้วยมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 แสนล้านบาท) โดยเป็นหุ้นของบริษัทไมโครซอฟท์ทั้งหมด (มูลค่าแพงกว่าตอนเข้าซื้อแผนกมือถือของโนเกียในปี 2013 เสียอีก)
Nadella ระบุว่านักพัฒนาจะมีความสำคัญอย่างมากในโลกอนาคตที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การธนาคาร ไปจนถึงการขายของ การเข้าซื้อ GitHub จึงเป็นการเสริมวิสัยทัศน์ให้นักพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้ และไมโครซอฟท์เองก็เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นมาจากนักพัฒนาอยู่แล้ว ดังนั้นเป้าหมายของทั้งสององค์กรซึ่งต้องการทำให้นักพัฒนาทำงานร่วมกันได้ดี จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกัน และนำมาสู่การเข้าซื้อในครั้งนี้
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวระบุว่าไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อ GitHub เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวหลุดออกมาว่าไมโครซอฟท์พยายามเจรจาขอซื้อมาแล้วหลายครั้ง
แหล่งข่าวอีกรายระบุกับ Bloomberg ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไมโครซอฟท์และ GitHub เป็นไปในทางที่ดีมาตลอด แม้ขาดช่วงไปบ้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยการเจรจาช่วงแรกเป็นการเจรจาเป็นพันธมิตร แต่ก็กลายเป็นการเจรจาเข้าซื้อบริษัทในที่สุด
ตอนนี้ทั้งสองบริษัทยังไม่ตอบคำถามนักข่าวแต่อย่างใด
ที่มา - Bloomberg
มีรายงานว่าไมโครซอฟท์ได้เจรจาเพื่อขอซื้อกิจการ GitHub ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และไมโครซอฟท์เองเคยพยายามซื้อหลายครั้งแล้วด้วย
แหล่งข่าวบอกว่าเรื่องเริ่มจาก ไมโครซอฟท์และ GitHub ได้พูดคุยเพื่อทำแผนการตลาดร่วมกัน จากนั้นการพูดคุยก็ไปจนถึงว่าไมโครซอฟท์ต้องการซื้อกิจการ GitHub เลย แต่ราคาที่ GitHub ต้องการนั้นสูงกว่าที่ไมโครซอฟท์ประเมิน
GitHub เพิ่มทุนครั้งสุดท้ายในปี 2015 ที่มูลค่ากิจการ 2 พันล้านดอลลาร์ แต่หากประเมินในปัจจุบัน มูลค่าน่าจะอยู่ราว 5 พันล้านดอลลาร์
ที่มา: CNBC
PayPal ประกาศเข้าซื้อบริษัท Jetlore สตาร์ทอัพที่เน้นการพัฒนาระบบ AI สำหรับการค้าปลีกโดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Jetlore ก่อตั้งขึ้นในปี 2011 โดยนักศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งบริษัทนี้เน้นการนำ machine learning ช่วยมอบประสบการณ์แบบที่เหมาะกับลูกค้า โดยจะวิเคราะห์ทั้งข้อมูลลูกค้าและผลิตภัณฑ์ปริมาณมากเพื่อให้เลือกกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้
EA ประกาศเข้าซื้อสินทรัพย์ด้านเทคโนโลยีเกมบนคลาวด์ และทีมงานที่เกี่ยวข้องของ GameFly บริการเช่าเกมแบบออนไลน์ เพื่อนำเทคโนโลยีและทีมงานมาเสริมทัพให้กับ EA ในการพัฒนารูปแบบเกมใหม่ๆ สำหรับลูกค้า
บริการของ GameFly นั้นเปรียบเทียบได้กับ Netflix เวอร์ชันสำหรับเกม ลูกค้าต้องเป็นสมาชิกก่อน จึงได้สิทธิในการเช่าเกมมาเล่นผ่านคลาวด์
Ken Mosssaid ซีทีโอของ EA กล่าวว่าบริการเกมบนคลาวด์ถือเป็นโอกาสใหม่ ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกมได้บนทุกอุปกรณ์และในทุกที่ ซึ่งการได้ทีมงานของ GameFly มา จะทำให้ EA สามารถร่วมพัฒนาอนาคตและรูปแบบใหม่ๆ ของเกมได้
EA ไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลครั้งนี้
Adobe ประกาศซื้อกิจการ Magento Commerce บริษัทผู้พัฒนา CMS ด้านอีคอมเมิร์ซชื่อดัง ด้วยมูลค่า 1.68 พันล้านดอลลาร์
เป้าหมายของ Adobe คือผนวก Magento เข้ามาอยู่ใต้ร่ม Adobe Experience Cloud (ชื่อเดิมคือ Adobe Marketing Cloud) หนึ่งในสามบริการหลักของบริษัท นอกเหนือจาก Creative Cloud และ Document Cloud
Magento เป็น CMS สำหรับสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบโอเพนซอร์ส พัฒนาด้วยภาษา PHP และได้รับความนิยมอย่างสูง มีชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่กว่า 300,000 ราย บริษัทก่อตั้งในปี 2007 และถูก eBay ซื้อกิจการในปี 2011 ก่อนแยกตัวออกมาเป็นบริษัทอิสระในปี 2015 และมาถูก Adobe ซื้ออีกรอบในปีนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าซื้อกิจการ Semantic Machines สตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญด้าน AI การสนทนา ซึ่งทำให้บอตพูดคุยกับคนได้เสมือนจริง โดยจะนำมาปรับปรุงบริการ Cortana
การซื้อกิจการนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ได้ทีมงานระดับรวมดาวด้าน AI มาหลายคน โดยทีมงานบางส่วนเคยร่วมพัฒนา Google Now และบางส่วนเคยทำงานที่ Nuance Communications นอกจากนี้ซีทีโอ Larry Gillick เองก็เคยเป็นหัวหน้าฝ่าย Speech Scientist เพื่อพัฒนา Siri ให้แอปเปิล
นอกจากนี้จะนำ AI การสนทนามาปรับปรุง Cortana แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่าจะนำมาใช้กับแชทบอท XiaoIce ที่ตอนนี้ให้บริการในจีน, ญี่ปุ่น, อเมริกา, อินเดีย และอินโดนีเซีย ด้วย
PayPal ประกาศเข้าซื้อกิจการ iZettle สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มรับจ่ายเงินสำหรับร้านค้ารายย่อยจากสวีเดน ที่ดำเนินงานในยุโรปและลาตินอเมริกา ด้วยมูลค่า 2,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 7 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายฐานบริการของ PayPal สู่หน้าร้านค้าให้มากขึ้น
ซีอีโอ Dan Schulman ของ PayPal กล่าวว่าในโลกยุคดิจิทัลวันนี้ ลูกค้าต้องการที่จะซื้อสินค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา และในทุกรูปแบบ ซึ่ง iZettle ที่มีร้านค้าเกือบ 5 แสนรายอยู่บนแพลตฟอร์ม และทีมงานที่ยอดเยี่ยม จะเข้ามาเสริมทัพให้ PayPal เป็นโซลูชั่นสำหรับ omnichannel
กูเกิลประกาศซื้อกิจการสตาร์ทอัพจากอิสราเอล Velostrata ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เด่นคือเทคโนโลยีด้าน Cloud Migration ระดับลูกค้าองค์กร โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าในการซื้อ
บริการของ Velostrata เน้นกลุ่มลูกค้าองค์กรที่ต้องการย้ายงานจากในศูนย์ข้อมูล on-premise ไปไว้บนคลาวด์ ซึ่งเป็นความท้าทายของทุกองค์กรที่ต้องการย้ายขึ้นไปบนคลาวด์ ทำให้บริการ Velostrata มีความลงตัวกับลูกค้า Google Cloud
Eyal Manor รองประธานฝ่ายวิศวกรรมของกูเกิลกล่าวว่า การนำ Velostrata เข้ามารวมกับ Google Cloud ทำให้ลูกค้าสามารถย้ายงานบน virtual machine เช่น ฐานข้อมูลขนาดใหญ่, แอพพลิเคชันองค์กร, DevOps และ Batch ขนาดใหญ่ ไปอยู่บนคลาวด์ได้ง่ายและรวดเร็ว
Walmart เครือข่ายร้านค้าปลีกรายใหญ่ของอเมริกา ประกาศเข้าซื้อหุ้น 77% ใน Flipkart อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินเดีย โดยดีลมีมูลค่าราว 16,000 ล้านดอลลาร์ (5.1 แสนล้านบาท) โดยหุ้นส่วนที่เหลือ มีผู้ถือหุ้นรายสำคัญ อาทิ Binny Bansal ผู้ก่อตั้ง, Tencent, Tiger Global Management และไมโครซอฟท์
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า Walmart และ Amazon ต่างสนใจเข้าซื้อหุ้นของ Flipkart
Doug McMillon ซีอีโอ Walmart กล่าวว่าอินเดียเป็นตลาดค้าปลีกที่น่าสนใจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งขนาดและอัตราการเติบโต จึงเป็นโอกาสที่น่าลงทุนสำหรับ Walmart โดยจะร่วมมือกับ Flipkart ทั้งในด้านกลยุทธ์และเทคโนโลยี
Glassdoor เว็บพอร์ทัลสำหรับให้พนักงานมาแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์กร (ที่ชอบจัดอันดับบริษัทน่าทำงานประจำปี) ประกาศว่ากลุ่ม Recruit Holdings จากญี่ปุ่นจะเข้าซื้อกิจการทั้งหมดด้วยมูลค่า 1,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 38,000 ล้านบาท เพื่อนำมาเสริมกับธุรกิจของ Recruit ที่ทำด้านเทคโนโลยี HR ในญี่ปุ่นอยู่แล้ว
Glassdoor เป็นเว็บไซต์ด้านการหางานที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอเมริกา มีผู้ใช้งาน 59 ล้านต่อเดือน มีข้อมูลบริษัทกว่า 770,000 แห่ง ทำให้พอร์ตโฟลิโอของ Recruit มีฐานข้อมูลองค์กร โดยเฉพาะในอเมริกามาเสริมความแข็งแกร่งมากขึ้น
Rocket Internet บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นเจ้าของสตาร์ทอัพหลายแห่ง ประกาศว่ากลุ่ม Alibaba จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ Daraz อีคอมเมิร์ซในเครือจากปากีสถาน ที่เน้นทำตลาดอยู่ในเอเชียใต้ ด้วยมูลค่าที่ไม่มีการเปิดเผย
Daraz ก่อตั้งในปี 2012 และเป็นอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมในปากีสถาน ต่อมาได้ขยายตลาดสู่ บังกลาเทศ, เมียนมาร์, ศรีลังกา และเนปาล ซึ่งตลาดทั้งหมดที่ Daraz อยู่นั้นมีประชากรรวมกัน 460 ล้านคน จึงถือเป็นโอกาสเติบโตเช่นกัน ซึ่งหลังจากดีลนี้ Daraz จะยังดำเนินงานภายใต้แบรนด์เดิม
ก่อนหน้านี้ Alibaba เคยซื้อกิจการอีคอมเมิร์ซที่มาจาก Rocket Internet ซึ่งก็คือ Lazada นั่นเอง
แผนการควบกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint มีการคุยกันมาอย่างยาวนาน และล่มมาแล้วหลายรอบ (รอบล่าสุดคือ พ.ย. 2017) แต่ในที่สุด ทั้งสองบริษัทก็สามารถเจรจากันได้สำเร็จ (สักที)
บริษัทใหม่จะใช้ชื่อว่า T-Mobile โดย John Legere ซีอีโอของ T-Mobile จะนั่งเป็นซีอีโอของบริษัทใหม่ ส่วน Marcelo Claure ซีอีโอของ Sprint จะไม่มีตำแหน่งบริหาร แต่จะได้เป็นบอร์ดของบริษัทใหม่ ร่วมกับ Masayoshi Son ประธานและซีอีโอของ SoftBank เจ้าของปัจจุบันของ Sprint
ภายใต้โครงสร้างของบริษัทใหม่ Deutsche Telekom บริษัทแม่ของ T-Mobile จะถือหุ้น 42% และ SoftBank จะถือหุ้น 27% ส่วนที่เหลือเป็นของผู้ถือหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์
Digg เว็บดังสำหรับแชร์เนื้อข่าวสารในยุคสมัยเว็บ 2.0 ซึ่งมีการเปลี่ยนมือเจ้าของมาหลายครา และล่าสุดเพิ่งประกาศปิดบริการ Digg Reader สำหรับอ่าน RSS ล่าสุดมีข่าวว่า Digg ได้ขายกิจการให้เจ้าของรายใหม่อีกครั้ง
โดยเจ้าของเดิมนั้นคือ Betaworks ได้ตัดสินใจขาย Digg ให้กับบริษัทชื่อ BuySellAds ซึ่งแค่ชื่อบริษัทก็คงเดาได้ว่าทำธุรกิจโฆษณาออนไลน์ ซึ่งเจ้าของ BuySellAds ยอมรับข่าวดังกล่าวแล้ว และเตรียมแถลงอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้
อย่างไรก็ตามการขาย Digg นี้ เป็นเฉพาะตัวสินทรัพย์และธุรกิจเดิมเท่านั้น แต่ไม่มีการซื้อตัวทีมงานพัฒนาเทคโนโลยีไปด้วย เพราะมีการพบว่าทีมงานฝ่ายนี้ถึง 8 คน ได้ย้ายไปทำงานอยู่สตาร์ทอัพชื่อ Civil ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มบล็อกเชน
Razer ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อซื้อกิจการ MOL Global ผู้ให้บริการออนไลน์เพลย์เมนท์ของมาเลเซีย ซึ่งส่วนมากจะเน้นไปที่การจ่ายเงินในเกมออนไลน์เป็นหลัก โดยการซื้อกิจการครั้งนี้เป็นการซื้อหุ้นของ MOL เพิ่มเติมอีก 65% หลัง Razer เคยลงทุนใน MOL ไปแล้วราว 20 ล้านดอลลาร์
ถึงแม้ดีลนี้จะต้องการการตัดสินใจจากผู้ถือหุ้น MOL แต่ Razer ระบุตอนนี้ได้เสียงสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลักเอาไว้แล้ว ซึ่งดีลนี้น่าจะเข้ามาเสริมทัพแผนการด้าน e-payment ของ Razer ที่เริ่มแล้วในสิงคโปร์ และจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
Valve ประกาศซื้อกิจการสตูดิโอ Campo Santo ผู้พัฒนาเกมผจญภัยชื่อดัง Firewatch โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Campo Santo มีพนักงานทั้งหมด 12 คน ทุกคนจะย้ายไปยังซีแอทเทิล (ใกล้กับสำนักงานใหญ่ของ Valve) แต่จะยังทำงานเป็นอิสระจากบริษัทแม่ และยังพัฒนาเกม In the Valley of Gods ของตัวเองต่อไป บริษัทพบว่ามีความเข้ากันได้กับทีมของ Valve และน่าจะทำงานร่วมกันได้ดี
SmugMug เว็บไซต์ให้บริการแชร์และเก็บภาพถ่ายสำหรับช่างภาพ ประกาศเข้าซื้อกิจการ Flickr บริการแชร์ภาพถ่ายในเครือยาฮู ที่ตอนนี้มีสถานะเป็นบริษัทในเครือ Oath ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย
บริการของ SmugMug นั้นคล้ายคลึงกับ Flickr คือให้บริการเก็บภาพถ่ายสำหรับช่างภาพมืออาชีพ โดย SmugMug มีรูปแบบให้บริการแบบเสียเงินเพียงอย่างเดียว ต่างจาก Flickr ที่มีเวอร์ชันฟรีและติดโฆษณา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดย Don MacAskill ซีอีโอ SmugMug บอกว่า แม้รูปแบบที่ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินจะทำให้ SmugMug อาจไม่เป็นที่รู้จักเท่า Flickr แต่ก็ทำให้มืออาชีพจำนวนไม่น้อยเลือกใช้บริการ เพราะได้ความเป็นส่วนตัวมากกว่า
Alibaba ประกาศเข้าซื้อบริษัทผลิตไมโครชิพจากจีน Hangzhou C-SKY Microsystems เพื่อสนับสนุนธุรกิจ Internet of Things
C-SKY Microsystems เป็นบริษัทที่ตั้งอยู่ในเมืองหางโจวของประเทศจีน เน้นพัฒนาสถาปัตยกรรมซีพียูและชิพแบบฝัง ซึ่งทางบริษัทบอกว่าชิพแบบฝังที่ผลิตเป็นจำนวนมากโดยบริษัทต่าง ๆ ในจีน มีเฉพาะของ C-SKY เท่านั้นที่ใช้สถาปัตยกรรมของตัวเอง ซึ่งการซื้อบริษัท C-SKY นี้จะช่วยให้ทีมวิจัยและพัฒนาชิพของทั้งสองบริษัททำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น และทำให้การพัฒนาชิพสำหรับใช้งาน IoT เป็นไปได้ง่ายขึ้น
Alibaba นั้นเคยลงทุนในบริษัท C-SKY มาแล้ว ซึ่งการเข้าซื้อครั้งนี้จะทำให้ Alibaba ถือหุ้นใน C-SKY ทั้งหมด 100% โดยไม่เปิดเผยมูลค่าการเข้าซื้อครั้งนี้
Adecco บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล ประกาศเข้าซื้อกิจการ General Assembly สตาร์ทอัพด้านการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพหลักสูตรดิจิทัล ด้วยมูลค่า 412.5 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาเสริมธุรกิจในเครือของ Adecco ด้านการพัฒนาทักษะบุคลากรสำหรับองค์กรที่ตอนนี้เน้นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล
ประเด็นที่น่าสนใจจาก Alain Dehaze ซีอีโอ Adecco ก็คือลูกค้าของบริษัทจำนวนมากตอนนี้ต้องการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรให้พร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งต้องอาศัยทักษะความรู้ใหม่ ประเมินว่าภายในปี 2030 พนักงานกว่า 375 ล้านคน จำเป็นต้องได้รับทักษะใหม่เพื่อบทบาทในหน้าที่การงานที่เปลี่ยนไป ซึ่งการซื้อกิจการ General Assembly จะเข้ามารองรับส่วนนี้
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Walmart เครือข่ายร้านค้าปลีกรายใหญ่ของอเมริกา กำลังใกล้ปิดดีลเพื่อถือหุ้นใหญ่ใน Flipkart อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินเดีย ซึ่งขนาดของดีลอาจเป็นดีลซื้อธุรกิจออนไลน์ใหญ่ที่สุดของ Walmart โดยจะเข้าถือหุ้น 51% ที่มูลค่าราว 10,000-12,000 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตามดีลดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจาก Amazon ซึ่งตอนนี้เป็นอีคอมเมิร์ซใหญ่ในอินเดียเช่นกัน ก็พยายามยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ Flipkart แข่งด้วย
Flipkart เป็นหนึ่งในผู้เล่นอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของอินเดีย ซึ่งมีผู้ถือหุ้นปัจจุบันรายสำคัญ อาทิ SoftBank, eBay, Tencent และไมโครซอฟท์
Coinbase ผู้ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลรายใหญ่ประกาศเข้าซื้อ Cipher Browser แอพเบราว์เซอร์แบบไร้ศูนย์กลางบนเครือข่ายบล็อกเชนบน Ethereum
Cipher Browser คือแอพเบราว์เซอร์แบบไร้ศูนย์กลางหรือ dapp บนอุปกรณ์พกพาบนเครือข่ายของ Ethereum รวมถึงเป็นกระเป๋าสำหรับสกุลเงินคริปโต โดยอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถรับ, ส่ง และเก็บรักษาสกุลเงิน Ether กับโทเคนมาตรฐาน ERC20 ได้ทันที
Ammzon ประกาศเข้าซื้อ Ring ผู้ผลิตกริ่งประตูอัจฉริยะเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ด้วยมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญ ล่าสุดดีลของ Amazon ก็เสร็จสิ้นลงแล้ว
ทันทีที่ Amazon เข้าซื้อ Ring สำเร็จ ทางบริษัทก็ลดราคาสินค้าทันที เริ่มตั้งแต่กริ่งประตูรุ่นมาตรฐาน Ring Video Doorbell เหลือ 99.99 ดอลลาร์ จากเดิมที่ขายราคา 179 ดอลลาร์ (เมื่อซื้อผ่านเว็บไซต์ Ring.com ราคาอาจแตกต่างกันตามแหล่งที่ขาย) ลักษณะเดียวกับการเข้าซื้อ Whole Foods ที่เมื่อซื้อเสร็จ Amazon ก็ลดราคาสินค้าทันที
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Xiaomi ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 5 ของโลกจากจีน กำลังพิจารณายื่นข้อเสนอกิจการทั้งหมดของ GoPro ผู้ผลิตกล้องแอคชั่นแคม
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า GoPro ได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อมองหาโอกาสในการขายบริษัท ซึ่งตอนนี้มูลค่ากิจการของ GoPro อยู่ที่ 761 ล้านดอลลาร์ จากราคาหุ้นที่ลดลงมาตลอด แต่บริษัทยังมีแบรนด์ที่สามารถไปต่อยอดได้อยู่
นักวิเคราะห์มองว่าราคาเสนอซื้อที่เหมาะสมของ Xiaomi น่าจะอยู่ราว 1 พันล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาตอนเอชพีซื้อกิจการ Palm