มีรายงานข่าวจาก The Wall Street Journal ว่า Cisco กำลังเจรจาขอซื้อกิจการ Splunk แพลตฟอร์มตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลจากระบบ ซึ่งใช้ในงานดูแลระบบไอทีและงานด้านความปลอดภัย ที่มูลค่าดีลสูงกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์มองว่าหากดีลนี้สำเร็จ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Cisco ในด้านผลิตภัณฑ์ความปลอดภัย ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญคือ Palo Alto Networks รวมทั้งเพิ่มกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขายในรูปแบบ subscription มากขึ้น
ทั้งนี้ตัวแทนของ Cisco และ Splunk ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
AMD ประกาศข่าวว่าได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศต่างๆ ให้ซื้อกิจการ Xilinx เรียบร้อยแล้ว กระบวนการซื้อจะเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2022
AMD เข้าซื้อ Xilinx เมื่อปี 2020 ด้วยมูลค่า 35 พันล้านดอลลาร์ เพื่อนำเทคโนโลยี FPGA มาใช้งาน ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญในโลกซีพียู
ก่อนหน้านั้น คู่แข่งอย่างอินเทลก็ซื้อ Altera มาตั้งแต่ปี 2015 และช่วงหลังก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์ชิปเฉพาะทางที่ใช้ FPGA ออกมาให้เห็นบ้างแล้ว
มีรายงานข่าวจาก Bloomberg ว่าไมโครซอฟท์กำลังพิจารณาซื้อกิจการ Mandiant บริษัทด้านความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อนำมาเสริมกับบริการของไมโครซอฟท์โดยเฉพาะบริการคลาวด์ โดยมูลค่าของดีลยังไม่มีรายงาน
Mandiant ปัจจุบันเป็นบริษัทที่แยกออกมาจาก FireEye เมื่อปีที่แล้ว หลังจากบริษัทแม่ขายกิจการให้กลุ่มทุน STG ธุรกิจหลักของ Mandiant คือให้บริการข้อมูลการโจมตีทางไซเบอร์และวิเคราะห์พฤติกรรม ซึ่งข้อมูลนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับบริการต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์
ตัวแทนจากทั้งไมโครซอฟท์และ Mandiant ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
มีรายงานจาก Bloomberg ว่าแอปเปิลได้ซื้อกิจการ AI Music สตาร์ทอัพที่พัฒนา AI สำหรับจัดลิสต์เพลงตามสภาวะของผู้ใช้งาน ซึ่งออกแบบมาสำหรับนักการตลาด บริษัทสื่อ และงานสร้างสรรค์
เทคโนโลยีของ AI Music จะสร้างชุดเพลงที่เปลี่ยนไปตามการตอบสนองของผู้ใช้เวลานั้น ตัวเช่น เพลงที่ปรับตามข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจ ระดับความหนักเบาระหว่างออกกำลังกาย หรือตามข้อมูลอารมณ์ผู้ใช้งานขณะนั้น
ไม่มีแถลงอย่างเป็นทางการจากแอปเปิล ซึ่งก็เป็นปกติสำหรับดีลซื้อกิจการทั่วไป แต่คาดว่าแอปเปิลน่าจะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับบริการ Apple Music ควบคู่ไปกับ Apple Fitness+ ตลอดจนบริการตัวอื่น ๆ ด้วย
ที่มา: MacRumors
อัพเดต 17.10 น NVIDIA ประกาศข่าวอย่างเป็นทางการแล้ว
Financial Times รายงานว่าดีล NVIDIA ซื้อ Arm ล่มแล้ว (อย่างไม่เป็นทางการ) โดย SoftBank ในฐานะเจ้าของปัจจุบันของ Arm ยกเลิกแผนการขายบริษัทให้ NVIDIA และจะนำ Arm ขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ภายในปี 2022 แทน ส่วน NVIDIA ก็ตัดสินใจถอยแล้วในการประชุมบอร์ดเมื่อวานนี้
ตามข่าวบอกว่า SoftBank จะได้รับเงินชดเชยจาก NVIDIA มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ตามสัญญา และจะเปลี่ยนตัวซีอีโอของ Arm จาก Simon Segars มาเป็น Rene Haas ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของ Arm ในปัจจุบัน
ในงานแถลงผลประกอบการของโซนี่ไตรมาส 4/2021 มีช่วงอธิบายรายละเอียดการซื้อ Bungie มูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์
ประเด็นที่น่าสนใจคือ โซนี่เปิดเผยว่าราว 1 ใน 3 ของเงินที่ซื้อ Bungie จะถูกใช้กับการจูงใจพนักงานให้ยังอยู่กับบริษัทต่อไป โดยจะทยอยจ่ายในช่วงหลายปีข้างหน้าหลังกระบวนการซื้อกิจการเสร็จสิ้นแล้ว
Approximately one-third of the US$3.6 billion acquisition consideration consists primarily of deferred payments to employee shareholders, conditional upon their continued employment, and other retention incentives.
ผู้ผลิตเครื่องเสียง Sonos เข้าซื้อบริษัท T2 Software สตาร์ทอัพพัฒนาระบบเสียงผ่าน Bluetooth ท่ามกลางข่าวลือว่า Sonos อาจทำหูฟังของตัวเอง
เว็บไซต์ Protocol รายงานว่า Sonos ได้เข้าซื้อ T2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาแล้วอย่างเงียบ ๆ โดยบริษัท T2 เน้นอิมพลีเมนต์ระบบ Bluetooth LC3 ระบบโคเดคเสียงสำหรับมาตรฐานใหม่ Bluetooth LE Audio ที่เน้นเสียงคุณภาพสูงภายใต้อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำลงมากกว่าโคเดคที่ใช้ใน Bluetooth ปัจจุบัน ทำให้อุปกรณ์กินพลังงานต่ำ ซึ่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ของโคเดคภายใต้การพัฒนาโดย T2 ยังไม่ได้อยู่ในสเปคของ Bluetooth ปัจจุบัน
Jim Ryan ซีอีโอของ Sony Interactive Entertainment ให้สัมภาษณ์กับ GamesIndustry.biz อธิบายเหตุผลในการซื้อสตูดิโอ Bungie เจ้าของเกม Destiny
สิ่งแรกที่ Ryan บอกคือ Bungie จะยังบริหารงานเป็นอิสระ ทำเกมลงหลายแพลตฟอร์มเหมือนเดิม เพราะทุกคนอยากเห็นชุมชนผู้เล่น Destiny 2 ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แนวทางนี้จะครอบคลุมถึงเกมของ Bungie ในอนาคตด้วย เขาบอกว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นแรกๆ ที่เขาพูดคุยกับ Pete Parsons ซีอีโอของ Bungie ระหว่างเจรจาซื้อกิจการ ซึ่งเขาตอบตกลงทันที
จากที่มีข่าวลือว่า Libra/Diem เงินคริปโตของ Meta เตรียมขายสินทรัพย์ทอดตลาด วันนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้วคือสมาคม Diem Association ประกาศขายทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินอื่นๆ ให้กับ Silvergate Capital บริษัทการเงินที่เป็นพาร์ทเนอร์กันในช่วงหลัง มูลค่าการซื้อกิจการ 182 ล้านดอลลาร์ มีทั้งจ่ายเป็นเงินสดและหุ้นของ Silvergate
แถลงการณ์ของ Diem Association ระบุว่าภูมิใจกับผลงานที่สร้างระบบจ่ายเงินแบบบล็อกเชนที่ปลอดภัยจากผู้ประสงค์ร้าย แต่หลังจากพบความจริงว่าหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐว่าจะไม่อนุมัติให้เกิดโครงการ stablecoin ลักษณะนี้ จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากขายทรัพย์สินให้ Silvergate
หนังสือพิมพ์ The New York Times ประกาศซื้อกิจการเกมทายคำยอดฮิต Wordle จากผู้สร้างเดิม Josh Wardle โดยเกม Wordle จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริการ The New York Times Games
The New York Times Games เป็นบริการเกมออนไลน์ที่ตั้งในปี 2014 โดยเริ่มจากเกมทายคำในหนังสือพิมพ์ยุคเก่าๆ อย่าง The Crossword ไล่มาจนถึงเกมใหม่ๆ เช่น Spelling Bee, Letter Boxed, Tiles, Vertex สถิติการเล่นเกมเหล่านี้สูงถึง 500 ล้านครั้งในปี 2021 และล่าสุดมีสมาชิกเล่นเกมแบบเสียเงินมากถึง 1 ล้านคน
หลังมีข่าว Microsoft ซื้อ Activision Blizzard ก่อนหน้านี้ วันนี้ฝั่ง Sony ก็เริ่มขยับตัวบ้าง เข้าซื้อ Bungie สตูดิโอผู้สร้างเกม Halo (แต่ปัจจุบันลิขสิทธิ์ Halo อยู่กับ 343 Studios ที่อยู่กับ Microsoft) รวมถึงเป็นผู้สร้างและเจ้าของเกม Destiny และ Destiny 2 ในปัจจุบัน ด้วยมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ (ราว 1.2 แสนล้านบาท)
Bungie จะกลายเป็นสตูดิโอในเครือ Sony Interactive Entertainment หรือ SIE แต่ยังย้ำชัดว่ายังเป็นสตูดิโอมัลติแพลตฟอร์ม ที่ยังคงความเป็นอิสระด้านความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนา และการจัดจำหน่ายเกมของตัวเองไว้อย่างครบถ้วน
อัพเดต: Citrix ยืนยันข่าวดังกล่าวแล้ว
สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่าบริษัทการลงทุน Vista Equity Partners และ Elliott Management Corp ใกล้ปิดดีลซื้อกิจการ Citrix Systems บริษัทซอฟต์แวร์รีโมททำงานสำหรับองค์กร โดยมูลค่าดีลอยู่ราว 13,000 ล้านดอลลาร์
รายงานบอกว่าเมื่อดีลเสร็จสิ้น และนำ Citrix ออกจากตลาดหุ้น Vista และ Elliott จะควบรวมกิจการบริษัทกับ Tibco บริษัทซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล ที่ทั้งสองบริษัทเป็นเจ้าของอยู่ตอนนี้
จากกรณีไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard ทำให้ทุกสายตาจับจ้องไปที่โซนี่ว่าจะตอบโต้อย่างไร
เว็บไซต์ The Hollywood Reporter อ้างความเห็นจากนักวิเคราะห์การเงินหลายราย คำตอบคือซื้อ EA หรือบริษัทเกมระดับรองลงมา (และราคาถูกกว่า) อย่าง Take-Two หรือ Ubisoft
ในอีกด้าน EA ก็อาจเป็นเป้าหมายของบริษัทสื่ออย่าง Disney ที่อาจสนใจเข้ามาทำตลาดเกมในอนาคต ปัจจุบันดิสนีย์มีคาแรกเตอร์ในมือมากมายที่พร้อมนำไปทำเป็นเกมได้ทันที การซื้อ EA สามารถตอบโจทย์นี้ได้โดยตรง เพราะทั้งสองบริษัทก็มีโมเดลความร่วมมือลักษณะนี้กันอยู่แล้ว
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่า Nvidia เริ่มแจ้งพันธมิตรว่าดีลควบรวม Arm มูลค่า 40 พันล้านดอลลาร์น่าจะล้มเหลว และแหล่งข่าวอีกรายระบุว่า SoftBank จะพยายามนำ Arm เข้าตลาดหุ้นแทนการขายทั้งบริษัท
การที่ Nvidia เข้าซื้อ Arm สร้างความกังวลใจให้หลายฝ่าย เนื่องจาก Arm นั้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีต้นน้ำที่คู่แข่ง Nvidia เองก็ใช้งานอยู่จำนวนมาก ที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐแสดงท่าทีว่าจะสอบสวนการควบรวมครั้งนี้อย่างหนัก แม้ว่า Nvidia จะยืนยันว่าไม่ได้ต้องการยึดเทคโนโลยี Arm ไว้ใช้คนเดียว แต่จะขายให้บริษัทอื่นๆ ต่อไป
Unity ประกาศซื้อกิจการ Ziva Dynamics บริษัทผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับสร้างคาแรกเตอร์ดิจิทัลแบบเสมือนจริง โดย Unity มีแผนนำเทคโนโลยีของ Ziva มาให้นักพัฒนาใช้งานเพิ่มเติม
ทั้งนี้ดีลซื้อกิจการดังกล่าวไม่ได้เปิดเผยมูลค่าออกมา
ซอฟต์แวร์ของ Ziva ถูกนำมาใช้สร้างตัวละครในเกมอาทิ Hellblade: Senua’s Sacrifice หรือ Spider-Man: Miles Morales รวมทั้งใช้ในภาพยนตร์-ซีรี่ส์อย่าง Game of Thrones กับ Godzilla vs. Kong
James Jacobs ซีอีโอ Ziva เผยว่าการเข้าร่วมกับ Unity ทำให้ความฝันของบริษัท ที่ต้องการทำให้เครื่องมือนี้เข้าถึงผู้ใช้งานที่กว้างมากขึ้นเป็นจริง
ไอบีเอ็มประกาศลงนามข้อตกลง เพื่อขายสินทรัพย์ของธุรกิจจัดการข้อมูลสุขภาพ และ Analytics ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ Watson Health ให้กับบริษัทด้านการลงทุน Francisco Partners
มีรายงานมาตั้งแต่ปีที่แล้วว่าไอบีเอ็มพยายามหาผู้มาซื้อธุรกิจ Watson Health เนื่องจากไม่ทำกำไรอย่างที่ต้องการ และก็มีข่าวอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรายการสินทรัพย์ที่ขายนี้รวมทั้ง Health Insights, MarketScan, Clinical Development, Social Program Management และ Micromedex
Bobby Kotick ซีอีโอของ Activision Blizzard ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกหลังข่าวไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ ทำให้เรารู้มุมมองของ Activision Blizzard ว่าคิดอย่างไรจึงยอมขาย
Kotick พูดชัดเจนว่าเรื่องเงิน! โดยเขาบอกว่าได้รับข้อเสนอที่ดีมาก เพราะไมโครซอฟท์เสนอราคามาสูงกว่าราคาหุ้นถึง 45%
ไมโครซอฟท์ประกาศช็อควงการเกมด้วยการซื้อกิจการ Activision Blizzard ด้วยมูลค่าสูงถึง 68.7 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท) แลกกับพนักงานจำนวนเกือบ 10,000 คน และสิทธิความเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ดังๆ อย่าง Starcraft, Warcraft, Diablo, Overwatch, Call of Duty, Candy Crush
ภายใต้ดีลนี้ Bobby Kotick ซีอีโอของ Activision Blizzard จะยังอยู่ในตำแหน่งเดิม โดยจะขึ้นตรงต่อ Phil Spencer ที่ขึ้นเป็นซีอีโอของบริษัทลูกที่ตั้งใหม่คือ Microsoft Gaming
มีรายงานว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ได้เข้าซื้อกิจการเพิ่ม 2 บริษัท ด้านธุรกิจบันเทิงเพื่อนำมาต่อยอดกับบริการเดิมที่มีอยู่ รายละเอียดดังนี้
บริษัทแรกคือ Yingtuobang สตาร์ทอัพจำหน่ายบัตรเข้าชมภาพยนตร์และการแสดงในจีน โดย ByteDance จะช่วยในการใช้ Douyin (TikTok ในจีน) มาส่งเสริมการขาย ทำให้ครอบคลุมบริการ O2O มากขึ้น
อีกบริษัทคือ Yizhikan Comics ผู้ให้บริการมาร์เก็ตเพลสสำหรับซื้อขายเว็บตูนและอีคอมมิกของจีน ซึ่งดีลนี้ ByteDance ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมถึงแผนงานในอนาคต
ที่มา: TechNode
บริษัท Wind River Systems ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการฝังตัว VxWorks และ Wind River Linux มีอันต้องเปลี่ยนเจ้าของอีกแล้ว โดย Aptiv บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ เข้าซื้อกิจการจากเจ้าของเดิมคือบริษัทลงทุน TPG Capital ในราคา 4.3 พันล้านดอลลาร์
Take-Two Interactive บริษัทแม่ของบริษัทเกมใหญ่ Rockstar Games ผู้สร้าง GTA และ 2K Games ผู้สร้าง NBA 2K ประกาศเข้าซื้อกิจการ Zynga บริษัทผู้พัฒนาเกมมือถือ มูลค่าดีล 12,700 ล้านดอลลาร์ โดยจ่ายเป็นเงินสดและหุ้นของ Take-Two
Strauss Zelnick ซีอีโอ Take-Two กล่าวว่า การซื้อกิจการนี้จะทำให้บริษัทขยายฐานเกมที่บริษัทโดดเด่นอยู่แล้ว บนคอนโซลและพีซี ไปสู่แพลตฟอร์มมือถือ ผ่านผู้จัดจำหน่ายเกมที่มีฐานผู้เล่นมานาน
นอกจาก GTA และ NBA 2K แล้ว ฝั่ง Take-Two ยังมีเกมเด่นในมืออาทิ Civilization, BioShock ส่วนฝั่ง Zynga มีเกมมือถืออย่าง FarmVille, CSR Racing, Words With Friends และ Harry Potter: Puzzles & Spells
กูเกิลประกาศซื้อกิจการ Siemplify สตาร์ทอัพด้าน cybersecurity จากอิสราเอล โดยดีลไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่มีตัวเลขรายงานว่าอยู่ที่ราว 500 ล้านดอลลาร์
Siemplify เป็นผู้ให้บริการด้าน SOAR หรือ security orchestration, automation and response ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบ ค้นหา และแก้ไขการโจมตีทางไซเบอร์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
บริการของ Siemplify จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมความปลอดภัยใน Google Cloud ซึ่งกูเกิลโฟกัสในส่วนนี้มากขึ้น
ที่มา: Google Cloud
Twitter รายงานว่าบริษัทได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการขาย MoPub แพลตฟอร์มโฆษณาบนมือถือ ให้กับ AppLovin เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 โดยบริษัทได้รับเงินสดจากดีลนี้รวม 1,050 ล้านดอลลาร์
Bruce Falck ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Revenue Products ของ Twitter กล่าวว่าจากนี้บริษัทจะโฟกัสกับการพัฒนาโฆษณาบนแพลตฟอร์มของ Twitter โดยมีเป้าหมายเติบโตให้รวดเร็ว และเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น
บริการต่าง ๆ ของ MoPub จะทยอยหยุดให้บริการ โดย AppLovin จะติดต่อกับลูกค้าโดยตรงเพื่อย้ายมาใช้แพลตฟอร์ม AppLovin MAX แทน
ที่มา: Twitter (pdf)
อินเทลประกาศความคืบหน้าการขายธุรกิจ NAND และ SSD ให้กับ SK hynix ที่ประกาศไว้เมื่อปี 2020 ว่าเสร็จสิ้นกระบวนการขั้นแรกแล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อินเทลขายธุรกิจ SSD และโรงงานผลิตชิปหน่วยความจำ NAND ที่เมืองต้าเหลียน ประเทศจีน ให้กับ SK hynix ในราคา 7 พันล้านดอลลาร์ โดยอินเทลจะยังใช้บริการผลิต NAND ที่โรงงานแห่งนี้ต่อไป ส่วนธุรกิจ SSD จะกลายเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Solidigm (ย่อมาจาก solid-state + paradigm) มีสถานะเป็นบริษัทลูกของ SK hynix และ Robery Crooke หัวหน้าฝ่ายหน่วยความจำของอินเทลจะขึ้นเป็นซีอีโอของบริษัทแห่งนี้
Zoom ประกาศซื้อกิจการ Liminal ผู้พัฒนาเครื่องมือถ่ายทอดวิดีโอสำหรับเชื่อมต่อกับ Zoom โดยเป็นการซื้อเฉพาะสินทรัพย์หลักของบริษัท และซื้อตัวสองผู้ก่อตั้ง
เครื่องมือที่ Liminal พัฒนาคือ add-on ZoomOSC เครื่องมือช่วยการเชื่อมต่อ Zoom เข้ากับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อื่นผ่านโปรโตคอล Open Sound Control (OSC) และ ZoomISO เครื่องมือสำหรับส่งออกวิดีโอจากผู้เข้าร่วมมาใช้งาน ซึ่งสองเครื่องมือนี้เน้นใช้สำหรับงานการถ่ายทอดอีเวนต์ขนาดใหญ่ โดยคาดว่า Zoom จะนำสองเครื่องมือนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในซอฟต์แวร์หลัก
Zoom มองว่าเครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยปิดช่องว่างให้การใช้ Zoom รองรับมาตรฐานงานผลิตระดับสตูดิโอ หรืออีเวนต์ขนาดใหญ่ได้ดีมากยิ่งขึ้น