Netflix ประกาศเข้าซื้อสตูดิโออนิเมชั่น Animal Logic เพื่อเสริมศักยภาพในงานด้านอนิเมชั่นของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง โดยคาดว่าจะปิดดีลได้ภายในปีนี้
Animal Logic เป็นสตูดิโอด้านอนิเมชั่นจากออสเตรเลีย ผลงานเด่น ๆ คือ Happy Feet, The Lego Movie และ Peter Rabbit ซึ่งตอนนี้ทางสตูดิโอก็มีงานร่วมกับ Netflix บ้าง เช่น The Magician’s Elephant ที่จะปล่อยในปี 2023 และ The Shrinking of Treehorn
การเข้าซื้อ Animal Logic จะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในด้านภาพยนตร์ครอบครัวให้กับแพลตฟอร์ม Netflix โดยเป้าหมายของ Netflix คือต้องการให้บริษัทมีความสามารถในการผลิตงานอนิเมชั่นได้ตั้งแบบ end-to-end และจะทำให้ธุรกิจของ Netflix แข็งแกร่งพร้อมแข่งกับคู่แข่งอย่าง Disney+ ได้ดีขึ้น
Nova Launcher แอพลอนเชอร์ชื่อดังของ Android ประกาศข่าวว่าขายให้ Branch บริษัทด้านการตลาดออนไลน์ โดยยังจ้าง Kevin Barry ผู้สร้าง Nova Launcher ทำงานต่อในตำแหน่งเดิม
บริษัท Branch อาจไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่โดยหลักแล้วให้บริการ deep-link เพื่อเปิดลิงก์ในแอพ ใช้วัดผลของแคมเปญการตลาดต่างๆ เช่น เปิดลิงก์ทางโซเชียลหรืออีเมลประชาสัมพันธ์แล้วเด้งขึ้นไปยังหน้าที่ต้องการในแอพ
หลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โซนี่ประกาศเข้าซื้อกิจการ Bungie ที่เคยฝากผลงานเกมดังอย่าง Halo (ปัจจุบันเป็นแฟรนไชนส์ในเครือ Xbox Game Studios ของไมโครซอฟท์ และพัฒนาโดยทีม 343 Industries) รวมไปถึงเป็นเจ้าของแฟรนไชนส์ Destiny ด้วยมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์
ล่าสุด โซนี่ประกาศว่า ดีลการเข้าซื้อกิจการ Bungie เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้กลายเป็นบริษัทในเครือของ Sony Interactive Entertainment (SIE) อย่างเป็นทางการ ซึ่งดีลนี้จะครอบคลุมไปถึงการถือแฟรนไชนส์ Destiny รวมไปถึง IP ใหม่ ๆ ที่จะออกมาของ Bungie (อย่างไรก็ดีเกมใหม่ ๆ จาก Bungie จะยังคงลงแพลตฟอร์มอื่น ๆ เหมือนเดิม)
นินเทนโดประกาศซื้อกิจการ Dynamo Pictures สตูดิโอผู้สร้างงานคอมพิวเตอร์กราฟิกหรือ CG ซึ่งมีผลงานทั้งงาน CG ในภาพยนตร์ เกม ตลอดจนคอนเทนต์ AR, VR สำหรับเครื่องเล่นต่าง ๆ ผลงานในช่วงที่ผ่านมามีทั้งงานสร้างภาพจากการเคลื่อนไหวใน Death Stranding และ Persona 5
สิ่งน่าสนใจของดีลนี้ คือนินเทนโดประกาศว่าจะเปลี่ยนชื่อบริษัทนี้หลังเสร็จสิ้นการควบรวมเป็น Nintendo Pictures เพื่อโฟกัสที่การสร้างคอนเทนต์เสมือน โดยอาศัยคาแรกเตอร์ต่าง ๆ ที่นินเทนโดมีอยู่ในมือ
แม้นินเทนโดยังไม่ได้ให้รายละเอียดใดเพิ่มเติม แต่คาดว่านินเทนโดน่าจะใช้ Nintendo Pictures มาเป็นผู้พัฒนาคอนเทนต์ประเภทภาพยนตร์แบบผลิตเอง จากเดิมที่ใช้พาร์ทเนอร์มาตลอด
Unity บริษัทเอนจินเกมชื่อดัง ประกาศควบกิจการกับ ironSource แพลตฟอร์มการหารายได้ผ่านโฆษณาของแอพมือถือ โดยใช้วิธีแลกหุ้นทั้งหมด
ironSource เป็นบริษัทจากอิสราเอล แต่ขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก บริการของ ironSource มีสำหรับบริษัทผู้พัฒนาแอพมือถือ ที่ต้องการระบบวิเคราะห์การใช้งาน เพิ่มจำนวนผู้ใช้เข้าแอพ และหารายได้ (monetization) ผ่านการโฆษณา โดย ironSource เป็นทั้งเครือข่ายโฆษณา (ad network) เองและดึงโฆษณาจากเครือข่ายอื่นๆ มาแสดงผลในแอพด้วย
ดีลนี้ใช้วิธีควบรวมและแลกหุ้น โดยผู้ถือหุ้น Unity จะมีสัดส่วนหุ้น 73.5% ในบริษัทใหม่ ส่วน ironSource ถือ 26.5% บริษัทคาดว่ากระบวนการควบรวมจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 4 ของปีนี้
Spotify ประกาศซื้อกิจการ Heardle แพลตฟอร์มเกมตอบคำถามสไตล์ Wordle ซึ่งถือเป็นดีลซื้อกิจการบริษัทเกมครั้งแรกของ Spotify ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย
เหตุผลที่ Spotify อธิบายในการทำดีลนี้ มองว่า Heardle จะเป็นเครื่องมือใหม่ทางเลือก สำหรับการค้นหาเพลง และช่วยให้ศิลปินเข้าถึงผู้ฟังได้อีกวิธี และทำให้ผู้ใช้งานได้สนุกจากความท้าทายในการทายเพลงแข่งกับเพื่อน ๆ ด้วย
ดีลซื้อ Twitter มาถึงจุดที่หลายๆ คนน่าจะเดากันได้คือ Elon Musk ประกาศยกเลิกข้อตกลงการซื้อกิจการ โดยให้เหตุผลเรื่องการเปิดเผยข้อมูลบัญชีบ็อตที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทางบริษัท Twitter ไม่สามารถตอบสนองหรือปฏิเสธการให้ข้อมูลกับฝ่ายของ Musk อยู่หลายครั้งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จึงถือว่าผิดสัญญาข้อตกลงการซื้อขาย (Merger Agreement) ที่เซ็นกันไว้แต่แรก
ฝั่งของ Twitter นำโดยประธานบอร์ด Bret Taylor ก็ออกมาตอบโต้ว่า บริษัทมั่นใจว่าปฏิบัติตามข้อตกลงการซื้อกิจการทุกอย่างแล้ว และจะยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อสั่งให้ดีลเดินหน้าต่อตามเดิม
SCBX บริษัทแม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้งข่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงดีลการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) ในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด เป็นสัดส่วน 51% ที่ประกาศไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021
ตอนนั้น SCBX แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2565 ส่วนรอบนี้ SCBX บอกว่าธุรกรรมนี้ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบัน ยังอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบทานธุรกิจ และต้องขยายเวลาจากกำหนดการเดิม
ในหนังสือแจ้งของ SCBX ยังไม่ระบุกรอบเวลาคาดการณ์ใหม่ว่าจะตรวจสอบเสร็จเมื่อใด
มีรายงานความคืบหน้าของดีลที่ Elon Musk เสนอซื้อกิจการ Twitter โดย The Washington Post อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ราย บอกว่า Musk อาจเปลี่ยนแผนการ เนื่องจากเขาได้หยุดการหารือทั้งหมด กับกลุ่มผู้ที่จะร่วมลงทุนในดีลนี้ที่เคยประกาศไปก่อนหน้า ซึ่งมีทั้ง Larry Ellison ผู้ก่อตั้งออราเคิล, Binance และกองทุน Andreessen Horowitz
Kimbal Musk น้องชายของ Elon Musk (อ่อนกว่า 1 ปี และเคยทำบริษัท Zip2 บริษัทแรกของ Elon Musk ด้วยกัน) เข้าซื้อกิจการ Intel Drone Light Shows ธุรกิจโดรนของอินเทล
อินเทลมีธุรกิจโดรนสำหรับแสดงโชว์มานานพอสมควรแล้ว (เปิดตัวปี 2016) และเคยนำไปร่วมงานมหกรรมกีฬาใหญ่ๆ หลายครั้ง เช่น Super Bowl 2016, โอลิมปิกฤดูหนาว 2018, โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 รวมถึงงานเปิดตัว Iconsiam ที่ประเทศไทยด้วย
ไอบีเอ็มประกาศซื้อกิจการ Databand.ai สตาร์ทอัพผู้พัฒนาเครื่องมือด้าน Observability ที่ใช้ตรวจสอบจับปัญหาของข้อมูล เช่น การทำงานผิดพลาด หรือปัญหาใน pipeline ก่อนจะเกิดผลลัพธ์ ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่บริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนมาแล้วรวม 14.5 ล้านดอลลาร์
ไอบีเอ็มบอกว่าทีมงานทั้งหมดของ Databand.ai จะเข้ามาร่วมทีม Data และ AI ของไอบีเอ็ม ซึ่งไอบีเอ็มจะนำเครื่องมือนี้มาเสริมกับผลิตภัณฑ์ด้าน AI และ Automation
Daniel Hernandez ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Data และ AI ของไอบีเอ็ม กล่าวว่าลูกค้าองค์กรที่ใช้งานแบบ Data-driven ย่อมต้องการ Data ในเวลาที่ต้องการ และหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ ก็อาจกระทบต่อธุรกิจมาก เครื่องมือย่าง Databand.ai จึงเข้ามาเติมเต็มส่วนนี้
Competition and Markets Authority หรือ CMA หน่วยงานด้านการแข่งขันของสหราชอาณาจักร ประกาศเข้าสอบสวนดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard อย่างเป็นทางการ เพื่อดูว่าสร้างการผูกขาดต่อธุรกิจหรือไม่
CMA ประกาศเริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการในวันนี้ (6 ก.ค.) โดยเปิดรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องภายในวันที่ 20 ก.ค. และกำหนดเส้นตายขั้นต้นเป็นวันที่ 1 ก.ย. ว่าจะตัดสินอย่างไร (อาจเลื่อนได้ถ้าจำเป็น)
ดีลไมโครซอฟท์ซื้อ Activision Blizzard เป็นดีลใหญ่ที่มีมูลค่าถึง 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ และต้องผ่านกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในหลายๆ ประเทศ จึงจะสามารถเดินหน้าต่อได้
ข่าวใหญ่วันนี้คงหนีไม่พ้น AIS ประกาศเสนอซื้อ 3BB ด้วยมูลค่ารวม 3.2 หมื่นล้านบาท ถึงแม้กระบวนการทั้งหมดยังต้องรอการอนุมัติจาก กสทช. และมีโอกาสที่จะไม่ผ่าน (เหมือนดีล True/Dtac) แต่ดีลนี้ก็แสดงให้เห็นถึงสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และทิศทางการควบรวมให้เหลือผู้เล่นน้อยรายลง (consolidation) เช่นกัน
บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ดีล AIS เสนอซื้อ 3BB เพื่อประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม ทั้งในมุมของธุรกิจบรอดแบนด์ และผลกระทบต่อสงครามใหญ่ระหว่าง AIS และ True
AIS ประกาศซื้อธุรกิจบรอดแบนด์ 3BB จากกลุ่มบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ในราคารวม 19,500 ล้านบาท และซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตจัสมิน (JASIF) สัดส่วน 19% คิดเป็นมูลค่า 12,920 ล้านบาท รวมธุรกรรมทั้งสองส่วน 32,420 ล้านบาท
ตัวธุรกิจบรอดแบนด์ 3BB ดำเนินการโดยบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (TTTBB) ซึ่ง AIS เข้าซื้อหุ้นเกือบทั้งหมด 99.87% จากเจ้าของเดิมคือบริษัท อคิวเมนท์ จำกัด (ACU) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ JAS
Razer ประกาศซื้อกิจการ Interhaptics บริษัทเทคโนโลยีด้าน haptic feedback ที่ก่อตั้งในปี 2017 โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่า
Razer บอกว่าที่ผ่านมาพยายามผลักดันอุปกรณ์ที่เป็น haptic อยู่แล้ว โดยใช้ชื่อแบรนด์ HyperSense ทำตลาดมาตั้งแต่อุปกรณ์ชิ้นแรกคือ Razer Nari Ultimate ที่ขายในปี 2018 ส่วนการซื้อกิจการครั้งนี้จะใช้ทีมของ Interhaptics ช่วยขยายเทคโนโลยี haptic ไปยังอุปกรณ์ให้มากขึ้น รวมถึงพาร์ทเนอร์กับสตูดิโอเกมต่างๆ ให้รองรับ HyperSense มากขึ้นด้วย
Eric Vezzoli ซีอีโอของ Interhaptics จะเข้ามาเป็นผู้บริหารตำแหน่ง Associate Director of Haptics ของ Razer ส่วนตัวบริษัท Interhaptics จะยังอยู่ต่อไปในฐานะธุรกิจแยก แต่ก็จะทำงานร่วมกับฝั่ง Razer มากขึ้น
Reddit ประกาศเข้าซื้อกิจการ MeaningCloud บริษัทพัฒนาระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติหรือ NLP โดยไม่เปิดเผยมูลค่า ซึ่ง Reddit จะรวมทีมงานเข้ากับทีมหลักเพื่อพัฒนา machine learning ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Reddit
MeaningCloud ก่อตั้งในปี 2015 พัฒนาระบบสกัดความหมายออกจากเนื้อหาแบบไม่เป็นโครงสร้าง (text analytics, insights extraction, semantic analysis) อย่างเช่นคำพูดในวงสังคมหรือคอนเทนต์บนหน้าเว็บ ซึ่งเทคโนโลยีของ MeaningCloud จะเพิ่มความแข็งแกร่งให้ machine learning ของบริษัท ทำให้เข้าใจข้อมูลที่ไม่เป็นโครงสร้างเพื่อแนะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้ใช้งาน Reddit
BlockFi แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตที่ประสบปัญหาทางการเงิน ประกาศบรรลุข้อตกลงกับ FTX US บริษัทลูกของแพลตฟอร์มคริปโต FTX ส่วนในอเมริกา มีรายละเอียดดังนี้
FTX US จะทำสัญญาเพื่อให้สินเชื่อวงเงิน 400 ล้านดอลลาร์ กับ BlockFi ซึ่งวงเงินนี้จะนำไปใช้จัดการกับบัญชีลูกค้า และ FTX US ยังสามารถซื้อกิจการทั้งหมดของ BlockFi ได้ที่มูลค่าสูงสุด 240 ล้านดอลลาร์ แต่ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานจากนี้ (ซึ่งไม่ใช่ 25 ล้านดอลลาร์ ที่ซีอีโอออกมาปฏิเสธก่อนหน้านี้) ทำให้มูลค่าดีลรวมสูงสุดอยู่ที่ 680 ล้านดอลลาร์ โดย BlockFi จะยังให้บริการต่อตามปกติ และเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
CNBC อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า FTX ผู้ให้บริการซื้อขายคริปโตรายใหญ่ ได้ปิดดีลซื้อกิจการ BlockFi กระดานซื้อขายคริปโตอีกแห่งแล้ว คาดว่าดีลจะประกาศอย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้ โดยมูลค่าในการซื้อกิจการระบุว่าอยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ ลดลง 99% จากมูลค่ากิจการครั้งสุดท้ายที่ BlockFi เพิ่มทุนที่ 4,800 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ BlockFi ประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุน และ FTX ก็ได้เข้ามาให้วงเงินกู้ฉุกเฉินไปแล้ว 250 ล้านดอลลาร์
เราไม่ค่อยเห็น Blizzard Entertainment ซื้อกิจการสตูดิโอเกมมากนัก (ส่วนใหญ่คือฝั่ง Activision) แต่ล่าสุด Blizzard ประกาศซื้อ Proletariat สตูดิโอเกมสัญชาติอเมริกันจากบอสตัน ผู้พัฒนาเกม Spellbreak เกมมัลติเพลเยอร์แนวการต่อสู้ของพ่อมดแม่มด
Blizzard ระบุชัดว่าการซื้อกิจการรอบนี้คือการซื้อทีม โดย Proletariat จะปิดบริการเกม Spellbreak และทีมงานทั้งหมดของบริษัทประมาณ 100 คน จะย้ายมาทำโปรเจค Dragonflight ภาคเสริมตัวใหม่ของ World of Warcraft
Zendesk แพลตฟอร์มบริหารประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) ประกาศรับข้อเสนอซื้อกิจการจากกลุ่มนักลงทุน เป็นมูลค่าราว 10,200 ล้านดอลลาร์ โดยดีลนี้จะจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด และนำบริษัทออกจากตลาดหุ้นหลังดีลเสร็จสิ้น
ผู้ซื้อเป็นบริษัทการลงทุน นำโดย Hellman & Friedman ร่วมด้วย Permira นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานการลงทุนของอาบูดาบี และกองทุน GIC ด้วย โดยจะซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่ราคา 77.50 ดอลลาร์ต่อหุ้น สูงกว่าราคาล่าสุด 34%
เมื่อต้นปี Zendesk เคยได้รับข้อเสนอซื้อกิจการที่มูลค่าสูงกว่านี้ แต่ได้ปฏิเสธไป ซึ่งผลกระทบจากราคาหุ้นที่ลดลง ทำให้มูลค่าที่ตกลงขายกิจการวันนี้ก็ลดลงด้วยนั่นเอง
eBay ประกาศซื้อกิจการ KnownOrigin แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าที่ซื้อ แต่บอกว่าได้เซ็นปิดดีลนี้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา
KnownOrigin ก่อตั้งในปี 2018 เป็นแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT บนบล็อกเชน Ethereum ที่มีปริมาณการซื้อขายสะสมสูงสุดเป็นอันดับ 12 ที่ 7.8 ล้านดอลลาร์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก DappRadar ส่วนอันดับ 1 คือ OpenSea
eBay เริ่มเปิดให้ซื้อขาย NFT ได้บนแพลตฟอร์มตั้งแต่ปีที่แล้ว การซื้อกิจการ KnownOrigin เข้ามานั้น Jamie Iannone ซีอีโอของ eBay บอกว่าจะช่วยเสริมเทคโนโลยี เครื่องมือ ตลอดจนชุมชนของ NFT บน eBay ให้ดีมากขึ้น
Meizu ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบรนด์จีน ขายหุ้น 79% ของบริษัทให้กับ Geely แบรนด์รถยนต์ยักษ์ใหญ่ของจีน (ที่ยังเป็นบริษัทแม่ของ Volvo, Polestar, Proton ด้วย)
กลุ่มธุรกิจของ Geely เริ่มบุกเข้ามายังตลาดสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ connected device เชื่อมต่อกับรถยนต์ มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 โดยตั้งบริษัทลูกชื่อ Hubei Xingji Shidai Technology Co. Ltd ที่เมืองอู่ฮั่น และเป็นบริษัทลูกแห่งนี้เองที่เข้าซื้อหุ้นของ Meizu จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งในจำนวนนี้มี Alibaba Taobao ที่ถือหุ้น 27% อยู่ด้วย
Reddit ประกาศซื้อกิจการ Spell แพลตฟอร์ม SaaS ที่ช่วยให้สามารถรันงาน Machine Learning สำหรับการทดลองในทุกสเกล โดยมูลค่าดีลไม่มีการเปิดเผย
Reddit ปัจจุบันใช้ Machine Learning ในการปรับแต่งคอนเทนต์แนะนำในแท็บ Discover แต่การซื้อ Spell เข้ามา บริษัทคาดว่าจะสามารถต่อยอดเทคโนโลยีนี้ได้กับบริการอื่นด้วย เช่น การดูแลความปลอดภัย หรือระบบโฆษณา
ทีมงานของ Spell จะเข้ามาร่วมทีมกับ Reddit โดยขึ้นตรงกับฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์
ที่มา: Reddit
ไมโครซอฟท์ประกาศบรรลุข้อตกลงซื้อกิจการ Miburo บริษัทวิเคราะห์และวิจัยด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศ
ปัจจุบัน Miburo ที่ก่อตั้งโดย Clint Watts ก็ร่วมมือกับหน่วยงาน Microsoft Threat Intelligence Center ของไมโครซอฟท์อยู่แล้ว ในการตรวจสอบตรวจจับภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ด้วยทีมงานที่เชี่ยวชาญในภาษาต่าง ๆ เป็นพิเศษมากถึง 16 ภาษา
ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า
ที่มา: ไมโครซอฟท์
Qualcomm ประกาศซื้อกิจการ Cellwize Wireless Technologies ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับจัดการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้ให้บริการ ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่ Cellwize ได้รับเงินทุนมาแล้วรวม 56.5 ล้านดอลลาร์
Cellwize เป็นสตาร์ทอัพจากอิสราเอล จุดขายคือแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการ RAN หรือ Radio Access Network ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันมีการใช้งานใน 40 ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลก คิดเป็นจำนวนเซลล์ติดตั้งรวมกว่า 3 ล้านจุด