ไมโครซอฟท์อธิบายเบื้องหลังการออกแบบเมนูคลิกขวา (context menu) ของ Windows 11 ที่แตกต่างจาก Windows 10 อยู่พอสมควร การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือลดขนาดของเมนูให้สั้นลง จัดกลุ่มคำสั่งแบบเดียวกันไว้ด้วยกัน ย้ายคำสั่งที่ใช้บ่อยๆ เช่น Cut, Copy, Paste, Rename ไปไว้ด้านบนสุดของเมนู
ไมโครซอฟท์บอกว่า เมนูคลิกขวาไม่เคยถูกจัดระเบียบเลยนับตั้งแต่ Windows XP เป็นต้นมา มีหลายคำสั่งที่ไม่ค่อยมีคนใช้งาน และแอพที่ติดตั้งในระบบสามารถเพิ่มคำสั่งเข้ามาได้ไม่จำกัด
การแก้ไขของ Windows 11 จึงจัดกลุ่มคำสั่งของแอพ (app extensions) เข้าด้วยกัน และนำคำสั่งที่ไม่ค่อยมีใครใช้ไปรวมกันในกลุ่ม Show more options ที่จะโหลดเมนูเพิ่มในตอนหลัง ช่วยให้การโหลดเมนูเร็วขึ้น
ไมโครซอฟท์ประกาศนำฟีเจอร์ DirectStorage API ที่เริ่มใช้ใน Xbox Series X|S ตามด้วย Windows 11 มาใช้กับ Windows 10 ด้วย โดยใช้ได้กับ Windows 10 v1909 ขึ้นไป
DirectStorage API เป็นเทคโนโลยีด้าน I/O ที่ช่วยลดคอขวดของการดึงข้อมูลจากดิสก์ ที่จากเดิม แอพ/เกมต้องสั่งดึงข้อมูลเองตามคิว เปลี่ยนมาเป็นการเรียกผ่าน API ให้ดึงข้อมูลชิ้นเล็กๆ แต่ขนานไปพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป็นการดึงพลังของสตอเรจยุคใหม่อย่าง NVMe ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผลคือเกมโหลดเร็วขึ้นมาก
ไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลเล็กๆ ในงาน Microsoft Inspire เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า Windows 11 สำหรับภาคธุรกิจ (commercial SKU) จะใช้ธีมสีเข้ม dark mode เป็นค่าดีฟอลต์ โดยให้เหตุผลว่าผู้ใช้พีซีฝั่งธุรกิจต้องอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานานๆ จึงเลือกธีมสีเข้มเพื่อให้สบายตามากกว่า
ในหน้า Windows 11 for Business ไมโครซอฟท์ใช้ธีมสีเข้มทั้งหมด ในขณะที่หน้า Windows 11 รุ่นปกติ ก็ใช้ธีมสีสว่างทั้งหมดเช่นกัน
ทีมดีไซน์ของไมโครซอฟท์ เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังและแนวคิดการออกแบบ Windows 11 ว่าเริ่มทำในยุค COVID-19 ที่โลกเปลี่ยนไปจากเดิม กระบวนการวิจัยผู้ใช้จึงพบข้อมูลใหม่หลายอย่าง
ข่าวใหญ่ของวงการระบบปฏิบัติการในรอบเดือนที่ผ่านมาคือ การเปิดตัว Windows 11 ซึ่งเป็น Windows เวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟท์ในรอบ 6 ปี (Windows 10 เปิดตัวปี 2015)
ของใหม่ใน Windows 11 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ UI ที่เปลี่ยนไปจากเดิมพอสมควร, ฟีเจอร์ด้านเล่นเกมที่ดึงมาจาก Xbox และ Microsoft Store ตัวใหม่ที่เปิดรับแอพหลายประเภท ที่ฮือฮาคือรองรับ Android ผ่าน Amazon Appstore
การที่ Windows 11 เปิดกว้างรับแอพหลากหลายกว่าเดิมอาจเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น แต่จริงๆ แล้วไอเดียนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015 แล้วล้มเหลวมายาวนาน ก่อนจะมาสำเร็จสักทีในปี 2021
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 22000.65 ซึ่งเป็น Windows 11 รุ่นทดสอบตัวที่สอง ถัดจากตัวแรกเมื่อปลายเดือน มิ.ย. มีการเปลี่ยนแปลง UI หลายจุด
The Verge ค้นพบว่า Microsoft ปรับดีไซน์ของจอฟ้าหรือ Blue Screen of Death (BSOD) ใน Windows 11 ใหม่ โดยครั้งนี้เลิกใช้สีฟ้าเป็นพื้นหลัง เปลี่ยนมาใช้สีดำแทน ตามหน้าล็อกอออนและชัทดาวน์สีดำของ Windows 11
BSOD ถือว่าอยู่กับ Windows มานานมาก โดยเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ Windows 3.0 เป็น "สีฟ้า" ซึ่งช่วงหลัง BSOD เริ่มปรับปรุงครั้งใหญ่เมื่อ Microsoft เพิ่มหน้าเศร้าเข้ามาใน Windows 8 ปี 2012 ตามด้วยคิวอาร์โค้ดในปี 2016 ส่วน BSOD ของ Windows 11 นี้นอกจากสีแล้วส่วนอื่นก็จะยัคงเหมือน Windows 10
ไมโครซอฟท์พยายามให้ล็อกอินเข้า Windows ด้วยบัญชีออนไลน์ Microsoft Account มานานพอสมควร แต่กรณีของ Windows 10 ยังพอมีวิธีเลี่ยง เพื่อล็อกอินด้วยบัญชีแบบ local ได้บ้าง
กรณีของ Windows 11 มีคนพบว่าไมโครซอฟท์บังคับให้ใช้ Microsoft Account เท่านั้น ล่าสุดมีข้อมูลใหม่ว่าสามารถยกเว้นได้เช่นกัน แต่เฉพาะบน Windows 11 Pro ที่ราคาแพงกว่ารุ่น Home
เหตุผลที่ไมโครซอฟท์ผลักดันการใช้บัญชีออนไลน์สุดตัว คงเป็นเพราะระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ มีฟีเจอร์ที่ต้องซิงก์กับคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น OneDrive หรือการซิงก์ค่าบางอย่าง) อย่างไรก็ตาม การตื่นตัวในแง่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ก็กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายๆ คนไม่อยากใช้บัญชีออนไลน์เช่นกัน
Windows 11 Insider Preview (build 22000.51) เปิดให้ดาวน์โหลดทดสอบผ่าน Dev channel บนโครงการ Windows Insider เมื่อสิ้นเดือนที่ผ่านมา โดยเวอร์ชั่นนี้จะไม่มี hardware checks หรือการตรวจสอบว่าฮาร์ดแวร์ของผู้ใช้รองรับ Windows 11 หรือไม่ ทำให้มีผู้ใช้ทดลองนำ Windows 11 ไปรันบนอุปกรณ์แปลกๆ ทั้ง Microsoft Lumia 950XL และ Raspberry Pi
ผู้ใช้ Gustave Monce (@gus33000) บนทวิตเตอร์ โชว์วิดีโอทดสอบ Windows 11 บน Nokia Lumia 950XL มือถือ Windows Phone ที่วางขายในปี 2015 พบว่าพอใช้งานได้ แม้จะช้าและสัมผัสหน้าจอยาก แต่ Snap Layout ยังสามารถจัดเรียงหน้าจอเมื่อเปลี่ยนมือถือจากแนวตั้งเป็นแนวนอนได้ และโทรออกได้
ไมโครซอฟท์เปิดเผยฟีเจอร์ใหม่อีกอย่างของ Windows 11 คือ Dynamic refresh rate (DRR) ที่ตัวระบบปฏิบัติการจะปรับรีเฟรชเรตของหน้าจอ ตามประเภทหรือรูปแบบแอปพลิเคชันที่ใช้งาน เพื่อประหยัดพลังงานลง
ฟีเจอร์นี้ต้องใช้กับหน้าจอที่รองรับ Variable refresh rate (VRR) โดยมีอัตรารีเฟรชอย่างน้อย 120 Hz และตัวไดรเวอร์การ์ดจอ (WDDM 3.0) ต้องซัพพอร์ตฟีเจอร์นี้ด้วย ซึ่งไมโครซอฟท์บอกว่ากำลังร่วมกับผู้ผลิตการ์ดจอเตรียมไดรเวอร์อยู่
ไมโครซอฟท์โชว์อินเทอร์เฟซใหม่ของ Microsoft Office ต้อนรับ Windows 11 (แต่ก็ใช้กับ Windows 10 ได้ด้วย) การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เห็นได้ทันทีคือ โทนสีสว่างขึ้นกว่าเดิม (สำหรับ light theme) โทนสีออกแนวพาสเทล เปลี่ยนมาใช้ไอคอนชุดใหม่ตามแนวทาง Fluent Design และขอบมุมต่างๆ เปลี่ยนมาโค้งมน
Office ดีไซน์ใหม่ยังคงใช้แถบเครื่องมือ Ribbon เหมือนเดิม (ยกเว้น Outlook ที่เป็นแถบเครื่องมือแถวเดียว) แต่ปุ่ม Quick Access Toolbar ที่มุมซ้ายบนของหน้าต่างจะถูกซ่อนเป็นค่าดีฟอลต์ (เปลี่ยนกลับคืนได้)
Office แบบใหม่มีธีมทั้งหมด 4 แบบคือ black, dark grey, white, colorful โดยจะปรับมืด-สว่างตามธีมสีของ Windows 11 ให้อัตโนมัติ
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือตัวใหม่ ARM64EC (“Emulation Compatible”) มาเพื่อแก้ปัญหาการนำแอพ x86/x64 ไปรันบน Windows 11 on ARM
เดิมทีการรันแอพ x64 บน ARM ทำได้ 2 วิธีคือ คอมไพล์ใหม่เป็น ARM ทั้งหมด (ประสิทธิภาพดี แต่เสียแรงทำ) หรือรันบนอีมูเลเตอร์ (ประสิทธิภาพไม่ดี แต่รันได้เลย)
ปัญหาคือแอพที่ใหญ่และซับซ้อนมากๆ อาจมีไลบรารีหรือปลั๊กอินจากบริษัทอื่นๆ ที่ยังไม่รองรับ ARM ทำให้การคอมไพล์ใหม่ทั้งหมดเป็นไปไม่ได้เลย ไมโครซอฟท์จึงออก ARM64EC เพื่อแก้ปัญหาแบบไฮบริด ให้ไบนารี x86 และ ARM ผสมผสานกันได้
ไมโครซอฟท์ออกมาอธิบายเรื่องสเปกขั้นต่ำของ Windows 11 เพิ่มเติมอีกครั้ง และเปิดทางว่า "อาจ" เปิดให้ซีพียูรุ่นเก่าลงมาคือ Intel Core 7th Gen กับ AMD Zen 1 มาใช้งานได้ด้วย โดยจะขอทดสอบกับกลุ่ม Insider ให้มั่นใจก่อน แล้วค่อยประกาศข้อมูลอีกครั้ง
ไมโครซอฟท์ยังถอดแอพ PC Health Check ออกก่อนชั่วคราว เพราะพบว่าให้ข้อมุลไม่เที่ยงตรงพอ ว่าทำไมพีซีเครื่องนั้นไม่สามารถอัพเกรดเป็น Windows 11 ได้ สร้างความสับสนให้ผู้ใช้
ส่วนเหตุผลเรื่องสเปกขั้นต่ำของ Windows 11 ไมโครซอฟท์อธิบายว่าอิงจากหลักการ 3 ข้อคือ
ไมโครซอฟท์เปิดทดสอบ Windows 11 Insider Preview ตัวแรกแล้ว โดยเป็น Dev Channel Build 22000.51
นอกจากฟีเจอร์ที่ประกาศไปตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ไมโครซอฟท์ยังยืนยันว่ามี File Explorer ตัวใหม่ที่มีแถบเครื่องมือ command bar แบบใหม่ และ Settings ดีไซน์ใหม่ที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบ 2-pane มีแถบนำทางด้านซ้ายมือ มีตัวควบคุมขนาดใหญ่ด้านบนของแต่ละหน้า (เรียกว่า hero control)
หน้าจอติดตั้งของ Windows 11 ก็เปลี่ยนใหม่หมด เลิกใช้หน้าจอสีเดียวของ Windows 10 เปลี่ยนมาใช้ไอคอนสีสันสดใส มีแอนิเมชันสวยงาม
ผู้ที่ต้องการทดสอบต้องสมัครเข้าร่วมโครงการ Windows Insider ตามปกติ (สมัครได้จาก Settings ของ Windows 10) และเปลี่ยนการทดสอบเป็น Dev Channel เพื่อดาวน์โหลด
หนึ่งในประเด็นสำคัญของตัว Windows 11 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่คือ ร้านค้าแอปหรือ Microsoft Store ที่ไม่หักส่วนแบ่งรายได้จากนักพัฒนาเลย หากทำระบบจ่ายเงินของตัวเอง และยังใช้แนวคิด "สโตร์ซ้อนสโตร์" ที่ไม่ว่าจะค้นหาแอปใดบน Microsoft Store ก็จะเจอช่องทางดาวน์โหลดแม้แอปนั้นไม่ได้วางขายบน Microsoft Store ก็ตาม นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังพัฒนาฟีเจอร์ให้ทิปโดยตรงสำหรับนักพัฒนาใน Windows 11 ด้วย
ในช่วงท้ายของพรีเซนเทชั่น Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์พูดถึงตัว Windows 11 ว่าจะกลายเป็นแพลตฟอร์มของครีเอเตอร์ และมีการวิจารณ์แอปเปิลเป็นนัย แต่ไม่ได้พูดตรงๆ
เก็บตกประเด็น Windows 11 เพิ่มเติม ร้านขายแอพ Microsoft Store เวอร์ชันใหม่เปิดกว้างให้มีระบบจ่ายเงินของตัวเองได้ และมีแนวคิด "สโตร์ซ้อนสโตร์" อย่างกรณีของแอพ Android ที่ใช้ Amazon Appstore จะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์จาก Amazon โดยตรงแทน (ตัว Microsoft Store ทำหน้าที่เป็นเหมือนหน้ากากเท่านั้น จากภาพจะเห็นปุ่มเขียนว่า Get from Amazon Appstore)
เรื่องนี้ Panos Panay หัวหน้าทีม Windows ให้สัมภาษณ์ว่าวิสัยทัศน์ของเขาคือ ต้องการสร้างสโตร์ที่หาอะไรก็เจอ พิมพ์ชื่อแอพใดๆ แล้วดาวน์โหลดแอพนั้นได้เสมอ
Panos Panay หัวหน้าทีม Windows ให้สัมภาษณ์กับ The Verge ถึงเบื้องหลังการพัฒนา Windows 11 และการยกเลิก Windows 10X ว่าปัจจัยสำคัญมาจาก COVID-19 ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไปมาก
Panos เล่าว่าเดิมทีไมโครซอฟท์กำลังทำอุปกรณ์สองจออย่าง Surface Neo ที่รัน Windows 10X อยู่เลย (เปิดตัว ต.ค. 2019) เพราะกรอบคิดในตอนนั้นคือ "ทำงานได้ระหว่างเดินทาง" (the way we work on the go) แต่ไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัว Surface Neo โลกก็เจอกับโรคระบาดใหญ่ทำให้ทุกคนหยุดเดินทาง กลับมาทำงานผ่านพีซีกันหมด ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องกลับมาคิดใหม่
จากประเด็น Windows 11 รองรับแอพ Android โดยมีรายละเอียดออกมาเพิ่มเติมว่า รันผ่าน Windows Subsystem for Android แบบเนทีฟ และมี Intel Bridge ช่วยในการรันแอพที่คอมไพล์มาเป็น Arm
คำถามถัดมาที่ทุกคนอยากรู้คือ Windows 11 รองรับการติดตั้งไฟล์ APK โดยตรง (sideloading) ด้วยหรือไม่
ของใหม่ใน Windows 11 คือ Microsoft Store ตัวใหม่ ที่รองรับแอพประเภทอื่นๆ นอกจาก UWP ด้วย เช่น win32, .NET, PWA ฯลฯ ตามยุทธศาสตร์เปิดกว้างให้มีแอพจำนวนมากๆ บนสโตร์
ไมโครซอฟท์จึงเปิดตัว Windows App SDK สำหรับการทำแอพลง Windows 11 มาพร้อมกัน แต่เอาจริงๆ มันไม่ใช่ของใหม่นัก เพราะมันคือชื่อใหม่ของ Project Reunion ซึ่งเป็น SDK ที่ไมโครซอฟท์พยายามรวม win32/.NET กับ UWP เข้าด้วยกัน เปิดตัวครั้งแรกช่วงกลางปี 2020
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับ The Wall Street Journal (WSJ) หลังงานเปิดตัว Windows 11 โดยพูดถึงคุณสมบัติใหม่ต่าง ๆ ที่ใส่เข้ามาสำหรับผู้ใช้งาน
ในช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์ Joanna Stern นักข่าวของ WSJ ถามว่าแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ มีแนวทางที่ต่างจากแอปเปิลอย่างไร ซึ่ง Nadella บอกว่า สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือการให้ผู้พัฒนารายอื่น สร้างมาร์เกตเพลสขึ้นมาได้ ไมโครซอฟท์เองก็มีมาร์เกตเพลสที่ยอดเยี่ยม แต่ก็ต้อนรับรายอื่นเช่นกัน เหมือนที่เรามี Teams แต่ก็เปิดให้มี Zoom หรือ Slack ได้
David Weston หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัย OS ของไมโครซอฟท์ เขียนบล็อกอธิบายเหตุผลที่ Windows 11 ต้องการชิป TPM และซีพียูรุ่นใหม่ ว่ามาจากแง่มุมของความปลอดภัย
Weston อ้างถึงแนวคิด Secured-Core PC ที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวในปี 2019 ว่าเป็นการยกระดับความปลอดภัย โดยใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการทำงานร่วมกัน ซึ่งชิป Trusted Platform Module (TPM) ที่ใช้เก็บกุญแจเข้ารหัสต่างๆ ในระดับฮาร์ดแวร์มีความสำคัญมาก ช่วยป้องกันไม่ให้มัลแวร์หรือแฮ็กเกอร์เข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ หากเจาะระบบได้
ประเด็นที่สร้างความสับสนไม่น้อยในเรื่องการอัพเกรดเป็น Windows 11 คือสเปกฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำที่ดูจะค่อนข้างจุกจิก ทั้งรุ่นของซีพียูที่ Microsoft แนะนำและเรื่อง TPM (Trusted Platform Module) ที่คลุมเครือว่าเวอร์ชันไหนใช้ได้บ้าง (อ่านข่าวประกอบ) โดย Microsoft เองก็ได้ปล่อยโปรแกรม PC Health Check ออกมาให้นำไปสแกนว่าคอมพิวเตอร์ของตนจะรัน Windows 11 ได้หรือไม่ แต่ก็ยังสร้างความสับสนอีกว่าผลสแกนออกมาไม่ผ่านทั้งที่ผู้ใช้คิดว่าเครื่องตนน่าจะรันได้
ประเด็นเรื่อง สเปกขั้นต่ำของ Windows 11 สร้างความสับสนให้ผู้ใช้อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องซีพียูที่รองรับ และชิป TPM (Trusted Platform Module) สำหรับความปลอดภัย
คำอธิบายของไมโครซอฟท์ตามช่องทางต่างๆ เริ่มมีรายละเอียดออกมามากขึ้น ดังนี้
ในอิมเมจ Windows 11 ที่หลุดออกมาตอนแรก มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ Start Menu แต่ยังใช้ชิ้นส่วนเดิมของ Windows 10 คือ Settings และ File Explorer อาจสร้างความผิดหวังให้กับผู้ใช้ว่า ไม่ยอมเปลี่ยนสักที
แต่ในงานเปิดตัว Windows 11 เมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์มีโชว์หน้าตาของ Settings และ File Explorer ตัวใหม่แบบเร็วๆ เป็นสัญญาณว่าเปลี่ยนใหม่แน่นอน
หน้าตาของ Settings ตัวใหม่จะต่างจากของ Windows 10 อยู่บ้าง เพราะเปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เฟซแบบ 2-pane ด้านซ้ายเป็นหมวดการตั้งค่าตั้งแต่ต้น ส่วนด้านขวาเป็นหมวดย่อยเรียงลงไปอีกทีหนึ่ง
ประเด็น Windows 11 รองรับแอพ Android ยังมีรายละเอียดตามมาอีกเรื่อยๆ ข้อมูลสำคัญมาจาก Kevin Gallo หัวหน้าฝ่าย Windows Developer Platform อธิบายเรื่องนี้ไว้ในไลฟ์สำหรับนักพัฒนาแอพ
Gallo บอกว่า Windows 11 มีสิ่งที่เรียกว่า Windows Subsystem for Android ที่ใช้หลักการทำงานเหมือน Windows Subsystem for Linux (WSL) ในปัจจุบัน นั่นคือแปลงคำสั่งของเคอร์เนลลินุกซ์มาเป็นคำสั่งของเคอร์เนลวินโดวส์