การเปลี่ยนแปลงของ Windows 11 ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดย่อมหนีไม่พ้น Start Menu ที่ย้ายมาอยู่ตรงกลาง (ย้ายไปชิดขอบซ้ายได้) แต่ส่วนอื่นๆ ของ Start Menu และ Task Bar กลับปรับแต่งได้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับ Windows 10 แถมยังถูกตัดฟีเจอร์ออกไปอีกพอสมควร (เช่น Live Tiles) ซึ่งผู้ใช้ Windows 10 จำนวนไม่น้อยย่อมขัดใจเมื่ออัพเกรดมาเป็น Windows 11
ไมโครซอฟท์ยังไม่ได้ออกมาพูดถึงแผนว่าจะปรับเปลี่ยน Start Menu อย่างไรในอนาคต ทางออกของเรื่องนี้อาจเป็นโปรแกรมปรับแต่งอย่าง Start11 ของบริษัท Stardock ที่สร้างชื่อมาตั้งแต่ Start8 ในยุค Windows 8 ที่มีปัญหาเรื่อง Start Menu/Screen เช่นกัน
เว็บไซต์ PCGamer ลองทดสอบการเล่นเกมบน Windows 11 แล้วพบว่าฟีเจอร์ความปลอดภัย Virtualization-Based Security (VBS) ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเกม ทำเฟรมเรตลดลงเฉลี่ยประมาณ 25%
Virtualization-Based Security (VBS) เป็นชุดฟีเจอร์ความปลอดภัยที่อิงกับ hypervisor มีมาตั้งแต่ Windows 10 แต่ไม่ถูกเปิดใช้เป็นดีฟอลต์ (อยู่ในหมวด Device Security) หากอัพเกรดเครื่องจาก Windows 10 เป็น Windows 11 ก็จะยังไม่เปิดใช้งาน แต่ถ้าเป็น Windows 11 ที่มาพร้อมเครื่อง OEM จะถูกเปิดเป็นดีฟอลต์
Lansweeper บริษัทซอฟต์แวร์จัดการเครื่องพีซีในองค์กร (IT Asset Management) สำรวจความพร้อมของพีซีองค์กรจำนวน 30 ล้านเครื่อง ที่ระบบของตัวเองมอนิเตอร์อยู่ พบว่ามีพีซีถึง 55% ที่สเปกไม่ผ่านความต้องการขั้นต่ำของ Windows 11 และไม่สามารถอัพเกรดได้
Lansweeper บอกว่าปัจจัยสำคัญมีอยู่ 3 เรื่องคือ ซีพียูต้องใช้ตามรุ่นที่กำหนด, แรมต้องอย่างน้อย 4GB และตัวปัญหาคือต้องมีชิป TPM 2.0 ด้วย
ไมโครซอฟท์เปิดรับแอพขึ้น Microsoft Store ของ Windows 11 เตรียมความพร้อมก่อนวันปล่อยอัพเดตจริง 5 ตุลาคม 2021
ไมโครซอฟท์เปิดรับแอพจากนักพัฒนาบางรายมาล่วงหน้าแล้ว ปัจจุบัน Microsoft Store ของ Windows 11 มีแอพดังๆ อย่าง Discord, Zoom, KakaoTalk, VLC, TeamViewer, Adobe Reader DC, LibreOffice เบราว์เซอร์คู่แข่ง Opera, Yandex รวมถึงแอพของไมโครซอฟท์เองอย่าง Visual Studio Code
แอพที่รองรับตอนนี้ยังเป็นแอพเดสก์ท็อปฝั่งวินโดวส์ และเว็บแอพในรูปแบบ PWA ส่วนแอพ Android ที่จะเชื่อมจาก Amazon Appstore ยังต้องรอกันไปก่อน
HP เปิดตัวแท็บเล็ต Windows 11 รุ่นแรกของบริษัทในชื่อว่า HP 11 inch Tablet PC เป็นแท็บเล็ตหน้าจอ 11" IPS 2160x1440 พิกเซล ใช้กล้อง 13MP ที่หมุนเป็นได้ทั้งกล้องหน้าและกล้องหลัง
HP 11 ยังมีขาตั้ง kickstand ที่วางเครื่องได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง มีอุปกรณ์เสริมเป็นคีย์บอร์ดแม่เหล็กที่ใช้ได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้งเช่นกัน และใช้กับปากกา HP Rechargeable Tilt Pen ได้
สเปกคร่าวๆ คือซีพียู Pentium Silver N6000, แรม 4GB, สตอเรจ 128GB SSD, น้ำหนัก 660 กรัม
NVIDIA ออกไดรเวอร์จีพียู GeForce สำหรับ Windows 11 อย่างเป็นทางการ เตรียมรับ Windows 11 ตัวจริงที่จะปล่อยในวันที่ 5 ตุลาคมนี้
ไดรเวอร์ตัวนี้รองรับ DirectX 12 Ultimate ซึ่งมีใช้ทั้งบน Windows 10/11, รองรับฟีเจอร์ Auto HDR ของ Windows 11, ฟีเจอร์การจัดการหน้าต่างและหลายหน้าจอของ Windows 11, การรัน CUDA บน Windows Subsystem for Linux (WSL)
Microsoft เริ่มปล่อยแอป Photos ดีไซน์ใหม่สำหรับ Windows 11 แล้ว โดยตัวแอป Photos ดีไซน์ใหม่จะออกแบบมาในลักษณะเดียวกับแอปอื่น ๆ บน Windows 11
จุดเปลี่ยนสำคัญของแอป Photos ดีไซน์ใหม่คือเพิ่ม filmstrip ด้านล่างที่แสดง thumbnail เพื่อให้สามารถกระโดดไปมาระหว่างรูปได้ หรือจะเลือกหลายรูปเพื่อแสดงเป็น multi-view ที่แสดงรูปหลายรูปที่เราเลือกไว้บนหน้าต่างเดียวก็ได้
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 22000.194 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ การติดตั้ง Windows 11 ใน virtual machine จะเช็คสเปกเหมือนกับการติดตั้งบนฮาร์ดแวร์จริงทุกประการ นั่นแปลว่า VM ต้องรองรับ TPM ด้วยเช่นกัน (ผ่านฟีเจอร์ vTPM)
ไมโครซอฟท์บอกว่า Windows 11 สามารถทำงานได้บน VMware และ Oracle VirtualBox ตราบเท่าที่ VM ผ่านสเปกขั้นต่ำของ Windows 11 ส่วนกรณีการรันบน Hyper-V ของไมโครซอฟท์เอง จะต้องสร้าง VM ที่เป็น Generation 2 ก่อน
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ยืนยันกับ The Register ว่า Windows 11 ไม่รองรับการทำงานบนชิป Apple M1 ทั้งแบบเนทีฟ และผ่านระบบ virtualization อย่าง Parallels แต่ก็ไม่ได้อธิบายเหตุผล (ไมโครซอฟท์ใช้คำว่า supported scenario ซึ่งอาจหมายถึงใช้ได้ แต่ไม่ซัพพอร์ตอย่างเป็นทางการ)
ฝั่งของ Parallels ยืนยันว่าสามารถทำได้ โดยปัจจุบันวิธีการคือต้องผ่าน Windows Insider ก่อน (รายละเอียด) แต่ยังไม่มีข้อมูลว่า หากไมโครซอฟท์ไม่ออกอิมเมจ Windows 11 รุ่น GA ที่เป็นสถาปัตยกรรม Arm64 ให้ใช้งานแล้ว Parallels จะทำอย่างไร
Windows 11 นอกจากออกแบบหน้าจอใน Dark Mode ใหม่แล้ว ยังออกแบบเสียงแจ้งเตือนใหม่ที่ฟังสบายหูและกลมกล่อมกว่า Light Mode เพื่อให้สามารถใช้งานได้ผ่อนคลายมากขึ้น โดยไม่พลาดการแจ้งเตือนสำคัญ
เว็บไซต์ Ars Technica วิเคราะห์ว่าข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์ของ Windows 11 ที่จำกัดรุ่นซีพียูอย่างมาก เหตุผลหลักจริงๆ น่าจะมาจากฟีเจอร์ชื่อ mode-based execution control (MBEC) ที่เราไม่รู้จักกันมากนัก ไม่ใช่เรื่อง TPM ที่ตกเป็นเป้าโจมตีสักเท่าไร
ในโพสต์อธิบายเหตุผลรอบล่าสุดของไมโครซอฟท์ ระบุปัจจัยด้านฮาร์ดแวร์ไว้ทั้งหมด 3 ข้อคือ
ตามที่ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows 11 จะเริ่มทยอยออกมาให้อัพเดตกันตั้งแต่ 5 ตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ก็ได้ระบุว่าคุณสมบัติการใช้งานแอป Android ยังไม่มีออกมาในอัพเดตรอบแรกนี้
Aaron Woodman ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์อธิบายในบล็อกว่า Windows 11 ที่รองรับ Android ผ่านความร่วมมือกับ Intel และ Amazon นั้น จะเพิ่มเติมในเดือนถัด ๆ ไป ของการอัพเดต ซึ่งอาจตีความได้ว่า Windows 11 ที่รองรับแอป Android น่าจะได้เห็นเร็วที่สุดก็ปี 2022
ไมโครซอฟท์ประกาศปล่อย Windows 11 วันที่ 5 ตุลาคมนี้ โดยจะปล่อยเป็นอัพเดตเป็นกลุ่มๆ กลุ่มอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่เข้าข่ายจะได้รับอัพเดตก่อน โดยคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่เข้าข่ายได้รับอัพเกรด น่าจะได้รับครบภายในกลางปี 2022
ประกาศครั้งนี้ไมโครซอฟท์พยายามบอกผู้ใช้ว่าไม่ต้องรอซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่พร้อม Windows 11 เพราะเครื่องส่วนใหญ่จะได้รับอัพเกรดฟรีในที่สุด ส่วนเครื่องที่ยังไม่เข้าข่าย ไมโครซอฟท์จะปล่อยโปรแกรม PC Health Check ให้ทุกคนตรวจสอบสเปคสุดท้ายว่าอัพเกรดได้หรือไม่ สำหรับเครื่องที่ไม่ได้รับอัพเกรดฟรี จะยังได้รับซัพพอร์ต Windows 10 ไปจนถึงตุลาคม 2025
เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญจากข่าว ไมโครซอฟท์ไม่บล็อคการติดตั้ง Windows 11 บนเครื่องตกรุ่น แต่แบกรับความเสี่ยงกันเอง โดยโฆษกของไมโครซอฟท์แจ้งกับ The Verge ว่าพีซีที่สเปกไม่ผ่านเกณฑ์ จะไม่สามารถอัพเดตผ่าน Windows Update ได้ และการอัพเดตแพตช์-ไดรเวอร์ "อาจ" ถูกระงับเช่นกัน
unsupported PCs won’t be entitled to receive Windows Updates, and that even security and driver updates may be withheld.
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากไมโครซอฟท์ว่า ตกลงนโยบายการอัพเดตที่แท้จริงเป็นอย่างไรกันแน่ และยังไม่มีข้อมูลเรื่องนี้บนเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์โดยตรง มีแค่การให้ข้อมูลของโฆษกกับ The Verge เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลเรื่องการติดตั้ง Windows 11 ที่เจอข้อกำหนดเรื่องสเปกฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำ ดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มรายชื่อซีพียูที่รองรับ Windows 11 ตามที่เคยสัญญาไว้ว่าจะกลับไปทบทวนและทดสอบเพิ่ม
อย่างไรก็ตาม ซีพียูรุ่นที่ซัพพอร์ตเพิ่มเติมมีเพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้นคือ
Steam Deck เครื่องเล่นเกมพกพาจาก Valve ที่กำลังเป็นกระแสจากความเป็นเกมมิ่งพีซีพกพาประสิทธิภาพดีในราคาที่เอื้อมถึง ซึ่งแม้ว่าตัว Steam Deck จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ SteamOS 3.0 ที่เบื้องหลังคือ Linux ที่สามารถเล่นเกมฝั่ง Windows ได้ผ่านเครื่องมือของ Valve ที่มีชื่อว่า Proton
แต่สำหรับเกมเมอร์ที่สนใจใช้ Steam Deck เพื่อเล่นเกมจากสโตร์อื่นๆ นอกเหนือจากบน Steam แล้วการติดตั้ง Windows ก็ยังดูเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และสำหรับท่านที่รอฟังข่าวคราวเรื่องความเข้ากันได้กับ Windows ตอนนี้ทาง Valve ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 22000.160 มีของใหม่ที่สำคัญ 2 อย่าง
ที่มา - Microsoft
Panos Panay หัวหน้าทีม Windows โชว์หน้าตาของ Paint เวอร์ชันใหม่ที่จะมาใน Windows 11
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือรองรับ dark mode แล้ว หน้าตาโค้งมนเข้าชุดกับธีมของ Windows 11 มากขึ้น แต่ภาพรวมของเมนูและแถบเครื่องมือยังคล้ายของเดิม ยังใช้แนวทาง Ribbon แบบเดิม แม้แอพบางตัวของไมโครซอฟท์อย่าง File Explorer เริ่มหนีจาก Ribbon แล้ว
ไมโครซอฟท์ออก Windows 11 Insider Preview Build 22000.132 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญกับแอพของวินโดวส์ 3 ตัวคือ Snipping Tools, Calculator, Mail & Calendar
แอพจับหน้าจอ Snipping Tool ถูกเปลี่ยนใหม่ (อีกแล้ว) หลังจากยุค Windows 10 มีแอพจับหน้าจอสองตัวให้งงเล่นๆ คือ Snipping Tool และ Snip & Sketch
รอบนี้ไมโครซอฟท์พัฒนาแอพ Snipping Tool ตัวใหม่มาใช้แทน ปรับหน้าตาให้เข้าสมัยกับ Windows 11, รองรับ dark mode, นำฟีเจอร์จาก Snip & Sketch อย่างปุ่มลัด Win+Shift+S และการแก้ไข-เขียนบนภาพที่ดีขึ้น
Parallels (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ Corel) เปิดตัว Parallels Desktop 17 for Mac โดยมีฟีเจอร์ใหม่สำคัญคือรองรับระบบปฏิบัติการใหม่ macOS 12 Monterey และพร้อมรับ Windows 11 ในอนาคต
Parallels ระบว่าตอนนี้รองรับ Windows 11 Insider รุ่นทดสอบแล้ว โดยวิธีใช้งานยังต้องใช้วิธีสร้างอิมเมจ Windows 10 Insider ก่อนแล้วค่อยอัพเกรดเป็น Windows 11 Insider แต่ในอนาคตเมื่อ Windows 11 ออกตัวจริงก็จะปรับปรุงให้รองรับ Windows 11 โดยตรง
หนึ่งในฟีเจอร์น่าสนใจของ Windows 11 คือ Focus Sessions เป็นฟังก์ชั่นช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานมากขึ้น โดย Focus Sessions มีรูปแบบเป็นภารกิจให้เราทำให้สำเร็จในแต่ละวัน เช่นมีสมาธิจดจ่อกับการทำรายงาน 30 นาทีโดยไม่วอกแวก ในพาเนลมีทั้งนาฬิกาจับเวลา รายการสิ่งที่ต้องทำ ความคืบหน้าในการมีสมาธิจดจ่อกับงาน
Focus Sessions ยังสามารถทำงานร่วมกันกับ Spotify สามารถกดเล่นเพลงในเพลย์ลิสต์ที่ช่วยให้เรามีสมาธิได้จากพาเนลบนหน้าจอ Windows 11 และสามารถกดจับเวลาที่เราต้องการสมาธิสูงสุดในการทำงานได้ด้วย
Asus เริ่มออกอัพเดต BIOS ให้กับบนเมนบอร์ดเวอร์ชั่นต่างๆ เพื่อรองรับ Windows 11 และเปิดใช้งานชิป TPM (Trusted Platform Module) เช่น PTT ของฝั่ง Intel และ PSP fTPM ของฝั่ง AMD โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถดูรายการเมนบอร์ดที่รองรับ TPM สำหรับ Windows 11 แบบเต็มได้ ที่ลิงก์นี้
Windows 11 ต้องการชิป TPM ขั้นต่ำ (hard floor) เวอร์ชัน 1.2 แต่แนะนำ (soft floor) เป็นเวอร์ชัน 2.0 แปลว่าซีพียูที่ไม่มี TPM จะไม่สามารถใช้งาน Windows 11 ได้ แต่ซีพียูส่วนใหญ่ที่มีอายุ 5-7 ปี จะมีชิป TPM มาด้วยอยู่แล้ว แค่อาจต้องเปิดใช้งานใน BIOS ด้วยตัวเองเท่านั้น
อย่างที่ทราบกันว่าไมโครซอฟท์กำหนดฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำที่จะสามารถลงหรืออัพเกรด Windows 11 เป็นประเด็นที่ทำให้ไมโครซอฟท์ถูกวิจารณ์อย่างมาก
ล่าสุดเว็บไซต์ Notebook Check ไปเจอวิดีโอตัวหนึ่งของไมโครซอฟท์ Windows 11 upgrade paths and deployment tools มีคอมเม้นท์วิจารณ์เรื่อง Windows 11 มากมาย แต่ไมโครซอฟท์ลบ และปิดไม่ให้คอมเม้นท์แล้ว
ประเด็นเรื่องฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำของ Windows 11 ทำให้ไมโครซอฟท์ถูกวิจารณ์อย่างมาก และมีคนพบว่าการแฮ็กค่า registry บางอย่างสามารถข้ามการเช็ค TPM ได้
ล่าสุด Aria Carley ทีมงานไมโครซอฟท์ตอบคำถามผ่านรายการ Ask Microsoft Anything อธิบายว่าวิธีการแฮ็ก registry หรือ group policy จะไม่สามารถใช้งานได้ใน Windows 11 ตัวจริง เครื่องที่ไม่ผ่านสเปกฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำจะถูกบล็อคไม่ให้อัพเกรดเป็น Windows 11
เธอยอมรับว่ามันแย่ที่พีซีบางเครื่องจะไม่ได้อัพเกรดเป็น Windows 11 ("we know it sucks") แต่ยืนยันเหตุผลของการกำหนดฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำ เพื่อให้ประสบการณ์และความปลอดภัยที่ดี