Gogolook บริษัท TrustTech ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “คอนเทนต์เช็กเกอร์ Content Checker” ตรวจสอบข้อความหลอกลวงในรูปภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อความทาง SMS หรือคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย โดยใช้ Whoscall AI วิเคราะห์ภาพ และแจ้งผลทันที
Whoscall ใช้ AI และฐานข้อมูลที่แพลตฟอร์มมีอยู่ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ข้อความ SMS เว็บไซต์ ข้อมูลสาธารณะ และรายงานจากผู้ใช้งาน เพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเปรียบเทียบเนื้อหาในภาพที่ผู้ใช้อัปโหลด กับความเสี่ยงในการหลอกลวงเท่านั้น ไม่มีการนำข้อมูลไปใช้ในส่วนอื่น ๆ แต่อย่างใด
โดยขั้นตอนการใช้งาน มีดังนี้:
Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดรายงานประจำปี 2024 วิเคราะห์สถานการณ์กลโกงของมิจฉาชีพตลอดปี จากจำนวนผู้ใช้งาน 25 ล้านรายในไทยพบการหลอกลวง (สแกม) ผ่านการโทรและ SMS รวมกัน 168 ล้านครั้ง หรือเพิ่มขึ้นกว่า 112% สูงสุดในรอบ 5 ปี
สำหรับจำนวนการโทรหลอกลวงอยู่ที่ 38 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 85% ซึ่งมาจากการหลอกขายของ การแอบอ้างเป็นบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ การหลอกทวงเงิน การหลอกว่าเป็นหนี้ และการหลอกว่ามีเงินกู้อนุมัติง่าย
บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย จำกัด เจ้าของแอพ Whoscall เปิดตัวบริการ Whoscall Verified Business Number (VBN) ให้ภาคธุรกิจมายืนยันตัวตนว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ของแท้ขององค์กร ไม่ใช่เบอร์หลอกลวง
นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย บอกว่าผู้ใช้โทรศัพท์กว่า 60% ไม่รับสายเบอร์แปลก ทำให้ธุรกิจพลาดโอกาสในการติดต่อกับลูกค้า แต่ถ้าเบอร์นั้นยืนยันตัวตนผ่านบริการ Verified Business Number จะแสดงชื่อธุรกิจ โลโก้ วัตถุประสงค์ของการโทร และเครื่องหมายว่าตรวจสอบแล้วเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจ
Gogolook บริษัท TrustTech ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ประกาศตั้งสำนักงานใหญ่แห่งที่ 2 ในไทย เพื่อขยายธุรกิจทั่วภูมิภาค (Dual HQ)
Gogolook มีสำนักงานใหญ่แห่งแรกอยู่ในไต้หวัน ซึ่งงานหลักจะเน้นไปที่การดูแลผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัท ส่วนสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจและการทำการตลาดเป็นหลัก โดยในอนาคตมีแผนขยายทีมผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีในไทยด้วย
Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser
จุดมุ่งหมายของรายงานนี้คือการเผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงาน เช่น กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย 89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง
Whoscall ร่วมกับกับภาคีภาครัฐและเอกชน 11 ราย เปิดตัว Scam Alert ฟีเจอร์ใหม่บน Whoscall ซึ่งเป็นฐานข้อมูลรวมศูนย์ ที่จะเตือนภัยมิจฉาชีพจากหน่วยงานรัฐ รวมถึงข้อมูลเตือนภัยกลโกง สามารถใช้งานได้ทั้งลูกค้าฟรีและพรีเมี่ยม โดยแบ่งเป็น 2 ฟีเจอร์หลักๆ
จากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ล่าสุดของ บช.สอท. ระหว่างเดือน มีนาคม 2565 - มิถุนายน 2567 เผยให้เห็นข้อมูลน่าสนใจคือ คนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพมากกว่า 575,500 คดี
มูลค่าความเสียหายสะสมกว่า 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยมูลค่าความเสียหายวันละ 80 ล้านบาท 64% เกิดขึ้นกับกลุ่มเพศหญิงวัยทำงานตอนกลางจนถึงวัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 30 - 60 ปีขึ้นไป สูงถึงกว่า 248,800 คดี
หอการค้าไทยร่วมมือกับบริษัท Gogolook (โกโกลุก) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เพิ่มฟีเจอร์ Verified Business Number หรือฟีเจอร์ให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถลงทะเบียนยืนยันเบอร์โทรศัพท์เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการคุยกับลูกค้าที่อาจจะเลือกไม่รับเบอร์แปลกเป็นการป้องกันมิจฉาชีพ
ทางหอการค้าไทยและ Gogolook ระบุว่าในตอนนี้ผู้ใช้โทรศัพท์กว่า 60% เลือกที่จะไม่รับเบอร์แปลกเนื่องจากกลัวว่าจะเป็นมิจฉาชีพ การเพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวจะเข้ามาช่วยลดอัตราการปฏิเสธการรับสายของลูกค้าให้กับทางธุรกิจต่าง ๆ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจได้
Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน เผยรายงานประจำปี 2566 เพื่อศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และลิงก์จากข้อความ พบมิจฉาชีพก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับข้อความหลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม, ลิงก์ขอล็อกอินปลอม, การดาวน์โหลดมัลแวร์อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง
จากรายงานประจำปี 2566 พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ
บริษัท Gogolook เจ้าของแอพ Whoscall ออกรายงานประจำปี 2566 สรุปสถิติว่ามิจฉาชีพหลอกลวงคนไทยผ่านทางโทรศัพท์และข้อความ SMS รวมทั้งหมด 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565
หากแยกตามชนิดของการหลอกลวง
กรณีของข้อความหลอกลวง คนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัยเฉลี่ย 20.3 ข้อความ มากที่สุดในเอเชีย โดยอันดับสองคือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ
ธนาคารไทยพาณิชย์จัดทำโครงการ แก้เกมกลโกง "รู้ตัว! ก่อนเงินหาย" ร่วมกับแอป “Whoscall” ที่จะช่วยระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จักและบล็อกสแปม ด้วยการแจกโค้ด Whoscall พรีเมียมฟรี 1 ล้านโค้ด นาน 6 เดือน มูลค่ารวมกว่า 354 ล้านบาท สำหรับลูกค้า SCB EASY เพียงกดรับโค้ด Whoscall พรีเมียม ผ่านเมนู EASY BONUS บนแอปพลิเคชัน SCB EASY ได้ง่ายๆ ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2566 – 3 มกราคม 2567 (จำกัด 1 คน/สิทธิ/ตลอดระยะเวลาแคมเปญ)
4 ฟีเจอร์จาก Whoscall พรีเมียม ได้แก่
สามารถกดรับโค้ด Whoscall พรีเมียม บนแอป SCB EASY ผ่าน 5 ขั้นตอนง่ายๆ
Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักเผยรายงานประจำปี 2022 ไทยยังมีปัญหามิจฉาชีพมากขึ้น ยอดสายโทรจากมิจฉาชีพในไทยเพิ่มขึ้น 165% นับเป็น 17 ล้านครั้งในปีก่อน เปรียบเทียบกับปี 2021 ที่มี 6.4 ล้านครั้ง
นอกจากนี้ ยังมีการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ 13.5 ล้านเบอร์ หรือกว่า 45% โดยรหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อเป็นข้อมูลที่มีการรั่วไหลมากที่สุด การรั่วไหลของข้อมูลมาจากหลายสาเหตุทั้งฐานข้อมูลองค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือผู้ใช้กรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ฟิชชิ่ง