หากยังจำกันได้ Uber เคยทำโปรแกรมดูข้อมูลคู่แข่ง Lyft ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หน่วยงานอย่าง FBI เตรียมจะเข้ามาสอบสวน Uber ถึงกรณีดังกล่าวแล้ว
เจ้าหน้าที่ของ FBI สำนักงานนิวยอร์กเตรียมสอบสวน Uber เกี่ยวกับซอฟต์แวร์ Hell ที่มีการแทรกแซงการดำเนินงานของบริษัทคู่แข่งคือ Lyft ซึ่ง Uber ใช้โปรแกรมดังกล่าวเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยใช้ช่องโหว่ของระบบในการสอดส่องผู้ขับรถของ Lyft ตั้งแต่ปี 2014-2016 เพื่อตรวจสอบว่ามีผู้ขับรถคนใดรับทั้ง Uber และ Lyft และจะทำการดึงดูดให้ผู้ขับรถเหล่านั้นมาขับกับ Uber เท่านั้น
ทั้งนี้ โฆษกของ Uber ได้กล่าวกับ Wall Street Journal ว่าทางบริษัทจะให้ความร่วมมือในการสอบสวน
Jeremy Hermann และ Mike Del Balso วิศวกรด้านวิศวกรรมข้อมูลของ Uber เปิดเผยข้อมูลของแพลตฟอร์มที่พัฒนาเพื่อใช้กันภายในองค์กรชื่อ Michelangelo ซึ่งเรียกว่าเป็น Machine Learning-as-a-service เพื่อให้พนักงานสามารถใช้งานได้ในวงกว้าง
ที่มาของการสร้างแพลตฟอร์มนี้ เกิดจากใน Uber มีความต้องการสร้างชุด Machine Learning ที่หลากหลาย แต่ในอดีตนั้นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ก็เลือกใช้เครื่องมือตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็น R, scikit-learn จนถึงเขียนอัลกอริทึมขึ้นเอง ทำให้การสร้างโมเดลต่างๆ จำกัดอยู่ในนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และไม่ทันต่อความต้องการ อีกทั้งเมื่อต่างคนต่างสร้างโมเดล ก็ไม่สามารถหามาตรฐานและเปรียบเทียบกันได้ง่าย จึงเป็นที่มาของการสร้างแพลตฟอร์มกลาง Michelangelo
หลังถูกระงับการให้บริการไปด้วยว่ากฎหมายไม่รองรับ ล่าสุด uberMOTO กลับมาเปิดให้บริการอีกรอบ จากความร่วมมือกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะ
สำหรับค่าบริการของ uberMOTO เริ่มต้นที่ 15 บาท ระยะทาง 5 กิโลเมตรแรกคิดกิโลเมตรละ 5 บาท กิโลเมตรต่อไปกิโลเมตรละ 10 บาท ส่วนเวลาที่ใช้บริการคิดนาทีละ 1 บาท โดยตัวแอปจะแจ้งค่าโดยสารล่วงหน้าก่อนเดินทางด้วย ขณะที่ค่าธรรมเนียมยกเลิกคิด 15 บาท
Uber มีโค้ด HIMOTO เป็นส่วนลดพิเศษ 50 บาท 3 ครั้งสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้บริการ uberMOTO ให้ด้วย
ที่มา - Uber
หลังจาก Uber ได้ซีอีโอคนใหม่ Dara Khosrowshahi จาก Expedia เมื่อคืนนี้ Dara ก็เดินทางมาพบกับพนักงานของ Uber ในการประชุมภายในบริษัท มีเนื้อหาที่หลุดออกมาสู่สื่อดังนี้
บอร์ดบริหาร Uber ได้ออกอีเมลประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า Dara Khosrowshahi อดีตซีอีโอ Expedia จะมารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ หลังจากใช้เวลาสรรหามาพอสมควร โดยบอร์ดระบุว่าการโหวตเลือก Dara นั้นมีมติไม่เป็นเอกฉันท์
Dara Khosrowshahi จะมาร่วมประชุมและพบกับพนักงาน Uber ในวันพรุ่งนี้
Travis Kalanick อดีตซีอีโอ Uber ก็ได้ออกแถลงการณ์เช่นกัน บอกว่าเขาไม่อาจยินดีไปมากกว่านี้แล้ว ที่จะส่งมอบคบเพลิงต่อให้กับ Dara ผู้มีประสบการณ์ในการสร้างแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดรายหนึ่งของโลก
อูเบอร์ ร่วมมือกับบริษัท ICICI Lombard General Insurance บริษัทประกันภัยใหญ่ในเอเชียใต้ ทำประกันอุบัติเหตุให้คนขับอูเบอร์ในอินเดียกว่า 450,000 ราย โดยประกันจะครอบคลุมเวลาเกิดอุบัติเหตุระหว่างที่คนขับกำลังใช้แอพอูเบอร์ หรือกำลังให้บริการผู้ใช้อูเบอร์อยู่ ในอีกทางหนึ่ง อูเบอร์เองก็ต้องการแข่งขันกับผู้เล่นในตลาดอินเดียอย่าง Ola ด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะอยู่ในฝั่งลูกค้า ล่าสุด Uber ประกาศเพิ่มตัวเลือก Driver Share My Trip สำหรับคนขับในการแชร์ตำแหน่งที่ตั้งและเส้นทางของตนเองพร้อมทะเบียนรถให้กับผู้ติดต่อที่ต้องการ ในลักษณะเดียวกับการแชร์ข้อมูลของผู้โดยสาร โดยคนขับสามารถปิดการแชร์ข้อมูลได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ในฝั่งผู้โดยสาร Uber ประกาศเพิ่มตัวเลือกการยืนยันตนผ่านเฟซบุ๊กเพิ่มอีกทาง สำหรับผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตในการยืนยันตนและชำระเงินผ่านเงินสดเป็นหลัก
มหากาพย์การสรรหาซีอีโอ Uber ใกล้จะสิ้นสุดแล้ว โดยบอร์ดบริหาร Uber ได้ประชุมกันช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อโหวตเลือกผู้มาเป็นซีอีโอคนใหม่ ซึ่งมีตัวเลือกสุดท้าย 3 คน และบอร์ดก็เลือก Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Expedia บริการจองตั๋วเครื่องและที่พักออนไลน์ ซึ่งหลายคนน่าจะรู้จักกันดี มารับตำแหน่งนี้
Uber รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2017 ซึ่งเป็นไตรมาสที่มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะการลาออกของซีอีโอในเดือนมิถุนายน แต่ถึงอย่างนั้นตัวเลขก็ยังคงเติบโต
โดยตัวเลขการจองเติบโต 17% เป็น 8.7 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อน คิดเป็นรายได้สำหรับ Uber 1.75 พันล้านดอลลาร์ เติบโตถึง 17% จากไตรมาสที่ 1 ปี 2017 และขาดทุน 645 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14%
ภาพรวมจำนวนเที่ยวโดยสารเพิ่มขึ้น 150% โดยเติบโตจากตลาดประเทศกำลังพัฒนาถึง 250% และสุดท้าย Uber ยังมีเงินสดในมือ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ซึ่งมีอยู่ 7.2 พันล้านดอลลาร์
ที่มา: Axios
ต่อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมมันซะเลย ComfortDelGro ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะซึ่งมีจำนวนรถแท็กซี่เยอะเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศสิงคโปร์ เตรียมจับมือเป็นพันธมิตรกับ Uber
ประกาศของทาง ComfortDelGro ที่ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เมื่อวานนี้ แจ้งว่าบริษัทได้เตรียมทำข้อตกลงแบบ exclusive กับ Uber ในความเป็นไปได้ที่จะเป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน
ข้อตกลงดังกล่าว คาดว่าจะนำรถแท็กซี่กว่า 15,500 คันของ ComfortDelGro มารวมไว้ในระบบของ Uber ซึ่งจะทำให้การเรียกรถแท็กซี่ของ ComfortDelGro ง่ายขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มจุดแข็งของ Uber ในสิงคโปร์ขึ้นไปอีก
เว็บไซต์ Recode รายงานข่าววงในว่ามหากาพย์การสรรหาซีอีโอคนใหม่ของ Uber ใกล้ได้ข้อยุติ เมื่อบอร์ดค่อนข้างเห็นด้วยกับ Jeff Immelt อดีตซีอีโอของ GE (General Electric) ที่เคยมีชื่อมาก่อนหน้านี้
เหตุผลที่ Immelt กลายเป็นเต็งหนึ่งก็เพราะเขามีประสบการณ์โชกโชนในตำแหน่งซีอีโอของบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังมีตัวเลือกอีก 2 คนที่ยังไม่ปรากฏชื่อออกมา และคาดว่าบอร์ดจะลงคะแนนเลือกซีอีโอใหม่ภายใน 2 สัปดาห์
แหล่งข่าวของ Recode บอกว่าคงไม่มีตัวเลือกคนไหนที่สมบูรณ์แบบ แต่ตอนนี้ทุกคนใน Uber เหน็ดเหนื่อยกับปัญหาที่รุมเร้า และต้องการผู้นำที่มีทักษะความสามารถมานำพาองค์กรเดินหน้าต่อไป
เมื่อวานนี้ Uber ในไทยประกาศนโยบายการคิดค่าโดยสารแบบใหม่ โดยกำหนดมีการแจ้ง "ค่าโดยสารขั้นต่ำ" ที่ผู้โดยสารจะถูกเรียกเก็บเงินทันทีที่ขึ้นโดยสาร โดยค่าโดยสารขั้นต่ำนี้จะคำนวณตามระยะทางที่จองรถโดยสาร
Uber เรียกนโยบายนี้ว่าเป็นการแจ้งค่าโดยสารก่อนเดินทาง อย่างไรก็ดี หากรถติดกว่าที่ Uber คาด ผู้โดยสารก็สามารถถูกคิดค่าโดยสารเพิ่มเติมได้
โฆษณาของ Uber ระบุว่านโยบายเช่นนี้จะทำให้ "หมดปัญหาลุ้นค่าโดยสาร" ขณะที่ผู้ใช้จำนวนมากในหน้าประกาศออกมาแจ้งปัญหาหลายอย่างทั้งการคิดค่าโดยสารโดยไม่ได้ขึ้นรถ หรือหลายคนพบว่าค่าโดยสารแพงกว่าที่คาด
เพื่อตอบรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนในมาเลเซีย อูเบอร์มาเลเซียจึงถือโอกาสเปิดตัว UberMandarin ที่คนขับสามารถพูดภาษาจีนได้ โดยจะให้บริการใน 3 พื้นที่คือ Johor Bahru, Kota Kinabalu และ ปีนัง
กระทรวงท่องเที่ยวในมาเลเซีย คาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่มาเที่ยวว่ามีถึง 3 ล้านคนในปีนี้ และปีหน้าจะมี 4 ล้านคน และจะมีมากถึง 8 ล้านคนภายในปี 2020
คณะกรรมการด้านการขนส่งของฟิลิปปินส์ (Land Transportation Franchising and Regulatory Board - LTFRB) สั่งระงับการให้บริการของ Uber 1 เดือน หลัง Uber แอบรับคนขับเพิ่ม ซึ่งเป็นการละเมิดคำสั่งห้ามรับคนขับใหม่หลังแจ้งลงทะเบียนไปแล้ว
ก่อนหน้านี้ทั้ง Uber และ Grab ต่างถูกสั่งปรับราว 1 แสนเหรียญฐานปล่อยให้คนขับที่ไม่มีใบอนุญาตมาวิ่งให้บริการ ขณะที่การสั่งระงับการให้บริการของ Uber ครั้งนี้พ่วงมาด้วยคำสั่งชดเชยคนขับทั้งหมดในช่วงระงับการให้บริการ ซึ่งอาจส่งผลต่อรายได้และการทำตลาดของ Uber และเป็นโอกาสที่ดีของ Grab ในการสร้างรายได้และชิงส่วนแบ่งตลาดในช่วงที่ Uber ระงับการให้บริการ
Didi Chuxing บริษัทแชร์รถจากจีน แม้จะยังไม่ได้ขยายกิจการไปยังประเทศอื่นๆ แต่บทบาทของ Didi คือนักลงทุนในบริษัทแชร์รถในท้องถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Ola, Lyft, Grab เป็นต้น ล่าสุดลงทุนใน Careem บริษัทแชร์รถในดูไบ แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลข
ก่อนหน้า Careem บริษัท Didi ก็ลงทุนในบริษัทแชร์รถในบราซิล หรือ Brazilian company 99 ถึง 100 ล้านดอลลาร์ และลงทุนใน Taxify บริษัทท้องถิ่นในยุโรปอีกด้วย แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลข
จากการลงทุนในท้องถิ่นต่างๆ ส่งผลให้ Didi เป็นนักลงทุนเบื้องหลังบริษัทแชร์รถในประเทศต่างๆ ครอบคลุม 5 ทวีปแล้ว และแม้ว่าจะไม่ได้ขยายกิจการของตัวเองโดยตรง แต่ก็เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวไม่ใช่น้อยของอูเบอร์ และกลยุทธ์หนุนหลังคู่แข่งอูเบอร์ดูจะเป็นแนวทางหลักของ Didi ด้วย
อูเบอร์เพิ่มช่องแชทในแอพให้ผู้ใช้และคนขับติดต่อสื่อสารกันผ่านแอพได้โดยไม่ต้องโทรหากันเวลาใกล้ถึงจุดนัดรับ ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ใช้ทั่วโลกภายในสัปดาห์หน้าที่จะถึงนี้
วิธีการใช้งานคือ แตะที่ช่อง Contact ตรงข้อมูลคนขับด้านล่างหน้าจอ ก็สามารถพิมพ์คุยถึงสถานที่ที่แน่นอนได้ เมื่อมีข้อความส่งจากผู้ใช้ แอพจะส่งเสียงเตือนไปที่โทรศัพท์ของคนขับ สามารถตอบเป็นข้อความสั้นหรืออีโมจิเพื่อจะได้ไม่ต้องเบี่ยงเบนความสนใจจากการขับรถ
อูเบอร์ระบุว่า ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้ทั้งคนขับและคนนั่งหลีกเลี่ยงที่จะต้องระบุหมายเลขโทรศัพท์
ถ้ายังจำกันได้ Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber ยอมลาออกจากการกดดันของ Benchmark Capital บริษัทลงทุนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของ Uber (ถือหุ้นประมาณ 10%) โดย Benchmark ร่วมกับบริษัทลงทุนอีก 4 ราย ต้องการให้ Kalanick ลาออก แต่ Benchmark เป็นตัวแทนของทั้งหมด ส่งหุ้นส่วนของตัวเองไปพบกับ Kalanick ด้วยตัวเอง ซึ่ง Kalanick ก็ลาออกในวันเดียวกัน
ล่าสุด Benchmark ยื่นฟ้อง Kalanick แล้ว หลังพบว่าเขาพยายามหวนคืนสู่ตำแหน่งซีอีโอ โดยบอกกับคนใกล้ชิดว่าเขาจะทำแบบเดียวกับสตีฟ จ็อบส์
Garrett Camp หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Uber และปัจจุบันเป็นบอร์ดบริหาร ออกอีเมลถึงพนักงาน Uber ทุกคน เพื่อยืนยันว่าในกระบวนการสรรหาซีอีโอ Uber คนใหม่นั้น จะไม่มี Travis Kalanick อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้งที่ถูกบีบให้ลาออก กลับมารับตำแหน่งนี้แน่นอน
ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า Kalanick พยายามหาวิธีกลับมารับตำแหน่งนี้คืน
เนื้อหาอีเมลระบุว่า มีพนักงานจำนวนหนึ่งสอบถามถึงความคืบหน้าในการสรรหาซีอีโอคนใหม่ และมีข่าวลือที่อาจสร้างความสับสน โดยบอร์ดบริหารยืนยันว่าการสรรหาซีอีโอนั้นเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ให้ Uber และ Travis จะไม่กลับมาเป็นซีอีโอแน่นอน โดยบอร์ดจะสรรหาซีอีโอที่มีประสบการณ์ระดับโลกมาเป็นผู้นำ Uber
SoftBank ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีและโทรคมนาคมจากญี่ปุ่น ที่รุกลงทุนในธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดผู้บริหาร SoftBank เผยความสนใจลงทุนในธุรกิจแอพเรียกรถในอเมริกา โดยสนใจทั้ง Uber และ Lyft
ถ้าฟังดูก็แค่สนใจลงทุนปกติ ก็ต้องบอกว่าปัจจุบัน SoftBank นั้นมีพอร์ตการลงทุนในแอพเรียกรถแท็กซี่อยู่แล้ว ได้แก่ Grab, Didi Chuxing (จีน), Ola (อินเดีย) และ 99 (ละตินอเมริกา) เรียกว่าแทบจะครบตลาดหลักแล้ว ขาดแค่อเมริกาเท่านั้น
ซีอีโอ Masayoshi Son กล่าวว่าอเมริกาเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และมองว่าอุตสาหกรรมเศรษฐกิจแบ่งปันมีโอกาสโตในภาพรวมอีกมาก บริษัทจึงสนใจลงทุนทั้งใน Uber และ Lyft แต่ขึ้นอยู่กับการเจรจากับทั้งสองบริษัทต่อไป
จากข่าวการสรรหาซีอีโอคนใหม่ของ Uber ที่บอร์ดบริหารยังหาข้อสรุปไม่ได้ และดูเหมือนบอร์ดบางส่วนก็อยากให้อดีตซีอีโอ Travis Kalanick ที่ถูกบีบให้ลาออกกลับคืนตำแหน่ง รายงานล่าสุดระบุว่าตัว Kalanick เองก็มีความพยายามจะกลับมาทวงตำแหน่งนี้คืนให้ได้เช่นกัน
Kara Swisher แห่ง Recode บอกว่า หลังจาก Kalanick ถูกบีบให้ลาออก เขาก็ได้ไปพักผ่อนที่ Tahiti ช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อกลับมา เขาพยายามที่จะเข้ามาดูแลงานประจำวันใน Uber อีกครั้ง (Kalanick ยังมีตำแหน่งเป็นบอร์ดบริหาร Uber) และไม่มีใครจัดการปัญหานี้ได้ จนบอร์ดบริหารต้องออกกฎจำกัดการเข้าถึงข้อมูลของบอร์ดทุกคน เพื่อให้ Kalanick ไม่สามารถทำงานประจำแบบตอนเป็นซีอีโอได้
รัฐสภามาเลเซียมีมติผ่านร่างแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับได้แก่กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายที่ว่าด้วยการออกใบอนุญาตรถยนต์สาธารณะ ที่ทำให้การให้บริการของ Uber และ Grab Car ถูกกฎหมาย
จากการแก้กฎหมายดังกล่าว มาเลเซียได้จัดสรรประเภทธุรกิจใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับ Ride-Hailing โดยเฉพาะในชื่อ Intermediation Business License ซึ่งทั้ง Uber, Grab Car หรือผู้ให้บริการอื่นๆ ที่จะทำธุรกิจนี้ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประเภทนี้
ก่อนหน้านี้มาเลเซียเผชิญปัญหาคล้ายกับบ้านเรา คือภาครัฐประกาศว่าทั้ง Uber และ Grab Car ให้บริการอย่างผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ถูกกลุ่มสมาคมแท็กซี่รวมตัวประท้วง หลังทราบข่าวว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาให้บริการ Ride-Hailing ถูกกฎหมาย
The New York Times มีเบื้องหลังการสรรหาซีอีโอคนใหม่ของ Uber ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ หลัง Meg Whitman ซีอีโอของ HPE ออกมาปฏิเสธตำแหน่งนี้
The New York Times บอกว่าสถานการณ์ตอนนี้คือบอร์ดของ Uber ที่มีทั้งหมด 8 คนกำลังเสียงแตก โดยบอร์ดบางกลุ่มอยากได้ Meg Whitman ซึ่งเป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์ มีความเป็นผู้ใหญ่ มานั่งตำแหน่งนี้ และตัวของ Whitman ก็ได้พบกับบอร์ดบางคนเพื่อให้คำแนะนำว่าควรแก้ปัญหา Uber อย่างไร แต่หลังเธอปฏิเสธตำแหน่ง ทำให้บอร์ดต้องหาตัวเลือกอื่น
จากข่าววงในเรื่องการหาตัวซีอีโอ Uber คนใหม่ ที่มีข่าวลือว่า Meg Whitman ซีอีโอของ HPE เป็นหนึ่งในตัวเลือก
ล่าสุด Meg Whitman ออกมาปฏิเสธข่าวนี้ด้วยตัวเองแล้ว โดยเธอโพสต์ทวิตเตอร์ว่ายังมีงานอีกมากที่ HPE และเธอจะไม่ไปไหน ซีอีโอของ Uber จะไม่ชื่อ Meg Whitman อย่างแน่นอน
ข้อมูลวงในของ Uber ระบุว่าบริษัทมีตัวเลือกด้วยกัน 6 คน และคาดว่าบริษัทจะประกาศชื่อซีอีโอคนใหม่ในเดือนกันยายน
สำนักข่าว Bloomberg ยังเผยชื่อตัวเลือกอีกคนคือ Jeffrey Immelt ซีอีโอของ General Electric (GE) ที่ประกาศว่าจะลงจากตำแหน่งตอนสิ้นปีนี้
ขนส่งทางบกฟิลิปปินส์ (Land Transportation Franchising and Regulatory Board - LTFRB) สั่งให้ Uber และ Grab ส่งรายชื่อคนขับทั้งหมดให้กับขนส่งทางบกและหยุดรับคนขับใหม่ หลักจาก LTFRB เชื่อว่ามีคนขับจำนวนมากไม่มีใบอนุญาตถูกต้อง โดยเชื่อว่ามีคนขับรวมถึง 42,000 คนแต่มีคนขับที่ใบอนุญาตถูกต้องเพียง 15,400 คน
งานนี้เป็นความขัดแย้งระหว่าง Grab/Uber และ LTFRB โดยทั้งสองบริษัทไม่ต้องการหยุดรับคนขับเพิ่มเติม คำสั่งของ LTFRB ออกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาแต่มีผลย้อนหลังให้ปิดบัญชีคนขับทั้งหมดที่ลงทะเบียนกับระบบหลังวันที่ 30 มิถุนายน โดยทั้งสองบริษัทได้ยื่นหนังสือโต้แย้งคำสั่งนี้
ทีมวิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Uber ได้เขียนบล็อกเล่าถึงการพัฒนาโปรแกรมสำหรับสนทนาภายในองค์กร ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการชื่อดังอย่าง Slack และ HipChat อยู่แล้ว แต่ Uber บอกว่าบริการที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับความต้องการได้ สุดท้ายอยากได้ก็ต้องทำเอง
อดีตนั้น Uber ใช้ Slack สำหรับเป็นแอพสนทนาภายใน ต่อมาก็เปลี่ยนไปใช้ HipChat ด้วยเหตุผลว่า Slack ไม่เหมาะเมื่อมีผู้ใช้งานหลายพันคน แต่สุดท้าย HipChat ก็ยังไม่ตรงความต้องการ
Uber ให้บริการใน 620 เมือง และมีพนักงานหลักหมื่นคน ความซับซ้อนของห้องและจำนวนผู้ใช้จึงมีมาก แนวทางของ Uber คือโปรแกรมสนทนานี้ต้องสามารถรองรับผู้ใช้งาน 70,000 คนพร้อมกัน และรองรับอัตราส่งข้อความ 80-200 ข้อความต่อวินาทีได้ โดยไม่ทำงานช้า