สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (VISTEC-depa Thailand Artificial Intelligence Research Institute) ปล่อยโมเดล deep learning แบบ Transformer ที่ฝึกด้วย toolkitfairseq ของเฟซบุ๊ก ที่ฝึกกับชุดข้อมูลแปลภาษาไทย-อังกฤษมาแล้ว 1 ล้านคู่ประโยค พร้อมปล่อยชุดข้อมูล โดยได้คะแนน BLEU เหนือกว่า Google Translate API
ทางสถาบันสร้างชุดข้อมูลโดยอาศัยทั้งการจ้างนักแปลโดยตรง, จ้างจากแพลตฟอร์ม crowdsourcing, ใช้นักแปลตรวจสอบการแปลของ Google Translate API, ไปจนถึงเอกสารที่มีการแปลอยู่แล้ว เช่น เอกสารราชการหรือวิกิพีเดีย
ดีแทคเผยผลการศึกษาโดยร่วมกับ Wisesight ผู้ให้บริการวิเคราะห์ Big Data ในไทยศึกษา Social listening tool เรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ พบว่าการแกล้ง ล้อเลียน เหยียดยังคงเป็นเรื่องรูปลักษณ์ เพศวิถี และกระจุกตัวอยู่ในวงการการศึกษา ครูเองก็ยังคงขาดความเข้าใจและไม่มีวิธีการรับมือต่อปัญหา ขณะเดียวกัน ดีแทคยังผุดแคมเปญ #คำด่าไหนฝังใจที่สุด ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
คนที่ตามข่าวชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์หรือชอบประกอบคอมในไทยน่าเคยบ่นหรือเห็นคนบ่นว่า ราคาของซีพียู AMD ในไทยมักสูงกว่าราคาเปิดตัวในสหรัฐอยู่ราว 20%-30%
ผมมีโอกาสได้พูดถึงคุยกับคุณจิระวัฒน์ นันทปราโมทย์ ตำแหน่ง Channel Sales Manager, AMD ประเทศไทยถึงประเด็นเรื่องการกำหนดราคาและต้นทุนส่วนอื่น ๆ ที่กลายเป็นมาราคาขายปลีกของซีพียู AMD ในไทย ที่น่าจะช่วยตอบคำถามข้างต้นครับ
ข่าวเก่าครับ: Mozilla ประกาศว่าตั้งแต่ 31 มกราคม 2562 เป็นต้นไป Firefox Focus จะถูกถอดออกจาก Google Play Store ของ 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
ในประกาศดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงเหตุผลแต่อย่างใด เพียงแต่แจ้งว่าให้ไปใช้ Firefox Lite (ชื่อเดิม Rocket) แทน ตัวผมเองพยายามค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก GitHub, Mozilla wiki, และ mailing list (ร้าง) แต่ก็ไม่พบเหตุผลเช่นเดียวกัน
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้สรรพากรสามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริการของบริษัทไอทีต่างชาติได้ เช่น Netflix, LINE, Facebook, Spotify
สาระสำคัญของการแก้ไขประมวลรัษฎากร คือการแก้ไขนิยามของคำว่า "สินค้า" จากเดิมที่ไม่รวมสินค้าที่ไม่มีรูปร่างและส่งมอบกันผ่านอินเทอร์เน็ต ให้เพิ่มบทนิยามว่าด้วยบริการอิเล็กทรอนิคส์ ที่ส่งมอบสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนผู้ให้บริการที่เข้าข่ายจะเสียภาษี (ทั้งให้บริการคนไทยและคนต่างประเทศในไทย) จะต้องมีรายได้ในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านการเงิน เผยแพร่เอกสารการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงกลาโหม, กสทช., และตัวแทนบริษัทโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ AIS, dtac, Truemove H, TOT, และ CAT โดยเป็นการประชุมเพื่อขอข้อมูลพิกัดโทรศัพท์มือถือ
ข้อมูลที่กรมควบคุมโรคร้องขอนั้นมี 3 กลุ่ม ได้แก่
แอปเปิลประเทศไทย ประกาศผ่านเว็บไซต์ ว่า Apple Store สาขาไอคอนสยาม จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2563 นี้ โดยปรับเวลาเปิดให้บริการเป็น 11.00-20.00น.
ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แอปเปิลได้ประกาศปิด Apple Store เกือบทั่วโลกเป็นการชั่วคราว แต่ได้เริ่มทยอยกลับมาเปิดแล้วในหลายประเทศ
ก่อนหน้านี้แอปเปิลระบุว่าจะมีมาตรการความปลอดภัยในร้าน อาทิ จัดพื้นที่ในร้านใหม่, จำกัดจำนวนผู้เข้าร้าน, ทีมงานและลูกค้าต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า, มีการวัดอุณหภูมิที่หน้าทางเข้า
หน้า Facebook ของสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เผยแพร่ประกาศระบุว่า สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติได้ประกาศความร่วมมือกับ Netflix เพื่อจัดตั้ง “กองทุนเยียวยาโควิด-19 สำหรับลูกจ้างอิสระในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และละครโทรทัศน์” เนื่องจากการถ่ายทำหยุดชะงัก คนทำงานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังขาดรายได้ โดย Netflix สนับสนุนเงินทุน 16 ล้านบาท
SIEMENS ประกาศแต่งตั้ง สุวรรณี สิงห์ฤาเดช เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอคนไทยคนแรกในประเทศไทย ดูแลธุรกิจซีเมนส์ อินดัสเทรียลมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา
สุวรรณี ทำงานใน SIEMENS มากว่า 23 ปีในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่กลุ่มธุรกิจสื่อสาร โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไวร์เลส กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีอาคารและการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า และเคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ SIEMENS ในประเทศเมียนมาร์ และกัมพูชา
ราชกิจจานุเบกษาประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยประกาศบัญชีแนบท้ายประเภทกิจการที่ได้รับยกเว้นมากถึง 22 ประเภทกิจการ ครอบคลุมกิจการแทบทุกประเภท น่าจะส่งผลให้พ.ร.บ.แทบไม่มีผลบังคับกิจการใดๆ
อย่างไรก็ดีพ.ร.ฎ.นี้มีกำหนดอายุบังคับใช้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เท่านั้น ซึ่งส่งผลให้กิจการส่วนมากจะต้องทำตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป
การออกพ.ร.ฎ.นี้สอดคล้องกับมติครม.เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ระบุให้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกไปอีกหนึ่งปี
ในวันนี้ (20 พฤษภาคม 2563) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้เปิดเผยสถิติของแพลตฟอร์มไทยชนะ ซึ่งเปิดใช้งานมาแล้วเป็นระยะเวลา 3 วัน นับตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2
โดยข้อมูลสรุป ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 21.00น. มีข้อมูลน่าสนใจดังนี้
Tinder ปล่อยฟีเจอร์ Photo Verification ให้ผู้ใช้งานในไทย ถ่ายรูปเซลฟีเพื่อยืนยันตัวตนก่อนใช้งาน เป็นการยืนยันว่าผู้ใช้งานมีตัวตนอยู่จริง โดยโปรไฟล์ที่ได้รับการยืนยันว่าผ่าน จะมีเครื่องหมายถูกสีฟ้าด้านหลังชื่อและอายุ ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้งานนรู้ว่าคนที่เราแมตช์และคุยด้วยอยู่นั้นมีตัวตนจริง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นฟีเจอร์ทดลองในบางตลาดเท่านั้น
วิธีการใช้งาน
จากที่ก่อนหน้านี้ ศบค. เปิดตัวแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" ซึ่งนายกฯ มีส่วนร่วมในการตั้งชื่อ และดูแลโดยธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ร้านค้าใช้รับลงทะเบียนลูกค้าในการเข้า-ออกในช่วงผ่อนคลายมาตรการตามข้อกำหนดฯ ที่ประกาศไปเมื่อวานนี้ ล่าสุด เว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com (หรือ www.thaichana.com) ก็เปิดให้เข้าชมได้แล้วตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา
กูเกิลประเทศไทย เปิดเผยเทรนด์การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และโรค COVID-19 ในไทย โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 225 ของโลก ที่มีความสนใจค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา
การค้นหาในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สูงสุดวันที่ 18 เมษายน คำค้นเกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนาที่มีการค้นหาเพิ่มสูงมากได้แก่ โคโรนาไวรัสล่าสุด (+5,000%), Report coronavirus case (+4,250%), Coronavirus tips (+2,850%) ส่วนหัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้อง คำว่า ทะเบียน เกษตรกร เยียวยา และ ตรวจเช็คสิทธิ์เราไม่ทิ้งกัน ต่างเพิ่มขึ้นมากกว่า 5,000%
จากประเด็นแอปไทยชนะที่รัฐบาลเปิดตัว หวังเป็นแพลตฟอร์มจัดการความหนาแน่นในร้านค้าต่างๆ ในช่วงผ่อนปรน มีรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยว่า คนที่ตั้งชื่อแอปไทยชนะ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, รมว.กลาโหม และ ผู้อำนวยการ ศบค. เนื่องจากให้ความรู้สึกฮึกเหิมดี
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดตัวแพลตฟอร์มออกแพลตฟอร์ม "ไทยชนะ" ทดแทนการลงชื่อใช้บริการร้านค้าในช่วงผ่อนปรน
กระบวนการของไทยชนะจะให้ร้านค้าติด QR ให้ลูกค้ามาลงแอปพลิเคชั่นสำหรับการ check-in/check-out เพื่อให้ทางศบค. สามารถเรียกผู้ที่สัมผัสผู้ติดเชื้อตามช่วงเวลาที่เข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ โดยผู้ที่ได้รับข้อความแจ้งเตือนจะสามารถนำข้อความไปยังโรงพยาบาลเพื่อขอรับการตรวจได้ฟรี
ทางศบค. ระบุว่าข้อมูลทั้งหมดจะดูแลโดยกรมควบคุมโรคและใช้งานเพื่อการติดตามโรคเท่านั้น โดยหากร้านค้าหรือผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้งาน QR ได้ก็ต้องลงทะเบียนด้วยสมุดลงทะเบียนการใช้งานแทน
ทวิตเตอร์เปิดบัญชีสำหรับผู้ใช้ในไทยอย่างเป็นทางการในชื่อบัญชี @TwitterThailand โดยระบุว่าจะเป็นช่องทางเชื่อมทวิตเตอร์เข้ากับผู้ใช้ในไทย แต่หลังจากเปิดบัญชีได้เพียงครึ่งวันทวิตเตอร์ในไทยก็มีแฮชแท็ก #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์ ขึ้นอันดับหนึ่งในประเทศไทยแสดงความกังวลว่าทวิตเตอร์จะร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการจำกัดเสรีภาพการแสดงออก
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรีมีมติขยายเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บางหมวดออกไป 1 ปี ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
โดยหมวดที่มีการเลื่อนบังคับใช้คือ หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, หมวด 3 สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล, หมวด 5 การร้องเรียน, หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง, หมวด 7 บทกำหนดโทษ และความในมาตรา 95 และมาตรา 96 ซึ่งจากเดิมจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค. นี้
หลังจากเปิดตัวและวางขาย Galaxy S20 Ultra 5G ในไทยมาได้สักระยะหนึ่ง ซัมซุงประเทศไทยก็ประกาศรองรับการใช้งาน 5G ในไทยอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะใช้ได้กับทั้งเครือข่าย AIS และ TrueMove H
ในเพจของ Samsung Thailand ระบุว่าต้องอัพเดตซอฟต์แวร์เป็นเวอร์ชันล่าสุด (G988BXXU1ATD3 / G988BOXM1ATD7 / G988BXXU1ATD1) เช็คได้จากการกด *#1234#
ที่มา - Samsung Thailand
ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ และยังเป็นรองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสเฟซบุ๊กถึงความเห็นต่อแอปหมอชนะ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา โดยที่ผ่านมา นพ.นวนรรน ได้เข้าไปให้ความเห็นกับทีมงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดการความเป็นส่วนตัวข้อมูลสุขภาพ (health information privacy specialist) ได้ถอนตัวจากโครงการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังพบว่ามีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเตรียมบังคับตรวจสอบลงแอปหมอชนะ โดยจะตรวจ QR ตามจุดคัดกรองหากไม่สามารถแสดง QR ได้ก็จะไม่ให้เข้าพื้นที่
ปีที่แล้วกูเกิลประกาศโครงการความร่วมมือระหว่างกูเกิลและโรงพยาบาลราชวิถี ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาวิเคราะห์ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy - DR) ล่าสุดกูเกิลก็เผยแพร่รายงานวิจัย การประเมินผลโดยใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (human-centered evaluation) ของการนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการโรงพยาบาลจริงครั้งนี้
Gravitech ผู้ผลิตบอร์ดพัฒนาไทย เปิดตัวบอร์ด Cucumber R/RS บอร์ดพัฒนา IoT ชิป ESP32-S2 โดยรุ่น R คือบอร์ดพัฒนาเปล่าๆ และรุ่น RS มาพร้อมเซ็นเซอร์ครบชุด ทั้ง อุณหภูมิ, ความชื้น, accelerometer 3 แกน, gyroscope, และความดันอากาศ
ตัวบอร์ดฟีเจอร์คล้ายกับ ESP32-S2-Saola-1 ของ Espressif เอง แต่มีพอร์ต USB OTG เพิ่มมาให้ด้วยสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB
สั่งจองล่วงหน้าได้แล้วบนเว็บ Gravitech เริ่มส่งสินค้าวันจันทร์ที่ 27 เมษายนนี้ Cucumber R ราคา 285 บาท แล Cucumber RS ราคา 405 บาท
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 เป็นกฎหมายระดับพระราชกำหนด (รัฐบาลออกโดยไม่ผ่านสภา) มาเพื่อยกเว้นให้การประชุมบางประเภทที่กฎหมายเดิมกำหนดให้ต้องประชุมแบบพบหน้า สามารถประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนได้ และยังมีผลตามกฎหมาย
กฎหมายฉบับนี้ออกมาช่วยแก้ปัญหาที่ว่า การประชุมบางประเภท (เช่น การประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท) ต้องมาประชุมแบบพบเจอหน้า หรือผู้ประชุมต้องอยู่ในประเทศไทย จึงจะมีผลโดยชอบทางกฎหมาย ซึ่งอาจทำได้ยากในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีปัญหา COVID-19
อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังมีข้อยกเว้นให้การประชุมบางประเภท เช่น ประชุมสภา, ประชุมของศาล, ประชุมเพื่อการจัดซื้อของหน่วยราชการ ยังต้องประชุมแบบพบหน้าอยู่
คุณสิทธิพล พรรณวิไล เจ้าของบล็อก NuuNeoi.com (หลายคนอาจจะรู้จักในฐานผู้ร่วมก่อตั้งเว็บ DroidSans) เผยแพร่บทความสัมภาษณ์ผู้พัฒนาแอปติดตามตัวผู้เข้าใกล้ผู้ป่วยโรค COVID-19 โดยระบุว่าแอปนี้จะเปิดตัวโดย "หน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง"
แอปนี้แนวคิดคล้ายกับ TraceTogether ของรัฐบาลสิงคโปร์ ที่อาศัยการกระจายแพ็กเก็ต Bluetooth Low Energy (BLE) ออกไปรอบๆ ตัว แล้วให้ตัวแอปในเครื่องอื่นๆ เก็บข้อมูลไว้ว่าเจอใครมาบ้าง หากมีผู้ใช้แอปนี้ติดโรค COVID-19 ก็สามารถไปตามตัวผู้เข้าใกล้ผู้ป่วยทั้งหมดกลับมากักกันโรคได้
เว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com เผยแพร่เอกสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ์เงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อเดือน โดยเอกสารมีหลายฉบับ ทั้งอาชีพที่จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นชุดแรก และอาชีพที่หมดสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือ
สำหรับอาชีพที่หมดสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือ ได้แก่ ข้าราชการ, เกษตรกร, ผู้ค้าขายออนไลน์, โปรแกรมเมอร์, และคนงานก่อสร้าง โดยมีเงื่อนไขอื่นที่ไม่ใช่อาชีพโดยตรงและไม่ได้สิทธิ์เช่นกัน เช่น เป็นคนว่างงานก่อนเกิด COVID-19, อายุไม่ถึงเกณฑ์ , หรือได้รับชดเชยทางอื่น เช่น เกษตรกร
ข้อมูลระบุว่าโปรแกรมเมอร์ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเป็นอาชีพที่ยังมีความยืดหยุ่น ทำงานที่ใดก็ได้ ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19