Tags:
Node Thumbnail

ราชกิจจานุเบกษาประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ไม่ต้องอยู่ใต้บังคับของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยประกาศบัญชีแนบท้ายประเภทกิจการที่ได้รับยกเว้นมากถึง 22 ประเภทกิจการ ครอบคลุมกิจการแทบทุกประเภท น่าจะส่งผลให้พ.ร.บ.แทบไม่มีผลบังคับกิจการใดๆ

อย่างไรก็ดีพ.ร.ฎ.นี้มีกำหนดอายุบังคับใช้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เท่านั้น ซึ่งส่งผลให้กิจการส่วนมากจะต้องทำตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป

การออกพ.ร.ฎ.นี้สอดคล้องกับมติครม.เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ระบุให้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลออกไปอีกหนึ่งปี

ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา

No Description

ภาพโดย Foundry

Get latest news from Blognone

Comments

By: Alios
iPhoneAndroidWindows
on 22 May 2020 - 17:15 #1159540

._.

By: IDCET
Contributor
on 22 May 2020 - 17:16 #1159541

ถ้าบริษัทพร้อมที่จะใช้กฎหมายตัวนี้ ก็สามารถทำได้ตามสะดวกเลย ยังไม่บังคับ ประมาณนั้น

แต่ที่ไม่พร้อมหรือยังไม่ใช้ก็รอบังคับใช้จริงทีปีหน้าเลย


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 22 May 2020 - 23:11 #1159569 Reply to:1159541

ซึ่งคนที่ทำไปแล้วก็เสียเปรียบคนที่ไม่ได้ทำครับ implement ก่อนล่วงหน้าหนึ่งปี แถมมีค่าใช้จ่าย MA อีกถ้าเป็นบ.อเมริกาอาจมีฟ้องร้องกันเลย

By: tuinui98 on 22 May 2020 - 18:31 #1159546
tuinui98's picture

พระบิดาแห่งการยกเว้น
...ยกเว้นเรื่องที่จะทำให้คงไว้ซึ่งอำนาจ

By: errin on 22 May 2020 - 19:53 #1159552

ชื่อข่าวดูเศร้ามาก

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 22 May 2020 - 20:04 #1159554

แทนที่จะเลื่อนไป 3-6 เดือน ที่ไหนได้เลื่อนเป็นปี

ยกนิ้วให้เลย

By: gobman
iPhoneAndroidSymbianUbuntu
on 23 May 2020 - 03:23 #1159577

หลายบริษัท หลายองค์กรขนาดใหญ่ยังไม่พร้อมจริง ๆ แถมหน่วยราชการเองหลายหน่วยก็ไม่พร้อม เพราะพึ่งมาตื่นตัวตอนต้นปีแล้วโควิดมาระบาดในช่วงเวลาที่ส่งข้อมูลให้ผู้ที่ต้องเซ็นยืนยอมพิจารณาพอดี

เอาแค่กับพนักงานตัวเอง ไม่ต้องมองลูกค้า เท่าเจอคือหลาย ๆ บริษัทออกหนังสือยืนยอมให้เปิดเผยข้อมูล เข้าถึง เก็บ และนำไปใช้ ซึ่งข้อมูล แบบครอบจักรวาล ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเลิกจ้าง เซ็นทีเดียวจบ ๆ ไม่ต้องให้ทำหลายที
ข้อมัน ๆ แบบนี่ถามนิติกรมาแล้วหรือ? อย่างเช่น
- ยืนยอมให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลสุขภาพเชิงลึกเพื่อประเมินขีดความสามารถในการทำงานและประเมินผลการทำงาน
- ยืนยอมให้บริษัทเก็บข้อมูล บุตร ธิดา ทั้งในและนอกสมรส เพื่อให้สามารถให้สวัสดิการแก่บุตรตามที่บริษัทกำหนด
- ยืนยอมที่จะเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินและการเงินทั้งหมดกับบริษัท เพื่อใช้ในกิจการภายในของบริษัท เช่น การตรวจสอบภายใน หรือ เพื่อให้หน่วยงานภายนอกเข้าถึงได้ตามกฎหมาย เช่น ต้องมีการส่งข้อมูลเพื่อดำเนินคดีในกรณีทุจริตต่อบริษัท หรือ อื่น ๆ

ถ้าเจอข้อครอบจักรวาลแบบนี้ซักข้อในแบบยืนยอมฯ แล้วเราต้องเซ็น ไม่เซ็นนี้น่าจะพอรู้อนาคตตัวเองในบริษัท เราจะเซ็นขายวิญญาณให้บริษัทเพื่อแลกกับเงินเดือนและสวัสดิการ หรือยอมให้บริษัทเชิญออกโดยไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยเนื่องจากไม่สามารถทำตามที่บริษัทกำหนดได้

By: darkfaty
AndroidWindows
on 23 May 2020 - 11:01 #1159593
darkfaty's picture

ไทยชนะ?

By: zda98
Windows Phone
on 23 May 2020 - 13:14 #1159601 Reply to:1159593

แบบนี้หรือป่าวครับถึงได้เลื่อน

By: tunnnnnn
iPhoneSymbian
on 24 May 2020 - 01:21 #1159668
tunnnnnn's picture

Winter is coming....