กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับหน้าค้นหาของตัวเอง มันคือ "Recipe View" สำหรับการค้นหาสูตรอาหารโดยเฉพาะ
Recipe View มีความสามารถที่ปรับแต่งมาสำหรับการค้นหาสูตรอาหารเป็นพิเศษ เช่น การค้นหาจากส่วนประกอบของอาหาร ค้นตามเวลาที่ใช้ในการปรุง หรือตามจำนวนแคลอรี นอกจากนี้กูเกิลยังเปิดโอกาสให้เจ้าของเว็บไซต์สูตรอาหาร ปรับแต่งเว็บของตัวเองเพื่อบอกกูเกิลว่า "นี่คือสูตรอาหาร" จะได้ค้นเจอใน Recipe View อีกด้วย
ตอนนี้ Recipe View ยังมีเฉพาะในสหรัฐและญี่ปุ่นเท่านั้น
ปิดท้ายด้วยวิดีโอแนะนำ Recipe View โดย "หัวหน้าเชฟของกูเกิล" ครับ
กูเกิลประกาศว่าได้ปรับอัลกอริทึมการค้นหาของตัวเอง ลดอันดับเว็บไซต์ที่เป็น content farm หรือคัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมา และเพิ่มอันดับให้กับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพมากขึ้น
การปรับอัลกอริทึมครั้งนี้มีผลต่อผลการค้นหา 11.8% ของกูเกิล (ตอนนี้เปลี่ยนเฉพาะในสหรัฐเท่านั้น) โดยกูเกิลบอกว่าได้รับข้อมูลจาก Chrome Extension สำหรับแจ้งเว็บขยะ มาใช้เป็นบางส่วนด้วย
ที่มา - Official Google Blog
Overstock.com นับเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่รายล่าสุดที่โดนกูเกิลลงโทษ จากการทำ SEO ด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม หลังจากก่อนหน้านี้ กูเกิลได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงคุณภาพผลการค้นหาด้วยการประกาศสงครามกับ content farm การปรับอัลกอริทึมเพื่อต่อต้านการสแปม และเพิ่งดำเนินการลงโทษเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Forbes.com และ JCPenney ซึ่งในครั้งนี้กูเกิลก็ดำเนินการกับเว็บไซต์ที่กระทำความผิดอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยไม่สนว่าจะเป็นผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่เพียงใด
ไมโครซอฟท์แอบเพิ่มฟีเจอร์ให้ Bing อย่างเงียบๆ ซึ่งสื่อต่างประเทศเรียกมันว่า "Live Tiles" เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับ Live Tiles ของ WP7
เมื่อเราค้นหาข้อมูลเฉพาะทางบางอย่าง เช่น ภาพยนตร์, ตั๋วเครื่องบิน, ร้านอาหาร, มิวสิควิดีโอ ฯลฯ Bing จะแสดง "ไอคอนพร้อมข้อมูล" ไว้ด้านขวาของผลการค้นหาบางอัน เช่น ถ้าค้นหาภาพยนตร์ก็จะแสดงคะแนนรีวิวจาก IMDb หรือ Rotten Tomatoes ไว้ให้ด้วย ถ้าเป็นมิวสิควิดีโอบน YouTube ก็จะแสดงจำนวนครั้งที่มีคนดูไว้ให้ เป็นต้น (ถ้านึกไม่ออกดูภาพประกอบครับ)
ไมโครซอฟท์ยังไม่ประกาศเรื่องนี้บน Bing Blog แต่ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์ว่าตอนนี้มี "Tiles" กว่า 45 แบบ
ข่าวนี้เก่าไปสัปดาห์นึงนะครับ เผอิญผมตั้งท่าจะเขียนเมื่ออาทิตย์ก่อนแต่ปรากฎว่ามันยาวกว่าที่คิด เลยต้องรวบรวมข้อมูล+เวลาสักหน่อย
ถ้าติดตามข่าวที่เกี่ยวข้องกับ search engine ในช่วงหลัง อาจสังเกตเห็นว่ากูเกิลเริ่มตอบโต้ SEO และ content farm มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากปล่อยปละละเลยจนทำให้คุณภาพของการค้นหาตกลง
เมื่อเดือนตุลาคม 2009 กูเกิลออก Google Social Search ซึ่งรวมข้อมูลจากเครือข่ายสังคมของเรามาไว้ในผลการค้นหา ที่ผ่านมาฟีเจอร์นี้จะแสดงไว้ด้านล่างสุดของผลการค้นหา (ประมาณ 2 อันดับล่างสุดในหน้าแรก) แต่ล่าสุดกูเกิล "รวม" Social Search เข้ามากับผลการค้นหาแบบปกติแล้ว
การเปลี่ยนแปลงรอบล่าสุดได้แก่
มาตรการต่อกรกับ SEO แบบผิดกฎของกูเกิลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เพราะล่าสุดกูเกิลได้ลงโทษเว็บไซต์ Forbes.com ของนิตยสารชื่อดัง Forbes ข้อหาขายลิงก์บนหน้าเว็บเพื่อเพิ่ม PageRank ให้กับเว็บไซต์อื่นที่มาซื้อลิงก์
กูเกิลได้ส่งอีเมลแจ้งเว็บมาสเตอร์ของ Forbes.com ว่าละเมิดกฎของกูเกิลเรื่องลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ไม่ปกติบนหน้าเว็บของตัวเอง ซึ่งเข้าข่ายจงใจปั๊ม PageRank ให้กับเว็บไซต์อื่น
หลังจาก กูเกิลประกาศสงครามกับ content farm เราก็เห็นมาตรการอย่างแรก กูเกิลเริ่มดำเนินการต่อต้านสแปมผลการค้นหา โดยปรับอัลกอริทึม ตามมาอย่างรวดเร็ว อันนี้เป็นมาตรการอย่างที่สองครับ
รอบนี้แนวคิดของกูเกิลจะแหวกแนวเล็กน้อย เพราะแทนที่กูเกิลจะบล็อคสแปมในผลการค้นหาเสียเอง ก็ขอยืม "พลังแห่งมวลชน" หรือแนวคิด crowdsourcing จากผู้ใช้กูเกิลช่วยกันระบุว่าลิงก์ไหนในผลการค้นหาเป็นสแปม ผ่าน Chrome Extension ชื่อ Personal Blocklist
การเปลี่ยนแปลงใหญ่ครั้งล่าสุดของ Google Search ในรอบหลายปีคือฟีเจอร์ Google Instant ค้นแบบไม่ต้องคลิกหรือกดปุ่ม หลังเปิดตัวฟีเจอร์นี้เมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว ก็เกิดเสียงตอบรับสองแบบชัดเจนคือคนที่ชอบไปเลยกับเกลียดไปเลย
คำถามก็คือคนสองกลุ่มนี้มีจำนวนเท่าไรบ้าง
Ben Gomes วิศวกรผู้ดูแลโครงการ Google Instant ให้ข้อมูลว่าผู้ใช้กูเกิลจำนวน 98% ใช้งานฟีเจอร์นี้ มีเพียง 2% ที่สั่งปิดและกลับไปใช้หน้าค้นหากูเกิลแบบเดิม Gomes ยังเสริมว่าหลังเริ่มใช้ Google Instant พบว่าผู้ใช้กูเกิลพิมพ์ตัวอักษรสั้นลง 5% และหาสิ่งที่ต้องการได้เร็วขึ้น 10%
อันนี้เป็นภาคสี่ของมหากาพย์ Google vs Bing ครับ ย้อนตอนเก่าก่อน
ภาคสี่เป็นการตอบโต้จากฝั่งกูเกิล นำโดย Matt Cutts วิศวกรฝ่ายต่อต้านสแปมในผลการค้นหาของกูเกิล เขียนลงบล็อกส่วนตัวของเขาเองว่า เขาเคารพในฝีมือของพนักงาน Bing หลายๆ คน แต่ถ้าเอาภาพผลการค้นหาที่เหมือนกันมาวางเทียบ แล้วถามคนทั่วไปว่าไมโครซอฟท์ก็อปปี้หรือไม่ คำตอบน่าจะชัดเจน
ภาคก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์โต้กูเกิล "ไม่ได้ก็อปปี้ แค่นำข้อมูลจากผู้ใช้มาปรับปรุงระบบ"
Yusuf Mehdi ผู้บริหารฝ่ายออนไลน์ของไมโครซอฟท์เขียนความเห็นลงบล็อกของ Bing ยืนยันว่าไม่ได้ก็อปปี้ผลการค้นหาจากคู่แข่ง และบอกว่าคำกล่าวหาของกูเกิลถือเป็น "การดูถูก"
ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าปรากฎการณ์ "ผลการค้นหาเหมือนกัน" เป็นผลมาจากไมโครซอฟท์นำข้อมูลการคลิก (click stream) มาเป็นปัจจัยจัดอันดับผลการค้นหาด้วย ซึ่งไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2009
ข่าวใหญ่ประจำวันนี้คือ "Bing ลอกผลการค้นหาจากกูเกิล" (ดูภาพประกอบจาก Search Engine Land เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้น กรณีนี้ชัดเจนจริงๆ)
Harry Shum ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ที่ดูแล Bing ออกมาเขียนบล็อกตอบโต้ โดยบอกว่า Bing ใช้ปัจจัยกว่า 1,000 ชนิดในการเรียงผลการค้นหา และปัจจัยหนึ่งก็คือ "ข้อมูลการค้นหา" ของผู้ใช้ที่ยินดีส่งให้ไมโครซอฟท์ (opt-in) เพื่อปรับปรุงผลการค้นหาให้ดีขึ้น ซึ่งเขาบอกว่าการที่ Bing มีผลการค้นหาเหมือนกูเกิล เป็นเพราะเหตุนี้เอง
Amit Singhal หนึ่งในผู้ร่วมงานของกูเกิล (Google Fellow) ได้ออกมาแฉว่า ระบบการค้นหาของบิงนั้น ได้ทำการขโมยผลการค้นหาของกูเกิล
เขาได้ทดสอบโดยการสร้างหน้าเพจหลุมพลาง (Honeypot) เพื่อให้เกิดผลการค้นหาสำหรับข้อความที่ไม่มีความหมาย และไม่เคยมีอยู่ในการผลการค้นหาใดๆทั้งในหน้าของกูเกิลและบิง อย่าง mbrzxpgjys, hiybbprqag และ indoswiftjobinproduction หลังจากนั้นเขาได้ให้พนักงานกูเกิล 20 คน ใช้ Internet Explorer ที่เปิดการใช้งาน Suggested Sites และ Bing Toolbar ทำการระดมค้นหาคำดังกล่าวในหน้าของกูเกิล เป็นเวลา 2 อาทิตย์ ผลที่ได้คือ ประมาณ 7-9 ผลการค้นหาใน 100 ลำดับแรก ปรากฏผลการค้นหาของหน้าปลอมๆนี้ในหน้าผลการค้นหาของบิง
ข่าวนี้ต่อจาก กูเกิลประกาศสงครามกับ content farm โดย Matt Cutts หัวหน้าทีมต่อต้านสแปมของกูเกิลได้ประกาศในบล็อกส่วนตัวของเขาว่า กูเกิลเริ่มปรับอัลกอริทึมของการเรียงผลค้นหาไปบางส่วน เพื่อไม่ให้สแปมเนื้อหาแบบที่เรียกว่า content farm รวมถึงเว็บที่ก็อปปี้เนื้อหาจากเว็บอื่น ติดอันดับดีเหมือนเดิม
Matt Cutts ระบุว่าการปรับรอบนี้จะกระทบกับผลการค้นหาเพียง 2% (แต่ที่เปลี่ยนจนรู้สึกได้มีเพียง 0.5%) คาดว่าคงจะมีมาตรการอื่นๆ ตามมา
เว็บไซต์ Hacker News ซึ่งทำงานร่วมกับ Matt Cutts ระบุว่าผลการค้นหาบางประโยคที่ Hacker News เคยเสนอไป มีคุณภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน
ระยะหลังมานี้ กูเกิลโดนบ่นมากว่าผลการค้นหาโดนสแปมจนใช้งานจริงไม่ค่อยได้ หลังจากนิ่งเงียบมาสักระยะ Matt Cutts หัวหน้าทีมต่อต้านสแปมของกูเกิลได้ออกมาแถลงผ่านบล็อกดังนี้
สำหรับการสแปมแบบเก่า (สร้างเว็บที่มีเนื้อหาหลอกๆ หรือคัดลอกเนื้อหาจากเว็บอื่นมาใช้) Google Search พัฒนาขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ อัตราโดนสแปมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน แม้ช่วงหลังจะมีอัตราโดนสแปมเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง แต่กูเกิลก็มีมาตรการจัดการไปบ้างแล้ว
เรารู้กันดีว่ากูเกิลได้ร่วมมือกับห้องสมุดของมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง สแกนหนังสือเก่าๆ ให้อยู่ในรูปดิจิทัลทั้งหมด โครงการนี้ทำมาหลายปี และมันเริ่มออกดอกออกผลแล้ว
กูเกิลได้รวบรวมข้อความทั้งหมดในหนังสือจำนวน 5.2 ล้านเล่ม ถ้านับเป็นคำ จะได้ทั้งหมด 500 ล้านคำ คำทั้งหมดนี้จะถูกแยกตามปี และเราสามารถดูแนวโน้มของคำศัพท์ต่างๆ เทียบกับเวลาได้แล้วด้วย Google Books Ngram Viewer
นอกจากกูเกิลจะมีฟีเจอร์แจ้งเตือนว่าเว็บไซต์ที่เป็นผลลัพธ์การค้นหาอาจมีมัลแวร์ฝังอยู่ ล่าสุดกูเกิลได้เพิ่มฟีเจอร์แจ้งเตือนว่าเว็บไซต์ที่เป็นผลลัพธ์การค้นหาอาจถูกควบคุมโดยคนอื่นที่มิใช่เจ้าของเว็บไซต์ โดยจะมีข้อความปรากฏขึ้นใต้ลิงก์เว็บไซต์ในผลลัพธ์การค้นหาว่า "This site may be compromised" (ดูรูปท้ายข่าว)
ไมโครซอฟท์จัดงานแถลงข่าว Bing Search ที่ซานฟรานซิสโก ประกาศฟีเจอร์ใหม่มากมายในผลิตภัณฑ์ตระกูล Bing ทั้งหลาย
เนื่องจากมันเยอะจริงๆ ผมคัดมาแบบรวบรัดมากพร้อมลิงก์ประกอบ ใครอยากรู้อะไรเพิ่มเติมก็รบกวนอ่านกันเองนะครับ
Bing Search + Facebook
ฟีเจอร์ใหญ่ที่สุดในรอบนี้คงเป็นการผสานข้อมูลของ Facebook เข้ามาด้วย (น่าสนใจว่ากูเกิลจะขยับตามอย่างไรบ้าง)
ช่วงส่งท้ายปีก็ได้เวลาของคีย์เวิร์ดยอดฮิตประจำปีจากกูเกิล มีทั้งแบบรวมทั่วโลกและเจาะเฉพาะประเทศ
ผมคัดมาเฉพาะ "ดาวรุ่งพุ่งแรง" (Fastest Rising) ของทั้งไทยและเทศนะครับ
เริ่มจากของไทยก่อน เรียงตามลำดับ
รวมทั่วโลก
ข่าวนี้ต่อจากข่าว คณะกรรมการของ EU ได้รับการร้องเรียนจากเว็บไซต์ในยุโรป 3 ราย เมื่อต้นปี หลังจาก EU ขอข้อมูลจากกูเกิลมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็ตัดสินใจเริ่มกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นทางการแล้ว
ข้อหาที่กูเกิลโดนร้องเรียน (ตามข่าวที่แล้ว) คือการลดคะแนนของเว็บคู่แข่งในผลการค้นหา แต่ EU จะสอบสวนเพิ่มอีก 2 ข้อหา ซึ่งเกี่ยวกับอันดับของโฆษณา AdWords และข้อจำกัดของการย้ายแคมเปญโฆษณาไปยังเว็บคู่แข่ง (เช่น Bing)
ถ้าพบว่ากูเกิลผิดจริง EU มีสิทธิ์ปรับเงินได้ไม่เกิน 10% ของรายได้ของบริษัท ซึ่งสถิติสูงสุดที่เคยโดนปรับคืออินเทล โดนไป 1.06 พันล้านยูโร
ใกล้สิ้นปีก็จะมีอันดับพวกนี้ออกมาเรื่อยๆ นะครับ ชุดแรกสุดเป็นของยาฮู ซึ่งเปิดเผย 10 คีย์เวิร์ดยอดนิยมประจำปีนี้
กราฟิกประกอบจากทางยาฮู
รายละเอียดอื่นๆ อ่านกันเองตามลิงก์ครับ
ที่มา - Yahoo! Blog
หลังจากที่ The New York Times ตีพิมพ์เรื่องของลูกค้าที่ซื้อแว่นตา Lafont ผ่านเว็บโดยการค้นหาข้อมูลด้วยกูเกิล และสรุปความว่ายิ่งลูกค้าด่ามากเท่าไหร่เว็บก็ยิ่งขายดีนั้น ทางกูเกิลก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้ออกมาชี้แจงผ่านบลอกของกูเกิลว่า นี่เป็นปัญหาที่ไม่ควรเกิดขึ้นและตอนนี้กูเกิลก็ได้ตั้งทีมมาดูแลปัญหานี้โดยเฉพาะ รวมถึงปรับปรุงอัลกอริธึมใหม่ที่จะป้องกันปัญหานี้
โดยตอนนี้ระบบใหม่เริ่มใช้งานแล้ว แนวทางที่ใช้หลักๆ มีดังนี้
David Segal นักข่าวของ The New York Times เขียนบทความเรื่อง "A Bully Finds a Pulpit on the Web" เกี่ยวผู้หญิงคนนึงที่โดนหลอกจากการซื้อของบนเน็ต ฟังดูก็เหมือนเรื่องปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ที่มันไม่ธรรมดาคือบทความนี้กลายเป็น Top Trend บน Twitter, ถูกแชร์บนอินเทอร์เน็ตเป็นหมื่นครั้ง และมีบทความวิเคราะห์ถึงปัญหา ที่มาที่ไปกันอีกหลายรายการ
เป็นที่รู้กันดีว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจีน 420 ล้านคนนิยมใช้ Baidu มากกว่า Google ในการค้นหาข้อมูล (สวนทางกับสถิติทั้งโลกที่ Google นำแบบขาดลอย) แต่ที่คาดไม่ถึงคือ Robin Li ซึ่งเป็น CEO ของ Baidu ได้ให้สัมภาษณ์ในงาน Web 2.0 Summit ถึงส่วนแบ่งทางการตลาดของ Search Engine ในจีน ซึ่งพบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศจีนเลือก Baidu ถึง 99%
Robin Li กล่าวถึงตลาด Search Engine ในจีนว่าเป็นอะไรที่แตกต่างกับในประเทศอื่นมากๆ ซึ่งนอกจาก Baidu แล้วยังมีบริการ Search Engine สัญชาติจีนอีกหลายเจ้า อาทิเช่น Tencent, Sina, Sohu, Netease และอีกมากมาย คงเป็นเรื่องยากที่ Google จะมาเข้ามาตีตลาด
Ask.com หรือที่เราเคยรู้จักมันในชื่อ Ask Jeeves ประกาศยกธงขาว เลิกกิจการด้าน search engine และปลดพนักงานสายวิศวกรรมไปจำนวนหนึ่ง
Ask.com เป็นบริษัทลูกของ IAC (InterActiveCorp) ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ขนาดกลางๆ จำนวนมาก (รวมถึง Bloglines ที่เพิ่งปิดตัวไป) ทางบริษัทแม่ประกาศว่า Ask.com ไม่สามารถแข่งขันกับยักษ์อย่างกูเกิลได้ จึงหันไปทำเว็บถาม-ตอบแทนเว็บค้นหา
เว็บไซต์ Ask.com จะยังมีช่องค้นหาอยู่บนเว็บ เพียงแต่ใช้ระบบจากผู้ให้บริการเจ้าอื่นที่ยังไม่เปิดเผยตัว ธุรกิจหลักของ Ask.com ตอนนี้คือทูลบาร์ครับ