Blognone สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ทามิยะ โอโนเดระ (Tamiya Onodera) รองผู้อำนวยการและหัวหน้า IBM Q ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มที่กรุงโตเกียว ในประเด็นเรื่อง Quantum Computing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้าใจยาก แต่ได้รับการจับตาอย่างมากว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอันใกล้นี้
โครงการ IBM Q เป็นโครงการที่มีเป้าหมายคือผลักดันให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมไปไกลกว่าแค่การวิจัย และกลายเป็นคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์ที่ใช้กันแพร่หลายภายใน 5 ปีข้างหน้า
ดร.ทามิยะ เป็นนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มโตเกียวมายาวนานตั้งแต่ปี 1988 และได้รับการยกย่องให้เป็น IBM Distinguished Engineer มีผลงานวิจัยตีพิมพ์มากมาย (ประวัติบนเว็บไซต์ IBM Research)
นักวิจัยจากเกาหลีพัฒนาลำโพงที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งใสบางเฉียบที่สามารถแปะผิวหนังได้เหมือนกับเทปกาว และยังสามารถปรับปรุงมันใช้งานเป็นแผ่นฟิล์มไมโครโฟนได้ด้วย
ผลงานที่น่าทึ่งนี้เป็นงานวิจัยจาก Ulsan National Institute of Science and Technology (UNIST) ในประเทศเกาหลีใต้ ทีมวิจัยได้พัฒนาแผ่นเยื่อนาโนเมมเบรน โดยแผ่นเยื่อที่ว่านี้มีส่วนประกอบสำคัญคือเส้นลวดที่ทำจากเงินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับนาโนเมตรจัดวางเรียงกันเป็นมุมฉาก ทั้งนี้แผ่นลำโพงที่พัฒนามาได้มีความโปร่งใส อีกทั้งบางและเหนียว มีความยืดหยุ่นดีพอที่จะแปะติดไปกับพื้นผิวที่บิดงอหรือผิวหนังมนุษย์ได้แทบไม่ต่างกับรูปลอกลายน้ำ
เกลือ คือหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่พบได้ในตำรับอาหารแทบทุกเชื้อชาติทั่วทุกมุมโลก สารให้ความเค็มนี้คือพื้นฐานของความรู้สึกอร่อยในเมนูอาหารนานาชนิด แม้กระทั่งสูตรเครื่องดื่มหรือของหวานก็ยังมีการใช้เกลือเพื่อช่วยตัดรส และเพิ่มความกลมกล่อม แต่ปัญหาที่เรารู้กันดีคือการบริโภคเกลือมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ ครั้นจะรณรงค์จูงใจให้ทุกคนหักห้ามความอยากแล้วทำความคุ้นเคยกับอาหารรสชาติจืดจางลงบ้างก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
ทว่างานวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ใน Food Research International ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Nimesha Ranasinghe นั้นเลือกที่จะท้าทายโจทย์ด้านโภชนาการนี้ด้วยการพัฒนาตะเกียบที่จะให้ความรู้สึกอร่อยแทนการบริโภคเกลือ
แม้จะเป็นงานที่เจ๋งในบริษัทเทคโนโลยีใหญ่เล็กในซิลิคอนวัลเล่ย์ ก็ใช่ว่าจะมีเงินพอซื้อบ้านในที่แพงแสนแพงอย่างซานฟรานซิสโก ผลสำรวจจาก Team Blind ระบุว่า 59% ของคนทำงานในซิลิคอนวัลเล่ย์ รวมทั้งบริษัทไอทีใหญ่ 13 แห่งในนั้น ไม่มีความสามารถทางการเงินมากพอจะซื้อบ้านในย่านนั้นได้
หลายคนคงจะรู้จัก endorphin ดีว่าเป็น "ฮอร์โมนแห่งความสุข" แต่อาจจะไม่คุ้นชื่อ cortisol ซึ่งเป็น "ฮอร์โมนแห่งความเครียด" เท่าใดนัก ถึงจะฟังดูเป็นเรื่องไม่ค่อยน่าพิศมัยเพราะเกี่ยวกับความเครียด แต่ฮอร์โมนตัวนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของคนเราได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องสภาพความล้าของร่างกาย หรือสภาพความหม่นหมองทางอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ทีมนักวิจัยจาก Stanford จึงคิดพัฒนาเซ็นเซอร์วัดระบบ cortisol สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์สวมใส่
นักวิจัยจาก Nvidia, MIT และ Aalto University ได้ร่วมกันพัฒนาระบบจัดการลบสัญญาณรบกวนหรือน้อยส์จากภาพถ่ายโดยใช้ AI จากการใช้ ImageNet จำนวนกว่า 5 หมื่นภาพ, ภาพถ่ายที่ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์และ MRI เป็น dataset สำหรับใช้เทรน ซึ่งตัว AI นี้สามารถจัดการกับน้อยส์และให้ภาพถ่ายที่มีคุณภาพที่ดีออกมาได้
ระบบ AI นี้มีชื่อว่า Noise2Noise ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ deep learning เมื่อใส่ภาพแบบเป็นน้อยส์ไปแล้ว ตัว AI จะให้ภาพที่มีคุณภาพสูงออกมาได้ ซึ่งภาพจาก ImageNet นี้ทีมวิจัยได้ใส่ randomized noise เข้าไปเพื่อใช้ในการเทรน และทีมวิจัยคาดว่าวิธีนี้สามารถนำไปใช้เพื่อจัดการภาพถ่ายที่มีน้อยส์ปริมาณมากอย่างเช่นภาพถ่ายอวกาศ ไปจนถึงสัญญาณอื่น ๆ อย่างเช่น MRI ก็ได้
Richard Ramchurn ผู้กำกับหนังและกำลังศึกษาปริญญาเอกจาก University of Nottingham ประเทศอังกฤษ ได้สร้างหนังสั้น 27 นาทีเพื่องานวิจัยชื่อเรื่องว่า The MOMENT หนังที่พิเศษกว่าเรื่องใดเพราะเนื้อเรื่องและตอนจบเปลี่ยนไปได้ตามความคิดของผู้ชม
เนื้อเรื่องของ The MOMENT นั้นก็เป็นเรื่องเดียวกับงานวิจัย เหตุการณ์ในหนังเป็นเรื่องด้านมืดของโลกในอนาคตซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเชื่อมต่อกับสมองคนได้เป็นเรื่องปกติ แต่เนื้อเรื่องและตอนจบของเรื่องนั้นไม่มีอะไรตายตัว เพราะในระหว่างที่ผู้ชมนั่งดู The MOMENT โดยสวมเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองไปด้วย สัญญาณที่ถูกวัดได้จะถูกส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อการตัดต่อด้วยซอฟต์แวร์ที่สร้างมาเป็นพิเศษ และตัดต่อเรื่องราวของหนังไปตามสัญญาณที่วัดได้นั้น
นักวิจัยจากจีนประกาศข่าวการพัฒนาปืนยาวเลเซอร์ ZKZM-500 ที่สามารถยิงแสงเลเซอร์ไปสร้างความร้อนเพื่อจุดไฟที่ตำแหน่งเป้าหมายซึ่งอยู่ห่างออกไป 800 เมตรได้สำเร็จ
ZKZM-500 เป็นปืนยาวขนาดลำกล้อง 15 มิลลิเมตร มีน้ำหนัก 3 กิโลกรัม ใกล้เคียงกับปืนยาวยอดนิยม AK-47 มีรัศมีการยิง 800 เมตร โดยสามารถโจมตีเป้าหมายที่อยู่หลังกระจกหน้าต่างได้ ทั้งนี้ยังสามารถติดตั้ง ZKZM-500 บนรถ, เรือ หรือเครื่องบินได้ด้วย โดยปืนยาวเลเซอร์นี้เป็นผลงานการวิจัยพัฒนาโดยสถาบัน Xian Institute of Optics and Precision Mechanics จากวิทยาลัย Chinese Academy of Sciences ในมณฑล Shaanxi
NVIDIA สร้างโมเดล deep learning ที่สามารถเติมเฟรมให้กับวิดีโอจนกลายเป็นวิดีโอสโลโมชั่น เปิดทางการอัดวิดิโอธรรมดาแล้วมาสร้างเป็นวิดิโดสโลโมชั่นภายหลัง โดยไม่ต้องเสียพื้นที่จัดเก็บวิดีโอขนาดใหญ่
ข้อมูลเริ่มต้นใช้วิดีโอที่อัดมาที่ 240 เฟรมต่อวินาที จำนวน 11,000 ชุด มาฝึก
โมเดลของ NVIDIA มีจุดเด่นคือสามารถสร้างเฟรมแทรกกลางระหว่างเฟรมได้จำนวนมากๆ ทำให้สามารถทำให้วิดีโอช้าลง จาก 30 เฟรมต่อวินาทีกลายเป็นช้าลง 8 เท่าเป็น 240 เฟรมต่อวินาทีได้เลย
ที่มา - NVIDIA
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Waterloo, ทีมฮาร์ดแวร์จาก Infineon และทีมปัญญาประดิษฐ์จากกูเกิล ร่วมกันสร้างระบบตรวจจับระดับน้ำตาลโดยไม่ต้องเจาะผิวหนังแม้แต่น้อย แต่ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงเข้าไปสำรวจระดับน้ำตาลในของเหลวแทน
เรดาร์ยิงคลื่นวิทยุกว่า 500 รูปแบบเข้าไปยังของเหลวแล้วจับเวลาที่คลื่นสะท้อนกลับออกมา จากนั้นสร้างซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์มาหาระดับน้ำตาลจากผลลัพธ์ที่จับมาได้ ผลที่ได้ตอนนี้มีความแม่นยำที่ 85% ของการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวโดยตรง
มหาวิทยาลัย Tsinghua เผยจะก่อตั้งศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์ และจะดึง Jeff Dean หัวหน้าฝ่าย AI ของ Google มาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยด้วย
ตัวศูนย์เน้นทำงาน AI ในฮาร์ดแวร์ และจะทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีในจีนอย่าง Tencent และ Horizontal Robotics ด้วย นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังเผยว่าจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Google ที่ซึ่งเพิ่งจะเปิดศูนย์ AI ในปักกิ่งเมื่อปี 2017
ประเทศจีนมีนโยบายเดินหน้าลงทุนเต็มกำลัง และมีเป้าหมายจะเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีในอนาคต ตั้งเป้าให้จีนเป็นศูนย์นวัตกรรม AI ของโลกภายในปี 2030
DARPA เผยแพร่การพัฒนาโครงการ Ground X-Vehicle Technologies (GXV-T) ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัยหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ อย่างแรกคือเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่ภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการวิ่งของยานพาหนะทั่วไป และอย่างที่ 2 คือการเพิ่มระบบการรับรู้ให้แก่ผู้ขับขี่
ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Google ได้โชว์ผลงานวิจัยพัฒนาหลายอย่างในงาน Google I/O 2018 ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คืองานพัฒนาปัญญาประดิษฐ์โดยใช้ Deep Learning สร้างโมเดลเพื่อการทำนายว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาใด โดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วยมาใช้ในการวิเคราะห์ ทั้งนี้จากการทดสอบในหลายโอกาสพบว่าการทำนายมีความแม่นยำสูงกว่า 90% ซึ่งตอนนี้ Google ก็ได้เปิดเผยเอกสารงานวิจัยผ่านทาง Nature ให้คนที่สนใจเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้แล้ว
ทีมวิจัยของ ดร.Denise Faustman แห่ง Massachusetts General Hospital ในสังกัดของ Harvard University ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จเบื้องต้น Clinical trial Phase I ในการยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 โดยใช้เพียงวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ซึ่งใช้กันมายาวนานและมีราคาถูก
ทีมวิจัยจากเฟซบุ๊ก, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน รายงานถึงการสร้างปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างตัวการ์ตูนแทน (avatar) ที่เล่นดนตรีได้สมจริง เพียงแค่ใส่เสียงดนตรีไปอย่างเดียวเท่านั้น
ปัญญาประดิษฐ์นี้เป็นแบบ LSTM ที่รับเสียงดนตรีและให้ค่าลักษณะของมือและแขนที่ควรจะเป็น จากนั้นจึงนำโครงแขนนี้ไปกำหนดท่าทางให้กับโมเดลสามมิติได้
ข้อมูลอาศัยวิดีโอดนตรีใน YouTube ที่มีความยาวพอสมควร และมีเครื่องดนตรีชิ้นเดียว และกล้องไม่ขยับตลอดวิดีโอ จากนั้นสร้างภาพโครงแขนและมือจากประมาณการในวิดีโอ ได้ชุดข้อมูลลักษณะแขนและมือออกมาคู่กับเสียงดนตรี นำมาฝึกเครือข่ายนิวรอนแบบ LSTM
เมื่อได้โมเดลแล้วจึงนำมาสร้างโครงแขนและมือจากดนตรี และทำ avatar จากซอฟต์แวร์ ARKit
ซัมซุงประกาศเปิด Samsung Research หรือศูนย์พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพิ่มที่ประเทศอังกฤษ แคนาดา และรัสเซีย เท่ากับว่าตอนนี้มีศูนย์ AI 5 แห่งทั่วโลกแล้ว (มีอยู่แล้วที่เกาหลีใต้และสหรัฐฯ) นอกจากนี้ซัมซุงยังวางแผนเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญ AI ให้ถึง 1,000 คนทั่วโลกภายในปี 2020
ทีมวิจัยห้องปฏิบัติการ CSAIL แห่ง MIT พัฒนาระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวร่างกายของคนได้โดยอาศัยอุปกรณ์ไร้สายร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ทำให้สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของบุคคลเป้าหมายได้แม้จะมีกำแพงคอนกรีตขวางกั้นระหว่างอุปกรณ์กับบุคคลนั้น
งานวิจัยนี้มีชื่อว่า "RF-Pose" มีโครงข่ายประสาทเทียมที่เรียนรู้รูปแบบการสะท้อนของคลื่นวิทยุจากร่างกายคนกลับมายังอุปกรณ์รับคลื่นที่อยู่อีกด้านของผนัง ความสามารถในการเรียนรู้และจำแนกรูปแบบของคลื่นสะท้อนสามารถทำให้ระบบ RF-Pose ตรวจจับการเคลื่อนไหวได้แบบสดๆ ต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ระบุกว้างๆ ว่าคนเดินไปตรงไหน แต่บอกได้ว่ากำลังขยับแขนและขาอย่างไร กำลังเดิน, ยืน หรือนั่ง หันหน้าไปทางทิศไหน โดยสามารถแสดงผลบนหน้าจอด้วยการใช้เส้นตรงแต่ละสีแทนตำแหน่งของลำตัว, แขน และขาแต่ละข้างของคนที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่อับจากมุมมองสายตาได้
ข่าวฉาวและความไม่มั่นใจในความเป็นส่วนตัวของ Facebook ทำให้คนหนีจาก Facebook ไปใช้โซเชียล WhatsApp ในการพูดคุย ถกปัญหาจากข่าว ด้วยรู้สึกปลอดภัยมากกว่า ผลสำรวจจาก Digital News Report โดย Reuters ชี้ว่า การเสพข่าวผ่าน Facebook ลดฮวบ โดยเฉพาะคนอายุน้อย โดยกลุ่มคนเหล่านี้หันไปใช้ WhatsApp, Instagram, Snapchat
อย่างไรก็ตาม Facebook ยังคงเป็นเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับข่าว โดยมี 36% ใช้งานเสพข่าวในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็สูญเสียตัวเลขผู้ใช้ให้ WhatsApp ไปไม่น้อยซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในช่วง 4 ปีถึง 15 % ในผลสำรวจยังระบุด้วยว่า ผู้คนรู้สึกสบายใจมากกว่าในการใช้ WhatsApp พูดคุยการเมือง โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซียและตุรกี ผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขาจะเจอเนื้อหาข่าวบน Facebook, Twitter และแชร์ลง WhatsApp เพื่อคุยกัน
ทีมวิจัยของ MIT พัฒนาเครื่องตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบใหม่ ซึ่งมีข้อดีเหนือกว่าเครื่องตรวจวัดแบบที่มีใช้งานทั่วไปในตอนนี้ ทั้งเรื่องการตรวจวัดที่ไวขึ้น ทั้งยังใช้งานได้สะดวกกว่าเดิม แถมยังมีแนวโน้มว่าใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าด้วย
อุปกรณ์ตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้เรียกว่า bolometer ซึ่งแต่เดิมใช้ตรวจวัดระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในบริเวณต่างๆ โดยใช้วิธีการวัดอุณหภูมิของชิ้นส่วนโลหะในเซ็นเซอร์ของ bolometer อาศัยหลักการว่าชิ้นส่วนโลหะดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อดูดซับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ยิ่งในบริเวณใดที่คลื่นมีกำลังงานสูง อุณหภูมิของชิ้นส่วนโลหะก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย
Google ประกาศตั้งศูนย์วิจัย AI หรือ Google AI ที่กานา ซึ่งถือเป็นศูนย์ AI แห่งแรกในแอฟริกา เน้นวิจัย AI ในการทำงานด้านการเกษตร, การศึกษา และสุขภาพ
ที่ผ่านมา Google ลงทุนสร้างงานและการศึกษาในแอฟิกาอยู่เรื่อยๆ ปีที่แล้วก็มีโครงการใหญ่ Google เตรียมขยายทักษะงานดิจิทัลให้แก่ชาวแอฟริกันให้ได้ 10 ล้านคนภายใน 5 ปี และลงทุนผ่านสตาร์ทอัพแอฟริกา รวมทั้งทำอีเว้นท์เทคโนโลยีต่างๆ เช่น Data Science Africa 2017 ที่แทนซาเนีย 2017 Deep Learning Indaba เป็นต้น ล่าสุดเป็นขยับก้าวขึ้นอีกขั้นโดยตั้งศูนย์วิจัย AI เลย
Google ระบุว่า จะะรวบรวมนักวิจัยและวิศวกรด้าน Machine Learning เข้าไว้ด้วยกัน และจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยในท้องถิ่นและทำงานกับผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้ AI ในแอฟริกา
สถิติอาชญากรรมที่คนทำเป็นวัยรุ่นในออสเตรเลียลดลงมาก มีนักวิจัยบอกว่าสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากเทคโนโลยีมีส่วนช่วยด้วย ผลวิจัยจาก Australian Institute of Criminology ชี้ว่าสถิติอาชญากรรมใน New South Wales (NSW) ลดฮวบ จากการเปรียบเทียบระหว่างคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่เกิดในปี 1984 กับกลุ่มที่เกิดในปี 1994 แสดงให้เห็นว่า เมื่อคนอายุ 21 สัดส่วนของประชากรวัยนี้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเนื่องจากอาชญากรรมลดลง 49% การขโมยยานพาหนะลดลง 59% ดื่มแล้วขับ ลดลง 49%
สาเหตุที่ทำให้ตัวเลขลดลง ทางนักวิจัยชี้ว่าเทคโนโลยีอาจมีส่วนช่วยในทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากคนตระหนักแล้วว่าการทำอาชญกรรม ขโมยทรัพย์สินทำไม่ได้ง่ายแล้วเพราะมีระบบกล้องวงจรปิดคอยสอดส่อง และมีเทคโนโลยีมากมายที่ทำให้การขโมยรถมันทำไม่ได้ง่ายเหมือนแต่ก่อน
ในงานประชุมสัมมนาวิชาการเรื่องหุ่นยนต์ ICRA2018 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาที่ประเทศออสเตรเลีย ทีมนักวิจัยจาก Tohoku University ร่วมกับ National Institute of Technology ได้นำเสนอหุ่นยนต์ดับเพลิงที่มีจุดเด่นเรื่องการขับเคลื่อนด้วยพลังงานแรงดันน้ำชื่อว่า "DragonFireFighter" ซึ่งสามารถแทรกตัวผ่านช่องว่างขนาดเล็กเพื่อเข้าไปพ่นน้ำดับไฟในพื้นที่ซึ่งเข้าถึงได้ยาก
Tesla เปิดตัว Model 3 เมื่อเดือนเมษายน 2016 โดยเปิดให้จองรถรุ่นดังกล่าวพร้อมวางเงินมัดจำ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้รับยอดจองถล่มทลายถึง 250,000 คันภายในสามวัน
ล่าสุด Second Measure บริษัทวิเคราะห์และวิจัยด้านการตลาดรายงานว่าหลังผ่านมาสองปี มีลูกค้าในสหรัฐอเมริกาที่วางมัดจำจอง Tesla Model 3 ได้ถอนจองและขอเงินคืนไปแล้วราว 23% หรือเกือบ 1 ใน 4 ของยอดจองทั้งหมด ซึ่งเหตุผลอาจมาจากการที่ Tesla ไม่สามารถผลิตรถได้ทันตามเป้าที่วางไว้ ทำให้ลูกค้าไม่อาจรอได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตามโฆษกของ Tesla ได้ออกมาบอกว่าตัวเลขดังกล่าวผิดไปจากตัวเลขที่ Tesla มี แต่ไม่ได้เปิดเผยว่ายอดถอนจองขณะนี้เป็นเท่าไหร่
ตามที่เราเรียนกันมา หรือเชื่อกันมา ว่าการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมเกลือแร่ต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพิ่มเติมจากที่ได้รับจากมื้ออาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือมีอาการเจ็บป่วย ทว่าผลการวิจัยศึกษาพบว่ามันอาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล St. Michael's Hospital และ University of Toronto ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of the American College of Cardiology เมื่อสัปดาห์ก่อน
มีงานวิจัยใหม่จาก Pew Research Center ที่คอยสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ สำรวจวัยรุ่นอเมริกาว่าใช้โซเชียลมีเดียอะไร ผลปรากฏว่า จากที่ Facebook เคยครองโซเชียลอันดับหนึ่งที่วัยรุ่นเข้าใช้ ตอนนี้ไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะโดน YouTube แซง
ในการสำรวจปี 2014 - 2015 วัยรุ่น 71% ใช้ Facebook บ่อย รองลงมา 52% ใช้ Instagram และ 41% ใช้ Snapchat จนกระทั่งการสำรวจปี 2018 สามอันดับแรกไม่มี Facebook แต่เป็น YouTube (85%), Instagram (72%) และ Snapchat(ุ69%) ส่วน Facebook ลงไปอยู่อันดับที่สี่ โดยผู้ใช้วัยรุ่นที่ใช้บ่อยคิดเป็น 51% และ Twitter อยู่อันดับที่ห้า 32%