หลังจากเมื่อวานนี้ Qualcomm เปิดตัวเซ็นเซอร์ลายนิ้วมือสามมิติไป วันนี้ในช่วงถามตอบ Alex Katouzian รองประธานและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่ก็ออกมาอธิบายถึงเซ็นเซอร์ตัวนี้เพิ่มเติม
เทคโนโลยีสแกนลายนิ้วมือสามมิตินี้ได้มาจากการซื้อ Ultra-Scan Corporation ตั้งแต่ปี 2013 โดยที่ผ่านมา Qualcomm เองก็นำเทคโนโลยีไปสร้างเครื่องอ่านลายนิ้วมือความละเอียดสูง ทำตลาดในหน่วยงานรัฐเป็นหลัก และตัวสแกนลายนิ้วมือสามมิตินี้ก็ทำเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้งานในโทรศัพท์มือถือ
Qualcomm เปิดตัวแพลตฟอร์ม Snapdragon 855 อย่างเป็นทางการ โดยชูจุดเด่นชิประดับ multi-gigabit
คอร์ Kryo 485 ทำงานที่สามสัญญาณนาฬิกาพร้อมกัน โดยคอร์ประสิทธิภาพสูง 4 คอร์ มีหนึ่งคอร์ที่ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.84GHz อีกสามคอร์ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.42GHz ขณะที่คอร์ประหยัดพลังงานอีก 4 คอร์ทำงานที่สัญญานาฬิกา 1.8Ghz ทาง Qualcomm ระบุว่าแนวทางนี้ทำให้ประสิทธิภาพของ Snapdragon 855 ในระยะยาวสูงกว่าคู่แข่ง
ส่วนกราฟิก Adreno 640 ประสิทธิภาพสูงขึ้น 30% ขณะที่ตัววงจรภายในเพิ่มการคำนวณเลขทศนิยมความละเอียดต่ำ FP16 สำหรับงานปัญญาประดิษฐ์ ส่วนประมวลผล DSP Hexagon 690 เองก็เพิ่มวงจร Tensor เข้ามารองรับคำสั่งสำหรับปัญญาประดิษฐ์เช่นฟังก์ชั่น sigmoid หรือ ReLU ในตัว
Qualcomm แถลงถึงสินค้าใหม่ที่จะเปิดตัวในงาน Snapdragon Summit 2018 ที่กำลังจัดในช่วง 4-7 ธันวาคมนี้ โดยมีสินค้า 3 ตัวสำคัญ
Blognone ยังคงเกาะติดดราม่ารอบใหม่ Facebook ต่อ โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ New York Times ออกมาเปิดเผยเรื่องราวภายในคือการที่ Facebook จ้างบริษัท Definers บริษัทพีอาร์ที่เชี่ยวชาญด้านการขุดข้อมูลโจมตีคู่แข่งทางธุรกิจ ซึ่งเป็นช่วงที่ Facebook เจอสังคมโจมตีหลายทางทั้งข่าวปลอม ข้อมูลหลุด ถูกแฮก
วิธีการที่ Definers ทำให้ Facebook คือสนับสนุนให้ผู้สื่อข่าวเขียนข่าวเกี่ยวกับการเชื่อมต่อทางการเงินระหว่างนักเคลื่อนไหวต่อต้านเฟสบุ๊คกับ George Soros เศรษฐีนักลงทุนที่เคยให้สัมภาษณ์โจมตี Facebook, Google ด้วยว่าผูกขาดความสนใจคน ทำร้ายความเป็นเสรีของสังคม
Qualcomm รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ตามปีการเงินบริษัท 2018 (กรกฎาคม-กันยายน) รายได้รวม 5,833 ล้านดอลลาร์ ลดลง 2% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 1,280 ล้านดอลลาร์
ปัจจัยที่กระทบต่อรายได้ Qualcomm คือการลดลงของกลุ่มธุรกิจ Qualcomm Technology Licensing (QTL) ที่มีรายได้จากค่าไลเซนส์ ซึ่งอดีตมีรายได้หลักจากแอปเปิล แต่ตอนนี้มีคดีความฟ้องร้องจึงไม่สามารถรับรู้รายได้ ทำให้ภาพรวมลดลง 6% ขณะที่รายได้กลุ่มหลัก Qualcomm CDA Technologies (QCT) ยังคงเติบโตสูง รายได้เพิ่ม 14%
Qualcomm ประเมินว่าการมาของเทคโนโลยี 5G ที่จะแพร่หลายขึ้นในช่วงปี 2019 จะทำให้บริษัทมีรายได้จากไลเซนส์ส่วนนี้มากขึ้น และส่งผลดีต่อบริษัทในระยะยาว
ปี 2017 Qualcomm ออกเทคโนโลยี Quick Charge 4+ ที่ช่วยชาร์จแบตมือถือเร็วขึ้นกว่า Quick Charge 4.0 15% หรือใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 30% ผ่านมากว่า 1 ปี ล่าสุดมีรายงานที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า Qualcomm อาจออก Quick Charge 5.0 ในปี 2019
คุณสมบัติเบื้องต้นของ Quick Charge 5.0 จะให้กำลังไฟ 32 วัตต์ มาพร้อม Triple Charge ซึ่งคาดว่าจะเป็นการเพิ่มวงจรการจัดการพลังงานขึ้นเป็นสามตัว จากเดิมที่ Quick Charge 4+ มี Dual Charge วงจรการจัดการพลังงานสองตัว ช่วยแบ่งกระแสไฟในการชาร์จ ช่วยลดการสูญเสียพลังงานเป็นความร้อน และลดระยะเวลาการชาร์จลง
Qualcomm เปิดตัวชิป Snapdragon 675 ตัวใหม่ในซีรีส์ 600 เน้นเจาะกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับกลาง ต่อจาก Snapdragon 670 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
Snapdragon 675 ปรับแต่งประสิทธิภาพร่วมกับเอนจินเกมยอดนิยมอย่าง Unity, Unreal, Messiah และ NeoX รวมถึงสามารถเปิดเกมได้เร็วขึ้น 30% และลดการกระตุกลงได้ 90% (เทียบกับ Snapdragon 670)
Qualcomm เปิดตัวชิปรุ่นใหม่ Snapdragon Wear 3100 สำหรับสมาร์ทวอทช์ มาพร้อมโหมด Ultra-low power ใช้พลังงานลดลง 67% ยืดอายุของแบตเตอรี่ให้อยู่ได้นาน 2 วัน ใช้ได้กับนาฬิกา Wear OS
Qualcomm เปิดตัวชิป Snapdragon 670 ตัวใหม่ในซีรีส์ 600 ที่จับตลาดสมาร์ทโฟนระดับกลาง ถือเป็นตัวต่อของ Snapdragon 660 รุ่นของปี 2017
ฟีเจอร์ของ Snapdragon 670 มีส่วนประกอบต่างๆ ใกล้เคียงกับ Snapdragon 710 รุ่นรองท็อป แต่ปรับลดสเปกบางอย่างลงมา ดังนี้
ตลาดสมาร์ทวอทช์อาจจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังหนึ่งในสาเหตุของความซบเซาคือ Qualcomm ที่ไม่อัพเดตชิปเซ็ตมาแล้ว 2 ปี เมื่อล่าสุด Qualcomm ปล่อยบัตรเชิญสื่อเข้าร่วมงานเกี่ยวกับสมาร์ทวอทช์ในวันที่ 10 กันยายนนี้
ผลิตภัณฑ์ก็ไม่น่าจะหนีพ้นชิปเซ็ตสำหรับสมาร์ทวอทช์ใหม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้ทาง Qualcomm เคยออกมาแย้มว่าจะมีการเปิดตัวชิปเซ็ตสมาร์ทวอทช์ ในช่วงนี้พอดี
ที่มา - Android Police
Qualcomm รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสล่าสุดตามปีการเงินบริษัท สิ้นสุดวันที่ 24 มิถุนายน 2018 มีรายได้รวม 5,629 ล้านดอลลาร์ และมีกำไรสุทธิ 1,508 ล้านดอลลาร์ โดยการเติบโตมาจากทุกส่วนธุรกิจ โดยเฉพาะส่วนการขายไลเซนส์ที่เติบโตถึง 25% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน
Qualcomm เริ่มส่งชิปทดสอบ QTM052 โมดูลเสาอากาศ mmWave พร้อมกับโมดูล QPM56xx สำหรับคลื่น 5G NR ที่ใช้คลื่นย่าน 3GHz ไปจนถึง 5GHz และโมเด็ม Snapdragon™ X50 ให้กับผู้ผลิต พร้อมกับเปิดเผยรายละเอียดชิปต่างๆ มากขึ้น
ตัวที่แปลกที่สุดคงเป็น QTM052 เสาอากาศที่ใช้คลื่น mmWave หรือคลื่นความถี่สูงกว่า 24GHz ขึ้นไป โดยรับ 3 แถบคลื่น ได้แก่ 26.5-29.5 GHz (n257), 27.5-28.35 GHz (n261), และ 37-40 GHz (n260) ทาง Qualcomm ระบุว่าหาก mmWave ครอบคลุมพื้นที่ผู้ใช้ก็สามารถดาวน์โหลดความเร็วปกติประมาณ 1.4 กิกะบิตต่อวินาที หรือความเร็วสูงสุด 5 กิกะบิตต่อวินาที
Apple ได้ยื่นเรื่องให้ USPTO ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐอเมริกา ประกาศยกเลิกสิทธิบัตรของ Qualcomm จำนวน 4 ฉบับ โดยให้ถือเป็นโมฆะ ทั้งนี้สิทธิบัตรที่ว่านี้เป็นสิทธิบัตรที่ Qualcomm ใช้ฟ้องร้อง Apple ว่ามีการละเมิดใช้งานเทคโนโลยีในสิทธิบัตรโดยเรียกร้องเงินชดเชยนับพันล้านดอลลาร์
Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 632, 439 และ 429 ให้ประสิทธิภาพด้านจัดการพลังงานดีขึ้น สำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลาง
ถึงแม้ Qualcomm จะเพิ่งเปิดตัว Snapdragon 850 สำหรับอุปกรณ์ Windows แต่จริงๆ แล้วมันคือ Snapdragon 845 เวอร์ชันคล็อคสูงกว่าเดิมเท่านั้น ล่าสุดเริ่มมีรายละเอียดของ Snapdragon 1000 ที่ว่ากันว่าเป็น "ตัวจริง" ของซีพียู ARM บนโน้ตบุ๊กออกมาบ้างแล้ว
ข่าวลือระบุว่า Snapdragon 1000 (SDM1000) มีขนาดของ SoC ใหญ่ขึ้นกว่า Snapdragon 850 พอสมควร (20x15 มม. vs 12x12 มม.) ที่น่าสนใจคือตัวซีพียูเป็นแบบซ็อคเก็ตถอดเปลี่ยนได้ ต่างจากซีพียูบนอุปกรณ์พกพาที่ฝังติดมากับบอร์ด
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผู้ผลิตพีซีอย่าง Lenovo, HP และ ASUS เริ่มหันมาใช้ชิปเซ็ตจาก Qualcomm กับโน้ตบุ๊คแบบไฮบริดกันมากขึ้น และล่าสุด Qualcomm เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่ Snapdragon 850 สำหรับโน้ตบุ๊ค Windows 10 on ARM
ปัจจุบันชิป Snapdragon ตัวท็อปสุดคือซีรีส์ 800 (ตัวล่าสุดคือ Snapdragon 845) แต่มีข่าวลือออกมาว่าเราจะได้เห็น Snapdragon ซีรีส์ 1000 ที่อยู่สูงกว่านั้นขึ้นไปอีก และมันออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ Windows 10 โดยเฉพาะ
เว็บไซต์ WinFuture.de ที่เคยรายงานข่าวลือสายไมโครซอฟท์แม่นยำมาหลายครั้ง ให้ข้อมูลว่า Snapdragon 1000 จะเน้นเรื่องประสิทธิภาพที่เพิ่มจากซีรีส์ 800 โดยแลกกับการใช้พลังงานที่เยอะขึ้นตามไปด้วย (จาก 5 วัตต์เพิ่มเป็น 6.5 วัตต์) ซึ่งไม่เป็นปัญหามากนักสำหรับอุปกรณ์ที่ขนาดใหญ่อย่างโน้ตบุ๊ก
WinFuture.de ยังให้ข้อมูลว่า ASUS น่าจะเป็นผู้ผลิต OEM รายแรกที่เปิดตัวอุปกรณ์ที่ใช้ Snapdragon 1000 โดยมีโค้ดเนมว่า "Primus" แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทใด
หลังจากออกชิปประมวลผลรุ่นรองท็อปตัวใหม่ Snapdragon 700 Mobile Platform เมื่อตอนต้นปีที่ผ่านมา ล่าสุด Qualcomm เปิดตัว Snapdragon 710 mobile platform ที่ปรับลดฟีเจอร์จากซีรีส์ 800 รุ่นท็อปเล็กน้อย
Computer History Museum ประกาศปล่อยซอร์สโค้ดโปรแกรมอีเมล Eudora ที่นับเป็นโปรแกรมอีเมลตัวแรกที่ได้รับความนิยมอย่างสูง จูดสูงสุดของโปรแกรมนี้เคยมีผู้ใช้นับสิบล้านคนทั่วโลก รองรับทั้งพีซีและแมค
โปรแกรมนี้สร้างโดย Steve Dorner ขณะที่ทำงานในศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ตั้งแต่ปี 1988 เป็นซอฟต์แวร์แจกฟรี และปี 1991 ทาง Qualcomm ก็ขอซื้อสิทธิ์การพัฒนาต่อจากทางมหาวิทยาลัย พร้อมกับจ้าง Dorner ให้พัฒนาต่อจนกลายเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปในปี 1993 แม้จะยังแจกฟรีต่อไป
Qualcomm ประกาศรองรับมาตรฐาน WPA3 ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปี บนผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยเริ่มใช้มาตรฐานใหม่นี้แล้วกับชิปโมเด็ม WCN3998 และชิปเซ็ต AP ตระกูล IPQ807x ที่มาพร้อมกับมาตรฐาน 802.11ax
Qualcomm ระบุว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ WPA3 จะเริ่มออกสู่ผู้บริโภคในช่วงฤดูร้อนปีนี้ ซึ่งรวมถึง Snapdragon 845 ที่เปิดตัวไปแล้วด้วย
ที่มา - Qualcomm
ก่อนหน้านี้ Evan Blass หรือ @evleaks นักปล่อยข่าวลือที่ค่อนข้างแม่นยำทวีตว่าปลายปีนี้ นอกจาก Pixel 3, Pixel 3 XL และ Pixel Bud ใหม่แล้ว Google ยังจะเปิดตัวนาฬิกาอัจฉริยะของตัวเองในแบรนด์ Pixel ด้วย ซึ่งก็ดูไม่มีข้อมูลอะไรสนับสนุนมากนัก โดยเฉพาะในแง่ชิปเซ็ต เพราะ Qualcomm ก็เลิกพัฒนามาซักพักแล้ว จนมีส่วนทำให้ Android Wear ล้มเหลว
ล่าสุดไม่รู้เหมือนกันว่า Google ไปพูดคุยกับทาง Qualcomm หรือไม่อย่างไร เมื่อ Pankaj Kedia ผู้อำนวยการอาวุโสฝั่งอุปกรณ์สวมใส่ของ Qualcomm เผยว่าบริษัทเตรียมจะเปิดตัวชิปเซ็ตใหม่ พร้อมนาฬิกาอัจฉริยะ Wear OS จากพาร์ทเนอร์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (ราวกันยายน-ตุลาคม) นี้
Facebook พยายามผลักดัน ONNX ในฐานะฟอร์แมตกลางสำหรับงานด้าน Deep Learning โดยที่ผ่านมามี Microsoft Cognitive Toolkit และ Amazon MXNet เข้าร่วม
ล่าสุดในงาน F8 2018 ทางโครงการ ONNX ก็ประกาศพันธิมตรเพิ่มเติมอีก 4 รายคือ
Qualcomm เปิดตัว Vision Intelligence Platform ชิป SoC สำเร็จรูปที่ออกแบบมาจับตลาดอุปกรณ์ IoT ประเภทกล้อง
จุดเด่นของ Vision Intelligence Platform คือเป็นโซลูชันที่ (เกือบ) สมบูรณ์แบบในตัว มีมาให้ครบตั้งแต่ซีพียู Kyro 300, จีพียู Adreno 615, หน่วยประมวลผลสัญญาณภาพ Hexagon 685 รองรับวิดีโอความละเอียด 4K@60fps, หน่วยประมวลผลสัญญาณเสียง, ชิปสื่อสารทั้ง Wi-Fi 802.11ac 2x2 และ Bluetooth 5.1
เรื่องราวของ Qualcomm ที่ Broadcom พยายามซื้อกิจการ แต่ในที่สุดก็ถูกคำสั่งระงับ และยอมล้มเลิกดีลในที่สุด ก็ยังคงมีภาคต่อ โดย Financial Times เผยว่า Paul Jacobs อดีตประธาน Qualcomm ซึ่งเพิ่งประกาศลงจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ก่อน กำลังร่วมมือกับกลุ่มนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งรวมถึง SoftBank เพื่อทำการซื้อกิจการ Qualcomm ร่วมกัน
ที่ต้องเรียกว่าซื้อกลับคืนเพราะว่า Paul Jacobs นั้นเคยเป็นทั้งอดีตซีอีโอ Qualcomm และบิดาของเขาเองก็เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Qualcomm นี้ขึ้นมาด้วยในปี 1985
หลังจากมหากาพย์ Broadcom และ Qualcomm ดำเนินการมาสักพัก จนล่าสุดประธานาธิบดี Trump สั่งระงับดีลการซื้อขายกิจการทันที และห้าม Broadcom เสนอชื่อเข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด Qualcomm ด้วย โดยให้เหตุผลเรื่องความมั่นคงในประเทศ
ล่าสุด Broadcom ก็ประกาศล้มเลิกดีลซื้อ Qualcomm อย่างเป็นทางการแล้ว โดยทางบริษัทกล่าวว่า แม้จะผิดหวังกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แต่ Broadcom ก็จะทำตามคำสั่ง