Bloomberg รายงานว่าโครงการสกุลเงินดิจิทัล Diem ของ Facebook/Meta (Libra เดิมก่อนเปลี่ยนชื่อในปี 2020) อาจไปไม่รอดซะแล้ว หลังธนาคารกลางสหรัฐกดดันหนักให้พาร์ทเนอร์ของโครงการต้องถอนตัว
Bloomberg ระบุว่าธนาคาร Silvergate Bank ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ Diem ในการนำเงินเข้าออกระบบ (เพราะ Silvergate มีไลเซนส์ธนาคารอย่างถูกต้อง) ถูกธนาคารกลางสหรัฐกดดันให้ถอนตัว ทำให้สมาคม Diem Association เริ่มมองหาทางออกด้วยการขายทรัพย์สิน (กายภาพ) ของตัวเองทิ้ง เป็นสัญญาณว่าโครงการไม่น่าไปรอดแล้ว
Meta เปิดตัวซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI Research SuperCluster (RSC) ที่คาดว่าจะใช้งานเต็มที่กลางปี 2022 นี้ ภายในเป็นคลัสเตอร์ของเครื่อง DGX A100 ตอนนี้มีจำนวน 760 เครื่องมาเชื่อมเข้าด้วยกัน รวมชิปกราฟิก 6,080 ชุด และเมื่อคลัสเตอร์เต็มจะใช้ชิปกราฟิก 16,000 ชุด พลังประมวลผลรวมเมื่อเครื่องเสร็จจะอยู่ที่ 5 exaflops ทาง Meta เชื่อว่าน่าจะเร็วที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จ
ระบบสตอเรจของ RSC มีสามระดับ ข้อมูลทั่วไปใช้ Pure Storage Flash Array ขนาด 175PB, แคชใช้ Penguin Computing Altus ขนาด 46PB, และ NFS ของ Pure Storage FlashBlade อีก 10PB
ในจดหมายข่าวของ Mark Gurman แห่ง Bloomberg นอกจากประเด็นเรื่องสินค้าใหม่แอปเปิลแล้ว ยังมีอีกประเด็นที่น่าสนใจคือ แอปเปิลเสียผู้บริหารในโครงการ Apple Car หรือที่รู้จักกันในชื่อ Project Titan อีกแล้ว
เมื่อปีที่แล้ว โครงการ Apple Car เสียหัวหน้าใหญ่ของทีมคือ Doug Field ที่ย้ายไปทำงานกับ Ford รวมถึงผู้บริหารระดับสูงคนอื่นๆ อีกหลายราย (หัวหน้าทีมคนปัจจุบันคือ Kevin Lynch ที่ดูแลฝ่าย Apple Watch มาก่อน)
Meta AI รายงานถึงการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ data2vec ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์แบบสอนตัวเอง (self-supervised) ทำให้สามารถฝึกปัญญาประดิษฐ์ให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลเพิ่มเติม โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นไม่ต้องการเฉลย (label) ที่ปกติต้องให้มนุษย์เตรียมข้อมูลให้
จุดเด่นของ data2vec คือเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้งานกับได้ข้อมูลเสียง, ภาพ, และข้อความได้พร้อมกัน และยังได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าโมเดลแบบเดิมๆ
มีรายงานจาก The Financial Times ระบุว่า Meta กำลังพัฒนาเครื่องมือสำหรับสร้าง แสดง และขาย NFT ผ่านแพลตฟอร์มในเครือทั้ง Facebook และ Instagram นอกจากนี้ยังเตรียมใช้กระเป่าเงินดิจิทัล Novi มารองรับการทำงานส่วนนี้ด้วย
รายงานยังบอกว่า Instagram อาจถูกใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับให้คนที่มีผลงาน NFT นำมาแสดงผล สอดรับกับแนวทางที่บริษัทต้องการไปสู่โลกเสมือน ซึ่งการเพิ่มเครื่องมือซื้อขายสินค้าดิจิทัลก็เป็นหนึ่งในนั้น
ทั้งนี้ตัวแทนของ Meta ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดัวกล่าว
ที่มา: Engadget
Meta ประกาศแต่งตั้ง Tony Xu ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง DoorDash แอปเดลิเวอรีรายใหญ่ในสหรัฐ เข้าร่วมคณะบอร์ดบริหารของบริษัท โดยมีผลทันที
Mark Zuckerberg ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Meta กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่บริษัทจะมีผู้นำจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่เข้าร่วมคณะกรรมการบอร์ด ซึ่ง Tony มีประสบการณ์โดยตรงในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของธุรกิจร้านค้า ซึ่งเขาคาดหวังจะได้มุมมองจาก Tony ในการร่วมสร้าง metaverse
Tony Xu รับตำแหน่งซีอีโอและบอร์ดบริหาร DoorDash ตั้งแต่ปี 2013 และขึ้นเป็นประธานบอร์ดเมื่อปี 2020 การแต่งตั้ง Tony มาร่วมประธานบอร์ดล่าสุดนี้ สะท้อนว่า Meta ยังคงโฟกัสที่บริการด้านการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ซึ่งที่ผ่านมาได้ผลักดันผ่าน Facebook, Instagram และ WhatsApp มาโดยตลอด
Meta บริษัทแม่ของ Facebook ประกาศเลื่อนการกลับเข้ามาทำงานในสำนักงานออกไปอีกครั้ง จากเดิมปลายเดือนมกราคม เป็น 28 มีนาคมนี้
ผู้บริหารของ Meta กล่าวว่าในสถานการณ์นี้บริษัทต้องการให้พนักงานมีเวลามากพอ ที่จะเลือกว่าจะกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงานหรือทำงานจากที่บ้านต่อไป จึงขยายเวลาทำงานที่บ้านออกไประยะหนึ่ง โดยหากเลือกทำงานที่บ้านต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าภายในกลางเดือนมีนาคม และบริษัทจะขยายเวลาไปอีก 3-5 เดือน
ทั้งนี้ Meta กำหนดว่าพนักงานที่จะกลับมาทำงานที่สำนักงานต้องได้รับวัคซีนเข็มบูสเตอร์แล้วเท่านั้น
CNBC รวบรวมความเห็นจากนักวิเคราะห์ โดยมองว่าปี 2022 นี้จะเป็นก้าวสำคัญของ Metaverse เนื่องจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ น่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องออกมา ทำให้ตลาดนี้เข้าถึงคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น คล้ายกับตอนที่แอปเปิลเปิดตัวสมาร์ทโฟนจอสัมผัสเมื่อปี 2007 ซึ่งถึงตอนนี้ทุกคนต่างก็มีสมาร์ทโฟนกัน จึงคาดว่าฮาร์ดแวร์ Metaverse ก็กำลังเป็นแบบนั้น
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวภายในแอปเปิล เผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แอปเปิลได้แจ้งข่าวกับวิศวกรบางคน โดยพวกเขาจะได้รับโบนัสพิเศษเป็นหุ้นที่ทยอยให้ตามเวลา หรือ Restricted Stock ซึ่งจะได้รับหุ้นเมื่อทำงานอยู่ในบริษัทครบกำหนดเวลา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้วิศวกรเหล่านั้นย้ายงานไปบริษัทอื่น โดยมูลค่าผลประโยชน์นั้นเริ่มต้นที่ 50,000 ดอลลาร์ ไปจนถึง 180,000 ดอลลาร์
ศาลมอสโก สั่งปรับ Google และ Meta เนื่องจากไม่ยอมลบเนื้อหาต้องห้ามที่ผิดกฎหมายของรัสเซีย โดย Google โดนสั่งปรับ 7.2 พันล้านรูเบิล (ราว 3.3 พันล้านบาท) และ Meta โดนปรับ 2 พันล้านรูเบิล (ราว 900 ล้านบาท)
Roskomnadzor หน่วยงานด้านการสื่อสารและสื่อมวลชนของรัสเซีย (คล้ายๆ กสทช. ของบ้านเรา) ระบุว่าได้แจ้งให้กูเกิลลบเนื้อหาผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ความรุนแรง การก่อการร้าย ฯลฯ ออกจากแพลตฟอร์มมากกว่า 26,000 รายการ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง เลยต้องยื่นคำร้องให้ศาลตัดสินสั่งปรับ ส่วน Facebook และ Instagram ของบริษัท Meta ก็ได้รับคำร้องลักษณะเดียวกัน แต่ไม่ได้ระบุจำนวน
เว็บไซต์ Yahoo Finance ทำแบบสำรวจคนอ่านเพื่อโหวตบริษัทยอดเยี่ยม และยอดแย่แห่งปี หลังปีนี้ Microsoft คว้าตำแหน่งบริษัทยอดเยี่ยมไป Yahoo Finance ก็ประกาศมอบตำแหน่งบริษัทยอดแย่แห่งปี 2021 ให้กับ Meta หรือชื่อเดิม Facebook
วารสารการแพทย์ The BMJ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง Mark Zuckerberg เรียกร้องให้เฟซบุ๊กแก้ไขระบบตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังระบบของเฟซบุ๊กห้ามไม่ให้ผู้ใช้แชร์บางบทความของ The BMJ
CNBC รายงานข้อมูลโดยอ้างแหล่งข่าวภายในบริษัท ว่าตอนนี้ Instagram ได้ผ่านหลักไมล์สำคัญอีกครั้ง มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs - Monthly Active Users) มากกว่า 2 พันล้านบัญชีแล้ว
ที่ผ่านมา Instagram ไม่พูดถึงจำนวนผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มนัก ครั้งสุดท้ายที่มีรายงานคือ 1 พันล้าน เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2018 เท่ากับว่า Instagram ใช้เวลาอีก 3 ปี จึงมีผู้ใช้งานเพิ่มอีกเท่าตัว แหล่งข่าวบอกว่าจำนวนผู้ใช้งานนั้นมีจำนวน 2 พันล้าน ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่บริษัทแม่ Facebook ประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น Meta
Stan Chudnovsky หัวหน้าฝ่าย Messenger ของ Meta ที่รับผิดชอบทั้ง Facebook Messenger, Instagram และทุกบริการส่วนการรับส่งข้อความ ประกาศว่าเขาจะลาออกจาก Meta ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 โดยบอกว่ายังไม่มีแผนจะเกษียณ แต่จะไปพักผ่อนช่วงระยะเวลาหนึ่ง
การประกาศลาออกของ Chudnovsky เกิดขึ้น 1 สัปดาห์ หลังจาก David Marcus หัวหน้าฝ่ายเงินคริปโตประกาศลาออก ซึ่งทั้งสองคนเคยทำงานด้วยกันที่ PayPal มาก่อน ก่อนจะย้ายมาที่ Facebook และดูแลส่วนของ Messenger
David Marcus หัวหน้าทีมส่วนธุรกิจเงินคริปโตของ Meta บริษัทแม่ Facebook ประกาศว่าเขาจะลาออกจากบริษัทสิ้นปีนี้ โดยไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะไปทำอะไร แต่น่าจะกลับไปเริ่มต้นในฐานะผู้ประกอบการอีกครั้ง
Marcus เดิมเป็นประธานอยู่ที่ PayPal ต่อมาได้ย้ายมารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย Messenger ของ Facebook และย้ายไปอยู่ฝ่ายบล็อกเชนช่วงปี 2018 ซึ่งจากนั้น 1 ปี Facebook ก็เปิดตัว Diem (ตอนแรกชื่อ Libra) สกุลเงินดิจิทัลที่ Facebook อธิบายว่าทำให้การรับส่งเงิน ง่ายเหมือนกับการส่งข้อความใน Messenger
หน่วยงานด้านการแข่งขันและตลาดของอังกฤษ (Competition and Markets Authotiry - CMA) ออกคำสั่งให้ Meta บริษัทแม่ของ Facebook ต้องขายกิจการ Giphy แพลตฟอร์ม GIF ที่ Facebook ซื้อกิจการมาเมื่อปีที่แล้ว ออกไปเป็นบริษัทอิสระ ตามที่มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้
CMA ให้เหตุผลว่าการที่ Facebook ซื้อ Giphy ทำให้เกิดการผูกขาดในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เป็นการปิดโอกาสทำเงินจากโฆษณาของ Giphy ซึ่งจะสร้างการแข่งขัน อีกทั้ง Giphy ยังทำให้คู่แข่งที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล GIF บนแพลตฟอร์ม อาจต้องแชร์ข้อมูลให้ Facebook อีกด้วย
จากเดิมที่ Meta หรือ Facebook เดิมตั้งใจจะเปิดใช้งานเข้ารหัสแชทใน Facebook Messenger, Instagram เป็นค่าตั้งต้นในปี 2022 แต่ล่าสุดทาง Meta ยืนยันผ่าน Telegraph ว่าเลื่อนเปิดใช้งานเป็นปี 2023 เพราะมีหลายปัจจัยต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน โดยเฉพาะเยาวชน
Facebook เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับระบบซื้อขายของในกลุ่ม ฟีเจอร์แรกคือร้านค้าของกลุ่ม (Shops in Groups) ให้แอดมินตั้งขายสินค้าบนเพจที่เชื่อมกับกลุ่มได้ โดยเน้นไปที่แอดมินอาสา และกลุ่มองค์กร
กลุ่มที่ Facebook ยกมาเป็นตัวอย่างคือกลุ่ม OctoNation กลุ่มขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์ รายได้จากการขายของจึงถูกมอบให้องค์กรเพื่อให้ความรู้และสร้างรายได้ให้กับทีมงานที่เป็นทีมงานอาสา
ยังไม่แน่ชัดว่าหากกลุ่มนั้นไม่ใช่กลุ่มการกุศล และไม่ใช่กลุ่มขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นกลุ่มสนทนาสาธารณะ การให้แอดมินตั้งร้านขายสินค้าในกลุ่มได้ จะกลายไปเป็นช่องทางหาเงินเข้ากระเป๋าของแอดมินเองคนเดียวหรือไม่ คงต้องติดตามผลที่จะเกิดต่อไป
แม้ Facebook จะเปลี่ยนชื่อเป็น Meta และออกตัวเป็นหัวหอกในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เมต้าเวิร์ส แต่ล่าสุด Morgan Stanley สรุปในรีเสิร์ชโน้ตว่าบริษัทที่จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในวงกว้างของเมต้าเวิร์ส คือ Apple
Morgan Stanley ระบุว่าแม้ Facebook และ Google จะลงทุนกับ AR และ VR ไปมากเท่าไร สุดท้ายการใช้งานในวงกว้างจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ Apple เข้ามาร่วมแข่งในสนามนี้ด้วย โดยข้อสรุปนี้อ้างอิงมาจากแบบสำรวจ และการสนทนากับบริษัท AR/VR หลายเจ้า
เฟซบุ๊ก (Meta) ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับการแปลภาษาหลายภาษา (multilingual translation) ที่ชนะโมเดลปัญญาประดิษฐ์แปลภาษาที่เจาะจงคู่ภาษาถึง 10 คู่ภาษาจาก 14 คู่ภาษา
แนวทางของเฟซบุ๊กสร้างโมเดลแปล 7 ภาษาเป็นภาษาอังกฤษ และโมเดลสำหรับแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาทั้ง 7 นั้นฝึก โดยโมเดลทั้งสองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การค้นหาเอกสารที่แปลแล้วในเว็บ, หรือการใช้เอกสารภาษาเดียวเพื่อฝึกจากปัญญาประดิษฐ์แปลภาษาที่มีอยู่แล้ว (back translation), และการปรับแต่งโมเดลด้วยข้อมูลเฉพาะทาง (in-domain finetuning)
ปัญหาการฝังรหัสผ่านหรือคีย์ไว้ในซอร์สโค้ด ถือเป็นช่องโหว่ความปลอดภัยที่มักพลาดกันบ่อยๆ ทำให้บริการฝากซอร์สโค้ดอย่าง GitHub มีฟีเจอร์ชื่อ Secret Scanning คอยไล่ตรวจว่าในโค้ดมีการฝังคีย์ลักษณะนี้หรือไม่ (บังคับเฉพาะโค้ดแบบ public ส่วนโค้ดแบบ private เป็นฟีเจอร์แบบเสียเงิน และต้องเลือกเปิดเอง)
วิธีการคือ GitHub ร่วมกับบริษัทดังๆ หลายเจ้า เช่น AWS, Azure, Google Cloud, Dropbox, Slack, Stripe, Shopify, Twilio (รายชื่อทั้งหมด) เพื่อตรวจสอบแพทเทิร์นคีย์ของบริษัทเหล่านี้ และแจ้งเตือนบริษัทผู้ออกคีย์ให้ถอนคีย์ออก หากพบว่ามีคีย์ถูกเผยแพร่ในที่สาธารณะ
Meta ประกาศความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เชื่อมต่อระบบโซเชียลในองค์กร Workplace (เดิมชื่อ Workplace from Facebook) เข้ากับ Microsoft Teams
ก่อนหน้านี้ ทั้งสองบริษัทเพิ่งประกาศความร่วมมือกันโดย หน้าจอ Facebook Portal จะรองรับวิดีโอคอลล์จาก Microsoft Teams ด้วย
AMD ประกาศข่าวได้ลูกค้ารายสำคัญคือ Meta (Facebook เดิม) สั่งซื้อซีพียู EPYC เพื่อใช้ในศูนย์ข้อมูลของตัวเอง โดยจะเริ่มจาก EPYC Gen 3 (Milan) ที่เปิดตัวเมื่อช่วงต้นปี 2021 ส่วนรายละเอียดจะแถลงเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้
ที่ผ่านมา AMD ได้บริษัทคลาวด์ขนาดใหญ่ (hyperscale) เป็นลูกค้า EPYC หลายราย เช่น Azure, Google Cloud, Cloudflare ซึ่งกรณีของ Cloudflare เปลี่ยนเซิร์ฟเวอร์เป็นรุ่นใหม่ที่ใช้แต่ EPYC Milan ล้วนๆ ด้วย
The New York Times อ้างแหล่งข่าวและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เผยว่า Meta หรือ Facebook เดิม ได้พูดคุยถึงแผนเปิดร้านค้า เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ของแผนก Reality Labs รวมทั้งเฮดเซต VR แว่นตา AR นอกจากนี้ยังอาจขายสินค้าอื่นจาก Facebook เช่น Portal ด้วย
รูปแบบร้านค้านั้น Meta ต้องการให้ผู้คนได้เข้าถึงและเข้าใจโลก Metaverse มากขึ้น ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปให้ลูกค้าได้ทดลองประสบการณ์ใช้งานนั่นเอง ชื่อเดิมที่เคยพิจารณาใช้ก่อนประกาศตั้ง Meta มีทั้ง Facebook Hub, Facebook Innovations หรือ Facebook Reality Store
ในเอกสารแผนงานนั้น Meta เตรียมเปิดร้านค้าดังกล่าวทั่วโลก แต่มีโอกาสเช่นกันที่แผนงานทั้งหมดนี้อาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้
ตั้งแต่เดือน มิ.ย. ปี 2020 Facebook เปิดระบบ Subscriptions ให้ครีเอเตอร์ที่ผ่านเกณฑ์ เก็บเงินจากแฟนๆ รายเดือนเพื่อสร้างรายได้สำหรับสร้างเนื้อหาต่อไปได้ (โมเดลคล้าย Patreon) ล่าสุด Facebook ประกาศความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม ครีเอเตอร์ใน 27 ประเทศ รวมไทยด้วย สามารถเปิด Subscriptions ได้ แต่ยังเป็นระบบ invite-only
ครีเอเตอร์สามารถโปรโมทระบบ Subscriptions ในหน้าโปรไฟล์ของตัวเอง และใช้ระบบชำระเงิน Facebook Pay ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ Facebook ยังจ่ายโบนัสให้กับครีเอเตอร์ $5 - $20 ถ้ามีคนมาติดตามเพิ่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเงินลงทุน 1,000 ล้านเหรียญเพื่อครีเอเตอร์ที่ Facebook ประกาศมาก่อนหน้านี้