ไมโครซอฟท์เปิดเผยจำนวนเงินที่ลงทุนใน OpenAI อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในรายงาน 10-Q ที่ส่งให้กับ SEC หลังจากบริษัทประกาศผลประกอบการประจำไตรมาสที่ผ่านมา ระบุว่าได้ลงทุนใน OpenAI และให้คำมั่นเป็นเงินทุนรวม 13,000 ล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟท์เตรียมจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถยื่นข้อเสนอเพื่อขอมติจากที่ประชุมได้ โดยมีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องบิตคอยน์
กลุ่มนักลงทุนได้ยื่นข้อเสนอ ให้ไมโครซอฟท์นำเงินของบริษัทบางส่วน กระจายความเสี่ยงไปลงทุนในบิตคอยน์ หรือเงินคริปโตอื่น โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาไมโครซอฟท์มักนำเงินสดไปลงทุนในตราสารหนี้หรือหุ้นกู้เอกชน ซึ่งให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ถึงแม้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลนี้จะมีความเสี่ยงสูง และมีความผันผวนในระยะสั้น แต่จะช่วยให้สินทรัพย์ของไมโครซอฟท์เอาชนะเงินเฟ้อได้ ข้อเสนอคือให้ลงทุนไม่เกิน 1% ของเงินสดบริษัท
ต่อเนื่องจากข่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่าง OpenAI และไมโครซอฟท์ ที่เป็นผู้ลงทุนรายสำคัญ เริ่มมีปัญหาขัดแย้งกันมากขึ้น The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองระหว่างสองบริษัท เรื่องจำนวนหุ้นและผลตอบแทนใหม่เมื่อ OpenAI ปรับโครงสร้างองค์กรสำเร็จ
เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่แรกเมื่อก่อตั้ง OpenAI ซึ่งเป็นบริษัทไม่แสวงหากำไร (Non-Profit) ใช้เงินนักลงทุนเพื่อเป้าหมายการสร้าง AGI หรือปัญญาประดิษฐ์ที่ทำได้ทุกอย่าง แต่ต่อมาพบว่าต้องใช้เงินอีกมาก เลยตั้งบริษัทลูกสำหรับแสวงหากำไร (For-Profit) แบบจำกัดผลตอบแทนให้นักลงทุน แล้วรับเงินใหม่จากนักลงทุนรวมทั้งไมโครซอฟท์ผ่านบริษัทนี้ ทั้งหมดทำให้โครงสร้าง OpenAI เลยไม่เหมือนใคร
สำนักข่าว Kyodo News ของญี่ปุ่น มีบทสัมภาษณ์เจ้าชาย Faisal bin Bandar bin Sultan Al-Saud รองประธานกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Public Investment Fund (PIF) ของซาอุดีอาระเบีย ในงาน Tokyo Game Show 2024
มีประเด็นน่าสนใจจากการประกาศรับเงินลงทุนรอบล่าสุดของ OpenAI ที่สูงถึง 6,600 ล้านดอลลาร์ บนมูลค่ากิจการ 1.57 แสนล้านดอลลาร์ โดย OpenAI ได้แจ้งกับผู้ลงทุนรอบนี้ ว่าบริษัทไม่ต้องการให้พวกเขา ไปลงทุนในบริษัท AI คู่แข่ง
Reuters อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องบอกว่า OpenAI ระบุรายชื่อ 5 บริษัท ที่มองว่าเป็นคู่แข่งสำคัญในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ Anthropic, xAI ของ Elon Musk ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI, Safe Superintelligence ของ Ilya Sutskever ผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI, Perplexity และ Glean
OpenAI ประกาศรายละเอียดเพิ่มทุนรอบใหม่ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ โดยได้เงินจากนักลงทุนรวม 6.7 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.2 แสนล้านบาท ที่มูลค่ากิจการ 1.57 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5.16 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุดที่ 8.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เกือบเท่าตัว
OpenAI บอกว่าเงินทุนก้อนใหม่นี้ จะนำมาใช้เพิ่มจำนวนพลังการประมวลผล และสร้างเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้คนแก้ปัญหาที่มีความยาก ทำให้บริษัทยังคงความเป็นผู้นำด้านงานวิจัย AI
OpenAI ปิดรอบการรับเงินลงทุนรอบใหม่ด้วยเงินลงทุน 6,600 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 220,000 ล้านบาท มูลค่าบริษัทล่าสุดอยู่ที่ 157 พันล้านดอลลาร์หรือประมาณ 5.2 ล้านล้านบาท
ผู้ลงทุนเดิมอย่างไมโครซอฟท์และ NVIDIA ยังคงเพิ่มเงินลงทุนในรอบนี้ รวมถึงกองทุน venture capitals อย่าง Thrive Capital ที่ลงทุนก่อนหน้านี้แล้ว ขณะที่กองใหม่เข้ามาเพิ่มเติม เช่น SoftBank, Fidelity ที่หายไปคือแอปเปิลที่เคยแสดงความสนใจจะลงทุน โดยเงินลงทุนรอบนี้เป็นการลงทุนแบบตราสารหนี้แปลงสภาพ และจะแปลงกลายเป็นหุ้นต่อเมื่อบริษัทแปลงร่างให้กลายเป็นบริษัทแสวงหากำไรเต็มตัวสำเร็จ ไม่ถูกอั้นกำไรและถูกควบคุมโดยฝั่งมูลนิธิตามโครงสร้างเดิมอีกต่อไป
The Wall Street Journal รายงานจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ว่าตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ถึงแผนการเพิ่มทุน OpenAI รอบใหม่ ซึ่งมีรายชื่อแอปเปิล เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนด้วย ล่าสุดแอปเปิลได้ตัดสินไม่เข้าร่วมการลงทุนแล้ว
Sarah Friar ซีเอฟโอของ OpenAI เปิดเผยว่าข้อตกลงการเพิ่มทุนทั้งหมดจะสรุปได้ภายในสัปดาห์หน้า โดยมีตัวเลขเงินลงทุนรวมไม่เป็นทางการอยู่ประมาณ 6,500 ล้านดอลลาร์ ที่มูลค่ากิจการประมาณ 1.5 แสนล้านดอลลาร์ และไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญใน OpenAI คาดว่าจะลงทุนเพิ่มในรอบนี้อีกประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่า บริษัทด้านการลงทุน Apollo Global Management ได้ยื่นข้อเสนอมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์กับอินเทล เพื่อลงทุนในรูปแบบหุ้นหรือเทียบเท่า ซึ่งเงินลงทุนอาจสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์
รายงานบอกว่าอินเทลรับทราบข้อเสนอนี้แล้ว แต่ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลังการเจรจา หรือดีลอาจถูกปฏิเสธไปเลยก็ได้
ข่าวนี้เป็นอีกข้อมูลว่าอินเทลอาจอยู่ในช่วงที่ได้รับข้อเสนอจากผู้ลงทุนในหลายรูปแบบ จากวันก่อนที่มีข่าวว่า Qualcomm ก็ยื่นข้อเสนอขอซื้อกิจการไป
อินเทลและ Apollo Global ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
บริษัทด้านการลงทุน Blackstone ประกาศซื้อกิจการ AirTrunk ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลจากออสเตรเลีย ด้วยมูลค่า 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 5.5 แสนล้านบาท โดยเป็นการซื้อหุ้นจากผู้ลงทุนเดิมคือ Macquarie Asset Management และ Public Sector Pension Investment Board
Blackstone บอกว่าดีลนี้เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยต้องรอการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของออสเตรเลียด้วย
AirTrunk ให้บริการศูนย์ข้อมูลแบบไฮเปอร์สเกลในเอเชียแปซิฟิก มีที่ตั้งกระจายอยู่ใน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ขนาดรวม 800 เมกะวัตต์ และมีแผนขยายให้รองรับถึง 1 กิกะวัตต์ในอนาคต
The Wall Street Journal มีรายงานเพิ่มเติมจากข่าวที่ OpenAI กำลังเจรจากับนักลงทุนเพื่อระดมทุนรอบใหม่ ซึ่งจะทำให้มูลค่ากิจการสูงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีรายชื่อบริษัทที่สนใจร่วมลงทุนใน OpenAI เพิ่มเติมได้แก่ แอปเปิล และ NVIDIA
อย่างไรก็ตามไม่มีรายละเอียดว่าทั้งสองบริษัทสนใจลงทุนเป็นวงเงินเท่าใด เพราะตามรายงานก่อนหน้านี้ Thrive Capital จะเป็นผู้ลงทุนหลักในรอบนี้ที่วงเงินหลายพันล้านดอลลาร์ โดยมีไมโครซอฟท์ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ร่วมลงทุนด้วยอีกจำนวนหนึ่ง
อินเทลส่งรายงาน 13-F ให้กับ SEC เกี่ยวกับการถือครองหุ้นบริษัทอื่น โดยพบว่าอินเทลได้ขายหุ้น Arm ที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไปจำนวน 1.8 ล้านหุ้น ในช่วงไตรมาสเดือนเมษายน-มิถุนายนที่ผ่านมา จึงไม่มีข้อมูลว่าอินเทลขายหุ้น Arm ออกไปวันไหน และได้เงินจากการขายเท่าใด
Arm ไอพีโอเข้าตลาดหุ้นเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งมีหลายบริษัทเทคโนโลยีที่ร่วมซื้อหุ้นไอพีโอรวมทั้งอินเทล โดยมี SoftBank เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด
ในรายงาน 13-F ได้ระบุถึงหุ้นบริษัทอื่นที่อินเทลลงทุนอยู่ได้แก่ Astera Labs, Joby Aviation, MariaDB และ Senti Biosciences
สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลอ้างจากคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง 4 คน บอกว่าเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว อินเทลได้รับข้อเสนอให้ลงทุนใน OpenAI ที่เวลานั้นยังมีสถานะเป็นบริษัทวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่แสวงหากำไร กำลังวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับ Generative AI
ผู้บริหารของอินเทลและ OpenAI ได้หารือกันหลายครั้งช่วงปี 2017-2018 ข้อเสนอการลงทุนนั้นมีหลายอย่าง เช่น OpenAI เสนอให้อินเทลถือหุ้น 15% โดยจ่ายเงินสด 1 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งให้ข้อเสนอถือหุ้นเพิ่มอีก 15% แลกกับอินเทลต้องขายฮาร์ดแวร์ประมวลผลให้ OpenAI ที่ราคาต้นทุน
David Cahn พาร์ตเนอร์จาก Sequoia Capital เขียนบทความแสดงความกังวลว่ากระแส AI กำลังกลายเป็นฟองสบู่ หลังจากการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไม่หยุด
บริษัท อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัทลูกของบริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จํากัด (มหาชน) หรือ AMARIN แจ้งความคืบหน้าการเข้าลงทุนครั้งที่ 2 ในบริษัท เด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด เจ้าของเว็บไซต์ Dek-D.com โดยซื้อหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นรายเดิม จำนวน 2,878 หุ้น คิดเป็น 25.90% มูลค่า 30 ล้านบาท
หลังการซื้อหุ้นดังกล่าว อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ เป็นผู้ถือหุ้นในเด็กดี 50.99% ทำให้มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของอมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์
กลุ่มอมรินทร์ ประกาศแผนซื้อหุ้นเด็กดีตั้งแต่ปลายปี 2565 โดยประกาศตั้งแต่เวลานั้นว่าจะซื้อหุ้นครบตามจำนวนในช่วงกลางปี 2567
SK Group บริษัทแม่ของ SK Hynix บริษัทผู้ผลิตชิปหน่วยความจำอันดับ 2 ของโลกจากเกาหลีใต้ ประกาศแผนการลงทุนหลายอย่างกับผู้ถือหุ้น ซึ่งการลงทุนส่วนหนึ่งจะโฟกัสไปที่การรองรับ AI ในอนาคต เฉพาะ SK Hynix มีแผนลงทุนเป็นเงิน 103 ล้านล้านวอน (2.7 ล้านล้านบาท) จนถึงปี 2028 สำหรับธุรกิจด้านชิปที่เกี่ยวข้องกับ AI
นอกจากนี้ SK Group มีแผนลงทุนด้าน AI เพิ่มเติมอีกในวงเงิน 80 ล้านล้านวอน ซึ่งรวมทั้งส่วนการปันผลให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีตั้งแต่การพัฒนาชิปหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง หรือ HBM, การพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ทำงานบน AI และการพัฒนาบริการผู้ช่วย AI เป็นต้น
SoftBank ประกาศตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) กับ Tempus AI บริษัทพัฒนาเครื่องมืออ่านข้อมูลผลการตรวจสุขภาพด้วย AI เพื่อดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น
ในข้อตกลงของการตั้งบริษัทร่วมทุน SoftBank และ Tempus AI จะลงทุนฝ่ายละ 15,000 ล้านเยน จัดตั้งบริษัท SB TEMPUS นำเทคโนโลยีสุขภาพและ AI ที่ Tempus AI ให้บริการอยู่แล้วในสหรัฐอเมริกา ขยายมายังลูกค้าในประเทศญี่ปุ่น
อินเทลประกาศว่า Apollo Global Management บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ของอเมริกา (มีทรัพย์สินที่บริหารอยู่รวมมูลค่า 5.5 แสนล้านดอลลาร์) เข้ามาร่วมถือหุ้น 49% ในโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ Fab 34 ที่ประเทศไอร์แลนด์
Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) หน่วยงานศึกษาวิจัยด้าน AI ของมหาวิทยาลัย Stanford ออกรายงานประจำปีดัชนีด้าน AI - Artificial Intelligence Index Report 2024 ซึ่งเป็นปีที่ 7 ของรายงานนี้ รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของ AI จากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ประเด็นที่สำคัญในรายงานปีนี้มีหลายอย่าง ซึ่งรวบรวมมาดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศลงทุนเชิงกลยุทธ์เป็นเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์ ใน G42 บริษัทโฮลดิ้งด้าน AI ของอาบูดาบี เพื่อเสริมความแข็งแกร่งระหว่างสองบริษัท และเป็นโอกาสให้ไมโครซอฟท์ได้นำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ AI มาใช้ใน UAE
ผลจากความร่วมมือนี้ Brad Smith ประธานไมโครซอฟท์ จะร่วมเป็นบอร์ดของ G42 ด้วย
ทั้งสองบริษัทมองว่าความร่วมมือนี้ จะช่วยเร่งรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และแอฟริกา
ที่มา: G42
Amazon ประกาศความคืบหน้าของแผนลงทุนใน Anthropic บริษัท AI ผู้พัฒนา Claude จากก่อนหน้านี้บริษัทจ่ายเงินลงทุน 1,250 ล้านดอลลาร์ และสามารถเพิ่มวงเงินลงทุนได้เป็น 4,000 ล้านดอลลาร์ โดยตอนนี้บริษัทประกาศลงทุนเพิ่มอีก 2,750 ล้านดอลลาร์ ครบจำนวน 4 พันล้านแล้ว
แม้การลงทุนของ Amazon จะเป็นเงินที่สูง แต่รูปแบบก็คล้ายกับดีลไมโครซอฟท์ลงทุนใน OpenAI นั่นคือ Amazon ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายเล็ก เพราะเป็นหุ้นคลาสพิเศษ และบริษัทยังไม่มีโควต้าตำแหน่งบอร์ดบริษัท ทั้งนี้ Anthropic มีมูลค่ากิจการประเมินล่าสุดที่ราว 18,400 ล้านดอลลาร์ จากการรับเงินลงทุนรวมประมาณ 7,300 ล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟท์รายงานจำนวนเงินที่ลงทุนใน Mistral สตาร์ทอัพด้าน AI จากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือให้บริการโมเดล Mistal Large บน Azure โดยไมโครซอฟท์ลงทุนเป็นเงิน 15 ล้านยูโร และเงินลงทุนนี้สามารถแปลงเป็นหุ้นของ Mistral ได้ เมื่อบริษัทเปิดระดมทุนซีรีส์ใหม่
ผลจากดีลดังกล่าวจึงทำให้มูลค่ากิจการของ Mistral ยังไม่เปลี่ยนแปลง จนกว่าจะมีการแปลงเงินลงทุนนี้เป็นหุ้น ทั้งนี้ Mistral ได้รับเงินลงทุนรอบล่าสุด 385 ล้านยูโร จากนักลงทุนนำโดยกองทุน Andreessen Horowitz และทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการล่าสุดประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์
ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปีกับ Mistral สตาร์ทอัพด้าน AI จากฝรั่งเศส ที่เพิ่งเปิดตัวโมเดล Mistral Large ซึ่งรองรับภาษาที่ใช้ในยุโรป โดยโมเดลของ Mistral สามารถใช้งานได้บน Azure
ประกาศความร่วมมือที่เป็นทางการมีเท่านี้ แต่ Financial Times ก็มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าไมโครซอฟท์นั้นได้ตกลงที่จะลงทุนเป็นหุ้นอัตราส่วนเล็กน้อยใน Mistral ด้วย ซึ่งบริษัทมีมูลค่ากิจการล่าสุดประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์ (2 พันล้านยูโร) จึงเป็นประเด็นน่าสนใจเพราะผู้อ่านก็ทราบกันดีว่าไมโครซอฟท์นั้นเดิมพันสูง ตกลงที่จะลงทุนมากกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ ใน OpenAI อยู่แล้ว
มีรายงานว่า Masayoshi Son ผู้ก่อตั้ง SoftBank กำลังพิจารณาตั้งกองทุนมูลค่าถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อโฟกัสการลงทุนในบริษัทเกี่ยวกับอุตสาหกรรมชิปโดยเฉพาะ เป้าหมายคือให้มีบริษัทที่สามารถแข่งขันด้านชิป AI กับ NVIDIA ตลอดจนซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้อง
โครงการตั้งกองทุนดังกล่าวมีโค้ดเนมภายในว่า Izanagi เบื้องต้น SoftBank จะลงเงินเอง 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และรับเงินจากนักลงทุนภายนอกอีก 7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้ที่กำลังเจรจาคือกลุ่มทุนจากตะวันออกกลาง
ปัจจุบัน SoftBank เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทออกแบบชิป Arm ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีจากการไอพีโอเข้าตลาดหุ้น
ตัวเลขนั้นพิมพ์ถูกต้องแล้ว ซึ่งรายงานนี้มาจาก The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ได้เริ่มพูดคุยกับนักลงทุนหลายราย รวมทั้งรัฐบาลของ UAE, Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank ไปจนถึงตัวแทนของ TSMC เพื่อให้ร่วมลงทุนในบริษัทใหม่ เป้าหมายคือปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ใหม่ทั้งหมด เน้นไปที่การพัฒนาชิปประมวลผลสำหรับ AI
รายงานบอกว่าตัวเลขที่ Altman เสนอสำหรับโครงการนี้ คือเงินลงทุนที่สูงถึง 5 ล้านล้าน จนถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็คือ 1.8-2.5 ร้อยล้านล้านบาท