สำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลว่า Bukalapak อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนอีก 234 ล้านดอลลาร์ จากหลายนักลงทุน นำโดยไมโครซอฟท์, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และกลุ่มบริษัท Emtek ของอินโดนีเซีย
เมื่อปลายปีที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศลงทุนใน Bukalapak ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการที่มีการรายงานอยู่ที่ 2,500 ล้านดอลลาร์
การแข่งขันของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจด้านเทคโนโลยีในอินโดนีเซียมีอยู่สูง ทั้งจากคู่แข่งสำคัญอย่าง Tokopedia ที่มีข่าวจะควบรวมกิจการกับ Gojek และ Shopee ของกลุ่ม Sea ไปจนถึง Grab ที่ล่าสุดเตรียมเข้าตลาดหุ้นอเมริกาผ่านวิธีการ SPAC
วันนี้ Microsoft ประกาศริเริ่มโครงการ Berdayakan Ekonomi Digital Indonesia เพื่อช่วยให้อินโดนีเซียขึ้นเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิตอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการทำ digital transformation ของอินโดนีเซีย
หน่วยงานกำกับดูแลบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า Shopee อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Sea ได้เข้าซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่น Bank Kesejahteraan Ekonomi หรือ Bank BKE ตามที่มีรายงานข่าวออกมาตั้งแต่เดือนมกราคม (ข่าวเก่า) แต่ครั้งนี้เป็นการยืนยันผ่านหน่วยงานในอินโดนีเซีย
รายงานระบุว่า Shopee มีแผนจะปรับบริการของ Bank BKE ให้เป็นธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยคาดว่าเพื่อแข่งขันกับ Jago ธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ซึ่งมี Gojek ถือหุ้นอยู่ 22%
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องว่า Gojek กำลังเจรจาควบรวมกิจการกับ Tokopedia บริษัทอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซียและเป็นสตาร์ทอัพเบอร์ 2 ของประเทศ
แหล่งข้อมูลระบุว่าตอนนี้มีการทำข้อตกลงเพื่อ due diligence ระหว่างกันแล้วและหากไม่มีปัญหา ทั้งสองบริษัทก็อยากจะปิดดีลให้ได้อย่างเร็วที่สุดภายในเดือนหน้า และบริษัทใหม่ที่ควบรวมจะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านเหรียญ (มูลค่า Gojek ประมาณ 1.05 หมื่นล้านและ Tokopedia ราว 7.5 พันล้าน)
หลังควบรวมกิจการกันแล้ว แผนการณ์ต่อไปคือนำบริษัทที่มีธุรกิจตั้งแต่อีคอมเมิร์ซ, ออนไลน์เพย์เมนท์, รับส่งคนและเดลิเวอร์รี่เข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐ
โจโค วิโดโด (โจโควี) ประธานาธิบดีของอินโดนีเซียให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่ารัฐบาลเตรียมส่งคนไปเจรจากับผู้บริหารระดับสูงของ Tesla Motors เพื่อให้มาลงทุนโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศ ด้วยเป้าหมายการเป็นโรงงานผลิตแบตรถไฟฟ้าระดับโลกของอินโดนีเซีย
โจโควีบอกว่าฐบาลหมายมั่นปั้นมือให้ประเทศเป็นแหล่งผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก แถมอินโดนีเซียก็มีแร่นิกเคิลในปริมาณมาก นอกจากนี้ การดึง Tesla มาลงทุนก็เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย Omnibus กฎหมายการจ้างงานใหม่ ที่เปิดให้บริษัทต่างชาติมาลงทุนง่ายขึ้น
ที่มา - Reuters
GoJek บริการเรียกรถโดยสารและ O2O จากอินโดนีเซีย ประกาศตั้งธุรกิจใหม่ GoScreen แพลตฟอร์มสื่อโฆษณาดิจิทัลนอกบ้าน (Digital Out of Home - DOOH) ซึ่งเป็นป้ายโฆษณาติดตั้งไปกับรถมอเตอร์ไซด์ของผู้ให้บริการ
บริการนี้จะเริ่มที่เมืองจาการ์ตาแห่งแรก หลังจากทดสอบตลาดในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา และจะขยายไปสู่เมืองต่าง ๆ เพิ่มขึ้น มีเป้าหมายติดตั้งจอโฆษณาบนมอเตอร์ไซด์ให้ได้ 20,000 คัน ภายในปีหน้า
GoJek กล่าวว่าโฆษณารูปแบบนี้มีจุดเด่นในการเคลื่อนที่ไปจุดต่าง ๆ แม้ตามถนนสายรอง ทำให้ผู้ซื้อโฆษณาสามารถเลือกลงโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายและกำหนดช่วงเวลาได้ตรงมากยิ่งขึ้น และยังสามารถตรวจวัดผลได้แบบเรียลไทม์
Tokopedia อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ประกาศผู้ลงทุนรายใหม่ของบริษัท ได้แก่ กูเกิลและกองทุนเทมาเส็ก โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดจำนวนหุ้นที่สองบริษัทถือครอง และมูลค่าของดีลอย่างเป็นทางการ
ตัวเลขการดำเนินงานของ Tokopedia นั้น มีร้านค้าบนแพลตฟอร์มกว่า 9 ล้านราย มีผู้ใช้งานเป็นประจำมากกว่า 100 ล้านคน และมีการจัดส่งสินค้าเข้าถึง 98% ของเกาะทั้งหมดกว่า 17,000 เกาะ ในอินโดนีเซีย
ผู้ลงทุนรายสำคัญก่อนหน้านี้ของ Tokopedia คือ Alibaba และกองทุน SoftBank Vision Fund
ที่มา: Tokopedia
ไมโครซอฟท์ประกาศเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Bukalapak สตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย โดยดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่มีตัวเลขรายงานออกมาว่าอยู่ราว 100 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการของ Bukalapak อยู่ราว 2,500-3,500 ล้านดอลลาร์
ในความร่วมมือนี้ Bukalapak จะเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างพื้นฐานบน Azure และสร้างคอร์สอบรมความรู้ด้านดิจิทัล ให้กับทั้งพนักงานของบริษัท ตลอดจนร้านค้าในแพลตฟอร์มของ Bukalapak
Bukalapak ก่อตั้งในปี 2010 ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์มมากกว่า 6 ล้านราย, เชื่อมต่อกับหน้าร้าน 6 ล้านแห่ง และมีผู้ใช้งาน 100 ล้านคน ผู้ลงทุนใน Bukalapak ก่อนหน้านี้มี Ant Group, กองทุน GIC ของสิงคโปร์ และ Emtek กลุ่มบริษัทใหญ่ของอินโดนีเซีย
กูเกิลเปิดบริการคลาวด์ในอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ ในชื่อ asia-southeast2 นับเป็นเขต (region) บริการที่ 24 และประเทศที่ 17 ของบริการกูเกิลคลาวด์ โดยศูนย์ข้อมูลตั้งอยู่บริเวณจาการ์ตา
พันธมิตรชุดแรกที่ขึ้นเวทีเปิดตัวศูนย์ข้อมูลใหม่ ได้แก่ ธนาคาร Bank Rakyat Indonesia (BRI) และสตาร์ตอัพอีคอมเมิร์ช Toklopedia โดยบริการที่เปิดในศูนย์ข้อมูลใหม่เป็นชุดมาตรฐาน ประกอบด้วย Compute Engine, Kubernetes Engine, Cloud SQL, Cloud Storage, Cloud Spanner, Cloud Bigtable, และ BigQuery
ผมตรวจสอบราคาของ Compute Engine พบว่าราคาแพงกว่าสิงคโปร์เกือบ 10% สำหรับธุรกิจในไทยหากไม่มีเงื่อนไขพิเศษคงไม่มีเหตุให้ใช้งานกันมากนัก
พิษเศรษฐกิจจากโรคระบาดมาเยือน Gojek แอปเรียกรถแท็กซี่และบริการ O2O จากอินโดนีเซีย (เข้ามาทำตลาดในไทยด้วยแบรนด์ GET!) ประกาศปลดพนักงาน 9% ของพนักงานทั้งหมด หรือปลด 430 คน และปิดธุรกิจในส่วนของไลฟ์สไตล์หรือ GoLife นอกจากนี้ Gojek ยังจะปิดศูนย์อาหารที่ดำเนินการในชื่อว่า GoFood festivals ด้วย
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Facebook และ Paypal ประกาศลงทุนใน Gojek ด้วยจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนธุรกิจรายเล็กในอินโดนีเซีย และ Grab ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดเรียกรถเองก็ปลดพนักงานด้วย
Facebook ประกาศลงทุนใน Gojek แอปสารพัดประโยชน์ทั้งเรียกรถ ส่งอาหาร รับชำระเงินในอินโดนีเซีย ทาง Facebook ไม่ได้บอกรายละเอียดการลงทุน ระบุเพียงว่า มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนธุรกิจรายเล็กในอินโดนีเซีย
Facebook บอกด้วยว่า ตั้งแต่ Gojek เปิดตัวในปี 2015 มีคนค้าขายนับแสนเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์ม เข้าถึงผู้ใช้งาน 170 ล้านคนทั่วอาเซียน และมีธุรกรรมหลายพันล้านรายการในแต่ละปี แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียยังพึ่งพาการใช้จ่ายเงินสดเป็นช่องทางหลัก ซึ่งมีความปลอดภัยน้อยกว่าการชำระผ่านดิจิทัล
Facebook บอกด้วยว่า การชำระเงินแบบดิจิทัลช่วยให้ผู้คนมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจมากขึ้นและให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงเครดิตซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของธุรกิจ
อินโดนีเซียเตรียมออกกฎ กำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตอย่างบริการสตรีมมิ่ง, เกม ที่ไม่ได้เป็นบริษัทก่อตั้งในประเทศ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล 10% เริ่มบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ก่อนหน้านี้ ทางการอินโดนีเซียเคยบอกว่า กลุ่มบริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix, Spotify อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้
ธนาคารแห่งชาติอินโดนีเซีย หรือ Bank Indonesia (BI) เริ่มบังคับใช้เครือข่ายการจ่ายเงินผ่าน QR ของตัวเองที่ชื่อว่า QRIS ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา โดยผู้ให้บริการ e-Wallet ทุกรายในอินโดนีเซียต้องรองรับ QRIS ทั้งหมด และเก็บค่าธรรมเนียมเท่ากัน
จากข่าวลือที่ ByteDance เจ้าของ TikTok กำลังซุ่มทำแอปพลิเคชั่น music streaming ขึ้นมาใหม่หวังแข่งกับ Apple, Spotify, Tencent นั้น ล่าสุดเปิดตัวแอปออกมาแล้วคือ Resso เริ่มเปิดใช้งานในอินโดนีเซียและอินเดียก่อน ราคาบริการรายเดือนอยู่ที่ 119 รูปี (51 บาท) เท่าราคา Spotify ในอินเดีย
Resso คือสตรีมมิ่งเพลงที่มีฟีเจอร์ต่างกับ Apple Music และ Spotify ตรงที่ แสดงเนื้อเพลงเรียลไทม์ทีละบรรทัดให้สามารถร้องตามได้ นอกจากนี้ยังคอมเม้นท์ใต้เพลงนั้นได้ และสร้าง GIF จากเพลงๆนั้นและแชร์ต่อให้เพื่อนได้ด้วย ผู้ใช้งานที่สมัครพรีเมี่ยมสามารถโหลดเพลงฟังออฟไลน์ได้ ไม่มีโฆษณา
Nadiem Makarim ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Gojek ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเข้ารับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของอินโดนีเซียของประธานาธิบดี Joko Widodo โดยเขาจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและวัฒนธรรม (Education and Cultural Affairs Minister)
Nadiem จะยังถือหุ้นใน Gojek เอาไว้ แต่จะไม่มีบทบาทใดๆ ในบริษัทอีกแล้ว (ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเขาถือหุ้นอยู่สัดส่วนเท่าไรในตอนนี้) ส่วนคนที่มารับตำแหน่งซีอีโอแทนคือ Andre Soelistyo ประธานบริษัท และ Kevin Aluwi ผู้ร่วมก่อตั้งอีกคนหนึ่ง ที่จะเป็นซ๊อีโอร่วมกัน
Nadiem Makarim ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Go-Jek สตาร์ทอัพเรียกรถรายใหญ่ของอินโดนีเซียประกาศลาออกจากตำแหน่งในบริษัท เพื่อเข้ารับตำแหน่งในรัฐบาลชุดใหม่ของประธานาธิบดี Joko Widodo ที่เพิ่งสาบานตนเข้ารับตำแหน่งสมัยที่ 2 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
Jokowi ประธานาธิบดีอินโดนีเซียระบุว่าจะดึงคนรุ่นใหม่และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ มาทำงานด้วยมากขึ้นในรัฐบาลชุดใหม่ โดย Makarim ระบุว่า Jokowi จะเปิดเผยตำแหน่งของตนเองให้กับสาธารณะในสัปดาห์นี้ (น่าจะตอนประกาศคณะรัฐมนตรี) รวมถึงยังไม่มีการเปิดเผยด้วยว่าใครจะมารับตำแหน่งซีอีโอของ Go-Jek ต่อ
Gojek แอปเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่จากอินโดนีเซีย ที่ขยายสู่บริการอื่นมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามแนวทางของซูเปอร์แอป ล่าสุดได้ประกาศเพิ่มบริการ GoPlay วิดีโอสตรีมมิ่งที่มีทั้งภาพยนตร์และซีรี่ส์ แบบคิดค่าบริการเหมาจ่ายรายเดือนเหมือน Netflix โดยในช่วงแรกจำกัดอยู่เฉพาะในอินโดนีเซียก่อน ซึ่งคอนเทนต์ส่วนใหญ่ก็เป็นของอินโดนีเซีย (ในไทย Gojek ใช้ชื่อแบรนด์ว่า GET)
อัตราค่าบริการของ GoPlay อยู่ที่ 89,000 รูเปียห์ต่อเดือน (ประมาณ 190 บาท) ถูกกว่า Netflix ที่เริ่มต้น 109,000 รูเปียห์ต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีแพ็คเกจใหญ่ 99,900 รูเปียห์ต่อเดือน ซึ่งจะได้คูปองสำหรับสั่งอาหารเดลิเวอรี่ GoFood เพิ่มเติมด้วย
Gojek ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสารพัดประโยชน์เริ่มเข้าสู่ตลาดเกมส์ด้วยการเปิดตัว GoGames ในอินโดนีเซีย เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้งานเติมเงินในเกมส์ได้, อ่านเนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับเกมส์, และติดตามเนื้อหาจากอินฟลูเอนเซอร์ด้านเกมส์ในอินโดนีเซียโดยเฉพาะ
Gojek เปลี่ยนโลโก้ใหม่ จากเดิมที่มีภาพคนขับจักรยานยนต์ เปลี่ยนมาเป็นวงกลมสีเขียว ที่มีวงแหวนใหญ่ล้อมรอบ พร้อมตัวอักษรชื่อบริษัทด้านล่างโลโก้
โดยโลโก้เดิมยังติดภาพบริการเรียกรถจักรยานยนต์อยู่ ทั้งที่ Gojek ขยายบริการตัวเองออกไปครอบคลุมทั้งเรียกรถแท็กซี่ เป็น mobile payment และเป็นบริการส่งของ นอกจากนี้ยังขยายบริการไปต่างประเทศนอกอินโดนีเซีย ในไทยเอง (ภายใต้ชื่อ Get) ก็เพิ่งได้รับการลงทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ โลโก้ใหม่จึงปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ไปสู่ความเป็นซูเปอร์แอพมากขึ้น
ที่การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารอาเซียนครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้น ณ โรงแรม The Riverie by Katathani จังหวัดเชียงรายวันนี้ ธนาคารกรุงเทพ โดย คุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ คุณจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ประกาศลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU: Memorandum of Understanding) จำนวน 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและการเงิน ดังต่อไปนี้
รัฐบาลอินโดนีเซียยื่นจดหมายขอให้ Instagram ลบภาพการ์ตูนที่เนื้อหามีกิจกรรมทางเพศของเกย์เรื่อง #alpantuni และ Instagram ก็ยอมนำรูปภาพออกตามคำร้องขอ
การรักร่วมเพศ ไม่ได้เป็นอาชญากรรมในประเทศอินโดนีเซีย ยกเว้นในจังหวัดอาเจะห์ที่มีการบังคับใช้กฎหมายชาริอะฮ์ แต่การเป็นเกย์ในอินโดนีเซียนั้นไม่ได้ราบรื่น เราะสังคมก็ยังไม่เปิดรับเต็มที่ ในระยะหลังมานี้ ตำรวจอินโดนีเซียก็มีการบุกจับคนรักร่วมเพศและกักตัวพวกเขาไว้เป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยใช้ข้อหากระทำการลามกอนาจาร บางจังหวัดในอินโดนีเซียก็เล็งออกกฎหมายให้กิจกรรมรักร่วมเพศนั้นผิด ต้องจ่ายค่าปรับหนักถึง 70 ดอลลาร์
Bukalapak สตาร์ทอัพสายอีคอมเมิร์ซ ที่เป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดของอินโดนีเซียที่เพิ่มทุนจนทำให้มีมูลค่ากิจการสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นเมื่อปีที่แล้ว ต่อจาก Tokopedia, Go-Jek และ Traveloka โดยล่าสุดบริษัทได้ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D เพิ่มอีก 50 ล้านดอลลาร์ จากกองทุน Mirae Asset-Naver Asia Growth ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง กองทุน Mirae Asset และ Naver จากเกาหลีใต้
รายชื่อผู้ลงทุนก่อนหน้านี้ใน Bukalapak ก็มีทั้ง Ant Financial บริษัทการเงินเครือ Alibaba, Emtek ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในอินโดนีเซีย และกองทุน GIC ของประเทศสิงคโปร์
อินโดนีเซียเตรียมก้าวไปอีกขั้นของการใช้กฎหมายควบคุมบริการเรียกรถ โดยคราวนี้กระทรวงคมนาคมออกมาประกาศว่า รัฐบาลจะออกกฎคุมราคาค่าโดยสารทั้งแท็กซี่ท้องถิ่น และบริการเรียกรถ ให้มีราคาเริ่มต้นต่อกิโลเมตรสูงขึ้นซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของคนขับ แต่อาจเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
ถึงเวลาโอตะแดนอิเหนาจะได้มีโอกาสส่งเสียงเชียร์มากกว่าแค่ตอนไปดูโชว์ เมื่อ JKT48 วงน้องสาวประจำเมืองจาการ์ต้าของ AKB48 กลุ่มไอดอลชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น เปิดตัว Valkyrie48 ทีม esports ของตัวเองซึ่งคัดเลือกมาจากสมาชิกในวงซึ่งมีทั้งสิ้น 80 คน
Tokopedia อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ประกาศรับเงินเพิ่มทุนอีก 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000 ล้านบาท นำโดยกลุ่มนักลงทุนประกอบด้วย SoftBank Vision Fund, Alibaba และกลุ่มนักลงทุนเดิม
เมื่อปีที่แล้ว Tokopedia ก็ได้รับเงินทุนขนาดเท่ากันจาก Alibaba โดยสำหรับรอบนี้ Tokopedia บอกว่าจะนำเงินทุนก้อนใหม่นี้ มาลงทุนในเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานในอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนระบบอีคอมเมิร์ซ, การขนส่งสินค้า ไปจนถึงระบบการชำระเงิน
ที่เงินเพิ่มทุนดังกล่าว มีรายงานว่าทำให้ Tokopedia มีมูลค่ากิจการพุ่งสูงกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ และทำให้ Tokopedia เป็นสตาร์ทอัพรายใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย (ก่อนหน้านี้คือ Traveloka และ Go-Jek)