เมื่อไม่กี่วันก่อน Elon Musk บอกว่า Tesla จะผลิตเครื่องช่วยหายใจเพื่อผู้ป่วย COVID-19 ถ้าโรงพยาบาลมีไม่พอ ล่าสุด GM ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ (และคู่แข่งของ Tesla) ประกาศเข้ามาช่วยสนับสนุนการผลิตเครื่องช่วยหายใจแล้ว
GM จะเข้าไปสนับสนุน Ventec Life Systems บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือการแพทย์ ขยายกำลังการผลิตเครื่องช่วยหายใจ โดยนำความเชี่ยวชาญของ GM ทั้งด้านลอจิสติกส์ การจัดซื้อ และการผลิต ผ่านความร่วมมือในโครงการ StopTheSpread.org ที่ระดมภาคเอกชนในสหรัฐเข้ามาแก้ปัญหาด้านต่างๆ ในตอนนี้
WhatsApp ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ WHO Health Alerts แจ้งเตือนข้อมูลอัพเดตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทุกวัน ตั้งแต่ข้อมูลผู้ป่วยในแต่ละประเทศ และเทคนิคการดูแลสุขภาพ ที่สามารถแชร์ให้คนอื่นได้อย่างสบายใจ เพราะมั่นใจได้ว่าข้อมูลถูกต้อง ไม่ใช่ข่าวปลอม
ผู้ใช้ที่มี WhatsApp ติดตั้งอยู่ในเครื่อง สามารถสมัครได้ทันทีเพียงแค่กดลิงก์ https://bit.ly/who-covid-19-whatsapp
ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการทดสอบยารักษาโรค COVID-19 ของ WHO โดยนำยา 4 ตัวที่มีอยู่แล้วมาทดสอบประสิทธิภาพว่าสามารถรักษา COVID-19 ได้หรือไม่
โครงการนี้มีชื่อว่า Solidarity Trial มีประเทศเข้าร่วมทั้งหมด 10 ประเทศ (รวมไทย) ประเทศที่เหลือคือ อาร์เจนตินา บาห์เรน แคนาดา ฝรั่งเศส อิหร่าน นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการรีบคิดค้นยารักษา COVID-19
โครงการนี้จะทดสอบผลของยา 4 ตัว แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ได้แก่
Zhang Xinmin ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไบโอเทคแห่งชาติจีน แถลงข่าวเมื่อวานนี้ (17 มีนาคม) ระบุว่ายาต่อต้านไข้หวัดใหญ่ Favipiravir หรือชื่อการค้าแบรนด์ Avigan สามารถใช้รักษาไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรค COVID-19 อย่างได้ผล จากการทดลองทางคลินิค (clinical trial) กับผู้ป่วยจำนวน 200 คนในอู่ฮั่นและเซินเจิ้น
ยาตัวนี้คิดค้นโดย Fujifilm Toyama Chemical บริษัทลูกในเครือ Fujifilm แบรนด์กล้องที่เรารู้จักกันดี มาตั้งแต่ปี 2014 และถูกใช้รักษาผู้ป่วยในญี่ปุ่นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์แล้ว
Verily บริษัทด้าน life science ในเครือ Alphabet ระบุว่ากำลังพัฒนาชุดทดสอบ COVID-19 สำหรับคนทั่วไป สถานะตอนนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นพัฒนา และจะเริ่มทดสอบกับประชาชนในเขต Bay Area ก่อน โดยยังไม่ระบุช่วงเวลา
นอกจากข่าวอย่างเป็นทางการของ Verily เองแล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา ยังให้ข้อมูลว่า Verily กำลังพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ชาวอเมริกันสามารถเช็คได้ว่า หากต้องการตรวจ COVID-19 จะไปใช้บริการที่ไหนได้บ้าง โดยเว็บไซต์จะเปิดให้บริการในวันจันทร์นี้ (16 มีนาคม) ตามเวลาสหรัฐ
เว็บไซต์นี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการหาจุดตรวจ จากนั้นผลตรวจจะถูกส่งไปยังห้องแล็บ และรายงานผลกลับมาให้เช็คได้ผ่านเว็บไซต์แห่งนี้
ห้องวิจัยแห่งชาติ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ เป็นเจ้าของ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก Summit มาตั้งแต่ปี 2018 ล่าสุด ORNL ประกาศว่านำ Summit มาใช้วิเคราะห์สารประกอบของตัวยา (drug compound) เพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นต้นเหตุของโรค COVID-19
นักวิจัยนำ Summit มารันซิมูเลเตอร์เพื่อทดสอบสารประกอบกว่า 8,000 ตัว คัดหาสารประกอบที่มีโอกาสไปเกาะกับหนาม (spike) ของไวรัสโคโรนา เพื่อไม่ให้ไวรัสไปติดเซลล์ ผลคือสามารถคัดหาสารประกอบ 77 ชนิด ที่จะนำไปคัดเลือกต่อในขั้นถัดไป
ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจของโรงพยาบาลสมิติเวช ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ของไทย ที่ขยายตัวเองจากบริการด้านการแพทย์โดยตรง (medical services) มายังบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพด้วย (health-related services)
รอบนี้ สมิติเวชลงมาจับมิติด้าน “อาหาร” แต่ไม่ใช่อาหารเพื่อคนป่วยแต่อย่างใด สิ่งที่สมิติเวชสนใจคืออาหารที่เรากินเป็นปกติในแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมด้าน “ไลฟ์สไตล์การกิน” ของคนไทยที่เปลี่ยนไปมากที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรีมาส่งถึงบ้าน แทนการออกไปกินข้าวนอกบ้าน
ซัมซุงอัพเดตแอปพลิเคชั่น Samsung Health เวอร์ชั่น 6.9.0.055 เพิ่มความสามารถติดตามรอบประจำเดือนสำหรับผู้หญิง
ถือว่าช้าพอสมควรเพราะแอปพลิเคชั่นของเจ้าอื่นไม่ว่าจะเป็น Apple, Fitbit, Garmin หรือแอปสุขภาพอื่นๆ ก็มีฟีเจอร์นี้กันหมดแล้ว และผู้ใช้งานซัมซุงก็เรียกร้องให้มีฟีเจอร์นี้มานาน ประโยชน์ของการติดตามรอบประจำเดือนคือจะได้รู้หากประจำเดือนมาแบบผิดปกติ
ปัจจุบัน Samsung Health บนมือถือสามารถติดตามการเคลื่อนไหว นับก้าว เดิน วิ่ง คำนวณแคลอรี่จากอาหารที่เรากิน โดยเราสามารถเลือกอาหารเข้าไปในแอปได้ ติดตามการนอนหลับได้ เป็นต้น
อัพเดตข้อมูลเพิ่มตามคำชี้แจงของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมของรัฐ ที่ก่อตั้งโดยกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ถูกจับได้ว่าเผยแพร่ข่าวปลอมเรื่องไวรัส COVID-19
เรื่องราวเริ่มต้นจาก Khaosod Online เผยแพร่ข่าวที่อ้างอิงจากสถานทูตไทยในลอนดอน ระบุว่าคนไทยที่เดินทางเข้าสหราชอาณาจักรอาจต้องถูกกักกันเพื่อดูอาการ 14 วัน ถ้าพวกเขามีอาการส่อว่าจะเกิดโรค ไมว่าจะเป็นไข้ ไอ จาม หายใจติดขัด
หลังจากนั้นศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ว่าข่าวของ Khaosod Online ไม่เป็นความจริง และบอกด้วยว่าเพจสถานทูตไทยในลอนดอนนั้นเป็นเพจปลอม ซึ่ง Khaosod Online ได้ตรวจสอบเพจแล้วว่าเป็นเพจจริง ซึ่งล่าสุด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมก็ลบโพสต์ที่ตัวเองเผยแพร่แบบผิดๆ ออกไปแล้วโดยไม่มีการชี้แจงแต่อย่างใด สามารถดูหน้าตาโพสต์ข่าวของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
ก่อนหน้านี้ Facebook ประกาศมาตรการด้านข้อมูลไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 บนแพลตฟอร์ม ลบโพสต์และบล็อกแฮชแท็กที่แพร่ข้อมูลปลอม และวิธีการรักษาแบบผิดๆ ล่าสุด Facebook เตรียมแบนโฆษณาที่ชวนเชื่อเรื่องการรักษาไวรัส หรือโฆษณาที่ให้ความรู้สึกว่าต้องซื้อด่วน เพราะของมีจำกัด
ทาง Facebook บอกด้วยว่า มาตรการแบนโฆษณาสินค้านี้จะนำไปใช้กับ Marketplace แพลตฟอร์มขายของใน Facebook ด้วย
ซึ่งช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสนั้น Facebook เป็นอีกแพลตฟอร์มที่มียอดการซื้อขายหน้ากากอนามัยสูงมาก และมีการโก่งราคาด้วย เช่นกันกับแพลตฟอร์มอื่นเช่น Amazon ที่บุคคลที่สามขายหน้ากากในราคาสูง
เหตุโคโรนาไวรัส COVID-19 ระบาดในประเทศเกาหลีใต้ ส่งผลให้ซัมซุงต้องปิดโรงงานผลิตสมาร์ทโฟนที่เมือง Gumi ชั่วคราว หลังพบว่ามีพนักงานรายหนึ่งติดเชื้อไวรัส
โรงงานแห่งนี้ใช้ผลิตสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมของซัมซุง เช่น Galaxy Fold หรือ Galaxy Z Flip ในขณะที่สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ของซัมซุงผลิตที่เวียดนาม
ซัมซุงสั่งปิดโรงงานจนถึงวันจันทร์นี้ (24 ก.พ.) เพื่อไม่ให้ไวรัสระบาดไปยังพนักงานคนอื่นๆ และยังจำกัดไม่ให้เข้าชั้นที่พนักงานคนนี้ทำงานไปจนถึงวันอังคาร (25 ก.พ.)
HERE Technologies ผู้พัฒนา HERE Maps เปิดตัวหน้าเว็บแผนที่แบบ interactive สำหรับติดตามการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Center for Systems Science and Engineering มหาวิทยาลัย Johns Hopskin และ DXY ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์ของแพทย์และคนในวงการสาธารณสุขจีน
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย The University of Texas at Austin และ National Institutes of Health ประกาศความสำเร็จในการสร้าง "แผนผัง 3 มิติ" ที่ครอบคลุมบางส่วนของไวรัสโคโรนา COVID-19 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการสร้างวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัส
Jason McLellan หัวหน้าคณะนักวิจัย (คนซ้ายในภาพ) เคยศึกษาไวรัสโคโรนาตัวอื่นๆ (เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV) อยู่ก่อนแล้ว และพัฒนาวิธีการล็อค "หนาม" (spike) ของไวรัสที่ยื่นออกมารอบตัว เพื่อให้วิเคราะห์ไวรัสได้ง่ายขึ้น เมื่อไวรัส COVID-19 ระบาด ทีมงานก็เริ่มลงมือทำงานทันที เพราะมั่นใจว่าความเชี่ยวชาญที่ผ่านมาจะช่วยให้สร้างผังไวรัสได้เร็ว
สำนักงานสิทธิ์บัตรสหรัฐฯ มอบสิทธิบัตรการออกแบบหน้ากากกันฝุ่นอัจฉริยะให้ Xiaomi เป็นหน้ากากกันฝุ่นที่มีความสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศขณะที่สวมใส่ได้
สิทธิบัตรระบุว่าเซ็นเซอร์ในหน้ากากสามารถตรวจวัดคุณภาพ เช่น ปริมาณฝุ่น, โอโซน, คาร์บอนมอนอกไซด์ นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหว เพื่อให้รู้ว่าผู้ใช้เคลื่อนตัวเร็วเพียงใด จะได้สามารถคำนวณปริมาณอากาศที่หายใจได้ถูกต้อง แปลผลเป็นปริมาณมลพิษที่จะได้รับหากไม่ได้ใส่หน้ากาก
ใบขอสิทธิบัตรนี้ขอไว้ตั้งแต่ปี 2016 และเพิ่งได้รับเป็นสิทธิบัตรจริง โดยสิทธิบัตรจำนวนมากก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทจะผลิตสินค้าออกมา แต่ปัญหาฝุ่นควันในช่วงหลังนี้ทำให้ไอเดียในสิทธิบัตรนี้น่าสนใจทีเดียว
Facebook ประกาศยกเลิกการจัดงานสัมมนาด้านการตลาดออนไลน์ Global Marketing Summit ที่ซานฟรานซิสโกช่วงเดือนมีนาคม ด้วยเหตุผลว่ากลัวปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19
งานสัมมนานี้จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุม Moscone Center ใจกลางเมืองซานฟรานซิสโก ช่วงวันที่ 9-12 มีนาคม และคาดว่ามีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 5,000 คน อย่างไรก็ตาม Facebook ยืนยันว่าจะกลับมาจัดงานอีกครั้งในปีถัดๆ ไป
GSM Association หรือ GSMA ผู้จัดงาน Mobile World Congress (MWC) ประกาศยกเลิกการจัดงานในปีนี้ จากเหตุระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีหลายบริษัทออกมาประกาศงดเข้าร่วมงาน
แถลงการณ์ของ GSMA ระบุว่าด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยทางสุขภาพในเมืองบาร์เซโลนา เมืองที่จัดงาน MWC ตลอดจนปัญหาข้อจำกัดในการเดินทางที่ประกาศก่อนหน้านี้ ทำให้ GSMA ไม่สามารถจัดงานได้เลย จึงตัดสินใจยกเลิกงานในปีนี้ โดย GSMA ยังคงแผนจัดงาน MWC ในปี 2021 ต่อไป
WordPress ประกาศยกเลิกงานสัมมนาใหญ่ครั้งแรกประจำภูมิภาคเอเชีย WordCamp Asia 2020 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพ ในวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์นี้ ด้วยเหตุผลเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนา
ผู้ที่ซื้อตั๋วเข้างานไปแล้วจะได้รับการติดต่อเรื่องการคืนเงินทางอีเมล และจะได้รับตั๋วเข้าร่วมงาน WordCamp Asia ครั้งต่อไปฟรีด้วย แม้จะคืนเงินตั๋วรอบนี้ไปแล้วก็ตาม
ทีมงาน WordPress คาดว่าจะยกเลิกงาน WordCamp Asia ปี 2020 ไปเลย และคาดว่าจะจัดงานใหม่ในช่วงต้นปี 2021 แทน
Matt Mullenweg หัวหน้าโครงการ WordPress ระบุว่างานนี้จะมีนักพัฒนาเข้าร่วมมากถึง 1,300 คน แต่เขาต้องตัดสินใจไม่จัดงานครั้งนี้ต่อ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพในภูมิภาคนี้
หนังสือพิมพ์ Strait Times รายงานว่ามีเมืองอย่างน้อย 3 เมืองในประเทศจีนสั่งห้ามขายยาลดไข้และยาแก้ไอ เช่น codeine, ibuprofen, และ aspirin ตลอดจนตำรับยาโบราณ รวมรายชื่อยาต้องห้าม 106 รายการ โดยคำสั่งห้ามนี้มีผลถึงเว็บอีคอมเมิร์ชที่ขายยาด้วยเช่นกัน
อาการไอและมีไข้เป็นอาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อ coronavirus โดยผู้ที่มีอาการทั้งสองอย่างจะได้คำแนะนำให้ไปโรงพยาบาลแทน
สำหรับบางเมืองที่ยังไม่ได้สั่งห้ามการขายยาเหล่านี้ ก็มีคำสั่งให้ร้านขายยาต้องบันทึกตัวตนผู้มาซื้อยา, ขอข้อมูลติดต่อ, และวัดไข้ผู้ซื้อทุกครั้ง
ที่มา - Strait Times
จากการที่หลายบริษัทประกาศไม่เข้าร่วมงาน Mobile World Congress 2020 ที่บาร์เซโลนาช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากกังวลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำให้ทาง GSMA ผู้จัดงาน ประกาศออกมาตรการดูแลผู้เข้าร่วมงานแล้ว
โดยผู้ที่เดินทางมาจากหูเป่ย์จะไม่รับอนุญาตให้เข้าร่วมงาน ส่วนผู้ที่เดินทางจากจีน จะต้องแสดงข้อมูลเช่น หนังสือเดินทาง หรือใบตรวจสุขภาพ ว่าได้ออกนอกประเทศจีนมาแล้วเกิน 14 วัน ส่วนภายในงานจะมีเครื่องวัดอุณหภูมิติดตั้ง รวมทั้งขอให้ผู้ร่วมงานยืนยันว่าไม่เคยสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
เราเห็นข่าว LG ประกาศถอนตัวไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 เพราะกลัวไวรัสโคโรนาระบาด ไปแล้ว ล่าสุดมีบริษัทใหญ่อีก 2 รายคือ Ericsson และ NVIDIA ที่ประกาศถอนตัวแบบเดียวกัน
Ericsson บอกว่ากังวลเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้า จึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 ที่บาร์เซโลนา และเลือกจะจัดงานขนาดเล็กชื่อ Ericsson Unboxed เพื่อโชว์เทคโนโลยีในประเทศต่างๆ แทน - Ericsson
มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ประกาศทุ่มงบประมาณสูงสุด 100 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้แก้ปัญหาไวรัสโคโรนาปี 2019 (2019-nCoV) โดยงบประมาณก้อนนี้จะนำไปใช้ใน 3 ด้านคือ ตรวจจับ (detection) กักกัน (isolation) รักษา (treatment)
ก่อนหน้านี้มูลนิธิฯ เคยประกาศงบประมาณ 10 ล้านดอลลาร์ไปแล้ว แต่ล่าสุดเพิ่มเป็น 100 ล้านดอลลาร์ ตามขนาดของปัญหาที่ใหญ่ขึ้น แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
เงินก้อนแรก 20 ล้านดอลลาร์ จะถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในประเทศที่พบผู้ป่วยแล้ว โดยใช้ผ่านองค์กรระดับนานาชาติอย่าง WHO, องค์กรระดับชาติ CDC ของสหรัฐอเมริกาหรือจีน เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ทำงานได้เต็มศักยภาพมากขึ้น มีเงินไปจ่ายค่าบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้งาน
หลังจากมีข่าว LG ประกาศไม่เข้าร่วมงาน MWC 2020 เพราะกลัวพนักงานติดไวรัสโคโรนา ค่าย ZTE ที่มีข่าวออกมาว่าทยอยยกเลิกนัดหมายในงาน MWC ก็ออกมาแถลงการณ์ยืนยันว่า ยังเข้าร่วมงาน MWC ต่อไป
มาตรการด้านความปลอดภัยที่ ZTE ประกาศเพิ่มเติมคือ
แอปเปิลประกาศปิดสำนักงาน, หน้าร้านค้าปลีก, และศูนย์คอลเซ็นเตอร์ในจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด โดยระบุว่าได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคน โดยกำหนดจะปิดถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ หลังจากก่อนหน้านี้แอปเปิลประกาศปิดร้านค้าปลีก 3 แห่งเพื่อป้องกัน coronavirus ไปก่อนแล้ว
ผลกระทบ coronavirus ต่อแอปเปิลค่อนข้างสูงจากการที่บริษัทมีห่วงโซ่อุปทานในจีนจำนวนมาก และบริษัทจำนวนหนึ่งก็ตั้งอยู่ในเมืองอู่ฮั่นจุดศูนย์กลางของการระบาดโรคโดยตรง
ที่มา - Reuters
Google Search เพิ่มการแสดงข้อมูลการเตือนภัย "โคโรนาไวรัส" เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำว่า coronavirus หรือคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลนี้จะแสดงในกล่องชื่อว่า "Help and Information" และ "Safety Tips" ในหน้าผลการค้นหา (อยู่ใต้ข่าวและอัพเดตจากทวิตเตอร์) โดยตอนนี้ยังแสดงลิงก์และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แต่กูเกิลก็บอกว่าจะอัพเดตข้อมูลตรงนี้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า SOS Alert ที่กูเกิลอาจปรับหน้าผลการค้นหาตามสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือภัยธรรมชาติในช่วงเวลานั้นๆ โดยอิงตามพื้นที่เกิดเหตุด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศลงทุน 40 ล้านดอลลาร์เปิดตัวโครงการ AI for Health ให้นักวิจัยการแพทย์ สถาบันการแพทย์ต่างๆ เข้ามาร่วมวิจัยว่าจะสามารถใช้ AI เพื่อการแพทย์ การรักษาได้ในทางไหนบ้าง โดยตัวเงินจะกระจายไปยังองค์กรต่างๆ รวมถึงพันธมิตร และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนการเข้าถึงเครื่องมือ, AI และระบบคลาวด์
โครงการ AI for Health จะมุ่งเน้นไปที่สามประเด็นหลักคือ เร่งการวิจัยทางการแพทย์เพื่อการป้องกันโรค รวมถึงการวินิจฉัยและการรักษาโรคขั้นสูง, ทำข้อมูลเชิงลึกด้านสุขภาพ เสริมสร้างความเข้าใจเพื่อป้องกันวิกฤตสุขภาพโลก, ลดความไม่เท่าเทียมกันด้านสุขภาพและปรับปรุงการเข้าถึงการดูแลสุขภาพสำหรับประชากรที่ด้อยโอกาส