Western Digital และโตชิบาได้ประกาศการตกลงซื้อขายกันวันนี้ โดยโตชิบาจะได้รับเครื่องมือ และทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แลกกับโรงงาน, ที่ดิน, เครื่องจักร และพนักงาน ที่โตชิบาใช้ผลิตฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว
ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างรอการอนุมัติ โดยทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่ากระบวนการณ์ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว ทำให้ Toshiba ตัดสินใจย้ายสายการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในไทยทั้งหมดไปที่ฟิลิปปินส์แทน พร้อมทั้งขายโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในไทยทั้งหมดให้กับ Western Digital โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการจาก Toshiba เมื่อวานนี้และคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นในปลายเดือนมีนาคม รายละเอียดในสัญญาคือ Western Digital จะต้องให้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการผลิตฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5" (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ได้มาจากการซื้อ Hitachi GST ที่มีมูลค่ารวม 4,300 ล้านเหรียญสหรัฐของ Western Digital เมื่อปีที่แล้ว) กับ Toshiba
DigiTimes เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีชื่อดังสัญชาติไต้หวันรายงานว่า มีการคาดการณ์กันภายในอุตสาหกรรมการผลิตฮาร์ดดิสก์ว่า กำลังการผลิตทั่วโลกในไตรมาสแรกของปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 140-145 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตที่ผลิตได้ก่อนเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทยเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว
จากรายงานต้นทุนเครื่องจักรและเทคโนโลยีฮาร์ดดิสก์ พ.ศ. 2555 ระบุว่าตลาดจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายในช่วงไม่กี่ปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการลงทุนในเครื่องจักรถึง 2400 ล้านเหรียญ และจากการคาดการของ Coughlin Associates ซึ่งเป็นบริษัทให้การปรึกษาเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลว่า ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้นถึง 169 เปอร์เซ็นในช่วงตั้งแต่ปีที่ผ่านมาถึงปี พ.ศ. 2559 โดยให้รายละเอียดดังนี้
น้ำท่วมไทยปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคงเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมพีซีทั้งระบบ ราคาฮาร์ดดิสก์แบบขายปลีกในสหรัฐฯ นั้นพุ่งขึ้นไปถึงเกือบสามเท่าตัวในช่างปลายเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และตอนนี้สัญญาณที่ดีขึ้นก็เริ่มชัดเจนเมื่อราคาหน้าร้านกำลังปรับลดมาจนบางรุ่นเริ่มใกล้เคียงก่อนเกิดน้ำท่วมแล้ว
ราคาขายปลีกหน้าร้าน เป็นคนละราคากับการขายล็อตใหญ่กับผลิตพีซีที่มักได้ราคาที่นิ่งกว่า และผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์มักส่งให้กับผู้ผลิตพีซีก่อน
ซีเกทรายงานรายได้ไตรมาสสองของปีบัญชี พบว่ารายได้รวมอยู่ที่ 3,200 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 150 ล้านดอลลาร์จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่กำไรสุทธินั้นอยู่ที่ 563 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นถึง 3.75 เท่าเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
ซีเกทส่งมอบฮาร์ดดิสก์ได้ทั้งหมด 47 ล้านลูกในไตรมาสที่ผ่านมา โดยเหตุการณ์น้ำท่วมไทยทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์พบกับความยากลำบากในการผลิตสินค้า แม้แต่ตัวซีเกทเองที่โรงงานไม่ถูกน้ำท่วมแต่โรงงานซัพพลายเออร์หลายรายถูกน้ำท่วมไป เหตุการณ์ทั้งหมดทำให้ซีเกทมีต้นทุนการผลิตต่อลูกเพิ่มขึ้น 2.5 ดอลลาร์ แต่ราคาขายในตลาดกลับเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยถึง 13 ดอลลาร์
จากข่าว ซัมซุงขายธุรกิจฮาร์ดดิสก์ให้ซีเกท เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ตอนนี้การควบกิจการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
Seagate และ Western Digital เตรียมจะปรับลดระยะเวลาการรับประกันสินค้าของตน โดย Seagate จะรับประกันฮาร์ดดิสก์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและวางตักส่วนใหญ่เพียง 1 ปี และส่วนที่เหลือจะรับประกันเพียง 3 ปี จากที่เคยเป็น 5 ปี นับแต่ตั้งวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป
สำหรับ Western Digital จะลดระยะเวลาการรับประกันสำหรับสินค้า 3 กลุ่ม — Caviar Blue, Caviar Green, และ Scorpio Blue — จาก 3 ปี เหลือเพียง 2ปี นับจากวันที่ 2 มกราคมเป็นต้นไป ส่วนสินค้าอื่น ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบนี้ครับ
เรื่องที่หลายคนน่าจะสงสัยกันเรื่อยมาคือหลังจากภาวะฮาร์ดดิสก์ขาดตลาดอย่างหนักจนราคาพุ่งขึ้นไม่หยุดนั้น จะเกิดอะไรขึ้นกับราคา SSD บ้าง คำตอบในเรื่องนี้คือราคา NAND flash ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของ SSD นั้นยังตกลงไม่หยุด โดยชิปประเภท 32Gb (กิกะบิต หรือ 4 กิกะไบต์ต่อชิป) นั้นราคาตกลงหนักที่สุดถึง 6% ขณะที่ตลาดโดยรวมตกลง 4-6%
รายงานล่าสุดของสถานะการณ์น้ำท่วมของไทยที่บางปะอิน ทาง Western Digital ระบุว่าเริ่มเดินเครื่องแล้วหลังจากโรงงานจมน้ำตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยโรงงานที่บางปะอินนั้นมีการสูบน้ำจนแห้งมาตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่าน และซ่อมแซมเสร็จในวันที่ 26 เดินเครื่องได้วันที่ 30 ที่ผ่านมา
เครื่องจักรที่จมน้ำไปนั้นทาง Western Digital ได้ย้ายเครื่องไปตรวจสอบ, ล้าง, และกู้สภาพ โดยน่าจะนำกลับมาใช้ได้ช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ส่วนที่โรงงานนวนครนั้นยังคงจมน้ำอยู่ ทางนิคมอุตสาหกรรมคาดว่าจะใช้เวลาอีก 10 วันในการสูบน้ำออกและเริ่มกระบวนการกู้โรงงานในแบบเดียวกัน
กระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะทำให้ฮาร์ดดิสก์ขาดตลาดไป 50 ถึง 60 ล้านชุด จนถึงไตรมาสที่สองของปี 2012
เว็บไซต์รวบรวมราคาสินค้า idealo.co.uk ของสหราชอาณาจักร รวบรวมอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาฮาร์ดดิสก์ นับตั้งแต่เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยจนฮาร์ดดิสก์ขาดตลาด
idealo รวบรวมราคาฮาร์ดดิสก์ยอดนิยมจำนวน 10 รุ่นในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี วัดจากต้นเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน สรุปว่าราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 151% (จากราคาเฉลี่ย 43.29 ปอนด์ ขึ้นมาเป็น 109.78 ปอนด์)
ช่วงเวลาที่ราคาฮาร์ดดิสก์แกว่งตัวสูงสุดคือระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ถึง 14 พฤศจิกายน ซึ่งเอาจำนวนวันหารแล้วออกมาว่า ราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นวันละ 5.4% เลยทีเดียว
ทุกคนคงรู้ว่าปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยส่งกระทบต่อสต๊อกฮาร์ดดิสก์ของโลก และทำให้ราคาฮาร์ดดิสก์พุ่งสูงขึ้นเพราะสินค้าขาดตลาด
แต่ยังไม่มีใครบอกได้ว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นเพิ่มเท่าไรกันแน่?
บล็อกเกอร์รายหนึ่งชื่อ Zorinaq ได้สำรวจราคาฮาร์ดดิสก์จากเว็บไซต์ช็อปปิ้ง Newegg ของสหรัฐ ว่าในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา อัตราราคาเปลี่ยนแปลงแค่ไหนกันแน่ โดยคิดเป็นราคาต่อ TB ดังนี้
โตชิบาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมนวนครที่ผ่านมา ได้รายงานถึงผลกระทบจากน้ำท่วมในประเทศไทย โดยโรงงานของโตชิบานั้นตั้งอยู่ติดกับโรงงานของ Western Digital ที่รายงานผลกระทบไปก่อนหน้านี้
โตชิบาระบุว่าบริษัทกำลังจะเตรียมเปิดสายการผลิตขึ้นมาชดเชย แต่ไม่ได้บอกว่าสายการผลิตใหม่ใหม่นี้จะตั้งอยู่ที่ใด แต่บอกเพียงว่ากำลังผลิตของโรงงานนี้จะจำกัด
ซีอีโอของ Western Digital ออกเตือนผู้ลงทุนว่าผลกระทบของน้ำท่วมในไทยนั้นกระทบต่อ Western Digital มากกว่าผู้ผลิตรายอื่นๆ โดยส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัท 375 ล้านถึง 475 ล้านดอลลาร์ ไม่นับค่าเสียหายแบบครั้งเดียว เช่น ค่าซ่อมแซมและค่าเปลี่ยนเครื่องจักร
Western Digital ระบุว่าบริษัทยังมีสต็อกสินค้าให้พอผ่านเดือนธันวาคมนี้ไปได้ "อย่างจำกัด" แต่ปัญหาหนักคือปีหน้า โดยบริษัทจะต้องแก้ปัญหาต่อไปโดยตอนนี้เตรียมโยกสายการผลิตไปยังโรงงานในมาเลเซียและฟิลิปปินส์
ส่วนราคานั้น ผลกระทบในประเทศไทยจะทำให้ต้นทุนด้านลอจิสติกส์สูงขึ้น การสั่งสินค้าจำนวนมากๆ เพื่อให้ได้ราคาถูกจะทำไม่ได้เช่นเดิม ส่งผลให้ราคารวมสูงขึ้น
ดร. Joel Yang แห่ง Institute of Materials Research and Engineering (IMRE) ของประเทศสิงคโปร์ ร่วมกับนักวิจัยของ institute of Singapore’s Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) และ National University of Singapore (NUS) รายงานความสำเร็จในการเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์ด้วย NaCl (หรือสูตรเคมีของเกลือแกงนั่นเอง)
มีรายงานว่าขณะนี้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ของผู้ผลิตหลักทั้ง 4 รายอย่าง Western Digital, Seagate, Hitachi และ Toshiba กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทย หลายโรงงานต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ส่วนโรงงานที่ยังผลิตได้ก็ประสบปัญหาการตัดกระแสไฟฟ้าและเส้นทางขนส่งที่ตัดขาด ตลอดจนโรงงานซัพพลายเออร์ก็ล้วนหยุดสายการผลิตเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ทุกรายต่างพยายามสต็อกสินค้าคงคลังไว้ให้มากที่สุด เนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีเป็นช่วงที่มียอดขายสูงสุด
มีรายงานข่าวว่า TDK ได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการบันทึกหน่วยความจำซึ่งสามารถเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์จากปัจจุบันได้อีกมากกว่า 2 เท่าตัว โดยเป็นการพัฒนาเลเซอร์แบบพิเศษที่ทำงานได้ละเอียดระดับไม่กี่นาโนเมตร
ทั้งนี้ TDK ได้เปลี่ยนวัสดุที่ใช้ในหัวอ่านข้อมูล และเปลี่ยนโครงสร้างการบันทึกข้อมูลใหม่ทั้งหมด โดยการออกแบบใหม่นี้ทำให้ 1 จานแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้สูงถึง 1TB ซึ่ง TDK มีแผนจะเปิดตัวเทคโนโลยีอย่างเป็นทางการต่อผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ในต้นปีหน้า
ที่มา: TechCrunch
นี่เป็นเทคนิคทางวิศวกรรมอีกอย่างหนึ่งที่วิศวกรของ Facebook เปิดเผยผ่านโครงการ Open Compute เปิดเผยรายละเอียดศูนย์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง
ข่าวต่อเนื่องกับ ฮาร์ดดิสก์สำหรับแท็บเล็ต Seagate Momentus Thin เพราะแท็บเล็ตที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ตัวนี้ได้แก่ Archos G9 แท็บเล็ตแอนดรอยด์รุ่นที่สามจาก Archos
G9 แบ่งออกเป็น 2 รุ่นย่อยคือ 80 (หน้าจอ 8" 1024x768) กับ 101 (หน้าจอ 10.1" 1280x800) ทั้งสองตัวขนาดต่างกันแค่หน้าจอ อย่างอื่นเหมือนกันทุกประการ จุดขายสำคัญของ G9 มี 2 อย่าง
ซีพียู TI OMAP4 CORTEX A9 1.5GHz ดูอัลคอร์ ที่เอามาข่มแท็บเล็ตคู่แข่งที่ใช้ Tegra 2 1GHz โดยเฉพาะ
สเปกอย่างอื่น
กล้องหน้า 720p
ซีเกตเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ 2.5 นิ้ว Momentus Thin ซึ่งมีความหนา 7 มิลลิเมตร ความจุสูงสุด 320GB อัตราหมุน 7,200rpm สำหรับใช้ในแท็บเล็ต ซึ่งปัจจุบันแท็บเล็ตนั้นใช้ SSD เป็นหน่วยความจำหลักแต่มีข้อจำกัดบางอย่างเช่นขนาดความจุ
แท็บเล็ตรุ่นแรกที่จะใช้ฮาร์ดดิสก์นี้คือ Archos G9 แท็บเล็ตซีพียู dual-core 1.5GHz โดยใส่ฮาร์ดดิสก์ความจุ 250GB วางราคาขายไว้ $279 สำหรับขนาดหน้าจอ 8 นิ้ว และ $349 สำหรับ 10 นิ้ว
ที่มา: ซีเกต
The Wall Street Journal รายงานว่าซัมซุงมีแผนจะขายธุรกิจฮาร์ดดิสก์ออกไปเพื่อนำเงินสดไปลงทุนในธุรกิจกลุ่มอื่น โดยซัมซุงเล็งขายธุรกิจส่วนนี้ออกไปในมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ แต่ดีลอาจจบลงที่มูลค่าไม่เกิน 1 พันล้านดอลลาร์ โดยซีเกทน่าจะเป็นผู้ซื้อกิจการส่วนนี้ไปจากซัมซุง
ถ้าหากดีลนี้เป็นตามข่าว จะทำให้ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ในตลาดเหลือเพียงแค่ 3 รายคือ โตชิบา ซีเกท และ Western Digital (ที่เพิ่งซื้อฮิตาชิไป) โดยจะมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10%, 40% และ 50% ตามลำดับ
ปัจจุบันซัมซุงมีส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจฮาร์ดดิสก์ประมาณ 11% และยังเป็นส่วนธุรกิจที่ขาดทุนของซัมซุง
โตชิบาเปิดตัวฮาร์ดดิสก์ในตระกูล MKxx61GSYG ขนาด 2.5" โดยมีความพิเศษคือเมื่อเปิดเครื่อง ฮาร์ดดิสก์จะตรวจสอบเครื่องที่มันเชื่อมต่ออยู่ด้วยว่าเป็นเครื่องที่ถูกต้องหรือไม่ และหากนำฮาร์ดดิสก์ไปต่อกับเครื่องอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต มันจะทำลายข้อมูลในตัวเองทั้งหมด
อย่างไรก็ดีผู้ใช้สามารถเลือกมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบอื่นๆ เช่น ห้ามผู้ใช้เข้าใช้งานเท่านั้น หรือกระทั่งลบข้อมูลออกเพียงบางส่วน
Seagate เปิดตัว SSD รุ่น Pulsar.2 สำหรับ SSD ที่มีขนาดใหญ่ และ Pulsar XT.2 สำหรับการใช้ SSD ความเร็วสูง พร้อมกับ HDD สำหรับองค์กร คือ Savvio และ Constellation
SSD นั้นตัว Pulsar.2 จะมีขนาดสูงสุด 800GB โดยทั้งหมดจะเป็นดิสก์แบบ 2.5" SATA 3.0 SAS โดยมีอัตราการเสียต่อปี (annualised failure rate - AFR) อยู่ที่ 0.44% ต่อปีและอายุการใช้งานเฉลี่ย 2 ล้านชั่วโมง สำหรับรุ่น Pulsar XT.2 นั้นจะมีขนาดสูงสุดที่ 400GB โดยมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 360MB/s และเขียน 300MB/s สามารถทำ IOPS ได้ 48,000 read IOPS และ 22,000 write IOPS
ฮาร์ดดิสก์ลูกผสม Seagate Momentus XT ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากตลาด เพราะผสมความเร็วของ SSD กับราคาถูกของฮาร์ดดิสก์แบบเดิมเข้าด้วยกัน ตัวเลขของ Seagate เองระบุว่าขายได้ถึง 350,000 ตัว
แต่ใช้กันมาได้สักพัก ก็มีผู้ใช้รายงานปัญหาของ Momentus XT กันเป็นจำนวนมาก จุดที่เป็นปัญหาหลักคือ Advanced Power Management (APM) ที่ออกแบบมาให้หมุนจานฮาร์ดดิสก์ใช้ช้าลง (spin down) เพื่อประหยัดพลังงาน แต่ Seaagate กลับตั้งค่าให้มัน spin up/down บ่อยเกินไป ผู้ใช้รายหนึ่งรายงานว่าเดือนแรกมีจำนวน spin up/down ถึง 65,000 ครั้ง
แม้ว่าเดือนกันยายนปี 2010 ที่ผ่านมา iPod classic จะเป็น iPod เพียงตัวเดียวที่ไม่ได้รับการอัพเดตใด ๆ ทว่าการสำรวจยอดขายเครื่องเล่นพกพาในสหรัฐฯในปี 2010 โดย NPD Group กลับให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจคือ iPod classic ที่หลาย ๆ คนเริ่มเห็นเป็นเครื่องเล่นล้าสมัยแล้ว กลับมียอดขายมากกว่าทั้ง iPod shuffle และ iPod nano และเป็นรองเพียง iPod touch เท่านั้น