ข่าวนี้น่าสนใจมากสำหรับคนที่ตามเรื่อง cloud computing ครับ เพราะเป็นบริการกลุ่มเมฆที่ไม่ได้ทำโดยบริษัทไอทีโดยตรง และมีฐานลูกค้าเฉพาะของตัวเอง
บริษัท NYSE Technologies ซึ่งเป็นบริษัทลูกของตลาดหลักทรัพย์ NYSE Euronext (บริหารตลาดหุ้นนิวยอร์กและอีกหลายแห่งในยุโรป) ประกาศเปิดตัวบริการประมวลผลบนกลุ่มเมฆสำหรับตลาดการเงินและตลาดทุนโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า Capital Markets Community Platform
บริษัทค้าหุ้น ค้าหลักทรัพย์ ที่ต้องการสร้างโซลูชันไอทีของตัวเองแต่ไม่อยากลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที สามารถ "เช่าใช้" บริการของ Capital Markets Community Platform ได้โดยคิดราคาเป็นจำนวนซีพียูต่อชั่วโมง (เหมือนกับ EC2)
ยักษ์สีฟ้า IBM ประกาศบุกตลาดการประมวลผลข้อมูลที่มีรูปแบบไม่คงตัว (unstructured data) และมีจำนวนมหาศาล ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า "Big Data" ตัวอย่างข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ข้อความทวีต, ข้อมูลการคลิก, รูปภาพ, วิดีโอ, พิกัด GPS, ข้อมูลจากเซ็นเซอร์, ข้อมูลการเคลื่อนไหวของหุ้น ฯลฯ
IBM ได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ตระกูล InfoSphere สำหรับงานประมวลผลลักษณะนี้ 2 ตัว ได้แก่
นอกจาก Chromebook แล้ว กูเกิลยังโชว์ Chrome OS รุ่นปรับปรุงใหม่ที่แก้ปัญหาจากรุ่นที่ใช้ใน Cr-48 และเปิดเผยแผนธุรกิจของ Chrome OS/Chromebook ที่จับตลาดพีซีองค์กรโดยตรง
Chrome OS ปรับปรุงใหม่
โดยรวม Chrome OS ยังหน้าตาเหมือนเดิมทุกประการ แต่แก้ปัญหาเรื่องการจัดการไฟล์ โดยเพิ่ม file manager ขึ้นมาเป็นแท็บใหม่อีกอันหนึ่ง (สมมติว่าเราเสียบ SD หรือ thumbdrive จะเปิดแท็บ file manager ให้อัตโนมัติ)
ระบบอีเมลองค์กรถูกครอบครองตลาดโดย Microsoft Exchange มายาวนาน แต่ช่วงหลังก็เริ่มโดนรุกตลาดจากระบบเมลบนกลุ่มเมฆ โดยเฉพาะคู่กัดสำคัญ Google Apps (จริงๆ ก็มียี่ห้ออื่นอีกมากแต่คงไม่สำคัญเท่า)
Google Apps รุกตลาดอีเมลองค์กรด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า คือคิดเป็นราคาต่อหัว ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่า Exchange Server ก่อนแบบของไมโครซอฟท์ ทำให้มีลูกค้าองค์กรย้ายไปใช้ Google Apps แทน Exchange จำนวนไม่น้อย
วันนี้ไมโครซอฟท์ออกมาโต้กลับ Google Apps แล้ว โดยใช้แคมเปญว่า "The Hidden Google Tax" หรือค่าใช้จ่ายแฝงที่มากับผลิตภัณฑ์ของกูเกิล
ไมโครซอฟท์บอกว่าค่าใช้จ่ายสำหรับ Google Apps แค่ 50 ดอลลาร์ต่อปีก็จริง แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกไม่น้อย แบ่งเป็น 2 หมวด ได้แก่
Hadoop เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (distributed computing) ที่ยาฮูสร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับ MapReduce ของกูเกิล (โดยสร้างจากเปเปอร์วิชาการของกูเกิล เพราะกูเกิลไม่ได้เปิดซอร์ส MapReduce)
ปัจจุบัน Hadoop เป็นโครงการโอเพนซอร์สใต้ Apache Foundation และมีองค์กรขนาดใหญ่นำไปใช้มากมาย เช่น Amazon, eBay, Facebook, Apple, HP, IBM (จริงๆ ก็เกือบทุกรายที่ไม่ใช่กูเกิลกับไมโครซอฟท์) แต่กำลังนักพัฒนาหลักก็ยังอยู่ที่ยาฮู
และถึงแม้ยาฮูจะประสบอุปสรรคกับธุรกิจเว็บอยู่บ้าง แต่ในสายของ cloud computing นั้น Hadoop ไปได้สวยมาก จึงมีข่าวออกมาว่ายาฮูอาจแยกทีม Hadoop ออกเป็นบริษัทใหม่เพื่อทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ
Michael Dell ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Dell ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal ถึงมุมมองของเขาต่อตลาดแท็บเล็ต และที่ยืนของบริษัท Dell ในอุตสาหกรรมไอที
Michael Dell ยอมรับว่าสิ่งที่เขาไม่คาดคิดมาก่อนคือการเติบโตอย่างรวดเร็วของแท็บเล็ต แม้มันจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการไอทีก็ตาม เขามองว่าผู้ใช้กลุ่มธุรกิจจะไม่ทิ้งพีซีหรือสมาร์ทโฟนเพื่อหันมาใช้แท็บเล็ต ทำให้เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ที่ตลาดรวมเติบโต ไม่ได้แข่งกันเองจนผลิตภัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งมียอดขายลดลง
Michael Dell บอกว่าแท็บเล็ต Android จะแซง iPad ในที่สุด แม้ระยะเวลาจะไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ แต่ถ้ามองย้อนกลับไปเมื่อ 18 เดือนก่อน ก็ไม่มีใครเชื่อว่ามือถือ Android จะขึ้นมาเป็นที่หนึ่งของตลาดได้เช่นกัน
กูเกิลเปิดตัว Google Earth Builder สำหรับการเก็บและประมวลผลข้อมูลพิกัด (spatial data) เปิดให้องค์กรสามารถอัพโหลดข้อมูลเข้าไปยังกูเกิลและประมวลผลในระบบของกูเกิลได้
ระบบฐานข้อมูลพิกัดเป็นอีกตลาดของตลาดระดับองค์กรที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากการประมวลผลพิกัดนั้นต้องใช้ระบบฐานข้อมูลพิเศษ เช่น Oracle Spatial การที่กูเกิลลงมายังตลาดนี้ก็เป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจนัก โดยก่อนหน้านี้บริการเช่น Google Maps นั้นก็เปิดให้บริการกับลูกค้าองค์กรอยู่ก่อนแล้ว แต่ลูกค้าต้องประมวลผลข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองแล้วเอาไปวางซ้อนกับแผนที่ของกูเกิลเท่านั้น แต่ด้วย Google Earth Builder ข้อมูลทุกอย่างสามารถประมวลผลที่กูเกิลเองได้เลย
หลังจากสาธิตพลังประมวลผลของ POWER7™ ไปในการแข่งเกมโชว์ Jeopardy! ตอนนี้ก็ถึงเวลาขายของ เมื่อไอบีเอ็มประกาศอัพเกรดเซิร์ฟเวอร์ ตั้งแต่ตระกูล BladeCenter, Power Express, และ Power
ชิป POWER ที่เปิดตัวมาพร้อมกับเซิร์ฟเวอร์มีตั้งแต่ 2.4GHz ไปจนถึง 4.0GHz สูงสุด 8 คอร์ต่อซ๊อกเก็ต โดยแต่ละซ๊อกเก็ตจะรองรับหน่วยความจำได้ 64GB
สถาปัตยกรรม Sandy Bridge นั้นเปิดตัวมาตั้งแต่ต้นปี และอินเทลค่อยๆ อัพเกรดซีพียูจากเดสก์ทอปไปยังเซิร์ฟเวอร์รุ่นเล็กไปก่อนแล้ว และวันนี้ก็ถึงรอบของเซิร์ฟเวอร์ตระกูลสูงสุดคือ Xeon E7 โดยแบ่งเป็นสามรุ่นย่อยคือ 8800, 4800, และ 2800
ชิปตระกูล E7 นั้นจะรองรับซีพียูต่อเมนบอร์ดตามรุ่นคือ 2, 4, และ 8 ซีพียูต่อเมนบอร์ดตามเลขรุ่น อย่างไรก็ดีมีความเป็นไปได้ที่จะขยายให้รองรับได้สูงสุด 256 ซีพียูต่อเมนบอร์ด ตัวซีพียูจะเริ่มต้นที่ 6 คอร์ต่อซ๊อกเก็ตและสูงสุด 10 คอร์ มีแคชตั้งแต่ 16 ถึง 30 เมกกะไบต์
E7 รองรับแรม 16 สล็อตต่อซีพียูและแรมขนาด 32 กิกะไบต์ต่อสล็อต
หลังจากออราเคิลเข้าซื้อซัน สิ่งที่ได้มาด้วยคือชิป RISC สำหรับเซิร์ฟเวอร์ราคาแพงอย่าง SPARC และ UNIX ก็ถึงเวลาลาจากชิป RISC จากอินเทลคือ Itanium กันไป โดยออราเคิลได้ประกาศว่าจะซัพพอร์ตเฉพาะรุ่นปัจจุบันต่อเนื่องไปจนจบนโยบายการซัพพอร์ตของออราเคิล โดยออราเคิลแนะนำให้ลูกค้าย้ายไปใช้ซีพียู X86-64 หรือ SPARC
การซัพพอร์ตแบ่งเป็นสามระดับ
กระแสเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (microserver) ยังคงเป็นกระแสที่เริ่มได้รับความสนใจจากแบรนด์หลักอย่าง Dell เมื่อมีการเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล Dell PowerEdge C ที่สามารถรองรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กได้ 12 เครื่องในตัวถังขนาด 3U
เครื่องที่เปิดตัวมาชุดแรกมีสองรุ่นคือ C5125 ที่ใช้ซีพียู AMD และ C5220 ที่ใช้ซีพียูอินเทล โดยเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัวจะรองรับ UDIMMS 4 ช่อง, ฮาร์ดดิสก์แบบ 3.5" 2 ลูกหรือ 2.5" 4 ลูก, และพอร์ตแลนกิกะบิต 2 พอร์ต, พร้อมกับระบบจัดการเครีื่องแบบ IPMI และ iKVM
ตระกูล C5000 เป็นรุ่นที่สามของ PowerEdge C โดยแนวคิดคือการสร้างเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับซีพียูซ๊อกเก็ตเดียวและบีบขนาดให้เล็กที่สุด แล้วออกแบบตัวถังให้แชร์ระบบระบายความร้อนและระบบจ่ายพลังงานร่วมกัน
กระแสตอบรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กมาก (micro server) นั้นเกิดขึ้นมากในต่างประเทศโดยเฉพาะจีน จนโดยตอนนี้ตลาดหลักมักใช้ชิป Atom ทั้งที่ตัวมันเองไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ จนกระทั่ง ARM เตรียมวางตลาดชิป ARM สำหรับเซิร์ฟเวอร์เข้ามาชิงส่วนแบ่ง ล่าสุดอินเทลเองก็เริ่มส่งสัญญาณว่าอินเทลจะลงมายังตลาดนี้ด้วย
Boyd Davis ผู้จัดการทั่วไปของกลุ่มธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) ระบุว่าตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการชิปพลังงานต่ำมากนั้นเป็นตลาดเฉพาะทางที่มีขนาดใหญ่ถึง 10% ของตลาดรวม และอินเทลจะส่งชิปทั้ง Xeon และ Atom เข้ามาเติมช่องว่างในส่วนนี้
Seagate เปิดตัว SSD รุ่น Pulsar.2 สำหรับ SSD ที่มีขนาดใหญ่ และ Pulsar XT.2 สำหรับการใช้ SSD ความเร็วสูง พร้อมกับ HDD สำหรับองค์กร คือ Savvio และ Constellation
SSD นั้นตัว Pulsar.2 จะมีขนาดสูงสุด 800GB โดยทั้งหมดจะเป็นดิสก์แบบ 2.5" SATA 3.0 SAS โดยมีอัตราการเสียต่อปี (annualised failure rate - AFR) อยู่ที่ 0.44% ต่อปีและอายุการใช้งานเฉลี่ย 2 ล้านชั่วโมง สำหรับรุ่น Pulsar XT.2 นั้นจะมีขนาดสูงสุดที่ 400GB โดยมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 360MB/s และเขียน 300MB/s สามารถทำ IOPS ได้ 48,000 read IOPS และ 22,000 write IOPS
ออราเคิลเปิดตัวเฟรมเวิร์คสำหรับการพัฒนาแอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือในชื่อ Oracle ADF Mobile โดยภายในมันคือเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาแอพลิเคชั่นที่แยกเป็นสองส่วน คือ
Leo Apotheker อดีตผู้บริหาร SAP ที่มานั่งเป็น CEO ของ HP ในตอนนี้ได้ขึ้นพูดต่อพนักงานที่เมืองบังกาลอร์ถึงแนวทางของบริษัท โดยมีเรื่องสำคัญๆ สามเรีื่องคือ พีซีทุกเครื่องจาก HP จะติดตั้ง WebOS ในปีหน้าเป็นต้นไป, HP จะบุกตลาดซอฟต์แวร์หนักขึ้นด้วยการเข้าซื้อกิจการซอฟต์แวร์เพิ่มเติม, และ Apotheker ต้องการดึงเอา "จิตวิญญาณ" ของเอชพีกลับคืนมา
ปัจจัยชี้ขาดสำหรับการใช้มือถือสำหรับองค์กรคือความปลอดภัยของข้อมูล และความสามารถในการจัดการจากระยะไกล แชมป์ในวงการนี้ยังเป็นของ BlackBerry (มี Windows Mobile ตามมาห่างๆ และ iPhone ที่มาแรงในระยะหลัง) ส่วน Android แม้จะมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยอยู่บางส่วน แต่ถ้าเทียบกับผู้นำแล้วยังตามอีกไกล
Motorola ซึ่งจับตลาดระบบสื่อสารขององค์กรมานาน หวังจะบุกตลาดนี้โดยยกเครื่องระบบความปลอดภัยของ Android เสียใหม่ โดยผ่านบริษัท 3LM ที่เพิ่งซื้อมา แนวทางคือเพิ่ม API ด้านความปลอดภัยและการบริหารจัดการลงไปที่ระดับระบบปฏิบัติการ เพื่อให้มือถือของ Motorola สามารถควบคุมจากซอฟต์แวร์บริหารจัดการอุปกรณ์พกพาที่นิยมในท้องตลาด เช่น Good Technology, MobileIron, Zenprise ได้
Google Cloud Connect เป็นระบบทำงานร่วมกันระหว่าง Google Apps กับ Microsoft Office ที่กูเกิลไปซื้อเทคโนโลยีมาจากบริษัท DocVerse หลังจากทดสอบอย่างจำกัดไปช่วงปลายเดือนที่แล้ว ตอนนี้กูเกิลก็เปิดให้ทุกคนดาวน์โหลดมาใช้งานได้แล้ว
เมื่อรวมเข้ากับ Google Apps เดิมทำให้ตอนนี้กูเกิลเป็นคู่แข่งโดยตรงกับไมโครซอฟท์ในส่วนของ Microsoft Office และ SharePoint ไปแล้ว ข่าวร้ายคือ Cloud Connect นั้นไม่รองรับ Office for Mac เพราะ API ของ Office บนแมคนั้นไม่เท่ากับบนพีซี
Juniper เปิดตัวอุปกรณ์เครือข่ายในตระกูลใหม่คือ QFabric ที่เน้นการลดระดับของเครือข่ายให้บางลงจากเดิมที่เรามักแบ่งเครือข่ายออกเป็นสามชั้น แต่แนวคิดแบบแฟบริกนั้นเสนอให้ทุกอย่างต่อตรงเข้ากับสวิตซ์ตัวเดียวเพื่อให้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยอุปกรณ์ตัวแรกที่วางตลาดคือ QFX3500
เจ้าพ่อเน็ตเวิร์คอย่าง Cisco ระยะหลังหันมาบุกตลาดโซลูชันไอทีองค์กรมากขึ้น บริการหนึ่งที่คนไม่ค่อยรู้คือ Cisco ทำเว็บเมลกับเขาด้วยในชื่อ "Cisco Mail"
Cisco Mail เปิดตัวมาตั้งแต่ปลายปี 2009 และจับตลาดองค์กรเท่านั้น (คิดราคาต่อหัวประมาณ 3.5-5 ดอลลาร์ต่อเดือน) นอกจากนี้ยังมีบริการเสริมอย่างการเชื่อมกับ BlackBerry ด้วย
ล่าสุด Cisco ออกมาประกาศแล้วว่าจะหยุดพัฒนา Cisco Mail เพราะตลาดอีเมลเต็มไปด้วยคู่แข่งที่ไม่มีข้อแตกต่างกันมากนัก จึงต้องการนำวิศวกรไปพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นแทน
ที่มา - Wall Street Journal
ที่งาน RSA Conference ปีนี้ออราเคิลเปิดตัวสินค้าใหม่คือ Oracle Database Firewall ที่ช่วยป้องกันการเข้าใช้ฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ SQL ที่น่าจะถูกดัดแปลงผ่าน SQL injection มาตลอดจนการโจมตีฐานข้อมูลแบบอื่นๆ
ระบบการป้องกันจะอาศัยข้อมูลของการใช้งานตามปรกติ ผู้ดูแลระบบสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้เช่นการรันคำสั่ง SQL บางอย่างอาจจะรันได้ในบางช่วงเวลา หรือจากบางไอพีเท่านั้น โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ in-band ที่ช่วยสกัดคำสั่งที่น่าสงสัย หรืออาจจะติดตั้งแบบ out-of-band เพื่อการตรวจสอบและแจ้งเตือนเท่านั้น
หลังจากที่ขายเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เครือข่ายมานาน HP ก็บุกอีกธุรกิจคือการรับสร้างศูนย์ข้อมูลในชื่อฝ่าย Critical Facilities Implementation หรือ CFI
HP ระบุว่าก่อนหน้านี้บริษัทก็เคยรับงานสร้างศูนย์ข้อมูลให้กับลูกค้าในเอเชียบางรายบ้าง แต่ไม่มีแผนกโดยตรงสำหรับเรื่องนี้ โดยลูกค้าจำนวนมากต้องการทำสัญญากับบริษัทเจ้าเดียวให้รับงานไปแบบครบวงจร ขณะที่ HP สามารถขายอุปกรณ์เครือข่าย, เซิร์ฟเวอร์, และซอฟต์แวร์จัดการได้ในรายเดียว แต่กลับไม่สามารถรับงานก่อสร้างตัวศูนย์ข้อมูลได้แม้จะมีความสามารถในการสร้างศูนย์ข้อมูลอยู่แล้วก็ตาม หลังจากมีฝ่ายนี้ HP หวังจะบุกตลาดทั่วโลกโดยมุ่งหวังอเมริกาเหนือและยุโรปไว้เป็นภูมิภาคแรกๆ
ถัดจากตลาดผู้ใช้ตามบ้านก็ถึงเวลาที่ค่ายโทรศัพท์มือถือจะชิงตลาดองค์กรที่เคยเป็นพื้นที่ผูกขาดของ BlackBerry กันแล้ว เมื่อซัมซุงประกาศว่าโทรศัพท์จากซัมซุงจะมี API เพิ่มเติมเพื่อรองรับระบบจัดการโทรศัพท์มือถือของ Sybase Afaria ซึ่งอยู่ภายใต้ SAP ได้ในสองรุ่น Galaxy S II และ Galaxy Tab รุ่นจอ 10 นิ้ว
API ส่วนมากเป็นการพอร์ตมาจาก Android 3.0 Honeycomb โดยจะมีฟีเจอร์ความปลอดภัยเพิ่มเติมเช่นการควบคุมกล้อง, ไมโครโฟน, บลูทูธ, การควบคุมนโยบายรหัสผ่านที่แข็งแรงกว่าเดิม, การเข้ารหัสข้อมูลทุกอย่างในอุปกรณ์ นอกจากนี้ซัมซุงยังสัญญาว่าจะเพิ่ม API ด้านความปลอดภัยไปเรื่อยๆ เช่นสามารถควบคุมการลงแอพพลิเคชั่นบนเครื่อง
อิลเทลปล่อยซอฟต์แวร์ Open Fiber Channel over Ethernet หรือ Open FCoE ที่ช่วยให้การ์ดอีเธอร์เน็ตธรรมดาสามารถรองรับโปรโตคอล Fiber Channel ได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการการเชื่อมต่อ SAN กับเครือข่ายทั่วไปเข้าเป็นเครือข่ายแบบเดียวกัน
Open FCoE จะย้ายงานประมวลผลโปรโตคอล Fiber Channel ไปอยู่บนซีพียูแทนที่จะเป็นชิปพิเศษแบบการ์ด Fiber Channel แบบเดิม โดยอินเทลอ้างว่าการรวมเครือข่ายสำหรับการเก็บข้อมูลมาวิ่งบนอีเธอร์เน็ตนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานลง 29%, ค่าพลังงาน 50%, และค่าสายเคเบิลอีก 80%
ตลาดองค์กรยังเป็นจุดแข็งของ BlackBerry อยู่ไม่น้อย (แม้จะโดน iPhone รุกในตลาดนี้พอสมควร) ทางบริษัทแม่อย่าง RIM ก็มีแผนสำหรับตลาดองค์กรในปี 2011 ดังนี้
บทวิเคราะห์จากเว็บไซต์ Informationweek พูดถึงแนวโน้ม 5 ประการของโลกซอฟต์แวร์ Business Intelligence (BI - ซอฟต์แวร์ที่ช่วยประเมินข้อมูลสำคัญๆ จากสารสนเทศทั้งหมดขององค์กร ใช้กันในองค์กรขนาดใหญ่)