บริษัท Good Technology ซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์หลายตัวสำหรับการใช้มือถือในองค์กร (เน้นไปทางความปลอดภัยของข้อมูลและการบริหารจัดการเครื่อง) เผยสถิติการใช้งานมือถือของลูกค้า ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐหลายแห่ง
ผลปรากฏว่าสถิติประจำไตรมาสแรกของปี 2012 อุปกรณ์ยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ iPhone 4S คิดเป็น 37% ของอุปกรณ์ทั้งหมด และในอุปกรณ์ยอดฮิต 10 อันดับแรก ค่าย iOS กวาดเรียบตั้งแต่อันดับ 1-6 (ดูกราฟประกอบ) คู่แข่งฝั่ง Android ที่ดีที่สุดคือ Motorola Droid ตามมาแบบถูกทิ้งสุดกู่ในอันดับ 7
HP บริษัทแม่ประกาศข่าว Proliant Gen8 ไปเมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้ HP ประเทศไทยจัดงานแถลงข่าวการวางขายในไทยแล้วเช่นกัน
รายละเอียดของตัวเซิร์ฟเวอร์ย้อนอ่านจากข่าวเก่ากันเองนะครับ
แบบสรุปๆ คือ ProLiant Gen8 มีพื้นฐานมาจากโครงการวิจัยของ HP จำนวน 3 โครงการคือ Moonshot, Odyssey, Voyager ผลที่ได้คือเทคโนโลยีการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก (จดเป็นสิทธิบัตรรวม 900 รายการ) ครอบคลุมตั้งแต่การบำรุงรักษา การจัดการความร้อน การควบคุมจากระยะไกล ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องให้องค์กรที่ใช้เซิร์ฟเวอร์ ProLiant Gen8 ลดค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ลงได้มาก
หลังอินเทลออกซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่ Xeon E5 ไปแล้ว เราก็เห็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายทยอยเปิดตัวคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Xeon ตัวใหม่นี้กันถ้วนหน้า
แอปเปิลเดินหน้ายุทธศาสตร์ที่ตนเองไม่ค่อยโดดเด่นอย่างกลุ่มลูกค้าองค์กรอีกขั้น โดยแอปเปิลได้เพิ่มหน้า iPhone in Business เพื่อแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และจุดเด่นของการนำ iPhone มาใช้ในองค์กร ซึ่งตัวอย่างแอพบน iPhone ที่แอปเปิลเลือกมาแนะนำนั้นก็ดูจริงจังมากขึ้นอย่าง MicroStrategy, Salesforce, OmniFocus หรือ Cisco WebEx
นอกจากไมโครซอฟท์ได้ออกมาพูดถึงฟีเจอร์สำหรับการใช้งานเชิงธุรกิจบน Windows 8 Enterprise แล้ว วันนี้บริษัทได้ออกมาพูดถึง Windows 8 เช่นกัน
Mark Shuttleworth ประกาศว่าเอชพีได้ตัดสินใจรองรับ Ubuntu บนเครื่อง Proliant แล้ว โดยการใช้ Ubuntu จะไม่ทำให้ลูกค้าเสียซัพพอร์ตไป
การซัพพอร์ตตัวซอฟต์แวร์จะเป็นหน้าที่ของ Canonical ต่อไป และเซิร์ฟเวอร์เอชพีจะยังไม่มีการติดตั้ง Ubuntu มาให้แต่อย่างใด
ก้าวนี้อาจจะเป็นก้าวแรกของการก้าวเข้ามาในตลาดองค์กรของ Canonical ที่ตามรอยรุ่นพี่อย่าง Redhat แต่จะสำเร็จหรือไม่อาจจะต้องอาศัยความพยายามมากกว่าการรองรับแต่ไม่ได้ช่วยขายเช่นนี้
ที่มา - ExtremeTech
EMC บริษัทแม่ของ RSA (ที่ถูกแฮกข้อมูล SecurID ปีที่แล้ว) และ VMWare ประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2011 อย่างน่าประทับใจด้วยรายได้ 5.1 พันล้านดอลลาร์ และกำไร 587 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 11% และ 23% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และเป็นไตสมาสที่ 9 ที่ผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
EMC อาศัยสามกระแสในโลกไอทีระดับองค์กร คือ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ, การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), และความปลอดภัย (trust) ที่ EMC ซื้อบริษัทตลาดเหล่านั้นมาไว้ในมือได้ทั้งหมด ส่วนสินค้าของ EMC เองคือระบบสตอร์เรจนั้นบริษัทระบุว่ากำลังทำตลาดได้ดีในตลาดระดับกลาง ที่เติบโตถึง 26% จากปีที่แล้ว
ออราเคิลถูกหน่วยงานกำกับโฆษณาแห่งชาติของสหรัฐฯ (National Advertisement Division - NAD) เตือนเรื่องโฆษณาที่เปรียบเทียบระหว่างเซิร์ฟเวอร์ SPARC SuperCluster T4-4 กับ IBM Power 795 ที่ระบุว่าเซิร์ฟเวอร์ของออราเคิลนั้นเร็วเป็นสองเท่าและราคาถูกกว่า 3.3 ล้านดอลลาร์ ว่าการโฆษณาว่าเร็วกว่าสองเท่านั้นสามารถตีความได้ผิดว่าเซิร์ฟเวอร์ของออราเคิลนั้นเร็วกว่าสองเท่าในทุกรณี และราคา 4.5 ล้านดอลลาร์ของไอบีเอ็มก็เทียบราคารวมกับ storage ไม่ได้เทียบเฉพาะตัวเซิร์ฟเวอร์
งานนี้หน่วยงานกำกับระบุให้ออราเคิลระบุให้ชัดเจนว่าจะเปรียบเทียบกับสินค้ารุ่นใดและรายละเอียดเช่นใดของคู่แข่ง และให้หยุดการอ้างว่า "SPARC SuperCluster T4-4 รันออราเคิลและจาวาเร็วกว่าเครื่องที่เร็วที่สุดของไอบีเอ็มสองเท่าตัว"
ต่อจากข่าว ยืนยันแล้ว Windows 8 มี 3 รุ่นย่อย: ปกติ, Pro, RT ไมโครซอฟท์ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมของ Windows 8 Enterprise ซึ่งเป็นรุ่นเฉพาะสำหรับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ ไม่มีขายทั่วไป
Windows 8 Enterprise จะมีฟีเจอร์เท่ากับ Windows 8 Pro ทุกประการ แล้วเพิ่มฟีเจอร์อีกบางส่วนเข้ามา เช่น
ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่า ระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์รุ่นถัดไปที่ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ Windows Server 8 จะใช้ชื่อทำตลาดว่า Windows Server 2012 แทน
จากชื่อทุกคนก็พอเดาได้ว่ามันจะออกภายในปีนี้ ซึ่งไมโครซอฟท์เองก็พูดชัดแล้วว่าจะออกในปีนี้เช่นกัน
Wall Street Journal สรุปสถานการณ์ภายในของแผนก Google Apps บริการอีเมล-เว็บแอพสื่อสารสำหรับองค์กร ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลากรครั้งใหญ่ ทำให้ดูเหมือนว่ากูเกิลกำลังลดความสำคัญของตลาดนี้ลง
ประเด็นสำคัญที่สุดคือ Dave Girouard ผู้บริหารแผนก Google Apps ที่เรียกว่าเป็นผู้ให้กำเนิดผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็ได้ ลาออกจากกูเกิลไปเปิดบริษัทใหม่ เขาอยู่กับกูเกิลมาตั้งแต่ปี 2004
ส่วนผู้บริหารอีกหลายคนในทีมก็ถูกย้ายไปคุมฝ่ายอื่น หรือไม่ก็ลาออกไปตามเส้นทางชีวิตนอกกูเกิลแทน
ช่วงนี้ Dell เร่งเดินหน้าซื้อกิจการชุดใหญ่ หลังจากที่เพิ่งซื้อ Wyse Technology ไปไม่กี่วันก่อน ก็ประกาศการเข้าซื้อกิจการอีก 2 บริษัทคล้ายๆ กันในเวลาไล่เลี่ยกัน (สรุปว่าซื้อ 3 บริษัทใน 4 วัน)
บริษัทแรกคือ Clerity Solutions ผู้เชี่ยวชาญการแปลงแอพพลิเคชันเก่าขององค์กร มารันบนสถาปัตยกรรมสมัยใหม่รวมถึงระบบกลุ่มเมฆ มีพนักงาน 70 คน
บริษัทที่สองคือ Make Technologies จากแคนาดา ซึ่งเชี่ยวชาญงานแปลงแอพพลิเคชันลักษณะคล้ายๆ กัน โดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการแปลงโค้ดลงได้มาก Make มีพนักงาน 100 คน
ทั้งสองบริษัทจะมาอยู่ภายใต้แผนก Dell Services ที่เน้นการขายโซลูชันทางไอทีให้กับองค์กรขนาดใหญ่นั่นเอง
ที่มา
ยุทธศาสตร์ของ Dell ในช่วงหลังๆ ชัดเจนมากว่ากำลังไล่ซื้อบริษัทซอฟต์แวร์องค์กรเฉพาะด้านเป็นจำนวนมาก (ข่าวซื้อบริษัทแบ็คอัพ AppAssure, ซื้อบริษัทไฟร์วอลล์ SonicWALL) ล่าสุด Dell เพ
Lenovo เปิดร้านขายแอพสำหรับองค์กรและธุรกิจในชื่อ Lenovo Enterprise App Shop
กลุ่มเป้าหมายหลักคงหนีไม่พ้นภาคธุรกิจที่ใช้งานแท็บเล็ตจาก Lenovo อยู่แล้ว แต่ฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือผู้ดูแลระบบขององค์กรสามารถควบคุมรายการแอพที่อนุญาตให้พนักงานติดตั้งได้ด้วย (รวมถึงซื้อแอพแบบยกองค์กรหรือ volume licensing) และองค์กรก็สามารถพัฒนาแอพขึ้นใช้ภายใน แล้วแจกจ่ายผ่าน Lenovo Enterprise App Shop ให้พนักงานในองค์กรได้เช่นกัน
Eucalyptus เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสร้างระบบกลุ่มเมฆภายในองค์กร (private cloud/on premise cloud) ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญคือโครงการ OpenStack ที่มาแรงมากในช่วงหลัง
ทาง Eucalyptus จึงพยายามแก้เกม โดยล่าสุดจับมือกับ Amazon Web Services เพื่อให้ระบบกลุ่มเมฆที่สร้างโดยซอฟต์แวร์ Eucalyptus สามารถย้ายไปรันบนบริการกลุ่มเมฆอย่าง EC2, S3, EBS ได้
ก่อนเข้าข่าวต้องปูพื้นก่อนนิดนึงว่า ผลิตภัณฑ์หลักของ Red Hat ในตอนนี้คือ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ซึ่งเปิดซอร์สโค้ด แต่ไม่แจกไบนารี (ดังนั้นถ้าอยากได้อัพเดตก็ต้องเสียเงินค่า subscription/support)
เมื่อ RHEL เปิดซอร์สโค้ด ก็มีองค์กรหลายแห่งเอาซอร์สไปทำดิสโทรของตัวเอง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ CentOS (ฟรีทั้งหมดแต่อัพเดตช้าหน่อย)
ฝั่งของ Oracle ก็มี Oracle Linux ที่นำซอร์สโค้ดของ RHEL มาปรับแต่งให้เหมาะกับการรันแอพพลิเคชันของตัวเอง (แต่การทำงานข้างในยังเหมือน RHEL เกือบทั้งหมด) และใช้วิธีขาย subscription/support เหมือนกัน ซึ่งก็ถือว่าเจาะตลาดของ Red Hat ไปบางส่วน (โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่อยากรัน Oracle 11g บน RHEL ก็หันมาใช้ Oracle Linux แทนจะดีกว่า)
เมื่อเดือนที่แล้ว ผมมีโอกาสได้นั่งคุยกับคุณนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ EMC ที่มาแถลงข่าวเรื่องผลประกอบการปี 2011 และทิศทางการทำธุรกิจของ EMC ในประเทศไทยปี 2012 ซึ่งก็ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพตลาดไอทีองค์กรในประเทศไทยมาพอสมควร เลยสรุปเนื้อหามาบางส่วนครับ
(จริงๆ สัมภาษณ์ตั้งนานแล้วแต่เพิ่งมีเวลาเรียบเรียง)
EMC เป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่คนไอทีฝั่งองค์กรน่าจะเคยได้ยินหรือเคยสัมผัสกันมาบ้าง เพียงแต่ถ้าถามว่า EMC ทำธุรกิจอะไรบ้าง คนตอบได้อาจมีไม่เยอะนัก
ออราเคิลทำระบบปฏิบัติการลินุกซ์ของตัวเองมาตั้งแต่ปี 2006 โดยนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาพัฒนาต่อ (ซึ่งไม่ผิดสัญญาอนุญาตตาม GPL) และขายในชื่อ Oracle Enterprise Linux (ภายหลังเปลี่ยนเป็น Oracle Linux เฉยๆ)
สิ่งสำคัญที่เพิ่มเข้ามาคือเคอร์เนลของ Oracle Linux ที่ออราเคิลปรับแต่งให้เหมาะสมกับการรันฐานข้อมูลของตัวเองมากขึ้น ตัวเคอร์เนลนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Unbreakable Enterprise Kernel ซึ่งของเดิมพัฒนาอยู่บนเคอร์เนลเวอร์ชัน 2.6
สงครามอีเมลองค์กรแบบ hosted environment ยังดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดไมโครซอฟท์ที่เป็น "ผู้ตาม" ในตลาดนี้ ก็เปิดฉากสงครามราคาแล้ว
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะลดราคาแพกเกจของ Office 365 ลงทุกรุ่น มีผลทั้งผู้ใช้ใหม่และเก่า โดยส่วนลดสูงสุดประมาณ 20% (รุ่นต่ำสุดสำหรับองค์กรคือ Office 365 E1 ลดจาก 10 ดอลลาร์ต่อคนต่อเดือน มาเหลือ 8 ดอลลาร์) การลดราคาครั้งนี้ไมโครซอฟท์ให้เหตุผลว่าเกิดจากส่วนลดโดยขนาด (economies of scale) จากการแชร์ทรัพยากรร่วมกัน
ทิศทางของ Dell ในช่วงหลังนั้นชัดเจนว่าต้องการบุกเข้ามายังโลกซอฟต์แวร์องค์กรด้วย ก่อนหน้านี้ก็มีข่าวซื้อบริษัทแบ็คอัพ AppAssure มารอบหนึ่งแล้ว
Michael Dell ให้สัมภาษณ์ในรายการทีวี Bloomberg West เกี่ยวกับ Windows 8 ดังนี้
นอกจากนี้ Amit Midha ประธานของ Dell Asia ก็บอกว่า Dell จะยังทำตลาดทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตต่อไป เพียงแต่จะเน้นแท็บเล็ตมากกว่า และยังใช้ทั้งระบบปฏิบัติการจากกูเกิลและไมโครซอฟท์
พร้อมๆ กับที่อินเทลเปิดตัว Xeon รุ่นใหม่ E5-2600 บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกก็ทยอยเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ที่ใช้ Xeon ตัวนี้
ข่าวนี้เป็นข่าวเก่าตอนงาน MWC เพิ่งมาเขียนตอนนี้ แต่เนื้อหาก็ยังใช้ได้อยู่ครับ
Greenplum เป็นบริษัทลูกของ EMC ที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลด้าน Data Warehouse/Big Data โดยเฉพาะ บริษัทมีผลิตภัณฑ์หลักในมือ 2 ตัวคือ