Zoom ประกาศลง Chrome OS ในรูปแบบเว็บแอพ progressive web application (PWA) สามารถดาวน์โหลดได้จาก Google Play Store บน Chrome OS ได้โดยตรง
การที่ Zoom ใช้งานได้ผ่านเบราว์เซอร์อยู่แล้ว แล้วออกเวอร์ชัน PWA คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก ทาง Zoom บอกว่าแอพเวอร์ชัน PWA มี "ฟีเจอร์ส่วนใหญ่" ใกล้เคียงกับแอพเนทีฟบนวินโดวส์และแมค เช่น Gallery View, Breakout Rooms, Live Transcription, การปรับภาพพื้นหลัง เป็นต้น ซึ่งเหนือกว่าเว็บแอพ Zoom เวอร์ชันปัจจุบันของ Chrome OS ที่จะถูกเลิกใช้ในอนาคต
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นการใช้ PWA มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเคสล่าสุดคือ Microsoft Store ตัวใหม่ของ Windows 11 ก็ประกาศรับ PWA ขึ้นสโตร์แล้ว
กูเกิลประกาศปรับรอบ Chrome OS จากเดิม 6 สัปดาห์ให้เร็วขึ้นเป็น 4 สัปดาห์ ตามแนวทาง Chrome ที่ประกาศไว้เมื่อเดือนมีนาคม
Chrome จะเริ่มปรับรอบใน Chrome 94 ที่จะออกในไตรมาส 4/2021 แต่กรณีของ Chrome OS จะปรับตามทีหลังในเวอร์ชัน 96 ส่งผลให้มีช่องว่างของเวลาที่เหลื่อมกัน ทางแก้ของกูเกิลคือจะยกเลิก Chrome OS เวอร์ชัน 95 ไปเลยเพื่อให้รอบเวลาซิงก์กัน
นอกจากนี้ Chrome OS จะแยกรอบการออกเป็น 2 แบบคือ รอบปกติทุก 4 สัปดาห์ เน้นเร็ว ออกฟีเจอร์ใหม่บ่อยๆ และรอบออกทุก 6 เดือนเพื่อตลาดองค์กร-ภาคการศึกษา
Google เปิดตัว Nearby Share หรือฟังก์ชั่นแบบ AirDrop ของ Apple มาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และเตรียมขยายการใช้งานจากมือถือไปยังโน้ตบุ๊ก Chromebooks ด้วย ช่วยให้แชร์ไฟล์จาก Chromebooks ไปยังอุปกรณ์อื่นที่ใช้ Chrome OS ล่าสุด Google เริ่มทยอยเปิดใช้งานแล้ว
การแชร์ข้อมูล Nearby Share บน Chrome OS นั้นสามารถแชร์ผ่าน Bluetooth, Bluetooth LE, WebRTC หรือ peer-to-peer WiFi เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และแชร์ไฟล์ได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
กูเกิลอัพเดตความเคลื่อนไหวของ Chrome OS ในงาน Google I/O 2021 ดังนี้
Google จับมือบริษัทผลิตอุปกรณ์เสริมเช่น Targus และ Hyper Acer, Belkin เตรียมออกอุปกรณ์เสริม docking station ในโครงการ Works with Chromebook เน้นลูกค้าองค์กรที่นิยมใช้ docking station ร่วมกับโน้ตบุ๊กอยู่แล้ว
docking station ที่ร่วมในโครงการนี้จะสามารถอัพเดตเฟิร์มแวร์ได้อัตโนมัติผ่าน Chrome OS และมีสองขนาดคือขนาดใหญ่ต่อจอแยกได้สามจอผ่านพอร์ต HDMI, DP และ USB-C หรือขนาดเล็ก ต่อพอร์ต HDMI ได้ 1 พอร์ตสำหรับพกพาและเดินทาง และแม้จะออกแบบมาเพื่อ Chrome OS แต่จะยังสามารถใช้กับโน้ตบุ๊ก Windows และ MacOS ได้เช่นกัน
ถึงแม้ Chrome OS เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับเข้าเว็บเป็นหลัก แต่กูเกิลก็ทยอยเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆ ให้ทัดเทียมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น ฟีเจอร์ screen recording หรือ Phone Hub เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน
ล่าสุด Chrome OS ได้ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจอีก 2 อย่าง ได้แก่ Scan แอพสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องสแกนเนอร์ (รองรับการสแกนผ่าน USB และ Wi-Fi แต่ยังไม่รองรับ Bluetooth) และ Diagnostics แอพตรวจสอบปัญหาของซีพียู แรม แบตเตอรี่ ซึ่งใช้ดูได้ว่าแอพตัวไหนกินแบตเยอะ แบตเหลืออีกเท่าไร และใช้งานไปแล้วกี่ cycle ด้วย
กูเกิลฉลอง Chromebook มีอายุครบ 10 ปี (เปิดตัว Chrome OS ครั้งแรก ก.ค. 2009, เปิดตัว Chromebook รุ่นแรก Cr-48 มี.ค. 2011) โดยประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ Chrome OS อีกหลายอย่าง
ฟีเจอร์เด่นที่สุดคือ Phone Hub การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน Android ลักษณะเดียวกับแอพ Your Phone ของไมโครซอฟท์ และฟีเจอร์เชื่อม iOS-macOS ของแอปเปิล
Phone Hub มีฟีเจอร์พื้นฐานที่พึงมี เช่น อ่านและตอบข้อความ SMS ของมือถือ, เปิด hotspot, ดูสถานะแบตเตอรี่ และที่แปลกว่าใครคือแสดงรายการแท็บของ Chrome บนมือถือได้ด้วย (เท่าที่อ่านยังไม่สามารถรับสายบน Chromebook ได้)
กูเกิลประกาศปรับความถี่ในการออกอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ของ Chrome จากเดิมทุก 6 สัปดาห์ มาเป็นทุก 4 สัปดาห์ ทำให้มีความถี่เท่ากับ Firefox ที่เปลี่ยนมาเป็น 4 สัปดาห์ตั้งแต่ปีที่แล้ว
Chrome จะเริ่มออกอัพเดตทุก 4 สัปดาห์ มีผลตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 หรือเวอร์ชัน 94 ส่วนอัพเดตย่อยด้านความปลอดภัยยังออกทุก 2 สัปดาห์เหมือนเดิม
กูเกิลยังประกาศเพิ่มตัวเลือก Extended Stable สำหรับผู้ดูแลระบบในองค์กร ที่ยังไม่ต้องการอัพเดตฟีเจอร์ใน Chrome เป็นเวอร์ชันล่าสุด โดยมีรอบอัพเดตทุก 8 สัปดาห์ แต่ยังได้รับอัพเดตเฉพาะส่วนความปลอดภัยทุก 2 สัปดาห์ เช่นเดียวกัน
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อประโยชน์การศึกษาใน Chrome OS โดยจะฝังฟีเจอร์อัดคลิปหน้าจอมาไว้ให้เลย ระบบจะอัพเดตใหม่ในเดือนมีนาคมนี้ ให้นักเรียนทบทวนบทเรียนด้วยตัวเองง่ายขึ้น
IDC เปิดเผยข้อมูลกับเว็บไซต์ GeekWire ถึงยอดขายคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งปี 2020 (นับรวมเดสก์ท็อป, โน้ตบุ๊ก, เวิร์คสเตชัน) แยกตามระบบปฏิบัติการ พบว่า Chrome OS มียอดขายสูงกว่า macOS เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
กูเกิลเข้าซื้อกิจการบริษัท Neverware เจ้าของระบบปฏิบัติการ CloudReady ซึ่งเป็นการนำซอร์สโค้ดของ Chrome OS มาดัดแปลงเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า
แนวทางของกูเกิลคือขาย Chrome OS ให้กับพาร์ทเนอร์ OEM พรีโหลดลงโน้ตบุ๊กหรือพีซีเท่านั้น ตรงนี้จึงกลายเป็นช่องว่างให้ Neverware ทำ OS มาเพื่อขายให้ลูกค้าที่ต้องการเฉพาะ OS เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการฮาร์ดแวร์พ่วงมาด้วย (ค่าไลเซนส์รุ่น Education คิดปีละ 20 ดอลลาร์, รุ่น Enterprise 49 ดอลลาร์, รุ่น Home ใช้ฟรี)
สินค้ากลุ่ม Chromebook อาจเป็นคู่แข่งโดยตรงกับโน้ตบุ๊กวินโดวส์ราคาถูก แต่ความเป็นคู่แข่งกันไม่จำเป็นต้องเกลียดกันเสมอไป
ไมโครซอฟท์เขียนโพสต์สอนการใช้งาน Chromebook ในฐานะเครื่องมือเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะเด็กๆ นักเรียนนักศึกษา ที่อาจมี Chromebook ใช้งานอยู่แล้วก็ไม่ต้องซื้อใหม่ ส่วนเครื่องมือที่สอนย่อมเป็น Visual Studio Code เวอร์ชันลินุกซ์ ที่สามารถใช้งานบน Chrome OS ได้อยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์บอกว่า VS Code ออกแบบมาให้กินทรัพยากรน้อย ดังนั้นต่อให้เป็น Chromebook รุ่นราคาถูก สเปกต่ำ แรมเพียง 1GB ก็รันได้ (ตัวอย่างที่สอนใช้ Chromebook รุ่นแรม 4GB) แถมยังรองรับการใช้งานบน Chromebook ที่เป็น ARMv7 หรือ ARM64 ก็ได้เช่นกัน
บริษัท Parallels เปิดตัว Parallels Desktop for Chromebook Enterprise เพื่อให้รันวินโดวส์แบบ virtualization ได้บนระบบปฏิบัติการ Chrome OS ตามความร่วมมือกับกูเกิลที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
Parallels ระบุว่านี่เป็นซอฟต์แวร์ตัวแรกในโลกที่ทำให้รันวินโดวส์ได้จาก Chromebook โดยเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าองค์กร ซึ่งอาจยังต้องการแอพบางตัวของวินโดวส์ (เช่น Microsoft Office หรือแอพเฉพาะทางขององค์กรเอง) ทำให้ยังติดขัด ไม่สามารถย้ายไปใช้ Chrome OS ได้
Lenovo เปิดตัว ThinkPad C13 Yoga Chromebook Enterprise โครมบุ๊กสำหรับทำงานรุ่นใหม่แบบ 2-in-1 หน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว รัน Chrome OS มาพร้อมตัวเลือกซีพียูสูงุสด Ryzen 7 3700C และตัวเลือกปากกาแบบเก็บในเครื่องได้ สเปกภายในดังนี้
โรคระบาดทำให้งานประชุมทางไกลมีความสำคัญมากขึ้น ล่าสุด Google ร่วมกับ Lenovo เปิดตัวฮาร์ดแวร์เพื่อการประชุมทางไกลใช้งานสำหรับสำนักงานโดยเฉพาะ คือ Series One
ทีมพัฒนาเอนจิน Blink ที่เป็นพื้นฐานของเบราว์เซอร์ Chrome ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Raw Sockets API ที่จะเพิ่ม API ในจาวาสคริปต์ให้เปิดซ็อกเก็ต TCP หรือ UDP ตรงได้ จากเดิมที่จาวาสคริปต์จะติดต่อโลกภายนอกได้ทาง HTTP/HTTPS เท่านั้น
ก่อนหน้านี้มีความพยายามทำให้เว็บสามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้เหมือนกับ TCP หรือ UDP เรื่อยมา แต่มักจำกัดแอปพลิเคชั่นที่ใช้งาน เช่น WebSocket ที่มักใช้กับการแชต หรือ WebRTC ที่ใช้กับการโทรศัพท์หรือวิดีโอคอล โดยตัวเซิร์ฟเวอร์ต้องรองรับโปรโตคอลให้ตรงตามเบราว์เซอร์ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นเช่น SSH หรือ RDP บนเว็บได้
ข้อเสนอ Raw Sockets API จะเปิดใช้งานเฉพาะ Chrome OS ในช่วงแรก แม้ว่าตัว API จะไม่มีข้อจำกัดว่าต้องใช้งานบน Chrome OS เท่านั้น
กูเกิลเปิดเว็บใหม่ ChromeOS.dev เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักพัฒนาแอพที่สนใจ Chrome OS ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในช่วงหลัง โดยกูเกิลให้สถิติว่าช่วงไตรมาส 2/2020 ที่ผ่านมา ยอดขาย Chromebook ในสหรัฐอเมริกาเติบโตถึง 127% จากปีก่อน เทียบกับตลาดโน้ตบุ๊กทั่วไปที่เติบโต 40%
การพัฒนาแอพบน Chrome OS ใช้ได้ทั้งเว็บแอพ, Android, Flutter และแอพจากลินุกซ์
กูเกิลยังประกาศซัพพอร์ตการรัน Android Emulator ตัวเต็มบน Chrome OS ด้วย (Android Studio รันบน Chrome OS ได้ตั้งแต่เวอร์ชัน 3.5 แต่ตัว Emulator ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์จนกระทั่งวันนี้) ทำให้นักพัฒนาสามารถเขียนแอพบน Chrome OS เพื่อรันบน Chrome OS ได้เลย
จากข่าวเมื่อเดือนมิถุนายน ว่ากูเกิลจับมือ Parallels พัฒนาแนวทางรันแอพ Windows บน Chrome OS ทีมงานของกูเกิลเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในบทสัมภาษณ์กับ The Verge ดังนี้
เมื่อต้นปีนี้ เราเห็นข่าวจากผู้บริหารกูเกิลว่า Chrome OS จะรัน Steam ได้ แล้วเงียบหายไปพักใหญ่ๆ
ล่าสุดเว็บไซต์ 9to5google ไปค้นพบโค้ดใน Chromium OS อ้างถึงโครงการโค้ดเนม "Borealis" ที่เกี่ยวข้องกับ Steam แล้ว
Chrome OS เริ่มรองรับการรันโปรแกรมจากลินุกซ์มาตั้งแต่ปี 2018 โดยใช้โค้ดเนมว่า "Crostini" มันเป็นการนำลินุกซ์ทั้งตัว (ในที่นี้คือ Debian) มารันใน VM อีกทีหนึ่ง
เคยมีข่าวของฟีเจอร์ Nearby Sharing หรือ Fast Share ของ Android (ซึ่งเทียบได้กับ AirDrop ของ iOS) ออกมาเรื่อยๆ แต่ของจริงกลับยังไม่มาสักที
ล่าสุดมีคนไปค้นพบตัวเลือก Nearby Sharing ในระบบปฏิบัติการ Chrome OS ด้วย (ต้องเปิดใช้ใน flag และต้องเป็นเวอร์ชัน Canary ถึงจะเห็น แต่เปิดแล้วยังใช้งานไม่ได้จริง)
ความน่าสนใจคือข้อความใน Chrome OS ระบุว่าฟีเจอร์ Nearby Sharing จะสามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการฝั่งเดสก์ท็อปทั้งหมดคือ Mac, Windows, Linux, Chrome OS แสดงให้เห็นแผนการใหญ่ของกูเกิลที่ต้องการสร้างระบบแชร์ข้ามแพลตฟอร์ม
Parallels บริษัทพัฒนาโซลูชั่นสำหรับการอินทิเกรตระหว่าง OS ประกาศก้าวสำคัญคือการร่วมมือกับ Google เพื่อนำแอปบน Windows มารันบน Chrome Enterprise เพื่อให้ผู้ใช้งานองค์กรได้ใช้งานแอป Windows บน Chrome OS ได้อย่างเต็มรูปแบบ
ก้าวนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของ Chrome OS เพราะองค์กรสามารถนำแอป legacy ที่ออกแบบสำหรับใช้งานบน Windows มารันบน Chrome OS ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่ง Parallels ระบุว่าจะทำให้แอปบน Windows ซึ่งรวมถึง Microsoft Office ใช้งานได้เต็มฟีเจอร์บนฮาร์ดแวร์ Chromebook Enterprise
หลังจากเปิดตัว Chromebook x360 ไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ล่าสุด HP ได้เปิดตัว Chromebook x360 14c รุ่นใหม่ Chromebook รุ่นพรีเมี่ยมที่มาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสขนาด 14 นิ้วพับได้ 360 องศา รองรับสไตลัสที่ผ่านมาตรฐาน USI นอกจากนี้ยังรองรับระบบสแกนนิ้วมือและระบบชาร์จเร็ว ชาร์จ 50% ได้ใน 45 นาที ใช้ได้นานสูงสุด 13.5 ชั่วโมง
Chromebook ถือเป็นฮาร์ดแวร์สายกูเกิลที่มีระยะเวลาซัพพอร์ตยาวนานกว่า Android มาก (บางรุ่นคือมีระยะเวลาซัพพอร์ตนานถึง 8 ปี) แต่ไม่ว่าระยะซัพพอร์ตนานแค่ไหน สุดท้ายแล้วก็มีจุดสิ้นสุดอยู่ดี
ดูเหมือนว่ากูเกิลไม่ได้พอใจแค่นั้น เพราะมีคนไปค้นเจอโค้ดของ "LaCrOS" โครงการที่แยกส่วนเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ออกจากระบบปฏิบัติการ Chrome OS เพื่อให้สามารถอัพเดตเฉพาะตัว Chrome ต่อไปได้ แม้ว่า Chrome OS จะหมดระยะซัพพอร์ตแล้วก็ตาม
การอัพเดตเอนจิน Chrome ให้ทันสมัย รองรับฟีเจอร์เว็บใหม่ๆ เป็นประเด็นสำคัญไม่น้อย ก่อนหน้านี้ Chromecast ก็เคยมีประเด็นเรื่องการอัพเดตเวอร์ชัน Chrome เช่นกัน
กูเกิลประกาศพักการอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ของ Chrome และ Chrome OS ชั่วคราว หลังพนักงานในทีมต้องปรับตารางการทำงานกันใหม่จากสถานการณ์ไวรัสระบาด
ปกติแล้ว Chrome/Chrome OS มีรอบการอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ทุก 6 สัปดาห์ ตอนนี้กูเกิลจะหยุดพักการอัพเดตตามรอบอย่างไม่มีกำหนด เพื่อควบคุมคุณภาพของ Chrome ให้มีเสถียรภาพสูงสุด แทนการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่อาจควบคุมคุณภาพไม่ได้ ส่วนการอัพเดตย่อยแก้บั๊กและความปลอดภัยจะยังดำเนินไปตามปกติ (แปลว่า Chrome รุ่นเสถียรจะหยุดที่เวอร์ชัน 80 ไปสักพักใหญ่ๆ มีอัพเดตแพตช์ของ Chrome 80 บ้าง)
ที่มา - Chromium
เว็บไซต์ Android Police อ้างคำพูดจากการคุยกับ Kan Liu ผู้บริหารทีม Chrome OS ที่งาน CES 2020 ว่ากูเกิลกำลังพยายามนำ Steam มาลง Chrome OS
ในทางเทคนิคแล้ว การที่ Chrome OS พัฒนามาจากลินุกซ์ สามารถนำ Steam เวอร์ชันลินุกซ์มาติดตั้งได้ แต่ต้องผ่านซอฟต์แวร์พิเศษ (Crostini Linux) ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ซัพออร์ตอย่างเป็นทางการ สิ่งที่กูเกิลน่าจะกำลังทำอยู่คือพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Chrome OS นั่นเอง